สนุกคิดในชีวิตประจําวันแบบเศรษฐศาสตร์ (The Economic Naturalist) 6160804464, 9786160804467

370 40 15MB

Thai Pages 280 Year 2013

Report DMCA / Copyright

DOWNLOAD FILE

Polecaj historie

สนุกคิดในชีวิตประจําวันแบบเศรษฐศาสตร์ (The Economic Naturalist)
 6160804464, 9786160804467

Table of contents :
สนุกคิดในชีวิตประจำวันแบบเศรษฐศาสตร์
เรียบเรียงโดย ดร. เอกอรุณ อวนสกุล
จัดทำโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
คำนิยม
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทนำ
หลักประเมินผลได้-ผลเสีย
1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน้ำอัดลมทรงกระบอก
2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือราคาแพง
3 ทำไมคนทำงานที่มีความสามารถพอๆ กัน จึงได้รับเงินเดือนแตกต่างกันและยังมีเรื่องลี้ลับอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโลกการทำงาน
4 ทำไมผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าและบริการในราคาแพงกว่าคนอื่น
ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการลดราคาสินค้า
5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน
6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ
7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน
9 มาก่อนได้ก่อน
10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา
11 สองเรื่องเดิม
ความคิดสุดท้ายก่อนอำลา

Citation preview

สนุกคิด

ในชีวติ ประจำวัน แบบเศรษฐศาสตร THE

เรียบเรียงจาก

The Economic Naturalist โดย

Robert H. Frank เรียบเรียงโดย

ดร.เอกอรุณ อวนสกุล

สนุกคิดในชีวิตประจำ�วันแบบเศรษฐศ�สตร์ เรียบเรียงจาก The Economic Naturalist ของ Robert H. Frank เรียบเรียงโดย ดร. เอกอรุณ อวนสกุล

สงวนลิขสิทธิ์ในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 โดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำากัด (มหาชน) ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำาซ้ำา จัดพิมพ์ หรือกระทำาอื่นใด โดยวิธีการใดๆ ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท หรือเพื่อวัตถุประสงค์ ใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต Original edition copyright © 2007 Robert H. Frank. All rights reserved. Thai edition copyright © 2008 by SE-EDUCATION Public Company Limited. No part of this publication may by reproduces or distributed in any form or by any means, or stored in database or retrieval system, without the prior written permission of publisher, with the exception that the program listings may be entered, stored, and esecuted in a computer system, out they may not be reproduced for publication.

ขอมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ​ แฟรงก์ โรเบิรต์ เอช. สนุกคิดในชีวติ ประจำาวันแบบเศรษฐศาสตร์. --กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน่ , 2556. 1. เศรษฐศาสตร์. I. เอกอรุณ อวนสกุล, ผูแ้ ปล. II. ชือ่ เรือ่ ง. 330

ISBN (e-book) : 978-616-08-1007-9 ผลิตและจัดจำ�หน�ยโดย อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000

หากมีคำาแนะนำาหรือติชม สามารถติดตอไดที่ [email protected]

1



ค�ำนิยม



“น่าทึง่ มาก สามารถให ้ค�ำตอบกับปัญหายุ่งยากของชีวติ บางเรื่องได้” – หนังสือพิมพ์ Daily Mail “อธิบายให ้เห็นว่าเงินตราท�ำให ้โลกเรากลมได้อย่างไร” – หนังสือพิมพ์ Independent “สามารถกลับไปอ่านซ�ำ้ ได้อกี หลายรอบ เหมือนกับบุฟเฟ่ ตท์ ก่ี นิ ได้ไม่อนั้ ” – หนังสือพิมพ์ New York Times “ไม่ควรพลาดกับหนังสือทีท่ ำ� ให ้เสพติด ซึง่ โรเบิรต์ แฟรงก์ และนักศึกษา ของเขาร่วมกันไขปริศนาของเรื่องราวอันน่าทึง่ หลายเรื่อง ให้ทัง้ แนวคิดทีแ่ ปลก น่า ศึกษา และอ่านสนุก เป็ นหนังสือทีอ่ ศั จรรย์มาก” – ทิม ฮาร์ดฟอร์ด ผู ้เขียนหนังสือ The Undercover Economist and The Logic of Life “เฉียบแหลม ยอดเยีย่ ม และน่าชื่นชม ส�ำหรับ บ็อบ แฟรงก์ นักเขียนทาง เศรษฐศาสตร์ทด่ี ที ส่ี ุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ” – เทย์เลอร์ โคเวน ผู ้เขียนหนังสือ Discover Your Inner Economist “น่าทึง่ มาก ช่วยเปิ ดใจให ้กว ้าง และมีเรื่องสนุกมากมาย” – สตีเวน พิงเกอร์ ผู ้เขียนหนังสือ The Blank Slate

ค�ำนิยม

3

“หนังสือแนะน�ำด้านเศรษฐศาสตร์เล่มนี้ของ โรเบิรต์ เอช. แฟรงก์ ช่วยไข กุญแจในสิง่ ทีถ่ กู ออกแบบมาให ้เราฉงนสนเท่หท์ พ่ี บเห็นในชีวติ ประจ�ำวัน” – หนังสือพิมพ์ International Herald Tribune “สนุกและน่าทึง่ มาก หนังสือเล่มนี้จะท�ำให้คุณนึกตัง้ ค�ำถามขึ้นมาว่า ท�ำไม ผู ้จัดการทีมเบสบอลสวมเครื่องแบบนักกีฬา แต่โค้ชบาสเกตบอลสวมสูททีเ่ หลือ นอกจากนัน้ บ็อบ แฟรงก์ จะเป็ นผู ้ให ้ค�ำตอบทีแ่ ท ้จริงกับคุณเอง” – สตีเวน สตร์อเกตซ์ ผู ้เขียนหนังสือ SYNC “หนังสืออ่านสนุก เพลิดเพลินพอๆ กับหนังสือตลกขบขันเล่มหนึ่งของ เจย์ เรโน แต่ต่างกันทีค่ ำ� ถามและค�ำตอบทีใ่ ห ้ไว ้ โดยหนังสือของ บ็อบ แฟรงก์ ไม่ใช่ เรื่องตลก แต่แฝงไปด้วยข ้อสังเกตทีแ่ หลมคมและมีสาระเกี่ยวข ้องกับการด�ำเนิน ชีวติ ของพวกเรา ซึง่ จะท�ำให ้ผู ้อ่านมีความซาบซึ้งกับแก่นทีแ่ ท ้จริงของเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์” – โรเบิรต์ เจ. ชิลเลอร์ ผู ้เขียนหนังสือ The New Financial Order and Irrational Exuberance “หนังสือเล่มนี้ของ บ็อบ แฟรงก์ แสดงให ้เห็นว่า เมือ่ คุณขอให ้นักศึกษา หันไปมองสิง่ แวดล ้อมรอบๆ ตัว เขาจะเห็นสิง่ ทีน่ ่าสนใจหลายเรื่อง และแน่นอน ว่าแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สามารถช่วยอธิบาย บอกแนวทางปฏิบตั ิ และ ให ้ผลลัพธ์ทม่ี เี หตุมผี ล วิธนี ้ เี ป็ นวิธกี ารศึกษาเรียนรูเ้ ศรษฐศาสตร์ทด่ี ที ส่ี ุด ถ ้าจะ ให ้พูดความจริง นับเป็ นวิธที ม่ี ปี ระโยชน์ในการช่วยแก้ไขวิธกี ารเรียนรูข้ องพวกนัก เศรษฐศาสตร์อย่างเราทีเ่ หลือด้วย” – โรเบิรต์ โซโลว์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1987

4

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์



กิตติกรรมประกาศ





มื่อผมเริ่มสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น มีอาจารย์อาวุโสร่ วมคณะท่าน หนึ่งแนะน�ำให้ผมเริ่มต้นชัวโมงการสอนด้ ่ วยการเล่าเรื่องข�ำขัน เพือ่ ให้นักศึกษา อารมณ์ดแี ละพร้อมจะฟังการบรรยายเรื่องหนักๆ ต่อไป แต่ผมไม่เคยท�ำตาม ค�ำแนะน�ำนัน้ เลย ไม่ใช่ผมไม่เชื่อ แต่เพราะมันค่อนข ้างยากในการหาเรื่องข�ำขันมา เล่าในแต่ละครัง้ ก่อนการบรรยายให ้นักศึกษาฟัง แต่โชคก็เข ้าข ้างผมอยู่นะ เมือ่ ไม่นานมานี้บงั เอิญว่าผมไปอ่านเจอเรื่องตลก ข�ำขันเรื่องหนึ่ง ซึง่ มีสาระตรงใจมากกับความตัง้ ใจเขียนหนังสือเล่มนี้ ส�ำหรับเรื่อง ข�ำขันมีทม่ี าจากเมืองบอสตัน ในเขตนิวอิงแลนด์ ของสหรัฐฯ ซึง่ เมืองนี้เป็ นเมืองที่ รูก้ นั ว่ามีคนขับแท็กซีห่ ลายคนทีอ่ อกจากการเรียนในมหาวิทยาลัยอันมีชอ่ื เสียงก้อง โลก อย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) เรื่องข�ำขันทีไ่ ด้อ่านมาเป็ นดังนี้ สุภาพสตรี คนหนึ่งลงจากเครื่ องบินที่สนามบินโลแกน ฉวยกระเป๋ า เดินทาง และรี บขึ ้นรถแท็กซี่ออกไปด้ วยความหิว อยากกินอาหารทะเล รสดีของนิวอิงแลนด์เป็ นมื ้อเย็น เธอจึงบอกกับคนขับแท็กซี่วา่ “พาฉันไป ที่ไหนก็ได้ ที่มีปลาคอดให้ กิน” คนขับแท็กซี่หนั กลับมา และพูดอย่างข�ำๆ ขึ ้นว่า “นี่เป็ นครัง้ แรกที่ผม ได้ ยินคนพูดแสดงความปรารถนาเช่นนัน้ โดยใช้ ประโยคในรูปของอดีต สมบูรณกาล”

กิตติกรรมประกาศ

5

หลายคนไม่เคยรูจ้ กั หรือเคยได้ยนิ กาล (Tense) ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ทีเ่ รียกว่า Pluperfect Subjunctive มาก่อน ผมเองก็ไม่รูจ้ กั เช่นกัน จึงได้ลอง พยายามค้นหาจากอินเทอร์เน็ตจนได้ความดังนี้ Pluperfect Subjunctive Tense หรื อ Past Perfect Subjunctive Tense เป็ นอดีตสมบูรณกาลในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ถูกใช้ เพื่อแสดง สถานการณ์สมมติ หรื อการกระท�ำที่ตรงข้ ามกับความเป็ นจริ ง โดยค�ำ กิริยาจะต้ องถูกผันอยูใ่ นอนุประโยคเงื่อนไข (Conditional Form) และใน อนุประโยค (Subordinate Clause) จ�ำเป็ นต้ องใช้ รูปประโยค Subjunctive แสดงความต้ องการ ตัวอย่างเช่น “ถา้ ฉันไม่นอนหลับเพลินไปหน่อย ฉันก็คงไม่พลาดรถไฟ เทีย่ วทีจ่ องไว ้” คงเป็ นประโยคทีค่ นุ ้ เคยส�ำหรับหลายๆ คนนะครับ คุณคงเริ่มสงสัยว่า ประโยคทีส่ ุภาพสตรีพดู กับคนขับรถแท็กซีน่ นั้ เกี่ยว อะไรกับ Pluperfect Subjunctive Tense แต่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยว เพราะเธอ มิได้ใช้ประโยคในรูปอดีตสมบูรณกาล และถ ้าจะให้ค�ำพูดตลกๆ ทีค่ นขับรถแท็กซี่ พยายามสร้างขึ้นเพือ่ ให ้ใช้ได้ผล ก็มหี นทางเดียวเท่านัน้ ทีจ่ ะเป็ นไปได้ นัน่ คือ คน ฟังจะต้องเข ้าใจความหมายของ Pluperfect Subjunctive เสียก่อนว่าคืออะไร จ�ำเป็ นด้วยหรือทีเ่ ราต้องเข ้าใจความหมายดังกล่าวก่อนจึงจะเข ้าใจเรื่อง ตลกนี้ นักจิตวิทยาบางท่านเคยมีความเชือ่ ว่า คนทัวไปจะไม่ ่ สามารถเข ้าใจได้อย่าง ชัดเจนกับค�ำพูดทีม่ เี หตุผลสวนทางกัน แม ้พวกเขายังไม่รูร้ ายละเอียดทางเทคนิค ของกาลต่างๆ ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดังกล่าวไม่เป็ น ความจริงเสมอไป ตัวอย่างทีพ่ บกันอยู่บอ่ ยๆ คือ การพากย์กฬี าทางโทรทัศน์ พบว่า แม ้นักพากย์สว่ นใหญ่เหมือนจะไม่รูจ้ กั ประโยคในรูปอดีตสมบูรณกาล (หรือเลือก ทีจ่ ะไม่ใช้ในการพากย์) แต่เขาก็สามารถพากย์โดยใช้ตรรกะหรือใช้เหตุผลอ้างอิง ทีส่ วนทางกันเสมอ เช่น “เบคแฮมยิงลูกโทษได้ ทีมอังกฤษไม่แพ ้ในการต่อเวลา”

6

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การรูแ้ ละเข ้าใจการใช้รูปประโยคในรูปอดีตสมบูรณกาลส�ำหรับไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องทีไ่ ม่ดี ถ ้าวัตถุประสงค์คอื ต้องการเรียนรูก้ ารใช้ภาษาใหม่ๆ ซึง่ เวลาและความพยายามทีต่ อ้ งเสียไปกับการศึกษารายละเอียดทางเทคนิคของ การใช้ไวยากรณ์ทถ่ี กู ต้อง ควรจะถูกน�ำไปใช้ในการศึกษาแบบอืน่ ๆ ทีเ่ ป็ นความรู ้ ใหม่จะดีกว่า นอกจากนี้ หลักสูตรทีเ่ น้นการสอนให ้ลงลึกถึงรายละเอียดของการ ใช้ไวยากรณ์ไม่ใช่เรื่องสนุกนักส�ำหรับนักศึกษา และพบว่าไม่ได้ผลด้วย ผมใช้เวลาสีป่ ี กบั การเรียนภาษาสเปนในชัน้ มัธยม และเรียนภาษาเยอรมัน สามเทอมในวิทยาลัย ซึง่ ใช้เวลาไปมากกับการเรียนการสอนประโยคในรูปอดีต สมบูรณกาล และความลี้ลบั ของการใช้ไวยากรณ์ต่างๆ ทีค่ รูผู ้สอนคิดว่ามีความ ส�ำคัญ แต่เราก็ไม่ได้เรียนวิธกี ารพูด ดังนัน้ เมือ่ ผมเดินทางไปประเทศสเปนและ เยอรมัน จึงต้องพบกับการสือ่ สารทีม่ คี วามยากล�ำบากมาก แม ้แต่การใช้คำ� หรือ ถ ้อยค�ำง่ายๆ พื้นๆ ก็ตาม ซึง่ เพือ่ นๆ ของผมหลายคนก็มปี ญ ั หาท�ำนองเดียวกัน ผมนึกสะดุดใจว่าน่าจะมีวธิ กี ารเรียนภาษาทีไ่ ด้ผลมากกว่านี้ ก็เมือ่ คราว เข ้ารับการฝึ กอบรมก่อนบรรจุเป็ นเจ้าหน้าทีอ่ าสาสมัครขององค์การ US Peace Corps ประจ�ำอยู่ทเ่ี นปาล ซึง่ โปรแกรมฝึ กอบรมทีส่ มบูรณ์ใช้ระยะเวลาเพียง 13 สัปดาห์ มีวธิ กี ารสอนทีแ่ ตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการเรียนภาษาในรูปแบบปกติ ของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ในการฝึ กอบรมนัน้ ไม่เคยมีสกั ครัง้ ทีจ่ ะพูดถึงการใช้ ประโยคในรูปอดีตสมบูรณกาล ครูผู ้สอนเน้นเพียงอย่างเดียวคือ พูดภาษาเนปาล ให ้ได้ การเรียนในเรื่องการใช้ไวยากรณ์อนั ลี้ลบั ต่างๆ จึงไม่อยู่บนเส ้นทางเพือ่ น�ำ ไปสู่การบรรลุเป้ าหมายในการพูดภาษาเนปาลได้ ซึง่ วิธกี ารสอนนี้ลอกเลียนแบบ จากวิธที เ่ี ด็กๆ ทัวไปหั ่ ดพูดภาษาของตัวเอง ครูจะเริ่มต้นสอนด้วยประโยคง่ายๆ และให ้พวกเราพูดตามซ�ำ้ หลายๆ ครัง้ ประโยคแรกคือ “หมวกใบนี้มรี าคาแพง” ซึง่ นับว่าเป็ นประโยชน์ เพราะการซื้อขาย สินค้าตามท ้องถนนทุกแห่งในเนปาลต้องมีการต่อรองเสมอ ขัน้ ตอนต่อไปคือ ครู จะขานหรือประกาศค�ำนามต่างๆ ทีละค�ำ เช่น ถุงเท ้า และให ้ผู ้เข ้ารับการอบรมทุก กิตติกรรมประกาศ

7

คนขานตอบเป็ นภาษาเนปาลว่า “ถุงเท้าเหล่านี้มรี าคาแพง” วัตถุประสงค์เพือ่ ให้พวก เราหัดพูดได้โดยอัตโนมัตโิ ดยทีไ่ ม่ตอ้ งคิดก่อนว่าจะพูดอะไร โดยสรุป ครูผู ้สอนจะเริ่มต้นด้วยประโยคง่ายๆ จากสิง่ ทีพ่ วกเราคุน้ เคยกัน ดีก่อน โดยให ้พวกเราฝึ กฝนพูดหลายๆ ครัง้ จากนัน้ ก็เปลีย่ นค�ำไปเรื่อยๆ และฝึ ก พูดจนชิน เมือ่ เราชินแล ้ว ครูกจ็ ะสอนในขัน้ ต่อไปทีจ่ ะก้าวหน้าขึ้น หน้าทีค่ วามรับผิดชอบส�ำหรับผู ้บริหารโปรแกรมการฝึ กอบรมนี้กค็ อื ต้องให้ แน่ใจว่าพวกเราสามารถเดินและวิง่ ได้บ ้างในด้านการพูดภาษาเนปาล หลังจากพ ้น 13 สัปดาห์แล ้ว ผมและเพือ่ นอาสาสมัครบางคนก็มโี อกาสสอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์หลังจากอยู่ในเนปาลได้ไม่นาน เริ่มต้นนับจากศู นย์ แต่เราก็ สามารถท�ำได้ กระบวนการเรียน-การสอนภาษาของโปรแกรมฝึ กอบรมนี้โดยตัว ของมันเองได้ช่วยสร้างจิตส�ำนึกแห่งความเชื่อมัน่ ซึง่ ผมไม่เคยประสบทีไ่ หนมา ก่อนส�ำหรับหลักสูตรการเรียนภาษาต่างประเทศทัวๆ ่ ไป ดังนัน้ บุคคลแรกทีผ่ มต้องขอขอบคุณคือ ครูทส่ี อนวิชาภาษาเนปาลให้แก่ ผมนานมาแล ้ว เป็ นผู ้ช่วยเปิ ดโลกทัศน์และท�ำให ้หูตาผมสว่างขึ้นเกี่ยวกับวิธกี าร เรียนการสอนง่ายๆ แบบเรียนน้อยแต่ได้มาก อีกทัง้ มีพลานุภาพอย่างยิง่ ผมและ นักศึกษาทีเ่ รียนด้วยกันในช่วงหลายปี ทผ่ี า่ นมา ได้คน้ พบวิธกี ารทีก่ ล่าวมานี้ร่วมกัน ว่า สามารถน�ำไปใช้แปลงประสบการณ์ทไ่ี ด้จากการเรียนรูห้ ลักการและแนวคิดของ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ทแ่ี สนยุ่งยากสลับซับซ ้อน ให ้อยู่ในรูปแบบการเรียนการ สอนอย่างง่าย เน้นการประยุกต์ใช้ให ้เป็ นประโยชน์กบั การด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน นักศึกษาทีเ่ รียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นตามแบบฉบับการเรียน–การสอน ปกติทวไป ั ่ ต้องใช้เวลาอย่างมากส�ำหรับท�ำความเข ้าใจหลักการ แนวคิด และทฤษฎี ต่างๆ ทางเศรษฐศาสตร์ในขัน้ ลงลึกลงไปในรายละเอียด ในท�ำนองเดียวกันกับการ ต้องเรียนรูร้ ายละเอียดของการใช้ประโยคในรูปอดีตสมบูรณกาลและไวยากรณ์ ต่างๆ ส�ำหรับวิชาภาษาอังกฤษดังทีก่ ล่าวมาแล ้ว แต่ทางตรงกันข ้าม แนวคิดทาง เศรษฐศาสตร์ทค่ี ุณจะพบในหนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาในรูปตัวอย่างต่างๆ ทีไ่ ด้มา

8

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

จากประสบการณ์ทค่ี นุ ้ เคยกันดี สามารถช่วยอธิบายขยายความเข ้าใจของแนวคิด นัน้ ได้ดี ซึง่ การเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์กเ็ หมือนกับเรียนการพูดภาษาใหม่ คือต้อง เริ่มต้นอย่างค่อยเป็ นค่อยไป และประยุกต์ใช้แนวคิดนัน้ บ่อยๆ ในสถานการณ์ ต่างๆ ถ ้าคุณเห็นว่าวิธกี ารเรียนรูเ้ ศรษฐศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้งา่ ยกว่าวิธปี กติท่ี ใช้ในการเรียนการสอนทัวไปตามมหาวิ ่ ทยาลัย ก็ขอให ้ช่วยนึกถึงและขอบคุณครู สอนภาษาเนปาลให ้แก่ผมด้วยนะครับ หนังสือเล่มนี้เป็ นผลผลิตร่ วมกันของบุคคลต่างๆ ที่มจี ิตใจงามหลาย ท่าน บุคคลกลุม่ แรกทีช่ ่วยอ่าน วิจารณ์ตน้ ฉบับ และน�ำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ใหด้ ขี ้นึ แม ้ผมจะขอบคุณอีกกี่ครัง้ มากมายสักเพียงไหน ก็คงไม่เพียงพอ ดัง รายนามต่างๆ ดังนี้ ฮาล เบียร์แมน, คริส แฟรงก์, เฮย์เดน แฟรงก์, ซาร์นาเกช กาเวียร์เนนิ, ทอม กิโลวิช, บ็อบ ลิบบี้, เอลเลน แมกคอลลิสเตอร์, ฟิ ล มิลเลอร์, ไมเคิล โอ’เฮเร, เดนนิส เรแกน, และแอนดี รูนา รวมทัง้ บุคคลอืน่ ๆ ทีช่ ่วยเหลือ กรณีศึกษาในต้นฉบับหลายเรื่อง ท�ำให ้หนังสือมีความสมบูรณ์ยง่ิ ขึ้น ซึง่ สองท่าน ในนัน้ คือ จอร์จ เอเกอร์ลอฟ ทีเ่ ป็ นอดีตอาจารย์ และ ริชาร์ด เทเลอร์ เพือ่ นร่วม งานของผม อย่างไรก็ตาม บุคคลทีผ่ มเป็ นหนี้ทางภูมปิ ญ ั ญามากทีส่ ุด คือ โทมัส เชลลิง ซึง่ ผมยอมรับนับถือว่าเป็ นนักธรรมชาติวทิ ยาสายพันธุเ์ ศรษฐศาสตร์ หรือ นักธรรมชาติเศรษฐกิจ (Economic Naturalist) ทีย่ ง่ิ ใหญ่ทส่ี ุดทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ใน ปัจจุบนั ซึง่ บุคคลนี้คอื คนทีผ่ มตัง้ ใจอุทศิ หนังสือเล่มนี้ให ้ ผมต้องขอขอบคุณ แอนดริว ไวเล และ วิลเลียม ฟรูจต์ เพราะถ ้าทัง้ สองท่าน นี้ไม่ให้ความช่วยเหลือแล ้ว หนังสือเล่มนี้อาจไม่อยู่ในมือของคุณได้ ผมขอขอบคุณ ไพยัช นายยาร์, เอลิซาเบท เซวาร์ด, มาเรีย คริสตินา คาเวกนาโร และ แมตทิว ไลจ์ตนั ในการช่วยเหลืองานวิจยั และ ครีโซนา ชมิดต์ ส�ำหรับการตรวจต้นฉบับ ผมยินดีมากทีม่ โี อกาสร่วมงานกับ มิค สตีเวนส์ ทีช่ ่วยวาดรูปประกอบ ต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ ซึง่ ท�ำได้ดมี าก และก็ขอขอบคุณไว ้ ณ ทีน่ ้ ี ส�ำหรับหลาย ปี ทผ่ี ่านมาทีผ่ มสอนหนังสือ ก็ได้พยายามใช้รูปภาพทีว่ าดขึ้นอย่างง่ายๆ เพือ่ สือ่ กิตติกรรมประกาศ

9

ความหมายของตัวอย่างทีใ่ ช้สอนในชัน้ เรียน แม ้บ่อยครัง้ ทีร่ ูปประกอบไม่ได้มสี าระ อะไรเกี่ยวข ้องโดยตรงกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทต่ี อ้ งการสือ่ นัก แต่ผมก็ยงั ยุ ให้นักศึกษาของผมทุกคนวาดรูปคร่าวๆ เพือ่ สือ่ แนวคิดทีเ่ ขาต้องการน�ำเสนอแนบ มากับบทความทีเ่ ขียนส่งด้วย ผมขอขอบคุณเป็ นพิเศษต่อ John S. Knight Institute for Writing in the Disciplines ทีใ่ ส่ช่อื ผมเข ้าไว ้ในโปรแกรมการเขียนงานในสาขาวิชาของ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เมือ่ ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ด้วย ซึง่ ถ ้าผมไม่ได้เข ้าร่วม ในโปรแกรมดังกล่าว ผมก็คงไม่มโี อกาสได้รบั มอบหมายใหเ้ ขียนงานวิชาการ เกี่ยวกับนักธรรมชาติวทิ ยาสายพันธุเ์ ศรษฐศาสตร์ อันเป็ นทีม่ าของการจัดท�ำเป็ น หนังสือเล่มนี้ สิง่ ส�ำคัญสูงสุดเหนืออืน่ ใดคือ ขอขอบคุณลูกศิษย์ทกุ คนทีเ่ ขียนบทความ และรายงานมาส่ง อันเป็ นมูลเหตุดลใจให ้ผมจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ข้นึ ซึง่ แต่ละเรื่อง ทีไ่ ด้รบั การคัดเลือก ผมก็จะบอกชื่อนักศึกษาทุกคนก�ำกับไว ้ด้วยวงเล็บ นอกจาก นี้ หัวข ้อค�ำถามหรือปัญหาทางเศรษฐศาสตร์อน่ื ๆ ทีม่ คี ำ� ตอบอธิบายไว ้ในหนังสือ เล่มนี้ ผมก็ได้รบั แรงบันดาลใจมาจากบทความและต�ำราส่วนใหญ่ท่เี ขียนโดย นักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน ซึง่ ชื่อของผู ้แต่งทีเ่ กี่ยวข ้องก็ปรากฏอยู่ในวงเล็บเช่น เดียวกัน ส่วนค�ำถามหรือปัญหาทีไ่ ม่มกี ารระบุชอ่ื ผู ้เขียนนัน้ ส่วนมากเป็ นงานเขียน เดิมของผมเอง หรือไม่กเ็ ขียนขึ้นใหม่จากตัวอย่างทีใ่ ช้สอนในชัน้ เรียน อย่างไรก็ตาม ยังมีบทความอยู่ 3 เรื่องทีเ่ ขียนขึ้นโดยนักศึกษา ซึง่ จนบัดนี้ ผมยังไม่สามารถระบุชอ่ื ผู ้แต่งได้ ผมจึงขออนุญาตบอกชือ่ เรื่องไว ้ ณ ทีน่ ้ ดี ว้ ย หวัง ว่าผูท้ เ่ี ขียนบทความจะแจ้งกลับมาเพือ่ ใหเ้ ครดิตไว ้ในการพิมพ์หนังสือครัง้ ต่อๆ ไป และบทความทีก่ ล่าวถึงทัง้ สามเรื่องมีดงั นี้ (1) เพราะเหตุใดผู ้ผลิตจึงผลิตนม จ�ำหน่ายในรู ปกล่องบรรจุทรงสีเ่ หลีย่ มหน้าตัดขวางมุมฉาก แต่จำ� หน่ายน�ำ้ อัดลม ในกระป๋ องบรรจุรูปทรงกระบอก (2) เพราะเหตุใดบาร์หลายแห่งจึงคิดเงินค่าน�ำ้ ดืม่ จากลูกค้า แต่ให ้ลูกค้ากินถัวลิ ่ สงคัวฟรี ่ และ (3) เพราะเหตุใด บริษทั ให ้เช่า

10

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

รถยนต์จงึ ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับ กรณียกเลิกการจองโดยไม่แจ้ง ล่วงหน้า ในขณะทีบ่ ริษทั สายการบินและโรงแรมหลายแห่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับ กรณียกเลิกการจองเป็ นเงินจ�ำนวนมาก

กิตติกรรมประกาศ

11



สารบัญ



บทน�ำ.................................................................................................................................................. 15 บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก : เศรษฐศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์................................................ 33 บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือราคาแพง : อุปสงค์และอุปทานเชิงปฏิบัติการ............................................................55 บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานที่มีความสามารถพอๆ กัน จึงได้รับเงินเดือน ที่แตกต่างกัน และยังมีเรื่องลี้ลับอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโลก การท�ำงาน............................................................................................................... 85 บทที่ 4 ท�ำไมผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าและบริการในราคาแพงกว่า คนอื่น : เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการลดราคา.................................107 บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน : ความแตกต่างระหว่าง ประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม........................................... 139 บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ......................................................... 157 บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ : การถอดรหัสสัญญาณตลาด.................................................................... 183 บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน................................................ 203 บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน : จิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์.............................. 223 สารบัญ

13

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา : ตลาดไม่เป็นทางการส�ำหรับความสัมพันธ์ส่วนตัว.................247 บทที่ 11 สองเรื่องเดิม.......................................................................................................265 ความคิดสุดท้ายก่อนอ�ำลา................................................................................................271

14

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์



บทน�ำ





ำ�ไมในประเทศพัฒนาแล ้วอย่างสหรัฐฯ จึงมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่งให ้ บริการเบิกถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัตทิ ต่ี งั้ อยู่บนริมฟุตปาท หรือทางสัญจรทีผ่ ู ้ขับขีร่ ถสามารถตรงไปยังเครื่องเพือ่ ใช้บริการโดยไม่ตอ้ งลงจาก รถ ซึง่ เครื่องถอนเงินอัตโนมัตใิ ช้แป้ นกดมีลกั ษณะเป็ นจุดนู น เป็ นอักษรเบรลล์ ส�ำหรับคนตาบอดให ้ใช้บริการได้ดว้ ย มีผู ้ตัง้ ข ้อสังเกตจากความสงสัยว่า มีความจ�ำเป็ นอย่างไรจึงต้องใช้แป้ นกด เป็ นอักษรเบรลล์ เพราะคนตาดีเท่านัน้ ทีส่ ามารถขับรถยนต์เข ้ามาใช้บริการได้ ผู ้ตัง้ ข ้อสังเกตนี้คอื บิลล์ โจ อดีตลูกศิษย์คนหนึ่งของผม เขาได้ตงั้ ค�ำถาม และพยายาม ศึกษาจนได้คำ� ตอบว่า อุตสาหกรรมผูผ้ ลิตเครื่องถอนเงินอัตโนมัตไิ ด้พจิ ารณา และค�ำนึงถึงข ้อเท็จจริงทีว่ ่า จะมีผูใ้ ช้บริการจ�ำนวนหนึ่งทีเ่ ป็ นคนตาบอดก็ใช้วธิ ี เดินเข ้ามาเบิกถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึง่ คนตาบอดก็เป็ นลูกค้ากลุม่ หนึ่งทีธ่ นาคารต้องให ้บริการอยู่แล ้ว ดังนัน้ จึงเป็ นการสะดวกและประหยัดกว่าใน ด้านการผลิตและติดตัง้ เครื่องถอนเงินอัตโนมัตใิ ห้เป็ นแบบเดียวกันในทุกสถานที่ แม ้ว่าการให้บริการลูกค้าทัง้ สองกลุม่ สามารถท�ำแยกกันได้ โดยผลิตเครื่อง ถอนเงินอัตโนมัตทิ ม่ี ปี ่ มุ กดสองแบบส�ำหรับคนตาบอดและคนสายตาปกติ แต่กจ็ ะ มีตน้ ทุนค่าใช้จ่ายเพิม่ ขึ้นเกีย่ วกับการบริหารจัดการสต็อกสินค้าและค่าติดตัง้ เฉพาะ แต่ละจุดเพือ่ ให ้บริการกลุม่ ลูกค้าทีแ่ ตกต่างกัน ถ ้าหากปุ่มกดทีม่ อี กั ษรเบรลล์ก่อ ใหเ้ กิดปัญหาหรือความร�ำคาญทางสายตาแก่ผูใ้ ช้บริการทีม่ สี ายตาปกติ มันอาจ เป็ นเหตุผลเพียงพอเพือ่ พิจารณาในการผลิตและแยกการติดตัง้ เครื่องถอนเงิน อัตโนมัตใิ ห้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุม่ แต่ข ้อเท็จจริงพบว่า เครือ่ งถอนเงินอัตโนมัติ บทน�ำ

15

ทีม่ อี กั ษรเบรลล์ดงั กล่าวก็มไิ ด้ก่อปัญหาใดๆ แก่ผู ้ใช้บริการทีม่ สี ายตาปกติ ดังนัน้ จึงไม่มคี วามจ�ำเป็ นใดๆ ทีต่ อ้ งปรับปรุงการผลิตและบริการใหม่ การตัง้ ค�ำถามและการค้นหาค�ำตอบทีอ่ ธิบายข ้างต้น เป็ นรายงานหนึ่งใน สองเรื่องส�ำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นทีผ่ มสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึง่ รายงาน เรื่องเครื่องถอนเงินอัตโนมัตทิ ่ี บิลล์ โจ ท�ำส่งในการเรียนการสอนนี้ ผมก็ได้มอบ หมายงานให้นักศึกษาทุกคนตัง้ ค�ำถามหรือค้นหาปัญหาทีพ่ บในชีวติ ประจ�ำวัน และ หาเหตุผลง่ายๆ ธรรมดาๆ เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ทส่ี ามารถใช้ อธิบายค�ำตอบของปัญหานัน้ ซึง่ ผมได้ตงั้ ชือ่ งานทีม่ อบหมายให้นักศึกษาท�ำว่า “นัก ธรรมชาติเศรษฐกิจ หรือ Economic Naturalist” เพราะงานนี้เกี่ยวกับการฝึ กหัด ใหน้ กั ศึกษารูจ้ กั ใช้สญ ั ชาตญาณทางธรรมชาติเพือ่ ตอบปัญหาด้านเศรษฐศาสตร์ โดยมีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ ให ้นักศึกษาเรียนรูก้ ารประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎี ทางเศรษฐศาสตร์ในการตัง้ ค�ำถามและตอบค�ำถามทีต่ วั เองสนใจ เกี่ยวกับแบบ กระสวนของพฤติกรรมมนุษย์ หรือเหตุการณ์ทพ่ี บหรือสังเกตเห็นในชีวติ จริง

เครื ่องถอนเงิ นด่วนทีม่ ี ปมุ่ กดบรรจุอกั ษรเบรลล์ส�ำหรับคนตาบอด

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

16

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ผมก�ำหนดเงือ่ นไขในการเขียนรายงานคือ ต้องเป็ นรายงานขนาดสัน้ ไม่ เกิน 500 ค�ำ (ซึง่ พบว่ารายงานดีๆ หลายฉบับสัน้ กว่าทีก่ ำ� หนดมาก) แล ้วก็ให ้ใช้ ภาษาเขียนง่ายๆ ไม่เต็มไปด้วยศัพท์แสงหรือถ ้อยค�ำทางเทคนิควิชาการทีย่ ากแก่ การท�ำความเข ้าใจ โดยเฉพาะกับผู ้ทีไ่ ม่มพี ้นื ฐานทางเศรษฐศาสตร์มาก่อน ยิง่ ใช้ กราฟหรือใช้สมการทางคณิตศาสตร์หรือพีชคณิตทีส่ ลับซับซ ้อนก็ไม่ตอ้ งมีเข ้ามา ในท�ำนองคล ้ายคลึงกันกับ บิลล์ โจ ทีม่ กี ารตัง้ ค�ำถามเรื่องปุ่มกดทีเ่ ป็ น อักษรเบรลล์สำ� หรับเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ผมก็พบว่า การตัง้ ค�ำถามทีด่ ที ส่ี ุด มักจะเป็ นหัวข ้อทีก่ ่อให้เกิดความฉงนงงงวยทางความคิด ดังตัวอย่างรายงานของ เจนนีเฟอร์ ดัลสกี้ ทีท่ ำ� ส่งเมือ่ ปี 1997 ซึง่ เป็ นรายงานทีผ่ มชื่นชอบและจดจ�ำมาก เป็ นพิเศษ เธอได้ตงั้ ค�ำถามไว ้อย่างน่าสนใจว่า ท�ำไมเจ้าสาวทัง้ หลายจึงยอมลงทุน เสียเงินจ�ำนวนมากซื้อชุดเจ้าสาวทีใ่ ส่เพียงหนเดียวในวันแต่งงาน และแทบจะไม่มี โอกาสได้ใช้อกี เลยในวันข ้างหน้า ในขณะทีเ่ จ้าบ่าวกลับนิยมเช่าสูทแต่งงานราคาถูก ทัง้ ทีค่ วรลงทุนซื้อเป็ นเจ้าของเองได้ เพราะอาจมีโอกาสได้ใช้อกี ครัง้ ต่อไป นักศึกษาคนนี้ได้ให ้เหตุผลว่า เพราะเจ้าสาวส่วนใหญ่ตอ้ งการเลือกใส่ชดุ ในวันแต่งงานทีด่ ูเหมาะ ดูดี และตรงกับรสนิยมทางแฟชัน่ ของตัวเองมากทีส่ ุด ซึง่ หอ้ งเสื้อทีจ่ ะใหบ้ ริการเช่าชุดได้ ก็ตอ้ งจัดเตรียมชุดเจ้าสาวไวห้ ลากหลายทัง้ รูปแบบและขนาด โดยการสต็อกสินค้าไว ้อาจถึง 40 – 50 แบบต่อขนาดเพือ่ ให ้ ลูกค้าได้เลือก เพราะการด�ำเนินธุรกิจลักษณะนี้เป็ นการลงทุนสูง หากน�ำมาเปรียบ เทียบกับโอกาสการใหเ้ ช่าที่มไี ม่บ่อยครัง้ นักในรอบปี จึงเป็ นสาเหตุใหห้ อ้ งเสื้อ ส่วนใหญ่ตอ้ งตัง้ ราคาเช่าชุดแต่งงานทีส่ ูงมาก เพือ่ ให้คุม้ กับต้นทุนการสต็อกสินค้า เก็บไว ้ ด้วยเหตุผลนี้ จึงมักพบว่าเจ้าสาวส่วนใหญ่ชอบทีจ่ ะลงทุนสังตั ่ ดชุดแต่งงาน เป็ นของตัวเองมากกว่าเช่าชุด เพราะกลายเป็ นว่ามีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบทีน่ อ้ ย กว่า ในทางตรงกันข ้าม เจ้าบ่าวจะนิยมการเช่าสูทซึง่ ประหยัดกว่าการซื้อเอง และ ค่าเช่าสูทก็มรี าคาถูก เพราะสูททีเ่ จ้าบ่าวใส่ในวันแต่งงานมีรูปแบบเป็ นมาตรฐาน เพียงสองสามแบบให ้เลือกเท่านัน้ ท�ำให ้ห ้องเสื้อไม่ตอ้ งเตรียมเก็บสต็อกหลายๆ แบบส�ำหรับแต่ละขนาด เมือ่ เปรียบเทียบกับโอกาสการใหเ้ ช่าซึง่ มีความถีส่ ู งใน รอบปี ท�ำให ้ร้านเช่าสูทสามารถก�ำหนดราคาเช่าทีต่ ำ� ่ กว่าราคาซื้อขายค่อนข ้างมาก บทน�ำ

17

ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรือ่ งราวของบุคคลทีใ่ ช้ความพยายามใช้แนวคิด และเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ (ดังยกตัวอย่างกรณีของ บิลล์ โจ และ เจนนิเฟอร์ ดัลสกี้) พวกเขามีความสุขในการช่วยอธิบายความลี้ลบั ส�ำหรับพฤติกรรมการ ตัดสินใจของมนุ ษย์ เรามักได้ยนิ ผูค้ นจ�ำนวนมากโดยเฉพาะนักศึกษาบ่นกันว่า เศรษฐศาสตร์เป็ นวิชาทีย่ ากแก่การเข ้าใจ ตัวเนื้อหาก็ไม่มคี วามเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในตัว ตามขอ้ เท็จจริงแล ้ว หากนักศึกษามีความเขา้ ใจอย่างถ่องแทจ้ ะทราบว่า เศรษฐศาสตร์เป็ นศาสตร์ทม่ี แี นวคิดหลักทีง่ า่ ยและเต็มไปด้วยการใช้สามัญส�ำนึก ธรรมดาๆ ซึง่ นักศึกษาจะสามารถเข ้าใจสารัตถะของวิชานี้ได้ดีข้นึ หากได้เห็นตัวอย่าง การประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีกบั ปัญหาการตัดสินใจทีพ่ บในโลกแห่งความเป็ นจริง

ผมอยากแนะน�ำคุณให้รู้จกั กับ คุณมาร์ ตี ทอร์ นเดกเกอร์ เขาเป็ นนักเศรษฐศาสตร์ แต่เขาก็เป็ นคนทีม่ ี นิสยั ดีมาก

SS

วาดโดย : เอ็ด อาร์ โน @1974, นิตยสาร The New Yorker

18

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

อย่างไรก็ดี โชคไม่ดที ก่ี ารเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ปัจจุบนั มักไม่เน้นการน�ำปัญหาและพฤติกรรมการตัดสินใจทีพ่ บเห็นในชีวติ ประจ�ำ วันของมนุษย์มาเป็ นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้กบั ทฤษฎีเพือ่ อธิบาย หลังจากทีผ่ ม สอนหนังสือทีม่ หาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ไม่นาน ก็ได้รบั ภาพการ์ตูนจากเพือ่ นทีอ่ ยู่ ต่างรัฐส่งมาให้ การ์ตูนนี้สะท้อนความจริงบางอย่างทีต่ รงกับประสบการณ์ของผม นัน่ คือ ในงานเลี้ยงหลายแห่งทีผ่ มไปร่วมงาน มักจะถูกตัง้ ค�ำถามจากคู่สนทนา ว่า “ผมท�ำมาหาเลี้ยงชีพอะไร” และเมือ่ ผู ้ถามรูว้ า่ ผมมีอาชีพเป็ นนักเศรษฐศาสตร์ สิง่ ทีผ่ มสังเกตเห็นก็คอื ความผิดหวังของคู่สนทนา ท�ำใหผ้ มต้องเริ่มตัง้ ค�ำถาม ว่าท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ สิง่ ทีส่ งั เกตเห็นอีกประการคือ ผู ้ร่วมสนทนาหลายคนต่าง เคยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นแล ้ว แต่ไม่ค่อยมีความประทับใจกับวิธกี าร สอนของอาจารย์ เพราะมีแต่การใช้กราฟและสมการทางคณิตศาสตร์เต็มไปหมด เพือ่ อธิบายทฤษฎี ปัจจุบนั จ�ำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทศ่ี ึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์มี ค่อนข ้างน้อยเมือ่ เทียบกับการเรียนการสอนหลักสูตรอืน่ ๆ ยิง่ การศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอกด้วยแล ้ว ยิง่ มีจำ� นวนเป็ นสัดส่วนทีน่ อ้ ยมาก และจ�ำนวนคนไม่มากเหล่า นี้เองทีต่ อ้ งเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทเ่ี ต็มไปด้วยกราฟและสมการทางคณิตศาสตร์ แต่กลับปรากฏว่า ส่วนใหญ่ของจ�ำนวนคนไม่มากเหล่านี้ก็ไม่ได้รบั ความ รูอ้ ะไรมากนักจากการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เลย เพราะผลการทดสอบความรู ้ พื้นฐานกับกลุม่ นักศึกษาหลังจากเรียนวิชานี้แล ้ว 6 เดือน พบว่าไม่ได้มคี วามรูด้ ี ไปกว่ากลุม่ ทีไ่ ม่เคยเรียนวิชานี้มาก่อนอย่างมีนยั ส�ำคัญประการใด ซึง่ ความจริงที่ ค้นพบนี้เป็ นทีม่ าของค�ำถามทีน่ ่าอายของวงการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์คอื มีเหตุผล อะไรทีม่ หาวิทยาลัยควรเรียกเก็บค่าหน่วยกิตค่อนข ้างสูงกับนักศึกษาทีล่ งทะเบียน เรียนวิชาทีไ่ ม่ได้ก่อให ้เกิดประโยชน์หรือมูลค่าเพิม่ (ความรู )้ แก่เขาแต่ประการใด

บทน�ำ

19

ผู ้ทีเ่ คยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างน้อยน่าจะต้องเคยได้ยนิ ค�ำว่า ค่าเสีย โอกาส (Opportunity Cost) หมายถึง มูลค่าหรือรายได้จากทางเลือกหรือกิจกรรม ทีค่ ุณยอมสละโอกาสไปหรือไม่ทำ� เมือ่ เลือกตัดสินใจไปท�ำอีกกิจกรรมหนึ่งแทน อย่างไรก็ดี แม ้แต่ความหมายพื้นฐานของแนวคิดส�ำคัญนี้ ก็ยงั มีนกั ศึกษาจ�ำนวน มากทีไ่ ม่สามารถเข ้าใจได้อย่างถ่องแท ้ ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยเพิม่ ความเข ้าใจในแนวคิดของค่าเสียโอกาสได้ดขี ้นึ สมมติวา่ บังเอิญคุณโชคดีได้รับตัวชมคอนเสิ ๋ รต์ ฟรีคนื นี้ แสดงโดย อีรกิ แคล็ปตัน แต่มเี งือ่ นไขคือ คุณไม่สามารถขายตัวต่ ๋ อให้คนอืน่ ได้ สมมติต่ออีกว่า ในคืนเดียวกัน ก็มกี ารแสดงคอนเสิรต์ ของ บ็อบ ดีแลน ซึง่ เป็ นอีกทางเลือกหนึ่งทีค่ ุณอยากจะไป เพราะคุณเองก็ชน่ื ชอบเขา นอกนัน้ ก็ไม่มกี จิ กรรมอืน่ ใดอีกแล ้วทีใ่ ห้คุณเลือกท�ำได้ อีกส�ำหรับคืนนี้ การแสดงคอนเสิรต์ ของ บ็อบ ดีแลน เก็บค่าดู 40 ปอนด์ ทัง้ ๆ ทีโ่ ดยปกติจะเก็บสูงถึง 50 ปอนด์ และคุณก็เต็มใจยอมจ่ายส�ำหรับราคานี้ดว้ ย (แต่ถ ้าราคาสูงกว่านี้คุณจะไม่ไปดู แม ้จะไม่มอี ะไรท�ำในคืนนัน้ ก็ตาม) ส่วนค่าใช้ จ่ายอืน่ ๆ ทีอ่ าจเกี่ยวข ้องส�ำหรับการไปดูคอนเสิรต์ ไม่มี ค�ำถามมีวา่ คุณจะมีค่า เสียโอกาสเท่าไร หากตัดสินใจไปชมการแสดงคอนเสิรต์ ของ อีริก แคล็ปตัน คืนนี้ ค่ าเสียโอกาสที่เกี่ยวขอ้ งในกรณี น้ ีคือ มูลค่ าเพิ่มที่จะได้รบั จากการชม คอนเสิรต์ บ็อบ ดีแลน ทีค่ ุณยอมสละไป โดยเลือกทีจ่ ะไปชม อีรกิ แคล็ปตัน แทน มูลค่าเพิม่ ทีค่ ณ ุ เต็มใจจะจ่ายส�ำหรับการไปชม บ็อบ ดีแลน (หรือในอีกความ หมายหนึ่งคือมูลค่าความพึงพอใจทัง้ หมดทีจ่ ะได้รบั ) มีค่าเท่ากับ 50 ปอนด์ และ เมือ่ หักค่าตัวที ๋ ต่ อ้ งจ่ายจริง (ถ ้าไปชม) เท่ากับ 40 ปอนด์ แปลว่าคุณจะยอมสละ มูลค่าเพิม่ สุทธิไปเท่ากับ 10 ปอนด์ ดังนัน้ การทีค่ ุณตัดสินใจไปชมคอนเสิรต์ ของ อีรกิ แคล็ปตัน แทน แปลว่าจะต้องก่อมูลค่าความพึงพอใจใหแ้ ก่คุณอย่างน้อย เท่ากับ 10 ปอนด์ข้นึ ไป มิเช่นนัน้ คุณก็จะไม่ไปชม หรือกล่าวอีกทางหนึ่งคือ การ ชมคอนเสิรต์ ของ อีรกิ แคล็ปตัน มีค่าเสียโอกาสเท่ากับ 10 ปอนด์ ค่าเสียโอกาสนับเป็ นหนึ่งในสองหรือสามแนวคิดพื้นฐานทีม่ คี วามส�ำคัญมาก ในการศึกษาวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ทม่ี กี ารเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แต่ยงั มี

20

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

นักศึกษาจ�ำนวนมากทีไ่ ม่เข ้าใจแนวคิดนี้อย่างแท้จริง ดังทีไ่ ด้อธิบายไปแล ้ว ซึง่ จะ ชี้ให ้เห็นถึงปัญหาอีกครัง้ หนึ่ง โดยน�ำผลการศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์สองท่าน คือ พอล เฟอร์เรโน และ ลอร่า เทย์เลอร์ มาช่วยยืนยัน นักเศรษฐศาสตร์ทงั้ สอง ได้นำ� ปัญหากรณี แคล็ปตัน/ดีแลน ทีอ่ ธิบายข ้างต้น มาทดลองตัง้ เป็ นค�ำถามให ้ นักศึกษาตอบเพือ่ ทดสอบความเข ้าใจ โดยให ้เลือกค�ำตอบจาก 4 ทางเลือก ดังนี้ ก. 0 ปอนด์ ข. 10 ปอนด์ ค. 40 ปอนด์ ง. 50 ปอนด์ เราทราบแล ้วว่าค�ำตอบทีถ่ กู ต้อง คือ ข ้อ ข. 10 ปอนด์ แต่ผลการศึกษาของ พอล เฟอร์เรโน และ ลอร่า เทย์เลอร์ พบว่า ผู ้ตอบค�ำถามเป็ นนักศึกษาทัง้ หมด 270 คน ทีเ่ คยเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นแล ้ว มีเพียง 7.4 เปอร์เซ็นต์ เท่านัน้ ทีต่ อบถูกต้อง เนื่องจากค�ำตอบทีใ่ ห้เลือกมีเพียง 4 ข ้อ แม ้ให้นักศึกษาเลือก ตอบแบบเดาสุ่มในทางสถิตกิ ย็ งั มีโอกาสตอบถูกถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่น่ตี อบถูก เพียง 7.4 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่านักศึกษามีความรูด้ า้ นนี้นอ้ ยมาก พอล เฟอร์เรโน และ ลอร่า เทย์เลอร์ ยังได้ทดลองน�ำค�ำถามนี้ให้นักศึกษา ทีไ่ ม่เคยเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นจ�ำนวน 88 คนเป็ นผู ้ตอบ ผลปรากฏ ว่า 17.2 เปอร์เซ็นต์ตอบได้ถกู ต้อง ซึง่ เป็ นสัดส่วนสูงถึงสองเท่าของนักศึกษาที่ เคยเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นมาแล ้ว แต่กย็ งั น้อยกว่าสัดส่วนค�ำตอบที่ ถูกต้องจากการเดาสุ่มทางสถิตเิ ท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์อยู่ดี เพราะเหตุใดนักศึกษาทีเ่ รียนวิชาเศรษฐศาสตร์จงึ ตอบถูกน้อยกว่า สาเหตุ หลักน่าจะเกิดจากการต้องเรียนหลักการและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ร่วม ร้อยหัวข ้อ ซึง่ ค่าเสียโอกาสเป็ นเพียงหนึ่งในแนวคิดทฤษฎีจำ� นวนมากมายเหล่านัน้ จึงเป็ นผลให้สมองของนักศึกษาเกิดความสับสนคลุมเครือและไม่เข ้าใจอย่างชัดเจน จนต้องปล่อยผ่านๆ ไป โดยไม่ได้เข ้าใจจริงๆ ยิง่ ถ ้าพวกเขาไม่เคยท�ำการบ ้านหรือ บทน�ำ

21

ไม่มโี อกาสน�ำมาประยุกต์ใช้บอ่ ยๆ กับปัญหาในชีวติ ประจ�ำวัน ก็จะไม่สามารถเข ้าใจ อย่างถ่องแท ้กับการท�ำงานของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ ความเป็ นไปได้อกี ประการทีท่ ำ� ใหน้ กั ศึกษาเศรษฐศาสตร์ขาดความเข ้าใจ ในหลักการและแนวคิดของทฤษฎีค่าเสียโอกาส อาจเกิดจากตัวผูส้ อนเองทีย่ งั ไม่มคี วามเข ้าใจอย่างถ่องแท ้เช่นกัน เพราะผลจากการศึกษาของ พอล เฟอร์เรโน และ ลอร่า เทย์เลอร์ นี้ ได้ทดลองน�ำค�ำถามเดียวกันให ้ผู ้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ 199 คนตอบด้วย ผลก็คอื มีผู ้สอนทีต่ อบเกี่ยวกับทฤษฎีค่าเสียโอกาสได้ถกู ต้อง ว่า 10 ปอนด์ คิดเป็ น 21.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ค�ำตอบทีเ่ หลือคือ 0 ปอนด์ มีตอบ 25.1 เปอร์เซ็นต์ ค�ำตอบ 40 ปอนด์ มี 25.6 เปอร์เซ็นต์ และค�ำตอบ 50 ปอนด์ มี 27.6 เปอร์เซ็นต์ พอล เฟอร์เรโน และ ลอร่า เทย์เลอร์ ยังได้ทดลองศึกษาทบทวนและ ตรวจสอบต�ำราทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ชนั้ น�ำหลายเล่ม พบว่าต�ำราส่วนใหญ่ยงั ไม่ ได้ให ้ความสนใจและอุทศิ เวลามากพอเพือ่ อธิบายแนวคิดและความหมายของค่า เสียโอกาสในเชิงลึกอย่างละเอียด เพือ่ ช่วยใหน้ กั ศึกษาสามารถเรียนรู ้ มีความ เข ้าใจ และสามารถตอบค�ำถามกรณีชมคอนเสิรต์ แคล็ปตัน/ดีแลน ได้ ซึง่ ต�ำรา ส่วนใหญ่อธิบายและแสดงตัวอย่างแนวคิดทฤษฎีไวเ้ พียงผิวเผิน และความ ลึกซึ้งในสาระก็มไี ม่เกินระดับเบื้องต้นเท่านัน้ แล ้วทีห่ นักหนาสาหัสยิง่ กว่านัน้ พบ ว่าแม ้แต่ในดัชนีท ้ายเล่มของต�ำราเศรษฐศาสตร์ชนั้ น�ำระดับบัณฑิตศึกษาหลายๆ เล่ม ก็ยงั ไม่ปรากฏค�ำว่า “ค่าเสียโอกาส” ถูกอ้างถึงไว ้ให ้สืบค้นได้ อย่างไรก็ดี แนวคิดค่ าเสียโอกาสสามารถใช้อธิบายแบบกระสวนของ พฤติกรรมของมนุษย์ทพ่ี บเห็นได้อย่างน่าสนใจหลายเรื่อง ตัวอย่างทีจ่ ะหยิบยกมา กล่าวถึงในทีน่ ้ ี เป็ นเรือ่ งทีก่ ล่าวถึงกันเยอะเกีย่ วกับวัฒนธรรมทีเ่ ห็นความแตกต่างกัน อย่างมาก ระหว่างประชาชนทีอ่ าศัยอยู่ในเมืองใหญ่ (เช่น ลอนดอน) กับประชาชน ทีอ่ าศัยอยู่ในเมืองเล็กกว่า พบว่าผู ้คนของเมืองแพดดิงตันในกรุงลอนดอนมักจะมี นิสยั หยาบกระด้างและใจร้อนกว่าผู ้คนทีอ่ าศัยในเมืองเพรสตัน ซึง่ เป็ นเมืองเล็กๆ ทีอ่ ยู่ทางแถบตอนเหนือของอังกฤษ ซึง่ ผู ้คนมักเป็ นมิตรและสุภาพอ่อนโยนกว่า

22

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ถา้ คุณหลงอยู่ในเมืองเพรสตัน แล ้วต้องการ สอบถามเส ้นทางจากคนในท ้องถิน่ ผู ้คนเหล่านัน้ จะหยุด และให้การช่วยเหลือคุณ ทันที ในขณะทีเ่ หตุการณ์ทำ� นองเดียวกันนี้เกิดขึ้นทีเ่ มืองแพดดิงตัน ผู ้คนทีค่ ณ ุ ถาม อาจไม่แม ้กระทังหั ่ นมามองหน้าคุณด้วยซ�ำ้ ซึง่ พฤติกรรมตอบสนองทีแ่ ตกต่างกัน เช่นนี้อธิบายได้วา่ เป็ นเพราะผู ้คนทีอ่ าศัยในลอนดอนส่วนใหญ่เป็ นผู ้ทีไ่ ด้รบั อัตรา ค่าจ้างแรงงานค่อนขา้ งสู ง รวมทัง้ มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะต้องท�ำในรอบวัน ดังนัน้ เขาจึงมีค่าเสียโอกาสของเวลาค่อนข ้างสูง จึงไม่ค่อยอยากเสียเวลาสนทนา ตอบค�ำถามกับใคร จะเห็นได้วา่ ชาวลอนดอนส่วนใหญ่ทม่ี พี ฤติกรรมเหล่านี้จะเป็ น คนตัดสินใจรวดเร็ว แต่ขาดความอดทน ผมจงใจตัง้ ชื่องานทีม่ อบหมายให ้นักศึกษาเขียนรายงานว่า “นักธรรมชาติ เศรษฐกิจ (Economic Naturalist)” เพราะได้รบั แรงจูงใจส่วนหนึ่งจากการเห็น การตัง้ ค�ำถามที่กำ� หนดใหน้ กั ศึกษาตอบส�ำหรับการเรียนวิชาชีววิทยาเบื้องต้น เกี่ยวกับทฤษฎีววิ ฒ ั นาการของสิ่งมีชีวติ และถา้ คุณเรียนรูแ้ ละเขา้ ใจทฤษฎีดงั กล่าวแค่เพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยใหเ้ ข ้าใจสิง่ ต่างๆ ทีอ่ าจนึกไม่ถงึ มาก่อนทีเดียว ทฤษฎีน้ จี ะช่วยจ�ำแนกโครงสร้างและแบบกระสวนของสิง่ มีชวี ติ ในโลก ท�ำให ้ง่าย ต่อการจดจ�ำและระลึกถึง ขอยกตัวอย่างค�ำถามทีม่ กี ารถามมากในวิชาชีววิทยา เช่น เหตุใดสัตว์ส่วน ใหญ่ทมี ่ กี ระดูกสันหลังเพศผู ้ จึงมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์เพศเมีย อย่างแมวน�ำ้ เพศผู ้ อาจมีขนาดความยาวของล�ำตัวถึง 6 เมตร (20 ฟุต) และหนักถึง 2,700 กิโลกรัม ขณะทีเ่ พศเมียมีนำ�้ หนักเพียง 360 – 550 กิโลกรัมเท่านัน้ นอกจากนี้ พฤติกรรมที่แตกต่างกันของสัตว์มกี ระดู กสันหลังอันเนื่อง มาจากเพศทีพ่ บอีกประการหนึ่งคือ สัตว์เพศผูม้ กั มีคู่สบื พันธุไ์ ด้มากกว่าหนึ่งตัว (ทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วนิ เรียกว่า Sexual Dimorphism) จึงมักเห็นการต่อสู ้ ระหว่างเพศผู ้เพือ่ แย่งชิงเพศเมียในสัตว์จำ� พวกมีกระดูกสันหลังหลายชนิด ตามที่ ได้เห็นในรายการสารคดีทางทีวี อย่างการต่อสู ้ของแมวน�ำ้ เพศผู ้บนชายหาดจะนาน หลายชัวโมงในแต่ ่ ละครัง้ จนต่างฝ่ ายต่างหมดเรี่ยวแรง และตัวทีแ่ พ ้ต้องล่าถอยไป บทน�ำ

23

แน่นอนว่า แมวน�ำ้ เพศผู ้ทีช่ นะ สามารถครอบครองและสืบพันธุก์ บั แมวน�ำ้ เพศเมียได้หลายร้อยตัว ส�ำหรับกฎธรรมชาติทท่ี ฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วนิ อธิบายไว ้ คือ เพศผู ้ต้องมีลกั ษณะทางกายภาพทีใ่ หญ่กว่าเพศเมีย จึงจะสามารถครอบครอง และดูแลเพศเมียได้ จึงท�ำให ้ยีนด้านขนาดความใหญ่ของเพศผู ้จะมีการถ่ายทอด ทางพันธุกรรมสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และรุ่นต่อๆ ไป กรณีทแ่ี มวน�ำ้ เพศผู ้ตัวเล็กและ เป็ นผู ้แพ ้ จะไม่มโี อกาสสืบพันธ์ุกบั เพศเมียเพือ่ ขยายพันธุน์ นั ่ เอง

แมวน�้ำเพศผูจ้ ะมี ขนาดทางกายภาพใหญ่โตกว่าแมวน�้ำเพศเมี ยมาก

SS

ภาพโดย : สเตน รัสเซลล์

ในท�ำนองเดียวกัน นกยูงเพศเมียจะชอบเลือกอยู่เป็ นคู่กบั นกยูงเพศผู ้ทีม่ ี ขนาดแพนหางใหญ่และยาวกว่าแพนหางเล็ก ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของแพน หางเป็ นเครื่องชี้หรือบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีของนกยูง ดังนัน้ นกยูงเพศผูท้ ม่ี ี แพนหางเล็กและสัน้ จะมีสุขภาพอ่อนแอหรือมีโรค ท�ำให ้ไม่สามารถรักษาขนาด ของแพนหางทีย่ าวไว ้ได้

24

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ลักษณะทางกายภาพ เช่น ความใหญ่ของตัวสัตว์ ซึง่ เป็ นลักษณะเด่นของ สัตว์เพศผู ้ทัง้ นกยูงและแมวน�ำ้ แต่จะเป็ นประโยชน์เฉพาะกับสัตว์แต่ละตัวเท่านัน้ มิได้เป็ นประโยชน์ต่อสัตว์ชนิดนัน้ ทัง้ กลุม่ ตัวอย่างเช่น แมวน�ำ้ เพศผู ้ทีม่ นี ำ�้ หนัก ตัวมากถึง 2,700 กิโลกรัม จะอุย้ อ้ายเทอะทะจนไม่สามารถเคลือ่ นย้ายตัวเองได้ คล่องตัว จึงมักไม่ค่อยรอดพ ้นจากการจู่โจมของสัตว์ทเ่ี ป็ นศัตรู เช่น ปลาฉลาม ดังนัน้ หากแมวน�ำ้ เพศผู ้สามารถลดน�ำ้ หนักลงได้สกั ครึ่งหนึ่งก็จะช่วยเพิม่ โอกาส การอยู่รอด และเป็ นผลให้สัตว์ทงั้ กลุม่ มีอตั ราการอยู่รอดทีด่ ขี ้นึ ด้วย ทัง้ นี้ขนาดตัว ทีเ่ ล็กลงครึ่งหนึ่งจะไม่กระทบต่อพฤติกรรมการแย่งชิงคู่ระหว่างเพศผู ้แต่อย่างใด ในท�ำนองเดียวกัน หากความยาวของแพนหางนกยูงเพศผู ้สามารถลดลง ได้อกี ครึ่งหนึ่ง ก็จะไม่มผี ลกระทบใดๆ ต่อการเลือกคู่เช่นกัน เพราะนกยูงเพศ เมียก็ยงั คงเลือกนกยูงเพศผู ้ตัวเดียวกันอยู่นนั ่ เอง (แม ้มีแพนหางเล็กลง แต่กย็ งั คงยาวสวยกว่าตัวทีม่ สี ุขภาพไม่ด)ี แต่ประโยชน์โดยรวมจะเกิดขึ้นกับนกยูงทัง้ ฝูง ในด้านความอยู่รอดจากศัตรู

ปรากฏการณ์ ทีไ่ ด้รบั การยกเว้น–นกอัลบาทรอส เป็ นสัตว์ทีม่ ี คู่ครอง เพียงคู่เดียว มันจะเลือกคู่ทีม่ ี ขนาดเท่ากันทัง้ เพศผูแ้ ละเพศเมี ย

SS

ภาพโดย : เดวิด เลไวน์

บทน�ำ

25

อย่างไรก็ดี ดุลยภาพของธรรมชาติจะเป็ นตัวจัดความสมดุลของขนาดที่ เหมาะสมกับความอยู่รอดของสัตว์ในทีส่ ุด หมายความว่า วิวฒั นาการความเติบโต ทางกายภาพมิได้ดำ� เนินไปเรื่อยๆ โดยไม่มจี ดุ สิ้นสุด เพราะจนถึง ณ จุดหนึ่ง น�ำ้ หนักที่มากเกินไปของแมวน�ำ้ หรือแพนหางที่ใหญ่และยาวเกินไปของนกยูง จะส่งผลเสียมากกว่าผลดีทไ่ี ด้จากโอกาสการเข ้าถึงสัตว์เพศเมียเพือ่ การสืบพันธุ ์ ท�ำใหเ้ กิดการปรับสมดุล จนส่งผลสุดทา้ ยต่อขนาดของสัตว์เพศผูท้ เ่ี หมาะสมที่ เห็นอยู่ในปัจจุบนั ค�ำอธิบายทฤษฎีความแตกต่างด้านขนาดของสัตว์มกี ระดูกสันหลังอันเนื่อง มาจากเพศของนักชีววิทยาดูมเี หตุผลน่าเชือ่ ถือ เพราะหากพิจารณาสัตว์ประเภทที่ ครองคู่เดียวตลอดชีวติ (Monogamous Species) จะไม่พบลักษณะทีแ่ ตกต่าง กันระหว่างเพศผู ้กับเพศเมีย นัน่ คือ จะไม่เห็นพฤติกรรมการสืบพันธ์ุของสัตว์เพศ ผูแ้ บบเป็ นเจ้าฮาเร็มดังเช่นแมวน�ำ้ ปรากฏการณ์ข ้อนี้จงึ ไม่เป็ นไปตามค�ำท�ำนาย ของทฤษฎี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็ นข ้อยกเว ้นทางทฤษฎี ยกตัวอย่างเช่น นก อัลบาทรอส (Albartoss) ซึง่ จัดอยู่ในกลุม่ สัตว์ทค่ี ู่ครองเพียงคู่เดียว ทฤษฎีทำ� นาย ว่า เพศผู ้และเพศเมียจะมีขนาดไม่แตกต่างกัน ในโลกแห่งความเป็ นจริงก็เป็ นจริง ตามค�ำท�ำนายนัน้ การฝึ กหัดเรียนรูก้ ารใช้แนวคิดของวิชาชีววิทยาเพือ่ อธิบายความแตกต่าง ด้านขนาดของสัตว์อนั เนื่องมาจากเพศ จากวิธเี ชิงพรรณนาเรื่องราวแนวคิดอย่าง ง่ายๆ เพือ่ สนับสนุนสิง่ ทีส่ งั เกตเห็นในโลกแห่งความเป็ นจริง ถือว่าเป็ นวิธงี า่ ยๆ ทีช่ ่วยใหเ้ กิดความเขา้ ใจ สามารถประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดทางชีววิทยา ได้ดกี ว่าการใช้แนวคิดทฤษฎีอนั สลับซับซอ้ นซึ่งยากต่อการเขา้ ใจและประยุกต์ ใช้ การช่วยใหน้ กั ศึกษาสามารถบรรยายข ้อเท็จจริงและปัญหาทีพ่ บในธรรมชาติ และเข ้าใจว่าควรใช้เหตุผลแนวคิดใดทางชีวศาสตร์ในการอธิบายว่าเพราะเหตุใด จึงเป็ นเช่นนัน้ ก็จะเป็ นประโยชน์มากกว่าการสอนใหน้ กั ศึกษาจดจ�ำว่าสัตว์ชนิด ใดถูกจ�ำแนกอยู่ในกลุม่ ชัน้ หรืออาณาจักรของสัตว์ใด ในท�ำนองเดียวกัน วิธกี าร เรียนรูแ้ ละประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดว้ ยวิธีเชิง

26

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

พรรณนาเรื่องราว โดยไม่ตอ้ งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือไม่ใช้แบบ จ�ำลองแนวคิดอันสลับซับซ ้อน ก็จะให ้ผลดีต่อความเข ้าใจของนักศึกษาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่เป็ นอยู่ใน ปัจจุบนั ยังมีการใช้วธิ เี ชิงพรรณนาเรื่องราวน้อยมาก (รวมถึงตัวผมเองด้วยในยุค แรกๆ ทีเ่ ริม่ สอนวิชานี้) ส่วนใหญ่ยงั คงสอนด้วยแบบจ�ำลองสมการทางคณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์กราฟเพือ่ อธิบายแนวคิดของทฤษฎี แม ้ว่าคณิตศาสตร์จะมีความ เกีย่ วพันและช่วยพัฒนาเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์ให้ก้าวหน้ายิง่ ขึ้นในหลายทศวรรษ ทีผ่ ่านมา แต่วธิ กี ารสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้คณิตศาสตร์เป็ นเครื่องมือทีผ่ ูส้ อน ปฏิบตั กิ นั มายาวนานนัน้ ได้รบั การพิสูจน์แล ้วว่าไม่ได้เป็ นวิธกี ารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เพียงพอในการเพิม่ ความเข ้าใจให ้กับนักศึกษาชัน้ ปี ตน้ ๆ ทีเ่ ริ่มเรียนวิชานี้ ยกเว ้น นักศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์หรือนักศึกษาทีม่ พี ้นื ฐานดีดา้ นคณิตศาสตร์อยู่แล ้ว เท่านัน้ ทีไ่ ม่มปี ญ ั หา ส่วนนักศึกษาสาขาอืน่ ๆ ทีเ่ รียนวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเน้นการ ใช้สมการคณิตศาสตร์และกราฟ พบว่าน้อยมากทีจ่ ะเข ้าใจหลักการและความหมาย ของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อย่างแท ้จริง ด้วยเหตุน้ ีนกั ศึกษาก็ไม่สามารถเป็ นอย่างทีผ่ ูส้ อนต้องการใหเ้ ป็ น นัน่ คือ การรู จ้ กั คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ (Thinking Like an Economist) คือคิด ความสัมพันธ์ของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์บนพื้นฐานของกราฟและสมการได้ ซึง่ นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลาและความพยายามอย่างมากกับการท�ำความเข ้าใจ สมการทีเ่ ป็ นตัวแทนความสัมพันธ์ของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ จนกระทังลื ่ ม หลักการ เหตุผล และองค์ความรูท้ บ่ี งั เกิดขึ้นเองได้ ซึง่ อยู่เบื้องหลังแนวคิดของ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สมองของมนุษย์เป็ นอวัยวะทีม่ คี วามยืดหยุ่นและมีศกั ยภาพสูงมาก ส�ำหรับ เก็บรวมรวมและจดจ�ำข ้อมูลนานาชนิดในรูปแบบทีห่ ลากหลาย แต่กระนัน้ ก็มขี ้อมูล บางลักษณะทีส่ มองสามารถเข ้าใจง่ายและจดจ�ำได้ดเี ป็ นพิเศษ แต่กบั ข ้อมูลด้าน สมการทางคณิตศาสตร์และกราฟก็เป็ นตัวอย่างของข ้อมูลทีย่ ากต่อการท�ำความ เข ้าใจของนักศึกษา ตรงกันข ้ามกับข ้อมูลประเภทเรื่องเล่าหรือนิยาย ซึง่ จะง่ายต่อ การเข ้าใจและการจดจ�ำของสมองมากกว่า บทน�ำ

27

ผมได้ตระหนักถึงความจริงอย่างหนึ่งทีไ่ ด้กล่าวไปแล ้ว ในช่วงทีไ่ ด้เข ้าร่วม โครงการ Writing Across the Disciplines Programme (การเขียนรายงานไขว ้ สาขา) ของมหาวิทยาลัยเมือ่ ยีส่ บิ กว่าปี ทผ่ี ่านมา โดยแนวคิดของโครงการดังกล่าว มีทม่ี าจากผลงานวิจยั ของนักการศึกษาสองท่าน คือ วอลเตอร์ ดอยล์ และ แคที คาร์เตอร์ ซึง่ ค้นพบว่าวิธกี ารเรียนรูท้ ด่ี ที ส่ี ุดของมนุษย์คอื การเขียนเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับสิง่ นัน้ ๆ โดยเฉพาะเรื่องของตัวเอง เพราะจะมีประสบการณ์ทเ่ี ป็ นข ้อมูล สามารถผูกเรื่องเป็ นเค้าโครง และหาค�ำอธิบายเป็ นเหตุผลได้ดกี ว่า นอกจากนี้ นักจิตวิทยาอย่าง เจอโรม บรู เนอร์ ตัง้ ขอ้ สังเกตว่า เด็กมักมีความสามารถ เปลีย่ นแปลงประสบการณ์แล ้วน�ำมาผูกเป็ นเรื่องราว และเล่าเรื่องได้ดี โดยเฉพาะ ตอนพยายามหาเหตุผลเพือ่ สนับสนุนความต้องการของตัวเอง ก็จะถนัดใช้วธิ บี อก เล่าเป็ นเรื่องราว แต่เด็กๆ เหล่านี้จะไม่สามารถจดจ�ำได้ดเี ลย หากไม่จบั ใจความ ส�ำคัญโดยผูกเป็ นเรื่องราว โดยสรุปแล ้ว สมองของมนุษย์มคี วามสามารถในการดูดซับข ้อมูลความรู ้ ในรูปการบอกเล่าหรือสร้างขึ้นเป็ นเรื่องราวได้มากกว่า และจุดแข็งนี้เองเป็ นทีม่ า ของรูปแบบการเขียนรายงานขนาดสัน้ โดยเล่าเป็ นเรื่องราวทีผ่ มได้มอบหมายให ้ นักศึกษาท�ำส่งในวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยผมก�ำหนดให้นักศึกษาตัง้ ชือ่ เรื่อง ในรูปค�ำถาม และต้องเป็ นค�ำถามทีน่ ่าสนใจทีส่ ุดทีพ่ วกเขาสามารถกระท�ำได้ดว้ ย ซึง่ ผมพบว่ามีประโยชน์ 3 ประการ ดังนี้ (1) เป็ นแบบฝึ กหัดการเรียนทีด่ ที ส่ี ุดทางหนึ่งให ้แก่นกั ศึกษา เพราะกว่าที่ เขาจะเลือกค�ำถามทีค่ ดิ ว่าดีและน่าสนใจทีส่ ุดได้ จะต้องผ่านการคิดพินิจพิจารณา อย่างถีถ่ ้วน จากประเด็นสารัตถะของเศรษฐศาสตร์ (2) นักศึกษาทีเ่ ลือกค�ำถามที่ ตัวเองสนใจได้แล ้ว จะมีความสุขสนุกเพลิดเพลินกับงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย และ ส่วนใหญ่ยอมอุทศิ เวลาให ้กับงานมากกว่า และ (3) นักศึกษาทีส่ ามารถตัง้ ค�ำถาม ได้ มักจะบอกต่อใหเ้ พือ่ นๆ ได้รูแ้ นวความคิดและทีม่ าทีไ่ ปของค�ำถาม อันเป็ น ประโยชน์ทางเทคนิควิธแี ก่เพือ่ นๆ เพือ่ คิดหาค�ำถามต่อไป หากว่านักศึกษายังไม่ สามารถจับประเด็นหรือแนวคิดของการตัง้ ค�ำถามได้ ก็ยากในการเข ้าใจหลักการ

28

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

และแนวคิดของปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างแท้จริง แต่ถ ้าสามารถท�ำได้ องค์ ความรูน้ นั้ ก็จะอยู่ตดิ ตัวพวกเขาตลอดไป

หลักการประเมินผลได้–ผลเสีย (Cost–Benefififififit Principle) มีคำ� กล่าวว่า หลักการประเมินผลได้–ผลเสีย คือทีม่ าหรือผู ้ให้ก�ำเนิดแนวคิดต่างๆ ทางเศรษฐศาสตร์ คุณจะตัดสินใจด�ำเนินกิจกรรมใดก็ตาม ก็ต่อเมือ่ มีรายได้หรือ ผลประโยชน์ทจ่ี ะเกิดเพิม่ ขึ้น และต้องมากกว่าต้นทุนเพิม่ ของการด�ำเนินกิจกรรม นัน้ แม ้ฟังดูเข ้าใจง่าย แต่กไ็ ม่งา่ ยในทางปฏิบตั เิ สมอไป ตัวอย่ างที่ 1 สมมติวา่ คุณตังใจจะไปซื ้ ้อนาฬิกาปลุกเรื อนละ 10 ปอนด์ จากร้ านในมหาวิทยาลัยที่คณ ุ ท�ำงานอยู่ แต่มีเพื่อนมาบอกคุณว่า ที่ร้าน เทสโก้ กลางเมือง ตังราคาขายเพี ้ ยงเรื อนละ 5 ปอนด์เท่านัน้ ค�ำถามคือ คุณควรตัดสิ นใจไปซื ้อทีร่ ้านเทสโก้ โดยจ่าย 5 ปอนด์ หรื อไปซื ้อทีร่ ้านใน มหาวิ ทยาลัย โดยจ่าย 10 ปอนด์ ซึ่งร้านทัง้ สองแห่งก็มีบริ การประกัน การซ่อมเหมื อนๆ กัน แน่นอนว่า แม ้ไม่มคี ำ� ตอบทีถ่ กู หรือผิดเสมอไป เพราะขึ้นอยูก่ บั แต่ละบุคคล ซึง่ จะมีความแตกต่างกันอยู่แล ้ว โดยอาจน�ำปัจจัยอืน่ ๆ มาประกอบการพิจารณา เพือ่ ตัดสินใจด้วย แต่ถ ้าคุณสอบถามผู ้คนส่วนใหญ่ พวกเขาจะตอบคุณว่า จะไป ซื้อจากร้านเทสโก้มากกว่า ต่อไปลองพิจารณาค�ำถามนี้ ตัวอย่ างที่ 2 คุณตังใจจะไปซื ้ ้อเครื่ องแล็ปทอปราคาเครื่ องละ 1,205 ปอนด์ จากร้ านในมหาวิทยาลัยที่คณ ุ ท�ำงานอยู่ แล้ วก็ทราบว่าที่ร้าน เทสโก้ ในเมือง ตังราคาขายเครื ้ ่ องรุ่นเดียวกันในราคา 1,200 ปอนด์ โดย ทังสองแห่ ้ งให้ บริ การหลังการขายเหมือนกัน ค�ำถามคือ คุณควรซื ้อเครื ่อง แล็ปทอปจากร้านใดดี

บทน�ำ

29

คราวนี้ผูค้ นส่วนใหญ่อาจตอบคุณว่า เลือกไปซื้อที่รา้ นในมหาวิทยาลัย มากกว่า (แม ้จะแพงกว่า 5 ปอนด์) ซึง่ ก็ไม่ใช่คำ� ตอบทีผ่ ดิ แต่อย่างไร แต่ถ ้าคุณ ใช้หลักรายได้–ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มาพิจารณา จะพบว่าค�ำตอบ ต้อง เหมือน กันทัง้ สองกรณี เพราะบุคคลทีม่ เี หตุผล (Rational Person) ต้องตัดสินใจเลือก ไปซื้อทีร่ า้ นเทสโก้ในเมืองเท่านัน้ เพราะช่วยประหยัดได้ 5 ปอนด์เท่ากัน (หรือก็ คือ ส่วนของรายได้หรือผลประโยชน์เพิม่ นัน่ เอง) ในกรณีน้ ี มีค่าใช้จ่ายเพิม่ จาก การเดินทางเข ้าเมืองทีเ่ ท่ากัน ดังนัน้ เมือ่ มีทงั้ รายได้เพิม่ และค่าใช้จ่ายเพิม่ เท่ากัน ทัง้ สองกรณี ค�ำตอบก็ตอ้ งเหมือนกันด้วย คนส่วนใหญ่ อาจคิดว่า ผลประโยชน์ท่ีได้จากการประหยัดมีถึง 50 เปอร์เซ็นต์จากการซื้อนาฬกิ าปลุกในเมือง มีมากกว่าการประหยัดเพียง 5 ปอนด์ จากราคา 1,205 ปอนด์ในการซื้อเครื่องแล็ปท็อป ซึง่ ถือเป็ นการใช้หลักตรรกะที่ ไม่ถกู ต้องนักในกรณีน้ ี ด้วยเหตุน้ ี การใช้หลักรายได้–ต้นทุนเป็ นเกณฑ์พจิ ารณาประเมินผลดี ผลเสียของกิจกรรมจึงเป็ นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเพื่อเป็ นแนวทางในการ เลือกตัง้ ค�ำถามที่น่าสนใจและค้นหาค�ำตอบเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่อไปได้เป็ น อย่างดี คุณอาจลองตัง้ ค�ำถามบนพื้นฐานการประเมินผลดีผลเสียในลักษณะของ ตัวอย่างนี้กบั เพือ่ นฝูงดูกไ็ ด้ และดูวา่ เพือ่ นคุณจะตอบสนองอย่างไร ซึง่ การสนทนา แลกเปลีย่ นกันจะช่วยเพิม่ ความเข ้าใจส�ำหรับหลักการแนวคิดรายได้–ต้นทุน ให ้ มีความลึกซึ้งมากขึ้นอีก หลังจากผมได้บรรยายกรณีนาฬกิ าปลุกและเครื่องแล็ปท็อปใหน้ กั ศึกษา ฟังแล ้ว ผมก็ให้แบบฝึ กหัดเพือ่ ให้ฝึ กฝนการใช้แนวคิดโดยตัง้ ค�ำถามให้ตอบดังนี้ ตัวอย่ างที่ 3 สมมติวา่ นักศึกษาต้ องเดินทางไปกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปนุ่ และกรุงปารี ส ประเทศฝรั่งเศส แล้ วมีคปู องส่วนลดค่าตัว๋ เครื่ องบินอยูห่ นึง่ ใบ ซึง่ สามารถใช้ ได้ กบั การเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึง่ นี ้เท่านัน้ โดยจะได้ รับส่วนลดเป็ นมูลค่า 40 ปอนด์สำ� หรับการซื ้อตัว๋ ในราคา 100

30

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ปอนด์ไปกรุงปารี ส หรื อรับส่วนลด 50 ปอนด์กบั การซื ้อตัว๋ ราคา 1,000 ปอนด์ ไปโตเกียว ค�ำถามคือ นักศึกษาควรจะใช้คูปองส่วนลดกับการ เดิ นทางรายการใด ค�ำตอบทีไ่ ด้รับส�ำหรับกรณีน้ ี แน่นอนว่านักศึกษาส่วนใหญ่ตอ้ งเลือกใช้คูปอง ส่วนลดส�ำหรับไปโตเกียว เพราะส่วนลดมีมลู ค่าตัวเงินสูงกว่า (50 ปอนด์) แม ้ทุก คนอาจตอบได้ถกู ต้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรตัง้ ถามค�ำถามลักษณะนี้ ถ ้าวัตถุประสงค์เพือ่ ต้องการใหน้ กั ศึกษาเรียนรูแ้ ละเข ้าใจแก่นของแนวคิดทฤษฎี ก็ยง่ิ ต้องตัง้ ค�ำถามหลากหลายรูปแบบ และกระท�ำซ�ำ้ ใหบ้ ่อยครัง้ เพือ่ ใหพ้ วกเขา ฝึ กฝนการตอบจนเกิดความเคยชินและบังเกิดความเข ้าใจจริงๆ ตัวอย่างค�ำถามทีผ่ มคัดเลือกมารวมไว ้ในหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงแค่ความน่า สนใจของค�ำถามเท่านัน้ แต่เป็ นเพราะทุกเรื่องเกี่ยวพันกับแนวคิดพื้นฐานและการ ประยุกต์ใช้แนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ดว้ ย ซึง่ ผมตัง้ ความหวังไว ้ว่า หนังสือ เล่มนี้จะช่วยให ้นักศึกษาและผู ้อ่านทัวไปสามารถเข ่ ้าใจแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ ได้โดยไม่ตอ้ งใช้ความพยายามมากนัก และได้รบั ความสนุกสนานเพลิดเพลินจาก การอ่าน อีกทัง้ เข ้าใจแนวคิดจากวิธกี ารน�ำเสนอนี้ได้ ผมอธิบายให ้นักศึกษาเข ้าใจว่า ไม่ควรคิดว่าค�ำตอบและค�ำถามของพวก เขาในรายงานจะเป็ นค�ำตอบสุดทา้ ย แต่ควรถือเป็ นเพียงสมมติฐานของค�ำตอบ เบื้องต้น ซึง่ ต้องสามารถปรับแต่งและศึกษาทดสอบต่อไปได้ ในช่วงแรกทีผ่ มน�ำ เรื่องราวของ บิลล์ โจ เกี่ยวกับเครื่องถอนเงินอัตโนมัตทิ ม่ี ปี ่ มุ กดเป็ นอักษรเบรลล์ มารวมไว ้ในต�ำราวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ทีผ่ มเขียนร่วมกับ เบน เบอร์เนนเก้ ซึง่ ได้รบั ค�ำติชมจากผูอ้ ่านหลายท่านทางอีเมล แล ้วมีท่านหนึ่งแสดงความเห็นโต้ แย้งว่า เหตุผลทีแ่ ทจ้ ริงของผูผ้ ลิตทีต่ อ้ งสร้างปุ่มกดเป็ นอักษรเบรลล์บนเครื่อง ถอนเงินอัตโนมัติ เพราะต้องปฏิบตั ติ ามข ้อก�ำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู ้ไร้ความ สามารถ (Disabilities Legislation) ซึง่ มันไม่ได้มอี ะไรเกีย่ วกับหลักเศรษฐศาสตร์! แน่นอนว่าข ้อก�ำหนดดังกล่าวท�ำใหธ้ นาคารต้องสังผลิ ่ ตและติดตัง้ เครื่องถอนเงิน บทน�ำ

31

ทีม่ ปี ่ มุ กดอักษรเบรลล์แทบทุกที่ ไม่เว ้นแม ้แต่จดุ ทีผ่ ู ้เบิกเงินสามารถขับรถเข ้าไป ท�ำธุรกรรมได้ ซึง่ ก่อประโยชน์ในบางกรณี แม ้ไม่ค่อยพบบ่อยครัง้ นัก กรณีทค่ี น ตาบอดจะนัง่ รถแท็กซีเ่ ข ้าไปถอนเงินกับเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ และไม่ตอ้ งการ ให ้คนขับรูห้ มายเลข PIN จากบัตร ATM ผมได้ตอบกลับอีเมลฉบับนี้ไปยังผูว้ จิ ารณ์วา่ ผมบอกกับนักศึกษาเสมอ ว่า ค�ำอธิบายส�ำหรับค�ำตอบไม่จำ� เป็ นต้องถูกทัง้ หมดเสมอไป ขอใหล้ องนึกถึง ข ้อเท็จจริงว่า ถ ้าการผลิตและติดตัง้ เครื่องถอนเงินอัตโนมัตทิ ม่ี ปี ่ มุ กดเป็ นอักษร เบรลล์ตอ้ งมีการลงทุนค่าใช้จ่ายเพิม่ อย่างมีนยั ส�ำคัญจริงๆ แล ้วจะมีธนาคารไหน ยอมปฏิบตั ติ ามกฎหมายนี้หรือ แน่นอนว่าไม่มี และก็พบความจริงด้วยว่า การเพิม่ ปุ่มกดอักษรเบรลล์ไม่ได้เพิม่ ค่าลงทุนมากมายแต่อย่างใด แต่กลับเพิม่ โอกาสให ้ คนตาบอดได้ใช้ประโยชน์ดว้ ย แม ้เกิดไม่บอ่ ยครัง้ นักก็ตาม และอาจเป็ นเพราะ เหตุผลนี้เอง จึงท�ำใหม้ กี ารตรากฎหมายทีก่ ำ� หนดเงือ่ นไขใหม้ ปี ่ มุ กดเป็ นอักษร เบรลล์ ตามทีก่ ล่าวไปแล ้วกับการอธิบายปัญหานี้ของ บิลล์ โจ ท�ำให ้น�ำ้ หนักของ เหตุผลดีกว่าข ้อโต้แย้งของนักวิจารณ์จากอีเมลทีอ่ า้ งถึง ดังนัน้ จึงขอใหค้ ุณได้อ่านค�ำถามและค�ำตอบของปัญหาในหนังสือเล่มนี้ ด้วยใจทีเ่ ปิ ดกวา้ งโดยใช้วจิ ารณญาณ ซึง่ หลายท่านอาจมีความรูค้ วามสามารถ ในการปรับปรุงค�ำตอบให ้ดีข้นึ ตัวอย่างเช่น ผมได้พบเจ้าของห ้องเสื้อเจ้าสาวคน หนึ่ง เธอบอกกับผมว่า อีกเหตุผลหนึ่งทีเ่ จ้าสาวเลือกใช้วธิ ีตดั ชุดใส่เอง เพราะ ชุดทีใ่ หเ้ ช่าส่วนมากมักมีขนาดไม่พอดีกบั ตัวของแต่ละคน ท�ำใหต้ อ้ งมีการแก้ไข และการตัดแก้ไขชุดซ�ำ้ กันบ่อยครัง้ ก็ไม่สามารถกระท�ำได้สำ� หรับชุดทีใ่ หเ้ ช่า ค�ำ อธิบายเพิม่ เติมนี้นบั ว่ามีเหตุผลดี แต่กย็ งั ไม่สามารถลดน�ำ้ หนักความส�ำคัญของ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทค่ี ุณเจนนิเฟอร์ ดัลสกี้ อธิบายและให ้เหตุผลไว ้ได้ ดัง ทีไ่ ด้อธิบายไปแล ้ว

32

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

1

กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับ กระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

เศรษฐศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์



ำ�ไมแต่ละผลิตภัณฑ์จงึ มีการออกแบบใหม้ รี ู ปแบบเฉพาะของมันเอง ผู ้ ทีส่ ามารถใหค้ �ำตอบได้ดี ต้องมีความเข ้าใจและรูจ้ กั ประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบรายได้และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มาประกอบ การพิจารณา อย่างกรณีเครือ่ งถอนเงินอัตโนมัตทิ ป่ี ่ มุ กดเป็ นอักษรเบรลล์ส �ำหรับคน ตาบอด ดังอธิบายในบททีผ่ ่านมา นี่เป็ นตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทีเ่ ป็ นผลมาจากการใช้แนวคิดรายได้และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มาพิจารณา การ ทีผ่ ู ้ผลิตออกแบบเครื่องถอนเงินทีม่ ปี ่ มุ กดเป็ นอักษรเบรลล์ และใช้แบบเดียวกัน ติดตัง้ ไปทัวประเทศนั ่ น้ เป็ นเพราะผู ้ผลิตได้ประเมินแล ้วว่า หากผลิตเครื่องถอน เงินมีรูปแบบปุ่มกดต่างกันแยกกันเป็ นสองแบบ จะท�ำใหม้ ตี น้ ทุนทางธุรกิจโดย รวมสูงขึ้น ซึง่ สูงกว่ารายได้หรือผลประโยชน์เพิม่ เชิงเศรษฐกิจทีค่ าดว่าจะได้รบั โดยทัว่ ไป ผูผ้ ลิตจะไม่เพิม่ ลูกเล่นหรือออปชัน่ ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ ถ ้าความพึงพอใจเพิม่ เมือ่ วัดในรูปตัวเงินทีล่ ูกค้ายอมจ่ายมากขึ้นไม่คุม้ กับต้นทุน ทีต่ อ้ งจ่ายเพิม่ ในการผลิตในเกือบทุกกรณี ฉะนัน้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม้ ี ออปชัน่ สินค้าทีผ่ ู ้บริโภคชื่นชอบ (ซึง่ เป็ นการเพิม่ ต้นทุนและเพิม่ ราคาสินค้า) ต้อง ถูกประเมินเปรียบเทียบกับทางเลือกความจ�ำเป็ นทีผ่ ูค้ า้ ต้องรักษาระดับของราคา ขายให ้สามารถแข่งขันกันกับสินค้าของคู่แข่งได้ดว้ ย

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

33

ข ้อดีและข ้อเสียของการปรับเปลีย่ นรูปแบบผลิตภัณฑ์กบั ราคา มีกรณีท่ี เห็นได้ชดั อย่างเช่น วิวฒ ั นาการของรถยนต์ ผมเองซื้อรถยนต์คนั แรกเมือ่ ปี 1961 ตอนยังเป็ นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ผมสะดุดกับข ้อความโฆษณา มันโน้มน้าว ใจให้ผมซื้อรถยนต์ในครัง้ นัน้ ซึง่ โฆษณาไว ้ดังนี้ “รถปอนเตียก ชิฟเทน สองประตู 8 วาล์ว รุ่นปี 1955 เกียร์กระปุก พร้อมวิทยุและเครือ่ งท�ำความร้อน ขายราคา 375 ดอลลาร์ ต่อรองได้” ซึง่ รถยนต์แบบมาตรฐานทีข่ ายในท ้องตลาดปัจจุบนั นี้ก็ มีเครื่องท�ำความร้อนแล ้วทุกคัน ในขณะทีเ่ มือ่ ปี 1955 นัน้ ไม่ได้มเี ครื่องท�ำความ ร้อนติดตัง้ ในรถทุกคัน ถ ้าเป็ นออปชัน่ ต้องจ่ายเพิม่ แล ้วรถยนต์ส่วนใหญ่ทว่ี ง่ิ อยู่ ตามท ้องถนนในฟลอริดาตอนนัน้ ก็ยงั ไม่มเี ครื่องท�ำความร้อน ถ ้ารถยนต์คนั ใดมี ก็ถอื เป็ นโชค แม ้มีโอกาสได้ใช้แค่ในช่วงฤดูหนาวเพียงปี ละไม่ก่วี นั ก็ตาม อย่างไรก็ ดี เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในยุคนัน้ ยังมีรายได้ไม่สูงมาก จึงมักเลือกรถยนต์ ที่ไม่มเี ครื่องท�ำความร้อนเพือ่ จะได้ซ้ อื ในราคาที่ถูกลงเป็ นการประหยัดอีกด้วย ด้วยเหตุดงั กล่าว ผูผ้ ลิตรถยนต์รายใดทีเ่ สนอขายรถภายใต้ช่อื การค้าของตนที่ มีแต่รุ่นทีต่ ดิ ตัง้ เครื่องท�ำความร้อนเป็ นทางเลือกเดียวเท่านัน้ จะมีความเสีย่ งทาง ธุรกิจสูง และอาจสูญเสียธุรกิจทัง้ หมดใหก้ บั คู่แข่งทีไ่ ม่มอี อปชัน่ เครื่องท�ำความ ร้อนซึง่ มีราคาขายถูกกว่า เมือ่ ประชาชนเริ่มมีระดับรายได้ทส่ี ูงขึ้น และมีก �ำลังซื้อมากขึ้น แน่นอน ว่าความอดทนต่อความหนาวเย็นของอากาศเพือ่ แลกกับการประหยัดเงินจะเริ่ม ลดลง และเริ่มหันมาซื้อรถยนต์รุ่นทีต่ ดิ ตัง้ เครื่องท�ำความร้อนใช้กนั มากขึ้น จน ในทีส่ ุด เมือ่ อุปสงค์ความต้องการรถยนต์รุ่นไม่มเี ครื่องท�ำความร้อนลดลงมาก จนถึงระดับวิกฤติหนึ่ง ส่งผลให ้ผู ้ขายไม่ตอ้ งน�ำรถทีไ่ ม่ตดิ เครื่องท�ำความร้อนไป แสดงในศูนย์จ �ำหน่ายรถของตนอีกต่อไป เมือ่ เวลานัน้ มาถึง ก็จะมีแต่การจ�ำหน่าย รถยนต์ทม่ี กี ารติดตัง้ เครือ่ งท�ำความร้อนเป็ นรุ่นมาตรฐาน ถา้ เป็ นรถรุ่นทีไ่ ม่มเี ครือ่ ง ท�ำความร้อนก็จะกลายเป็ นรุ่นทีล่ ูกค้าต้องสังจองเป็ ่ นพิเศษ ซึง่ มีราคาแพงกว่า และ แน่นอนว่าคงไม่มผี ู ้ซื้อรายใดยอมจ่ายให้กับรถทีไ่ ม่มอี อปชันเครื ่ ่องท�ำความร้อนใน ราคาทีแ่ พงกว่า แล ้วรถรุ่นทีไ่ ม่มเี ครื่องท�ำความร้อนก็จะหมดไปจากตลาดรถยนต์ โดยอัตโนมัตใิ นทีส่ ุด

34

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

รถปอนเตียก ชิฟเทน ทีน่ ิยมกันในปี 1955 มี 2 รุ่นคือ รุ่น 6 วาล์ว และ 8 วาล์ว ซึง่ ข ้อดีของรถรุ่น 8 วาล์วคือจะมีอตั ราเร่งแรงกว่า แต่ข ้อเสียคือ นอกจาก ราคารถจะแพงกว่าแล ้ว ยังมีค่าใช้จ่ายด้านน�ำ้ มันเชื้อเพลิงมากกว่า แม ้ว่าในขณะ นัน้ ราคาจะไม่สูงมากก็ตาม ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมือ่ สหรัฐฯ มีกฎหา้ มการน�ำเข ้าน�ำ้ มันจาก ประเทศในกลุม่ ตะวันออกกลาง ส่งผลใหน้ ำ�้ มันทีเ่ คยขายในราคา 38 เซนต์ต่อ แกลลอนในช่วงกลางปี 1973 ขยับสูงขึ้นเป็ น 52 เซนต์ต่อแกลลอนในช่วงปลาย ปี นนั้ จึงเกิดปัญหาวิกฤติราคาน�ำ้ มันเกิดขึ้นอีกครัง้ เมือ่ ปี 1979 ซึง่ ดันราคาขึ้นไป จนสูงถึงแกลลอนละ 1.19 ดอลลาร์ในปี 1980 ภายใต้สภาวะน�ำ้ มันมีราคาแพง ดังกล่าว ส่งผลให ้ผู ้บริโภคปรับเปลีย่ นพฤติกรรมโดยเลิกใช้รถยนต์ทม่ี กี �ำลังสูงซึง่ กินน�ำ้ มันมาก เพราะผลทีไ่ ด้ (อัตราเร่งสูง) ไม่คมุ ้ กับต้นทุน (ค่านำ�้ มัน) วิกฤติราคา น�ำ้ มันส่งผลให ้รถรุ่น 8 วาล์วเริ่มหายไปจากท ้องตลาด แต่ยงั คงมีรถรุ่น 6 วาล์ว ใช้กนั อยู่ ในขณะทีร่ ถยนต์ประเภทสีส่ ูบในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1970 ไม่ค่อยมีการ ผลิตจ�ำหน่ายในตลาดรถมากนัก กลับเริ่มได้รบั ความนิยมมากขึ้นจนตีต้ นื ขึ้นมา ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ราคาขายปลีกน�ำ้ มันในทอ้ งตลาดค่อนข ้างมี เสถียรภาพ แล ้วก็เริ่มมีแนวโน้มลดลงเมือ่ เทียบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์อน่ื ๆ ช่วง ปี 1999 ราคาขายปลีกน�ำ้ มันอยู่ท่ี 1.40 ดอลลาร์ต่อแกลลอน แต่ถ ้าวัดในรูปตัว เงินจริง ปรากฏว่าตำ� ่ กว่าราคาขายปลีกทีจ่ �ำหน่ายในช่วงกลางปี 1973 ซึง่ เท่ากับ 38 เซนต์ต่อแกลลอน (หมายความว่า เงินจ�ำนวน 1.40 ดอลลาร์ ในปี 1999 สามารถ ซื้อสินค้าและบริการในปริมาณทีน่ อ้ ยกว่าเงินจ�ำนวน 38 เซนต์ได้ทส่ี ามารถซื้อได้ ในปี 1973) ด้วยเหตุน้ ี จึงไม่ตอ้ งแปลกใจว่าท�ำไมรถยนต์ทม่ี เี ครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เริ่มกลับมาได้รบั ความนิยมอีกครัง้ หนึ่ง ก็เพราะผู ้ใช้รถยนต์ได้ตอบสนองต่อราคา น�ำ้ มัน (ในรูปตัวเงินจริง) ทีถ่ กู ลงนัน่ เอง อย่างไรก็ตาม เมือ่ ราคาน�ำ้ มันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกครัง้ ใน ช่วงไม่ก่ีปีทผ่ี ่านมา เราก็เริ่มเห็นการกลับมาของแนวโน้มการเลิกใช้รถยนต์ทม่ี ี บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

35

ก�ำลังสูบสูงเหมือนทีเ่ คยเกิดในช่วงทศวรรษที่ 1970 ส�ำหรับในปี 2005 ราคานำ�้ มัน ได้เพิม่ สูงขึ้นถึงแกลลอนละ 3 ดอลลาร์ ส่งผลให ้ บริษทั ฟอร์ด มอเตอร์ จ�ำกัด ยุตกิ ารผลิตรถยนต์ประเภท SUV (Sports Utility Vehicle) หรือรถสปอร์ต อเนกประสงค์ ทีม่ เี ครื่องขนาดใหญ่รุ่น 3,400 กิโลกรัม (7,500 ปอนด์) กินน�ำ้ มัน 10 ไมล์ต่อแกลลอน ซึง่ ปัจจุบนั รถยนต์ประเภทลูกผสมไฮบริดแบบประหยัดนำ�้ มัน ได้รบั ความนิยมจากผู ้บริโภค โดยมีการสังจองกั ่ นมาก จนกระทังราคาสั ่ งจองสู ่ ง กว่าราคาประกาศขายของบริษทั ผู ้ผลิตหลายรายในสหรัฐฯ จากทีอ่ ธิบายไปแล ้ว เห็นได้วา่ การออกแบบยนตรกรรมของรถยนต์ร่นุ ต่างๆ ได้รบั อิทธิพลจากหลักการประเมินผลได้–ผลเสียทีเ่ กิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ท่ี เหมาะสม ณ ขณะนัน้ กล่าวไว ้ว่า กิจกรรมใดก็ตาม ถ ้าผลดีทคี ่ าดว่าจะได้รบั มี มากกว่า หรืออย่างน้อยเท่ากับผลเสียทีจ่ ะเกิดขึ้น ก็ควรสนับสนุนให ้ด�ำเนินการได้ หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งคือ การออกแบบเพิม่ ออปชันการใช้ ่ งานให้กับผลิตภัณฑ์ท่ี ไม่ควรด�ำเนินการก็คอื ถ ้ารายได้ (วัดโดยใช้มลู ค่าตัวเงินทีผ่ ู ้บริโภคเต็มใจจะจ่าย เพิม่ ให)้ ไม่มากกว่าหรือเท่ากับรายจ่ายเป็ นอย่างน้อย (วัดโดยใช้มลู ค่าตัวเงินที่ ผู ้ผลิตต้องเสียเพิม่ ให ้กับการผลิตออปชัน่ นัน้ ) การใช้หลักการประเมินรายได้และต้นทุน เห็นได้ชดั ในท�ำนองเดียวกันกับ กรณีพฒ ั นาการของเกียร์รถยนต์ อย่างรถปอนเตียก ชิฟเทน รุ่นปี 1955 ทีผ่ มเคย ขับ ก็มเี กียร์เดินหน้าเพียงสามเกียร์ ซึง่ ถือว่าปกตินะครับในสมัยนัน้ แต่รถยนต์ คันทีข่ บั ปัจจุบนั มีเกียร์เดินหน้ามากถึงหกเกียร์ ค�ำถามทีต่ ามมาคือ เพราะเหตุใด ผู ้ผลิตรถยนต์ในปี 1955 จึงไม่ผลิตรถยนต์หกเกียร์ ทัง้ ๆ ทีส่ ามารถท�ำได้ในยุคนัน้ ค�ำตอบกรณีน้ ีเป็ นไปในท�ำนองเดียวกันคือ ผูผ้ ลิตต้องประเมินค่าใช้จ่าย ส�ำหรับการผลิตทีเ่ พิม่ ขึ้น เปรียบเทียบกับความเต็มใจทีจ่ ะจ่ายของผู ้บริโภคให ้กับ จ�ำนวนเกียร์ของรถทีม่ เี พิม่ ขึ้น ซึง่ การเพิม่ เกียร์เดินหน้าแต่ละเกียร์ตอ้ งมีค่าใช้จ่าย เพิม่ ขึ้นอีก ในด้านการผลิตกล่องเกียร์ ยิง่ จ�ำนวนเกียร์เพิม่ มากเท่าไร ยิง่ ต้องมีค่า ใช้จ่ายเพิม่ ขึ้นมากเท่านัน้ และส่งผลให ้ราคาขายรถยนต์ทงั้ คันเพิม่ ขึ้นอีก ดังนัน้

36

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ข ้อทีต่ อ้ งพิจารณาควบคู่กนั คือ ผู ้บริโภคเต็มใจยอมจ่ายเพิม่ หรือไม่ และสามารถ จ่ายได้เท่าไร เนื่องจากการเพิม่ จ�ำนวนเกียร์เดินหน้าเป็ นประโยชน์ในการช่วยเพิม่ ความเร็วรถ แล ้วขณะเดียวกันก็จะช่วยประหยัดน�ำ้ มันได้ดว้ ย ประเด็นจึงขึ้นอยู่ กับว่าผู ้บริโภคยินดีจ่ายเพิม่ เท่าไรให ้กับประโยชน์ทเ่ี พิม่ ขึ้นดังกล่าว เนื่องจากในช่วงปี ท่ผี ่านมา สหรัฐฯ มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคม ประชาชนมีรายได้เฉลีย่ เพิม่ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงกว่าระดับรายได้ เฉลีย่ เมือ่ ปี 1955 มาก ในปัจจุบนั ประชาชนยอมจ่ายเพิม่ ด้วยความเต็มใจเพือ่ ซื้อ รถทีม่ อี ตั ราเร่งเพิม่ ขึ้น ฉะนัน้ รถทีม่ หี ลายเกียร์กไ็ ด้รบั ความนิยมมากขึ้น เพราะ ผู ้บริโภคสามารถประหยัดค่าน�ำ้ มันได้ ซึง่ ในปัจจุบนั ราคาน�ำ้ มันก็มแี นวโน้มสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็รวมเป็ นสาเหตุเพือ่ อธิบายถึงการเสือ่ มความนิยมในการใช้รถยนต์ ทีม่ เี พียงสามเกียร์ ตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ ทีอ่ ธิบายในบทนี้ จะแสดงได้อย่างชัดเจนต่อไป ว่า หลักการประเมินรายได้และต้นทุนอันเป็ นแนวคิดพื้นฐานเพือ่ ใช้ในการประเมิน ความคุม้ ส�ำหรับประโยชน์ในการออกแบบหรือปรับปรุงเพิม่ เติมแบบให้กับรถยนต์ จะประยุกต์ใช้ในการประเมินความคุม้ ทุนของการออกแบบ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และบริการอืน่ ๆ ด้วย สามตัวอย่างแรกจะแสดงใหเ้ ห็นว่า การปรับปรุงรูปแบบ ผลิตภัณฑ์จะไม่มกี ารด�ำเนินการในเชิงพาณิชย์ ถ ้าโอกาสในการใช้ประโยชน์จาก สิง่ ทีป่ รับปรุงเพิม่ เติมนัน้ มีไม่บอ่ ยครัง้

ท�ำไมตู้เย็นจึงมีหลอดไฟให้ แสงสว่ างในส่ วนที่เป็ นตู้แช่ เย็น แต่ ไม่ มีในส่ วนที่เป็ นตู้แช่ แข็ง (กรณีศกึ ษาของ คาริม อับดุลลาห์ ) หัวใจหลักของการค้นหาค�ำตอบส�ำหรับปัญหานี้ อยู่ท่กี ารประเมินรายได้และ ต้นทุนทีเ่ กี่ยวข ้อง หรือประเมินความคุม้ ทุน จะเห็นได้ว่าตูเ้ ย็นทัวไปจะมี ่ ตูแ้ ช่แบ่ง ออกเป็ นสองส่วนคือ ตูแ้ ช่เย็นและตูแ้ ช่แข็ง ส�ำหรับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการติดตัง้ หลอดไฟใหแ้ สงสว่างอัตโนมัตกิ ็เท่ากันทัง้ สองส่วน และค่าใช้จ่ายทีเ่ กี่ยวข ้องใน

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

37

กรณีน้ ี นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ต้นทุนคงที ่ หมายความว่า ต้นทุนจะไม่ผนั แปร ตามจ�ำนวนครัง้ ทีค่ ุณเปิ ดตูเ้ ย็น กล่าวคือ ไม่วา่ คุณจะเปิ ดประตูตูเ้ ย็นให ้หลอดไฟ สว่างกีค่ รัง้ ก็ตาม ค่าลงทุนติดตัง้ หลอดไฟทีต่ อ้ งเสียไปก็ยงั เป็ นจ�ำนวนเงินคงทีเ่ พียง ครัง้ เดียวส�ำหรับประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการมีแสงไฟ แน่นอนว่ามันช่วยให ้มองเห็น สิง่ ของทีแ่ ช่อยู่ในตูแ้ ช่ทงั้ สองส่วนได้ชดั เจน แต่ประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั จากแสงสว่าง ในส่วนของตูแ้ ช่เย็นจะมีมากกว่าส่วนของตูแ้ ช่แข็ง เนื่องจากการเปิ ดประตูตูแ้ ช่เย็น มีความถีท่ บ่ี อ่ ยครัง้ กว่า ดังนัน้ การลงทุนติดตัง้ หลอดไฟให ้แสงสว่างในส่วนของ ตูแ้ ช่เย็นจึงมีความคุม้ ทุนมากกว่าติดหลอดไฟในตูแ้ ช่แข็ง และเป็ นผลใหผ้ ูผ้ ลิต ตูเ้ ย็นติดตัง้ หลอดไฟเฉพาะตูแ้ ช่เย็น แต่ไม่ตดิ หลอดไฟในตูแ้ ช่แข็ง แน่นอนว่า ผู ้บริโภคจะเห็นประโยชน์ของการมีแสงไฟในตูแ้ ช่แข็งแตกต่าง กัน และอาจมีหลายคนเต็มใจทีจ่ ะจ่ายให ้กับการมีแสงไฟในตูแ้ ช่แข็ง อย่างไรก็ดี ความเต็มใจจะจ่ายดังกล่าวก็ข้นึ อยู่กบั ระดับรายได้ดว้ ย นัน่ คือ บางคนเต็มใจจ่าย น้อยหากมีรายได้นอ้ ย และบางคนเต็มใจจ่ายมากขึ้นเมือ่ มีรายได้เพิม่ ขึ้น ดังนัน้ หลักแห่งความคุม้ ทุนทางเศรษฐศาสตร์สามารถพยากรณ์ได้วา่ ผูบ้ ริโภคในกลุม่ ทีม่ รี ะดับรายได้สูงจะใหน้ ำ�้ หนักหรือประเมินมูลค่าความสะดวกจากการมีแสงไฟ เมือ่ เปิ ดตูแ้ ช่แข็ง ซึง่ คิดเป็ นตัวเงินแล ้วมากกว่ามูลค่าของเงินทีต่ อ้ งจ่ายเพิม่ ให ้กับ การซื้อตูเ้ ย็นรุ่นทีม่ สี ง่ิ อ�ำนวยความสะดวกดังกล่าว และด้วยเหตุผลนี้ เราจึงพบเห็น ตูเ้ ย็นในชื่อรุ่น Sub–Zero PRO 48 ทีม่ กี ารติดตัง้ หลอดไฟให ้ความสว่างทัง้ ใน ส่วนตูแ้ ช่แข็งและลิ้นชักท�ำน�ำ้ แข็ง ซึง่ จ�ำหน่ายในราคาสูงถึง 12,000 ปอนด์ และ นี่คอื ตัวอย่างของข ้อยกเว ้นทีใ่ ช้พสิ ูจน์ทฤษฎีได้เช่นกัน

ท�ำไมเครื่องคอมพิวเตอร์ แล็ปทอป สามารถน�ำไปใช้ ได้ กบั ระบบไฟของ ทุกประเทศ ขณะที่เครื่ องใช้ ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ไม่ สามารถน�ำไปใช้ ได้ (กรณีศกึ ษาของ มินโซ บี) ในสหรัฐฯ ใช้ระบบไฟ 110 โวลต์ ขณะทีใ่ นเครือสหราชอาณาจักรใช้ระบบไฟ 240 โวลต์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาแบบมาตรฐานทุกเครื่องทีผ่ ลิตออก

38

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

มาจ�ำหน่ายนัน้ จะมีการติดตัง้ อุปกรณ์แปลงไฟ จึงสามารถใช้ได้กบั ระบบไฟทุก ประเทศทัวโลกได้ ่ ในทางตรงกันข ้าม เครื่องใช้ไฟฟ้ าบางชนิด เช่น ตูเ้ ย็น และ โทรทัศน์จะใช้ได้กบั ระบบไฟทีโ่ รงงานตัง้ ใจผลิตใหใ้ ช้ได้เท่านัน้ ดังนัน้ การน�ำตู ้ เย็นทีผ่ ลิตจากสหรัฐฯ ไปใช้ในเครือสหราชอาณาจักร ผูใ้ ช้ตอ้ งซื้อหัวปลั ๊กแปลง ไฟ เพือ่ แปลงไฟจาก 240 โวลต์เป็ น 110 โวลต์ ในท�ำนองเดียวกัน การน�ำเครื่อง รับโทรทัศน์ทผ่ี ลิตในเครือสหราชอาณาจักรไปใช้ในสหรัฐฯ ก็ตอ้ งซื้อหัวปลั ๊กแปลง ไฟ เพือ่ แปลงระบบไฟจาก 110 โวลต์เป็ น 240 โวลต์ ค�ำถามจึงเกิดขึ้นว่า เหตุใด จึงไม่ผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้ าทุกชนิด ใหม้ รี ะบบไฟทีส่ ามารถใช้ได้กบั ทุกระบบไฟใน ประเทศต่างๆ ดังเช่นเครือ่ งแล็ปทอป ส�ำหรับระบบไฟ 240 โวลต์มคี ่าลงทุนในการผลิตน้อยกว่า แต่มอี นั ตราย กว่าเล็กน้อย เมือ่ เปรียบเทียบกับการใช้ระบบไฟ 110 โวลต์ ซึง่ หลายๆ ประเทศ ได้พจิ ารณาข ้อดี–ข ้อเสียนี้ก่อนการตัดสินใจว่าควรเลือกใช้ระบบใด ข ้อส�ำคัญคือ เมือ่ ได้ตดั สินใจเลือกระบบใดแล ้วก็ตาม สิง่ ทีต่ ามมาคือ ข ้อผูกมัดด้านการลงทุน กับระบบทีไ่ ด้เลือก จึงเป็ นการยากทีจ่ ะเห็นทุกประเทศมีระบบไฟมาตรฐานเดียวกัน และด้วยสาเหตุน้ เี อง ผู ้ทีเ่ ดินทางไปต่างประเทศต้องน�ำอุปกรณ์แปลงไฟติดตัวไป ด้วย จึงจะมันใจว่ ่ าจะไม่มปี ญ ั หาจากระบบไฟทีแ่ ตกต่างกันระหว่างประเทศ การเพิม่ อุปกรณ์แปลงไฟลงไปในเครื่องใช้ไฟฟ้ าก็เป็ นแนวทางหนึ่งในการ แก้ปญ ั หา แต่การด�ำเนินการดังกล่าวจะเป็ นการเพิม่ ต้นทุน และยังเป็ นการเพิม่ ราคาจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์อกี จากข ้อเท็จจริงทีพ่ บคือ เครื่องใช้ไฟฟ้ าบางชนิด เช่น ตูเ้ ย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ ฯลฯ ทีผ่ ลิตในประเทศใดก็ตาม ก็จะเห็นใช้กนั อยู่แต่ ในประเทศนัน้ ๆ เป็ นส่วนใหญ่ นานๆ ครัง้ จึงจะมีการน�ำติดตัวข ้ามประเทศ โดย เฉพาะกรณีทอ่ี พยพย้ายมาอีกประเทศหนึ่ง ซึง่ ก็เป็ นเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นไม่บ่อย จึงไม่มคี วามจ�ำเป็ นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิม่ เพือ่ ติดตัง้ อุปกรณ์แปลงไฟในตัวสินค้า เหล่านัน้ เพราะไม่มโี อกาสหรือมีโอกาสน้อยทีจ่ ะได้ใช้ประโยชน์จากการปรับปรุง อุปกรณ์เหล่านี้

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

39

ในทางตรงกันข ้าม เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปทอปก็เป็ นข ้อยกเว ้นด้วย โดย เฉพาะในยุคแรกๆ ของการผลิต ทีผ่ ู ้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปทอปยังมีจ �ำนวน ไม่มาก ส�ำหรับการเดินทางเพือ่ ท�ำธุรกิจทัง้ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ นัก ธุรกิจทีต่ อ้ งเดินทางบ่อย และจ�ำเป็ นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบตั งิ านบ่อยครัง้ การน�ำอุปกรณ์แปลงไฟติดตัวไปด้วยเพือ่ ใช้ในสายการบินระหว่างประเทศหรือใน ประเทศต่างๆ ทีเ่ ดินทางไปถือเป็ นภาระและไม่สะดวก ด้วยเหตุน้ เี อง ท�ำให้ผู ้ผลิต เครือ่ งคอมพิวเตอร์แล็ปทอปต้องปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยน�ำอุปกรณ์แปลงไฟ รวมไว ้ในเครือ่ งคอมพิวเตอร์แล็ปทอปมาตัง้ แต่ยุคเริม่ ต้นของการผลิตสินค้าชนิดนี้ ฉะนัน้ เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปทอปจึงสามารถใช้ได้กบั ระบบไฟในหลายประเทศ

ท�ำไมร้ านค้ าสะดวกซือ้ ที่เปิ ดบริการ 24 ชั่วโมง ยังต้ องติดตัง้ ประตูท่ มี ี ระบบล็อค (กรณีศกึ ษาของเลียนนา เบค และ อีโบนี จอห์ นสัน) ร้านค้าสะดวกซื้อทีผ่ มใช้บริการเป็ นประจ�ำเปิ ดบริการตลอด 24 ชัว่ โมงแล ้วก็ 365 วัน และไม่เคยล็อคประตูทางเข ้าร้าน แต่ท �ำไมจึงยังต้องติดตัง้ ประตูทม่ี รี ะบบล็อค ไว ้ด้วย แน่นอนว่า โอกาสทีท่ �ำให ้ต้องล็อคประตูเพือ่ ปิ ดร้านชัว่ คราวก็มคี วามเป็ น ไปได้ในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างปัจจุบนั ทันด่วน เช่น น�ำ้ ท่วมในช่วงฤดูรอ้ น ของอังกฤษเมือ่ ปี 2007 ซึง่ ประชาชนหลายเมืองต้องรีบอพยพเร่งด่วนชนิดไม่ทนั ตัง้ เนื้อตัง้ ตัว กรณีเช่นนี้คงจินตนาการได้วา่ หากร้านค้าใดทีไ่ ม่ได้ลอ็ คประตูรา้ น หรือไม่มคี นเฝ้ าร้าน จะสุ่มเสีย่ งต่อการถูกลักขโมยสินค้าอย่างแน่นอน อย่างไร ก็ตาม โอกาสการเกิดอุทกภัยดังกล่าวมีค่อนข ้างน้อยมาก จึงไม่น่าจะใช่สาเหตุให ้ ร้านค้าลงทุนติดตัง้ ประตูระบบล็อค ค�ำตอบของค�ำถามนี้อธิบายได้วา่ เนื่องจากบานประตูได้ผลิตจากโรงงาน เพือ่ ขายให้กับผู ้ต้องการใช้ทวไปทั ั ่ ง้ ในครัวเรือนและบริษทั ห้างร้านทีไ่ ม่ได้เปิ ดบริการ 24 ชัว่ โมง ซึง่ ธุรกิจเหล่านี้ตอ้ งการบานประตูทป่ี ิ ดล็อคได้ เมือ่ เป็ นเช่นนี้ การผลิต เพือ่ จ�ำหน่ายใหก้ บั ลูกค้าส่วนใหญ่จงึ ต้องเป็ นประตูลอ็ คได้ อีกทัง้ ยังสามารถลด

40

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนการผลิตและภาระการบริหารจัดการสต็อก โรงงานจึงผลิตบานประตูจ �ำนวน มากในรูปแบบเดียวกันคือ ประตูทม่ี รี ะบบล็อค ซึง่ กรณีน้ มี เี หตุผลคล ้ายคลึงกับ กรณีการผลิตและติดตัง้ เครื่องถอนเงินอัตโนมัตทิ ม่ี ปี ่ มุ กดเป็ นอักษรเบรลล์ส �ำหรับ ให ้บริการคนตาบอดด้วย ดังทีไ่ ด้อธิบายไว ้แล ้ว ส�ำหรับกรณี ตวั อย่างต่อไป ดังทีจ่ ะอธิบายอีกสองกรณี พบว่ารายละเอียด ของรูปแบบผลิตภัณฑ์จะถูกก�ำหนดโดยกฎทางเรขาคณิต

ท�ำไมผู้ผลิตและจ�ำหน่ ายนมสดใช้ บรรจุภณ ั ฑ์ เป็ นกล่ องทรงสี่เหลี่ยม ขณะที่นำ� ้ อัดลมใช้ บรรจุภณ ั ฑ์ เป็ นขวดแก้ วหรือกระป๋องรูปทรงกระบอก บรรจุภณั ฑ์ทงั้ หมดหรือเกือบทัง้ หมดของน�ำ้ อัดลมจะมีรูปทรงเป็ นขวดหรือกระป๋ อง ทรงกระบอกเสมอ ไม่วา่ จะใช้วสั ดุแก้วหรือโลหะอะลูมเิ นียม ในขณะทีบ่ รรจุภณ ั ฑ์ ส�ำหรับนมสดจะใช้วสั ดุท่เี ป็ นกล่องกระดาษหรือพลาสติกที่มรี ู ปทรงเป็ นกล่อง สี่เหลีย่ มมีหน้าตัดขวางมุมฉาก โดยทัว่ ไปกล่องบรรจุภณ ั ฑ์ทรงสี่เหลีย่ มจะใช้ ประโยชน์จากพื้นทีว่ า่ งภายในได้ดกี ว่าทรงกระบอก จึงมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสูง กว่า หรือมีตน้ ทุนเฉลีย่ ต่อหน่วยบรรจุภณ ั ฑ์ตำ� ่ กว่า เมือ่ เป็ นเช่นนี้ จึงเป็ นทีม่ าของ ค�ำถามทีว่ า่ ท�ำไมผู ้ผลิตน�ำ้ อัดลมยังคงยึดการใช้บรรจุภณ ั ฑ์ทรงกระบอกอยู่ ท�ำไม ไม่เปลีย่ นไปใช้กล่องบรรจุภณั ฑ์ทรงสีเ่ หลีย่ มแทน ซึง่ มีตน้ ทุนต่อหน่วยบรรจุตำกว่ �่ า บรรจุภณั ฑ์ของน�ำ้ อัดลมทรงกระบอกทีต่ อ้ งท�ำจากอะลูมเิ นียมนัน้ เพราะมัน สามารถทนทานต่อแรงดันทีเ่ กิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน�ำ้ อัดลมได้ดี ส่วน เหตุผลทีท่ �ำเป็ นทรงกระบอก ก็เนื่องจากผู ้ชื่นชอบน�ำ้ อัดลมมักจะดืม่ โดยตรงจาก ขวดบรรจุภณั ฑ์ ซึง่ เป็ นการเหมาะสมกว่าทีจ่ ะท�ำบรรจุภณั ฑ์ทรงกระบอกเพือ่ ความ สะดวกสบายในการถือด้วยมือ ในท�ำนองทีค่ ล ้ายคลึงกัน ส�ำหรับบรรจุภณ ั ฑ์ของ น�ำ้ อัดลมทีท่ �ำจากแก้วก็ตอ้ งท�ำเป็ นทรงกระบอกเช่นกัน เพือ่ ความสะดวกในการถือก็ เป็ นอีกเหตุผลหนึ่งด้วย แม ้ว่าการทนทานต่อแรงกดดันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะด้อยกว่าการใช้แก้วในรูปทรงสีเ่ หลีย่ มก็ตาม บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

41

ส่วนกรณี บรรจุภณ ั ฑ์ส �ำหรับนมสด ประเด็นความสะดวกในการถือจับ ภาชนะบรรจุดว้ ยมือไม่ใช่เรื่องส�ำคัญทีต่ อ้ งพิจารณา เพราะผูบ้ ริโภคทัวไปจะไม่ ่ ดื่มโดยตรงจากภาชนะบรรจุแต่จะเทใส่แก้วดื่ม ดังนัน้ การใช้บรรจุภณ ั ฑ์ทรง กระบอกบรรจุนมจะท�ำให ้เสียพื้นทีใ่ นการบรรจุไปเปล่าๆ เมือ่ เทียบกับการใช้เป็ น กล่องสีเ่ หลีย่ มหน้าตัดขวางมุมฉาก จึงเป็ นเหตุผลว่าท�ำไมผูผ้ ลิตจึงต้องจ�ำหน่าย นมสดในกล่องทรงสีเ่ หลีย่ ม

สูญเสียพื้นที่ ชัน้ วางสินค้าไปโดย เปล่าประโยชน์

ถ้ากล่องภาชนะบรรจุนมเป็ นทรงกระบอก จะท�ำให้เราต้องมี ตูเ้ ย็นทีม่ ี ขนาดใหญ่มากขึ้น

SS

แมผ้ ู บ้ ริโภคส่วนใหญ่จะหันมานิยมดื่มนมสดโดยตรงจากบรรจุภณ ั ฑ์ แต่ การใช้หลักการประเมินผลดีและผลเสียของรู ปแบบบรรจุภณ ั ฑ์ยงั คงให ้ ค�ำตอบเช่นเดียวกันว่า ผู ้ผลิตไม่ควรผลิตนมจ�ำหน่ายในบรรจุภณ ั ฑ์ทรงกระบอก เพราะเมือ่ น�ำสินค้าไปจัดเรียงบนชัน้ วาง จะพบว่ากล่องทรงสีเ่ หลีย่ มสามารถใช้ ประโยชน์จากพื้นทีช่ นั้ วางสินค้าได้ดกี ว่าทรงกระบอก เพราะนัน่ คือความสามารถ ในการวางจ�ำนวนชิ้นหรือปริมาตรรวมของสินค้าได้มากกว่า (กล่าวคือ ส�ำหรับ การวางเรียงสินค้า กล่องบรรจุภณ ั ฑ์ทรงสี่เหลีย่ มก่อใหเ้ กิดพื้นที่ว่างน้อยกว่า ทรงกระบอก) ในกรณีทน่ี �ำผลิตภัณฑ์มาเปรียบเทียบกันระหว่างนมกับนำ�้ อัดลม จะ พบว่าถ ้ามีพ้นื ทีว่ า่ งเกิดขึ้น ค่าเสียโอกาสของพื้นทีว่ า่ งบนชัน้ วางจากการวางผลิตภัณฑ์

42

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

นมจะมีนอ้ ยกว่านำ�้ อัดลม ด้วยเหตุผลนี้จงึ สรุปได้วา่ ควรท�ำบรรจุภณ ั ฑ์ของนมให้ เป็ นทรงสีเ่ หลีย่ มมากกว่าทรงกระบอก เพราะท�ำให ้มีพ้นื ทีว่ า่ งน้อยกว่า นอกจาก นี้ ในซูเปอร์มาร์เก็ตทัวไปจะสั ่ งเกตเห็นว่ามีการวางจ�ำหน่ายน�ำ้ อัดลมกระป๋ องบน ชัน้ วางในพื้นทีโ่ ล่งของร้าน ในขณะทีว่ างจ�ำหน่ายนมไว ้ในตูแ้ ช่เย็น ซึง่ ต้องมีค่า ใช้จ่ายทัง้ ด้านการลงทุนซื้อตูเ้ ย็นและค่าด�ำเนินการพิเศษต่างๆ เช่น ค่าไฟ เป็ นต้น การวางสินค้าในตูแ้ ช่เย็นเหล่านี้จงึ มีค่าใช้จ่ายเพิม่ มากกว่า ส�ำหรับประโยชน์ทไ่ี ด้ รับเพิม่ จากบรรจุภณ ั ฑ์ของนมกล่องทรงสีเ่ หลีย่ มก็สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ วางสินค้าได้ ดังทีก่ ล่าวไปแล ้ว

กระป๋ องน�้ำอัดลมแบบมาตรฐาน จะใช้อะลูมิเนียมน้อยลง ถ้าลดความสูงลง แต่ขยายความกว้างให้มากขึ้น

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

ท�ำไมจึงผลิตกระป๋องน�ำ้ อัดลมอะลูมเิ นียมที่แพงเกินความจ�ำเป็ น (กรณีศกึ ษาของ ชาร์ ลส์ เรดดิง้ ) หน้าทีข่ องกระป๋ องอะลูมเิ นียมคือ บรรจุนำ�้ อัดลมส�ำหรับดืม่ แก้กระหาย ซึง่ กระป๋ อง อะลูมเิ นียมขนาดมาตรฐานทัวไปบรรจุ ่ ได้ 12 ออนซ์ (หรือ 355 มิลลิลติ ร) ที่ บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

43

วางจ�ำหน่ ายทัว่ โลกมีรูปแบบเป็ นทรงกระบอกสู ง 12 เซนติเมตร และความ กวา้ งของเสน้ ผ่านศู นย์กลาง 6.5 เซนติเมตร ถา้ มีการดัดแปลงรู ปทรงนี้เป็ น กระป๋ องทรงเตี้ย โดยลดความสู งและขยายความกวา้ ง ก็จะช่วยลดปริมาณ อะลูมเิ นียมทีใ่ ช้ในการผลิตกระป๋ องลงได้เยอะ ตัวอย่างเช่น ถ ้าความสูงของทรง กระบอกเป็ น 7.8 เซนติเมตร และขยายความกว ้างเป็ น 7.6 เซนติเมตร กระป๋ องนี้ ยังจะมีขนาดความจุของเหลวเท่ากับกระป๋ องขนาดมาตรฐานแบบ 12 ออนซ์อย่าง เดิม แต่จะลดการใช้เนื้ออะลูมเิ นียมลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ท�ำให้มีประเด็นข ้อสงสัย ทีต่ ามมาคือ ทัง้ ๆ ทีก่ ระป๋ องทรงเตี้ยมีตน้ ทุนการผลิตต�ำกว่ ่ า แต่ทำ� ไมจึงไม่มกี าร ผลิตใช้ทวไปในเชิ ั่ งพาณิชย์ ซึง่ น�ำ้ อัดลมกระป๋ องทีจ่ ำ� หน่ายในปัจจุบนั ยังคงบรรจุ ในกระป๋ องทรงกระบอกความสูงเท่าเดิม ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนี้ ค�ำตอบหนึ่งทีเ่ ป็ นไปได้คอื ผู ้บริโภคถูกหลอกจากภาพลวงตาจากการมอง วัตถุทรงสูงแนวตัง้ (Vertical Illusion) ท�ำให ้เข ้าใจผิดคิดว่ากระป๋ องทรงสูง (แบบ สูง 12 เซนติเมตร) มีขนาดความจุมากขึ้น ซึง่ ปัญหานี้นกั จิตวิทยาเข ้าใจดี ขอให ้ คุณลองพิจารณารูปกราฟแท่งทีจ่ ะแสดงหน้าถัดไป แล ้วลองตอบว่ากราฟแท่งอัน ไหนยาวกว่ากัน แน่นอนว่า เมือ่ ดูดว้ ยตา ส่วนใหญ่จะตอบกราฟแท่งแนวตัง้ ยาว กว่าแนวนอน แต่ถ ้าลองวัดด้วยไม ้บรรทัดจะพบว่า แท้ทีจ่ ริงแล ้วกราฟแท่งทัง้ สอง มีความยาวเท่ากัน ด้วยความเข ้าใจผิดๆ คิดว่ากระป๋ องทรงเตี้ยจุนำ�้ อัดลมได้นอ้ ยกว่า จึงเป็ น สาเหตุให ้ผู ้บริโภคไม่อยากซื้อน�ำ้ อัดลมทีเ่ ป็ นกระป๋ องทรงเตี้ย ถ ้าความเชื่อทีผ่ ดิ นี้ เป็ นสาเหตุจริงๆ ท�ำไมผู ้ผลิตรายใหม่จงึ ยอมทิ้งโอกาสการสร้างรายได้เพิม่ ไปง่ายๆ โดยไม่ท �ำอะไรเลยล่ะ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ ้าภาพลวงตาจากการมองวัตถุทรงสูง เป็ นสาเหตุเดียวทีท่ �ำให ้ผู ้บริโภคไม่เลือกซื้อน�ำ้ อัดลมจากกระป๋ องทรงเตี้ย ก็น่าจะ มีผู ้ผลิตรายอืน่ ๆ ทีเ่ ป็ นคู่แข่งกล ้าผลิตนำ�้ อัดลมขายในกระป๋ องทรงเตี้ย แล ้วมีการ เขียนระบุไว ้ให้ชัดเจนว่ามีปริมาณบรรจุเท่ากันกับกระป๋ องทรงสูงขนาดปกติทเ่ี คย จ�ำหน่าย แล ้วเสนอขายในราคาถูกกว่าได้ (เพราะมีตน้ ทุนการผลิตกระป๋ องทีถ่ กู กว่า 30 เปอร์เซ็นต์) และนี่จะเป็ นโอกาสทางธุรกิจของบริษทั คู่แข่งรายใหม่ได้อกี ด้วย

44

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ส�ำหรับความเป็ นไปได้ในการท�ำก�ำไรทีอ่ าจเกิดขึ้นอีกทางหนึ่งคือ การขึ้น ราคาขาย แม ้ผู ้บริโภคจะรูว้ า่ กระป๋ องทัง้ สองขนาดมีปริมาณบรรจุทเ่ี ท่ากัน แต่ส �ำหรับ ผู ้ชืน่ ชอบดืม่ น�ำ้ อัดลมจากกระป๋ องทรงสูงก็อาจเต็มใจจ่ายเพิม่ อีกเล็กน้อยได้ ดังที่ ผูบ้ ริโภคยอมจ่ายเพิม่ จากกรณี ศึกษาการยอมจ่ายค่าหอ้ งที่เห็นวิวดีในโรงแรม เช่นกัน

ภาพลวงตาจากการมองวัตถุทรงสูงแนวตัง้ : จะเห็นว่าแม้รูปแท่งแนวตัง้ ฉากเมือ่ ดูดว้ ย ตาเปล่าเหมื อนจะยาวกว่ารู ปแท่งแนวนอน แต่โดยข้อเท็จจริ งแล้วมี ความยาวเท่ากัน

SS

การออกแบบผลิตภัณฑ์จะมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของผู ้บริโภค ผลิตภัณฑ์นนั้ รูปแบบผลิตภัณฑ์ทแ่ี ตกต่างกันก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ทีแ่ ตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ผู ้ขับรถทีไ่ ม่อยากโดนใบสังจากการขั ่ บรถเร็วเกิน ก�ำหนด อาจเต็มใจซื้อรถทีม่ กี ารติดตัง้ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนให ้รูท้ กุ ครัง้ ทีข่ บั รถเกินระดับความเร็วทีก่ �ำหนด แม ้จะมีราคาแพงขึ้น ตัวอย่างทีจ่ ะอธิบายต่อไปนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู ้ผลิตเกีย่ วกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อผู ้บริโภคอย่างไร

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

45

ท�ำไมช่ องเติมน�ำ้ มันของรถบางคันอยู่ทางด้ านคนขับ ในขณะที่บางคัน อยู่ทางด้ านผู้โดยสาร (กรณีศกึ ษาของ แพตตี้ ยู) หนึ่งในประสบการณ์ยอดแย่ทไ่ี ด้จากการขับรถเช่าก็คือ ตอนทีค่ ุณต้องน�ำรถไป เติมน�ำ้ มันทีส่ ถานีบริการน�ำ้ มัน และพบว่าได้เข ้าจอดผิดต�ำแหน่ง โดยหัวจ่ายน�ำ้ มัน ของสถานีบริการน�ำ้ มันไม่ได้อยู่ดา้ นเดียวกับช่องเติมน�ำ้ มันรถ (แต่ถ ้าเป็ นรถของ คุณเองก็จะไม่เป็ นปัญหา เพราะคุณรูว้ ่าช่องเติมนำ�้ มันของรถคุณอยู่ดา้ นใดของ ตัวรถ จึงสามารถน�ำรถเข ้าจอดถูกต�ำแหน่งได้) ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ รัฐมีข ้อก�ำหนดใหโ้ รงงานผลิตรถยนต์ตอ้ งออกแบบและติดตัง้ ช่องเติมน�ำ้ มันให ้ อยู่ดา้ นเดียวกันเท่านัน้ ค�ำถามคือ ทัง้ ๆ ทีร่ ู ว้ า่ แก้ไขได้ แต่ทำ� ไมจึงไม่มกี ารแก้ไข

คิ วเติ มน�้ำมันในสถานีบริ การน�้ำมันจะยาวมากขึ้น หากถังเติ มน�้ำมันของรถยนต์ถูกออกแบบให้อยู่เฉพาะด้านฝั่ งคนขับ SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

46

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ในประเทศทีก่ �ำหนดให ้ขับรถขับชิดขวาอย่างในสหรัฐฯ ระบบจราจรเช่นนี้ การเลี้ยวขวาจะง่ายกว่าการเลี้ยวซ ้าย และเมือ่ ไรก็ตามทีผ่ ู ้ขับขีต่ อ้ งการเติมน�ำ้ มัน ส่วนใหญ่จะเลือกเข ้าสถานีบริการน�ำ้ มันทีต่ งั้ อยู่ดา้ นขวาของถนนมากกว่า เพราะ สะดวกกว่านัน่ เอง สมมติวา่ ถังน�ำ้ มันรถถูกออกแบบให ้อยู่ด ้านเดียวกับคนขับ (ใน สหรัฐฯ ด้านคนขับอยู่ทางด้านซ้ายของตัวรถ และขับรถชิดขวา ตรงกันข ้ามกับไทย เรา) กรณีเช่นนี้ คนขับชอบขับรถเลี้ยวขวาเขา้ ไปในสถานีบริการนำ�้ มัน และจอดรถ รอเติมน�ำ้ มันทางด้านขวาของหัวปั ๊มจ่ายเสมอเพือ่ ความสะดวก เพราะหัวจ่ายของ ปั ๊มนำ�้ มันจะอยู่ใกล ้กับถังเติมนำ�้ มันของรถทีอ่ ยู่ทางด้านซา้ ย ซึง่ ภายใต้ข ้อสมมติ นี้ จึงเป็ นไปได้ทเ่ี ราจะเห็นด้านขวาของปั ๊มจ่ายในสถานีบริการจะมีแต่รถรอเติม น�ำ้ มันเต็มทุกจุด ในขณะทีช่ ่องปั ๊มจ่ายทางด้านซา้ ยส่วนใหญ่จะทีว่ ่างไม่มรี ถเข ้า ใช้บริการ ด้วยเหตุน้ ี การออกแบบติดตัง้ ถังเติมน�ำ้ มันในรถจึงมีแตกต่างกันไป โดย รถบางคันบางรุ่นจะให ้ช่องเติมนำ�้ มันอยู่ดา้ นคนขับ ขณะทีบ่ างคันให ้อยู่ดา้ นทีน่ งั ่ ผู ้โดยสาร วิธกี ารนี้จะช่วยเพิม่ ทางเลือกให้รถสามารถเข ้าถึงหัวจ่ายน�ำ้ มันทีอ่ ยู่ทาง ด้านซา้ ยของสถานีบริการนำ�้ มันได้ เป็ นการช่วยลดความหนาแน่นของการรอคิว เติมนำ�้ มัน ซึง่ ประโยชน์ใหญ่หลวงทีไ่ ด้รบั นี้มมี ากกว่าข ้อเสียเพียงเล็กน้อย และ มีเกิดขึ้นบางครัง้ บางคราวเท่านัน้ ดังเช่นกรณีน�ำรถเช่าเข ้าเติมนำ�้ มันผิดด้านของ หัวปั ๊มจ่ายทีก่ ล่าวในข ้างต้น เป็ นต้น และนี่เป็ นค�ำตอบว่าท�ำไมช่องเติมนำ�้ มันของรถ บางคันจึงออกแบบให ้อยู่ดา้ นฝัง่ คนขับ ในขณะทีบ่ างคันอยู่ดา้ นฝัง่ ทีน่ งั ่ ผู ้โดยสาร ในบางกรณีการออกแบบผลิตภัณฑ์จะไม่ได้พจิ ารณาเพียงแค่เหตุผลด้าน ลักษณะหรือรูปแบบการใช้ประโยชน์ แต่ยงั มีจากข ้อเท็จจริงทีว่ ่า สินค้านัน้ มีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ต้องการสือ่ ข ้อมูลข่าวสารอะไรใหผ้ ูใ้ ช้ได้รบั รู ้ และสองตัวอย่างทีจ่ ะ แสดงต่อไปนี้จะเห็นได้ว่าข ้อมูลข่าวสารบางประเภทจะง่ายต่อการซึมซับ และมี ค่าใช้จ่ายในการผลิตต�ำ่ กว่าข ้อมูลข่าวสารในประเภทอืน่ ๆ

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

47

เพราะเหตุใด รถแท็กซี่ส่วนใหญ่ ท่ วี ่ งิ บริการในรัฐนิวยอร์ กจึงมีสีเหลือง ในขณะที่ในเมืองเล็กอื่นๆ กลับมีหลากสี (กรณีศกึ ษาของ แอนดริ เชอร์ โนวานอฟ) หากคุณมีโอกาสส่องกล ้องมองจากชัน้ สูงสุดบนตึกเอมไพร์สเตต ลงมายังถนน เลขที่ 34 ของเมืองแมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก คุณอาจตัง้ ข ้อสังเกตว่า ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนรถยนต์ทว่ี ง่ิ บนถนนเส ้นนี้จะมีสเี หลืองสดใส ส่วนหนึ่งเป็ น รถโลตัส หรือรถลัมโบร์กิน่ีสเี หลืองทีเ่ ห็นวิง่ เป็ นครัง้ คราวจ�ำนวนไม่มาก ซึง่ รถ สีเหลืองทีว่ ง่ิ ขวักไขว่ส่วนใหญ่จะเป็ นรถแท็กซี่ และจะเป็ นรถเก๋งซาลูน (รถเก๋ง ขนาดกลางสีป่ ระตู) ของฟอร์ด ส่วนเมืองเล็กอืน่ ๆ มักไม่ค่อยพบแท็กซีส่ เี หลืองที่ เป็ นรถเก๋งซาลูน แต่มกั เป็ นรถเก๋งอเนกประสงค์ (MPVs หรือ Multi–Purpose Vehicles) และมีหลากสี จึงมีผู ้ตัง้ ข ้อสงสัยว่าท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ แมเ้ ราสามารถเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ทางโทรศัพท์ได้อย่างสะดวกที่ แมนฮัตตัน แต่การโบกเรียกกันข ้างถนนก็เป็ นเรื่องปกติทม่ี กี ารกระท�ำกันมากกว่า ด้วยเหตุน้ จี งึ เป็ นเหตุผลง่ายๆ ทีร่ ถแท็กซีต่ อ้ งมีสรี ถทีท่ �ำให้มองเห็นได้งา่ ยทีส่ ุดเท่า ทีจ่ ะเป็ นไปได้ และสีนนั้ ก็คอื สีเหลือง ซึง่ การใช้สเี หลืองกับรถแท็กซี่ สอดคล ้อง กับงานวิจยั ทีช่ ้ ใี ห้เห็นว่าสีเหลืองเป็ นสีทม่ี คี วามสว่างสดใส ท�ำให้สามารถมองเห็นได้ ดีทส่ี ุด (แต่เดิมมามีความเชื่อว่าสีแดงมองเห็นได้ชดั ทีส่ ุด ท�ำให ้มีการทาสีอปุ กรณ์ หรือจุดตัง้ ท่อน�ำ้ เพือ่ ดับไฟตามริมฟุตปาทด้วยสีแดง อย่างไรก็ดี ปัจจุบนั สถานี ดับเพลิงส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ เปลีย่ นมาใช้สเี หลืองแทนสีแดงกับอุปกรณ์ดบั ไฟ ดังกล่าว) ส่วนเหตุผลทีร่ ถแท็กซีส่ เี หลืองในนิวยอร์กส่วนใหญ่เป็ นรถเก๋งซาลูนนัน้ อธิบายได้วา่ ส่วนมากจะมีผู ้โดยสารเพียงคนเดียวทีเ่ รียกใช้บริการ นอกจากนัน้ ยังพบว่าหากใช้รถทีม่ ที น่ี งั ่ ผูโ้ ดยสารจ�ำนวนเกินกว่า 4 ทีเ่ มือ่ ไร คนขับรถแท็กซี่ จะไม่ค่อยได้ก �ำไรจากการประกอบอาชีพ จึงเป็ นเหตุให ้คนขับรถแท็กซีน่ ิยมซื้อรถ แบบซาลูน ซึง่ เป็ นเก๋งขนาดกลางมีทน่ี งั ่ ไม่เกิน 4 ทีม่ าท�ำเป็ นรถแท็กซี่ นอกจากจะ ตรงกับรูปแบบความต้องการของผูเ้ รียกใช้บริการแล ้ว ยังซื้อได้ในราคาทีถ่ กู กว่า รถเก๋งอเนกประสงค์ดว้ ย

48

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ส�ำหรับผูค้ นในเมืองเล็กนัน้ พบว่า มีรูปแบบความต้องการใช้บริการรถ แท็กซีแ่ ตกต่างไปจากคนทีอ่ าศัยในรัฐใหญ่อย่างนิวยอร์ก และเป็ นเรื่องง่ายกว่า มากส�ำหรับในเมืองเล็กทีจ่ ะเป็ นเจ้าของรถเองหรือซื้อรถไวใ้ ช้เอง เพราะไม่ตอ้ ง แบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายทีน่ อ้ ยกว่าในการเสียค่าจอด (ในรัฐใหญ่อย่างนิวยอร์ก เจ้าของรถบางคนต้องเสียเงินเฉพาะค่าจอดรถในแต่ละเดือนสูงถึง 240 ปอนด์) เนื่องจากส่วนใหญ่ผู ้คนในเมืองเล็กมีรถใช้เอง จึงไม่ตอ้ งพึง่ บริการรถแท็กซีม่ ากนัก ประกอบกับมีจ �ำนวนคนเรียกใช้บริการรถแท็กซีไ่ ม่มาก จึงท�ำให้ไม่มคี วามจ�ำเป็ นที่ รถแท็กซีต่ อ้ งวิง่ ตระเวนหาผู ้โดยสารให ้เป็ นการสิ้นเปลือง ใครทีต่ อ้ งการรถแท็กซี่ ก็เรียกใช้บริการทางโทรศัพท์ได้ จะเห็นได้ว่าเมือ่ ลักษณะความต้องการใช้บริการ จากรถแท็กซีใ่ นเมืองเล็กเป็ นเช่นนี้ จึงไม่มปี ระโยชน์อะไรทีเ่ จ้าของรถแท็กซีต่ อ้ งใช้ สีเหลืองเป็ นสัญลักษณ์ บางคนอาจโต้แย้งว่า สาเหตุทร่ี ถแท็กซีใ่ นนิวยอร์กใช้สเี หลือง เป็ นเพราะ กฎหมายแห่งรัฐบังคับเช่นนัน้ (คล ้ายๆ กับกรณีกฎหมายบังคับให ้เครื่องถอนเงิน อัตโนมัตติ อ้ งมีป่ มุ กดตัวเลขทีม่ อี กั ษรเบรลล์ส �ำหรับคนตาบอดด้วย ดังทีอ่ ธิบายไป แล ้ว) ซึง่ ก็เป็ นเช่นนัน้ จริงๆ แต่เหตุผลทีก่ ฎหมายบัญญัตใิ ห ้รถแท็กซีใ่ นนิวยอร์ก ใช้สเี หลือง เพราะรถแท็กซีท่ ม่ี าจดทะเบียนกับรัฐส่วนใหญ่ขณะนัน้ มีสเี หลืองอยู่ ก่อนแล ้ว ซึง่ วัตถุประสงค์จริงๆ ของการตรากฎหมายคือ เพือ่ จัดระเบียบรถยนต์ โดยสารรับจ้าง ลดการฉ้อฉลในกลุม่ ผูป้ ระกอบการ ใหป้ ระโยชน์กบั ผูใ้ ช้บริการ ในด้านความปลอดภัย ส่วนประเด็นที่ผูข้ บั รถแท็กซี่ของเมืองเล็กชอบใช้รถเก๋งอเนกประสงค์ มากกว่ารถเก๋งซาลูนนัน้ อธิบายได้ว่า เป็ นเพราะผูโ้ ดยสารที่เรียกใช้บริการจะ มาเป็ นกลุ่มกันหลายคน โดยเฉพาะนักศึกษาหรือบุคคลทัว่ ไปที่ไม่มรี ถ มักมี รายได้ตำ� ่ จึงช่วยกันแชร์ค่าโดยสาร อย่างรถแท็กซีข่ องสนามบินลาการ์เดีย ใน นิวยอร์ก จะใหบ้ ริการขาเขา้ เมืองต่อผูโ้ ดยสารเพียงหนึ่งคนเท่านัน้ ในขณะที่ รถแท็กซี่ของสนามบินในเมืองเล็กสามารถใหบ้ ริการเขา้ เมืองต่อผูโ้ ดยสารเป็ น กลุม่ กลุม่ ละ 4 คนหรือมากกว่านัน้ ได้ บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

49

ท�ำไมใบหน้ าคนบนเหรี ยญกษาปณ์ จงึ ท�ำเป็ นรู ปนูนเป็ นเส้ นขอบ ขณะที่ใบหน้ าคนบนธนบัตรเป็ นใบหน้ าเต็มที่มีรายละเอียด (กรณีศกึ ษาของ แอนดรู ว์ แลค) ถ ้าคุณมีเหรียญเพนนีหรือเหรียญหนึ่งปอนด์ในกระเป๋ าสตางค์ ขอให้ลองหยิบขึ้นมา ดู จะพบว่าใบหน้าของสมเด็จพระราชินนี าถเอลิซาเบธบนเหรียญจะท�ำนู นเป็ นโครง มีลายเส ้นรอบนอกใบหน้าเท่านัน้ ขณะทีใ่ บหน้าของพระองค์บนธนบัตรจะแสดง เป็ นรูปเต็ม มีรายละเอียดมากกว่า แต่ไม่มลี ายนู น ข ้อเท็จจริงท�ำนองเดียวกันนี้ยงั พบกับเหรียญและธนบัตรทีใ่ ช้ในหลายประเทศทัวโลก ่ (ยกเว ้นเพียงไม่ก่ปี ระเทศ เท่านัน้ ) แล ้วท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ ค�ำตอบง่ายๆ ก็คอื แม ้นักออกแบบเหรียญกษาปณ์ส่วนใหญ่อยากจะท�ำ เหรียญทีม่ ใี บหน้าคนให ้มีรายละเอียดเหมือนจริง แต่ในทางปฏิบตั ิ การแกะสลัก เนื้อโลหะให้ดูเหมือนกับใบหน้าของคนคนหนึ่งทีเ่ รารูจ้ กั จะยากล�ำบากมาก ปัญหา ส�ำคัญคือ การขาดเครื่องมือทีส่ ามารถแกะลายเส ้นบนเนื้อโลหะให้มีความละเอียด เหมือนคนจริงๆ ในทางตรงข ้าม การท�ำหน้าคนบนเหรียญทีเ่ ป็ นรูปนู น เน้นแสดง ลายเส้นรอบนอกเหมือนกับภาพเงาของคนคนหนึ่ง จะช่วยให้สามารถจ�ำหน้าคนคน นัน้ ได้ดี โดยแท ้จริงแล ้ว ศิลปิ นสามารถแกะสลักเนื้อโลหะของเหรียญกษาปณ์ให ้ มีรายละเอียดเป็ นรูปหน้าคนแบบหน้าคนจริงก็ได้แต่มคี ่าใช้จ่ายสูงมาก ซึง่ ไม่คมุ ้ กับการลงทุน เพราะเมือ่ เหรียญกษาปณ์นนั้ ถูกใช้หมุนเวียนในทอ้ งตลาดไม่นาน รายละเอียดต่างๆ จะถูกลบเลือนหายไป อาจมีผู ้สงสัยว่า ถ ้ารูปทีม่ เี ส ้นรอบนอกเหมือนภาพเงาเป็ นสิง่ ทีท่ �ำง่ายกว่า และผู ้ดูสามารถจ�ำได้ดว้ ยว่าเป็ นใคร แล ้วท�ำไมจึงไม่น�ำไปใช้กบั การพิมพ์หน้าคน บนธนบัตรด้วยล่ะ

50

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ค�ำตอบคือ เพราะการพิมพ์รูปหน้าแบบมีรายละเอียดครบถ ้วนบนธนบัตร ก็เพือ่ ป้ องกันการปลอมแปลงให ้ยากมากขึ้นนัน่ เอง บางครัง้ การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็ นเรื่องทีเ่ ข ้าใจยาก หากไม่น�ำข ้อผูกพัน ทางประวัตศิ าสตร์มาใช้ร่วมในการพิจารณา ดังจะแสดงในสองตัวอย่างสุดท ้ายนี้

ท�ำไมแผ่ นดีวีดีท่ บี รรจุในกล่ องจึงบรรจุได้ มากกว่ าแผ่ นซีดี และท�ำไม ต้ องท�ำกล่ องให้ มีขนาดต่ างกัน ทัง้ ๆ ที่ก็มีขนาดแผ่ นเท่ ากัน และทัง้ สองแบบก็จำ� หน่ ายในตลาดเดียวกัน (กรณีศกึ ษาของ ลอร่ า เอนอส) ในต่างประเทศ แผ่นซีดบี รรจุในกล่องขนาดกว ้าง 148 มิลลิเมตร สูง 125 มิลลิเมตร ในขณะทีแ่ ผ่นดีวดี บี รรจุในกล่องขนาดกว ้าง 135 มิลลิเมตร สูง 191 มิลลิเมตร แล ้วท�ำไมผู ้ค้าต้องใช้ขนาดบรรจุภณ ั ฑ์ทแ่ี ตกต่างกัน ทัง้ ๆ ทีต่ วั แผ่นทัง้ สองแบบ ก็มขี นาดกว ้างยาวเท่ากัน การค้นหาความจริงเล็กน้อยจะช่วยเปิ ดเผยความเป็ นมาทางประวัตศิ าสตร์ ได้วา่ เหตุใดแผ่นทัง้ สองแบบจึงมีขนาดบรรจุภณั ฑ์ทแ่ี ตกต่างกัน เพราะก่อนทีแ่ ผ่น ซีดจี ะออกจ�ำหน่ายสู่ตลาด แผ่นดิสก์เพลงก่อนหน้านัน้ ส่วนใหญ่จะจ�ำหน่ายในรูป แผ่นวัสดุไวนิล บรรจุในซองอัลบัม้ สีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ขนาด 302 × 302 มิลลิเมตร แลว้ ถาดหรือชัน้ วางโชว์แผ่นเหล่านี้ได้ถูกออกแบบใหม้ คี วามกวา้ งพอสมควร ดังนัน้ ถา้ น�ำมาปรับใช้กบั แผ่นซีดรี ุ่นใหม่น้ ีจะสามารถวางได้สองแถวพอดี โดย เหลือช่องระหว่างแถวแบ่งไว ้ด้วย จากทีก่ ล่าวมานี้ จึงเป็ นทีม่ าของการออกแบบ กล่องใส่แผ่นซีดที ใ่ี ช้ในปัจจุบนั โดยใหค้ วามกว ้างน้อยกว่าแผ่นดิสก์ไวนิลทีเ่ ลิก ผลิตจ�ำหน่ายไปแล ้วเล็กน้อย ซึง่ ข ้อดีของการออกแบบผลิตภัณฑ์ดงั กล่าวนี้ ช่วยให้ ผูค้ า้ แผ่นซีดเี พลงสามารถหลีกเลีย่ งค่าใช้จ่าย โดยทีไ่ ม่ตอ้ งลงทุนซื้อชัน้ วางแผ่น ซีดใี หม่เพือ่ ใช้ทดแทนของเก่าทีม่ อี ยู่เดิมทีย่ งั ใช้การได้ดอี ยู่

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

51

จากเหตุผลในท�ำนองเดียวกัน การออกแบบกล่องใส่แผ่นดีวดี ที ใ่ี ช้ในปัจจุบนั เกิดขึ้นจากการพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากรูปแบบผลิตภัณฑ์เดิมทีเ่ คยใช้อยู่ ให้มากทีส่ ุด นัน่ คือ ก่อนทีแ่ ผ่นดีวดี ที ใ่ี ช้ในปัจจุบนั จะได้รบั ความนิยม ร้านเช่าเทป หนังส่วนใหญ่จะให ้เช่าเป็ นหนังในรูป VHS Format บรรจุในกล่องกระดาษกว ้าง คูณสูงขนาด 135 × 191 มิลลิเมตร และผู ้ค้าชอบโชว์ม ้วนวิดโี อเทปในกล่องบน ชัน้ วาง โดยวางเรียงติดกันตามแนวตัง้ ดังนัน้ การออกแบบกล่องบรรจุแผ่นหนัง ดีวดี รี ุ่นใหม่ให ้มีความสูงเท่ากับกล่อง VHS format เดิม ท�ำให ้ผู ้ค้าสามารถวาง โชว์แผ่นดีวดี แี บบปัจจุบนั บนชัน้ วางเดิมได้โดยไม่ตอ้ งลงทุนใหม่ ซึง่ ประโยชน์ดงั กล่าวจะเกิดขึ้นกับผู ้บริโภคในท�ำนองเดียวกัน

ท�ำไมจึงกลัดกระดุมเสือ้ ผู้หญิงทางด้ านซ้ าย แต่ กลัดกระดุมเสือ้ ผู้ชาย ทางด้ านขวา (กรณีศกึ ษาของ กอร์ ดอน ไวลด์ , เคที วิลเลอร์ และคณะ) เกือบจะไม่ประหลาดใจเลยว่า ผูผ้ ลิตเสื้อผา้ ทุกวันนี้ยงั ยึดอยู่กบั มาตรฐานการ ตัดเย็บเสื้อผา้ ตามความต้องการของกลุ่มผูซ้ ้ อื ต่ างๆ แต่ส่งิ ที่น่าแปลกใจมาก ก็คือ รู ปแบบการกลัดกระดุมเสื้อผูห้ ญิงยังต่างกับเสื้อผูช้ ายอยู่ จะเห็นว่าเสื้อ ผูห้ ญิงกลัดกระดุมทางซา้ ย แต่เสื้อผูช้ ายกลับกลัดทางด้านขวา วิธกี ารปฏิบตั นิ ้ ี เกิดขึ้นโดยพลการ หรือเป็ นไปตามอ�ำเภอใจของผู ้ตัดเย็บ มันก็เป็ นเรื่องหนึ่ง แต่ นี่เป็ นปรากฏการณ์ทป่ี ฏิบตั ติ ่อเนื่องจนเป็ นธรรมเนียมยาวนานถึงปัจจุบนั ทัง้ ๆ ที่ วิธกี ารกลัดกระดุมเสื้อผูช้ ายดูสมเหตุสมผลมากกว่า และสมควรใช้กบั การกลัด กระดุมเสื้อผู ้หญิงด้วย แล ้วท�ำไมจึงไม่เป็ นเช่นนัน้ เพราะประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทัง้ โลกทัง้ ผูห้ ญิงและผูช้ ายเป็ นคนถนัดมือขวา จึงเป็ นการง่ายกว่า ส�ำหรับคนถนัดขวาทีจ่ ะกลัดกระดุมเสื้อจากทางด้านขวาของเสื้อ ซึง่ ดูมเี หตุผลดี แต่ทำ� ไมแบบเสื้อผู ้หญิงทุกวันนี้ยงั คงกลัดกระดุมทางซ ้ายของเสื้ออยู่ละ่

52

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ในเรื ่องทีเ่ กี ย่ วกับชุดของผูห้ ญิ ง มักจะมี ประวัติศาสตร์ เข้ามาเกี ย่ วข้องด้วย

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

ตามที่อ ธิบ ายข า้ งต้น คือ ตัว อย่ า งนี้ ช้ ีใ หเ้ ห็น ว่า ประวัติศ าสตร์มีส่ ว น เกี่ยวข ้องกับการก�ำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ซึง่ ในศตวรรษที่ 17 เป็ นยุคแรก ทีม่ กี ารกลัดกระดุมเสื้อผ ้าโดยกลุม่ คนระดับเศรษฐี ซึง่ ผู ้ชายเป็ นผู ้ใส่เสื้อผ ้าด้วย ตัวเอง ส่วนผู ้หญิงจะมีคนรับใช้ผู ้หญิงเป็ นผู ้ช่วยใส่ให ้ ดังนัน้ การตัดเย็บกระดุม เสื้อของนายผู ้หญิงให้อยู่ทางด้านซ้ายของตัวเสื้อจึงช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้กับ คนรับใช้ แน่นอนว่าคนรับใช้เองก็ตอ้ งถนัดขวาเป็ นส่วนใหญ่ ส่วนกระดุมเสื้อของ ผูช้ ายทีอ่ ยู่ทางด้านขวา ไม่เพียงเพราะผูช้ ายเป็ นผูใ้ ส่เสื้อผา้ เองเท่านัน้ แต่เพราะ ยามทีเ่ ขาต้องชักดาบออกจากฝักทีอ่ ยู่ดา้ นซา้ ยของเอวด้วยมือขวา ดาบทีช่ กั ออก มาจะไม่ตดิ หรือสะดุดกับขอบชายเสื้อข ้างกระดุม

บทที่ 1 กล่องนมทรงสี่เหลี่ยมกับกระป๋องน�้ำอัดลมทรงกระบอก

53

ในยุคปัจจุบนั แทบไม่มผี ู ้หญิงคนใดให้คนรับใช้ช่วยแต่งตัว แล ้วเหตุใดเสื้อ ของผูห้ ญิงทุกวันนี้ยงั ตัดเย็บใหม้ กี ระดุมอยู่ทางซา้ ยในแบบทีป่ ฏิบตั กิ นั มาตัง้ แต่ อดีตอยู่อกี ค�ำตอบคือ สิง่ ใดก็ตามทีป่ ฏิบตั จิ นเป็ นธรรมเนียมไปแล ้ว มักยากจะ เปลีย่ นแปลง ในเมือ่ โรงงานตัดเย็บเสื้อผู ้หญิงทุกทีม่ ธี รรมเนียมปฏิบตั เิ ช่นนัน้ คง ไม่มโี รงงานใดกล ้าเสีย่ งผลิตเสื้อผู ้หญิงทีม่ กี ระดุมอยูท่ างด้านขวาออกจ�ำหน่าย ทัง้ นี้ อาจเกิดจากผู ้หญิงทัง้ หลายได้ปรับตัวจนชินกับการกลัดกระดุมเสื้อจากด้านซ้ายมือ แล ้ว หรือบางคนอาจคิดว่ามันดูน่าเกลียดหากปรากฏกายต่อสาธารณชนแล ้วใส่ เสื้อทีม่ กี ระดุมอยู่ดา้ นขวา เพราะผู ้พบเห็นอาจคิดว่าเธอน�ำเสื้อผู ้ชายมาใส่กเ็ ป็ นได้

54

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

2

ถั่วลิลงฟรีกับ แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง อุปสงค์และอุปทานเชิงปฏิบั ติการ

มี

เรื่องเล่าเกี่ยวกับนักเศรษฐศาสตร์สองคนในระหว่างทางเดินไปกินขา้ ว กลางวันด้วยกัน ทัง้ คู่เห็นธนบัตรใบละ 50 ปอนด์ตกอยู่ข ้างทางเดิน นัก เศรษฐศาสตร์ทห่ี นุ่มกว่าจึงก้มลงเพือ่ จะหยิบขึ้นมา แต่ถกู นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ห ้ามไว ้ พร้อมกับพูดว่า “นันคงจะไม่ ่ ใช่ธนบัตรจริงหรอก” “ท�ำไมจะไม่ใช่ละ่ ...” นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มกว่าตัง้ ค�ำถาม “เพราะถ้าใช่ คงมีคนอืน่ หยิบไปก่อนหน้าแล ้วล่ะ” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสตอบ แน่นอนว่า ความเชือ่ ของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสอาจจะผิดก็ได้ แต่ค �ำพูด ของเขาแฝงไว ้ด้วยแนวคิดพื้นฐานส�ำคญ ั ทีค่ นทัวไปมั ่ กคิดไม่ถงึ หรือไม่ใส่ใจ นันคื ่ อ ในโลกแห่งความเป็ นจริง จะไม่มเี งินฟรีๆ รอให้คุณหยิบฉวยโดยทีไ่ ม่ตอ้ งออกแรง ท�ำอะไร หรือวลีในภาษาอังกฤษมักชอบใช้กนั ว่า “No cash on the table. – ไม่มเี งินฟรีวางอยู่บนโต๊ะ” และประสบการณ์ในอดีตจะเป็ นจริงต่อไปในอนาคต โดยจะชี้ใหเ้ ห็นว่า หนทางเดียวเท่านัน้ ที่ท �ำใหค้ ุณได้เงินมาจริงๆ จะเกิดจาก องค์ประกอบหลายอย่างร่วมกันคือ ระหว่างการท�ำงานหนักกับความสามารถพิเศษ การประหยัดอดออม และโชคลาภ ผูค้ นจ�ำนวนมากอาจนับเป็ นลา้ นๆ คนทัว่ โลกดูจะมีความหวังว่าตัวเอง ก็สามารถเป็ นเศรษฐีได้ในเวลาไม่นานนัก ความเชื่อเหล่านี้มาจากการได้เห็นคน บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

55

อืน่ ๆ สามารถหาเงินมาอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1990 ด้วยการ เปลีย่ นตัวเล่นหุน้ จากหุน้ เก่าทีถ่ อื ไว ้ อย่างเช่น หุน้ ของบริษทั เจนเนอรัลมอเตอร์ หรือพร็อกเตอร์แอนด์แกมเบิล เปลีย่ นมาเป็ นหุนของบริ ้ ษทั เกิดใหม่ทด่ี �ำเนินธุรกิจ ไฮเทค เช่น ออราเคิล ซิสโคซิสเต็มส์ และอืน่ ๆ ทีเ่ ป็ นดาวรุ่งพุง่ แรงในยุคนัน้ และ ช่วยดันดัชนีตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ (National Association of Securities Dealers Automated Quotation) ให ้ทะลุเป้ า จนท�ำให ้นักเล่นหุนตั ้ วเหล่านี้ต่าง ร�ำ่ รวยขึ้นตามกัน ยิง่ ในช่วงไม่ก่ปี ี ทผ่ี ่านมา เรายังได้เห็นนักธุรกิจหลายคนร�ำ่ รวย กลายเป็ นมหาเศรษฐีแบบไม่ทนั ข ้ามคืน ด้วยวิธกี ารง่ายๆ คือ กูเ้ งินจากสถาบัน การเงินให้มากทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะท�ำได้ และน�ำมาลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์เพือ่ เก็งก�ำไร จนประสบความส�ำเร็จ ข ้อจ�ำกัดของการสร้างรายได้โดยปกติจะไม่มผี ลหรือใช้ไม่ได้กับกลุม่ คนทีม่ ี ความสามารถพิเศษทีม่ องเห็นโอกาสรออยูข่ ้างหน้า เสมือนการมีเงินวางรอไว ้ให ้คุณ หยิบอยูบ่ นโต๊ะ ตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทเ่ี ป็ น นักเก็งก�ำไรเชือ่ ว่าราคาหุนจะต้องมี ้ โอกาสปรับเพิม่ ขึ้น เนื่องมาจากการน�ำเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และระบบอี–คอมเมิรซ์ (e–Commerce – การค้า ทางอินเทอร์เน็ต) มาใช้ในวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ซึง่ เชื่อว่าจะช่วย ลดต้นทุนลงส�ำหรับด�ำเนินธุรกิจได้ถงึ 30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีจะช่วยเพิม่ ผลิตผลการผลิตส่วนรวม และน�ำไปสู่การลดต้นทุนใน การด�ำเนินธุรกิจโดยรวม จึงมีผลต่อการปรับและประเมินราคาหุนใหม่ ้ โดยเฉพาะ หุนของธุ ้ รกิจประเภท อี–คอมเมิรซ์ ทีน่ �ำเข ้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี ผู ้เกี่ยวข ้องต่างๆ ในปัจจุบนั ได้ตระหนักดีวา่ การปรับเพิม่ ของ มูลค่าหรือราคาหุนของบริ ้ ษทั ทีท่ �ำธุรกิจด้าน อี–คอมเมิรซ์ ไม่ได้ข้นึ อยู่กบั ผลิตภาพ (Productivity) ว่าผลิตเพิม่ มากเท่าไร (หรือต้นทุนทางธุรกิจลดลงเท่าไร) แต่ข้นึ อยู่กบั ผลก�ำไรจริงทีค่ าดว่าจะได้รบั เพิม่ ว่ามีมากเท่าไรต่างหาก แน่นอนว่าบริษทั ทีล่ งทุนน�ำเทคโนโลยีทนั สมัยมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้เร็วกว่าและตอบสนองได้ รวดเร็วกว่า จึงจะมีก �ำไรเป็ นกอบเป็ นก�ำจากส่วนต่างของต้นทุนธุรกิจและสามารถ ประหยัดได้ก่อนคนอืน่ เท่านัน้

56

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แต่ถ ้าในระยะยาว เมือ่ ทุกบริษทั น�ำเทคโนโลยีมาใช้เหมือนกันหมด ก็สามารถ ประหยัดต้นทุนได้เหมือนๆ กัน และในทีส่ ุดการแข่งขันกันทางธุรกิจก็ท �ำให ้ก�ำไร ส่วนเพิม่ หมดไป โดยผลประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนจะถ่ายเทไปสู่ผู ้บริโภค ในรูปของราคาสินค้าทีต่ ำ� ่ ลงเพราะว่าการแข่งขันทางการค้านัน่ เอง ตัวอย่างทีเ่ ป็ นรูป ธรรมเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมในสหรัฐฯ ช่วงทีม่ กี ารค้นพบฮอร์โมน โซมาโตโทรฟิ น (ฮอร์โมนที่ช่วยเร่งอัตราการผลิตน�ำ้ นมของโคนม) ปรากฏว่า เกษตรกรผู ้เลี้ยงโคนมกลุม่ แรกๆ ทีใ่ ช้ฮอร์โมนนี้ต่างได้รบั อานิสงส์จากก�ำไรทีเ่ พิม่ ขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็ นเพียงระยะสัน้ เท่านัน้ เพราะเมือ่ มีจ �ำนวนเกษตรกร ผู ้เลี้ยงโคนมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีน้ มี ากขึ้น ส่งผลให้ราคาน�ำ้ นมดิบโดยรวมปรับ ตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณอุปทานของน�ำ้ นมดิบทีเ่ พิม่ มากขึ้น ส่งผลโดย รวมต่อการปรับตัวลดลงของก�ำไรสุทธิสู่ระดับปกติในทีส่ ุด ข ้อเท็จจริงทีพ่ บนัน้ เกิดกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมทีไ่ ด้กล่าวไปแล ้ว และก็เกิดขึ้นในท�ำนองเดียวกันกับอุตสาหกรรมหรือธุ รกิจเทคโนโลยีใหม่อ่นื ๆ ด้วยเช่นกัน ถา้ หน่วยอุตสาหกรรมของธุรกิจนัน้ อยู่ในตลาดทีม่ กี ารแข่งขันอย่าง เสรี ในทีส่ ุดประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีจะปรากฏอยู่ในรูปราคาจ�ำหน่ายสินค้าทีล่ ดลง ไม่ใช่ก �ำไรทีธ่ ุรกิจจะได้ รับเพิม่ ขึ้นแต่ประการใด ทีอ่ ธิบายทัง้ หมดข ้างต้น ชี้ให ้เห็นถึงหลักสัจธรรมของ “ไม่มเี งินฟรีวางบน โต๊ะ (รอให ้คุณมาหยิบฟรีๆ)” หรือ “No cash on the table.” หลักการนี้จะเป็ น เครื่องเตือนใจให ้เพิม่ ความระมัดระวัง และไม่ประมาทกับโอกาสต่างๆ ทีพ่ บ บาง ครัง้ มันดูดจี นแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็ นไปได้ อย่างการร่วงลงอย่างรุนแรงของดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในสหรัฐฯ ตามมาด้วยดัชนี FTSE (Financial Times Stock Exchange) ของสหราชอาณาจักร ทีเ่ กิดขึ้นเมือ่ ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2000 คือปรากฏการณ์ทส่ี ะท ้อนให ้เห็นถึงผลของหลักการนี้ และเมือ่ น�ำหลักนี้ มาใช้พจิ ารณาร่วมกับหลักแห่งรายได้และต้นทุน (Cost–Benefit Principle) จะ

บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

57

ช่วยใหเ้ รามีความเขา้ ใจมากขึ้นกับแบบกระสวนของราคา ซึง่ มีความน่าตื่นเต้น น้อยกว่าในการค้าของตลาดทัวไป ่ ดังเช่นแบบสินค้าทีม่ กี ารซื้อขายในตลาดปกติ เนื่องจากผูบ้ ริโภคมีรสนิยมการบริโภคสินค้าแตกต่างกัน รวมทัง้ มีระดับ รายได้ทแ่ี ตกต่างกันด้วย ดังนัน้ พวกเขาจะมีความเต็มใจจ่ายให ้กับสินค้าแต่ละ ชนิดต่างกันด้วย อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ช่อื ดังอย่าง อดัม สมิท ทีก่ ล่าวไว ้ ในหนังสือ The Wealth of Nations ยืนยันว่า ในระยะยาวราคาสินค้าทีซ่ ้อื ขาย จะไม่เกินกว่าต้นทุนการผลิต ถ ้ามีสว่ นเหลือ่ มของราคาก็จะเป็ นสิง่ จูงใจให้มีผู ้ผลิต หน้าใหม่เข ้าสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ และผลิตสินค้าในจ�ำนวนทีม่ ากขึ้น จนผลักดัน ให ้ราคาสินค้าลดลงเท่ากับต้นทุนการผลิตในทีส่ ุด อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็ นจริงก็พบว่าค�ำยืนยันดังกล่าวก็ไม่เป็ นไป ตามทฤษฎีเสมอไป เพราะมีตวั อย่างให้เห็นว่าผู ้บริโภคหลายคนซื้อสินค้าและบริการใน ราคาทีต่ ่างกันทัง้ ทีเ่ ป็ นชนิดเดียวกัน (ซึง่ ควรมีราคาเดียว) ซึง่ ปรากฏการณ์น้ ดี ูเหมือน จะแย้งกับหลัก “ไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะ” เพราะถ ้ามีโอกาสเพิม่ ก�ำไร ท�ำไมจึงไม่มี คู่แข่งรายอืน่ เข ้าตลาดเพือ่ แข่งขันกันผลิตสินค้ามาขายในระดับราคาเท่ากัน ซึง่ ใน บทที่ 4 จะน�ำเสนอตัวอย่างต่างๆ ทีเ่ กี่ยวข ้องโดยตรงกับค�ำถามนี้ แต่ในบทนี้ทจ่ี ะ สรุปก่อนว่าในตลาดการค้าเสรีต่างๆ การแข่งขันระหว่างผู ้ค้าจะส่งผลให้ราคาสินค้า ลดลงจนเป็ นราคาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ทองค�ำจะมีราคาเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อขายทีต่ ลาดนิวยอร์ก หรือตลาดลอนดอนก็จะซื้อขายในราคาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็ นนักธุรกิจชัน้ น�ำหรือ ครูประชาบาล เพราะหากไม่เป็ นไปตามหลักการนี้ จะท�ำใหก้ รณีทม่ี เี งินฟรีวาง บนโต๊ะเกิดขึ้นแทน ตัวอย่างเช่น สมมติวา่ ทองค�ำแท่ง 1 ออนซ์ ขายในราคา 400 ปอนด์ทต่ี ลาดนิวยอร์ก แต่ขายราคา 450 ปอนด์ทต่ี ลาดลอนดอน ถา้ ใครก็ตามที่ ซื้อทองค�ำแท่ง 1 ออนซ์ทต่ี ลาดนิวยอร์กและน�ำไปขายต่อทีต่ ลาดลอนดอน จะได้ ก�ำไรทันที 50 ปอนด์ จากทีไ่ ด้อธิบาย จึงชี้ให ้เห็นว่า ความหมายโดยนัยของหลัก แห่งการไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะก็คอื หลักแห่งการมีราคาเดียวของสินค้าและบริการ

58

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

นัน่ เอง หลักการนี้น �ำมาขยายความเพิม่ เติมอีกเล็กน้อยส�ำหรับสินค้าทองค�ำแท่ง ที่ กล่าวไปได้วา่ ราคาทองค�ำซื้อขายทีต่ ลาดนิวยอร์กและตลาดลอนดอนจะแตกต่าง กันได้ไม่เกินกว่าค่าขนส่งระหว่างสองตลาดดังกล่าว ดังนัน้ หลักหรือกฎแห่งราคาเดียวจะเป็ นจริงกับสินค้าทีผ่ ลิตและจ�ำหน่าย ภายใต้ตลาดทีม่ กี ารแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึง่ มีลกั ษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ มีผู ้ผลิต หรือผูค้ า้ จ�ำนวนมากอยู่ในตลาด ท�ำการผลิตสินค้าทีม่ มี าตรฐานสูงเหมือนกันใน ตลาดเดียวกัน ซึง่ ตลาดค้าทองค�ำก็เป็ นตัวอย่างหนึ่งของตลาดประเภทนี้ ลักษณะ ส�ำคัญอีกประการหนึ่งของตลาดแข่งขันสมบูรณ์คอื การเข ้า–ออกตลาดของผู ้ผลิต และผู ้ค้ารายใหม่สามารถท�ำได้อย่างเสรี ดังเช่นตลาดค้าทองค�ำ ซึง่ ผู ้ผลิตหรือผู ้ค้า รายใหม่สามารถเข ้าสูต่ ลาดได้ทกุ เวลา ทุกสถานที่ และทุกโอกาสการท�ำก�ำไรเปิ ดให้ โอกาสท�ำก�ำไรทีเ่ กิดจากการซื้อสินค้าในตลาดหนึ่ง แต่น�ำไปขายท�ำก�ำไรอีก ตลาดหนึ่ง (Arbitrage) เป็ นปัจจัยส�ำคัญก่อให้เกิดกฎแห่งราคาเดียว ตัวอย่างเช่น เกลือทีจ่ �ำหน่ายในตลาดจะมีราคาเดียวส�ำหรับผู ้ซื้อทุกคน แต่เป็ นไปได้กับผู ้ทีม่ คี วาม สามารถในการจ่าย อาจเต็มใจซื้อเกลือในราคาทีแ่ พงกว่าส�ำหรับเกลือชนิดเดียวกัน ข ้อเท็จจริงนี้ท �ำให ้มีผู ้ค้าบางคนหาก�ำไรเพิม่ โดยแบ่งลูกค้าออกเป็ นสองกลุม่ ตาม ก�ำลังซื้อ คือคนรวยและคนจน แล ้วก�ำหนดราคาขายทัง้ สองตลาดให ้แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี กฎแห่งราคาเดียวสามารถประยุกต์ใช้ในกรณีน้ ไี ด้วา่ ผู ้ค้าราย ใดก็ตามทีพ่ ยายามหาก�ำไรจากความเต็มใจซื้อเกลือในราคาแพงกว่า โดยก�ำหนด ราคาขายให ้สูงขึ้นส�ำหรับกลุม่ คนรวย ก็เป็ นการสร้างโอกาสเข ้าสู่ตลาดของคู่แข่ง รายใหม่เพือ่ แสวงหาก�ำไรเพิม่ ในทางปฏิบตั ิ ผู ้ค้ารายใหม่อาจซื้อเกลือมาในราคา ต้นทุนจากตลาดทีข่ ายให ้คนจน แล ้วน�ำไปขายต่อในตลาดคนรวย โดยอาจตัง้ ราคา ให้ต�ำ่ กว่าตลาดทีค่ นรวยเคยจ่ายเล็กน้อยก็ได้ก�ำไรแล ้ว และถ ้ามีคู่แข่งจ�ำนวนมาก เข ้าสู่ตลาด ราคาของทัง้ สองตลาดก็จะปรับตัวจนเท่ากันในทีส่ ุด แบบจ�ำลองอุปสงค์–อุปทานสินค้าของนักเศรษฐศาสตร์ คือเครื่องมือที่ ใช้อธิบายหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู ้ผลิตและผู ้บริโภค อีกทัง้ พลัง บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

59

ของมือทีม่ องไม่เห็นในการก�ำหนดว่า สินค้าชนิดใดควรผลิต แล ้วจะผลิตปริมาณ เท่าใด และจ�ำหน่ายในราคาเท่าไร อุปสงค์ของสินค้าใดก็ตามจะเป็ นมาตรวัดความ เต็มใจจ่ายของผู ้บริโภคส�ำหรับสินค้านัน้ หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งก็คอื เป็ นตัววัด อรรถประโยชน์ (หรือความสุข) เพิม่ เพือ่ ให้ผู ้บริโภครูส้ กึ ว่าเมือ่ ได้รบั สินค้านัน้ แล ้ว ท�ำให้เขายังคงซื้อสินค้านี้เพิม่ ต่อไปเรือ่ ยๆ ตราบเท่าทีเ่ ขารูส้ กึ ว่าอรรถประโยชน์ทไ่ี ด้ จากการบริโภคสินค้าหน่วยสุดท้าย อย่างน้อยยังเท่ากับหรือมากกว่าราคาของสินค้า นัน้ หลักการทัวไปของสมการอุ ่ ปสงค์สนิ ค้าคือ ปริมาณการบริโภคจะมีแนวโน้มลด ลงเมือ่ ราคาสินค้ามีแนวโน้มเพิม่ ขึ้น และในทางกลับกัน ปริมาณการบริโภคจะมี แนวโน้มเพิม่ ขึ้นเมือ่ ราคาสินค้ามีแนวโน้มลดลง ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน อุปทานสินค้าหรือบริการใดก็ตามจะเป็ นค่ามาตร วัดความเต็มใจเสนอขายสินค้าของผู ้ผลิต ณ ระดับราคาต่างๆ กฎง่ายๆ มีเพียง ว่า ผูผ้ ลิตจะผลิตสินค้าหรือบริการเพือ่ ขายต่อไปเรื่อยๆ ตราบเท่าทีร่ าคาขายที่ เขาได้รบั อย่างน้อยยังเท่ากับหรือมากกว่าต้นทุนการผลิตเพิม่ (Marginal Cost) ของสินค้าหน่วยสุดท้ายทีเ่ ขาผลิตในระยะสัน้ ซึง่ ต้นทุนการผลิตเพิม่ ต่อหน่วยจะมี แนวโน้มเพิม่ ขึ้นตามปริมาณการผลิต ดังนัน้ หลักการทัวไปของสมการอุ ่ ปทาน สินค้าคือ ปริมาณการผลิตจะมีแนวโน้มแปรตามราคาสินค้า นัน่ คือ ถ ้าราคาสินค้า มีแนวโน้มเพิม่ ขึ้น ผู ้ผลิตก็จะผลิตสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ถ ้าราคาสินค้ามี แนวโน้มลดลง ผู ้ผลิตก็จะผลิตสินค้าออกสู่ตลาดลดลงเช่นกัน ตลาดซื้อขายสินค้าใดก็ตามทีถ่ กู เรียกว่าอยู่ในภาวะสมดุล คือเมือ่ ปริมาณ สินค้าหรือบริการทีผ่ ู ้บริโภคต้องการเสนอซื้อ ณ ระดับราคาตลาดทีเ่ ป็ นอยูน่ นั้ เท่ากับ ปริมาณสินค้าทีผ่ ู ้ผลิตต้องการเสนอขายพอดี ระดับราคาตลาดนัน้ เรียกว่า ราคา สมดุล (Equilibrium Price) หรือ ราคาเคลียร์ตลาด (Market–Clearing Price) แบบจ�ำลองอุปสงค์–อุปทานก็เป็ นเครื่องมือทีท่ รงพลังอย่างยิง่ ในการช่วย จัดระเบียบและแยกแยะความสัมพันธ์ของข ้อมูลข่าวสารอันยุ่งเหยิงทีพ่ บในชีวติ ประจ�ำวันเพือ่ การตัดสินใจได้ดว้ ย

60

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เนื่องจากราคาตลาดจะถูกก�ำหนดขึ้นเมือ่ อุปสงค์และอุปทานสินค้าอยู่ใน ภาวะสมดุล จึงไม่ถกู ต้องนักทีเ่ ราจะอธิบายการเปลีย่ นแปลงหรือการเคลือ่ นไหว ของราคาหรือปริมาณของสินค้าใดสินค้าหนึ่งในตลาด โดยอ้างถึงแต่อปุ สงค์หรือ อุปทานด้านใดด้านหนึ่งเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม บางกรณีทเ่ี ราสามารถใช้อปุ สงค์หรือ อุปทานอันใดอันหนึ่งมาอธิบายแบบกระสวนทีส่ �ำคัญของตลาดได้เช่นกัน ดังจะได้ พบในตัวอย่างแรกนี้ทจ่ี ะเกี่ยวข ้องกับด้านอุปสงค์ก่อน

ท�ำไมบาร์ ส่วนใหญ่ จงึ คิดเงินเมื่อคุณสั่งน�ำ้ ดื่ม แต่ สำ� หรั บถั่วลิสงคั่วอบเกลือ จะให้ บริการฟรี โดยไม่ คดิ เงิน ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ หรือกลุม่ ประเทศในเครือสหราชอาณาจักร เมือ่ คุณสัง่ น�ำ้ ดืม่ ในบาร์ เกือบทุกแห่งจะคิดเงินกับคุณ บางแห่งอาจคิดราคาสูงถึง 2 ปอนด์ ต่อน�ำ้ ดืม่ บรรจุขวดขนาด 500 มิลลิลติ ร และทีน่ ่าแปลกเหมือนกันคือ เกือบทุก แห่งจะมีถวลิ ั ่ สงคัว่ อบเกลือให ้บริการฟรี ซึง่ พฤติกรรมดังกล่าวก่อให ้เกิดข ้อกังขา ว่าท�ำไมจึงเป็ นเช่นนี้ ทัง้ ๆ ที่ถวลิ ั ่ สงคัว่ อบเกลือน่ าจะมีตน้ ทุนสู งกว่าน�ำ้ ดื่มอยู่ มาก แต่ท �ำไมไม่ปฏิบตั ใิ ห ้เป็ นไปในทางตรงกันข ้ามคือ ให ้น�ำ้ ดืม่ ฟรี แต่คดิ เงินค่า ถัวลิ ่ สงคัว่ อบเกลือ แล ้วคุณจะเข ้าใจเองว่าท�ำไมเจ้าของบาร์จงึ มีพฤติกรรมด�ำเนินธุรกิจเช่น นี้ หากคุณเข ้าใจถึงผลกระทบทีต่ ามมาของการให ้ถัวลิ ่ สงฟรี แต่คดิ เงินค่านำ�้ ดืม่ ซึง่ มีผลต่อการเปลีย่ นแปลงส�ำหรับอุปสงค์สนิ ค้าหลัก ได้แก่ เหล ้า และเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ตามเป้ าหมายของร้าน ก็เพราะถัวลิ ่ สงคัว่ อบเกลือและ เครื่องดืม่ แอลกอฮอล์สามารถใช้ร่วมกันได้ดี กล่าวคือ คนทีก่ นิ ถัวลิ ่ สงคัว่ อบเกลือ มาก มักจะต้องการดืม่ เบียร์หรือเหล ้ามากตามไปด้วย ดังนัน้ เจ้าของร้านสามารถ เพิม่ ยอดขายเครื่องดืม่ แอลกอฮอล์ใหม้ กี �ำไรมากขึ้นได้ โดยใหบ้ ริการถัวลิ ่ สงคัว่ อบเกลือเป็ นกับแกล ้มฟรี เพราะก�ำไรทีไ่ ด้จากการขายเหล ้าหรือเบียร์จะมีมากกว่า ต้นทุนเพิม่ จากการให ้บริการกับแกล ้มฟรีมากกว่า

บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

61

ในทางกลับกัน น�ำ้ ดืม่ และเครื่องดืม่ แอลกอฮอล์จดั เป็ นสินค้าทีใ่ ช้ทดแทน กัน แน่นอนว่าคนทีไ่ ปเทีย่ วบาร์ถา้ สังแต่ ่ นำ�้ ดื่มมาก ก็มแี นวโน้มว่าสังเครื ่ ่องดื่ม แอลกอฮอล์มาดืม่ น้อยลง ดังนัน้ แม ้น�ำ้ ดืม่ จะมีราคาค่อนข ้างถูก แต่เจ้าของร้าน ก็ตอ้ งตัง้ ราคาขายให ้สูงเข ้าไว ้ เพือ่ ไม่จูงใจให ้นักเทีย่ วสังดื ่ ม่ ในร้าน

เพราะเหตุใด โรงงานผลิตเครื่ องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ จงึ ขายเครื่ อง คอมพิวเตอร์ พร้ อมโปรแกรมซอฟต์ แวร์ ใช้ งานฟรี ทัง้ ๆ ที่มูลค่ าตลาด ของโปรแกรมซอฟต์ แวร์ ฟรี มีมากกว่ าราคาเครื่ องคอมพิวเตอร์ เสียอีก ทุกวันนี้ใครก็ตามที่ซ้ อื คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่มาใช้ จะพบว่าภายในเครื่องไม่ เพียงแต่บรรจุโปรแกรมต่างๆ ทีเ่ กี่ยวกับการใช้งานของตัวเครื่องเท่านัน้ แต่ยงั มีโปรแกรมซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดต่างๆ ทีช่ ่วยในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ค�ำนวณ ดูหนัง ฟังเพลง ส่งอีเมล อินเทอร์เน็ต จัดอัลบัม้ รูป โปรแกรมป้ องกันไวรัส การ จัดการข ้อมูล และปฏิบตั งิ านด้านต่างๆ ฯลฯ รวมไว ้ในแพ็กเก็จด้วย แล ้วท�ำไม ผู ้ผลิตจึงแถมฟรีซอฟต์แวร์ทมี ่ มี ลู ค่าราคาสูงเหล่านี้ สิง่ ทีผ่ ูใ้ ช้ซอฟต์แวร์ทวไปจะค�ำนึ ั่ งถึงอย่างมากก็คือ ความเขา้ กันได้ของ การใช้งานระหว่างโปรแกรมซอฟต์แวร์กบั เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น เมือ่ นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ท �ำงานร่วมกันในโครงการใดก็ตาม การ ท�ำงานจะง่ายขึ้นเป็ นอย่างมากถ ้าหากเขาทัง้ สองใช้โปรแกรม Word Processing เดียวกัน หรือเมือ่ ถึงเวลาต้องค�ำนวณภาษีเงินได้มาถึง ผู ้มีภาระต้องช�ำระภาษีจะ ไม่ยุ่งยากปวดหัวในการค�ำนวณแบบประเมิน หากโปรแกรมซอฟต์แวร์การใช้งาน เป็ นมาตรฐานเดียวกันกับหน่วยงานทีม่ หี น้าทีจ่ ดั เก็บภาษี เหตุผลเกี่ยวข ้องอีกประการทีท่ �ำให ้ผู ้ผลิตควรแจกโปรแกรมใช้งานฟรีคอื มีหลายโปรแกรมการใช้งานทีช่ วนให ้ผู ้ใช้ตอ้ งศึกษาท�ำความเข ้าใจ เช่น โปรแกรม Microsoft Word แล ้วเมือ่ ไรก็ตามทีเ่ ข ้าใจและคุน้ เคยกับการใช้งานในโปรแกรม ใดแล ้ว ส่วนใหญ่มกั จะไม่ค่อยยอมเรียนรูโ้ ปรแกรมอืน่ เพิม่ เติมอีกแม ้ว่าจะเป็ น ประโยชน์ทค่ี วรท�ำก็ตาม

62

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

พฤติกรรมของผูใ้ ช้งานซอฟต์แวร์ทอ่ี ธิบายไปแล ้ว บอกใหร้ ูถ้ งึ ประโยชน์ จากการเป็ นเจ้าของและการได้ใช้งาน ผู ้ใช้คอมพิวเตอร์จะมีเพิม่ ขึ้นหากจ�ำนวนผู ้ ใช้งานโปรแกรมซอฟต์แวร์เดียวกันเพิม่ ขึ้น ความสัมพันธ์อนั ไม่ปกติระหว่างผู ้ใช้ งานกับโปรแกรมซอฟต์แวร์จะก่อใหเ้ กิดผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ผูผ้ ลิต โปรแกรมเวอร์ชนั ่ ทีก่ �ำลังได้รบั ความนิยมมากขึ้น แล ้วจะเป็ นเรื่องยากมากทีจ่ ะมี ผู ้ผลิตโปรแกรมซอฟต์แวร์เวอร์ชนั ่ ใหม่เข ้าสู่ตลาดนี้ได้ ด้วยการตระหนักถึงพฤติกรรมดังกล่าว ท�ำให ้ บริษทั ไซแมนเทกคอร์เปอ– เรชัน่ ทดลองเสนอโปรแกรม Norton ต่อต้านไวรัสคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดให ้ กับบริษทั ผูผ้ ลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยไม่คดิ ค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าบริษทั ผูผ้ ลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องยอมลงโปรแกรม Norton ส�ำหรับเครื่องของ ตน เพราะจะช่วยเพิม่ มูลค่าและช่วยให้ขายได้งา่ ยขึ้น และด้วยวิธกี ารให้โปรแกรม ฟรีน้ ี ได้ส่งผลใหไ้ ซแมนเทกคอร์เปอเรชัน่ ได้รบั อานิสงส์จากค�ำสังซื ่ ้ อผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสเวอร์ชนั ่ อืน่ ๆ เพิม่ อย่างมากในเวลาต่อมา เช่น โปรแกรม อัปเกรด Norton Anti Virus และเวอร์ชนั ่ อืน่ ๆ ทีท่ นั สมัยมากขึ้น ด้วยความส�ำเร็จของไซแมนเทกคอร์เปอเรชัน่ ดังกล่าว ได้ส่งผลให ้บริษทั พัฒนาซอฟต์แวร์อน่ื ๆ กระโดดเข ้าร่วมขบวนการ และมีบางบริษทั ถึงกับยอม จ่าย เงินให้กับบริษทั ผู ้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์บางรายให ้น�ำโปรแกรมของตนบรรจุลง ในเครื่องทีจ่ �ำหน่ายสู่ตลาด

ท�ำไมโทรศัพท์ มือถือบางรุ่ นขายในราคาเพียง 12.95 ปอนด์ แต่ ขาย แบตเตอรี่สำ� รองในราคาสูงกว่ าถึง 19.99 ปอนด์ (กรณีศกึ ษาของ เทียน ซิน กู) ร้านค้าออนไลน์อย่างคาร์โฟนแวร์เฮาส์ แจกโทรศัพท์มอื ถือโนเกีย รุ่น 6300 ให ้ใช้ ฟรีในระยะเวลา 12 เดือน แต่ถ ้าคุณต้องการแบตเตอรี่ส �ำรองด้วย เขาจะขายคุณ ในราคาก้อนละ 19.99 ปอนด์ แล ้วท�ำไมคุณจึงยอมซื้อแบตเตอรีส่ ำ� รองทีเ่ หมือน กับอันทีอ่ ยู่ในเครือ่ งโทรศัพท์มอื ถือทีไ่ ด้มาฟรีในราคาแพงเช่นนัน้ ล่ะ บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

63

แบตเตอรีท่ ม่ี ลี เิ ธียมไอออน (Lithium–Ion) ชาร์จไฟส�ำหรับโทรศัพท์มอื ถือ นัน้ มีตน้ ทุนการผลิตค่อนข ้างสูง แต่ท �ำไมโทรศัพท์มอื ถือพร้อมแบตเตอรี่จงึ ขายได้ ในราคาถูก การค้นหาค�ำตอบจะต้องโยงไปถึงโครงสร้างต้นทุนทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ ของแต่ละธุรกิจ อย่างการให ้บริการสือ่ สารโทรคมนาคมแบบไร้สาย จะมีค่าลงทุนที่ เป็ นต้นทุนคงทีค่ ่อนข ้างสูงมาก ได้แก่ ค่าลงทุนจัดวางโครงข่ายเชื่อมสัญญาณ ค่า โฆษณา และค่าสัมปทาน ฯลฯ ค่าลงทุนคงทีเ่ หล่านี้จะไม่แปรตามจ�ำนวนลูกค้าผู ้ ใช้บริการ ดังนัน้ ยิง่ มีจ �ำนวนผู ้ใช้บริการมากเท่าไร ก็ยง่ิ เป็ นการช่วยเฉลีย่ ต้นทุน คงที่ ซึง่ จะช่วยเพิม่ ความอยู่รอดทางธุรกิจด้วย สมมติวา่ ค่าธรรมเนียมรายเดือนการใช้โทรศัพท์มอื ถือเท่ากับ 30 ปอนด์ ถา้ ผูใ้ หบ้ ริการเอกชนรายใดสามารถหาลูกค้าเขา้ เป็ นสมาชิกเครือข่ายเพิม่ ได้อกี หนึ่งราย หมายความว่าเขาจะมีรายได้เพิม่ ขึ้นทันทีปีละ 360 ปอนด์ โดยไม่ตอ้ งมี ค่าใช้จ่ายเพิม่ อย่างมีนยั ส�ำคัญแต่อย่างใด ด้วยเหตุน้ ี ธุรกิจการให ้บริการสือ่ สาร โทรคมนาคมแบบไร้สายจึงมีสง่ิ จูงใจอย่างใหญ่หลวงทีจ่ ะต้องหาลูกค้าเพิม่ ใหไ้ ด้ มากทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะท�ำได้ โทรศัพท์มอื ถือและบริการสือ่ สารโทรคมนาคมแบบไร้สาย เป็ นประเภท ธุรกิจทีม่ รี ะดับการใช้ประโยชน์ร่วมกันสูงมาก ด้วยประสบการณ์บอกใหร้ ูว้ ่าการ ลดราคาโทรศัพท์มอื ถือให้ตำ� ่ ก็เป็ นยุทธวิธที ม่ี ปี ระสิทธิภาพมากในการดึงดูดลูกค้า รายใหม่ใหเ้ ขา้ มาใช้บริการ เนื่องจากการซื้อโทรศัพท์มอื ถือจะใช้วธิ ีซ้ อื เป็ นลอต ใหญ่แต่ละครัง้ เป็ นจ�ำนวนมาก จึงสามารถต่อรองราคากับผู ้ผลิตได้มาก ไม่วา่ จะ เป็ นโนเกีย โมโตโรล่า หรืออืน่ ๆ หลายบริษทั ก็จะขายโทรศัพท์มอื ถือให ้แก่ลูกค้า รายใหม่ในราคาตำ� ่ กว่าทีต่ วั เองซื้อเสียอีก หรือบางรายก็ยอมแม ้กระทังให ่ ฟ้ รีไป เลย และถา้ การแจกโทรศัพท์มอื ถือฟรีช่วยใหไ้ ด้ลูกค้ารายใหม่เพิม่ ขึ้นอีกหนึ่ง ราย ซึง่ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครือข่ายปี ละ 360 ปอนด์ การให ้ฟรี ร้อยราย พันราย หมืน่ ราย หรืออีกกี่รายทีม่ ากกว่านัน้ จะช่วยให ้มีรายได้เพิม่ ขึ้น มหาศาล จะเท่าไรคงเข ้าใจได้ไม่ยาก ก็ถอื เป็ นการดีต่อบริษทั ผู ้ให ้บริการโทรศัพท์ แบบไร้สายมากกว่าการขายแบตเตอรี่ราคาถูกมิใช่หรือ แมว้ ่าเขาต้องลงทุนซื้อ โทรศัพท์มอื ถือจากบริษทั ผู ้ผลิตโมโตโรล่าในราคาเครือ่ งละ 50 ปอนด์ มันก็ยงั คุม้ ค่า

64

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การเสนอขายแบตเตอรี่ส �ำรองในราคาตำ� ่ พบว่าไม่ใช่กลยุทธ์ทป่ี ระสบความ ส�ำเร็จในการดึงดูดลูกค้ารายใหม่ (ก็ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะใครๆ ก็ไม่จ �ำเป็ น ต้องซื้อแบตเตอรี่ใช้บอ่ ยๆ) ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเข ้าใจได้ไม่ยากว่าท�ำไมบริษทั ทีด่ �ำเนินธุรกิจการให ้บริการสือ่ สารโทรคมนาคมแบบไร้สาย จึงเห็นประโยชน์ของ การเสนอขายโทรศัพท์มอื ถือในราคาต�ำ่ กว่าตัวแบตเตอรี่มาก

เพราะเหตุใดห้ องที่มีราคาแพงที่สุดของอาคารสูง ในอินเดีย จะต้ องอยู่ บนชัน้ สูง ในขณะที่ห้องที่มีราคาแพงที่สุดของอาคารเตีย้ คือห้ องที่อยู่ ชัน้ ล่ าง (กรณีศกึ ษาของ เพนกาจ บัดลานิ) เมืองบอมเบย์ ในอินเดีย ค่าเช่าอะพาร์ตเมนต์ทเ่ี ป็ นอาคารสูงจะแพงขึ้นประมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ส �ำหรับแต่ละชัน้ ทีส่ ูงขึ้น ดังนัน้ ค่าเช่าห ้องบนชัน้ ที่ 20 จะแพง กว่าห ้องบนชัน้ ที่ 5 ระหว่าง 5 – 45 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ค่าเช่าห ้องบนอาคาร สูงเพียงสีช่ นั้ หรือระดับชัน้ ของอาคารต�ำ่ กว่านี้ จะมีแบบกระสวนของค่าเช่าในทาง กลับกัน โดยห ้องทีอ่ ยู่ชนั้ ที่ 1 หรือชัน้ ที่ 2 จะมีค่าเช่าแพงกว่าห ้องแบบเดียวกันที่ อยู่บนชัน้ ที่ 3 หรือชัน้ ที่ 4 แล ้วท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ ในทุกกรณีของหอ้ งพักทีอ่ ยู่ในชัน้ ทีส่ ูงของอาคารสูง จะมีข ้อดีในด้านวิว ทิวทัศน์ท่ดี กี ว่า และห่างไกลเสียงรบกวนจากถนนมากกว่าด้วย ขอ้ ดีน้ ีเห็นได้ ชัดเจนเมือ่ เปรียบเทียบกับหอ้ งพักทีอ่ ยู่ในชัน้ สูงสุดของอาคารสูงกับหอ้ งพักทีอ่ ยู่ ในชัน้ สูงสุดของอาคารเตี้ย แต่กระนัน้ ก็ตาม ไม่วา่ อาคารจะมีความสูงเท่าไร ห ้อง พักทีอ่ ยู่บนชัน้ สูงขึ้นไปจะได้รบั ประโยชน์มากกว่า จึงเป็ นธรรมดาของผู ้ทีต่ อ้ งการ ครอบครองต้องจ่ายเงินเพิม่ เพือ่ แลกกับข ้อดีดงั กล่าว เช่นเดียวกับประเทศก�ำลังพัฒนาหลายประเทศ ส�ำหรับอินเดียก็มกี ารตรา กฎหมายยกเว ้นให ้อาคารทีม่ คี วามสูงมาตรฐานตัง้ แต่สช่ี นั้ ลงมาไม่ตอ้ งติดตัง้ ลิฟต์ ดังนัน้ ผู ้เช่าห ้องชัน้ ที่ 3 หรือชัน้ ที่ 4 ของอะพาร์ตเมนต์ขนาดเล็กจะต้องออกแรง เดินขึ้นหอ้ ง เมือ่ ต้องแบกหิ้วสัมภาระและข ้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จึงเหนื่อยกว่า ผู ้เช่าห ้องในชัน้ ที่ 1 หรือชัน้ ที่ 2 ของอาคาร นอกจากนี้ ห ้องทีอ่ ยู่ชนั้ ที่ 3 หรือชัน้ บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

65

ที่ 4 ก็ไม่ได้เห็นวิวภายนอกดีสกั เท่าไร หรือสามารถปลอดจากมลภาวะทางเสียง จากถนนหนทางได้ดไี ปกว่าห ้องทีอ่ ยู่ชนั้ ที่ 1 หรือชัน้ ที่ 2 เท่าใดนัก ดังนัน้ ถ ้าราคา ห ้องเช่าเท่ากัน ผู ้เช่าส่วนใหญ่จะเลือกเช่าห ้องทีอ่ ยู่ชนั้ ที่ 1 หรือชัน้ ที่ 2 มากกว่า และในสถานการณ์ทผ่ี ู ้เช่าห ้องต่างต้องการเช่าห ้องบนชัน้ ที่ 1 หรือชัน้ ที่ 2 เหมือน กัน จะเป็ นปัจจัยผลักดันราคาค่าเช่าให ้สูงขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

ท�ำไมหลังจากปลดเกษียณผู้คนจ�ำนวนมากจึงชอบซือ้ บ้ านหลังใหญ่ กว่ าเดิม ทัง้ ๆ ที่ลูกๆ ต่ างก็แยกครอบครั วออกไปแล้ ว (กรณีศกึ ษาของ โทบิน ชิลเก้ ) ภายหลังการปลดเกษียณก็มคี รอบครัวจ�ำนวนไม่นอ้ ยที่ยงั คงพักอาศัยในบา้ น หลังเดิมมาตัง้ แต่ตอนสร้างครอบครัวและเลี้ยงบุตรหลานจนโต แต่ก็มหี ลาย ครอบครัวเช่นกันเมือ่ คู่สามีหรือภรรยาเขา้ สู่วยั ชรา และมีปญ ั หาในการช่วยเหลือ ตัวเอง ก็ตอ้ งย้ายไปอาศัยอยู่กบั สถานสงเคราะห์คนชรา และในช่วงทศวรรษที่ ผ่านมา คนวัยเกษียณนิยมไปอยู่บา้ นหลังใหม่ทม่ี ขี นาดเล็กลงแต่อยู่ในรีสอร์ต ใกล ้ชายทะเล หรืออยู่ในสถานทีท่ ม่ี ภี มู อิ ากาศหรือสภาพสิง่ แวดล ้อมดีๆ ซึง่ ก็ยงั เป็ นแนวโน้มทีเ่ ห็นปฏิบตั กิ นั อยู่บ ้างในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ใหม่ท่ี เริ่มท�ำกันมากขึ้นในปัจจุบนั คือ คนวัยเกษียณนิยมขายบ ้านเก่าทิ้งและไปซื้อบ ้าน หลังใหม่ทม่ี ขี นาดใหญ่ข้นึ กว่าเดิม และอยู่ไม่ไกลจากบ ้านหลังเดิมนัก ค�ำถามที่ ควรหาค้นหาค�ำตอบคือ ท�ำไมคนวัยเกษียณจึงเริม่ นิยมปฏิบตั เิ ช่นนี้ คนวัยเกษียณหลายคนก็มเี งินเก็บเป็ นกอบเป็ นก�ำ และมีก �ำลังทรัพย์ท่ี สามารถซื้อบ ้านหลังใหญ่ได้ แต่ค �ำถามทีน่ ่าสนใจมากกว่าคือ ท�ำไมต้องซื้อบ ้าน หลังใหญ่ข้นึ ทัง้ ๆ ทีล่ ูกๆ ก็แยกครอบครัวไปหมดแล ้ว และท�ำไมยังเลือกซื้อบ ้าน ทีอ่ ยู่ไม่ไกลจากบ ้านหลังเดิม โดยข ้อเท็จจริง คนวัยเกษียณเหล่านี้สามารถสร้าง หรือซื้อบ ้านหลังใหม่ขนาดใหญ่ข้นึ ในสถานตากอากาศแถบชายฝัง่ ทะเลก็ได้ แล ้ว เพราะเหตุใดเขาจึงไม่ท �ำ แต่กลับเลือกซื้อในท�ำเลไม่ไกลจากบ ้านหลังเดิม

66

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

บ้านขนาดใหญ่ของคนวัยเกษี ยณ : แรงผลักดันให้แสวงหา อันเกิ ดจากการมี หลานๆ

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

ค�ำอธิบายทีใ่ กล ้เคียงกับข ้อเท็จจริงมากทีส่ ุดคือ การซื้อบ ้านหลังใหญ่ทอ่ี ยู่ ไม่ไกลจากบ ้านของลูกๆ ก็เพือ่ ต้องการให ้ลูกหลานมาเยีย่ มเยือนได้บอ่ ยๆ อย่าง สะดวกโดยไม่ตอ้ งล�ำบากนัน่ เอง (นัน่ คือความสะดวกจากการเดินทาง เพราะการ อยู่ไม่ไกลกันจะเป็ นแรงจูงใจให ้ลูกหลานมาเยีย่ มได้บอ่ ยครัง้ ) ยุคสมัยนี้ เด็กคน หนึ่งอาจมีคุณปู่ คุณย่า คุณตา หรือคุณยาย นับรวมกันได้มากกว่า 6 คนขึ้นไป ซึง่ เป็ นไปได้และถือเป็ นเรื่องปกติ เพราะพ่อแม่ยุคนี้มสี ถิตกิ ารหย่าร้างและแต่งงาน ใหม่สูงกว่าทีผ่ า่ นมามาก ท�ำให ้เด็กคนหนึ่งอาจมีพอ่ แม่บญ ุ ธรรมหลายคน ด้วยเหตุ นี้ คนวัยเกษียณทีเ่ ป็ นคุณปู่ คุณย่า คุณตา หรือคุณยาย จึงต้องการให ้บุตรหลาน มาเยีย่ มเยือน ในขณะทีอ่ ปุ ทานการสนองตอบจากบุตรหลานมีจ �ำนวนจ�ำกัด และ ด้วยเหตุผลนี้เองที่ท �ำใหค้ นวัยเกษียณที่มบี ุตรหลานต้องการเพิม่ ส่วนแบ่งการ

บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

67

เยีย่ มเยือน จึงเลือกซื้อบ ้านหลังใหญ่ทอ่ี ยู่ไม่ไกลจากบ ้านของลูกตัวเอง เพือ่ ให ้ลูก หลานสามารถมาเยีย่ มได้บอ่ ยๆ อย่างสะดวกสบาย

ท�ำไมห้องพักของโรงแรมในเมืองชาร์ มเอลชีคห์ (Sharm El Sheikh) จึงมี ราคาต�่ำสุดในช่ วงระยะเวลาที่มีอัตราการเข้ าพักสูงสุด (กรณีศกึ ษาของ รอนดา ฮาดิ) แนวโน้มโดยปกติของราคาห ้องพักในโรงแรม เป็ นราคาแปรไปตามอัตราการจอง เข ้าพักโดยตรง นัน่ คือ ราคาห ้องพักจะเพิม่ ขึ้นหรือลดลง เมือ่ อัตราผู ้จองเข ้าพัก เพิม่ ขึ้นหรือลดลงเช่นกัน ในทางกลับกัน จ�ำนวนผูต้ อ้ งการเข ้าพักจะแปรผกผัน กับราคา นัน่ คือ ถ ้าห้องพักมีราคาแพงจะมีจ �ำนวนผู ้ต้องการเข ้าพักน้อยลง และใน ทางกลับกัน ก็จะเป็ นไปตามกฎของอุปสงค์ดว้ ย อย่างไรก็ดี ข ้อเท็จจริงทีพ่ บกับ การด�ำเนินธุรกิจของโรงแรมในเมืองตากอากาศชาร์มเอลชีคห์ของอียปิ ต์คอื อัตรา การเข ้าพักในช่วงฤดูรอ้ นจะมีสูงกว่าในช่วงฤดูหนาวมาก แต่ปรากฏว่าราคาห้องพัก ในช่วงฤดูรอ้ นกลับถูกกว่าในช่วงฤดูหนาวอย่างมีนยั ส�ำคัญ ท�ำไมมันจึงเป็ นเช่นนี้ ค่าห ้องพักในโรงแรมจะไม่ข้นึ อยู่เพียงแค่อตั ราการจองห ้องพักเท่านัน้ แต่ ยังขึ้นอยู่กบั ความสามารถและความเต็มใจจ่ายของผู ้เข ้าพักในโรงแรมนัน้ ๆ ด้วย แม ้ว่าคนในประเทศจะไม่นิยมเทีย่ วพักผ่อนทีเ่ มืองชาร์มเอลชีคห์ในช่วงฤดูหนาว แต่ก็มนี กั ท่องเทีย่ วจากแถบยุโรปและประเทศอื่นๆ ทีม่ รี ายได้และก�ำลังจ่ายสูง นิยมมาพักผ่อนทีเ่ มืองนี้ เพราะต้องการหนีอากาศสุดหนาวเย็นในประเทศของ ตนมาหาอากาศทีห่ นาวเย็นน้อยกว่า เช่นทีเ่ มืองตากอากาศชาร์มเอลชีคห์แห่งนี้ ในทางตรงกันข ้าม นักท่องเทีย่ วจากอียปิ ต์เอง รวมทัง้ จากประเทศอืน่ ๆ ที่ อยู่ใกล ้เคียงในแถบตะวันออกกลาง ก็ไม่ชอบเผชิญกับความรุนแรงของอากาศเย็น ในช่วงฤดูหนาว จึงชอบเดินทางมาเทีย่ วพักผ่อนทีเ่ มืองนี้ในช่วงฤดูรอ้ นมากกว่า แต่ เนื่องจากนักท่องเทีย่ วซึง่ เป็ นกลุม่ ใหญ่น้ มี รี ะดับรายได้และก�ำลังซื้อตำ� ่ กว่ากลุม่ นัก ท่องเทีย่ วจากยุโรปและประเทศแถบตะวันตกทีน่ ยิ มมาช่วงฤดูหนาว ท�ำให้โรงแรม ไม่สามารถก�ำหนดราคาค่าห ้องพักให ้สูงเท่ากับทีเ่ รียกเก็บในช่วงฤดูหนาวได้

68

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ตัวอย่างที่กล่าวมา สามารถอธิบายผลกระทบต่อราคาจากความแตกต่าง ของอุปสงค์การบริการได้จากกลุม่ ผู ้บริโภคสองกลุม่ คือ กลุม่ มีอ �ำนาจซื้อสูงกับกลุม่ มีอ �ำนาจซื้อตำ� ่ ซึง่ ในแต่ละกรณีได้ช้ ใี หเ้ ห็นว่าท�ำไมผูบ้ ริโภคแต่ละกลุม่ จึงเต็มใจ ยอมจ่ายให ้กับบริการเดียวกันในราคาทีต่ ่างกันตามฤดูกาลท่องเทีย่ ว แล ้วส�ำหรับ ในตัวอย่างถัดไป จะแสดงผลกระทบท�ำนองเดียวกัน แต่จะเป็ นจากด้านอุปทาน ของตลาด ซึง่ ในแต่ละกรณีจะชี้ให ้เห็นว่าราคาและปริมาณการเสนอขายทีค่ าดว่า จะเกิดขึ้น มีความเชือ่ มโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับต้นทุนการผลิตทีแ่ ตกต่างกัน

ท�ำไมภาพสีจงึ ขายในราคาต�่ำกว่ าภาพขาวด�ำ (กรณีศกึ ษาของ โอทอน รอยต์ แมน) ในยุคหนึ่งทีภ่ าพเด็กทารกได้รบั ความนิยมอย่างมากในวงการถ่ายภาพ ปรากฏ ว่าราคาภาพสีแพงกว่าภาพขาวด�ำถึงสองเท่าตัวเป็ นอย่างน้อยหรือมากกว่านัน้ อีก อย่างไรก็ดี เหตุการณ์กลับตรงกันข ้ามกับปัจจุบนั เพราะภาพขาวด�ำกลับมีราคา สูงกว่าภาพสี ตัวอย่างเช่น ร้านล ้างอัดภาพบนถนนแห่งหนึ่งกลางลอนดอน คิดค่า ล ้างและอัดภาพเท่ากับ 9.99 ปอนด์ต่อฟิ ลม์ ขาวด�ำ 1 ม ้วน (36 ภาพ) แต่ถ ้าเป็ น ฟิ ลม์ สีขนาดเดียวกันจะคิดค่าล ้างและอัดภาพเพียงม ้วนละ 5.99 ปอนด์ ท�ำไมจึง กลับตาลปัตรเช่นนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ตลาดผูบ้ ริโภคภาพสียงั อยู่ในขัน้ บุกเบิกเท่านัน้ กรรมวิธีการผลิตภาพจากม ้วนฟิ ลม์ สีจงึ มีความยุ่งยากซับซอ้ นและมีตน้ ทุนการ ผลิตทีส่ ูงกว่าภาพขาวด�ำ ด้วยข ้อแตกต่างด้านต้นทุนค่าใช้จ่าย (ค่าล ้างและอัดภาพ) ดังกล่าว ส่งผลให ้นักถ่ายภาพส่วนใหญ่ในยุคนัน้ นิยมใช้ฟิลม์ ขาวด�ำ และเป็ นแรง เหนี่ยวน�ำให้ร้านล ้างอัดภาพทัวไปต้ ่ องพัฒนาความเชีย่ วชาญส�ำหรับภาพถ่ายขาวด�ำ และเมือ่ ขนาดธุรกิจล ้างและอัดภาพขาวด�ำเติบโตมากขึ้น ประสิทธิภาพในการผลิต ทีม่ ากขึ้นจากการเพิม่ ความช�ำนาญเฉพาะทาง ก็ช่วยท�ำให ้ลดต้นทุนต่อหน่วยการ ผลิตภาพขาวด�ำให ้ถูกลงไปได้อกี ในยุคนัน้

บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

69

ถ ้าภาพขาวด�ำยังคงได้รับความนิยมจากสังคม ร้านล ้างอัดภาพจะยังคงทักษะ ความเชีย่ วชาญในการล ้างภาพขาวด�ำต่อไป แล ้วการล ้างอัดภาพสีจะถือเป็ นงานทีม่ ี ความยุ่งยากเช่นเดิม อย่างไรก็ดี เมือ่ ประเทศมีการพัฒนาเติบโตมากขึ้น ประชาชน มีระดับรายได้ทด่ี ขี ้นึ จึงเริ่มหันมาเลือกถ่ายภาพสีมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์การล ้าง อัดภาพจากฟิ ลม์ สีกม็ มี ากขึ้นด้วย อีกทัง้ เครื่องจักรทีไ่ ด้รบั การพัฒนาให ้ทันสมัย ส�ำหรับล ้างและขยายภาพสีอตั โนมัตมิ รี าคาค่อนข ้างสูงประมาณเครื่องละ 70,000 ปอนด์ ดังนัน้ ถ ้าจะให้คุม้ ทุนของร้านทีใ่ ห้บริการล ้างและอัดขยายภาพสี ต้องมีลูกค้า น�ำฟิ ลม์ สีมาล ้างและอัดในแต่ละวันเป็ นจ�ำนวนทีส่ ูงมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข ้อดี ส�ำคัญประการหนึ่งของอุปกรณ์ล ้างและอัดภาพสีอตั โนมัตคิ อื สามารถผลิตได้เป็ น จ�ำนวนมากด้วยต้นทุนค่าแรงงานทีต่ ำ� ่ และเนื่องจากค่าแรงงานเป็ นองค์ประกอบ ส่วนใหญ่ของต้นทุนการผลิตภาพสีจากทีผ่ ่านมา ดังนัน้ ร้านทีม่ อี ปุ กรณ์อตั โนมัติ ดังกล่าวจึงสามารถผลิตและจ�ำหน่ายภาพสีในราคาทีต่ ำ� ่ กว่าภาพขาวด�ำได้มาก เมือ่ เป็ นเช่นนี้ จึงมีผูต้ งั้ ขอ้ สังเกตว่าท�ำไมไม่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัตแิ บบ เดียวกันเพือ่ ผลิตภาพขาวด�ำบ ้าง ค�ำตอบคือ ใช้ได้ในแง่เทคนิค แต่จะต้องเปลีย่ น กระดาษอัดภาพใหม่ซง่ึ มีราคาค่อนข ้างแพง แล ้วคุณภาพของภาพทีไ่ ด้ยงั ด้อยกว่า ภาพทีท่ �ำด้วยกรรมวิธดี งั้ เดิม ด้วยเหตุน้ ี ในช่วงปี ทผ่ี ่านมาธุรกิจการล ้างอัดขยาย และถ่ายภาพขาวด�ำจึงจัดเป็ นตลาดเฉพาะ (Niche Market) ของลูกค้าบางกลุม่ ทีช่ ่นื ชอบภาพขาวด�ำเป็ นพิเศษ เช่น นักถ่ายภาพมืออาชีพ เป็ นต้น แนวโน้มการพัฒนาด้านการล ้างอัดภาพขาวด�ำจะมีการปรับเปลีย่ นอุปกรณ์ ล ้างอัดภาพอัตโนมัตใิ ห้ทันสมัยมากขึ้น จากระบบเดิมทีเ่ ป็ นกรรมวิธที ใ่ี ช้สายตามา เป็ นระบบดิจติ อล ซึง่ สามารถอัดภาพขาวด�ำจากกระดาษอัดภาพสีได้ ส่งผลให้ราคา ของภาพสีและภาพขาวด�ำลดลง ใกล ้เคียง หรือเท่ากันในทีส่ ุด ถา้ ปรากฏการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้นเมือ่ ไร ก็จะส่งผลใหค้ วามแตกต่างของราคาภาพขาวด�ำและภาพ สีหมดไป

70

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใดรถยนต์ ใหม่ ราคา 8,000 ปอนด์ จึงให้ เช่ าในราคาเพียง 25 ปอนด์ ต่อวัน ในขณะที่ชุดสูทสากลใหม่ ราคาขายเพียง 250 ปอนด์ แต่ ให้ เช่ าในราคาสูงถึง 45 ปอนด์ ต่อวัน (กรณีศกึ ษาของ จอห์ น กอตเต้ ) บริษทั ใหเ้ ช่ารถรายใหญ่ทม่ี เี ครือข่ายทัวประเทศ ่ ส่วนใหญ่จะจัดซื้อรถใหม่ครัง้ ละจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการประกอบธุรกิจ จึงสามารถเจรจาต่อรองส่วนลดกับ โรงงานผูผ้ ลิตรถยนต์ได้มาก ซึง่ บริษทั ใหเ้ ช่ารถเหล่านี้ปกติจะใช้งานรถเป็ นเวลา ประมาณ 2 ปี หลังจากนัน้ จะขายต่อออกไปประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของราคาทีซ่ ้อื จากโรงงาน ดังนัน้ เมือ่ เปรียบเทียบกับผู ้บริโภคทัวไปที ่ ซ่ ้อื รถเพือ่ เป็ นเจ้าของเอง ในราคาปกติกบั บริษทั ให ้เช่ารถรายใหญ่ บริษทั ให ้เช่ารถจะมีตน้ ทุนค่าเสียโอกาส ของการเป็ นเจ้าของรถต�ำ่ กว่ามาก ในทางกลับกัน ร้านเช่าสูทส่วนใหญ่หรือเกือบทัง้ หมดจะด�ำเนินการโดย เจ้าของเอง โดยทัวไปร้ ่ านเช่าสูทขนาดกลางจะมีสูทให้เช่าในสต็อกประมาณพันชุด เนื่องจากการสังซื ่ ้ อสูทใหม่มาทดแทนสูทเก่าในแต่ละปี มจี �ำนวนไม่มาก จึงท�ำให ้ ร้านไม่มอี �ำนาจต่อรองขอส่วนลดจากผู ้ตัดสูทขายได้อย่างมีนยั ส�ำคัญ นอกจากนี้ สูทเก่าใช้แล ้วของร้านจะน�ำไปขายต่อก็ท �ำไม่ค่อยได้ เพราะตลาดสูทเก่ามีขนาด เล็ก ส่วนใหญ่จงึ ถูกจ�ำหน่ายออกในราคาต�ำ่ มาก หรือไม่กแ็ จกฟรีให้กับแผนกการ แสดงและการดนตรีของสถาบันการศึกษาต่างๆ ไปเลย จากทีก่ ล่าวมาทัง้ หมด จึง เห็นได้วา่ ขณะทีบ่ ริษทั ให้เช่ารถยนต์ตอ้ งการรายได้รวมจากค่าเช่ารถต่อคันคิดเป็ น 1 ใน 4 หรือ 25 เปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อภายในระยะเวลา 2 ปี แต่รา้ นเช่าสูทต้อง ก�ำหนดราคาเช่าให ้สูงเพียงพอเพือ่ ให ้มีรายได้รวมคุม้ กับราคาสูทแต่ละชุดทีซ่ ้อื ไป ทีส่ �ำคัญยิง่ กว่าคือ สต็อกรถยนต์ของบริษทั ให้เช่ามีแนวโน้มถูกใช้ประโยชน์ อย่างเต็มทีม่ ากกว่าสต็อกสูทจากร้านเช่าสูท เพราะการเช่าสูทโดยทัวไปส่ ่ วนใหญ่ จะกระท�ำกันนานๆ ครัง้ อย่างในกรณีทต่ี อ้ งไปร่วมงานทีจ่ �ำเป็ นต้องใส่สูทพิเศษ เท่านัน้ ส�ำหรับในสหรัฐฯ งานเลี้ยงส่วนใหญ่มกั จัดขึ้นในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์

บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

71

ซึง่ ร้านเช่าสูทขนาดกลาง (ประมาณ 1,000 ตัวในสต็อก) อาจโชคดีทส่ี ามารถให ้ เช่าสูทได้ถงึ ร้อยชุดในวันดังกล่าว แต่ส �ำหรับวันอืน่ ๆ อาจได้เพียงแค่ 5 ชุดก็คอื เรียกว่าหืดขึ้นคอแล ้ว ในทางตรงกันข ้าม รถในสต็อกของบริษทั ใหเ้ ช่ารถถูกเช่า ออกไปนับเป็ นสัดส่วนทีส่ ูงกว่ามากในแต่ละวัน เหตุผลอีกประการทีบ่ ริษทั ให ้เช่ารถสามารถตัง้ ราคาพื้นฐานต่อวันในราคา ค่อนข ้างตำ� ่ ได้ เนื่องจากรายได้จากค่าเช่าทีบ่ ริษทั ได้รบั จริงสูงกว่าราคาพื้นฐานที่ โฆษณาไว ้มาก เพราะการบวกรายการอืน่ ๆ เพิม่ ไว ้ก็เป็ นเงือ่ นไขในการเช่ารถยนต์ ด้วย เช่น ค่าประกันภัยรถหาย หรือค่าประกันภัยอุบตั เิ หตุ ซึง่ บริษทั จะคิดค่า ธรรมเนียมสูงกว่าอัตราปกติมาก หรือคิดค่าน�ำ้ มันเชื้อเพลิงแพงมาก ในกรณีท่ี ผู ้เช่าลืมเติมน�ำ้ มันเต็มถังตามเงือ่ นไขการส่งคืนรถ ท ้ายสุดนี้ ร้านเช่าสูทเองก็ตอ้ งรับภาระอีกประการคือ ต้องแก้ไขขนาดสูท เพือ่ ให้พอดีกบั รูปร่างของผู ้ใส่ ท�ำให้เสียค่าตัดเย็บแก้ไขกันใหม่ ซึง่ บ่อยครัง้ ก็มคี ่า ใช้จ่ายสูงพอๆ กับค่าเช่าสูท นอกจากนี้ สูททุกตัวก่อนให ้เช่าออกไปจะต้องมีการน�ำ ไปซักแห้งก่อน ท�ำให ้เจ้าของร้านมีค่าใช้จ่ายเพิม่ อีกตัวละ 5 ปอนด์ ในทางกลับกัน รถเช่าทีส่ ่งคืนมาแล ้ว สิง่ ทีบ่ ริษทั ให ้เช่ารถต้องกระท�ำก็เพียงแค่ท �ำความสะอาดให ้ เรียบร้อย พร้อมส�ำหรับให ้ผู ้เช่ารายใหม่สามารถขับออกไปได้ทนั ที ดังนัน้ แม ้ว่าราคาขายปลีกของรถให ้เช่าคันหนึ่งจะสูงถึงสีส่ บิ เท่าของราคา ขายปลีกสูทตัวหนึ่ง แต่กไ็ ม่มอี ะไรน่าแปลกใจทีเ่ จ้าของศูนย์รถเช่าสามารถให ้เช่า รถในราคาค่อนข ้างต�ำ่ กว่าเกือบครึ่งหนึ่งของราคาให ้เช่าสูท

ท�ำไมร้ านซักรี ดเสือ้ ผ้ าจึงตัง้ ราคาซักเสือ้ เชิต้ ของผู้หญิง แพงกว่ าเสือ้ เชิต้ ของผู้ชาย (กรณีศกึ ษาของ ดอน อาเดย์ ) ร้านซักรีดเสื้อผ ้าในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง ก�ำหนดราคาซักพร้อมรีดเสื้อเชิ้ตผ ้าฝ้ าย ส�ำหรับผู ้หญิงตัวละ 3 ปอนด์ และผู ้ชายตัวละ 2 ปอนด์ การตัง้ ราคาเช่นนี้ถอื ว่า เอาเปรียบและไม่เป็ นธรรมต่อผู ้หญิงหรือไม่

72

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ธุ รกิจใหบ้ ริการซักรีดเสื้อผา้ เป็ นธุ รกิจที่ไม่มกี ารต่อรองด้านราคาสินค้า หรือบริการ และร้านทีร่ บั จ้างส่วนใหญ่จะตัง้ ราคาค่าบริการต่างกันส�ำหรับเสื้อผา้ ของผู ้หญิงและผู ้ชาย โดยหลักการของธุรกิจของอุตสาหกรรมเดียวกัน ยิง่ การแข่งขันกันสูงมาก เท่าไร ยิง่ ไม่ควรพบปรากฏการณ์ความแตกต่างของราคาสินค้าหรือบริการ ส�ำหรับ กรณีรา้ นซักรีดเสื้อผ้าแม ้แต่ในเมืองเล็กๆ ก็ตาม ถ ้ามีรา้ นทีใ่ ห้บริการนับสิบๆ ร้าน ก็พอเป็ นหลักประกันได้วา่ มีการแข่งขันกันพอสมควร ถ ้าร้านใดในเมืองนัน้ ก�ำหนด อัตราซักรีดเสื้อผา้ ผูห้ ญิงสูงกว่าต้นทุนการผลิต (หรือเรียกว่า “มีเงินฟรีวางบน โต๊ะ” ดังทีอ่ ธิบายในบททีผ่ ่านมา) ก็จะมีรา้ นคู่แข่งฉวยโอกาสเพิม่ ยอดขายและ รายได้ โดยอาจติดป้ ายประกาศโฆษณาหน้าร้านว่า “ไม่มชี าร์จราคาเพิม่ ส�ำหรับ เสื้อผ ้าผู ้หญิง” เพือ่ เรียกลูกค้า และในทีส่ ุดก�ำไรส่วนเพิม่ ก็จะลดลงและหมดไป เมือ่ พบว่าการตัง้ ราคาค่าบริการซักรีดทีต่ ่างกันระหว่างเสื้อผา้ ผูห้ ญิงและ ผูช้ าย แสดงว่ากรรมวิธกี ารซักรีดเสื้อผา้ มีตน้ ทุนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับธุรกิจ การให ้บริการประเภทอืน่ ๆ ซึง่ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของธุรกิจซักอบรีดเสื้อผ ้าคือ ค่า ใช้จ่ายด้านแรงงาน ส�ำหรับการซักนัน้ ค่าแรงไม่ใช่ประเด็นปัญหา เพราะซักด้วย เครื่องซักผ้าทัง้ เสื้อผ้าผู ้หญิงและผู ้ชาย แต่ทเ่ี ป็ นปัญหาก็คอื กรรมวิธใี นการรีดจะ ใช้แรงงานต่างกันมาก ถ ้าเป็ นการรีดด้วยวิธมี าตรฐาน (Standard Press) ส�ำหรับ เสื้อผา้ ผูห้ ญิงและผูช้ ายด้วยเครื่องรีด ก็เป็ นวิธีทท่ี ุกร้านพยายามใช้กนั เพราะ ประหยัดเวลาและแรงงาน แต่เสื้อผ ้าต้องมีขนาดใหญ่พอ แล ้ววิธรี ดี นี้ไม่เหมาะ กับเสื้อผา้ ขนาดเล็กเกินไปหรือมีรายละเอียดบนเสื้อมาก อย่างเช่น ลายปักหรือ เม็ดกระดุมทีเ่ ปราะบาง ซึง่ มักพบในเสื้อผา้ ผู ้หญิง นอกจากนี้ ยังอาจท�ำให ้เสื้อผา้ ยับเป็ นรอยย่นได้ อย่างเสื้อผา้ ตัวทีไ่ ม่สามารถรีดด้วยเครื่องก็ตอ้ งใช้คนรีดแทน ซึง่ จะใช้เวลาและความพยายามมากกว่า ด้วยเหตุน้ ี เครื่องรีดเสื้อผา้ จึงเหมาะกับการใช้รีดเสื้อผา้ ผูช้ ายมากกว่า เนื่องจากเสื้อผ้าผู ้หญิงมักมีเนื้อผ้าละเอียดอ่อนกว่าและมีโอกาสเสียหายสูงกว่า ที่ บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

73

ส�ำคัญยิง่ กว่านัน้ คือ รอยยับย่นบริเวณชายเสื้อทีม่ กั เกิดจากการรีดด้วยเครื่องรีด เป็ นสิง่ ทีย่ อมรับไม่ได้ส �ำหรับผู ้หญิง ซึง่ ส่วนมากจะไม่น�ำชายเสื้อใส่เข ้าในกางเกง หรือกระโปรง ในขณะทีป่ ญ ั หานี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ส �ำหรับผู ้ชายเลย เพราะส่วนใหญ่ จะใส่ชายเสื้อเข ้าในกางเกง ท�ำให ้ไม่เห็นรอยย่น สรุปแล ้ว ค�ำตอบทีน่ ่าจะเป็ นไปได้มากทีส่ ุดส�ำหรับค�ำถามทีว่ า่ ท�ำไมร้าน ซักรีดเสื้อผ้าจึงตัง้ ราคาซักรีดเสื้อผ้าผู ้หญิงแพงกว่าเสื้อผ้าผู ้ชาย ก็เนื่องมาจากการ รีดเสื้อผ ้าผู ้หญิงมีตน้ ทุนสูงกว่านัน่ เอง

ท�ำไมเสียงจากภาพยนตร์ ท่ เี ป็ นภาษาฮินดู จึงได้ รับความนิยมจากผู้ชม มากขึน้ ในช่ วงไม่ ก่ ีปีมานี ้ (กรณีศกึ ษาของ คริส แอนเดอร์ สัน) ชาวอินเดียในอดีตทีอ่ าศัยอยู่ในเครือสหราชอาณาจักร ถา้ ต้องการดูภาพยนตร์ท่ี พูดภาษาเดียวกับตัวเองก็จะต้องบินกลับไปยังอินเดียจึงจะได้ดู แต่ในปัจจุบนั ไม่ ต้องท�ำเช่นนัน้ แล ้ว แม ้แต่ผู ้ทีอ่ าศัยอยู่ทเ่ี มืองเล็กๆ เช่น เมืองรอชเดล ในอังกฤษ ก็ยงั สามารถหาดูภาพยนตร์อนิ เดียทีพ่ ดู ภาษาฮินดีได้ ซึง่ มีใหเ้ ลือกเป็ นร้อยเรื่อง แล ้วอะไรเป็ นสาเหตุนำ� ไปสู่การเปลีย่ นแปลงดังกล่าว ดังที่ คริส แอนเดอร์สนั อธิบายไว ้ในหนังสือ The Long Tail ของเขาเอง ว่า พลเมืองทีอ่ าศัยอยู่ในเมืองใหญ่ของเครือสหราชอาณาจักรเท่านัน้ จึงจะมีโอกาส ได้ดูภาพยนตร์ต่างประเทศในโรงภาพยนตร์ แต่ส �ำหรับในเมืองเล็กนัน้ การน�ำ ภาพยนตร์ทพ่ี ดู ภาษาต่างประเทศเข ้าฉาย อาจท�ำให ้เจ้าของโรงภาพยนตร์ประสบ กับการขาดทุนได้ เนื่องจากจ�ำนวนผู ้เข ้าชมไม่มากพอ แม ้แต่ในเมืองทีม่ ผี ู ้อพยพ ชาวอินเดียเป็ นสัดส่วนสูงก็ตาม อย่างไรก็ตาม การก�ำเนิดของธุรกิจใหบ้ ริการดูภาพยนตร์ผ่านระบบดีวดี ี ออนไลน์ (เช่น บล็อกบัสเตอร์) ท�ำให ้ตลาดภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศทัง้ หลาย ทีเ่ คยท�ำก�ำไรได้ค่อนข ้างยากกลับได้รบั การพลิกฟื้ นขึ้นมา ต่อจากนี้ไป เจ้าของ ภาพยนตร์ก็หมดความจ�ำเป็ นในการระดมคนดูจ �ำนวนมากใหม้ าพร้อมกันทีโ่ รง ภาพยนตร์เพือ่ ดูภาพยนตร์ในเวลาเดียวกัน เพราะด้วยระบบบล็อกบัสเตอร์น้ เี อง

74

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เมือ่ ไรก็ตามทีค่ ุณอยากดูภาพยนตร์ภาษาฮินดูหรือภาษาต่างประเทศอืน่ ๆ ถ ้าคุณ เป็ นสมาชิกอยู่ เพียงแค่กดเลือก Blockbuster Queve และก็รอชม (ทีบ่ ้าน) เท่านัน้ ส�ำหรับเครือสหราชอาณาจักร ไม่มเี มืองใดทีม่ ชี าวอินเดียอาศัยอยู่มาก พอใหโ้ รงภาพยนตร์กล ้าฉายหนังภาษาฮินดู แต่จะมีผูช้ มจ�ำนวนมากเพียงพอที่ ยอมจ่ายให ้กับบล็อกบัสเตอร์ ซึง่ เสียค่าใช้จ่ายเพิม่ อีกเพียงเล็กน้อย โดยการเพิม่ ภาพยนตร์อนิ เดียลงไปในสต็อกบัญชีรายการภาพยนตร์ของเขา อนึ่ง ข ้อดีของธุรกิจให ้บริการดูภาพยนตร์ผ่านระบบดีวดี อี อนไลน์ จะช่วย ใหภ้ าพยนตร์และหนังสือนับพันนับหมืน่ เรื่องทีไ่ ม่ได้รบั ความนิยมมากเพียงพอ และไม่ได้ถกู น�ำไปวางแสดงหรือจ�ำหน่ายในร้านก็จะไม่สูญหายไป

เพราะเหตุใด สนามฝึ กซ้ อมกอล์ ฟจึงผุดขึน้ เป็ นดอกเห็ดรายล้ อม วอชิงตันดีซี ในช่ วงต้ นทศวรรษที่ 1990 ที่ผ่านมา (กรณีศกึ ษาของ ชาร์ ลส์ เคห์ เลอร์ ) ราคาซื้อขายทีด่ นิ บริเวณรอบนอกวอชิงตันดีซไี ด้ขยับตัวสูงขึ้นมาก จากการแย่ง กันซื้อทีด่ นิ เพือ่ เก็งก�ำไรในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทอ่ี ยู่อาศัยต่างๆ จาก ต้นทุนค่าทีด่ นิ แพง ได้ส่งผลไปถึงค่าเช่าทีด่ นิ และราคาอสังหาริมทรัพย์อน่ื ก็แพง ขึ้นไปด้วย ดังนัน้ เพือ่ ให ้คุม้ กับต้นทุนของราคาทีด่ นิ และเพิม่ ก�ำไรทางธุรกิจ นัก พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยุคแรกๆ ส่วนใหญ่ จะลงทุนพัฒนาทีด่ นิ โดยสร้างเป็ น อาคารสูงหลายชัน้ เพือ่ เป็ นส�ำนักงานหรือไม่กอ็ ะพาร์ตเมนต์เพือ่ อยู่อาศัย อย่างไร ก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวนี้ได้เริ่มเปลีย่ นแปลงไปในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 โดย นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หนั มาสนใจใช้ทด่ี นิ ท�ำเป็ นสนามฝึ กซ้อมกอล์ฟ แม ้ว่าข ้อ เท็จจริงของรายได้ในแต่ละเดือนทีม่ าจากผู ้มาใช้บริการมันก็ไม่มากมายนัก เพราะ ผู ้มาฝึ กซ ้อมกอล์ฟมีจ �ำนวนไม่มาก และส่วนใหญ่จะมาตอนเย็นหลังเลิกงานหรือ ไม่ก็กลางคืน ส่วนช่วงกลางวันจะมีนอ้ ยจนแทบนับจ�ำนวนคนได้ ท�ำใหร้ ายได้ ทางธุรกิจรวมไม่คมุ ้ แม ้กระทังค่ ่ าดอกเบี้ยของเงินกูส้ �ำหรับซื้อทีด่ นิ ดังกล่าวด้วย เมือ่ ข ้อเท็จจริงเป็ นเช่นนี้ จึงมีผู ้ตัง้ ข ้อสงสัยว่า ท�ำไมนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จึงยอมลงทุนใช้ทดี ่ ินท�ำธุรกิจประเภทสนามฝึ กซ ้อมกอล์ฟกัน บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

75

ธุรกิจการก่อสร้างบ ้านพักอาศัยและส�ำนักงาน มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ราคาบา้ นและค่าเช่าพื้นทีส่ �ำนักงานพุ่งขึ้นเร็วมาก จนกระทังนั ่ กพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดมกันกว ้านซื้อทีด่ นิ เปล่าทีย่ งั ไม่ได้รบั การ พัฒนาเพือ่ การเก็งก�ำไรในอนาคต อย่างไรก็ดี ปัญหาเกิดขึ้นเมือ่ สหรัฐฯ ประสบ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เมือ่ ปี 1991 ซึง่ ในขณะนัน้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในวอชิงตัน ดีซกี ็ถงึ จุดอิ่มตัว และเริ่มมีอปุ ทานทางด้านบา้ นพักและอาคารส�ำนักงานใหเ้ ช่า จนเกินความต้องการของตลาด ผลทีต่ ามมาคือ มีบ ้านพักขายไม่ออก และพื้นที่ ในส�ำนักงานเช่าก็วา่ งเป็ นจ�ำนวนมาก ส่งผลต่อการลดลงของราคาบา้ นและอัตรา ค่าเช่าพื้นที่ ใครก็ตามทีล่ งทุนก่อสร้างอาคารส�ำนักงานใหเ้ ช่าหรือบ ้านพักในช่วง นัน้ ต้องยุตโิ ครงการหรือชะลอไว ้ หรือถ ้าก่อสร้างเสร็จแล ้วก็ตอ้ งยอมอดทนรอให ้ สถานการณ์ดขี ้นึ ชัว่ ระยะหนึ่งก่อน

การใช้ทรัพยากรทีด่ ีทีส่ ดุ ไม่จ�ำเป็ นต้องได้ก�ำไรเสมอไป

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

76

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ส�ำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ทม่ี ที ด่ี นิ เปล่าอยู่ แทนทีจ่ ะพัฒนาด้าน ก่อสร้างบ ้านพักหรืออาคารส�ำนักงาน เจ้าของทีด่ นิ ก็มที างเลือกว่าขายทีด่ นิ ไปใน ราคาถูก หรือถือรอไว ้ชัว่ ระยะเวลาหนึ่งจนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะดีข้นึ แล ้วค่อยเริ่มด�ำเนินการใหม่ ซึง่ นักธุรกิจกลุม่ หลังนี้เองทีม่ องโอกาสจากการใช้ ประโยชน์ทด่ี นิ และในระหว่างการรอช่วงนี้ เขาก็เห็นว่าการลงทุนท�ำเป็ นสนามฝึ ก ซ ้อมกอล์ฟน่าจะเป็ นทางเลือกทีด่ ที ส่ี ุด เพราะลงทุนไม่มาก เพียงซื้อลูกกอล์ฟใช้ แล ้วจ�ำนวนหนึ่งกับอุปกรณ์จ่ายลูกและถังเก็บรวมลูกกอล์ฟเท่านัน้ เองก็ท �ำธุรกิจ ได้ และสามารถเลิกท�ำได้ทกุ เวลาทีต่ อ้ งการ หากสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มฟื้ นคืนมาอีกครัง้ หลายท่านอาจงุนงงว่ารายได้จากธุรกิจสนามฝึ กซ้อมกอล์ฟอันน้อยนิด จะ คุม้ กับค่าเสียโอกาสของทีด่ นิ ทีซ่ ้อื มาในราคาแพงได้อย่างไร แน่นอนว่ามันไม่คุม้ แต่ตอ้ งไม่ลมื ว่าไม่มนี กั ธุรกิจคนใดจะยอมลงทุนซื้อทีด่ นิ ราคาแสนแพงมาเก็บไว ้ เฉยๆ ถา้ รูล้ ว่ งหน้าว่าจะเกิดสถานการณ์ความตกตำ� ่ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนเป็ นปัญหาต่อการด�ำเนินธุรกิจทีต่ นตัง้ ใจไว ้ ในเมือ่ ซื้อแล ้วก็จ �ำเป็ นต้องถือรอ ไว ้ ความคิดของเขาก็คอื ควรหาทางท�ำอะไรกับแปลงทีด่ นิ เปล่าผืนนี้ทล่ี งทุนไว ้เพือ่ ก่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวเอง ดังนัน้ ค�ำตอบทางเศรษฐศาสตร์คอื สนามฝึ กซ ้อม กอล์ฟ ซึง่ ไม่จ �ำเป็ นต้องก่อให้เกิดรายได้จ �ำนวนมากแก่พวกเขา แต่กม็ ากพอจนคุม้ กับต้นทุนค่าเสียโอกาสของทีด่ นิ ทีซ่ ้อื มาแพง เนื่องจากภายใต้สถานการณ์น้ ีถอื ว่า ค่าเสียโอกาสทางเศรษฐศาสตร์ของทีด่ นิ เปล่าเท่ากับศูนย์ไปแล ้ว เพราะไม่มที าง เลือกอืน่ ทีก่ ่อให้เกิดรายได้เหลืออยู่ ตราบใดทีธ่ ุรกิจสนามฝึ กซ้อมกอล์ฟก่อให้เกิด รายได้เพิม่ (Marginal Revenue) คุม้ กับต้นทุนเพิม่ (Marginal Cost) ทีต่ อ้ ง จ่ายกับการด�ำเนินงาน ก็ถอื ว่าเป็ นการตัดสินใจทีด่ กี ว่าการเก็บทีด่ นิ รอไวเ้ ฉยๆ โดยไม่ท �ำอะไรเลย ตัวอย่างที่จะแสดงต่อไปนี้ อธิบายปรากฏการณ์ของข ้อเท็จจริงทีต่ อ้ งใช้ทงั้ อุปสงค์และอุปทานของตลาดส�ำหรับการวิเคราะห์ บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

77

เพราะเหตุใด (ในบางประเทศ) ไข่ ไก่ ท่ มี ีเปลือกสีน�ำ้ ตาลจึงมีราคาแพง กว่ าไข่ ไก่ ท่ มี ีเปลือกสีขาว (กรณีศกึ ษาของ โจนาทาน จาง) ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในสหรัฐฯ จ�ำหน่ายไข่ไก่ขนาดใหญ่พเิ ศษเปลือกสีขาวราคา 3.09 ดอลลาร์ต่อโหล แต่ถ ้ามีเปลือกสีนำ�้ ตาลจะจ�ำหน่ายราคา 3.79 ดอลลาร์ต่อ โหล ผลการศึกษาของศูนย์วจิ ยั โภชนาการไข่แห่งสหรัฐฯ ทีว่ อชิงตันดีซี เปิ ดเผย ว่า ทัง้ รสชาติและคุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่ไม่ได้ข้นึ อยู่กบั สีของเปลือกไข่ ถ ้า เช่นนัน้ ปัจจัยใดท�ำให ้ราคาไข่ไก่ต่างกัน มีการพูดกันว่า การทีไ่ ข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาลมีราคาแพงกว่า เนื่องจากผู ้บริโภค ชอบสีสนั เวลาเห็นแล ้วจึงเต็มใจจ่ายเพิม่ อย่างไรก็ตาม เหตุผลเพียงประการเดียว ก็ยงั ดูมนี ำ�้ หนักไม่เพียงพอ เพราะถ ้าเป็ นอย่างนัน้ จริง ท�ำไมยังมีพอ่ ค้าขายไข่ไก่ เปลือกสีขาวยอมทิ้งโอกาสรับก�ำไรเพิม่ จากไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาล แล ้วท�ำไมไม่ขาย แต่ไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาลอย่างเดียวทัง้ หมด อีกเหตุผลหนึ่งทีพ่ ดู ถึงกันและน่ารับฟังกว่าคือ ไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาลมีตน้ ทุน การผลิตสูงกว่าไข่ไก่เปลือกสีขาว เพราะสีของเปลือกจะขึ้นอยู่กบั พันธุข์ องไก่ โดย ไก่พนั ธุ ์ White Leghorn ให ้ไข่ไก่เปลือกสีขาว และไก่พนั ธุ ์ Rhode Island Red ให ้ไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาล ซึง่ ไก่พนั ธุใ์ ห ้ไข่เปลือกสีนำ�้ ตาลจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าจึง ต้องกินอาหารสัตว์มากกว่า ท�ำให ้มีตน้ ทุนการผลิตสูงกว่า และต้นทุนการผลิตที่ สูงกว่านี้เอง ท�ำให ้ต้องขายไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาลในราคาสูงกว่าเปลือกสีขาว อย่างไรก็ตาม เราก็สามารถสรุปได้วา่ ท�ำไมราคาขายไข่ไก่เปลือกสีนำ�้ ตาลจึง แพงกว่าไข่ไก่ทเ่ี ปลือกสีขาว นอกจากเหตุผลด้านต้นทุนการผลิต (ปัจจัยก�ำหนด อุปทาน) ทีส่ ูงกว่าดังทีอ่ ธิบายไปแล ้ว เหตุผลด้านอุปสงค์คอื ผู ้บริโภคชืน่ ชอบสีของ เปลือกไข่ และยินดีจ่ายแพงกว่า ซึง่ ก็มสี ่วนสนับสนุนด้วยเช่นกัน

78

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไมบ้ านที่สร้ างในเครือสหราชอาณาจักร จึงมีขนาดเฉลี่ยเล็กกว่ าบ้ าน ที่สร้ างในออสเตรเลียและสหรั ฐฯ อยู่มาก ข ้อมูลสถิตปิ ี 2005 ชี้ให ้เห็นว่า ค่าเฉลีย่ ตัวกลาง (Median) ส�ำหรับบ ้านเดีย่ วของ ครอบครัวชาวอเมริกนั มีการวัดจากขนาดพื้นทีใ่ ช้สอยมีค่าเท่ากับ 229 ตารางเมตร ซึง่ ใกล ้เคียงกับขนาดเฉลีย่ ของบ ้านเดีย่ วในออสเตรเลีย แต่มขี นาดใหญ่กว่าสาม เท่าของขนาดเฉลีย่ บา้ นเดีย่ วในเครือสหราชอาณาจักร แล ้วเพราะเหตุใดบ ้านใน เครือสหราชอาณาจักรจึงมีขนาดเล็กกว่ามาก อุปสงค์ของความต้องการซื้อบา้ นขนาดใหญ่หรือเล็กนัน้ ขึ้นอยู่กบั ระดับ รายได้ของผู ้บริโภค กล่าวคือ ถ ้าผู ้บริโภคมีรายได้สูงขึ้นหรือรายได้ลดลง ความ ต้องการซื้อบา้ นจะมีเพิม่ ขึ้นหรือลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลีย่ ตัวกลาง รายได้ของครอบครัวชาวอเมริกนั สูงกว่าค่าเฉลีย่ ตัวกลางของครอบครัวในเครือ สหราชอาณาจักรเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ซึง่ ความแตกต่างของรายได้ระดับ นี้ ไม่น่ามากเพียงพอทีจ่ ะอธิบายความแตกต่างของขนาดบ ้านทีม่ ากขึ้นจากการ สังเกตพบดังกล่าว ความไม่เสมอภาคระหว่างรายได้ของประชากร (Income Inequality) อาจเป็ นอีกปัจจัยหนึ่งทีอ่ ธิบายความแตกต่างส�ำหรับขนาดบา้ นได้ จากขอ้ มูลชี้ ให ้เห็นว่า ความไม่เสมอภาคระหว่างรายได้ของประชากรในสหรัฐฯ มีมากกว่าใน เครือสหราชอาณาจักร ซึง่ ในสหรัฐฯ คนทีม่ รี ายได้สูงสุดและต�ำ่ สุดจะมีช่องว่าง ต่างกันมากกว่าทีไ่ ด้พบในเครือสหราชอาณาจักร ดังนัน้ จึงมีโอกาสเป็ นไปได้ท่ี บ ้านเดีย่ วในสหรัฐฯ ต้องมีขนาดเฉลีย่ ใหญ่กว่า เพราะระดับรายได้เฉลีย่ ทีเ่ ป็ นค่า ตัวกลางมาตรฐานจะเบ ้ไปทางกลุม่ ประชากรทีม่ ชี ่วงค่าระดับรายได้เฉลีย่ สูง ใน สหรัฐฯ คนทีม่ รี ายได้อยู่ในกลุม่ ระดับรายได้สูงสุด 10 เปอร์เซ็นต์สุดทา้ ย จะมี รายได้เฉลีย่ มากกว่าคิดเป็ น 5.7 เท่าของคนทีม่ รี ายได้อยู่ในกลุม่ ระดับรายได้ตำ� ่ สุด 10 เปอร์เซ็นต์สุดท้าย ในขณะทีเ่ ครือสหราชอาณาจักรมีค่าสถิตเิ ดียวกันนี้เพียง 4.6 เท่า ส�ำหรับข ้อเท็จจริงนี้ มีส่วนใช้ในการอธิบายความแตกต่างของขนาดเฉลีย่ บ ้านเดีย่ วทีพ่ บทัง้ สองประเทศได้ บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

79

อย่างไรก็ดี สมมติฐานข ้างต้นไม่สามารถใช้อธิบายกับข ้อเท็จจริงทีพ่ บใน ออสเตรเลียได้ แม ้รายได้เฉลีย่ ของครัวเรือนส�ำหรับชาวออสซีต่ ำ� ่ กว่ากลุม่ เครือ สหราชอาณาจักรประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่กลับมีขนาดทีอ่ ยู่อาศัยใหญ่ กว่าเครือสหราชอาณาจักรและเท่ากับบ ้านของชาวอเมริกนั นอกจากนัน้ พบว่า ค่าความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ของประชากรในออสเตรเลียมีค่าต�ำ่ กว่าค่าสถิตเิ ดียวกันของประชากรในเครือสหราชอาณาจักรด้วย จากปรากฏการณ์ ขัดแย้งทีพ่ บนี้ ชี้ให้เห็นโดยนัยว่า น่าจะมีปจั จัยและตัวแปรอืน่ ๆ อีกทีอ่ ธิบายความ แตกต่างของขนาดบ ้านทีพ่ บในสหรัฐฯ เครือสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย สมมติฐานทีน่ ่าจะเป็ นค�ำตอบได้ใกล ้เคียงทีส่ ุดคือ ปัจจัยจากความหนาแน่น ของประชากร ซึง่ มีความแตกต่างกันอย่างมากของทัง้ สามประเทศ ทัง้ นี้บ ้านพักอาศัย ต้องสร้างบนพื้นทีด่ นิ และยิง่ ทีด่ นิ แถบใดมีจ �ำนวนประชากรต่อตารางกิโลเมตรน้อย ราคาของทีด่ นิ นัน้ จะยิง่ ถูกลง ซึง่ ในบรรดาสามประเทศนี้ ออสเตรเลียมีความหนา แน่นของประชากรเฉลีย่ ต่อหน่วยพื้นทีต่ ำ� ่ สุดคือเพียง 2.6 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะทีใ่ นสหรัฐฯ มี 31 คนต่อตารางกิโลเมตร และสหราชอาณาจักรมี 246 คน ต่อตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ตัวเลขความหนาแน่นประชากรของสหรัฐฯ อาจ เกินค่าความแตกต่างจริงเมือ่ เทียบกับค่าสถิตเิ ดียวกันของออสเตรเลียจนอาจน�ำมา เปรียบเทียบกันได้ไม่ดนี กั เนื่องจากส่วนใหญ่สดั ส่วนของพื้นทีว่ ่างในออสเตรเลีย เป็ นทะเลทราย จากค่าสถิตจิ ะพบว่าความหนาแน่นของประชากรในสหราชอาณาจักร มีสูงมาก ดังนัน้ เมือ่ มีพ้นื ทีจ่ �ำกัด แต่มคี นต้องการพื้นทีเ่ พือ่ ใช้ปลูกบ ้านพักอาศัย จ�ำนวนมาก จึงส่งผลให ้ทีด่ นิ มีราคาแพงขึ้น จนส่งผลให ้ครอบครัวทีม่ เี หตุมผี ลใน สหราชอาณาจักรต้องประหยัด โดยการสร้างบ ้านพักทีม่ พี ้นื ทีใ่ ช้สอยขนาดเล็กลง

ท�ำไมร้ านล้ างอัดภาพจึงล้ างภาพชุดที่สองให้ ฟรี เมื่อคุณน�ำฟิ ล์ มไปล้ าง อัดภาพชุดแรก (กรณีศกึ ษาของ ลอร่ า แซนโดวัล) ในเครือสหราชอาณาจักร เมือ่ คุณน�ำฟิ ลม์ ไปล ้างอัดภาพ ร้านหลายแห่งจะแถม ภาพชุดทีส่ องให ้ฟรีโดยไม่คดิ เงิน แม ้จะมีภาพจ�ำนวนหนึ่งทีเ่ ราไม่ชอบหรือไม่ได้

80

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ต้องการ เมือ่ เป็ นเช่นนี้ ท�ำไมทางร้านจึงแถมภาพชุดทีส่ องให้ฟรี แทนทีจ่ ะลดราคา ค่าล ้างอัดภาพม ้วนแรกลงครึ่งหนึ่ง ดังทีอ่ ธิบายไปแล ้วก่อนหน้านี้วา่ กรรมวิธกี ารล ้างฟิ ลม์ อัดภาพในยุคปัจจุบนั กระท�ำได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้เครื่องล ้างอัดภาพอัตโนมัติ ด้วยระบบนี้ช่าง เพียงท�ำหน้าทีใ่ ส่ม ้วนฟิ ลม์ เนกาทีฟลงในช่องของเครื่อง งานส่วนทีเ่ หลือจะเป็ น หน้าทีข่ องเครื่องเนกาทีฟ เพียงกดปุ่มอัตโนมัตเิ ท่านัน้ ส่วนน�ำ้ ยาเคมีและกระดาษ อัดภาพก็ไม่ได้เพิม่ ค่าใช้จ่ายมากมายเท่าไร ดังนัน้ การล ้างอัดภาพพร้อมกันสอง ชุดจึงมีตน้ ทุนเพิม่ ขึ้นอีกเพียงน้อยนิดเท่านัน้ เจ้าของภาพทีน่ �ำฟิ ลม์ ไปล ้าง แมไ้ ม่ชอบใจภาพส่วนใหญ่ทถ่ี ่าย แต่ก็จะ ต้องมีบางภาพบ ้างล่ะทีด่ เี พียงพอจะอัดขยายเก็บไว ้ดูเอง หรือส่งต่อไปใหเ้ พือ่ น หรือครอบครัวได้ดู ดังนัน้ ถา้ ได้ภาพชุดเดียวจากร้านล ้างอัดภาพ และต้องการ อัดภาพใดเพิม่ เติมก็ตอ้ งมาร์กเลือกภาพนัน้ บนฟิ ลม์ เนกาทีฟ แล ้วจึงเดินทางกลับ ไปทีร่ า้ นอีกครัง้ เพือ่ ให ้อัดภาพเพิม่ วิธกี ารดังกล่าวนี้นอกจากยุ่งยากต่อผูบ้ ริโภค แล ้ว ยังเพิม่ ภาระให ้พนักงานมีความพิถพี ถิ นั และระมัดระวังด้วยเพือ่ ไม่ให้ล ้างอัด ภาพผิด เป็ นเหตุให ้บางร้านเพิม่ ราคาค่าอัดภาพเพิม่ เพือ่ ให ้คุม้ กับต้นทุนค่าใช้จ่าย ดังนัน้ ร้านล ้างอัดภาพร้านใดที่เสนอใหภ้ าพชุดที่สองเป็ นของแถม จึง เป็ นการให ้บริการอันทรงคุณค่าแก่ลูกค้า ด้วยต้นทุนทีเ่ พิม่ ขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่จะ เป็ นกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าให ้เข ้าร้านได้มาก แล ้วร้านใดทีล่ ะเลยไม่มบี ริการนี้ จึงมีโอกาสสูญเสียลูกค้าไปให ้กับคู่แข่งทีใ่ ช้กลยุทธ์ดงั กล่าวได้

ท�ำไมหนังสือและซีดีเพลงที่ได้ รับความนิยมมากที่สุด จึงขายในราคา ต�่ำกว่ าหนังสือและซีดีเพลงที่ได้ รับความนิยมน้ อยที่สุด ในขณะที่ต๋ ัว ภาพยนตร์ จะมีแบบกระสวนของราคาต่ างกันไปในทางตรงกันข้ าม (กรณีศกึ ษาของ เอ็ด วาร์ ก้า) ซีดเี พลงอัลบัม้ Modern Times ของ บ็อบ ดีแลน ตัง้ ราคาขายไว ้ 16.99 ปอนด์ แต่สามารถสังซื ่ ้ อทางเว็บไซต์ amazon.co.uk ในราคาเพียง 6.98 ปอนด์ ใน บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

81

ทางตรงข ้าม ซีดเี พลงของนักร้องทีไ่ ด้รบั ความนิยมน้อยกว่ากลับขายในราคาทีม่ ี ส่วนลดน้อยกว่ามาก เช่น เพลงชุด Motifs ของวงปารีสคอมโบ ทีต่ งั้ ราคาขาย ทางเว็บไซต์ amazon.co.uk ในราคา 13.99 ปอนด์ ซึง่ ไม่แตกต่างจากราคาขาย ในท ้องตลาดมากนัก ในท�ำนองเดียวกับหนังสือดังๆ หลายเล่ม ตัวอย่างเช่น ร้าน หนังสือ Borders ก�ำหนดส่วนลดไว ้ 25 เปอร์เซ็นต์ส �ำหรับหนังสือยอดนิยมทีม่ ี ยอดขายสูงสุด แต่ตงั้ ราคาขายหนังสืออืน่ ๆ ตามราคาหน้าปก 13.99 ปอนด์

COURTESY SONY BMG

COURTESY UNIVERSAL MUSIC

6.98 ปอนด์

ธุรกิ จบันทึกเสียงได้รบั การยกเว้นจากกฎอุปสงค์–อุปทานอย่างนัน้ หรื อ

SS

แบบกระสวนของราคาได้เปลีย่ นแปลงในทางกลับกันส�ำหรับสินค้าหรือ บริการ เช่น การดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ โดยทัวไปโรงภาพยนตร์ ่ ส่วนใหญ่ หรือเกือบทัง้ หมดจะก�ำหนดราคาตัวให ๋ เ้ ป็ นราคาเดียวส�ำหรับทุกเรื่องที่เขา้ ฉาย ในโรงภาพยนตร์ และแม ้ว่าภาพยนตร์ทน่ี �ำมาฉายนัน้ จะดังมากแค่ไหนก็ตาม ก็ ไม่พบว่ามีเจ้าของโรงภาพยนตร์รายใดยอมใหส้ ่วนลดค่าตัวกั ๋ บผูเ้ ข ้าชม ท�ำไมจึง เป็ นเช่นนัน้ แล ้วท�ำไมผู ้จ�ำหน่ายซีดเี พลงและหนังสือจึงไม่ฉกฉวยโอกาสการสร้าง รายได้และท�ำก�ำไรเพิม่ จากผู ้บริโภคทีม่ คี วามเต็มใจยอมจ่ายเพิม่ ให้กับการบริโภค สินค้าหรือบริการทีต่ นชืน่ ชอบ โดยปฏิบตั อิ ย่างเดียวกับเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์

82

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

หนังสือ ซีดเี พลง และโรงภาพยนตร์ เป็ นประเภทสินค้าหรือบริการทีม่ ี ลักษณะเฉพาะตัว ทัง้ สามชนิดมีลกั ษณะคล ้ายคลึงกันประการหนึ่งคือ ไม่มสี นิ ค้า หรือบริการอืน่ ทีส่ ามารถน�ำมาใช้ทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนัน้ ทฤษฎีตลาดของ สินค้าหรือบริการทัง้ สามชนิดนี้ จึงไม่ใช่ตลาดทีม่ กี ารแข่งขันอย่างสมบูรณ์โดยแท้ และเจ้าของธุรกิจสามารถก�ำหนดราคาขายให้สูงขึ้นได้ เพราะมีผู ้บริโภคเต็มใจยอม จ่ายเพิม่ ให ้กับสินค้าหรือบริการทีเ่ ขาชื่นชอบ อย่างไรก็ดี ในกรณีน้ เี ราสังเกตเห็น ทฤษฎีการประยุกต์ใช้ทอ่ี ธิบายได้เฉพาะกับบริการประเภทโรงภาพยนตร์เท่านัน้ ท�ำไมจึงใช้อธิบายไม่ได้กบั กรณีของหนังสือและซีดีเพลง ค�ำอธิบายที่พอเป็ นไปได้ว่าท�ำไมราคาขายของหนังสือและซีดเี พลงจึงมี แบบกระสวนของการเปลีย่ นแปลงต่างไปจากราคาตัวชมภาพยนตร์ ๋ อันนี้ตอ้ งเริ่ม ต้นจากการพิจารณาต้นทุนการผลิต ซึง่ พบว่ามีโครงสร้างทีแ่ ตกต่างกันอย่างมาก ระหว่างการขายหนังสือและซีดเี พลงกับการขายบริการดูภาพยนตร์ ส�ำหรับธุรกิจ โรงภาพยนตร์นนั้ ทรัพยากรทีจ่ �ำกัดเป็ นตัวก�ำหนดราคาคือรายได้จากตัวภาพยนตร์ ๋ ไม่ใช่ค่ามว้ นฟิ ลม์ ที่ซ้ อื ลิขสิทธิ์มา แต่เป็ นจ�ำนวนที่นงั ่ ที่มใี นโรงภาพยนตร์เป็ น ส�ำคัญ ถ ้ารอบใดขายตัวได้ ๋ หมดตามทีน่ งั ่ แล ้ว ก็เป็ นไปไม่ได้ทจ่ี ะเปิ ดขายตัวเพิ ๋ ม่ ให ้คนดูอกี ไม่วา่ ราคาจะเป็ นเท่าไรก็ตามเพราะไม่มที น่ี งั ่ ให ้ดูแล ้ว และด้วยเหตุน้ ี จึงเป็ นเหตุจูงใจใหเ้ จ้าของโรงภาพยนตร์ไม่ยอมลดราคาตัวส�ำหรั ๋ บหนังยอดฮิตที่ คาดว่าจะมีคนดูเต็มจ�ำนวนทีน่ งั ่ เพราะถึงจะลดราคาอย่างไรก็ขายตัวเพิ ๋ ม่ ไม่ได้ เนื่องจากไม่มที น่ี งั ่ แล ้ว ในทางตรงกันขา้ ม ผูข้ ายหนังสือหรือซีดเี พลงยอดฮิตไม่ตอ้ งเผชิญกับ สถานการณ์ทต่ี อ้ งปฏิเสธการขายในกรณีทท่ี �ำการลดราคาขายลง เพราะโดยปกติ ผู ้ขายจะทราบอยู่แล ้วว่าหนังสือเล่มใด ใครเป็ นผู ้แต่ง หรือซีดเี พลงของศิลปิ นคน ใดก�ำลังได้รบั ความนิยมจากตลาด ซึง่ จะท�ำให ้เขาสามารถจัดเตรียมสต็อกสินค้า รอไว ้ล่วงหน้าเพือ่ สนองตอบต่ออุปสงค์ทเ่ี พิม่ ขึ้นได้โดยไม่มปี ญ ั หา และเนื่องจาก สินค้าประเภทหนังสือหรือซีดเี พลงยอดนิยมจะมีอตั ราการขายเร็ว จึงท�ำใหค้ ่า ใช้จ่ายส�ำหรับการขายและสต็อกสินค้าเหล่านี้ตำ� ่ มาก ผิดกับหนังสือและซีดเี พลงที่ ได้รบั ความนิยมน้อยกว่าอาจมียอดขายเพียงเดือนละไม่ก่เี ล่ม แต่ใช้พ้นื ทีช่ นั้ วาง เท่ากัน ก็จะมีค่าใช้จ่ายสต็อกสินค้าสูงกว่า บทที่ 2 ถั่วลิสงฟรีกับแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือราคาแพง

83

ดังนัน้ จึงกล่าวได้วา่ ร้านค้าปลีกหนังสือและซีดเี พลงเกือบทุกแห่งจะมีการ เก็บสต็อกทีย่ อดนิยมไว ้เพือ่ รอขายให ้กับลูกค้าทีต่ อ้ งการเหมือนๆ กัน แต่ส �ำหรับ หนังสือและซีดเี พลงทีค่ นนิยมน้อยกว่า แต่ละร้านก็จะเก็บสต็อกแตกต่างกันไป ไม่ เป็ นแบบกระสวนเดียวกัน ปรากฏการณ์น้ เี องแสดงให้เห็นว่าร้านค้าปลีกต่างๆ จะ มีการแข่งขันกันสูงส�ำหรับการขายหนังสือและซีดเี พลงยอดนิยม ตัวอย่างเช่น ถ ้า ร้านค้าปลีกร้านใดตัง้ ราคาขายซีดเี พลงชุดยอดนิยมของ บ็อบ ดีแลน ไว ้ค่อนข ้าง แพง ผู ้ซื้อทีไ่ ม่ชอบใจในราคาก็สามารถหาซื้อจากร้านอืน่ ๆ ทีข่ ายในราคาตำ� ่ กว่าได้ เสมอ เพราะทุกร้านมีสต็อกเพลงไว ้เช่นกัน แต่ถ ้าเป็ นเพลงชุดของ “ปารีสคอมโบ” หลายร้านอาจไม่ได้เก็บสต็อกไว ้เพราะไม่ใช่ชดุ ยอดนิยม ผู ้ซื้อทีต่ อ้ งการจริงๆ ต้อง ยอมจ่ายในราคาปกติทร่ี า้ นค้าขายปลีกทีม่ ขี ายตัง้ ราคาไว ้ เนื่องจากไม่มที างเลือกอืน่ ร้านหนังสือและซีดเี พลงทีป่ ระสบความส�ำเร็จ คือร้านทีส่ ามารถกระตุน้ ยอดขายได้โดยชักน�ำให้ลูกค้าสนใจซื้อหนังสือและซีดเี พลงทีม่ ยี อดขายตำ� ่ (เพราะ ไม่ใช่ชดุ ทีไ่ ด้รบั ความนิยมมากพอ) โดยการจ้างพนักงานขายเก่งๆ ทีส่ ามารถจูงใจ ลูกค้าให้ซื้อได้ ดังนัน้ การขายหนังสือและซีดเี พลงชุดทีไ่ ม่ได้รบั ความนิยมมากพอ ก็เป็ นต้นเหตุหนึ่งท�ำให ้ร้านค้าต้องมีค่าใช้จ่ายในการขายเพิม่ ขึ้น เพราะเกิดจากการ จ้างพนักงานขาย จึงท�ำให ้ต้องตัง้ ราคาขายตามปกติไม่มสี ่วนลด (ในทางกลับกัน หนังสือและซีดเี พลงชุดยอดฮิตขายได้ในราคาต�ำ่ กว่ามาก ส่วนหนึ่งเป็ นเพราะมี ค่าใช้จ่ายด้านการขายต�ำ่ กว่ามากนัน่ เอง เนื่องจากมีรอบการขายเร็ว ท�ำให ้มีตน้ ทุน สต็อกต�ำ่ มาก) ด้วยเหตุน้ ี ถ ้าคุณบังเอิญมีโอกาสฟังเพลงจากซีดขี องปารีสคอมโบ ทีซ่ ้ อื มา ก็ขอใหต้ ระหนักด้วยว่า คุณได้จ่ายค่าแผ่นในราคาแพงกว่าซีดเี พลงชุด ยอดฮิต เหตุผลก็คอื ร้านค้าต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิม่ ให ้กับการจ้างพนักงานขาย ทีม่ ที กั ษะดีเพียงพอในการชักน�ำให้คุณซื้อได้ เพราะรูว้ า่ คุณชอบฟังเพลงประเภทนี้ ท้ายสุดนี้ มีอกี สาเหตุหนึ่งทีท่ �ำให้ร้านค้าปลีกมีสว่ นลดส�ำหรับรายการหนังสือ และซีดเี พลงยอดนิยม นัน่ คือ กลยุทธ์ช่วยดึงลูกค้าเข ้าร้าน เพือ่ ช่วยกระตุน้ การ ขายสินค้าอืน่ ๆ ในร้านด้วย

84

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

3

ท�ำไมคนท�ำงานที่มีความสามารถพอๆ กัน จึงได้รับเงินเดือนแตกต่างกัน และยังมีเรื่องลี้ลับอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโลก การท�ำงาน



ลาดแรงงานเป็ นตลาดหนึ่งทีม่ คี วามส�ำคัญ ซึง่ พวกเราส่วนใหญ่ต่างก็เคยมี ส่วนร่วม แม ้ว่าตัวตนของมนุษย์จะไม่สามารถซื้อขายได้ในตลาด แต่บริการ จากแรงงานมนุษย์เป็ นสิง่ ทีส่ ามารถกระท�ำได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึง่ ตลาด สินค้าหรือบริการของแรงงานได้รบั อิทธิพลจากกฎแห่งอุปสงค์และอุปทาน เช่น เดียวกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ อย่างเช่น ถา้ อุปทานด้านปริมาณการเสนอขาย บริการของช่างไม ้เพิม่ ขึ้น อัตราจ้างแรงงานของเขาก็จะมีแนวโน้มลดลง หรือถา้ อุปสงค์ดา้ นความต้องการใช้บริการจากนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มมี ากขึ้น เราคาดหวังได้วา่ อัตราจ้างแรงงานของเขาจะมีแนวโน้มเพิม่ ขึ้นตามเช่นกัน ตัวอย่างแรกทีจ่ ะน�ำเสนอในบทนี้ เป็ นการอธิบายใหเ้ ห็นถึงหลักการพื้น ฐานทีส่ �ำคัญของตลาดแรงงานทีม่ กี ารแข่งขันกันสูง มีเงือ่ นไขส�ำคัญคือ ค่าจ้างที่ คนงานได้รบั จะเท่ากับมูลค่าของผลผลิตเพิม่ ในส่วนทีเ่ ป็ นผลจากการท�ำงานของเขา

เพราะเหตุใด นางแบบจึงมีรายได้ จากการท�ำงานสูงกว่ านายแบบ (กรณีศกึ ษาของ ฟราน อดัมส์ ) นางแบบอย่าง ไฮดิ คลูม เธอมีรายได้สูงถึง 7.5 ล ้านดอลลาร์ในปี 2005 และ ยังมีนางแบบอีกหลายคนที่มรี ายได้สูงกว่านัน้ ซึ่งนางแบบที่มรี ายได้สูงสุ ด ในกลุ่มคือ จีเซล บุนด์เชน มีรายได้มากกว่ า 15 ลา้ นดอลลาร์ต่อปี โดย บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

85

นิตยสาร Forbes ซึ่งเป็ นนิตยสารชัน้ น�ำของสหรัฐฯ เคยจัดอันดับบุคคลที่มี รายได้สูงสุด 100 คน ประกอบด้วยดารานักแสดง นักร้อง นางแบบ และ ผูท้ ม่ี ชี ่อื เสียงในสังคม ปรากฏว่ามีผูป้ ระกอบอาชีพนางแบบมีช่อื อยู่ในบัญชีผูม้ ี รายได้สูงสุดด้วย 5 คน ส่วนนายแบบนัน้ ไม่มใี ครติดในบัญชีรายชื่อ 100 คนเลย เพราะเหตุใด นางแบบชัน้ น�ำจึงมีค่าตัวสูงเช่นนัน้

ซิ นดี ้ ครอว์ฟอร์ ด นางแบบทีม่ ี ค่าตัวแพงทีส่ ดุ ในปี 1990 จนถึงปั จจุบนั ยังไม่เคยมี นายแบบชายคนใดทีม่ ี รายได้สูงเทียบเท่าเธอได้เลย

SS

ภาพจาก : นิตยสาร ELLE

หน้าทีข่ องนายแบบหรือนางแบบคือ ท�ำอย่างไรก็ได้ใหเ้ สื้อผา้ หรือเครื่อง ประดับของผู ้ผลิตดูดที ส่ี ุดในสายตาของผู ้ทีม่ ศี กั ยภาพในการซื้อ โดยทัวไปเสื ่ ้อผ้า อาภรณ์จะดูดกี บั ผูท้ ่มี รี ู ปร่ างหน้าตาดี จึงเป็ นธรรมดาที่ผูว้ ่าจ้างจะต้องเฟ้ นหา นายแบบหรือนางแบบทีส่ วยหรือหล่อทีส่ ุดมาถ่ายโฆษณาสินค้าของเขา และระหว่าง

86

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

นายแบบหรือนางแบบด้วยกันเอง คนทีด่ ูสวยหรือหล่อกว่ามักจะได้รบั ค่าจ้างสูงกว่า แต่เนื่องจากความสวยหรือความหล่อส�ำหรับเพศหญิงและเพศชายเปรียบเทียบ กันไม่ได้ จึงไม่มเี หตุผลทีจ่ ะพูดว่านางแบบได้รบั ค่าจ้างสูงกว่านายแบบ เพราะ นางแบบดูดกี ว่านายแบบ แท้จริงแล ้ว การทีน่ างแบบได้รบั ค่าตัวสูงกว่านายแบบนัน้ เป็ นเพราะธุรกิจ แฟชัน่ ของผูห้ ญิงมีขนาดใหญ่กว่าของผูช้ ายมาก จากข ้อมูลทีม่ อี ยู่พบว่าผูห้ ญิง ในทวีปยุโรปและสหรัฐฯ จะเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผา้ อาภรณ์สูงมากเป็ นสอง เท่า หรือเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าของประเภทเดียวกันทีผ่ ู ้ชายจ่ายไปในแต่ละปี ด้วย เหตุผลของขนาดตลาดและจ�ำนวนเงินมหาศาลที่หมุนเวียนอยู่ในวงการแฟชัน่ ผู ้หญิงนี่เอง ทีท่ �ำให้ธุรกิจเสื้อผ้าผู ้หญิงยอมทุม่ เงินเฟ้ นหานางแบบ และแย่งตัวนาง แบบทีส่ ามารถน�ำเสนอแบบเสื้อผ ้าได้ดูดที ส่ี ุดด้วยค่าตัวทีแ่ พง ซึง่ นิตยสารแฟชัน่ ผู ้หญิงทีไ่ ด้รบั ความนิยมและมียอดขายสูง อย่างเช่น VOGUE และ ELLE จะมี อิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าและเครื่องส�ำอาง ซึง่ แต่ละฉบับทีพ่ มิ พ์ จ�ำหน่ายแต่ละเดือน จะพบว่านางแบบนับร้อยคนสวมใส่เสื้อผ้าไม่ซำ�้ กัน ถ ้าแฟชัน่ ใดจากจ�ำนวนนับร้อยนี้ได้รบั ความสนใจจากผูอ้ ่าน นางแบบชุดแฟชัน่ นัน้ ก็จะมี โอกาสกลายเป็ นยอดนางแบบทีม่ คี ่าตัวแพงขึ้นในไม่ชา้ มูลค่าเพิม่ ทีไ่ ด้รบั จากการว่าจ้างนายแบบรูปร่างหน้าตาดี เปรียบเทียบกัน ไม่ได้กบั มูลค่าเพิม่ ของนางแบบทีไ่ ด้รบั เพราะโดยทัวไปผู ่ ้ชายจะไม่สนใจหรือรูจ้ กั ชื่อของนายแบบหรือเคยอ่านนิตยสารแฟชัน่ ผูช้ าย ซึง่ ธุรกิจผลิตเสื้อผา้ แฟชัน่ ที่ จ้างนายแบบทีม่ รี ูปร่างหน้าตาดีถา่ ยรูปลงในนิตยสารอาจช่วยเพิม่ ยอดขายเสื้อผ ้า แฟชัน่ ผู ้ชายได้บ ้าง แต่จะเทียบกันไม่ได้เลยกับกรณีจา้ งนางแบบทีม่ รี ูปร่างดีและ หน้าตาสวยใส ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน ผู ้หญิงสวยมักถูกว่าจ้างให้ถ่ายแบบและถ่ายโฆษณา เครื่องส�ำอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ มากกว่าผู ้ชายหล่อ เพราะผู ้ชาย ทัวไปส่ ่ วนใหญ่จะไม่ใช้เครื่องส�ำอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และส่งผลโดย รวมให ้มีนายแบบเพียงไม่ก่คี นอยู่ในตลาดแรงงานนี้ บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

87

ท�ำไมเงินเดือนของ CEO จึงเพิ่มขึน้ ในอัตราที่มากกว่ าเงินเดือนของ พนักงานระดับล่ าง ในช่ วงสามทศวรรษหลังสงครามโลกครัง้ ที่สอง รายได้เฉลี่ยของประชากร ขยายตัวเพิม่ ขึ้นในอัตราค่อนขา้ งคงทีป่ ระมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หลังจากนัน้ เป็ นต้นมา พบว่าประชากรในกลุ่มที่มรี ะดับรายได้สูงมีอตั ราการเพิ่มขึ้นของ รายได้สูงกว่าประชากรในกลุ่มที่มรี ะดับรายได้ตำ� ่ รายได้ในรู ปตัวเงินจริงใน ปัจจุบนั วัดได้โดยใช้อตั ราจ้างแรงงานเฉลีย่ ตัวกลาง พบว่ามีค่าเกือบคงที่เมือ่ เทียบกับปี 1975 แต่ประชากรในกลุม่ ผูม้ รี ายได้สูงสุด 1 เปอร์เซ็นต์แรก กลับ พบว่ามีรายได้เฉลีย่ เพิม่ ขึ้นเป็ นสามเท่าตัวของระดับรายได้ทเ่ี คยได้รบั ในปี 1975 ข ้อมูลนี้ช้ ใี หเ้ ห็นว่า ยิง่ คนมีเงินเดือนสูงมากเท่าไร ยิง่ มีอตั ราเพิม่ ขึ้นของ เงินเดือนสูงขึ้นมากเท่านัน้ อย่าง CEO ของบรรษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มีรายได้ รวมต่อปี สูงเป็ น 500 เท่า หรือมากกว่านัน้ เมือ่ เทียบกับเงินรายได้เฉลีย่ ต่อปี ของ คนท�ำงานทัวไป ่ ทัง้ ๆ ทีใ่ นปี 1980 CEO คนเดียวกันนัน้ ก็มรี ะดับรายได้ต่อเดือน มากกว่าคนท�ำงานทัวไปแค่ ่ เพียง 42 เท่าเท่านัน้ ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน พบว่าเงิน เดือนของเจ้าหน้าทีร่ ะดับผู ้บริหารประเทศในเครือสหราชอาณาจักรเพิม่ ขึ้นประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ ตลอดช่วงระยะเวลา 9 ปี ทผ่ี ่านมา ในขณะทีอ่ ตั ราจ้างเฉลีย่ ของผู ้ ใช้แรงงานเพิม่ ขึ้นในระดับทีเ่ ท่ากับอัตราเงินเฟ้ อเท่านัน้ แล ้วท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ แมจ้ ะมีหลายปัจจัยเขา้ มาเกี่ยวข ้องทีอ่ าจใหค้ �ำตอบได้ แต่ทส่ี �ำคัญทีส่ ุด น่าจะเป็ นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทพ่ี ฒ ั นาขึ้นอย่างรวดเร็วเมือ่ ไม่ กี่ปีทผ่ี ่านมา ซึง่ ได้ช่วยยกระดับศักยภาพและความสามารถในการท�ำงานของผู ้ที่ มีความสามารถสูงอยู่แล ้วให้ดียง่ิ ขึ้น อันได้แก่ เจ้าหน้าทีใ่ นกลุม่ CEO ขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศทีท่ นั สมัย ต้นทุนการสือ่ สารโทรคมนาคม และการ ขนส่งทีถ่ ูกลง อีกทัง้ การลดอุปสรรคทางการค้า เป็ นปัจจัยร่วมกันทีช่ ่วยขยาย ตลาดการค้าสินค้าหลายชนิดใหก้ ว ้างขวางยิง่ ขึ้น อย่างบริษทั ผลิตยางรถยนต์ซง่ึ

88

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

สามารถอยู่รอดได้ทางธุรกิจมาแต่ไหนแต่ไร โดยการเป็ นผู ้ผลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูง ในประเทศของตนก็เพียงพอแล ้ว แต่ในปัจจุบนั ภายใต้สถานการณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลง ไป บริษทั จะต้องเป็ นหนึ่งในบรรดาผู ้ผลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุดของโลกด้วยจึงจะ อยู่รอดทางธุรกิจได้ เนื่องจากมีคู่แข่งจ�ำนวนมากในตลาดโลก ด้วยขอบเขตของ ตลาดการค้าทีข่ ยายกว ้างมากขึ้น กอปรกับการแข่งขันทีร่ ุนแรงมากขึ้นกว่าในอดีต ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในด้านคุณภาพการตัดสินใจของผู ้บริหาร จะสามารถ แปรเปลีย่ นเป็ นความแตกต่างอย่างมหาศาลต่อโอกาสการสร้างก�ำไรของธุรกิจได้ ด้วยเหตุน้ ี ความรูค้ วามสามารถของ CEO จึงมีความส�ำคัญอย่างยิง่ ในธุรกิจยุค ใหม่ เป็ นผลให ้รางวัลตอบแทนมีมลู ค่าสูงมากพอตามไปด้วย แน่นอนว่าขอบเขตความรับผิดชอบและการแข่งขันทางธุรกิจอาจไม่ได้เป็ น เพียงสองปัจจัยทีอ่ ธิบายการได้รบั เงินเดือนหรือผลตอบแทนของ CEO ในอัตราสูง มาก แต่ผลการศึกษาหลายแห่งยืนยันตรงกันว่า เป็ นปัจจัยทีม่ คี วามส�ำคัญอย่าง ยิง่ นอกเหนือจากความสามารถในการตัดสินใจ ซึง่ CEO ต้องมีมากกว่าบุคลากร ระดับต�ำ่ กว่าเพือ่ การแข่งขันในโลกธุรกิจยุคปัจจุบนั ราคาขายส�ำหรับสินค้าหรือบริการใดก็ตามในตลาดการค้าสินค้าทัวไปที ่ ่ เราคุน้ เคยนัน้ จะมีราคาถูกหรือแพงมากน้อยเท่าไร ขึ้นอยู่กบั รูปลักษณ์และคุณ ประโยชน์ดา้ นต่างๆ ของตัวสินค้าหรือบริการนัน้ ด้วย ตัวอย่างเช่น เครื่องรับ โทรทัศน์จอแบนรุ่นใหม่จะมีราคาแพงกว่ารุ่นเก่าอย่างแน่นอน เนื่องจากรูปแบบ ความสวยงาม ความกะทัดรัด ความคมชัดของจอภาพ ระบบเสียงทีด่ กี ว่า และ ลูกเล่นอื่นๆ ที่มากกว่า ฉันใดก็ฉนั นัน้ อัตราจ้างในตลาดแรงงานก็จะขึ้นอยู่ กับลักษณะของงานที่ท �ำและความยากง่าย สิ่งที่นกั เศรษฐศาสตร์รูจ้ กั คุน้ เคย กับทฤษฎีการชดเชยส่วนต่างของค่าจ้าง (Theory of Compensating Wage Differentials) ซึง่ มีทม่ี าจากความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ทโ่ี ด่งดังท่านหนึ่งคือ อดัม สมิท ทีเ่ ขียนไว ้ในต�ำราอันเป็ นต�ำนานทางเศรษฐศาสตร์ทม่ี คี วามส�ำคัญเล่ม หนึ่งของโลกคือ The Wealth of Nations มีข ้อความเกี่ยวข ้องเขียนไว ้ดังนี้

บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

89

“ข้ อดี (ผลก�ำไร) และข้ อเสีย (ผลขาดทุน) ทังหมดที ้ ่เกิดจากการจ้ าง งาน หรื อการใช้ สต็อกแรงงานที่มีอยูใ่ นสังคมอันหลากหลายสาขาอาชีพที่ แตกต่างกันนัน้ มันจะต้ องเท่ากันหรื อมีแนวโน้ มมุง่ ไปสูก่ ารเท่ากันในที่สดุ ถ้ าปรากฏว่ามีการจ้ างงานประเภทใดที่ให้ ผลประโยชน์ (เช่น อัตราค่า จ้ าง) มากกว่าหรื อน้ อยกว่าการจ้ างงานประเภทอื่นๆ แน่นอนว่าจะต้ องมี แรงงานจ�ำนวนมากแย่งกันเสนอตัวเข้ าท�ำงานที่ให้ ผลประโยชน์ตอบแทน สูงกว่า และในทางกลับกัน จะต้ องมีแรงงานจ�ำนวนมากไหลออกจากงาน ที่ให้ ผลประโยชน์ตอบแทนต�่ำกว่า แล้ วไปสูง่ านประเภทที่ให้ ผลประโยชน์ ตอบแทนสูงกว่า จนในที่สดุ ผลประโยชน์ตอบแทนต่อแรงงานที่ตา่ งกันจะ ค่อยๆ หมดไป ซึง่ เป็ นธรรมชาติของมนุษย์ทกุ คนที่จะแสวงหาโอกาสการ จ้ างงานที่ดีกว่า และหลบหลีกการจ้ างงานที่ด้อยกว่าเสมอ” ทฤษฎีของอดัม สมิท จึงใช้อธิบายได้ว่า ท�ำไมค่าจ้างแรงงานส�ำหรับงาน บางประเภทจึงมีอตั ราค่าจ้างสูงกว่างานลักษณะอืน่ ๆ เช่น งานทีม่ คี วามเสีย่ ง งาน ทีต่ อ้ งใช้ความพยายามสูง หรืองานทีต่ อ้ งอยู่ภายใต้สภาพแวดล ้อมทีไ่ ม่เอื้ออ�ำนวย อย่างเช่น มีกลิน่ เหม็นและสกปรก ฯลฯ กรณี ศึกษาต่อไปนี้ จะแสดงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการชดเชยส่วนต่าง ของค่าจ้าง

เพราะเหตุใด คนงานซ่ อมถนนชานเมืองแดลลัส รัฐเทกซัส ได้ รับค่ าจ้ าง เพียงครึ่งหนึ่งของคนงานซ่ อมถนนชานเมืองมินนิแอโพลิส รัฐมินิโซตา ในสหรั ฐฯ (กรณีศกึ ษาของ เดเนียลล์ รู ตต์ ) หญิงสาวเจ้าของบ ้านผูห้ นึ่งได้ใหผ้ ูร้ บั เหมาตีราคาค่าเทปูนโรงรถ ภายหลังจากที่ ย้ายเข ้าไปอยู่ในบ ้านหลังใหม่แถบชานเมืองแดลลัส รัฐเทกซัส ในสหรัฐฯ ได้ไม่ นาน และสิง่ ทีท่ �ำใหเ้ ธอแปลกใจก็คือ ผูร้ บั เหมาตีราคาค่าวัสดุเท่ากับทีเ่ ธอเคย จ่ายไปกับการเทปูนทีโ่ รงรถบ ้านเก่าของเธอในเมืองมินนิแอโพลิส รัฐมินิโซตา ที่ เพิง่ จะย้ายออกมา แต่ปรากฏว่ามีค่าจ้างแรงงานถูกลงกว่าครึ่งหนึ่ง แล ้วท�ำไมค่า จ้างแรงงานในแดลลัสจึงต�ำกว่ ่ ามินนิแอโพลิสมากอย่างนัน้

90

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

กฎแห่งราคาเดียวทางเศรษฐศาสตร์ระบุวา่ งานต่างๆ ทีต่ อ้ งใช้แรงงานทีม่ ี ทักษะความช�ำนาญพอๆ กัน และมีสภาพแวดล ้อมการท�ำงานคล ้ายคลึงกัน ต้องมี ค่าจ้างแรงงานเท่ากัน อย่างงานประเภทเทปูนก็ไม่ใช่งานยากทีต่ อ้ งใช้ทกั ษะความ รูเ้ ฉพาะทาง ดังนัน้ ไม่วา่ จะท�ำทีแ่ ดลลัสหรือมินนิแอโพลิส ระยะเวลาทีใ่ ช้และผล งานทีไ่ ด้กไ็ ม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี สภาพแวดล ้อมทีเ่ ป็ นเงือ่ นไขส�ำหรับการท�ำงาน ใหม้ ปี ระสิทธิภาพจะแตกต่างกันส�ำหรับสองเมืองดังกล่าว ในแดลลัสจะมีสภาพ ภูมอิ ากาศค่อนข ้างคงที่ แปรปรวนไม่มาก ท�ำให ้สามารถท�ำงานได้เกือบตลอดทัง้ ปี ในขณะทีม่ นิ นิแอโพลิสแต่ละปี มฤี ดูหนาวทีค่ ่อนขา้ งยาวนานหลายเดือนท�ำให ้ ไม่สามารถท�ำงานได้ ด้วยเหตุน้ ี ผูร้ บั เหมาในมินนิแอโพลิสจึงจ�ำเป็ นต้องรับงาน ด้วยอัตราจ้างทีแ่ พงกว่าเพือ่ การอยู่รอดทางธุรกิจ เพราะต้องชดเชยให ้กับค่าใช้จ่าย คงทีแ่ ละเวลาทีส่ ูญเสียไปทีไ่ ม่มรี ายได้หลายเดือนในรอบปี นี่จงึ เป็ นสาเหตุให้ต้อง ก�ำหนดอัตราจ้างแรงงานทีส่ ูงกว่า ทฤษฎีการชดเชยส่วนต่างของค่าจ้างแรงงานของ อดัม สมิท อธิบายไว ้ ว่า ค่าจ้างแรงงานและเงือ่ นไขการท�ำงานจะมีการปรับตัวจนกระทังเท่ ่ ากันในทีส่ ุด ส�ำหรับทุกๆ งานทีใ่ ช้แรงงานทีใ่ ช้ความรูแ้ ละทักษะพอๆ กัน (ปัจจัยกระทบอืน่ ๆ อยู่คงที)่ ถ ้าหากอัตราจ้างและเงือ่ นไขการท�ำงานของงานใดงานหนึ่งดีกว่างานอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งการใช้แรงงานทีม่ คี วามรูแ้ ละทักษะคล ้ายคลึงกัน อัตราจ้างแรงงานของงานนัน้ จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อไป เงือ่ นไขเอื้ออ�ำนวยต่อการท�ำงานทีส่ �ำคัญประการ หนึ่งที่ อดัม สมิท อ้างถึงโดยเฉพาะคือ ความคงทีข่ องการจ้างงาน (Constancy of Employment) เงือ่ นไขนี้เองช่วยอธิบายว่าเหตุใดอัตราจ้างในมินนิแอโพลิส จึงต้องแพงกว่าในแดลลัส เป็ นเพราะผูร้ บั เหมาต้องชดเชยส่วนรายได้ทข่ี าดหาย ไปในช่วงฤดูหนาวทีไ่ ม่สามารถท�ำงานได้นนั ่ เอง นอกจากนี้ ความแตกต่างของค่าจ้างส�ำหรับทัง้ สองเมืองก็ยงั คงเป็ นเพราะ อุปสงค์ทางด้านความต้องการแรงงานในมินนิแอโพลิสถูกกระจุกตัวอยูใ่ นระยะเวลา สัน้ ๆ โดยช่างสามารถท�ำงานปูนได้เพียง 5 – 6 เดือนในรอบปี เท่านัน้ ท�ำให ้มีการ แข่งขันแย่งผู ้รับเหมากัน จนส่งผลต่อการเพิม่ ขึ้นของค่าจ้างแรงงานด้วยเช่นกัน บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

91

ท�ำไมพนักงานเสิร์ฟจึงมีรายได้ จากค่ าจ้ างแรงงานสูงกว่ าผู้ช่วยหัวหน้ า พ่ อครั วในภัตตาคารชัน้ น�ำ (กรณีศกึ ษาของ เลสลีย์ ไวเลส) พนักงานเสิรฟ์ บางคนทัง้ ชายและหญิงตามห้องอาหารในโรงแรมห้าดาวหรือภัตตาคาร ชัน้ หนึ่งหลายแห่งอาจมีรายได้คนื ละหลายร้อยปอนด์ รายได้น้ เี ฉพาะค่าทิปอย่าง เดียวเท่านัน้ ในขณะทีผ่ ู ้ช่วยหัวหน้าพ่อครัวในโรงแรมหรือภัตตาคารเดียวกันจะมี รายได้อย่างมากก็แค่สว่ นหนึ่งของรายได้ของพนักงานเสิรฟ์ เท่านัน้ แม ้ว่าทัง้ สองอาชีพ จะมีความส�ำคัญพอๆ กันต่อความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพนี้ แต่คนส่วนใหญ่ เห็นพ ้องกันว่า ผู ้ช่วยหัวหน้าพ่อครัวทีม่ ปี ระสบการณ์ ทักษะ ความช�ำนาญ และ ผ่านการฝึ กฝนอบรม จะเป็ นทรัพยากรทีห่ ายากและขาดแคลนมากกว่าพนักงาน เสิรฟ์ ถ ้าเป็ นเช่นนัน้ เพราะเหตุใดพนักงานเสิรฟ์ จึงมีรายได้มากกว่าล่ะ นอกจากทักษะความช�ำนาญแล ้ว รายได้ของแรงงานหรือพนักงานยังขึ้น อยู่กบั ปัจจัยอืน่ ๆ อีกหลายด้าน ส�ำหรับงานทีต่ อ้ งใช้ทกั ษะความช�ำนาญสูงถ ้าได้ รับค่าจ้างต�ำ่ ก็เพราะถูกมองว่าคืองานทีจ่ ะเป็ นบันไดให ้ก้าวขึ้นไปสู่ต �ำแหน่งงานที่ ดียง่ิ ขึ้นต่อไป ท�ำให ้งานของผู ้ช่วยหัวหน้าพ่อครัวจึงถูกจัดอยู่ในประเภทดังกล่าว นี้ดว้ ย ในขณะทีง่ านของพนักงานเสิรฟ์ ไม่ได้เป็ นเช่นนัน้ ส�ำหรับพ่อครัวทีม่ คี วาม รู ค้ วามช�ำนาญสู งหลายคนก็เต็มใจท�ำงานในต�ำแหน่ งผูช้ ่วยหัวหน้าพ่อครัวใน ภัตตาคารใหญ่ๆ ด้วยอัตราจ้างค่อนข ้างตำ� ่ เพราะมันเป็ นโอกาสให้ได้รบั การฝึ กฝน เพิม่ พูนความรู ้ และประสบการณ์เพือ่ จะได้ข้นึ เป็ นหัวหน้าพ่อครัว ซึง่ เป็ นต�ำแหน่ง ทีไ่ ด้รบั การยอมรับนับถือและมีรายได้สูงอีกด้วย ในทางตรงกันข ้าม พนักงานเสิรฟ์ เป็ นต�ำแหน่งทีต่ นั เพราะไม่มตี �ำแหน่งงาน ให ้ก้าวข ้ามต่อไป พนักงานเสิรฟ์ จ�ำนวนมากไม่เคยได้งานใหม่ทม่ี รี ายได้มากกว่าที่ ตนได้ในการเป็ นงานพนักงานเสิรฟ์ และถึงจะมีบ ้างทีเ่ ปลีย่ นงานใหม่แล ้วได้งานที่ มีรายได้มากกว่า แต่กไ็ ม่ใช่เพราะมีประสบการณ์ทเ่ี คยเป็ นพนักงานเสิรฟ์ มาก่อน

92

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไม CEO ของบริษัทผู้ผลิตยาสูบรายใหญ่ ยอมให้ การเป็ นพยาน ภายใต้ คำ� สาบาน เพื่อยืนยันว่ านิโคตินไม่ ใช่ สารเสพติด เมือ่ วันที่ 14 เมษายน 1994 CEO ของบริษทั ผูผ้ ลิตยาสูบรายใหญ่ 7 รายใน สหรัฐฯ เข ้าให ้การเป็ นพยาน แล ้วสาบานตนต่อหน้าคณะกรรมาธิการควบคุมก�ำกับ ผลิตภัณฑ์ใบยาสูบ ของสภาผู ้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ โดยทุกคนประกาศยืนยันว่า นิโคตินไม่ใช่สารเสพติด อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข ้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ทีพ่ บในงานวิจยั ชี้ชดั ว่านิโคตินเป็ นสารเสพติดแน่นอน CEO เหล่านี้จงึ ถูกดูหมิน่ ดูแคลน และเยาะเย้ยจากผู ้คนในสังคม ค�ำถามคือ ท�ำไม CEO เหล่านี้จงึ กล ้าท�ำ ในเรือ่ งทีน่ ่าอับอายเช่นนี้

CEO ของธุรกิ จยาสูบ : เงิ นเดือนสูงกับงานทีไ่ ม่มีความสุข

SS

ภาพโดย : สตีเฟน คราวเลย์, หนังสือพิมพ์ New York Times

การทีต่ อ้ งอยู่ในสังคมอย่างอดทนและได้รบั ความอับอาย ดูเหมือนว่าได้เข ้า ข่ายเงือ่ นไขทีไ่ ม่พงึ ปรารถนาในการจ้างงานตามทฤษฎีการชดเชยส่วนต่างของค่าจ้าง

บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

93

ของ อดัม สมิธ แน่นอนว่า CEO ของบริษทั ผลิตบุหรี่กเ็ ป็ นหนึ่งในบรรดา CEO ของธุรกิจในสหรัฐฯ ทีม่ รี ะดับเงินเดือนสูงมาก เช่น บริษทั อัลเทรีย ซึง่ เป็ นบริษทั ลูกในเครือบริษทั ฟิ ลปิ มอร์รสิ ทีจ่ ่ายเงินเดือนให ้ CEO สูงถึงปี ละ 18.13 ล ้าน ดอลลาร์ในปี 2005 และระดับเงินเดือนทีส่ ูงมากเช่นนี้เอง ก็เป็ นค�ำตอบได้วา่ ท�ำไม เหล่า CEO ของบริษทั ผลิตยาสูบจึงกล ้าให ้การเป็ นพยานภายใต้ค �ำสาบานยืนยัน ว่านิโคตินไม่ใช่สารเสพติด แม ้ต้องแลกกับเงือ่ นไขการท�ำงานภายใต้ความกดดัน ของสังคมทีป่ ฏิเสธความเชื่อดังกล่าว

ท�ำไมคนท�ำงานที่มีประสิทธิภาพน้ อยที่สุดในกลุ่มงานหนึ่งของบริษัท จึงได้ รับเงินเดือนมากกว่ ามูลค่ าของผลผลิตเพิ่มที่เขามีส่วนร่ วมสร้ าง ให้ กับบริษัท ในขณะที่คนท�ำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดกลับมีเงินเดือน ต�่ำกว่ าที่เขาควรจะได้ รับ ทฤษฎีวา่ ด้วยตลาดแรงงานมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ช้ ใี ห้เห็นว่า อัตราจ้างทีแ่ รงงาน ได้รบั จะเท่ากับมูลค่าของผลผลิตเพิม่ ที่เขามีส่วนร่วมในการผลิตใหบ้ ริษทั หรือ องค์กรทีส่ งั กัดอยู่ อย่างไรก็ดี ข ้อเท็จจริงทีพ่ บคือ ส�ำหรับองค์กรหนึ่งๆ ผลผลิต เพิม่ ของแรงงานมีความแปรปรวนระหว่างแรงงานต่างๆ ทีท่ �ำงานคล ้ายคลึงกัน มากกว่าความแปรปรวนของอัตราจ้างที่ได้รบั โดยที่ผูใ้ ช้แรงงานระดับหัวหน้า ดูเหมือนจะได้รบั ค่าจ้างน้อยกว่ามูลค่าของผลผลิตเพิม่ ที่เขาสร้างใหก้ บั องค์กร เมือ่ ได้คิดเป็ นสัดส่วนแล ้ว ในขณะที่ผูใ้ ช้แรงงานระดับต�ำ่ กว่าได้รบั ค่าจ้างเป็ น สัดส่วนทีม่ ากกว่าผลผลิตเพิม่ ในส่วนทีเ่ ขาสร้างขึ้นใหก้ บั องค์กร ปรากฏการณ์ ดังกล่าวดูแล ้วน่าจะเป็ นผลดีต่อผูใ้ ช้แรงงานระดับล่าง แต่ถา้ ผูใ้ ช้แรงงานระดับ หัวหน้าได้รบั ค่าจ้างน้อยกว่าทีค่ วรจะได้จริง ท�ำไมไม่มผี ูว้ า่ จ้างรายอืน่ ๆ ดึงตัวผู ้ ใช้แรงงานระดับหัวหน้าไปท�ำงานด้วย โดยยอมจ่ายค่าจ้างใหเ้ ท่ากับทีเ่ ขาควรจะ ได้รบั ตามมูลค่าผลผลิตเพิม่ ทีเ่ ขามีส่วนร่วมสร้างขึ้น ถา้ พิจารณาอย่างผิวเผิน หากเหตุการณ์ดงั กล่าวเป็ นจริงดังสมมติฐานที่ กล่าวมา ก็ดูเหมือนว่าจะมีปรากฏการณ์ “มีเงินฟรีวางบนโต๊ะ” ทีอ่ ธิบายไปแล ้ว

94

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ในบทก่อนนี้ กล่าวคือ ถ ้าผู ้ใช้แรงงานระดับหัวหน้าได้รบั อัตราจ้างเท่ากับ 50,000 ปอนด์ แต่ได้รบั จริงเพียง 35,000 ปอนด์ ก็ควรมีผู ้ว่าจ้างทีเ่ ป็ นคู่แข่งรายอืน่ มอง เห็นโอกาส “มีเงินฟรีวางรอบนโต๊ะ” รีบฉกฉวยก�ำไรเข ้ากระเป๋ าเหนาะๆ ได้ทนั ที 10,000 ปอนด์ โดยเสนอค่าจ้างให ้ 40,000 ปอนด์เพือ่ ล่อใหเ้ ขามาท�ำงานด้วย และหากเหตุการณ์น้ ีเกิดขึ้นจริง ก็จะมีปรากฏการณ์มเี งินฟรีวางรอบนโต๊ะเหลือ อยู่อกี 10,000 ปอนด์ ให ้บริษทั คู่แข่งรายอืน่ ๆ มาเสนออัตราจ้างทีส่ ูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทังเงิ ่ นเดือนของผู ้ใช้แรงงานระดับหัวหน้าจะเท่ากับ 50,000 ปอนด์ในทีส่ ุด ซึง่ เป็ นอัตราจ้างทีเ่ ขาควรได้รบั ค�ำอธิบายทีเ่ ป็ นไปได้มากทีส่ ุดว่า ท�ำไมแบบกระสวนของค่าจ้างทีส่ งั เกต เห็นจึงค่อนขา้ งมีเสถียรภาพ (คือแปรปรวนน้อยกว่าแบบกระสวนของผลผลิต เพิม่ ของแรงงาน) ต้องเริ่มต้นด้วยข ้อสมมติทว่ี ่า ผูใ้ ช้แรงงานหรือพนักงานส่วน ใหญ่ต่างต้องการด�ำรงต�ำแหน่งทีส่ ูงในกลุม่ งานมากกว่าต�ำแหน่งทีต่ ำ� ่ แต่ก็เป็ น ไปไม่ได้ทท่ี กุ คนจะสมความปรารถนา อย่างน้อยจะต้องมีประมาณครึ่งหนึ่งของ จ�ำนวนคนท�ำงานทัง้ หมดในกลุม่ งานทีจ่ ะต้องอยู่ในต�ำแหน่งระดับล่าง ดังนัน้ วิธี การหนึ่งทีจ่ ะท�ำใหก้ ารท�ำงานร่วมกันไม่มปี ญ ั หา และคนท�ำงานในต�ำแหน่งระดับ สูงท�ำงานได้อย่างสบายใจก็คอื จะต้องท�ำใหค้ นท�ำงานในต�ำแหน่งระดับต�ำ่ กว่ามี ความเต็มใจและยอมอดทนกับความไม่พงึ พอใจ โดยการให ้สิง่ ชดเชยด้วยการได้ รับค่าจ้างทีส่ ูงกว่ามูลค่าผลผลิตเพิม่ ทีท่ �ำให ้กับองค์กร ค�ำถามมักมีวา่ เงินพิเศษทีจ่ ะน�ำจ่ายชดเชยมีทม่ี าจากแหล่งใด โดยทฤษฎี ก็จะมีแหล่งทีม่ าจากเงินภาษีรายได้ของผู ้ด�ำรงต�ำแหน่งระดับสูงในองค์กร ซึง่ หาก ยังไม่เป็ นอัตราทีส่ ูงมากเกินไป ก็ยงั พอเป็ นแรงจูงใจให้ผู ้ด�ำรงต�ำแหน่งระดับสูงอยู่ ท�ำงานกับองค์กรต่อไป (แม ้อาจมีโอกาสหางานใหม่ทอ่ี น่ื ทีม่ เี งินเดือนสูงกว่า) ใน ขณะเดียวกัน คนท�ำงานในต�ำแหน่งระดับล่างก็จะพอใจถา้ เงินเดือนสุทธิทไ่ี ด้รบั หลังหักภาษีเพียงพอทีจ่ ะชดเชยภาระงานทีน่ อ้ ยกว่า ในโลกแห่งความเป็ นจริง คนทีห่ างานท�ำจะพบว่ามีต �ำแหน่งงานและอัตรา เงินเดือนมากมายใหเ้ ลือกแตกต่างกันในแต่ละบริษทั ส�ำหรับคนทีไ่ ม่กงั วลหรือ บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

95

ไม่เน้นในเรื่องต�ำแหน่งงานทีส่ ูงมากนัก วิธดี ที ส่ี ุดคือ ยอมเลือกงานในต�ำแหน่ง ต�ำ่ แต่มรี ายได้สูงหน่อยในบริษทั ใหญ่ทม่ี คี วามมันคงสู ่ ง ส่วนคนทีม่ องหาแต่งาน ในต�ำแหน่งสูงเท่านัน้ แต่ได้รบั เงินเดือนต�ำ่ ในบริษทั ขนาดเล็ก หรือมีประสิทธิภาพ การท�ำงานต�ำ่ กว่าก็อาจเป็ นวิธที เ่ี หมาะสม แม้วา่ ตลาดขายบริการแรงงาน มีหลายเรื่องคล ้ายคลึงกับตลาดขายสินค้า ทัวไป ่ (เช่น เครื่องเก็บเงิน หรือกระดาษพิมพ์) แต่กม็ บี างอย่างแตกต่างกันอย่างมี นัยส�ำคัญ เช่น ในตลาดแรงงาน นายจ้างไม่ตอ้ งกังวลว่าลูกจ้างในแผนกสิง่ พิมพ์จะ หยุดพักดืม่ กาแฟบ่อยมากเกินไปหรือไม่ หรือขโมยของในส�ำนักงานไปหรือเปล่า กรณี ศึกษาต่อไปนี้  จะแสดงให้เห็นว่าข ้อแตกต่างนี้ช่วยอธิบายแบบกระสวน ของค่าจ้างทีน่ ่าสนใจได้หลายแบบและวิธกี ารจ้างงานอีกด้วย

ท�ำไมเราจึงจ่ ายทิปให้ กบั บางสินค้ าหรือบริการ แต่ กไ็ ม่ จ่ายกับบางสินค้ า หรื อบริการ (กรณีศกึ ษาของ โดลาโป อีนาฮาโร) เมือ่ เราออกไปกินอาหารนอกบา้ นตามร้านอาหารหรือภัตตาคารทัว่ ไป จะเป็ น ธรรมเนียมปฏิบตั ทิ เ่ี รามักจะให ้ค่าทิปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาค่าอาหาร ในบิลล์ ในขณะทีเ่ ราไม่ได้ให ้ค่าทิปกับการใช้สนิ ค้าหรือบริการอืน่ ๆ อีกหลายชนิด ซึง่ การให้ทิปส�ำหรับบางสินค้าหรือบางบริการเป็ นสิง่ ผิดกฎหมายด้วยซ�ำ้ เหตุใดจึง มีธรรมเนียมการปฏิบตั ทิ แี ่ ตกต่างกันเช่นนี้ การให้ค่าทิปเป็ นวิธกี ารหนึ่งทีเ่ ชือ่ ว่าจะช่วยกระตุน้ ให้พนักงานในร้านอาหาร บริการดีข้นึ เจ้าของร้านอาหารเองก็เต็มใจยอมจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานเสิรฟ์ ในอัตรา สูง ถ ้าพนักงานเสิรฟ์ เหล่านัน้ ให ้บริการลูกค้าอย่างเต็มใจด้วยความสุภาพอ่อนโยน และมีมารยาท เพราะถ ้าผูม้ ารับประทานอาหารได้รบั ความรูส้ กึ และความประทับ ใจทีด่ กี จ็ ะกลับมาอุดหนุนใหม่อกี ตัวพนักงานเสิรฟ์ เองก็เต็มใจให ้บริการอย่างไม่ ขาดตกบกพร่องหากได้รบั ผลตอบแทนเพิม่ ขึ้น แต่ปญ ั หาทีเ่ กิดขึ้นก็คอื เป็ นการ ยากทีเ่ จ้าของร้านอาหารจะติดตามตรวจสอบคุณภาพการใหบ้ ริการของพนักงาน

96

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เสิรฟ์ ได้โดยตรง วิธีการหนึ่งทีจ่ ะช่วยแก้ไขปัญหาได้คือ การลดราคาอาหารลง เล็กน้อย พร้อมกับประกาศเชิญชวนใหผ้ ูม้ ารับประทานอาหารจ่ายค่าทิปเพิม่ อีก หน่อยให ้แก่พนักงานเสิรฟ์ ทีใ่ ห ้บริการถูกใจ วิธนี ้ เี ท่ากับเราวางต�ำแหน่งให ้ผู ้มารับ ประทานอาหารเป็ นผูต้ ดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการใหบ้ ริการของพนักงานเสิรฟ์ และเนื่องจากคนทีน่ ิยมรับประทานอาหารนอกบ ้านส่วนใหญ่มกั จะแวะเวียนอยู่ กับร้านอาหารเดิมบ่อยครัง้ พนักงานเสิรฟ์ คนใดทีไ่ ด้รบั ค่าทิปเป็ นพิเศษจากแขก จะสามารถจ�ำหน้าเขาได้ ในคราวต่อไปถา้ ่เขากลับมาอีก ก็จะได้รบั บริการทีด่ ยี ง่ิ ขึ้นอีกจากพนักงานเสิรฟ์ โดยข ้อเท็จจริงนัน้ มีแรงกดดันจากการแข่งขันอย่างสูงในธุรกิจร้านอาหาร แม ้ว่าลูกค้าทีอ่ าจไม่ได้ใหค้ ่าทิปสูงมาก พอเขา้ มาใช้บริการในร้านอาหารแล ้ว ก็ เป็ นการยากทีพ่ นักงานเสิรฟ์ จะไม่สนใจให ้บริการ เพราะถ ้าปฏิบตั เิ ช่นนัน้ แล ้ว ไม่ ช้าไม่นานลูกค้าก็จะหนีไปใช้บริการร้านอาหารอื่นแทน จะยิง่ เป็ นผลเสียต่อร้าน อาหารทีพ่ วกเขาท�ำงานและการจ้างงานของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม มีบางธุรกิจทีผ่ ู ้ใช้บริการเองก็ไม่มที างเลือกเปลีย่ นไปใช้บริการ ทีอ่ น่ื เมือ่ ไม่พอใจในบริการทีไ่ ด้รบั ตัวอย่างเช่น เจ้าของรถยนต์ทต่ี อ้ งน�ำรถไปต่อ ทะเบียนประจ�ำปี ไม่มที างเลือกให้เปลีย่ นไปใช้บริการทีอ่ น่ื แม ้จะไม่ชอบใจกับการ ให ้บริการของเจ้าหน้าทีก่ องทะเบียนรถยนต์ ถึงเจ้าหน้าทีจ่ ะให ้บริการดีข้นึ ถ ้าเขาได้ รับค่าทิป แต่เราก็มกั จะไม่เต็มใจยอมจ่ายค่าทิปให ้กับเจ้าหน้าทีเ่ หล่านี้

เพราะเหตุใด ค่ าจ้ างแรงงานจึงมีแนวโน้ มเพิ่มขึน้ รวดเร็วกว่ าผลิตภาพ การผลิตของแรงงาน (กรณีศกึ ษาของ เอ็ดเวิร์ด ลาเซียร์ ) แบบกระสวนทัวไปที ่ พ่ บในบริษทั ว่าจ้างแรงงานในระยะยาวคือ ค่าจ้างทีแ่ รงงาน ได้รบั ในแต่ละปี มแี นวโน้มเพิม่ ขึ้นในอัตราทีม่ ากกว่าการเพิม่ ขึ้นของผลิตภาพการ ผลิตของแรงงาน ตามทฤษฎีค่าจ้างเฉลีย่ ทีแ่ รงงานคนหนึ่งจะได้รบั ตลอดช่วงอายุ การท�ำงานในบริษทั แห่งหนึ่ง ไม่ได้มคี ่าเกินกว่าผลิตภาพการผลิตเฉลีย่ ในช่วงระยะ

บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

97

เวลาเดียวกันทีท่ �ำให ้กับบริษทั ถ ้าเป็ นเช่นนัน้ จริง ก็หมายความว่าในช่วงระยะต้น ของการจ้างงาน แรงงานคนนัน้ จะได้รบั ค่าจ้างน้อยกว่าทีเ่ ขาควรจะได้รบั แต่มาใน ช่วงหลังของการจ้างงาน เขากลับได้รบั ค่าจ้างมากกว่าทีค่ วรได้ และถ ้าเป็ นไปตาม ทีก่ ล่าวมา ท�ำไมบริษทั ยังคงจ้างแรงงานคนนัน้ ไว ้ท�ำงาน ในเมือ่ ค่าจ้างทีบ่ ริษทั จ่าย ให ้แก่เขามากกว่ามูลค่าเพิม่ ทีเ่ ขาท�ำให ้กับบริษทั แบบกระสวนของค่าจ้างในกรณีทค่ี นงานจะได้รบั จะเป็ นค่าจ้างต�ำ่ ในช่วง เริ่มต้น และค่าจ้างจะสูงขึ้นในช่วงหลังของการท�ำงาน ซึง่ มันท�ำหน้าทีเ่ สมือนเป็ น เครือ่ งมือป้ องกันการคิดฉ้อฉลของแรงงาน เฉพาะประเทศในกลุม่ สหราชอาณาจักร ข ้อมูลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การฉ้อฉลของแรงงานได้ท �ำความเสียหายต่อบริษทั ต่างๆ แต่ละปี คดิ เป็ นมูลค่ารวมเกือบ 1,000 ล ้านปอนด์ ถ ้าบริษทั สามารถหาวิธี ช่วยลดการฉ้อฉลของแรงงานลงได้ ก็จะท�ำให้บริษทั โดยรวมมีแหล่งเงินมาใช้จา่ ย เพิม่ ให ้กับคนงาน พร้อมกับมีก �ำไรมากขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน ข ้อดีของอัตราการเพิม่ อัตราเงินเดือนสูงกว่าผลิตภาพการผลิตในช่วงหลัง ของอายุงานก็คือ จะไม่จูงใจใหค้ นทิ้งงานกลางคัน เกียจคร้าน หรือไม่ซอ่ื สัตย์ แม ้ว่ามูลค่าตลอดช่วงอายุการจ้างงานจะสูง แต่ค่าจ้างทีแ่ รงงานได้รบั ในช่วงต้น ของการท�ำงานจะต�ำ่ กว่าการไปรับจ้างท�ำงานทีอ่ น่ื ท�ำใหค้ นงานทีต่ อ้ งการท�ำงาน แบบไม่ซอ่ื ตรงบางคนก็อาจกลัวว่า พฤติกรรมการฉ้อฉลของตนเองจะถูกจับได้ และถูกไล่ออกก่อนถึงเวลาทีจ่ ะได้สทิ ธิประโยชน์จากอัตราการเพิม่ ขึ้นของเงินเดือน ในทางตรงกันข ้าม คนงานทีต่ อ้ งการท�ำงานแบบซือ่ สัตย์จะยอมรับเงือ่ นไข แบบกระสวนของการเพิม่ เงินเดือนรูปแบบนี้ได้โดยไม่มปี ญ ั หา และจะรูส้ กึ เชือ่ มัน่ ว่าตัวเองจะสามารถท�ำงานในต�ำแหน่งนัน้ ได้นานเพียงพอจนถึงเวลาทีจ่ ะได้รบั สิทธิ ประโยชน์จากเงินพิเศษ (Bonuses) ทีจ่ ่ายให้เมือ่ เกษียณอายุ ส�ำหรับบริษทั เองก็รู ้ อยู่แล ้วว่าจะต้องรักษาเงือ่ นไขการจ่ายเงินตามสัญญา เพราะมิเช่นนัน้ ก็จะมีผลต่อ การสรรหาพนักงานใหม่เข ้าท�ำงานกับบริษทั ในอนาคต

98

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด นายจ้ างจึงเสนอค่ าจ้ างแรงงานที่สูงเกินความจ�ำเป็ น เพื่อ ดึงดูดแรงงานที่ตนต้ องการทัง้ ด้ านปริมาณและคุณภาพ (กรณีศกึ ษาของ จอร์ จ อเคอร์ ลอฟ) ทฤษฎีตลาดแรงงานทีม่ กี ารแข่งขันกล่าวไว ้ว่า นายจ้างจะเสนอค่าจ้างแก่แรงงานใน ระดับทีส่ ูงเพียงพอเท่านัน้ เพือ่ ดึงดูดแรงงานทีต่ นต้องการให้มาท�ำงานด้วย อย่างไร ก็ตาม มีบริษทั จ�ำนวนไม่นอ้ ยทีว่ า่ จ้างแรงงานทีม่ คี ุณภาพสูงในทุกต�ำแหน่งทีว่ า่ ง โดยยอมจ่ายค่าแรงสูง ข ้อเท็จจริงพบว่า จริงๆ แล ้วบริษทั สามารถประหยัดรายจ่าย และเพิม่ ก�ำไร โดยการจ่ายค่าจ้างแรงงานทีต่ ำ� ่ ลงได้ แต่กไ็ ม่ท �ำ ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ เหตุผลทีเ่ ป็ นไปได้ประการหนึ่งของการยอมจ่ายค่าแรงงานแพงขึ้นคือ เป็ น วิธกี ารสร้างสิง่ ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของแรงงานให้มีพฤติกรรมความซือ่ สัตย์ต่อบริษทั เพราะถ ้าจ่ายในอัตราตลาด จะท�ำให ้แรงงานไม่กลัวตกงาน เพราะสามารถหางาน ใหม่ได้ไม่ยาก ในอัตราค่าแรงปกตินนั้ ส�ำหรับตลาดแรงงานทีม่ กี ารแข่งขันอย่าง สมบูรณ์อยู่แล ้ว ดังนัน้ แรงงานคนใดโชคดีได้งานทีม่ เี งินเดือนสูงกว่าอัตราปกติ (ซึง่ หาได้ไม่งา่ ยนัก) จะมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให ้พยายามท�ำทุกวิถที างเพือ่ รักษา งานนัน้ ไว ้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ จะไม่พบการหนีหรือหลีกเลีย่ งงาน หรือพบน้อยกว่าที่ เกิดกับเพือ่ นๆ ของเขาทีไ่ ด้รบั ค่าจ้างในอัตราตลาด ในเมือ่ ไม่มแี รงจูงใจหลบเลีย่ ง งาน หมายความว่าทุกคนทุ่มเทท�ำงานเต็มที่ ก็จะส่งผลต่อการเพิม่ ผลผลิต รายได้ และก�ำไรโดยส่วนรวมให้บริษทั แม ้ว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนมากกว่าอัตราตลาดก็ตาม งานส่วนใหญ่ จะก�ำหนดจ�ำนวนชัว่ โมงการท�ำงานและเงินเดือนหรือผล ตอบแทนคงทีท่ พ่ี นักงานจะได้รบั ต่อสัปดาห์ ซึง่ จะก�ำหนดไว ้ล่วงหน้าในสัญญา การจ้าง แต่กม็ งี านบางประเภททีพ่ นักงานจะได้รบั ค่าตอบแทนก็ต่อเมือ่ เขาได้ขาย บริการตรงไปใหก้ บั สาธารณชนแล ้ว สองตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงประเภทการ ตัดสินใจทีแ่ รงงานประสบในการท�ำงาน

บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

99

เพราะเหตุใด นั กดนตรี อิสระโดยเฉพาะผู้ท่ ีมีความสามารถพิเศษ ทางดนตรี มั ก ยิ น ดี เ สนอผลงานเพลงให้ ฟั งฟรี ในขณะที่ ด ารา นักร้ องชื่อดังมีแนวโน้ มไปในทางตรงกันข้ าม (กรณีศกึ ษาของ เคลลี่ บ็อค, คริส แฟรงก์ ) เมือ่ ปี 1999 บริษทั แนปส์เตอร์ เป็ นเจ้าแรกทีน่ �ำเสนอโปรแกรมการแชร์ไฟล์เพลง ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ทนั ขา้ มวัน โปรแกรมรายการดังกล่าวก็ถูกต�ำหนิจากดารา นักร้องชื่อดัง เช่น มาดอนน่ า และเมทัลลิกา ในขณะที่ศิลปิ นเพลงอิสระและ นักดนตรีอสิ ระอื่นๆ ต่างใหก้ ารสนับสนุ นและสรรเสริญการกระท�ำดังกล่าวกัน ไปทัว่ เพราะเหตุใด ศิลปิ นเพลงอิสระจึงอยากใหผ้ ลงานเพลงของตนเผยแพร่ โดยไม่คิดมูลค่า เนื่องจากดารานักร้องชื่อดังจะได้รบั ส่วนแบ่งจ�ำนวนมากจากยอดขายซีดี เพลงลิขสิทธิ์อยู่แล ้ว จึงไม่ตอ้ งแปลกใจว่าท�ำไมคนกลุม่ นี้จงึ ต่อต้านโปรแกรมแชร์ ไฟล์เพลงทางอินเทอร์เน็ต เพราะประชาชนคนฟังเพลงสามารถเข ้าถึงผลงานเพลง ของเขาได้ฟรีๆ โดยไม่ตอ้ งมีค่าใช้จ่าย ในทางกลับกัน ศิลปิ นเพลงอิสระจะเผชิญ กับสิง่ จูงใจทีแ่ ตกต่างออกไปอย่างมาก จากทีก่ ล่าวไปแล ้วว่า เหล่าศิลปิ นเพลง อิสระไม่สามารถหวังอะไรได้เลยว่าจะมีรายได้เป็ นกอบเป็ นก�ำจากการขายผลงาน เพลงผ่านซีดเี พลงตราบใดทีพ่ วกเขายังไม่เป็ นทีร่ ูจ้ กั เพราะขาดฐานแฟนเพลงคน ฟัง แต่ดว้ ยโปรแกรมแชร์ไฟล์เพลงทางอินเทอร์เน็ต จึงเป็ นวิธที ช่ี ่วยพวกเขาขยาย ฐานแฟนเพลงได้อย่างดี ถ้าจะให้พวกเขาจัดการแสดงบนเวทีกไ็ ม่แน่วา่ จะประสบความส�ำเร็จ เนื่องจาก มีวงดนตรีประเภททีค่ ล ้ายคลึงกันจ�ำนวนนับร้อยนับพันทีต่ อ้ งแข่งขันกันแย่งคนดู เพราะต่างก็ยงั ไม่ใช่วงดัง อย่างไรก็ดี ศิลปิ นอิสระทีม่ คี ุณภาพดีพอจะได้รบั ความ นิยมในตลาดเพลงระดับทอ้ งถิน่ ก่อน แต่โอกาสก้าวข ้ามไปยังระดับภูมภิ าคหรือ ระดับประเทศนัน้ ค่อนข ้างยาก พวกเขาจึงคิดว่าโปรแกรมแชร์ไฟล์เป็ นหนทางที่ สามารถช่วยขยายฐานแฟนเพลงได้ เนื่องจากแฟนเพลงระดับท้องถิน่ ของพวกเขา สามารถส่งอีเมลโดยแนบไฟล์เพลงผ่านโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ตให ้เพือ่ นๆ ต่าง

100

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เมืองได้ และวงดนตรีของศิลปิ นอิสระทีด่ ที ส่ี ุดก็จะค่อยๆ เป็ นทีร่ ูจ้ กั และได้รบั ความนิยมจากแฟนเพลงทัวประเทศต่ ่ อไปในทีส่ ุด แม ้คนฟังเพลงจะสามารถดาวน์โหลดเพลงได้ฟรีทางอินเทอร์เน็ต แต่หาก ผลงานเพลงของศิลปิ นอิสระเหล่านี้ได้รบั ความนิยมจากมหาชนมากพอ ก็คาด หวังได้ว่าพวกเขาสามารถหารายได้จากการขายแผ่นซีดขี องตัวเองได้ เพราะจะ ต้องมีแฟนเพลงทีค่ ลังไคล ่ ้อย่างมาก จนยอมลงทุนซื้อซีดเี พลงเก็บไว ้เป็ นทีร่ ะลึก โดยสรุป ปฏิกิริยาการตอบสนองต่ อโปรแกรมการแชร์ไฟล์เพลงทาง อินเทอร์เน็ตทีแ่ ตกต่างกันระหว่างนักร้องชัน้ น�ำและนักร้องอิสระ มีเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์คอื นักร้องชัน้ น�ำทีม่ ชี อ่ื เสียงแล ้วจะเป็ นฝ่ ายเสียประโยชน์ ในขณะที่ นักร้องอิสระทีก่ �ำลังไต่เต้าใฝ่ หาชื่อเสียง โดยเฉพาะผู ้ทีม่ คี วามสามารถสูงก็จะเป็ น ฝ่ ายได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้

ท�ำไมในวันที่ฝนตก คนขับรถแท็กซี่จงึ เลิกงานเร็วขึน้ (กรณีศกึ ษาของ ลินดา เบ็บคอค, โคลิน คาเมเรอร์ , จอร์ จ โลเวนสไตน์ และ ริชาร์ ด เทเลอร์ ) ในเมืองใหญ่ต่างๆ หากเป็ นวันทีท่ อ้ งฟ้ าโปร่งใสอากาศดี เราก็สามารถเรียกรถ แท็กซีท่ ว่ี ง่ิ บนทอ้ งถนนได้ทนั ทีทนั ใดตามต้องการ แต่ถา้ เป็ นวันทีม่ ฝี นตก การ เรียกใช้บริการรถแท็กซีจ่ ะยากกว่า เพราะรถทีว่ ง่ิ ตามท้องถนนส่วนใหญ่จะพบแต่ ผู ้โดยสาร และจ�ำนวนรถแท็กซีจ่ ะวิง่ หาผู ้โดยสารลดน้อยลงด้วย เนื่องจากคนขับ ส่วนใหญ่จะเลิกท�ำงานเร็วขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็ นเช่นนี้ ผลการศึกษาจากงานส�ำรวจหนึ่งพบว่า ในแต่ละวันรถแท็กซี่ส่วนใหญ่ จะวิง่ รับผูโ้ ดยสารจนบรรลุเป้ ารายได้แล ้วก็จะยุตกิ ารท�ำงานในวันนัน้ ส�ำหรับวัน ที่มอี ากาศปกติ รถแท็กซี่ส่วนใหญ่จะวิง่ หาผูโ้ ดยสารทัง้ วันจนกว่าจะได้รายได้ ตามเป้ าทีต่ อ้ งการ ส่วนวันทีม่ ฝี นตกจะได้รายได้ตามเป้ าหมายเร็วขึ้น เพราะมี ผู ้โดยสารเรียกใช้บริการมากขึ้น บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

101

เพราะเหตุทีเ่ ลิ กท�ำงานเร็ วขึ้นในวันฝนตก ท�ำให้คนขับรถแท็กซี ่สูญเสียรายได้ทีค่ วรหาได้ SS

ภาพโดย : คริ ส แฟรงก์

คนขับรถแท็กซีท่ เ่ี ลิกท�ำงานเร็วขึ้นในวันฝนตก เป็ นพฤติกรรมทีด่ ูจะสวน ทางกับสิง่ จูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ซึง่ จะชี้น�ำให ้เขามีพฤติกรรมในทางตรงกันข ้าม ทีเ่ ป็ นเช่นนัน้ เพราะค่าเสียโอกาสของการหยุดท�ำงานเร็วขึ้น 1 ชัว่ โมงในวันอากาศ ปกติจะต�ำ่ กว่าในวันทีม่ ฝี นตกมาก ถา้ หากเป้ าหมายใหม่คือการบรรลุเป้ ารายได้ ในระยะเวลาทีน่ านขึ้น (เช่น 1 เดือน) โดยการท�ำงานให ้น้อยชัว่ โมงทีส่ ุด เขาจะ สามารถบรรลุเป้ าหมายได้โดยการท�ำงานใหห้ นักทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะท�ำได้ในวันทีม่ ฝี น ตก และหยุดท�ำงานเร็วขึ้นในวันทีอ่ ากาศปกติ ตราบใดที่ค่าเสียโอกาสของคุณไม่เป็ นศูนย์ ต้องนับว่ามีค่าใช้จ่ายเสมอ ไม่วา่ คุณจะรีดเสื้อหรือถางหญ้าในสนาม ไม่วา่ ใครหรือแม ้เป็ นธุรกิจใดก็ตาม ต้อง เลือกดูวา่ จะท�ำงานไหนเอง หรืองานใดจะว่าจ้างให ้ผู ้อืน่ ท�ำ ตัวอย่างต่อไปนี้แสดง ให้เห็นถึงการตัดสินใจ ท�ำเองหรือจ้างคนอืน่ (Make or Buy) ภายใต้สถานการณ์ แต่ละอย่าง

102

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไมการเปลี่ยนยางรถจึงเริ่มเป็ นงานที่ต้องจ้ างมืออาชีพมาท�ำแทน มากขึน้ (กรณีศกึ ษาของ ทิโมที อัลเดอร์ ) มีนกั ศึกษาคนหนึ่งส�ำรวจขอ้ มูลจากสมาชิกในครอบครัวที่เป็ นญาติพน่ี อ้ งรวม ทัง้ สิ้น 16 คน ประเด็นทีต่ อ้ งการรูค้ �ำตอบคือ มีก่คี นทีส่ ามารถเปลีย่ นยางรถได้ เอง ผลการส�ำรวจพบว่ามี 9 คนทีเ่ ปลีย่ นยางรถไม่เป็ น ทีเ่ หลืออีก 7 คนตอบ ว่าสามารถเปลีย่ นยางเองได้ แมว้ ่าหลายคนในเจ็ดคนนี้จะสารภาพว่าตัวเองก็ ไม่เคยลงมือท�ำเองจริงๆ สักครัง้ แมจ้ ะท�ำเป็ นก็ตาม นอกจากนี้ ยังพบว่าทัง้ 9 คนทีบ่ อกว่าเปลีย่ นยางรถไม่เป็ น ก็มอี ายุนอ้ ยกว่ากลุม่ จ�ำนวน 7 คนทีต่ อบว่า เปลีย่ นยางเองได้ ข ้อมูลนี้ช้ ใี ห ้เห็นโดยทัวไปว่ ่ าความสามารถในการเปลีย่ นยางรถ ได้เองของประชาชนมีแนวโน้มลดลง ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ ดังทีอ่ ธิบายไปแล ้ว หลักการหนึ่งทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์หาค�ำตอบของนัก ธรรมชาติเศรษฐกิจ ได้แก่ การวิเคราะห์การเปลีย่ นแปลงของต้นทุนเปรียบเทียบ กับผลประโยชน์ตอบแทนทีเ่ กี่ยวข ้อง ในกรณีน้ ีตน้ ทุนการเรียนรูว้ ธิ ีการเปลีย่ น ยางรถเองไม่พบว่าเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมทีเ่ คยปฏิบตั มิ าในอดีตมากนัก ถึงจะ มีบ ้างก็เป็ นเพียงต้นทุนทีล่ ดลงเล็กน้อยจากการปรับปรุงอุปกรณ์ทช่ี ่วยยกล ้อให ้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางตรงกันข ้าม การเปลีย่ นแปลงอย่างใหญ่หลวงเกิดขึ้นกับประโยชน์ ทีจ่ ะได้รบั จากการเรียนรูว้ ธิ กี ารเปลีย่ นยางรถเอง มีสองประเด็นเข ้ามาเกี่ยวข ้อง ทีต่ อ้ งพิจารณาคือ ประเด็นแรก การออกแบบยางรถในปัจจุบนั ได้มกี ารปรับปรุง ไปจนท�ำให ้รูปแบบของยางเปลีย่ นไปจากเดิมมาก ปัจจุบนั รถหลายรุ่นใช้ยางทีย่ งั สามารถขับขีต่ ่อไปได้อย่างปลอดภัยขณะทีย่ างมีแรงดันลมน้อยหรือยางแบนอยู่ ประเด็นทีส่ อง ผู ้ขับขีร่ ถส่วนใหญ่มโี ทรศัพท์มอื ถือ ช่วยให้สามารถติดต่อช่างหรือ อู่ซ่อมรถได้ไม่ยากแม ้อยู่ในท ้องถิน่ ห่างไกลจากตัวเมือง จากทัง้ สองประเด็นดังกล่าว จะเห็นว่าประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั จากการเรียนรู ้ วิธกี ารเปลีย่ นยางรถเองในปัจจุบนั ลดน้อยลงจากทีเ่ คยเป็ นในอดีต แม ้จะสามารถ บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

103

เปลีย่ นยางรถได้เอง แต่คณ ุ ภาพและรูปแบบของยางได้ปรับปรุงให้ดีข้นึ มาก จึงท�ำให้ ยางมีอายุใช้งานนานขึ้น ส่งผลให ้เป็ นปัจจัยทีไ่ ปจ�ำกัดโอกาสการน�ำทักษะความรู ้ ในการเปลีย่ นยางเองมาใช้ หรือในกรณีทย่ี างรถระเบิด การเรียกช่างมาเปลีย่ นก็ ดูจะเป็ นทางเลือกทีง่ า่ ยกว่า เนื่องจากการเปลีย่ นแปลงประโยชน์จากการเรียนรู ้ ดังกล่าว ส่งผลให้ผู ้ใช้รถโดยเฉพาะวัยรุ่นในยุคปัจจุบนั จ�ำนวนมากเห็นว่า ประโยชน์ ทีไ่ ด้จากการรูว้ ธิ กี ารเปลีย่ นยางรถเองไม่ได้มคี ่ามากไปกว่าต้นทุนการเรียนรูอ้ กี ต่อ ไป จึงไม่สนใจเรียนรู ้ ท�ำให ้ไม่มคี วามสามารถเปลีย่ นยางรถเองได้

เพราะเหตุใด บริษทั เอกชนหลายแห่ งนิยมว่ าจ้ างที่ปรึกษาด้ านการจัดการ เป็ นพนักงานชั่วคราวในอัตราเงินเดือนสูง แทนที่จะว่ าจ้ างพนักงานแบบ ท�ำงานเต็มเวลาเป็ นผู้จดั การด้ วยอัตราเงินเดือนที่ต่ำ� (กรณีศกึ ษาของ เจมส์ บาเลต) บริษทั เอกชนหลายแห่งในประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล ้ว ได้วา่ จ้างบริษทั ทีป่ รึกษามาช่วย ให ้ค�ำแนะน�ำด้านการบริหารและจัดการบางเรื่อง นอกจากจะต้องจ่ายค่าจ้างในรูป เงินเดือนให ้แก่ทป่ี รึกษาแล ้ว ยังมีค่าโสหุย้ (Overhead – ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนิน งาน) ซึง่ เป็ นรายจ่ายประเภทคงทีค่ ่อนข ้างสูงทีต่ อ้ งจ่ายให ้กับบริษทั ทีป่ รึกษาด้วย บริษทั ทีป่ รึกษาบางรายก�ำหนดเงือ่ นไขค่าธรรมเนียมโอเวอร์เฮดสูงถึง 3 ปอนด์ ต่อเงินทุกๆ 1 ปอนด์ทเ่ี ป็ นเงินเดือนค่าจ้างทีป่ รึกษา เพราะเหตุใด บริษทั เอกชน ทีว่ า่ จ้างทีป่ รึกษาจึงไม่จดั การจ้างพนักงานประจ�ำทีท่ ำ� งานเต็มเวลามาจัดการ ซึง่ จะ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ค�ำตอบทีเ่ ป็ นไปได้คอื บริการทีป่ รึกษาด้านการจัดการก็เปรียบได้ว่า ท�ำ หน้าที่เสมือนเป็ นเครื่องปัน่ ไฟฟ้ าราคาแพง ที่บริษทั ผูผ้ ลิตกระแสไฟฟ้ าใช้เพือ่ ผลิตกระแสไฟฟ้ าสนองความต้องการใช้ไฟของประชาชนในช่วงทีม่ คี วามต้องการ สูงสุด เครื่องปัน่ ไฟฟ้ าประเภทนี้มฐี านก�ำลังการผลิตพื้นฐานสูงมากและสามารถให้ บริการการใช้ไฟฟ้ าได้จ �ำนวนมาก จึงมีค่าลงทุนแพงมาก แต่จะมีค่าใช้จ่ายด�ำเนิน การค่อนข ้างตำ� ่ เนื่องจากมีราคาแพง จึงไม่เหมาะทีจ่ ะลงทุนจัดหามาเองเพือ่ ใช้งาน

104

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพียงระยะเวลาสัน้ ๆ และปล่อยให้ปลอดการใช้งานเป็ นระยะเวลานานๆ เพราะมัน จะไม่คมุ ้ กับการลงทุน ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน ส�ำหรับบริษทั หนึ่งๆ นัน้ ความต้องการใช้ทป่ี รึกษา ด้านบริหารจัดการจะมีไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม�ำ่ เสมอตลอดทัง้ ปี บริษทั ส่วนใหญ่อาจ เห็นประโยชน์จากการว่าจ้างผู ้จัดการมาท�ำงานเต็มเวลาประจ�ำในบริษทั และจ้างที่ ปรึกษาส�ำหรับงานเร่งด่วนจ�ำนวนมากทีเ่ ข ้ามาเป็ นครัง้ เป็ นคราวทีใ่ ช้ระยะเวลาท�ำงาน สัน้ ๆ ก็เสร็จ จริงอยู่ทว่ี า่ ค่าจ้างทีป่ รึกษาแต่ละชัว่ โมงสูงกว่าค่าจ้างพนักงานประจ�ำ มาก แต่ถ ้าในระยะเวลาทีต่ อ้ งใช้บริการจากทีป่ รึกษานัน้ สัน้ มากๆ ก็อาจเป็ นการ ใช้ตน้ ทุนรวมทีต่ ำ� ่ ลง (คุม้ ค่ามากกว่า) เมือ่ เทียบกับปริมาณผลงานทีจ่ ะได้ ซึง่ น่า จะเป็ นทางเลือกทีด่ กี ว่าการจ้างพนักงานประจ�ำเต็มเวลาเพิม่ ขึ้นเพือ่ ให ้ท�ำงานทีใ่ ช้ เวลาสัน้ ๆ นี้ ซึง่ พองานเสร็จพนักงานก็จะนัง่ ว่างไม่มงี านให ้ท�ำ แต่บริษทั ยังต้อง จ่ายเงินเดือนประจ�ำให ้ อีกสาเหตุหนึ่งที่ท �ำใหบ้ ริษทั ว่าจ้างยอมจ่ายค่ าจ้างที่ปรึกษาในอัตราเงิน เดือนสูง เพราะเขารูว้ า่ กลยุทธ์ทางธุรกิจทีโ่ ต้เถียงกันในบริษทั จะถูกน�ำไปปฏิบตั ิ ได้งา่ ยขึ้น หากเป็ นข ้อเสนอแนะมาจากทีป่ รึกษาภายนอกทีม่ ชี อ่ื เสียงและได้รบั การ ยอมรับ ตัวอย่างเช่น ถ ้าบริษทั รูว้ า่ ต้องมีการเลิกจ้างพนักงานจ�ำนวนมากอันเนื่อง มาจากยอดขายสินค้าทีต่ กต�ำ่ ลง แต่กย็ งั เกรงว่าหากประกาศออกไปแล ้วจะส่งผล ต่อความรูส้ กึ ของพนักงานทีย่ งั ท�ำงานอยู่ ในกรณีเช่นนี้จะเป็ นการช่วยลดความ ตึงเครียดลงได้มาก หากบอกให ้พนักงานรับรูว้ ่าไม่ใช่ความคิดของบริษทั เอง แต่ เป็ นข ้อเสนอแนะของบริษทั ทีป่ รึกษา เป็ นต้น

ท�ำไมบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าจึงว่ าจ้ างที่ปรึกษาทางกฎหมายที่มีค่าตัว สูงมาท�ำงานประจ�ำ ในเมื่อสามารถว่ าจ้ างนักกฎหมายคนเดียวกันนีใ้ น อัตราเงินเดือนที่ต่ำ� ลงกว่ าครึ่งได้ บริษทั ผลิตกระแสไฟฟ้ ารายหนึ่งในนิวยอร์กจ่ายเงินมากกว่า 1 ล ้านดอลลาร์ต่อ ปี เป็ นค่าธรรมเนียมใหก้ บั บริษทั ทีป่ รึกษากฎหมายในชิคาโก เพือ่ แลกกับการมา บทที่ 3 ท�ำไมคนท�ำงานทีม ่ คี วามสามารถพอๆ กันจึงได้รบั เงินเดือนต่างกัน

105

ท�ำงานเต็มเวลาของนักกฎหมายอาวุโสท่านหนึ่ง จากข ้อเท็จจริงพบว่า บริษทั ที่ ปรึกษากฎหมายแห่งนี้จ่ายค่าจ้างให้กับนักกฎหมายอาวุโสคนเดียวกันนี้ปีละไม่เกิน 1 แสนดอลลาร์เท่านัน้ ถ ้าเป็ นเช่นนัน้ จริง ท�ำไมบริษทั ผลิตกระแสไฟฟ้ าจึงไม่จา้ ง นักกฎหมายอาวุโสรายนี้โดยตรง ซึ่งจะช่วยใหป้ ระหยัดเงินลงได้ถึงครึ่งลา้ น ดอลลาร์ ในฐานะทีเ่ ป็ นบริษทั เอกชน ภายใต้การก�ำกับของคณะกรรมการบริหาร กิจการสาธารณู ปโภคทีต่ งั้ ขึ้นตามกฎหมายแห่งรัฐ บริษทั ผลิตกระแสไฟฟ้ าแห่ง นี้ มีการจัดจ้างนักกฎหมายจ�ำนวนมากเป็ นพนักงานประจ�ำท�ำหน้าทีด่ ูแลการฟ้ อง ร้องลูกค้าและติดตามการบังคับใช้ของกฎหมายอยู่แล ้ว ซึ่งแต่ละต�ำแหน่ งกิน เงินเดือนประจ�ำไม่เกินปี ละ 1 แสนดอลลาร์ อย่างไรก็ดี มีบางกรณีทข่ี ้อโต้แย้ง กันเป็ นคดีใหญ่โดยมีวงเงินฟ้ องร้องสูงมาก ซึง่ การใช้นกั กฎหมายทีม่ คี วามรูแ้ ละ ประสบการณ์แตกต่างกันแมเ้ พียงเล็กน้อย ก็อาจมีผลต่อก�ำไรขององค์กรและ ผู ้ถือหุนที ้ แ่ ตกต่างกันเป็ นหลายร้อยล ้านดอลลาร์ได้ ด้วยเหตุน้ ี จึงมีความจ�ำเป็ นที่ บริษทั ผลิตกระแสไฟฟ้ าจะต้องมีนกั กฎหมายอาวุโสทีม่ คี วามรู ้ ประสบการณ์ และ ความสามารถสูง มาประจ�ำไว ้ในบริษทั เพือ่ ท�ำหน้าในกรณีส �ำคัญๆ เหล่านี้ แม ้ว่า จะต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราทีส่ ูงมากก็ตาม การจ้างนักกฎหมายอาวุโสทีม่ คี ณ ุ ภาพและความสามารถสูงมาเป็ นพนักงาน ท�ำงานประจ�ำในบริษทั โดยให ้เงินเดือนในอัตราสูง 5 แสนดอลลาร์ต่อปี แม ้เป็ น เรือ่ งทีส่ ามารถกระท�ำได้ แต่ผลทีจ่ ะตามมาอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้คอื จะเป็ นการปลุก เร้านักกฎหมายประจ�ำทีไ่ ด้จา้ งไว ้แต่เดิมในอัตราเงินเดือนขัน้ ต�ำ่ อาจให้มีการเรียก ร้องขอเพิม่ เงินเดือนให ้สูงขึ้น ดังนัน้ เมือ่ น�ำประเด็นปัญหาเหล่านี้มาร่วมพิจารณา ด้วย จึงเป็ นไปได้วา่ การยอมจ่ายค่าจ้างสูงถึง 1 ล ้านดอลลาร์ต่อปี ให ้กับบริษทั ที่ ปรึกษาจากภายนอก อาจท�ำให ้ประหยัดมากกว่าค่าใช้จ่ายทีจ่ ะตามมาในอนาคต

106

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

4

ท�ำไมผู้บริ โภคบางคนจึงซื้อสินค้า และบริการในราคาแพงกว่าคนอื่น : เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการลดราคา



ฎแห่งราคาเดียวทางเศรษฐศาสตร์เป็ นจริงมากที่สุดภายใต้ตลาดที่มกี าร แข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึง่ ตลาดเกลือและตลาดทองค�ำเป็ นตัวอย่างตลาดที่ มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ จะมีผูซ้ ้อื และผูจ้ �ำหน่ายสินค้าเป็ นจ�ำนวนมากซื้อขาย สินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพมาตรฐานเดียวกันในตลาดนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีสนิ ค้าหรือบริการ หลายชนิดทีไ่ ม่ได้มกี ารซื้อขายในตลาดทีม่ กี ารแข่งขันอย่างสมบูรณ์ เช่น การดู ภาพยนตร์ (ทีใ่ หบ้ ริการโดยโรงภาพยนตร์ แม ้ตัวม ้วนฟิ ลม์ ภาพยนตร์เองก็เป็ น สินค้าทีส่ ามารถแลกเปลีย่ นกันได้ระหว่างโรงภาพยนตร์ต่างๆ) เพราะบริการของ โรงภาพยนตร์แต่ละแห่งจะมีคุณภาพไม่เหมือนกันหรือไม่ได้มมี าตรฐานเดียวกัน เนื่องมาจากโรงภาพยนตร์แต่ละแห่งตัง้ อยู่ในสถานทีแ่ ตกต่างกัน และมีการก�ำหนด เวลาฉายก็ต่างกัน อันเป็ นลักษณะเฉพาะของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ ในแง่ของ ผู ้บริโภค เนื้อหาของภาพยนตร์แต่ละเรื่องไม่สามารถทดแทนกันโดยสมบูรณ์ คงมี คนจ�ำนวนน้อยมากทีจ่ ะบอกว่าได้รบั ความพึงพอใจเท่ากันร้อยเปอร์เซ็นต์จากการ ดูภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง Casablanca หรือภาพยนตร์ผเี รื่อง Scary Movie 3 เนื่องจากกฎแห่งราคาเดียวจะไม่เป็ นจริงกับตลาดประเภทโรงภาพยนตร์ ดังนัน้ นักเศรษฐศาสตร์จะไม่แปลกใจเท่าไรนักถ ้าพบว่าโรงภาพยนตร์ขายตัวใน ๋ ราคาต่างกันในรอบวันหนึ่งๆ เช่น โรงภาพยนตร์เมเจอร์อาจก�ำหนดราคาตัวรอบ ๋

บทที่ 4 ท�ำไมคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

107

บ่ายถูกกว่ารอบเย็น เพราะช่วงบ่ายมีคนดูนอ้ ย ส่วนใหญ่จะท�ำงานกันตอนกลาง วันแต่วา่ งตอนเย็น ดังนัน้ ในรอบเย็นจะมีคนต้องการดูภาพยนตร์จ �ำนวนมากกว่า จึงอาจเพิม่ ราคาตัวขึ ๋ ้นได้ เป็ นต้น เจ้าของโรงภาพยนตร์หลายแห่งขายตัวภาพยนตร์ ๋ ในราคาถูกแก่กลุม่ บุคคล ในบางสาขาอาชีพ เช่น นักเรียน นักศึกษา ผู ้สูงวัย หรือกลุม่ ทีม่ แี นวโน้มตอบสนอง ต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาสูง เพราะการดูภาพยนตร์ไม่เหมือนสินค้าหรือบริการ ทัวไป ่ (เช่น เกลือ หรือทองค�ำ) ในแง่ทไ่ี ม่สามารถน�ำไปขายต่อให ้ผู ้อืน่ ได้ ตัวอย่าง เช่น นักเรียนทีซ่ ้ อื ตัวได้ ๋ ในราคาถูก จะไม่สามารถหาก�ำไรโดยการขายตัวต่ ๋ อให ้ ผู ้ใหญ่ในราคาปกติ เพราะคนทีใ่ ช้ตวได้ ั ๋ จะต้องแสดงบัตรประจ�ำตัวนักเรียนเมือ่ เดิน เข ้าโรงภาพยนตร์ นอกจากนี้ ลักษณะทีเ่ ป็ นนามธรรมของสินค้าหรือบริการอย่าง การดูภาพยนตร์ ก็มสี ่วนท�ำให ้ไม่สามารถน�ำสินค้าหรือบริการลักษณะนี้ไปขายต่อ ได้ เช่น นักเรียนทีไ่ ด้ดูภาพยนตร์เรื่องใดมา จะน�ำประสบการณ์ทเ่ี ป็ นนามธรรมไป ขายต่อให ้คนอืน่ ทีย่ งั ไม่ได้ดูคงไม่ได้ เพราะจะไม่มคี นซื้อ แต่ส �ำหรับตลาดสินค้าหรือบริการทีม่ ลี กั ษณะเป็ นรูปธรรมโดยเฉพาะสินค้า หรือบริการทีม่ รี าคาสูง มีความเป็ นไปได้ทจ่ี ะน�ำไปซื้อขายต่อ เป็ นผลให้ผู ้จ�ำหน่าย สินค้าหรือบริการเหล่านี้ (แม ้แต่ธุรกิจผูกขาดเอง) ไม่สามารถตัง้ ราคาขายให ้แตก ต่างกันได้ คือผู ้จ�ำหน่ายจะขายสินค้าให ้ผู ้ซื้อคนหนึ่งหรือกลุม่ หนึ่งในราคาสูงหรือ ต�ำ่ กว่าอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุม่ หนึ่งไม่ได้ ตัวอย่างเช่น สมมติวา่ มีผู ้หญิงทีค่ ลังไคล ่ ้ ใช้แต่รองเท ้าแบรนด์ Manolo Blahnik เท่านัน้ แม ้นัน่ จะเป็ นธุรกิจผูกขาด แต่ก็ ไม่สามารถตัง้ ราคาขายทีส่ ูงขึ้นกับผู ้ซื้อรายนี้ได้ (แม ้เธอจะเต็มใจจ่ายหรือมีความ สามารถในการจ่ายก็ตาม) เพราะมีโอกาสทีผ่ ู ้ซื้อจะน�ำไปซื้อขายต่อระหว่างกัน ใน ท�ำนองเดียวกัน เจ้าของโรงภาพยนตร์คงไม่สามารถขายป๊ อปคอร์นในราคาถุงละ 2.50 ปอนด์ให ้กับผู ้ใหญ่ แต่ขายราคา 1 ปอนด์ให ้กับเด็ก เนื่องจากไม่มขี ้อหา้ ม ใดทีห่ า้ มมิให ้เด็กน�ำไปขายต่อให ้ผู ้ใหญ่ในราคาทีส่ ูงขึ้น

108

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แมว้ ่าโอกาสการขายต่อเพื่อท�ำก�ำไรเป็ นปัจจัยจ�ำกัดความสามารถของ ผูข้ ายในการตัง้ ราคาสินค้าใหต้ ่างกันส�ำหรับผูซ้ ้ อื แต่ก็มกี ลยุทธ์การขายทีท่ �ำให ้ ผู ้ขายสามารถตัง้ ราคาขายสินค้าให ้แตกต่างกันได้ ตัวอย่างทีพ่ บบ่อยๆ ได้แก่ การ จัดรายการขายสินค้าลดราคาตามห ้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่ผู ้ซื้อทีจ่ ะได้ประโยชน์ จากการซื้อสินค้าลดราคาได้นนั้ ก่อนอืน่ ต้องรูว้ า่ จะมีการจัดรายการลดราคาสินค้า ของห ้างดังกล่าวเมือ่ ไร จากนัน้ ต้องฝ่ าฟันกับการจราจรทีแ่ สนจะติดขัด และผู ้คน อีกจ�ำนวนมากทีแ่ ย่งกันซื้อสินค้าลดราคา แต่ส �ำหรับผู ้ทีไ่ ม่รูว้ า่ มีการจัดรายการลด ราคาสินค้าก็จะพลาดโอกาสซื้อของราคาถูก และต้องซื้อในราคาสูงกว่าหลังการจัด รายการลดราคาจบลงแล ้ว จะเห็นได้ว่าผูซ้ ้ อื จะได้รบั ประโยชน์จากสินค้าลดราคาก็ต่อเมือ่ ต้องฟันฝ่ า อุปสรรคเล็กๆ บางประการทีก่ �ำหนดโดยผู ้ขาย นัน่ เป็ นกลยุทธ์ทผ่ี ู ้ขายจ�ำนวนมากใช้ กัน ซึง่ เราสามารถพบการปฏิบตั เิ ช่นนี้ได้ในปัจจุบนั ตัวอย่างหนึ่งทีเ่ ป็ นประสบการณ์ ของผมเองไม่ก่ปี ี ทผ่ี ่านมา เมือ่ ผมเดินทางไปร่วมประชุมต่างเมือง ช่วงก่อนเดินทาง ก็ได้จองห ้องพักในโรงแรมแห่งหนึ่งไว ้ ส�ำหรับค่าทีพ่ กั ในคราวนัน้ ตกประมาณคืน ละ 100 ปอนด์ เมือ่ เดินทางไปถึงโรงแรมและท�ำการเช็กอิน ก็เห็นป้ ายใหญ่ดา้ น หลังเคาน์เตอร์เขียนไว ้ว่า “เชิญสอบถามห้องพักราคาพิเศษ” ด้วยความอยากรูผ้ ม จึงได้สอบถาม และได้รบั ค�ำตอบว่า ผมสามารถได้ห ้องพักในราคาคืนละ 75 ปอนด์ จากตัวอย่างข ้างต้น จะเห็นได้วา่ อุปสรรคเล็กน้อยทีท่ �ำให้เราก้าวพ ้นเพือ่ ให้ ได้รบั ประโยชน์จากการจ่ายค่าห ้องพักในราคาถูกลงก็คอื การตัง้ ค�ำถาม เนื่องจาก สิง่ นี้เป็ นอุปสรรคทีง่ า่ ยมาก ท�ำให ้ผมอดสงสัยไม่ได้วา่ จะมีแขกคนใดมองข ้ามไป หรือไม่ แต่เมือ่ ผมสอบถามพนักงานต้อนรับของโรงแรม ค�ำตอบทีไ่ ด้คือ ส่วน ใหญ่ไม่สนใจทีจ่ ะสอบถาม ในแง่ของผู ้ขายสินค้า มองว่ากลยุทธ์การขายจะมีประสิทธิภาพในการเพิม่ ยอดขาย ก็ต่อเมือ่ มีผู ้บริโภคประเภททีม่ พี ฤติกรรมตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลง

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

109

ของราคาได้ไวมาก (หรือก็คอื กลุม่ ผูบ้ ริโภคทีอ่ าจไม่ซ้ อื สินค้าหรือบริการนัน้ เลย ถ ้าไม่มกี ารลดราคา) แล ้วเห็นว่าอุปสรรคทีต่ อ้ งก้าวข ้ามเพือ่ ให ้ได้มาซึง่ สินค้าหรือ บริการในราคาถูกลงนัน้ ง่ายต่อการปฏิบตั ิ ในขณะทีผ่ ูบ้ ริโภคประเภททีไ่ ม่ตอบ สนองต่อราคา อาจเห็นว่าอุปสรรคทีต่ อ้ งปฏิบตั กิ ่อนซื้อนัน้ ยุ่งยากหรือไม่คมุ ้ ค่าควร แก่การให ้ความสนใจ ในกรณีตวั อย่างของผมนัน้ ป้ ายเชิญชวนให ้ผู ้ทีต่ อ้ งการเข ้า พักสอบถามเกี่ยวกับค่าห ้องพักในราคาลดพิเศษ ได้ส่งผลสุดทา้ ยคือ รายได้ของ โรงแรมลดลงไป 25 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม มาตรการลดราคานี้จะบังเกิดผลส�ำหรับ แขกเข ้าพักทีม่ ไิ ด้จองห ้องพักไว ้ล่วงหน้า หรือกับแขกบางกลุม่ ทีไ่ ม่สนใจสอบถาม ใดๆ เลย เพราะพวกเขามีพฤติกรรมการบริโภคทีไ่ ม่ตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลง ของราคา หรืออาจเป็ นเพราะเขาสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้เต็มทีจ่ ากหน่วยงานของ ตัวเอง จึงไม่ตอ้ งกังวลใดๆ ส�ำหรับเรื่องราคา สองตัวอย่างแรกต่อไปนี้ จะแสดงวิธีการลดราคาสินค้าแบบก้าวข ้ามสิง่ กีดขวาง (Hurdle Discount Pricing)

เพราะเหตุใด ค่ าตั๋วรถโดยสารในลอนดอน ถ้ าจ่ ายเป็ นเงินสดจึงแพง กว่ าการซือ้ ตั๋วล่ วงหน้ า ในเมืองใหญ่ๆ ทัวโลก ่ ค่าตัวโดยสารรถในเมื ๋ องหรือระหว่างเมืองจะขึ้นอยู่กบั วิธกี าร จ่ายค่าโดยสารด้วย อย่างเช่น ในลอนดอนเมือ่ ปี 2007 ก�ำหนดค่าโดยสารรถไฟ ใต้ดนิ เทีย่ วเดียวเท่ากับ 4 ปอนด์ หากคุณซื้อตัวด้ ๋ วยเงินสด แต่คุณจะจ่ายเพียง 1.50 ปอนด์เท่านัน้ ถ ้าซื้อตัวจ่ ๋ ายล่วงหน้าทีเ่ รียกว่า Oyster Card (บัตรค่าโดยสาร ทีใ่ ช้กบั รถไฟ รถบัส รถโดยสารเกือบทุกชนิดในลอนดอน) ในท�ำนองเดียวกัน ถ ้า ซื้อเป็ นเงินสดส�ำหรับค่าโดยสารรถประจ�ำทางขาเดียวจะจ่าย 2 ปอนด์ต่อเทีย่ ว แต่ ถ ้าใช้ Oyster Card จะจ่ายเพียง 0.90 ปอนด์ต่อเทีย่ ว แล ้วท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ เพราะอะไรผู ้โดยสารจึงจ่ายถูกมากกว่าครึ่งถ ้าเขาใช้ Oyster Card เนื่องจากรายได้รวมจากการขายตัวโดยสารของระบบขนส่ ๋ งมวลชนในเมือง ใหญ่โดยทัวไปจะน้ ่ อยกว่าต้นทุนรวม ผู ้บริหารระบบจึงต้องพยายามท�ำทุกทางเพือ่

110

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพิม่ รายได้ ทางเลือกหนึ่งก็คอื การตัง้ ราคาสูงส�ำหรับผู ้โดยสารทีม่ กี �ำลังการซื้อหรือ เต็มใจทีจ่ ะจ่าย ในขณะเดียวกัน ก็มกี ารขายตัวราคาถู ๋ กลงให ้กับผู ้โดยสารทีไ่ ม่มี ก�ำลังซื้อหรือไม่เต็มใจจ่ายค่าโดยสารในราคาปกติ บัตรโดยสารซื้อล่วงหน้า หรือ Oyster Card คือ กลยุทธ์หรือเครื่องมือ ง่ายๆ ทีใ่ ช้ในการแยกกลุม่ ผู ้โดยสาร ในกรณีน้ อี ปุ สรรคกีดขวางง่ายๆ ทีผ่ ู ้บริโภค ต้องก้าวข ้ามก่อนทีจ่ ะได้รบั ประโยชน์จากการซื้อตัวโดยสารราคาถู ๋ กก็คอื เขาจะต้อง กรอกแบบฟอร์มขอซื้อตัวโดยสารล่ ๋ วงหน้า ซึง่ สามารถกระท�ำได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือเดินทางมาซื้อด้วยตัวเอง ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนของลอนดอนรู ด้ ีว่า จะมีคนนิสยั ขี้ร �ำคาญหรือไม่ชอบความยุ่งยากแม ้เป็ นวิธที ท่ี �ำง่ายๆ เช่นทีก่ ล่าวนี้ ผูโ้ ดยสารกลุม่ นี้จงึ ไม่กงั วลนักกับการต้องจ่ายค่าตัวโดยสารแพงขึ ๋ ้นด้วยการซื้อ เป็ นเงินสดในราคา 4 ปอนด์ต่อเทีย่ ว ถา้ หากองค์การขนส่งมวลชนเก็บค่ าโดยสารเท่ากันทุกคน เชื่อได้ว่าจะ สูญเสียรายได้ไปเป็ นจ�ำนวนมหาศาล การมีทางเลือกใหใ้ ช้ Oyster Card เป็ น วิธีการใช้ประโยชน์จากกลุ่มผูบ้ ริโภคที่มพี ฤติกรรมการตอบสนองต่อราคาสู ง เพิม่ ขึ้นมาก ในขณะเดียวกัน ก็ยงั มีก �ำไรจากค่าตัวราคาสู ๋ งส�ำหรับลูกค้ากลุม่ ทีไ่ ม่ ตอบสนองต่อราคา ซึง่ ตามข ้อมูลสถิติ มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนผู ้ใช้ บริการขนส่งมวลชนทัง้ หมด

เพราะเหตุใด ราคาสินค้ าหรื อบริการในมินิบาร์ ของโรงแรมต่ างๆ จึง แพงลิ่ว (กรณีศกึ ษาของ เคม วิลสัน) ถา้ คุณเดินเขา้ ไปซื้อน�ำ้ แร่เอเวียงขนาด 1 ลิตรที่มนิ ิบาร์ของโรงแรมพาร์เกอร์ เมริเดียน ในเมืองแมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก หรือหยิบมา 1 ขวดจากตูเ้ ย็น มินิบาร์ในห ้องพัก คุณต้องควักกระเป๋ าจ่ายในราคาขวดละ 4 ดอลลาร์ แต่ถ ้าคุณ ออกแรงเดินเล็กน้อยไปทีม่ นิ ิมาร์ทเล็กๆ ตรงหัวมุมถนนบริเวณใกล ้ๆ กับโรงแรม คุณจะจ่ายในราคาเพียงขวดละ 99 เซนต์ เพราะเหตุใด มินิบาร์ของโรงแรมจึงบวก ส่วนเพิม่ ในราคาทีส่ ูงลิวเช่ ่ นนัน้ บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

111

ร้านค้าปลีกทีข่ ายสินค้าเบ็ดเตล็ดทุกชนิดมานาน สามารถตัง้ ราคาสินค้า ได้ตำ� ่ กว่าร้านค้าทีไ่ ม่ได้ขายสินค้าเบ็ดเตล็ดเป็ นธุรกิจหลักได้เกือบทุกชนิด ปัจจัย ส�ำคัญทีท่ �ำใหร้ า้ นค้าปลีกอาชีพตัง้ ราคาขายได้ตำ� ่ กว่า ก็สบื เนื่องมาจากปริมาณ ของยอดขายสินค้าที่สูงกว่ามาก และจากต้นทุนทางธุ รกิจที่ตำ� ่ กว่า อันเป็ นผล มาจากประสิทธิภาพทีส่ ูงกว่าจากความรูค้ วามช�ำนาญเฉพาะอย่างทีส่ งสมมานาน ั่ ถ ้านับเฉพาะต้นทุนทางธุรกิจ (ทีแ่ ตกต่างกัน) เพียงประการเดียว อาจเป็ นผลให ้ มินิบาร์ของโรงแรมต้องบวกราคาขายเพิ่มอีก 2 ดอลลาร์ต่อขวด ในขณะที่ มินิมาร์ทขายในราคาเพียง 1 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ราคาขายน�ำ้ แร่ของโรงแรม และมินิมาร์ทริมถนนก็ไม่ควรแตกต่างกันถึง 4 เท่าตัวอยู่ดี เหตุผลที่ราคาสินค้าในมินิบาร์ของโรงแรมตัง้ ไวส้ ู งมาก เป็ นเพราะฝ่ าย บริหารต้องการใช้กลยุทธ์น้ ีใหเ้ ป็ นวิธกี ารทางอ้อมในการใหส้ ่วนลดกับกลุม่ ลูกค้า เป้ าหมายทีม่ คี วามรูส้ กึ ไวต่อการเปลีย่ นแปลงของราคา เพือ่ เพิม่ ยอดขายใหก้ บั หอ้ งพักของโรงแรมใหม้ ากขึ้น เพราะเกือบทุกโรงแรมต้องปรับราคาค่ าหอ้ งพัก ของตนให ้สามารถแข่งขันได้ ซึง่ หลายโรงแรมก็มโี ปรโมชัน่ ลดราคาห ้องพักทีจ่ อง ทางอินเทอร์เน็ต ซึง่ สอดคล ้องกับข ้อเท็จจริงทีพ่ บว่า ผู ้สังซื ่ ้อสินค้าหรือบริการทาง อินเทอร์เน็ตมักเป็ นผู ้ทีไ่ วต่อการตอบสนองของการเปลีย่ นแปลงของราคามากกว่า เนื่องจากธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันทีส่ ูงมาก ท�ำให้โรงแรมมิได้มีสว่ นเหลือ่ ม ก�ำไรทีส่ ูงมาก ดังนัน้ การทีโ่ รงแรมเสนอการลดราคาค่าห ้องพักแก่กลุม่ ลูกค้าทีต่ อบ สนองต่อราคาสูง ท�ำให ้โรงแรมต้องหาวิธเี พิม่ รายได้จากกิจกรรมอืน่ ๆ เพือ่ ชดเชย กัน แม ้โรงแรมก็รูอ้ ยู่แก่ใจว่าการตัง้ ราคาสินค้าไว ้สูงมากในมินิบาร์ อาจขายสินค้า ไม่ได้เลย แต่ทางโรงแรมก็รูเ้ ช่นกันว่าจะมีกลุม่ ลูกค้าทีไ่ ม่กงั วลกับเรื่องราคามาก นัก เป็ นกลุม่ ทีท่ �ำให ้โรงแรมสามารถมีรายได้และมีก �ำไรเพิม่ จากการขายสินค้าใน ราคาสูง เพือ่ น�ำมาชดเชยใหก้ บั รายได้และก�ำไรทีล่ ดลงจากการลดราคาค่าหอ้ ง พัก ในกรณีน้ ีอปุ สรรคส�ำหรับผูใ้ ช้บริการเข ้าพักทีโ่ รงแรมต้องก้าวข ้ามก็คอื การ ยอมสละความไม่สะดวกทีไ่ ด้รบั จากมินิบาร์ในหอ้ งพัก จึงสามารถได้ประโยชน์ จากห ้องพักในราคาทีถ่ กู ลง

112

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการลดราคาสินค้า ลองจินตนาการกับสถานการณ์สมมติดู สมมติให้นักศึกษาทุกคนในห้องเรียนหนึ่ง ออกจากห้องไปยืนเรียงแถวหน้ากระดานในสนามหญ้า โดยเรียงตามล�ำดบั ความสูง จากสูงทีส่ ุดจนไปถึงเตี้ยทีส่ ุด จากนัน้ ทุกๆ 5 นาทีกใ็ ห ้นักศึกษาเดินกลับไปทีห่ ้อง เริ่มจากหัวแถวคนที่ 1 ตามด้วยคนที่ 2 คนที่ 3 และไล่ต่อไปเรื่อยๆ ตามความ สูงทีละคนจนครบ ขณะทีห่ อ้ งเรียนก็ถกู เติมด้วยนักศึกษาทีเ่ ดินกลับเข ้าไปทีละ คนในแต่ละครัง้ ถามว่าความสูงเฉลีย่ ของนักเรียนทัง้ หมดในห้องจะเปลีย่ นแปลง ไปอย่างไร ค�ำตอบคือ ความสูงเฉลีย่ จะต้องลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากนักศึกษาคน หลังๆ ทีเ่ ดินกลับเข ้าไปจะมีความสูงน้อยกว่านักศึกษาทีอ่ ยู่ในห ้องอยู่แล ้ว แบบกระสวนของค่าความสูงเฉลีย่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปดังทีอ่ ธิบายขา้ งต้น จะ คล ้ายคลึงกับแบบกระสวนการเปลีย่ นแปลงของค่ าเฉลีย่ ต้นทุนการผลิตทีม่ นี ยั ส�ำคัญต่อแบบกระสวนการเปลีย่ นแปลงของราคาในตลาด ส�ำหรับกระบวนการ ผลิตสินค้าหลายชนิดพบว่า ต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยสินค้า หรือ Marginal Cost (ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงต้นทุนการผลิตทีเ่ ป็ นผลจากการผลิตสินค้าเพิม่ ขึ้น อีกหนึ่งหน่วย) มีค่าต�ำ่ กว่าต้นทุนเฉลีย่ ต่อหน่วยสินค้า (เท่ากับต้นทุนทัง้ หมดหาร ด้วยจ�ำนวนหน่วยสินค้าทีผ่ ลิตทัง้ หมด) โครงสร้างของต้นทุนการผลิตลักษณะนี้เป็ น ผลมาจากกระบวนการผลิตสินค้าในขณะนัน้ ๆ อยู่ในขัน้ ตอนทีน่ กั เศรษฐศาสตร์ เชื่อว่ามีประโยชน์จากเศรษฐกิจเชิงขนาด หรือทีเ่ รียกว่า “Economies of Scale” กระบวนการผลิตในขัน้ ตอนนี้ตน้ ทุนการผลิตเฉลีย่ ต่อหน่วยสินค้าจะมีแนวโน้ม ลดลงเมือ่ ขยายปริมาณการผลิตสินค้าเพิม่ ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ถา้ จะอุปมาก็เหมือน กับความสูงเฉลีย่ ของนักศึกษาทีล่ ดลงเรื่อยๆ เมือ่ เพิม่ จ�ำนวนนักศึกษาคนหลังๆ ทีเ่ ดินกลับเข ้าไปในห ้อง ซึง่ จะมีความสูงน้อยกว่านักศึกษาคนก่อนทีก่ ลับเข ้าไป เพือ่ ความอยู่รอดในระยะยาว ผู ้ผลิตต้องขายสินค้าในราคาเฉลีย่ อย่างน้อย ต้องเท่ากับต้นทุนการผลิตเฉลีย่ ต่อหน่วย (เพราะถ ้าขายราคาต�ำ่ กว่าก็จะขาดทุน) แต่บอ่ ยครัง้ ทีม่ กี ารขายสินค้าบางส่วนในราคาตำ� ่ กว่าต้นทุนการผลิตก็ยงั สามารถท�ำ บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

113

ก�ำไรให ้ผู ้ผลิตได้ ตราบเท่าทีก่ ารขาย สินค้า ทีเ่ พิม่ ขึ้นอีกหนึ่งหน่วยสูงกว่าต้นทุน เพิม่ ต่อการผลิตสินค้าหน่วยนัน้ (แม ้อาจต�ำ่ กว่าต้นทุนการผลิตเฉลีย่ ต่อหน่วย) แต่ การขายสินค้าหน่วยต่อๆ ไปให ้ผู ้ซื้อรายอืน่ ๆ จะต้องไม่ลดราคาขายให ้เขา วิธกี ารลดราคาสินค้าทีก่ ล่าวไปแล ้ว เรียกว่า Hurdle Method เป็ นเครื่อง มือของผู ้ผลิตในการจัดการเรือ่ งการลดราคา ในกรณีทก่ี ระบวนการผลิตสินค้าขณะ นัน้ อยู่ในขัน้ ตอนทีเ่ รียกว่า “การได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการผลิตเชิงขนาด” โดยการลดราคาสินค้าให้กับกลุม่ ผู ้ซื้อทีม่ พี ฤติกรรมตอบสนองสูงต่อราคาสินค้าที่ ลดลง แต่ไม่ลดราคาให้กับกลุม่ ผู ้ซื้ออืน่ วิธกี ารเช่นนี้จะช่วยให้ผู ้ผลิตสามารถขยาย ปริมาณการผลิตเพิม่ และส่งผลให ้สามารถลดต้นทุนการผลิตเฉลีย่ ต่อหน่วยได้ การใหบ้ ริการสายการบินระหว่างเมืองคู่ ต่างๆ เชื่อว่าเป็ นกิจการที่ได้ ประโยชน์จากเศรษฐกิจเชิงขนาด โดยค่าเฉลีย่ ต้นทุนการผลิตจะมีแนวโน้มลดลง หากมีจ �ำนวนผู ้โดยสารในเทีย่ วบินมากขึ้น หมายความว่าจะต้องใช้เครื่องบินขนาด ใหญ่ในการบิน สาเหตุทเ่ี ป็ นเช่นนัน้ เพราะต้นทุนเฉลีย่ ต่อทีน่ งั ่ ผู ้โดยสารของเครื่อง บินขนาดใหญ่ทใ่ี ช้บนิ ภายในประเทศจะตำ� ่ กว่าต้นทุนเฉลีย่ ของเครื่องบินขนาดเล็ก กว่า ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ พบว่าต้นทุนเฉลีย่ ต่อทีน่ งั ่ ผูโ้ ดยสารของเครื่องบิน โบอิ้ง 737–900ER ขนาด 180 ทีน่ งั ่ ต�ำ่ กว่าต้นทุนเฉลีย่ ต่อทีน่ งั ่ ผู ้โดยสารของเครื่อง บินโบอิ้ง 737–600 ขนาด 110 ทีน่ งั ่ ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ อีกสาเหตุหนึ่งทีท่ �ำให้ ทีน่ งั ่ ผู ้โดยสารของเครื่องบินขนาดใหญ่มตี น้ ทุนเฉลีย่ ต�ำ่ เกิดจากต้นทุนส่วนใหญ่ ในการบินเทีย่ วหนึ่งๆ จะเป็ นต้นทุนคงที่ ซึง่ ไม่ว่าจะมีจ �ำนวนผู ้โดยสารในเทีย่ วบิน มากน้อยเพียงใดก็ไม่สามารถเปลีย่ นแปลงค่าใช้จ่ายคงทีด่ งั กล่าวได้ (ค่าใช้จ่าย คงที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายบุคลากรทีใ่ ช้ในการเช็กอินผู ้โดยสาร ค่าโสหุย้ (Overhead) เกี่ยวกับการขึ้นและลงของเครื่องบิน ฯลฯ) ดังนัน้ ยิง่ มีจ �ำนวนผู ้โดยสารในแต่ละ เที่ยวบินมากเท่าไร ก็ย่งิ จะช่วยเฉลีย่ ค่ าใช้จ่ายคงที่เหล่านี้ได้ และส่งผลใหค้ ่ า ใช้จ่ายเฉลีย่ ต่อผู ้โดยสารลดลง

114

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การลดราคาตัวเครื ๋ ่องบินโดยสารช่วยให ้สายการบินสามารถดึงดูดจ�ำนวน ผู ้โดยสารให้เดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้น และมาตรการหนึ่งทีท่ ราบกันทัวไปว่ ่ ามี ประสิทธิภาพมาก ได้แก่ การขายตัวเครื ๋ ่องบินราคาถูก ภายใต้เงือ่ นไขว่า ผู ้โดยสาร ต้องพักค้างคืนในวันเสาร์ ซึง่ เป็ นรายการโปรโมชันของสายการบิ ่ นทีพ่ บบ่อยมากใน สหรัฐฯ แล ้วตรรกะทีร่ ูก้ นั มานานโดยผู ้บริหารสายการบินก็คอื ผู ้โดยสารทีเ่ ป็ นนัก ธุรกิจจะมีพฤติกรรมตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาตัวเครื ๋ ่องบินน้อยกว่า ผู ้โดยสารทีเ่ ป็ นนักท่องเทีย่ ว และนักธุรกิจส่วนใหญ่มกั ต้องการใช้เวลาในวันหยุด เสาร์–อาทิตย์พกั ผ่อนอยู่กบั ครอบครัวมากกว่า ส�ำหรับผู ้โดยสารทีเ่ ป็ นนักท่องเทีย่ ว เกือบทัง้ หมด จะชอบเลือกเวลาเดินทางโดยเครื่องบินทีต่ อ้ งคาบเกี่ยวกับวันหยุด สุดสัปดาห์อย่างเสาร์–อาทิตย์ ด้วยเหตุน้ ี กลยุทธ์การตลาดทีเ่ น้นใช้มาตรการลด ราคาตัวเครื ๋ ่องบินด้วยเงือ่ นไขการพักค้างคืนในวันเสาร์ จึงเรียกได้วา่ ส่งผลต่อการ เพิม่ ยอดขายตัวเครื ๋ อ่ งบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่กเ็ ต็มใจ ปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไขและใช้ประโยชน์จากโปรแกรมโปรโมชันดั ่ งกล่าวจ�ำนวนมาก ใน ขณะทีน่ กั ธุรกิจจ�ำนวนน้อยทีจ่ ะใช้ประโยชน์จากโปรแกรมโปรโมชัน่ นี้ นักธุรกิจมักแสดงความรูส้ กึ ไม่พอใจ เมือ่ ทราบว่าตัวเองต้องจ่ายค่าตัว๋ เครื่องบินแพงกว่าผูโ้ ดยสารทีเ่ ป็ นนักท่องเทีย่ วซึง่ นัง่ ติดกับตนแต่กลับจ่ายค่าตัว๋ ถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ข ้อเท็จจริงส�ำหรับความสามารถของสายการบินในการหา รายได้เพิม่ ตามมาตรการลดราคาค่าตัว๋ ผนวกกับเงือ่ นไขการพักค้างแรมวันเสาร์ ยังรวมไปถึงรายได้บางส่วนจากผูโ้ ดยสารทีเ่ ป็ นนักธุรกิจทีใ่ ช้โปรแกรมโปรโมชัน่ ดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในตลาดการเดินทางโดยทางอากาศ การจัดตารางเทีย่ วบินทีเ่ อื้ออ�ำนวยและ สนองต่อความต้องการของผู ้โดยสารนับเป็ นหัวใจส�ำคัญสูงสุด โดยเฉพาะกับการ เดินทางของนักธุรกิจ นัน่ คือ จะต้องมีจ �ำนวนเทีย่ วบินในแต่ละวันมากพอสมควร เพือ่ รองรับต่อความต้องการเดินทาง อย่างไรก็ตาม ข ้อเท็จจริงทีพ่ บคือ ตลาดการ บินระหว่างสองเมืองจะมีจ �ำนวนผู ้โดยสารทีใ่ ช้บริการค่อนข ้างน้อย ในกรณีเช่นนี้

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

115

ถ ้าจะใหส้ ายการบินเพิม่ จ�ำนวนเทีย่ วบินและอยู่รอดทางธุรกิจได้ ก็ตอ้ งใช้เครื่อง บินขนาดเล็ก ซึง่ มีตน้ ทุนเฉลีย่ ต่อทีน่ งั ่ สูงกว่าเท่านัน้ (ซึง่ ราคาตัวจะสู ๋ งตามไปด้วย) ส่วนนักท่องเทีย่ วเพือ่ การพักผ่อนส่วนใหญ่จะเต็มใจยอมสละความสะดวกทีไ่ ด้รบั จากการมีเทีย่ วบินจ�ำนวนมากเพือ่ แลกกับการซื้อตัวเครื ๋ อ่ งบินได้ในราคาถูกลง ซึง่ จะ เป็ นไปได้ทางธุรกิจก็ต่อเมือ่ สายการบินใช้เครื่องบินขนาดใหญ่บรรทุกผู ้โดยสารได้ เป็ นจ�ำนวนมากเพือ่ ให้ต้นทุนเฉลีย่ ต่อทีน่ งั ่ ทีถ่ กู ลง และบินวันละไม่กเ่ี ทีย่ วบินเท่านัน้ จากการทีม่ โี ปรแกรมโปรโมชันตั ่ วเครื ๋ ่องบินโดยสารราคาถูกส�ำหรับนักท่อง เทีย่ วทีต่ อ้ งพักค้างคืนในวันเสาร์ดงั อธิบายไปแล ้ว ทัง้ นักท่องเทีย่ วและนักธุรกิจ ทีต่ อ้ งเดินทางโดยเครื่องบินต่างได้รบั ประโยชน์ดขี ้นึ กว่าเดิมเมือ่ เปรียบเทียบกับ ตอนที่ไม่มโี ปรแกรมนี้ โดยผูโ้ ดยสารทัง้ สองประเภทต้องซื้อตัวในราคาเท่ ๋ ากัน ซึง่ โปรแกรมกระตุน้ การขายนี้จะเขา้ มาช่วยใหส้ ายการบินสามารถเพิม่ จ�ำนวนนัก ท่องเที่ยวเพือ่ ไปพักผ่อนมากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ท�ำใหส้ ามารถใช้เครื่องบิน โดยสารขนาดใหญ่ข้นึ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ผลจากการประหยัดต้นทุน ทีไ่ ด้ ท�ำใหส้ ามารถลดราคาตัวเครื ๋ ่องบินในส่วนทีต่ อ้ งเพิม่ ขึ้นเพือ่ สนับสนุ นการ เพิม่ เทีย่ วบิน สะดวกแก่การเดินทางของนักธุรกิจ ในเวลาเดียวกัน ผูโ้ ดยสารที่ เป็ นนักท่องเทีย่ วก็จะได้รบั ประโยชน์ในความสะดวกสบายนี้จากการมีจ �ำนวนเทีย่ ว บินทีม่ ากขึ้นแต่จ่ายค่าตัวเครื ๋ ่องบินในราคาต�ำ่ เช่นเดียวกันกับทีเ่ คยจ่ายให ้กับการ เดินทางโดยเครื่องจัมโบเจ็ตเหมาล�ำ มันเป็ นการยุตธิ รรมหรือไม่ทน่ี กั ธุรกิจต้องซื้อตัวเครื ๋ ่องบินในราคาแพงขึ้น เพราะไม่สามารถท�ำตามเงือ่ นไขการพักค้างคืนวันเสาร์ส �ำหรับการซื้อตัวราคาถู ๋ ก ถ ้า นักธุรกิจไม่เรียกร้องในเรื่องการเพิม่ เทีย่ วบิน สายการบินก็สามารถใช้เครื่องบินทีม่ ี ขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพมากกว่าทีเ่ ป็ นอยู่ ก็จะช่วยให้นักธุรกิจจ่ายค่าตัวถู ๋ ก ลงได้ ส�ำหรับนักธุรกิจทีจ่ ่ายราคาตัวแพงขึ ๋ ้น อย่างน้อยก็สะท ้อนให ้เห็นถึงต้นทุน ต่อผูโ้ ดยสารทีส่ ูงขึ้น สืบเนื่องมาจากการใช้เครื่องบินขนาดเล็กทีต่ อ้ งน�ำมาสนอง ความต้องการส�ำหรับการเดินทางบ่อยครัง้ ของนักธุรกิจ

116

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แน่นอนว่ากลยุทธ์การลดราคาตัวเครื ๋ ่องบินทีอ่ ธิบายไปแล ้ว มิได้แบ่งสรร ต้นทุนของสายการบินเอาไว ้อย่างเสมอภาค ตัวอย่างเช่น ผู ้โดยสารบางคนทีต่ อ้ งการ เดินทางท่องเทีย่ วบ่อยๆ ไม่เฉพาะแค่วนั หยุดสุดสัปดาห์เท่านัน้ ซึง่ สามารถจ่ายค่า ตัวเครื ๋ ่องบินทีแ่ พงขึ้นได้ แต่เขาก็หลีกเลีย่ งทีจ่ ะท�ำเช่นนัน้ เนื่องจากเขาสามารถท�ำ ตามเงือ่ นไขพักค้างคืนในวันเสาร์ของโปรแกรมโปรโมชัน่ ได้ หรือนักธุรกิจบางคน อาจยอมอดทนต่อการมีเทีย่ วบินเพือ่ ให้บริการน้อย โดยใช้บริการตัวเครื ๋ อ่ งบินราคา ถูกของโปรแกรมโปรโมชัน่ ซึง่ บินได้เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านัน้ ส�ำหรับตัวอย่างต่อไป จะแสดงกลยุทธ์ราคาทีช่ ่วยให ้ผู ้ผลิตและผู ้บริโภค สามารถประหยัดต้นทุน อันเนื่องมาจากการใช้เศรษฐกิจเชิงขนาด

ท�ำไมผู้ค้าปลีกจึงชอบขายสินค้ าลดราคาที่เป็ นเครื่ องใช้ ไฟฟ้ามีตำ� หนิ เช่ น ตู้เย็น เตาไฟฟ้า เครื่ องซักผ้ า การขนส่งสินค้าเครื่องใช้ภายในบ ้านและอุปกรณ์ไฟฟ้ าจากโรงงานสู่ผูค้ า้ ปลีกนัน้ เป็ นเรื่องปกติทจ่ี ะต้องมีสนิ ค้าจ�ำนวนหนึ่งเสียหายอันเนื่องมาจากการขนส่ง แทนที่ ผูค้ า้ ปลีกจะส่งสินค้ากลับไปยังโรงงานเพือ่ การซ่อมแซมปรับปรุง กลับกลายเป็ น ว่าเขาจะน�ำสินค้าทีม่ กี ารช�ำรุดเล็กน้อยเหล่านัน้ มาขายลดราคา ส�ำหรับพฤติกรรม ของผู ้ค้าปลีกในการน�ำสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ าทีม่ ตี �ำหนิ เช่น ตูเ้ ย็น เตาไฟฟ้ า เครื่อง ซักผ ้า ฯลฯ มาขายเลหลัง ได้มกี ารปฏิบตั กิ นั มาอย่างกว ้างขวาง เพราะช่วยขยาย ยอดขายของสินค้าได้ดี จนกระทังมี ่ การเล่าลือในวงการค้าว่า ในช่วงไม่ก่วี นั ก่อน ถึงเทศกาลลดราคาเครื่องใช้ภายในบ ้าน เจ้าของกิจการค้าปลีกบางแห่งจะสังให ่ ้ ลูกน้องตอกทุบ ท�ำรอยบุบ หรือท�ำใหเ้ ห็นว่าเสียหายเพียงเล็กน้อยบริเวณด้าน ข ้างของสินค้าเครื่องใช้อปุ กรณ์ไฟฟ้ าทีไ่ ร้ต �ำหนิเพือ่ จะได้น�ำมาขายลดราคา ค�ำพูด เหล่านี้อาจเป็ นเพียงเรื่องทีเ่ ล่าต่อๆ กันมาโดยไม่มพี ้นื ฐานของความจริง หรือมัน อาจเป็ นกลยุทธ์ทางการค้าของเจ้าของกิจการค้าปลีก ซึง่ ตัง้ ใจท�ำให ้สินค้าเสียหาย บางส่วนเพือ่ มุง่ แสวงหาก�ำไร

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

117

ในเทศกาลขายสิ นค้าลดราคา ทีเ่ ป็ นอุปกรณ์ เครื ่องใช้ในบ้าน ทีม่ ี ต�ำหนิ มักจะมี สินค้าจ� ำนวนจ� ำกัดเสมอ

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

เป้ าหมายการขายสินค้าลดราคาก็เพือ่ เป็ นสิง่ ล่อใจให้ลูกค้าทีพ่ อมีศกั ยภาพ การซื้อแต่กจ็ ะไม่ค่อยซื้อหากขายในราคาตามป้ าย ทัง้ นี้ผู ้ค้าก็มกี ลยุทธ์งา่ ยๆ คือ จะต้องท�ำใหล้ ูกค้าเขา้ ใจว่าสินค้ามีต �ำหนิทน่ี �ำมาขายในราคาลดมีเพียงไม่ก่ีชนิด เท่านัน้ มีทางเป็ นไปได้ทผ่ี ู ้ค้าปลีกเครื่องใช้ในครัวเรือนได้คน้ พบกลยุทธ์การขายนี้ โดยบังเอิญ ท�ำให ้สามารถแยกกลุม่ ลูกค้าเป้ าหมายเพือ่ ขยายยอดขายได้ อย่างไร ก็ตาม เพือ่ ให ้สามารถเข ้าร่วมใช้ประโยชน์จากการลดราคาส�ำหรับกลยุทธ์การขาย สินค้ามีต �ำหนิของผู ้ค้าปลีก ผู ้ซื้อเองจะต้องก้าวข ้ามเครื่องกีดขวางทีเ่ ป็ นอุปสรรค 3 ประการดังนี้ ประการแรก ผู ้ซื้อจะต้องรูก้ ่อนว่า เทศกาลขายสินค้าลดราคาดัง กล่าวจะจัดขึ้นทีไ่ หนและเมือ่ ไร ประการทีส่ อง ผู ้ซื้อจะต้องเคลียร์งานอืน่ ๆ เพือ่ ท�ำตัวให้ว่าง สามารถเดินทางไปช็อปปิ้ งสินค้าลดราคาทีข่ ายดังกล่าวได้ และประการ ทีส่ าม ผู ้ซื้อจะต้องท�ำใจไว ้ก่อนว่า สินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ านัน้ มีต �ำหนิ เพียงเล็กน้อย (เช่น มีรอยแตก รอยร้าว หรือรอยบุบ) แม ้ว่ารอยต�ำหนิจะอยู่ดา้ น หลังของตัวสินค้า หรืออาจมองไม่เห็นเมือ่ ติดตัง้ กับฝาผนังก็ตาม ส�ำหรับลูกค้าที่ พอมีอนั จะกินแล ้วอาจไม่สนใจทีจ่ ะก้าวข ้ามแม ้เพียงอุปสรรคเดียว แต่ส �ำหรับผู ้ซื้อ

118

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ทีไ่ วต่อการสนองตอบต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาแล ้ว อุปสรรคทัง้ 3 ประการนี้ เป็ นเรื่องเล็กน้อยมากส�ำหรับเขา ซึง่ เป็ นสิง่ ทีผ่ ู ้ค้าปลีกนัน้ รูด้ ี จากเหตุผลทีก่ ล่าวมาแล ้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกทีอ่ าจมีบางคนจินตนาการ ไปไกลว่า ผูค้ า้ ปลีกบางรายทีม่ เี ครื่องใช้ไฟฟ้ ามีต �ำหนิอยู่ในมือเพียงไม่ก่ชี ้ นิ อาจ มองเห็นโอกาสของการเพิม่ ยอดขายและก�ำไร จึงส่งลูกน้องไปท�ำความเสียหาย เล็กน้อยกับสินค้าปกติทม่ี อี ยู่เพือ่ น�ำมาขายลดในเทศกาลลดราคา จะได้กระตุน้ การขายทีต่ วั เองจัดขึ้น กลยุทธ์การขายนี้อาจส่งผลช่วยขยายยอดขายของเครื่อง ใช้อปุ กรณ์ไฟฟ้ าในครัวเรือนโดยรวมได้ดว้ ย และเนื่องจากต้นทุนเฉลีย่ ต่อหน่วย สินค้าโดยรวมลดลง ท�ำให้ต้นทุนค่าเก็บสต็อกสินค้าลดลง ผลทีม่ ตี ามมาคือ ความ เป็ นไปได้ทผ่ี ู ้ค้าปลีกอาจลดราคาสินค้าทีข่ ายปกติทวไปส�ำหรั ั่ บผู ้ซื้อทุกคนด้วย

เพราะเหตุใด บริษทั แอปเปิ ลคอมพิวเตอร์ จงึ จ�ำหน่ ายเครื่องคอมพิวเตอร์ แล็ปทอปสีดำ� ในราคาสูงกว่ าสีขาวถึง 120 ปอนด์ (กรณีศกึ ษาของ คริส แฟรงก์ ) เมือ่ เดือนพฤศจิกายน ปี 2007 ในเว็บไซต์ของบริษทั แอปเปิ ลเสนอราคาขายเครื่อง คอมพิวเตอร์ร่นุ มาตรฐานขนาด 13 นิ้ว 2.2 เมกะเฮิรตซ์ รุ่นแมคบุค๊ ตัวเคสพลาสติก สีขาวในราคา 829 ปอนด์ ในขณะทีเ่ ครื่องรุ่นขนาดและสมรรถนะเดียวกัน แต่เคส เป็ นพลาสติกสีด �ำขายในราคาสูงกว่าคือ 949 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม เมือ่ พิจารณา ในรายละเอียดพบว่าเครื่องสีด �ำบรรจุฮาร์ดไดรฟ์ ขนาด 160 กิกะไบต์ ซึง่ มากกว่า เครื่องสีขาวอยู่ 40 กิกะไบต์ เป็ นธรรมดาของเครื่องทีม่ สี มรรถนะสูงกว่าควรต้อง มีราคาแพงกว่า แต่เรื่องมิได้มเี พียงเท่านี้ เนื่องจากพิจารณาลงไปในรายละเอียด พบว่าเครื่องสีขาวทีม่ ฮี าร์ดไดรฟ์ ขนาด 160 กิกะไบต์ก็มจี �ำหน่ายเช่นกัน และมี ราคาสูงขึ้นเพียง 50 ปอนด์เท่านัน้ จึงเป็ นประเด็นทีน่ ่าแปลกใจว่าท�ำไมจึงเป็ นเช่น นัน้ ท�ำไมเครือ่ งแล็ปทอปสีดำ� ของแอปเปิ ลจึงมีราคาแพงกว่าเครือ่ งแบบเดียวกันที ่ มีสขี าวถึง 70 ปอนด์

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

119

การตัดสินใจเรื่องการตัง้ ราคาของแอปเปิ ลครัง้ นี้ได้รบั อิทธิพลมาจาก ประสบการณ์ทบ่ี ริษทั ได้รบั จากการขายเครื่อง iPod รุ่นยอดนิยมในปี 2005 บริษทั ตัง้ ราคาขายเท่ากันส�ำหรับสีด �ำและสีขาว ซึง่ มีสมรรถนะเดียวกันทุกประการ แต่ ผลปรากฏว่าเครื่อง iPod สีด �ำขายหมดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน ในขณะที่ เครื่องสีขาวยังคงค้างในสต็อกจ�ำนวนมาก และยังมีผู ้สังจองเครื ่ ่องสีด �ำก็รอสินค้า อยู่อกี ด้วย ท�ำใหแ้ อปเปิ ลได้เรียนรูว้ า่ การตัง้ ราคาสินค้าเท่ากันทัง้ สองรุ่นเสมือน เป็ นการ “วางเงินสดทิ้งเปล่าๆ ไว ้บนโต๊ะ” ตามทีอ่ ธิบายในบทก่อนหน้าแล ้ว มา คราวนี้ส �ำหรับการขายเครื่องแล็ปทอปรุ่นแมคบุค๊ บริษทั จึงไม่ยอมสูญเสียโอกาส การเพิม่ ก�ำไรอีก จึงได้ตงั้ ราคาขายเครื่องแล็ปทอปรุ่นแมคบุค๊ สีด �ำในราคาทีส่ ูงกว่า เพราะแน่ใจว่าสามารถขายได้ มันเป็ นการยุตธิ รรมต่อผู ้บริโภคหรือไม่ทม่ี กี ารบวกราคาขายเครือ่ งแล็ปทอป รุ่นแมคบุค๊ สีด �ำเพิม่ เช่นเดียวกับต้นทุนเฉลีย่ ต่อหน่วยทีน่ งั ่ ผู ้โดยสารบนเครือ่ งบิน ทีอ่ ธิบายในหัวขอ้ ก่อนหน้านี้ ต้นทุนเฉลีย่ ต่อหน่ วยเครื่องแล็ปทอปทีผ่ ลิตจะมี แนวโน้มลดลงเมือ่ มีการขยายการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จ �ำนวนมากขึ้น สาเหตุ ทีน่ �ำไปสู่แนวโน้มดังกล่าวส่วนใหญ่มที ม่ี าจากต้นทุนคงที่ โดยเฉพาะต้นทุนด้าน การวิจยั และพัฒนาของบริษทั จะไม่เปลีย่ นแปลงไปตามขนาดก�ำลังผลิต ยิง่ ผลิต มาก ต้นทุนคงทีเ่ ฉลีย่ ต่อหน่วยยิง่ ลดลง ส่งผลให้ต้นทุนรวมเฉลีย่ ต่อหน่วยลดลง ดังนัน้ บริษทั จะมีก �ำไรเพิม่ ทุกขณะ ถ ้าสามารถขายเครื่องคอมพิวเตอร์เพิม่ 1 ตัว แม ้จะเป็ นราคาทีต่ ำ� ่ กว่าต้นทุนรวมเฉลีย่ ต่อหน่วย แต่กต็ อ้ งสูงกว่าต้นทุนผันแปร เฉลีย่ ต่อหน่วยและต้นทุนการผลิตเพิม่ ต่อหน่วย ดังทีเ่ คยอธิบายแล ้ว อย่างไร ก็ตาม เพือ่ ให ้มีรายได้คุม้ กับต้นทุนการผลิตทัง้ หมด รวมถึงต้นทุนคงทีด่ า้ นการ วิจยั และพัฒนาด้วย บริษทั จ�ำเป็ นต้องขายเครื่องแล็ปทอปจ�ำนวนหนึ่งในราคาที่ สูงกว่าต้นทุนการผลิตรวมเฉลีย่ ต่อหน่วยด้วยเช่นกัน โดยหลักแห่งความเป็ นธรรม ผูท้ ส่ี นใจและต้องการทดลองใช้ของแปลก ใหม่ทเ่ี ป็ นผลผลิตจากงานวิจยั และพัฒนา ควรจะต้องมีส่วนร่วมกับภาระต้นทุน

120

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ค่าใช้จ่ายโดยยอมจ่ายค่าสินค้าในราคาแพงขึ้นบ ้าง จากการศึกษาพบว่า ผู ้บริโภค ทีต่ อบสนองน้อยทีส่ ุดต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาส่วนใหญ่จะเป็ นกลุม่ ผู ้บริโภค ทีเ่ ต็มใจยอมจ่ายให ้กับสิง่ ประดิษฐ์ทเ่ี ป็ นนวัตกรรมใหม่ลา่ สุด แม ้ผลจากงานวิจยั และพัฒนาจะเป็ นประโยชน์ต่อผู ้บริโภคทุกคนก็จริง แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่จะตก อยู่กบั คนทีเ่ ต็มใจยอมจ่ายให ้กับการค้นพบใหม่นนั้ มากกว่า การบวกราคาเครื่อง แล็ปทอปรุ่นแมคบุค๊ สีด �ำ จึงเป็ นเครื่องมือหนึ่งทีส่ ามารถใช้ในการแยกกลุม่ ลูกค้า ทีเ่ ต็มใจยอมจ่ายใหก้ บั เทคโนโลยีทนั สมัยและต้องการใช้มนั บนพื้นฐานของหลัก การและเหตุผลดังกล่าว ผู ้ซื้อแล็ปทอปรุ่นใหม่ในราคาแพงขึ้นจึงอาจไม่มสี ทิ ธิ์บน่ อะไรมากนัก

เพราะเหตุใด ราคาตั๋วชมคอนเสิร์ตจึงถูกลงเป็ นอย่ างมาก เมื่อคุณซือ้ ตั๋วชุด (กรณีศกึ ษาของ ไมเคิล ลิ) วงดนตรีออเคสตร้าทีม่ ชี ่อื เสียงอย่างวงลอนดอนฟิ ลฮาร์โมนิก ขายตัวให ๋ ้ผู ้เข ้าชม การแสดงทัง้ แบบรายการเดียวและแบบการแสดงต่อเนื่องเป็ นชุด ส�ำหรับการซื้อ ตัวชมการแสดงแบบชุ ๋ ดจะได้ส่วนลด 30 เปอร์เซ็นต์ของราคาค่าชมแบบรายการ เดียว คุณคิดว่าเพราะเหตุใด ราคาตัวชมคอนเสิ ๋ รต์ จึงถูกลงเป็ นอย่างมากเมือ่ คุณซื้อเป็ นตัวชุ ๋ ด การตัง้ ราคารูปแบบนี้ช่วยใหเ้ จ้าของวงดนตรีสามารถกระจายต้นทุนคงที่ ของการแสดงแต่ละรายการให้ครอบคลุมผู ้เข ้าชมได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น สมมติวา่ วงลอนดอนฟิ ลฮาร์โมนิกเปิ ดขายตัวชุ ๋ ดการแสดงดนตรี ประกอบด้วย 2 รายการ รายการแรกเป็ นการบรรเลงดนตรีโดย แบร์ลโี ยซ และ ไชคอฟสกี้ รายการที่ 2 โดย เบอร์ตอ๊ ก และ สตาร์เวนสกี้ สมมติต่อไปว่า ถ ้าผูช้ มชุดการแสดงทัง้ สอง รายการนี้ประกอบด้วยบุคคล 4 กลุม่ และแต่ละกลุม่ มีจ �ำนวนคนเท่ากัน กลุม่ ที่ 1 ประกอบด้วยสมาชิกทีค่ ลังไคล ่ ้เพลงในยุคโรแมนติก แต่ละคนจึงเต็มใจยอม จ่ายค่าตัวดู ๋ การแสดงรายการแรกสูงถึง 40 ปอนด์ และจ่าย 20 ปอนด์ส �ำหรับการ แสดงรายการหลัง กลุม่ ที่ 2 ชอบเพลงนีโอคลาสสิก แต่ละคนในกลุม่ เต็มใจยอม บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

121

จ่ายค่าตัวชมการแสดงรายการแรก ๋ 20 ปอนด์ และจ่าย 40 ปอนด์ส �ำหรับรายการ หลัง กลุม่ ที่ 3 เป็ นแฟนเพลงของไชคอฟสกี้ แต่ละคนจะเต็มใจยอมจ่ายสูงถึง 45 ปอนด์ส �ำหรับรายการแรก และจ่ายเพียง 5 ปอนด์ส �ำหรับรายการหลัง และกลุม่ ที่ 4 เป็ นแฟนเพลงผู ้คลังไคล ่ ้สตาร์เวนสกี้ เต็มใจจ่ายสูงถึง 45 ปอนด์ส �ำหรับการ แสดงรายการทีส่ อง แต่จ่ายเพียง 5 ปอนด์ส �ำหรับรายการแรก จากข ้อสมมติทก่ี �ำหนด เกี่ยวกับมูลค่าความพึงพอใจทีผ่ ู ้เข ้าชมการแสดง จะได้รบั โดยวัดในรูปความเต็มใจจ่ายค่าตัวส�ำหรั ๋ บการแสดงทัง้ สองรายการ ถ ้า วงดนตรีลอนดอนฟิ ลฮาร์โมนิกจ�ำเป็ นต้องขายตัวการแสดงแยกแต่ ๋ ละรายการ การตัง้ ราคาค่าชมทีด่ ที ส่ี ุดคือ 40 ปอนด์เท่ากันทัง้ สองรายการ และ ณ ราคาค่าตัว๋ ดังกล่าว แฟนเพลงทีช่ อบฟังเพลงแนวโรแมนติกและแฟนเพลงของไชคอฟสกี้ เท่านัน้ ทีจ่ ะซื้อตัวเข ๋ ้าชมการแสดงคอนเสิรต์ รายการแรก ส่วนแฟนเพลงแนวนีโอ คลาสสิก อีกทัง้ แฟนเพลงของสตาร์เวนสกี้จะเข ้าชมการแสดงคอนเสิรต์ รายการที่ สอง ถ ้าแต่ละกลุม่ มีสมาชิกจ�ำนวน 100 คนเท่ากัน แต่ละการแสดงจะมีผู ้เข ้าชม ๋ ้าชมทีไ่ ด้รบั คือ 16,000 ปอนด์ จ�ำนวนทัง้ สิ้น 200 คน และรายได้รวมจากค่าตัวเข สมมติว่าเจ้าของวงลอนดอนฟิ ลฮาร์โมนิกตัดสินใจขายตัวชุ ๋ ด ซึ่งผูซ้ ้ อื สามารถเข ้าชมการแสดงได้ทงั้ สองรายการ โดยการตัง้ ราคาตัวดั ๋ งนี้ ถ ้าดูการแสดง รายการเดียวต้องจ่ายค่าตัวรายการละ ๋ 45 ปอนด์ (แพงกว่าเดิมรายการละ 5 ปอนด์) แต่ถ ้าซื้อตัวชุ ๋ ดจ่ายค่าตัวรายการละ ๋ 30 ปอนด์ (ถูกกว่าเดิมรายการละ 10 ปอนด์) ภายใต้ข ้อเสนอนี้แฟนเพลงของไชคอฟสกี้จะซื้อตัวเข ๋ า้ ชมคอนเสิรต์ รายการแรก เท่านัน้ และแฟนเพลงของสตาร์เวนสกี้ยงั เข ้าชมเฉพาะการแสดงคอนเสิรต์ รายการ ทีส่ องเท่านัน้ เช่นกัน ซึง่ เหมือนเดิมทุกประการ แต่ในขณะทีแ่ ฟนเพลงแนวโรแมน ติกและแนวนีโอคลาสสิกจะชมคอนเสิรต์ รายการเดียวทีต่ นชืน่ ชอบเท่านัน้ ส�ำหรับ กรณีทผ่ี ู ้จัดแยกขายตัวต่ ๋ างหากแต่ละรายการ แต่ถา้ ขายตัวชุ ๋ ด สมาชิกของทัง้ สอง กลุม่ จะชมการแสดงทัง้ สองคอนเสิรต์ ดังนัน้ แม ้ว่าแฟนเพลงแนวโรแมนติกจะจ่าย ค่าตัวน้ ๋ อยลง 10 ปอนด์ส �ำหรับคอนเสิรต์ แรก แต่การเข ้าชมคอนเสิรต์ รายการที่

122

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

สองด้วยจะท�ำให ้ผู ้จัดได้รบั รายได้สุทธิเท่ากับ 20 ปอนด์ ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน แม ้ว่าแฟนเพลงแนวนีโอคลาสสิกจ่ายค่าตัวน้ ๋ อยลง 10 ปอนด์ส �ำหรับคอนเสิรต์ ที่สอง แต่การเขา้ ชมคอนเสิรต์ รายการแรกด้วยจะท�ำใหผ้ ูจ้ ดั ได้รบั รายได้สุทธิ เท่ากับ 20 ปอนด์ วงดนตรีส่วนใหญ่ตอ้ งต่อสูด้ ้ นิ รนกับการหารายได้จากค่ าตัวให ๋ เ้ พียงพอ และใหค้ ุม้ พอชดเชยค่าใช้จ่ายการแสดงแต่ละรายการ การขายตัวชุ ๋ ดจึงเป็ นวิธี การหนึ่งทีช่ ่วยแก้ปญ ั หารายได้จากค่าชม ถ ้าสมมติให ้แต่ละกลุม่ มีสมาชิกกลุม่ ละ 100 คนเหมือนเดิม คราวนี้วงลอนดอนฟิ ลฮาร์โมนิกจะเก็บค่าชมได้รวม 24,000 ปอนด์ ซึง่ มากกว่าเดิมถึง 8,000 ปอนด์ และนี่คอื ทีม่ าของตรรกะการขายตัวแบบชุ ๋ ด

เพราะเหตุใด สายการบินจึงขายตั๋วแพงขึน้ หากซือ้ ตั๋วในชั่วโมงสุดท้ าย ก่ อนเวลาบิน ในขณะที่โรงละครในลอนดอนปฏิบตั ใิ นทางตรงกันข้ าม (กรณีศกึ ษาของ การาซิมอส แอฟทิเมียตอส) แฟนละครทีซ่ ้อื ตัวชมละครรอบบ่ ๋ ายทีโ่ รงละครแถบแลงเชสเตอร์สแควร์ ในลอนดอน จะจ่ายค่าตัวในราคาเพี ๋ ยงครึง่ ของราคาปกติทแ่ี สดงในรอบเย็น ในขณะเดียวกัน ถ ้า คุณซื้อตัวเครื ๋ ่องบินในวันเดียวกับทีเ่ ดินทาง คุณคาดไว ้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะต้อง จ่ายค่าตัวเครื ๋ ่องบินแพงกว่าปกติ บางครัง้ อาจแพงขึ้นเท่าตัว ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ มีปจั จัยใดอธิบายความแตกต่างของราคา หากทีน่ งั ่ ผูโ้ ดยสารบนเครื่องบินว่างเมือ่ เครื่องบินออกแล ้ว หรือทีน่ งั ่ ใน โรงละครว่างเมือ่ ม่านบนเวทีเปิ ดฉากแสดงแล ้ว นัน่ หมายถึงการสูญเสียรายได้ไป โดยถาวรของเจ้าของธุรกิจ ทัง้ สองธุรกิจเผชิญสิง่ จูงใจเดียวกันคือ ต้องพยายาม อย่างทีส่ ุดเพือ่ เติมทีน่ งั ่ ใหเ้ ต็ม แต่การเติมทีน่ งั ่ โดยแลกกับค่ าตัวที ๋ ล่ ดลง มีผล เท่ากับการสูญเสียโอกาสทางรายได้จากผู ้บริโภคทีม่ คี วามสามารถและเต็มใจจ่าย ค่าตัวในราคาเต็ ๋ ม ด้วยเหตุน้ ี วิธปี ฏิบตั ทิ ใ่ี ช้เสมอคือ พยายามเติมทีน่ งั ่ ให ้เต็มมาก ทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะท�ำได้โดยไม่ลดราคา

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

123

ผูบ้ ริ โภคทีม่ ี ค่าเสียโอกาสของเวลาสูง มี แนวโน้มจะไม่เข้าคิ วเพือ่ ซื ้อตัว๋ ราคาถูก

SS

ภาพโดย : เจน มารี โซบริ โต

ผู บ้ ริหารธุ รกิจสายการบินรู ม้ านานแลว้ ว่า ผู โ้ ดยสารที่เป็ นนักธุ รกิจมี แนวโน้มชอบเปลีย่ นแปลงเที่ยวบินในนาทีสุดทา้ ยมากกว่าผูโ้ ดยสารที่เป็ นนัก ท่องเทีย่ ว และการเปลีย่ นแปลงของราคาไม่ได้เป็ นปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจ เดินทางของนักธุรกิจมากเท่ากับนักท่องเทีย่ ว ด้วยเหตุดงั กล่าว กลยุทธ์การตัง้ ราคาของสายการบินจึงจะขายตัวเต็ ๋ มราคาแก่ผูโ้ ดยสารทีจ่ องตัวเดิ ๋ นทางในนาที สุดท ้าย (ซึง่ ส่วนใหญ่มกั จะเป็ นนักธุรกิจ) ในขณะทีจ่ ะขายตัวในราคาลดให ๋ ้กับผู ้ ทีจ่ องตัวเดิ ๋ นทางไว ้ล่วงหน้า (ส่วนใหญ่คอื นักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางเพือ่ การพักผ่อน) ดุลยภาพแห่งอุปสงค์และอุปทานของธุรกิจโรงละครมีสง่ิ ทีเ่ หมือนกันกับ ธุ รกิจสายการบินคือ ผูซ้ ้ อื บริการที่มรี ะดับรายได้สูงจะมีพฤติกรรมตอบสนอง ต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาตัวชมละครน้ ๋ อยกว่าผูซ้ ้ อื บริการทีม่ รี ะดับรายได้ตำ� ่ แต่สง่ิ ทีแ่ ตกต่างกันของสองธุรกิจคือ ผูซ้ ้ อื บริการทีม่ รี ายได้สูงจะไม่มกี ารซื้อตัว๋

124

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ชมละครในนาทีสุดท ้ายแบบนักธุรกิจทีจ่ องตัวเครื ๋ ่องบินในนาทีสุดทา้ ย ซึง่ การจะ ซื้อตัวชมละครลดครึ ๋ ่งราคาในนาทีสุดทา้ ยในแลงเชสเตอร์สแควร์ กรุงลอนดอน ได้นนั้ ผูซ้ ้ อื ตัวจะต้ ๋ องฝ่ าฟันอุปสรรคสองประการคือ ประการแรก ต้องเขา้ คิว รอ บ่อยครัง้ ทีก่ นิ เวลานานมากกว่า 1 ชัว่ โมง ส�ำหรับผู ้มีรายได้สูงแล ้วคงมีไม่ก่ี คนทีเ่ ต็มใจยืนรอเพียงเพือ่ ประหยัดได้อกี ไม่ก่ปี อนด์ และประการทีส่ อง ตัวชม ๋ ละครลดครึ่งราคามีจ �ำหน่ายเฉพาะกับการแสดงบางรายการเท่านัน้ และมักจะเป็ น รายการทีไ่ ม่รบั ความนิยมมากนักด้วย ดังนัน้ คนทีม่ รี ายได้สูงก็คอื คนทีส่ ่วนใหญ่ จะมีค่าเสียโอกาสของเวลาสูง จึงชอบทีจ่ ะใช้เวลาตอนเย็นอันมีค่าช่วงว่างจากงาน มาชมการแสดงทีต่ นชื่นชอบเท่านัน้ ส่วนผู ้ชมละครทีม่ รี ายได้ตำ� ่ ส่วนใหญ่จะเป็ น ผูต้ อบสนองสูงต่อการเปลีย่ นแปลงของราคา จะสามารถก้าวข ้ามสิง่ กีดขวางทัง้ สองประการทีก่ ล่าวได้โดยง่าย และหากปราศจากซึง่ ทางเลือกให ้เข ้าคิวรอเพือ่ ซื้อ ตัวชมละครราคาถู ๋ ก คนรายได้ตำ� ่ เหล่านี้กจ็ ะไม่มโี อกาสได้ชมละครในโรงละครที่ มีช่อื เสียงของเมืองลอนดอนโดยง่ายได้เลย แม ้ว่าทัง้ สองกรณีทอ่ี ธิบายไปแล ้ว ผู ้ซื้อจะต้องเผชิญกับอุปสรรคต่อการเข ้า ถึงสินค้าหรือบริการในราคาลดทีต่ ่างกัน แต่ทงั้ สองกรณีมวี ตั ถุประสงค์เหมือนกันคือ เพือ่ เติมจ�ำนวนทีน่ งั ่ บนเครื่องบินและในโรงละครให ้เต็มทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะมากได้ และ ผลทีต่ ามมาก็คอื การลดลงของต้นทุนเฉลีย่ ต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ (หรือทีน่ งั ่ ) เมือ่ เปรียบเทียบกับกรณีทไ่ี ม่มกี ารสร้างอุปสรรคต่อการเข ้าถึงสินค้าหรือบริการ การบังคับให้ผูซ้ ้ อื ต้องใช้ความพยายามข้ามสิง่ กีดขวางให้ได้กอ่ น เพือ่ ทีจ่ ะ ได้สทิ ธิ์ซ้อื สินค้าหรือบริการในราคาถูกลง มีข ้อเสียประการเดียวคือ ผู ้ซื้อจะต้อง สูญเสียพลังงานไปกับการใช้ความพยายามก้าวข ้ามสิง่ กีดขวางนัน้ มีหลายกรณีท่ี สิง่ กีดขวางเป็ นเพียงความจ�ำเป็ นต้องรูห้ รือต้องมีข ้อมูลบางเรื่องก่อน ซึง่ หากรูห้ รือ เป็ นเจ้าของข ้อมูลแล ้ว ก็จะท�ำให ้ผู ้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ราคาถูก ตลอด โดยไม่จ �ำเป็ นต้องกระโดดข ้ามสิง่ กีดขวางอีกต่อไป

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

125

ถ้ าถ้ วยกาแฟขนาดมาตรฐานบรรจุ 8 ออนซ์ ท�ำไมถ้ วยกาแฟขนาดเล็ก ที่สุดของร้ านสตาร์ บคั ส์ จงึ บรรจุได้ ถงึ 12 ออนซ์ (กรณีศกึ ษาของ เจนนิเฟอร์ แอนเดอร์ สัน) สตาร์บคั ส์เป็ นธุรกิจขายกาแฟสดในร้านทีใ่ หญ่เป็ นอันดับต้นๆ ของโลก เมือ่ ปี 1999 เมนู ของร้านมีรายการจ�ำหน่ายกาแฟสด 3 ขนาดคือ Tall (12 ออนซ์), Grande (16 ออนซ์) และ Venti (20 ออนซ์) โดยทัวไปถ ่ ้วยกาแฟมาตรฐานจะมีขนาด บรรจุ 8 ออนซ์ และบางครัง้ ก็พบขนาด 6 ออนซ์ แม ้แต่ในเอกสารค�ำแนะน�ำการ กลันกาแฟของสตาร์ ่ บคั ส์เองก็เขียนไว ้ว่า “เราแนะน�ำใหใ้ ช้กาแฟดิบ 2 ช้อนโต๊ะ กับน�ำ้ 6 ออนซ์” แล ้วท�ำไมสตาร์บคั ส์จงึ ไม่ขายกาแฟสดในขนาดถ ้วยมาตรฐาน โดยข ้อเท็จจริง สตาร์บคั ส์ขายกาแฟสดขนาดถ ้วยมาตรฐานเช่นกัน ในต่าง ประเทศถ ้าคุณสังพนั ่ กงานในร้านสตาร์บคั ส์วา่ ขอกาแฟขนาดทีเ่ รียกว่า “Short” เขา จะน�ำกาแฟในถ ้วยขนาด 8 ออนซ์มาบริการคุณ แต่กาแฟขนาด “Short” นัน้ จะไม่มี อยู่ในเมนู และลูกค้าน้อยคนนักทีจ่ ะรูว้ า่ มีการขายกาแฟขนาดนี้ในร้านสตาร์บคั ส์ กาแฟ “Short” จัดเป็ นสินค้าทีส่ ตาร์บคั ส์ลดราคาขายมากทีส่ ุด ราคาขาย กาแฟคาปูชโิ น “Short” ถูกกว่ากาแฟคาปูชโิ น “Tall” ขนาด 12 ออนซ์ประมาณ 20 เซนต์ มีเนื้อกาแฟเอสเปรสโซเท่ากัน แต่มนี มสดน้อยกว่า จึงท�ำให ้มีรสชาติ กาแฟทีน่ กั ดืม่ กาแฟสดชอบมากกว่า วิธที างการตลาดแบบไม่เปิ ดเผยของสตาร์บคั ส์ในการจ�ำหน่ายกาแฟขนาด “Short” คือ รูปแบบหนึ่งของการสร้างสิง่ กีดขวางเพือ่ การเข ้าถึงสินค้าทีม่ รี าคาถูก สิง่ กีดขวางทีห่ ้ามไม่ให้ลูกค้า (ผู ้ซึง่ มีพฤติกรรมไม่ไวต่อราคา) ซื้อกาแฟขนาด “Short” (ทีร่ าคาเปรียบเทียบลดลง) ในกรณีน้ คี อื ความไม่รูข้ องลูกค้านัน่ เองว่ามีกาแฟขนาด มาตรฐานนี้ขายในร้าน ส�ำหรับตลาดสินค้าทัวไป ่ ผู ้บริโภคทีม่ พี ฤติกรรมตอบสนอง ต่อการเปลีย่ นแปลงของราคาสูงจะอุทศิ เวลาและความพยายามมากกว่าคนอืน่ ๆ ใน การค้นหาข ้อเสนอทีด่ ที ส่ี ุดส�ำหรับตัวเอง ถา้ คุณเป็ นผู ้บริโภคทีต่ อบสนองต่อราคา สูง เกือบจะพนันได้เลยว่าต้องมีเพือ่ นคุณอย่างน้อยหนึ่งคนทีร่ ู ้ และบอกคุณว่ามี

126

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

กาแฟสดขนาด “Short” ขายในร้านสตาร์บคั ส์ แต่ถ ้าคุณมีพฤติกรรมไม่ค่อยตอบ สนองต่อราคามากนัก คุณก็คงจะต้องสังกาแฟขนาด ่ Venti (20 ออนซ์) ดืม่ ต่อไป ในทางปฏิบตั ิ การตัง้ ราคาขายสินค้าชนิ ดเดียวกันให้แตกต่างกันใน แต่ละตลาดหรือแต่ละกลุ่มลูกค้า ไม่จ �ำเป็ นจะต้องมีมาตรการสร้างสิง่ กีดขวาง ควบคู่ทกุ ครัง้ ไป ตัวอย่างเช่น ภัตตาคารแห่งหนึ่งลดราคาอาหารลงครึ่งหนึ่งให ้ กับลูกค้าทีม่ อี ายุ 65 ปี ข้นึ ไป ลูกค้ากลุม่ อายุอน่ื ๆ จะไม่ได้รบั สิทธิ์อยู่แล ้ว จึงไม่ จ�ำเป็ นต้องมีสง่ิ กีดขวางใดๆ ให้ลูกค้าอายุตำ� ่ กว่านัน้ ต้องกระโดดข ้ามเพือ่ ขอรับสิทธิ์ นักเศรษฐศาสตร์จะเรียกความแตกต่างของราคาท�ำนองนี้วา่ การแบ่งตลาดออก เป็ นส่วน (Market Segmentation) ซึง่ มีมลู เหตุจูงใจมาจากข ้อเท็จจริงว่า ผู ้ สูงวัยโดยเฉลีย่ แล ้วจะมีรายได้ตำ� ่ กว่าบุคคลในวัยอืน่ ๆ

เพราะเหตุใด ราคาตั๋วเครื่ องบินไป–กลับระหว่ างแคนซัส ไปยัง ออร์ แลนโด จึงมีราคาถูกกว่ าค่ าตั๋วไป–กลับระหว่ างออร์ แลนโด ไปยัง แคนซัส (กรณีศกึ ษาของ คาเรน ฮิตเติล) ถ ้าคุณอาศัยอยู่ทเ่ี มืองแคนซัส รัฐมิสซูรี และต้องการบินไปทีเ่ มืองออร์แลนโด รัฐ ฟลอริดา สมมติวา่ เดินทางไปวันที่ 15 ธันวาคม 2006 และบินกลับในอีกหนึ่งสัปดาห์ ถัดมา ราคาตัวเครื ๋ อ่ งบินถูกทีส่ ุดทีค่ ณ ุ สามารถค้นได้จากเว็บไซต์ expedia.com คือ 240 ดอลลาร์ ในทางกลับกัน ถ ้าคุณอยู่ทอ่ี อร์แลนโดแล ้วต้องการบินไปทีแ่ คนซัส และบินกลับในช่วงวันเวลาเดียวกัน คุณต้องจ่ายค่าตัวถึ ๋ ง 312 ดอลลาร์ ทัง้ ๆ ทีผ่ ู ้ โดยสารเดินทางตามตารางบินและเครื่องบินล�ำเดียวกัน ใช้นำ�้ มันถังเดียวกัน และ อาจไม่ได้รบั ความสะดวกกับบริการทีไ่ ด้รบั จากพนักงานบนเครื่องบินเหมือนๆ กัน แล ้วเหตุใดจึงต้องจ่ายค่าตัวเครื ๋ อ่ งบินไม่เท่ากัน ค�ำตอบน่าจะอธิบายได้ดงั นี้ สมมติฐานมีวา่ ถา้ คุณบินจากแคนซัสไปที่ ออร์แลนโด เดาได้วา่ คุณอาจก�ำลังเดินทางไปท่องเทีย่ วในวันหยุดพักผ่อน เพราะ ออร์แลนโดเป็ นเมืองท่องเทีย่ วส�ำคัญแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ และของโลก มีสถานที่

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

127

ท่องเทีย่ วโด่งดัง เช่น ดิสนียเ์ วิรล์ ด์และซีเวิรล์ ด์ แต่เนื่องจากมีเมืองท่องเทีย่ วปลาย ทางอืน่ ๆ อีกหลายแห่งทีค่ ุณและนักท่องเทีย่ วอืน่ ๆ สามารถเดินทางไปได้เช่นกัน (เช่น ฮาวาย บาร์บาโดส หรือแคนคูน) ดังนัน้ สายการบินต่างๆ จึงมีการแข่งขัน กันทางธุรกิจเพือ่ แย่งลูกค้าให ้เดินทางไปกับสายการบินของตน ซึง่ การแข่งขันนี้ก็ ท�ำให ้สายการบินต้องขายตัวเครื ๋ ่องบินในราคาต�ำ่ ลงเพือ่ เป็ นสิง่ จูงใจ และสามารถ กระท�ำได้เนื่องจากสายการบินส่วนใหญ่ใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ จึงมีตน้ ทุนเฉลีย่ ต่อที่นงั ่ ต�ำ่ หากมีผูโ้ ดยสารเต็มหรือเกือบเต็มล�ำ วิธีการที่ช่วยเติมผูโ้ ดยสารให ้ เต็มคือ ต้องเน้นกลุม่ ลูกค้าเป้ าหมายทีเ่ ป็ นนักท่องเทีย่ ว เพราะสายการบินรูว้ ่า นักท่องเทีย่ วมีพฤติกรรมตอบสนองสูงต่อการลดราคา จึงต้องตัง้ ราคาขายตัวให ๋ ้ ต�ำ่ ส�ำหรับลูกค้ากลุม่ นี้ ในทางกลับกัน ถ ้าคุณเริ่มต้นการเดินทางจากออร์แลนโดบินไปยังแคนซัส เหตุผลการเดินทางของคุณเดาได้ว่าอาจเกี่ยวเนื่องกับธุ รกิจ ครอบครัว หรือ เดินทางกลับบ ้าน ซึง่ ไม่เกี่ยวกับการท่องเทีย่ ว (และคุณไม่ได้เดินทางต่อไปยังที่ หมายปลายทางอืน่ ) ในกรณีทผ่ี ู ้ซื้อไม่มที างเลือกมาก ก็มแี นวโน้มจะไม่ตอบสนอง ต่อการเปลีย่ นแปลงของราคามากนัก และเป็ นเหตุผลว่าท�ำไมผูท้ เ่ี ริ่มต้นเดินทาง จากออร์แลนโดจึงต้องจ่ายค่าตัวเครื ๋ ่องบินโดยสารแพงกว่า

ท�ำไมภัตตาคารหลายแห่ งจึงให้ บริการเติมเครื่ องดื่มฟรี (กรณีศกึ ษาของ ไมก์ เฮดริค) มีนกั ธุรกิจรายหนึ่งพูดว่า “ขาดทุนทุกๆ หน่วยของสินค้าทีข่ ายออกไป แต่มยี อดขาย เพิม่ ขึ้น” แน่นอนว่าหากธุรกิจใดก็ตามเป็ นอย่างทีพ่ ดู นี้จะอยู่ได้ไม่นานในระยะยาว และในทีส่ ุดก็จะต้องยุตกิ จิ การไป ภัตตาคารหลายแห่งมีวธิ กี ารปฏิบตั แิ บบหนึ่งที่ เป็ นทีน่ ่าฉงนงงงวยว่าสามารถท�ำได้อย่างไรในทางธุรกิจ นัน่ ก็คอื การให้บริการเติม เครื่องดืม่ ฟรีแก่ลูกค้าอย่างไม่อนั้ หลังจากทีส่ งแก้ ั ่ วแรกแล ้ว ธุรกิจส่วนใหญ่ทข่ี ายสินค้าหรือบริการมากกว่าหนึ่งรายการเพือ่ ให ้อยู่รอด ก็ไม่จ �ำเป็ นต้องตัง้ ราคาขายสินค้าทุกรายการมากกว่าต้นทุนของแต่ละสินค้า เพียง

128

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แต่ให้รายได้รวมมากกว่าหรืออย่างน้อยเท่ากับต้นทุนรวมของทุกรายการก็สามารถ อยู่รอดได้ ดังนัน้ หากรายได้จากการขายอาหาร ขนมหวาน และอืน่ ๆ มีก �ำไรเป็ น ส่วนเหลือ่ มพอสมควรแล ้ว เจ้าของภัตตาคารก็สามารถใหบ้ ริการเติมเครื่องดื่ม ฟรีโดยไม่มปี ญ ั หา เพราะเหตุใด ภัตตาคารจึงต้องการใหบ้ ริการเติมเครือ่ งดืม่ ฟรีล่ะ หาก พิจารณาอย่างผิวเผิน การกระท�ำนี้ดูเหมือนจะไม่สอดคล ้องกับหลักตรรกะว่าด้วย การค้าภายใต้การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึง่ ย�ำ้ ว่าผู ้บริโภคจะต้องจ่ายค่าสินค้าหรือ บริการทีซ่ ้อื มาในราคาทีเ่ ท่ากับต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการนัน้ อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็ นจริง ไม่มตี ลาดสินค้าหรือบริการใดทีม่ ี การแข่งขันอย่างสมบูรณ์รอ้ ยเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับธุรกิจประเภทอืน่ ๆ ส�ำหรับ ธุรกิจภัตตาคาร ต้นทุนเฉลีย่ ต่อลูกค้าจะลดลงตามจ�ำนวนลูกค้าทีม่ เี พิม่ ขึ้น (เพราะ ต้นทุนคงทีจ่ ะเฉลีย่ กระจายตัวออกไปจึงมีแนวโน้มลดลง) หมายความว่าต้นทุน เฉลีย่ ต่อมื้ออาหารทีใ่ หบ้ ริการจากภัตตาคาร จะน้อยกว่าต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยมื้อ อาหารทีใ่ ห้บริการโดยภัตตาคารนัน้ และจากหลักทฤษฎีแล ้ว อาหารแต่ละมื้อ (หรือ แต่ละรายการ) จะถูกตัง้ ราคาให้เท่ากับหรือมากกว่าต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยมื้ออาหาร ดังนัน้ ภัตตาคารจึงยังมีก �ำไรเพิม่ ขึ้นตราบใดทีส่ ามารถดึงลูกค้าเข ้าร้านเพิม่ ขึ้น คุณลองนึกถึงสถานการณ์เริ่มแรกทีไ่ ม่มภี ตั ตาคารใดเลยทีม่ บี ริการเติม เครื่องดืม่ ฟรี แต่อยู่ๆ เกิดมีภตั ตาคารหนึ่งเริ่มให้บริการดังกล่าวขึ้น ถามว่าอะไรจะ เกิดตามมาล่ะ ลูกค้าทีร่ บั ประทานอาหารในภัตตาคารนัน้ จะเกิดความรูส้ กึ ว่ามันคุม้ ค่ามาก และจะบอกกล่าวต่อไปยังเพือ่ นฝูง คนรูจ้ กั และในไม่ชา้ ไม่นาน ภัตตาคาร นี้กจ็ ะเต็มไปด้วยลูกค้าทีม่ าอุดหนุนกันกันเนื่องแน่น แม ้ว่าการให้บริการเติมฟรีไม่ อัน้ จะเสียค่าใช้จ่ายเพิม่ แต่กน็ บั เป็ นการเพิม่ ค่าใช้จ่ายทีต่ ำ� ่ มาก เพือ่ ให้บริการเติมเครื่องดืม่ ฟรีสามารถคงอยู่ต่อไป ก�ำไรของภัตตาคารทีไ่ ด้ จากจ�ำนวนลูกค้าทีเ่ ข ้าร้านเพิม่ ขึ้นจะต้องมากกว่าต้นทุนค่าให้บริการเติมเครื่องดืม่ ฟรีนนั้ และเนื่องจากส่วนเหลือ่ มของก�ำไรค่าอาหารทีไ่ ด้จากลูกค้าเข ้าร้านเพิม่ ขึ้น บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

129

มีแนวโน้มจะมากกว่าต้นทุนของเครื่องดืม่ เติมฟรีแต่ละครัง้ ก�ำไรของภัตตาคาร โดยรวมจะเพิม่ ขึ้น เมือ่ เห็นความส�ำเร็จของภัตตาคารเจ้าแรกทีใ่ ห้บริการนี้ ก็จะมีหลายภัตตาคาร ทีเ่ ป็ นคู่แข่งท�ำตามกันไปหมด และต่อมาจ�ำนวนลูกค้าของภัตตาคารเจ้าแรกก็จะ เริ่มลดน้อยถอยลง และหากทุกภัตตาคารกระท�ำแบบเดียวกันหมด ในไม่ชา้ ยอด ขายของแต่ละภัตตาคารก็จะไม่แตกต่างมากนักจากยอดขายระดับทีเ่ คยได้รบั เมือ่ ครัง้ ยังไม่มบี ริการเติมเครื่องดืม่ ฟรี และเนื่องจากส่วนเหลือ่ มก�ำไรในอุตสาหกรรม นี้มคี ่อนข ้างน้อย บริการเติมเครื่องดืม่ ฟรีจงึ อาจเริ่มกลับกลายเป็ นเค้าลางแห่งการ ขาดทุนส�ำหรับภัตตาคารหลายแห่ง การขาดทุนจะเกิดขึ้นค่อนข ้างแน่นอน หากภัตตาคารไม่มกี ารปรับเปลีย่ น ราคาอาหารภายใต้สถานการณ์แข่งขันดังกล่าว แต่เนื่องจากข ้อเสนอบริการเติม เครื่องดื่มฟรีท �ำใหล้ ูกค้าได้รบั ประโยชน์เพิม่ ขึ้น และมีความรูส้ กึ ทีด่ มี ากขึ้นจาก การรับประทานอาหารในภัตตาคารโดยไม่ตอ้ งจ่ายเพิม่ ใหก้ บั ค่าบริการนี้ ซึง่ เมือ่ ก่อนจะต้องจ่ายเพิม่ อีกหลายปอนด์ ข ้อเท็จจริงนี้ท �ำให ้ภัตตาคารมีเหตุผลส�ำหรับ ขึ้นราคาค่าอาหารได้บ ้าง เพือ่ ให ้คุม้ กับต้นทุนค่าเติมเครื่องดืม่ ฟรีทก่ี ล่าว ปัจจัยเกี่ยวข ้องอีกประการหนึ่งทีต่ อ้ งพิจารณาคือ ภัตตาคารโดยทัวไปจะ ่ ขายเครือ่ งดืม่ ซอฟต์ดริ้งก์ (เครือ่ งดืม่ ประเภททีไ่ ม่มแี อลกอฮอล์ผสม) และโซดา ใน ราคากระป๋ องหรือขวดละประมาณ 2 ปอนด์ซง่ึ ค่อนข ้างแพง และด้วยสาเหตุน้ อี าจ ท�ำให้ลูกค้าบางคนทีค่ ดิ ถึงความคุม้ ค่าจะสังเฉพาะเครื ่ ่องดืม่ ซอฟต์ดริ้งก์เพราะเติม ฟรีได้ และจะขอเติมฟรีกนั คนละเป็ นจ�ำนวนมากด้วย ถ ้ามีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ของลูกค้าสังเครื ่ ่องดืม่ ซอฟต์ดริ้งก์และใช้บริการเติมฟรีกอ็ าจท�ำให้ภัตตาคารต้อง ปิ ดกิจการลงได้ ด้วยเหตุผลนี้ สิง่ ทีพ่ บคือ ภัตตาคารทีเ่ สนอใหบ้ ริการเติมฟรี ซอฟต์ดริ้งก์จะไม่มกี ารขายซอฟต์ดริ้งก์ในรูปกระป๋ อง แต่จะขายเป็ นแก้วแทน

130

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด VCR จึงผลิตให้ สามารถใช้ งานได้ หลายอย่ าง (เครื่องเล่ น VCR รุ่ นก้ าวหน้ า) ทัง้ ที่คนส่ วนใหญ่ ไม่ ค่อยได้ ใช้ ประโยชน์ แม้ แต่ กับ เครื่ องเล่ น VCR รุ่ นธรรมดา (กรณีศกึ ษาของ เดโบราห์ แบร์ ) ผูซ้ ้ อื VCR ต่างก็ตอ้ งการเครื่องทีส่ ามารถใหค้ รอบครัวดูภาพยนตร์ทไ่ี ด้บนั ทึก ไว ้จากรายการทีช่ ่นื ชอบทางโทรทัศน์ อีกทัง้ เครื่องเล่น VCR ทุกโมเดลทีผ่ ลิตมา ขายอยู่ในตลาดปัจจุบนั ก็สามารถท�ำหน้าทีน่ ้ ไี ด้ อย่างไรก็ตาม เครื่องเล่น VCR ที่ ขายกันอยู่เกือบทุกรุ่นยังมีความสามารถใช้งานด้านอืน่ ๆ อีกมากมาย ซึง่ ผู ้ซื้อส่วน ใหญ่กไ็ ม่ค่อยได้ใช้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่น VCR หลายรุ่นมีป่ มุ รับสัญญาณจาก รีโมต เพือ่ เปิ ดรับสัญญาณอัตโนมัตทิ นั ทีทผ่ี ู ้ใช้กดปุ่มบันทึกรายการจากโทรทัศน์ มีตงั้ แต่ 1 – 9 ปุ่มเพือ่ เข ้าถึงโปรแกรมต่างๆ ทีบ่ นั ทึก หรือในอีกหลายๆ รุ่นยังมี ทางเลือกส�ำหรับการรับฟังเสียงเป็ นภาษาอังกฤษ สเปน หรือฝรัง่ เศส เพียงท�ำตาม ขัน้ ตอนทีแ่ นะน�ำในคู่มอื แม ้ว่าการใช้งานหลายอย่างจะเป็ นประโยชน์อย่างยิง่ แต่ ผู ้ใช้จ �ำนวนมากก็ยงั บ่นถึงความยุ่งยาก สลับซับซ ้อน และยากแก่การเข ้าใจ จึงมัก ไม่ค่อยได้ใช้ค �ำแนะน�ำทีใ่ ห้ไว ้ ค�ำถามทีเ่ กิดขึ้นคือ ท�ำไมผู ้ผลิตจึงไม่ผลิตเครือ่ งเล่น VCR ทีใ่ ช้งานแบบธรรมดาๆ และราคาไม่แพงขายให ้กับผู ้ใช้ แม ้จะมีลูกค้าหรือผูใ้ ช้บางกลุม่ ทีไ่ ม่ใหร้ าคากับสมรรถนะทางเทคนิคของ เครื่องเล่น VCR ทีเ่ ขามี แต่จะมีผู ้ใช้บางกลุม่ ทีต่ อ้ งการเข ้าถึงสมรรถนะทางเทคนิค นัน้ ซึง่ ผู ้ผลิตก็เพิม่ ลูกเล่นต่างๆ เข ้าไปให ้พยายามสนองความต้องการลูกค้า เพือ่ แย่งลูกค้ากลุม่ ทีต่ อ้ งการลูกเล่นเพิม่ และสามารถแข่งขันกับบริษทั คู่แข่งอืน่ ได้ ซึง่ ต้นทุนส่วนใหญ่ทใ่ี ช้ในการพัฒนาลูกเล่นต่างๆ จะเป็ นต้นทุนคงทีท่ เ่ี ป็ นงานวิจยั และพัฒนา และเมือ่ พัฒนาเทคโนโลยีลูกเล่นได้แล ้ว ต้นทุนการผลิตเพิม่ ต่อหน่วย เครื่องเล่น VCR ทีม่ เี พิม่ ดังกล่าวจะต�ำ่ มาก ในทางปฏิบตั ิ มีความเป็ นไปได้ท่ผี ูผ้ ลิตจะผลิตเครื่องเล่น VCR ใหม้ ี ลูกเล่นมาก–น้อยแตกต่างกันในแต่ละรุ่น แต่ปญ ั หาคือ ผู ้ค้าปลีกไม่ตอ้ งการเก็บ สต็อกสินค้ามากมายหลายรุ่น ยิง่ ไปกว่านัน้ ต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยสินค้าของการผลิต

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

131

เครื่องเล่น VCR รุ่นธรรมดาก็ไม่ได้ตำ� ่ กว่าเครื่องเล่น VCR รุ่นก้าวหน้ามากเท่าไร นัก ซึง่ ผู ้ซื้อจะประหยัดเงินได้ไม่ก่ปี อนด์กบั การซื้อเครื่องเล่น VCR รุ่นธรรมดา ด้วยเหตุน้ จี งึ ท�ำให้ผู ้ผลิตขายแต่เครื่องเล่น VCR รุ่นก้าวหน้าเป็ นส่วนใหญ่เท่านัน้ ผู ้ใช้ทแ่ี สวงหาแต่เครื่องเล่น VCR รุ่นธรรมดา คงได้แต่หวังว่าในไม่ชา้ จะ เห็นเครื่องเล่น VCR รุ่นใหม่ทม่ี ลี ูกเล่นเพิม่ มากเข ้าไปอีกออกสู่ตลาด

เพราะเหตุใด สายการบินราคาถูก จึงเรี ยกเก็บค่ าบริ การอาหารและ เครื่ องดื่ม (แต่ จะให้ บริการฟรี ในสายการบินชัน้ หรู ) ในขณะที่โรงแรม ชัน้ หรูเรียกเก็บค่ าใช้ บริการอินเทอร์ เน็ต (แต่ ให้ ใช้ บริการฟรีในโรงแรม ราคาถูก) (กรณีศกึ ษาของ เจย์ ไดย์ ) การบริการอาหารและเครื่องดื่มฟรีบนสายการบินเคยเป็ นธรรมเนียมทีค่ รัง้ หนึ่ง ปฏิบตั กิ นั เกือบทุกสายการบิน มาบัดนี้มบี างสายการบินทีม่ รี าคาค่าตัวสู ๋ งเท่านัน้ ที่ ยังคงให ้บริการนี้ (เช่น สายการบินไทย และสายการบินสิงคโปร์) ส่วนผู ้โดยสาร ทีใ่ ช้บริการกับสายการบินเล็กๆ เช่น อีซเ่ี จต และไรอันแอร์ จะต้องน�ำอาหารและ เครื่องดืม่ ไปด้วย หรือไม่กห็ าซื้อบนเครื่องบิน ในทางตรงกันข ้าม โรงแรมหรูระดับ ห้าดาว เช่น โฟร์ซซี นั เรียกเก็บค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตในห้องพักโรงแรมวันละ 5 ดอลลาร์ หรือมากกว่านัน้ ในขณะทีโ่ รงแรมขนาดเล็กซึง่ ค่าห ้องพักมีราคาถูก เช่น พรีเมียร์อนิ น์ ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู ้เข ้าพักโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเหตุใด จึงมีความแตกต่างกันเช่นนี้ ในตลาดทีม่ กี ารแข่งขันอย่างสมบูรณ์ หลักการ “ไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะ” จะชี้ให ้เห็นว่า ผู ้บริโภครายใดก็ตามทีต่ อ้ งการได้รบั บริการใดเพิม่ ขึ้น จะต้องจ่าย เพิม่ ให ้กับบริการทีไ่ ด้รบั เพิม่ นัน้ หลักตรรกะมีอยู่วา่ ถ ้าบริษทั ใดเสนอให ้บริการ เพิม่ นัน้ ฟรีๆ โดยลูกค้าไม่ตอ้ งจ่ายเพิม่ แต่กแ็ อบรวมต้นทุนด�ำเนินการไว ้ในราคา สินค้าพื้นฐานทีข่ ายให ้ลูกค้า หากเป็ นเช่นนี้แล ้ว บริษทั คู่แข่งจะสามารถแย่งลูกค้า ทีไ่ ม่ตอ้ งการของแถมฟรีนนั้ ได้ โดยตัง้ ราคาขายสินค้าพื้นฐานให ้ต�ำ่ ลง แต่จะเรียก เก็บแยกต่างหากเพิม่ จากลูกค้าทีต่ อ้ งการบริการเพิม่ นัน้

132

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ในทางปฏิบตั ิ แน่ นอนว่าไม่มตี ลาดใดทีม่ กี ารแข่งขันอย่างสมบูรณ์ แต่ ส�ำหรับตลาดทีน่ งั ่ โดยสารบนสายการบินราคาถูกและราคาแพงแล ้ว ตลาดทีน่ งั ่ บนสายการบินราคาถูกจะมีการแข่งขันใกล ้เคียงกับตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ มากกว่า ในขณะทีต่ ลาดทีน่ งั ่ บนสายการบินราคาแพงมีจ �ำนวนผู ้โดยสารน้อยกว่า แต่มบี ริการหลากหลายบนเครื่องบินมากกว่า ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน ตลาดห ้อง พักของโรงแรมขนาดเล็กก็จะมีการแข่งขันใกล ้เคียงกับตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ มากกว่าตลาดห้องพักของโรงแรมขนาดใหญ่ระดับห ้าดาว ข ้อสังเกตนี้ดูเหมือนจะ เสนอแนะว่าบริการทีม่ เี พิม่ ขึ้นต้องถูกเรียกเก็บค่าบริการแยกต่างหากทัง้ ในโรงแรม ขนาดเล็กและสายการบินราคาถูก ดังนัน้ เมือ่ อาศัยหลัก “ไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะ” จึงสามารถใช้อธิบายว่า ท�ำไมสายการบินราคาถูกจึงเรียกเก็บค่าอาหารหรือเครื่อง ดืม่ บนเครือ่ งบิน ในขณะทีส่ ายการบินราคาสูงได้รวมค่าใช้จ่ายอาหารหรือเครื่องดืม่ ทีบ่ ริการฟรีไว ้ในค่าตัวโดยสารแล ๋ ้ว หลักการนี้ยงั สามารถใช้อธิบายได้วา่ เพราะเหตุ ใดทีผ่ า่ นมาสายการบินหลายแห่งจึงให้บริการอาหารและเครื่องดืม่ ฟรีบนเครื่องบิน เป็ นเพราะในระยะแรกนัน้ เกือบทุกสายการบินถือเป็ นสายการบินราคาแพง จนเมือ่ ไม่นานมานี้เองจึงเพิง่ มีการเปลีย่ นแปลงไป อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับตลาดหอ้ งพัก ในโรงแรม หลักการ “ไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะ” ดูเหมือนจะไม่สอดคล ้องกับแบบ กระสวนของการตัง้ ราคาค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตในหอ้ งพักของโรงแรมซึง่ สวน ทางกัน แล ้วยังตรงกันข ้ามระหว่างโรงแรมขนาดใหญ่กบั โรงแรมขนาดเล็กอีกด้วย สมมติฐานที่เป็ นไปได้คือ ทิศทางกลับกันในการคิดค่ าบริการของสาย การบินและโรงแรมทีม่ รี ากเหง ้ามาจากความแตกต่างในเรื่องโครงสร้างของต้นทุน การให ้บริการ ส�ำหรับต้นทุนการให ้บริการอาหารบนเครื่องบินเพิม่ ขึ้นเป็ นสัดส่วน กับจ�ำนวนมื้ออาหารทีบ่ ริการ แต่ตน้ ทุนส่วนใหญ่ของการใหบ้ ริการอินเทอร์เน็ต ในโรงแรมจะเป็ นต้นทุนคงที่ เมือ่ ไรก็ตามทีโ่ รงแรมติดตัง้ โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ไร้สายแล ้ว ต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยลูกค้าทีใ่ ช้บริการจะเพิม่ ขึ้นแค่อกี คน บางทีแทบ จะไม่มหี รือมีนอ้ ยมาก

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

133

หลัก “ไม่มเี งินฟรีวางบนโต๊ะ” บอกให ้เรารูว้ า่ ยิง่ ตลาดมีการแข่งขันสูงมาก เท่าไร ราคาของสินค้าหรือบริการนัน้ ยิ่งเข ้าใกล ้หรือเท่ากับต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วย ดังนัน้ ถา้ ตลาดหอ้ งพักในโรงแรมราคาถูกจะมีการแข่งขันสูงกว่าตลาดหอ้ งพัก ในโรงแรมราคาแพง ตรรกะทีจ่ ะเกิดขึ้นตามมาคือ ค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตควร ถูกรวมอยู่ในค่าหอ้ งพักของโรงแรมราคาถูก อนึ่ง โรงแรมราคาถูกอาจต้องการ เรียกเก็บค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ต แต่เป็ นเพราะต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยทีเ่ พิม่ ขึ้นจาก แขกเข ้าพักในโรงแรมทีใ่ ช้เพิม่ อีกหนึ่งคนแทบจะเป็ นศูนย์ โรงแรมราคาถูกจึงให ้ ใช้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี เพือ่ เป็ นกลยุทธ์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์โรงแรม มากกว่า นักท่องเทีย่ วทีม่ พี ฤติกรรมไวต่อราคาจะสนองตอบต่อข ้อเสนอนี้ โดยหัน มาใช้บริการโรงแรมทีใ่ หบ้ ริการอินเทอร์เน็ตฟรีมากขึ้น และจะเป็ นผลใหโ้ รงแรม ราคาถูกอืน่ ๆ ท�ำตามในทีส่ ุด แต่ส �ำหรับสายการบินราคาถูกไม่ได้อยู่ภายใต้แรง กดดันเดียวกัน จนสามารถให้บริการอาหารและเครือ่ งดืม่ ฟรีบนเครือ่ งบินได้ เพราะ ต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยมื้ออาหารทีใ่ ห ้บริการไม่ได้เป็ นศูนย์ แต่มคี ่าเป็ นบวกส�ำหรับ บริษทั จึงต้องคิดค่าบริการแยกต่างหากดังทีก่ ล่าวไปแล ้ว โรงแรมห ้าดาวขนาดใหญ่ตอ้ งคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตในห ้องพัก เพราะ แขกเขา้ พักส่วนใหญ่เป็ นผูม้ อี นั จะกิน หรือไม่ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายการเดิน ทางจากหน่วยงานตัวเองได้ คนเหล่านี้จงึ ไม่ค่อยมีความรูส้ กึ ไวต่อราคาค่าใช้จ่าย เท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม หากแขกเข ้าพักร้องเรียนเรื่องค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตเป็ น จ�ำนวนมากขึ้น ข ้อเท็จจริงทีว่ ่าต้นทุนเพิม่ ต่อหน่วยของบริการอินเทอร์เน็ตมีค่า เท่ากับศูนย์ อาจท�ำให ้โรงแรมหา้ ดาวบางแห่งคิดรวมค่าบริการอินเทอร์เน็ตไว ้กับ ค่าห ้องพัก และถ ้าปรากฏการณ์ดงั กล่าวเกิดขึ้นเมือ่ ไร จะส่งผลให ้โรงแรมหา้ ดาว อืน่ ๆ ท�ำตามกันด้วย ในสามตัวอย่างที่จะน� ำเสนอต่อไปนี้ แสดงใหเ้ ห็นถึงความสามารถของ ผู ้ขายในการก�ำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการไว ้สูง หรือการบังคับใช้ค่าธรรมเนียม ส�ำหรับการยกเลิกการจอง แต่ดว้ ยเหตุผลเชิงกลยุทธ์ท �ำให้ผู ้ขายไม่ใช้อ �ำนาจทีม่ นี นั้

134

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด สวนสนุกจึงไม่ เก็บค่ าตั๋วเครื่องเล่ นในราคาแพงขึน้ ส�ำหรับ เครื่ องเล่ นที่เด็กๆ ชอบมาก แม้ เด็กที่ต้องการเล่ นจะมีจำ� นวนมากจน ต้ องเข้ าแถวรอคิวยาวก็ตาม เมือ่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2007 ซึง่ เป็ นวันเด็กของสหราชอาณาจักร สวนสนุ ก อัลตันทาวเวอร์ เก็บค่าตัวเข ๋ ้าสวนสนุก 16 ปอนด์ และอนุญาตให ้เด็กเล่นเครื่อง เล่นได้ทกุ ชนิดโดยไม่จ �ำกัดจ�ำนวนครัง้ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบตั ิ การใช้เครื่อง เล่นมีความจ�ำกัดมาก โดยเฉพาะถ ้าเป็ นเครื่องทีไ่ ด้รบั ความนิยม ปรากฏว่าจะต้อง เข ้าคิวนานมาก ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่นสุดฮิตทีเ่ รียกกันว่า Nemesis (รถไฟเหาะ ตีลงั กา หรือ Roller Coasters) ซึง่ เด็กทีจ่ ะได้เล่นจะต้องยืนรอในแถวนานกว่า ๋ อ่ งเล่นที ่ หนึ่งชัว่ โมง แล ้วท�ำไมสวนสนุกอัลตันทาวเวอร์ จึงไม่ใช้วธิ ีเพิม่ ค่าตัวเครื ได้รบั ความนิยมมากเพือ่ ลดจ�ำนวนคนเล่นล่ะ ค�ำอธิบายทีเ่ ป็ นไปได้คอื เนื่องจากผูป้ กครองเป็ นผูท้ จ่ี ่ายค่าตัวให ๋ เ้ ด็กไป เทีย่ วสวนสนุกอัลตันทาวเวอร์ ถ ้ามีการเก็บค่าตัวเพิ ๋ ม่ ส�ำหรับเครื่องเล่น Nemesis สมมติวา่ เป็ น 5 ปอนด์ต่อเทีย่ ว เป็ นระดับราคาทีค่ ดิ ว่าสามารถลดคนเล่นและการ รอคิว แต่กย็ งั จะมีเด็กเป็ นจ�ำนวนมากทีต่ อ้ งการเล่นเครื่องเล่นนี้อย่างต่อเนื่องและ เป็ นไปได้ส �ำหรับเด็กๆ ด้วย การมีจ �ำนวนเด็กทีเ่ ล่นน้อยลงคงเป็ นไปได้ไม่มากนัก ส�ำหรับผู ้ปกครองทีพ่ าบุตรหลานไปก็จะห้ามไม่ให ้เล่น และคงจะห ้ามบ่อยครัง้ ด้วย เพราะตัวเองเป็ นผู ้จ่ายเงินค่าเล่น สถานการณ์ตรงนี้ทกุ คนคงจินตนาการได้ว่าอะไร จะเกิดขึ้นกับครอบครัว แทนทีจ่ ะได้รบั ความสุข ก็อาจเกิดการขัดใจกันระหว่าง ผู ้ปกครองกับบุตรหลาน อันเนื่องมาจากการเก็บค่าบริการเครื่องเล่นเพิม่ ขึ้น โดยวิธกี ารก�ำหนดค่าใช้บริการอัตราเดียว และปล่อยใหก้ ารเข ้าคิวช่วย แบ่งสรรปันส่วนอุปทานทีม่ จี �ำกัด (คือเครื่องเล่น Nemesis ทีไ่ ด้รบั ความนิยม สู งสุด) นับเป็ นวิธีการรอมชอมดีท่สี ุดที่มอี ยู่ของฝ่ ายจัดการสวนสนุ กอัลตัน ทาวเวอร์แล ้ว

บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

135

ท�ำไมวงดนตรี ช่ ือดังจึงยอมให้ แฟนเพลงจ่ ายค่ าดาวน์ โหลด อัลบัม้ เพลงใหม่ ทางเว็บไซต์ ตามใจชอบ เมือ่ เดือนตุลาคม ปี 2007 วงดนตรีรอ็ คอย่างเรดิโอเฮด ซึง่ มีช่อื เสียงอย่างมาก ในสหราชอาณาจักร สามารถเขย่าวงการเพลงโดยการเชิญชวนแฟนเพลงทัวโลก ่ ดาวน์โหลดเพลงฮิตจากอัลบัม้ ชุดใหม่ลา่ สุดของเขาคือ In Rainbows จากเว็บไซต์ โดยให้แฟนเพลงจ่ายเงินเท่าไรก็ได้ตามใจชอบ แล ้ววงเรดิโอเฮดมีความคิดอย่างไร จึงยอมให ้แฟนเพลงตัง้ ราคาซื้อขึ้นเอง ผลจากการเป็ นเจ้าแรกทีเ่ สนอแนวคิดทางการตลาดดังกล่าวคือ ข่าวนี้ได้ รับความสนใจและสนับสนุ นอย่างมากจากสือ่ มวลชนหลายแขนง เพียงภายใน สัปดาห์แรกเท่านัน้ ก็มผี ู ้ดาวน์โหลดเพลงทางเว็บไซต์ของวงเรดิโอเฮดมากกว่า 1.2 ล ้านก๊อบปี้ สวนทางกับซีดเี พลงของวงทีอ่ อกสู่ตลาดก่อนหน้านี้คอื อัลบัม้ Hail to the Thief ซึง่ ขายได้เพียงสามแสนแผ่นเท่านัน้ ในช่วงสัปดาห์แรกของการน�ำออก สู่ตลาดช่วงฤดูรอ้ นปี 2003 ยิง่ ไปกว่านัน้ ข ้อดีทส่ี ุดของกลยุทธ์การตลาดครัง้ นี้คอื รายได้รอ้ ยเปอร์เซ็นต์ ทีไ่ ด้จากการขายเพลงออนไลน์เป็ นรายได้ของวง จากข ้อมูลพบว่าผูซ้ ้ อื เพลงทาง ออนไลน์จ่ายค่าเพลงทีด่ าวน์โหลดโดยเฉลีย่ ประมาณ 4 ปอนด์ต่ออัลบัม้ นับเป็ น ราคาต่อหน่วยทีผ่ ู ้ซื้อจ่ายให้ ซึง่ มากกว่าหลายเท่าเมือ่ เปรียบเทียบกับราคาต่อหน่วย ทีว่ งได้รบั จากการขายซีดเี พลงอัลบัม้ ก่อนหน้าภายใต้สญ ั ญาการขายทีท่ �ำกับบริษทั บันทึกแผ่นเสียง EMI ซึง่ ทาง EMI จะได้รบั ส่วนแบ่งไปบางส่วน แทจ้ ริงแล ้ว ระดับวงร็อคทีม่ ชี ่อื เสียงติดตลาดแล ้วอย่างเรดิโอเฮด ไม่มี เหตุผลและความจ�ำเป็ นใดๆ ทีต่ อ้ งแบ่งรายได้ให้กับบริษทั บันทึกแผ่นเสียง นอกจาก นี้ งานบริการด้านการผลิต การตลาด และการกระจายสินค้า ทีโ่ ดยปกติแล ้วจัด ท�ำโดยบริษทั บันทึกแผ่นเสียง ในยุคปัจจุบนั สามารถด�ำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายทีต่ ำ� ่ กว่า

136

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ในโลกยุคดิจิตอล แบบจ�ำลองทางธุ รกิจเดิมๆ ของอุตสาหกรรมการ ผลิตเพลงจึงใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เนื่องจากต้นทุนเพิม่ ต่อหน่ วยของการก๊อบปี้ เพลงมีแนวโน้มลดลง จนกล่าวได้ว่าแทบจะเป็ นศู นย์แล ้วในปัจจุบนั แมว้ ่าวง เรดิโอเฮดจะไม่ประกาศให ้แฟนเพลงจ่ายค่าดาวน์โหลดว่าจะเสียเท่าไรก็ได้ แต่ผู ้ ทีต่ อ้ งการเพลงของวงนี้กส็ ามารถหามาฟังโดยไม่ตอ้ งเสียเงินอยู่แล ้ว เพียงแค่ขอ แผ่นจากเพือ่ นมาก๊อบปี้ ต่อ อย่างไรก็ตาม แม ้จะมีโอกาสได้เพลงฟังฟรีอย่างง่ายๆ แต่แฟนเพลงนับล ้านก็ยงั ยอมจ่ายเพือ่ ดาวน์โหลดเพลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จาก iTunes หรือแหล่งอืน่ ๆ เนื่องจากมีความสะดวกมากประการหนึ่ง อีกประการ หนึ่ง เนื่องจากมันใจว่ ่ าได้เพลงจากแผ่นไฟล์ทม่ี คี ุณภาพสูงแน่นอน อีกทัง้ แฟน เพลงส่วนใหญ่มคี วามรูส้ กึ ว่าไม่เป็ นการยุตธิ รรมทีด่ าวน์โหลดฟรีๆ โดยไม่จ่ายเงิน ความปรารถนาดีของวงร็อคเรดิโอเฮดทีเ่ สนอแนวคิดการตลาดเช่นนี้เป็ น ผลช่วยเพิม่ ความเต็มใจทีจ่ ะจ่ายของแฟนเพลงให้มีค่ามากกว่าศูนย์ เจตนาทีด่ ขี อง วงครัง้ นี้เป็ นเสมือนการสร้างสิง่ กีดขวาง แต่เป็ นสิง่ กีดขวางทีส่ ามารถช่วยให ้วงตัง้ ราคาขายได้สูงขึ้นส�ำหรับผู ้ทีม่ คี วามเต็มใจทีจ่ ะจ่ายสูงขึ้น สิง่ กีดขวางในกรณีน้ ีคอื ความปรารถนาทีต่ อ้ งการหลีกเลีย่ งความรูส้ กึ ทีไ่ ม่ดขี องแฟนเพลง ถา้ หากเขาได้ เพลงมาฟังฟรีๆ โดยไม่ตอ้ งจ่ายเงิน โดยสรุป เครื่องชี้วดั ในเบื้องต้นบอกให้รูว้ า่ วงร็อคเรดิโอเฮดได้วางกลยุทธ์ การตลาดทีช่ าญฉลาดมาก

เพราะเหตุใด บริ ษัทให้ เช่ ารถยนต์ ไม่ เรี ยกเก็บค่ าปรั บกรณีมีการขอ ยกเลิกการจองในนาทีสุดท้ าย ในขณะที่โรงแรมและสายการบินเรี ยก เก็บค่ าปรั บสูงมาก ถ ้าคุณซื้อตัวภาพยนตร์ ๋ ไว ้แล ้ว แต่มาไม่ทนั เวลาเพราะรถติดมาก คุณจะไม่ได้ค่า ตัวคื ๋ น เช่นเดียวกันกับตัวเครื ๋ ่องบิน ถา้ คุณพลาดเทีย่ วบินโดยไม่ได้แจ้งยกเลิก ล่วงหน้าคุณก็จะต้องเสียตัวไปฟรี ๋ ๆ เช่นกัน แต่ถ ้าแจ้งขอยกเลิกล่วงหน้าในนาที สุดท ้าย คุณอาจโดนค่าปรับเป็ นเงินจ�ำนวนสูงพอควร และส�ำหรับบางสายการบิน บทที่ 4 ท�ำ มคนผู้บริโภคบางคนจึงซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าคนอื่น

137

คุณอาจต้องเสียตัวไปเลยเช่ ๋ นกัน ในท�ำนองเดียวกัน โรงแรมหลายแห่งจะคิดเงิน ค่าห้องเต็มจ�ำนวนถ ้าคุณขอยกเลิกการจองหลังหกโมงเย็นในวันทีค่ ณ ุ จะเข ้าพัก ใน ทางตรงกันข ้าม บริษทั ให้เช่ารถยนต์หลายแห่งไม่มกี ารเรียกเก็บเงินค่าปรับเพราะ เหตุยกเลิกการจอง แม ้แต่การจองเช่ารถบางแห่งยังไม่ตอ้ งการเลขบัตรเครดิตของ คุณด้วยซ�ำ้ ท�ำไมบริษทั ต่างๆ เหล่านี้จงึ มีวธิ ีปฏิบตั ทิ แี ่ ตกต่างกัน บริษทั ใหเ้ ช่ารถต้องการท�ำใหล้ ูกค้าของเขามีความสุขดังเช่นบริษทั ผูข้ าย สินค้าอื่นๆ ทัว่ ไป เพราะลูกค้าเกือบทัง้ หมดมักไม่ชอบใหถ้ ูกเก็บค่ าปรับหรือ ค่าธรรมเนียมเมือ่ ยกเลิกการจอง และหากบริษทั ใหเ้ ช่ารถรายใดไม่มกี ารเรียก เก็บค่าปรับเมือ่ ยกเลิกการจอง ก็จะช่วยให ้มีโอกาสทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง อืน่ ๆ ทีม่ กี ารเก็บค่าปรับอย่างแน่นอน เชื่อว่าสายการบินและโรงแรมต่างก็มคี วาม ประสงค์คล ้ายคลึงกัน คือพยายามหลีกเลีย่ งการเก็บค่าปรับยกเลิกการจอง แต่ท่ี ยังคงต้องเรียกเก็บกรณียกเลิกการจองในนาทีสุดท้าย เป็ นเพราะเขามีค่าเสียโอกาส ของรายได้ กล่าวคือ ในกรณีของสายการบินจะท�ำให้มีจ �ำนวนทีน่ งั ่ ผู ้โดยสารว่างเพิม่ ขึ้นในแต่ละเทีย่ วบิน เช่นเดียวกับโรงแรมจะมีห ้องพักว่างเหลือมากขึ้น ในแต่ละ กรณีดงั กล่าว จึงจ�ำเป็ นต้องเก็บค่าปรับเพือ่ ให ้สามารถอยู่รอดทางธุรกิจต่อไปได้ โดยหลักการแล ้ว บริษทั รถเช่าต้องเผชิญแรงกดดันอย่างเดียวกัน แต่การ ทีบ่ ริษทั ไม่เรียกเก็บค่าปรับยกเลิกการจองนัน้ น่าจะมีรากเหง ้ามาจากข ้อเท็จจริง ทีว่ ่า กิจกรรมทัง้ สามมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน กล่าวคือ การจองรถเช่าเป็ น กิจกรรมทีอ่ ยู่ตรงกลางระหว่างกิจกรรมการจองเทีย่ วบิน ซึง่ เกิดก่อนทันที และ กิจกรรมการจองโรงแรมทีพ่ กั ซึง่ เกิดหลังทันที เนื่องจากทัง้ สายบินและโรงแรม มีค่าปรับกรณียกเลิกการจอง ดังนัน้ ลูกค้าทีเ่ ช่ารถไว ้ยังไงก็จะต้องมาให ้ทันเวลา นัดรับรถทีต่ นเองจองไว ้อยู่แล ้ว ถึงแม ้จะไม่มกี ารเก็บค่าปรับไม่มารับรถตามนัด ก็ตาม ด้วยเหตุน้ ี บริษทั รถเช่าจึงสามารถหลีกเลีย่ งการบาดหมางกับลูกค้าด้วยการ มีนโยบายไม่เก็บค่าปรับเมือ่ ยกเลิกการจอง ทัง้ นี้เนื่องจากโอกาสยกเลิกการจองมี น้อยกว่านัน่ เอง

138

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

5

รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน : ความแตกต่างระหว่างประโยชน์ ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม



ฤษฎี “มือทีม่ องไม่เห็น (Invisible Hand)” ของนักเศรษฐศาสตร์นาม ก้องโลกอย่าง อดัม สมิท คือหนึ่งในแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทไ่ี ด้รบั การ กล่าวขานถึงมากทีส่ ุดของเขา เป็ นบุคคลแรกทีอ่ ธิบายอย่างชัดเจนว่า การแสวงหา ความสุขส่วนตนหรือความสนใจแต่ประโยชน์ส่วนตนของแต่ละบุคคลจะสามารถ ก่อประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมได้ ตัวอย่างเช่น ผู ้ผลิตทีย่ อมรับนวัตกรรมการผลิต ทีช่ ่วยประหยัดต้นทุนเพือ่ หวังจะได้รบั ก�ำไรเพิม่ พบว่าในทีส่ ุดแล ้วเมือ่ มีคู่แข่งอืน่ ๆ กระท�ำตามอย่างเดียวกัน ประโยชน์ทต่ี ามมาจะตกอยู่กบั ผู ้บริโภคส่วนรวมในรูป ราคาสินค้าหรือบริการทีล่ ดลง อดัม สมิท ได้กล่าวยำ�้ เสมอว่า การปล่อยใหต้ ลาดมีการแข่งขันอย่าง เสรีจะน�ำมาซึง่ ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมเสมอ ในต�ำราเรื่อง The Wealth of Nations เขาได้อธิบายถึงผลทีจ่ ะตามมาจากพฤติกรรมการสนใจแต่ประโยชน์สว่ น ตนของเจ้าของธุรกิจไว ้ว่า “การกระท�ำตามสิง่ ทีต่ วั เองสนใจ ก็เหมือนเจ้าของธุรกิจ ได้ช่วยสนับสนุนสังคมส่วนรวมมากกว่าทีต่ วั เองตัง้ ใจจะสนับสนุนจริงๆ”

บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

139

กวางเขาใหญ่ : เก่งหนึ่งตัว แต่โง่ทงั้ ฝูง

SS

ภาพโดย : ดุ๊ก คอนราด

ในยุคของ ชาร์ลส์ ดาร์วนิ บิดาแห่งวิชาชีววิทยา และ โทมัส มัลทัส ผู ้ซึง่ ได้ รับอิทธิพลจากงานเขียนของ อดัม สมิท รวมทัง้ นักเศรษฐศาสตร์คนอืน่ ๆ ทีช่ ่วย กันชี้ใหเ้ ห็นถึงความขัดแย้งในเชิงลึกและเชิงกว ้างระหว่างความสนใจส่วนบุคคล และความสนใจของกลุม่ สมมติฐานหลักของดาร์วนิ กล่าวว่า การคัดเลือกพันธุต์ าม ธรรมชาติจะท�ำให้ได้สายพันธุท์ ม่ี ลี กั ษณะและพฤติกรรมทีเ่ พิม่ ความส�ำเร็จในการสืบ ต่อลักษณะสายพันธุข์ องตัวเองต่อไป จะสืบต่อลักษณะใดนัน้ ไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญ แต่ทส่ี �ำคัญคือ บางลักษณะ (เช่น ความเฉลียวฉลาด) ไม่ใช่เพียงก่อประโยชน์ต่อ ตัวเองและลูกหลานทีส่ บื ต่อ แต่ยงั มีผลรวมไปถึงทัง้ กลุม่ สังคม ในขณะเดียวกัน บางลักษณะก็ก่อใหเ้ กิดประโยชน์ต่อตัวเอง แต่บางลักษณะก็ก่อใหเ้ กิดอันตราย ต่อกลุม่ กวางทีม่ เี ขาใหญ่โตคือตัวอย่างของลักษณะทีก่ ล่าวถึงนี้ สิงโตทะเลและสัตว์ตวั ผู ้อืน่ ๆ ก็เช่นเดียวกัน สามารถผสมพันธุก์ บั สัตว์ตวั เมียในฝูงได้หลายตัว กวางตัวผู ้ทีม่ เี ขาใหญ่จะต่อสู ้กันเองเพือ่ แย่งชิงกวางตัวเมีย อาวุธส�ำคัญทีใ่ ช้ในการต่อสู ้กันก็คอื เขากวาง และกวางตัวทีม่ เี ขาใหญ่กว่ามักจะเป็ น ฝ่ ายชนะ และได้ผสมพันธุก์ บั ตัวเมียหลายตัว ดังนัน้ กวางตัวทีม่ เี ขาใหญ่จงึ จะมี โอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมลักษณะความใหญ่ของเขากวางสูก่ วางรุ่นลูกรุ่นต่อๆ ไป

140

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การแข่งขันเพือ่ แย่งชิ งคู่ ผูช้ นะเท่านัน้ ทีไ่ ด้ทงั้ หมด

SS

ภาพโดย : คริ สเตียน โบซี

แม ้ว่าเขาขนาดใหญ่ของกวางตัวผูจ้ ะช่วยใหเ้ ป็ นฝ่ ายชนะในการแย่งชิงคู่ และได้มาซึง่ กวางตัวเมียเพือ่ การผสมพันธุ ์ แต่ก็ก่อใหเ้ กิดปัญหาตามมาคือ ไม่ สามารถหนีรอดจากสุนขั ป่ าและสัตว์กนิ เนื้ออืน่ ๆ ในแถบป่ าทึบได้ เนื่องจากความ ใหญ่โตเทอะทะของเขากวางนัน่ เอง ดังนัน้ ถา้ หากขนาดของเขากวางสามารถ ลดลงได้ครึ่งหนึ่งก็จะเป็ นประโยชน์ต่อการอยู่รอดของสัตว์ (และทัง้ ฝูงด้วย) ได้ดี ขึ้น แม ้ขนาดเขาของกวางจะมีผลต่อการแพ ้หรือชนะในการต่อสู ้เพือ่ แย่งชิงตัวเมีย ในฝูง แต่ถ ้ากวางตัวผู ้ทุกตัวมีเขาขนาดเล็กลงเป็ นสัดส่วนเดียวกัน ผลของการต่อสู ้ จะยังคงเหมือนเดิมคือ กวางทีม่ ขี นาดของเขาใหญ่กว่าจะเป็ นฝ่ ายชนะ แต่ภายใต้ สถานการณ์อย่างหลังนี้ กวางตัวผู ้ทุกตัวในรุ่นต่อๆ ไปจะมีความปลอดภัยมากขึ้น จากสัตว์กนิ เนื้อต่างๆ การปล่อยใหส้ ตั ว์คดั พันธุต์ ามธรรมชาติ บางครัง้ จึงไม่ใช่แนวทางในการ แก้ปญ ั หาความอยู่รอด ดังเช่นกวางเขาใหญ่ทไ่ี ด้กล่าวไปแล ้ว ส�ำหรับกวางตัวผู ้ที่ มีเขาขนาดเล็กสามารถอยู่รอดจากสัตว์กนิ เนื้อได้ดกี ว่าก็จริง แต่จะมีโอกาสน้อย กว่าในการผสมพันธุก์ บั กวางตัวเมียได้หลายตัวเพือ่ ถ่ายทอดพันธุกรรมลักษณะ เขาขนาดเล็ก ดังนัน้ ลักษณะทางพันธุกรรมของเขาขนาดเล็กทีต่ อ้ งการนี้จะถูก บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

141

ถ่ายทอดไปสูก่ วางรุ่นลูกรุ่นหลาน อันจะเป็ นประโยชน์ต่อการอยู่รอดของอาณาจักร กวางโดยรวมจึงมีอยู่นอ้ ย ขนาดเขาของกวางทีใ่ หญ่จนเกินไปจึงถูกจัดอยู่ในชัน้ ของลักษณะทีเ่ รียกว่า เก่งหนึ่งตัว แต่โง่ทงั้ ฝูง มีตวั อย่างท�ำนองนี้มากมายให ้เห็นในชีวติ ประจ�ำวัน กรณี หลักแห่งรายได้และต้นทุน แสดงใหเ้ ห็นว่าบุคคลจะตัดสินใจด�ำเนินกิจกรรมใด ก็ตาม ต่อเมือ่ รายได้หรือผลประโยชน์ส่วนตนทีไ่ ด้รบั จากกิจกรรมนัน้ มากกว่า ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายทีต่ อ้ งเสียไป ถ ้าแต่ละบุคคลตัดสินใจไปโดยทีต่ วั เองเป็ นผู ้ได้รบั ผลประโยชน์เองทัง้ หมดและรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายทีเ่ กี่ยวข ้องทัง้ หมด ถา้ เป็ น เช่นนี้แล ้ว สังคมโดยรวมจะได้สง่ิ ทีเ่ รียกว่า “มือทีม่ องไม่เห็น” ตามมาส�ำหรับช่วย จัดสรรทรัพยากรจ�ำกัดทีม่ อี ยู่ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ปญ ั หาก็คอื การ ตัดสินใจด�ำเนินกิจกรรมของบุคคลต่างๆ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์กบั ต้นทุน หรือ เกิดผลดีผลเสียแก่ผู ้อืน่ ด้วย เมือ่ มีหนึ่งคนลุกขึ้นยืนในหมู่ผูช้ มทีน่ งั ่ กันอยู่ แน่นอนว่าคนทีน่ งั ่ อยู่หลัง ผู ้ยืนจะถูกบดบังสายตาไป ในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน ถ ้ามีจ �ำนวนเรือออกทะเลเพือ่ หาปลาเพิม่ ขึ้นทุกวัน ปริมาณสัตว์นำ�้ ทีเ่ รือแต่ละล�ำจับได้ย่อมลดลง จากกรณีเหล่า นี้ กลไกของมือทีม่ องไม่เห็นจะไม่สามารถท�ำงานได้ เพราะถ ้าทุกคนในหมูค่ นทีน่ งั ่ ลุกขึ้นยืนเหมือนกันหมดเพือ่ ต้องการดูการแสดงให ้เห็นชัดเจนขึ้น จะไม่มใี ครได้ เห็นภาพการแสดงดีกว่าตอนทีน่ งั ่ ดู และเมือ่ ไรก็ตามทีช่ าวประมงคิดว่ารายได้ท่ี คาดว่าจะได้รบั จากการออกทะเลจับปลามีมากกว่าค่าเสียโอกาสของเวลาและค่า โสหุยต่ ้ างๆ แล ้ว ผลทีจ่ ะเกิดขึ้นตามมาคือ สถานการณ์ทม่ี กี ารจับปลามากเกินไป (Overfishing) อันเป็ นเรื่องน่าเศร้าทีเ่ กิดกับทรัพยากรทีท่ กุ คนเป็ นเจ้าของรวมกัน ในบทนี้จะได้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างความสนใจส่วนตนและความ สนใจส่วนรวม สามารถช่วยตอบค�ำถามทีน่ ่าสนใจต่างๆ มากมาย

142

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด แพทย์ จงึ ชอบสั่งยาปฏิชีวนะมากเกินความจ�ำเป็ น (กรณีศกึ ษาของ เฟรด ฮีเบอร์ เล) เมือ่ คนป่ วยไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือหู อักเสบ จะพบว่ามีแพทย์จ �ำนวนมากชอบสังจ่ ่ ายยาปฏิชวี นะให ้คนป่ วย ถ ้าการติด เชื้อมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย (ไม่ใช่เชื้อไวรัส) การให ้ยาปฏิชวี นะจะช่วยให ้หาย เร็วขึ้น แต่ทกุ ครัง้ ทีค่ นป่ วยกินยาปฏิชวี นะ ก็จะมีความเสีย่ งบา้ งจากการต่อต้าน ของเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ดังนัน้ กระทรวงสาธารณสุขในหลายประเทศจึงขอ ให ้แพทย์สงยาปฏิ ั่ ชวี นะให้คนไข ้ทีม่ อี าการติดเชื้อรุนแรงมากเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม มีแพทย์จำ� นวนมากยังคงสังจ่ ่ ายยาปฏิชวี นะให ้กับคนป่ วยทีต่ ดิ เชื้อเพียงเล็กน้อย แล ้วท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ แพทย์สว่ นใหญ่เข ้าใจถึงปัญหาการดื้อยาอันเนื่องมาจากการให้ยาปฏิชวี นะ กับคนป่ วย เมือ่ ปี 1947 เพียง 4 ปี ภายหลังจากยาเพนิซลิ นิ (Penicillins) ออกสูต่ ลาด มีการค้นพบว่าแบคทีเรียสายพันธุส์ เตปฟิ โลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ในร่างกายมนุษย์ต่อต้านยานี้ แพทย์จ �ำนวนมากยังรูด้ ว้ ยว่าเชื้อแบคทีเรีย ที่ต่อต้านยาปฏิชีวนะยังสามารถเป็ นต้นเหตุแห่งโรคภัยร้ายแรงของมนุ ษย์ ใน ตอนแรกทีค่ น้ พบเชื้อนี้ แพทย์เริ่มต้นรักษาด้วยยาปฏิชวี นะอีกชนิดหนึ่งคือ ยา เมทิซลิ ลิน (Methicillin) แต่ยานี้ใช้อย่างได้ผลเพียงในระยะหนึ่งเท่านัน้ ก็พบ การดื้อยานี้ทเ่ี กิดจากเชื้อแบคทีเรีย MRSA (Methicillin Resistant Staphylo– coccus Aureus) ซึ่งค้นพบในสหราชอาณาจักรเมือ่ ปี 1961 โรคติดเชื้อใน เลือดทีเ่ กิดจากเชื้อแบคทีเรีย MRSA เป็ นสาเหตุการเสียชีวติ ของผูป้ ่ วยทีส่ ูงถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ของจ�ำนวนผู ้ป่ วยทัง้ หมดในสหราชอาณาจักรเมือ่ ปี 1999 เมือ่ เทียบ กับปี 1991 ทีม่ เี พียง 4 เปอร์เซ็นต์ การสัง่ จ่ายยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่ หลายมากเกินไปเป็ นต้นเหตุแห่ง โศกนาฏกรรมสาธารณะทีพ่ บ ดังเช่นตัวอย่างทีเ่ กิดกับการจับปลาในทะเลทีม่ าก เกินไป จนส่งผลต่อความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรทางทะเลและการประมงโดย

บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

143

รวม การจับปลาของชาวประมงแต่ละคนจะไม่ท �ำให ้ปลาหมดไปจากทะเลได้ฉนั ใด การให้ยาปฏิชวี นะของแพทย์คนหนึ่งจะไม่ท �ำให้เกิดแบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชวี นะ ขึ้นได้ฉนั นัน้ อย่างไรก็ตาม เมือ่ แพทย์มกี ารสังจ่ ่ ายยาบ่อยๆ แพร่หลายมากขึ้น และ มีจ �ำนวนคนป่ วยกินยาปฏิชวี นะมากขึ้นเรื่อยๆ ในทีส่ ุดก็มเี ชื้อแบคทีเรียทีเ่ ป็ นต้น เหตุแห่งโรคจ�ำนวนหนึ่งมีแนวโน้มอยู่รอดไม่ถกู ท�ำลายโดยยา ตัวทีอ่ ยู่รอดหรือ ดื้อยาได้ซง่ึ ไม่ได้เกิดโดยบังเอิญ แต่เป็ นเพราะมีโครงสร้างทางพันธุกรรมทีพ่ เิ ศษจึง ไม่ถกู ยาท�ำลาย แม ้เซลล์แบคทีเรียทีต่ า้ นทานยาเหล่านี้อาจยังคงถูกท�ำลายได้เมือ่ ให ้ยาสูงขึ้น แต่ในระยะยาวเมือ่ มีการกลายพันธุส์ ะสมไปเรื่อยๆ ท�ำให ้แบคทีเรียที่ ดื้อยาเหล่านี้จะยิง่ อยู่รอดและมีความต้านทานกับยามากขึ้น แพทย์เผชิญกับทางสองแพร่ง เมือ่ คนป่ วยเรียกร้องการรักษาด้วยยาปฏิชวี นะ โดยมีความเชือ่ ว่าการกินยาจะสามารถช่วยให ้โรคหายเร็วขึ้น แพทย์บางคนปฏิเสธ การรักษาโรคติดเชื้อเล็กๆ น้อยๆ ด้วยยาปฏิชวี นะ แต่กม็ แี พทย์หลายคนทีย่ อม กระท�ำ เพราะรูว้ า่ หากไม่ท �ำ ผู ้ป่ วยก็จะหันไปรักษากับแพทย์รายอืน่ ๆ ทีย่ อมรักษา ด้วยยาปฏิชวี นะแม ้แต่กบั โรคทีต่ ดิ เชื้อเล็กน้อยมากก็ตาม การทีแ่ พทย์ยอมท�ำตามใจคนป่ วย อาจตัดสินใจบนพื้นฐานความรูท้ ว่ี ่า การจ่ายยาให้คนไข ้เพียงครัง้ เดียวไม่น่ามีผลต่อการก�ำเนิดของเชื้อแบคทีเรียทีด่ ้อื ยา ได้ แต่โชคไม่ดเี ป็ นอย่างยิง่ เพราะการตัดสินใจดังกล่าวจากหลายๆ คน ได้ส่งผล กระทบโดยรวมทีท่ �ำให ้เชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึง่ เป็ นสาเหตุท �ำให ้เชื้อโรคร้ายแรงยิง่ ขึ้นไปอีก

เพราะเหตุใด ผู้หญิงจึงยอมทนเจ็บกับการใส่ รองเท้ าส้ นสูง (กรณีศกึ ษาของ ดิกบี้ ล็อค) บ่อยครัง้ ทีร่ องเท้าส้นสูงเป็ นสาเหตุท �ำให้ผู ้หญิงทีใ่ ส่เกิดความไม่สบายเท้าและล�ำบาก ในการเดิน โดยเฉพาะถ ้าใส่นานๆ จะมีผลไปถึงการปวดเทา้ หัวเข่า และหลังตาม มา ถ ้าเป็ นเช่นนัน้ ท�ำไมจึงยังคงมีผู ้หญิงอดทนใช้มนั อยู่

144

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เช่นเดียวกับการแข่งขันกี ฬา ในการออกเดตกับแฟน การใส่รองเท้าส้นสูงจะช่วยให้ผูห้ ญิ งมี ความมัน่ ใจมากกว่า SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

มีค �ำถามว่า ท�ำไมผูห้ ญิงจึงยอมทนเจ็บกับการใส่รองเท ้าสน้ สูงนัน้ ตอบ สัน้ ๆ ได้วา่ เพราะการใส่รองเท ้าส ้นสูงจะเพิม่ ความสง่าให ้กับผู ้หญิง จากวารสาร Sense and Sensibility เจน ออสเตน บรรยายลักษณะของดารานักแสดง อีลนิ อร์ เดชวูด ไว ้ว่า เป็ นผู ้ที่ “มีบคุ ลิกภาพสุภาพอ่อนโยน หน้าตาสวย และมีรูปร่างสง่า งาม” และบรรยายถึงมาเรียนน์ผู ้เป็ นพีส่ าวของ อีลนิ อร์ เดชวูด ว่า “ยังคงรักษา รูปร่างได้ดแี ม ้ส่วนสัดอาจไม่ดกี ว่า แต่เนื่องจากมีความสูงมากกว่าจึงท�ำใหด้ ูเด่น กว่า” แปลความได้วา่ การใส่รองเท้าส้นสูงช่วยให้ผู ้หญิงดูสูงสง่าขึ้น นักเขียนแฟชัน่ ผู ้หนึ่งชือ่ คาโรลีน คอกซ์ กล่าวไว ้ว่า “ผู ้ชายชอบผู ้หญิงทีม่ รี ูปร่างสูง” อย่างไรก็ตาม การใส่รองเทา้ สน้ สูงมีข ้อเสียคือ จะท�ำใหผ้ ูห้ ญิงทีใ่ ส่นนั้ หลังโก่ง อกยื่นออกไป ข ้างหน้า แต่สะโพกโด่งไปข ้างหลัง และอาจมีรูปทรงเปลีย่ นแปลงไปเมือ่ ใส่ระยะยาว บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

145

ปัญหาก็คอื หากผู ้หญิงทุกคนใส่รองเทา้ ส ้นสูง ประโยชน์ทจ่ี ะช่วยให ้ผู ้ใส่ คนหนึ่งคนใดดูสูงสง่าขึ้นเป็ นอันถูกลบล ้างกันไป เนื่องจากความสูงโดยเปรียบ เทียบไม่ได้ต่างไปจากผู ้หญิงคนอืน่ ๆ กล่าวในอีกทางหนึ่งคือ ค่าการกระจายความ สูงโดยเปรียบเทียบ (Relative Height Distribution) ของผู ้หญิงทุกคนยังคงมี ค่าเหมือนเดิม ตามหลักการก็อาจเป็ นการดีทผ่ี ู ้หญิงคนหนึ่งจะสูงขึ้นอีกหลายนิ้ว หรือไม่ตำ� ่ กว่าผูห้ ญิงคนอืน่ หลายนิ้ว แต่ถา้ ผูห้ ญิงทุกคนใส่รองเทา้ สน้ สูงทีท่ �ำให ้ สูงขึ้นอีกหลายนิ้วเหมือนกันแล ้ว ค่าการกระจายความสูงโดยเปรียบเทียบก็เป็ น อันเท่ากันเหมือนทีเ่ คยเป็ น สมมติว่า ถ ้าผูห้ ญิงทุกคนสามารถตกลงกันได้ว่าจะ ใส่รองเทา้ ประเภทใด ก็ไม่จ �ำเป็ นต้องใส่รองเทา้ ส ้นสูงกันอีกต่อไป แต่เป็ นเพราะ ผู ้หญิงแต่ละคนยังสามารถได้ประโยชน์จากการใส่รองเท้าส ้นสูงอยู่ จึงเป็ นการยาก มากทีจ่ ะสามารถรักษาข ้อตกลงร่วมกันดังกล่าวได้

เพราะเหตุใด ซูเปอร์ มาร์ เก็ตหลายแห่ ง แม้ แต่ ในเมืองเล็กๆ เปิ ดท�ำการ ตลอด 24 ชั่วโมง เมืองใหญ่และเมืองขนาดกลางหลายแห่งมีซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายของช�ำ หลายร้านทีเ่ ปิ ดบริการตลอด 24 ชัว่ โมง ผู ้ซื้อทีแ่ วะซื้อสินค้าทีซ่ ูเปอร์มาร์เก็ตใน เวลาตีส่ี อาจพบว่ามีเพียงตัวเองเท่านัน้ ทีไ่ ม่ได้เป็ นพนักงานของร้าน ส�ำหรับค่าใช้ จ่ายทีเ่ กี่ยวข ้องกับการเปิ ดร้านตลอดวันตลอดคืนแม ้จะไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ใช่ ค่าใช้จ่ายต�ำ่ อย่างทีค่ ิด ซูเปอร์มาร์เก็ตต้องรับภาระจ่ายค่ากระแสไฟฟ้ า เครื่อง ท�ำความร้อน เครื่องปรับอากาศ ค่าน�ำ้ ค่าไฟต่างๆ ฯลฯ เพิม่ มากขึ้น ในกรณีท่ี เปิ ดท�ำการตอนกลางคืน นอกจากนี้ ยังจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาใหก้ บั พนักงาน ขาย พนักงานเก็บสต็อกสินค้า และเจ้าหน้าที่รกั ษาความปลอดภัยในช่วงกะ กลางคืนด้วย เนื่องจากค่ าใช้จ่ายเพิ่มเหล่านี้รวมแลว้ น่ าจะสู งกว่าก�ำไรเพิ่มที่ จะได้รบั จากยอดขายเพียงไม่ก่ีชวั ่ โมงที่เปิ ดบริการตอนกลางคืน เพราะเหตุใด ซูเปอร์มาร์เก็ตเหล่านี้จงึ ยังคงเปิ ดให ้บริการในตอนกลางคืน ปัจจัยทีส่ ่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผูบ้ ริโภคใหไ้ ปซื้อของในซูเปอร์ มาร์เก็ตแห่งใดแห่งหนึ่ง ประกอบไปด้วย ราคา จ�ำนวนชนิดสินค้าทีจ่ �ำหน่าย ความ

146

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

สะดวกของท�ำเลทีต่ งั้ และเวลาทีเ่ ปิ ดให้บริการ ฯลฯ ผู ้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกไป ร้านทีต่ วั เองเดินทางสะดวก และจะซื้อสินค้าเกือบทุกรายการทีต่ อ้ งการในร้านนัน้ เมือ่ ผู ้บริโภคได้เรียนรูแ้ ละคุน้ เคยกับต�ำแหน่งการจัดวางสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ต แห่งใดแล ้ว ก็จะไม่เสียเวลาไปหาซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นอีก ด้วยเหตุน้ ี ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งจึงต่างพยายามแข่งขันกันให ้ตัวเองเป็ นทางเลือกแรกทีผ่ ู ้ บริโภคจะมาหาซื้อสินค้าทีร่ า้ นตัวเองให ้มากทีส่ ุด โดยปกติราคาและความหลากหลายของสินค้าที่มขี ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างๆ ในเมืองเล็กจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านัน้ แต่ถา้ มีรา้ นใด ร้านหนึ่งบกพร่องในปัจจัยดังกล่าว ก็อาจเป็ นเหตุให ้ผู ้บริโภคตัดสินใจเปลีย่ นไป จับจ่ายใช้สอยในซูเปอร์มาร์เก็ตอืน่ แทน หรือไม่กเ็ ลิกเป็ นลูกค้าประจ�ำกับห้างเดิม ส่วนปัจจัยด้านสถานทีต่ งั้ ของซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ใช่ปจั จัยส�ำคัญต่อการตัดสินใจไป ซื้อสินค้าส�ำหรับผูบ้ ริโภคทีม่ รี ถยนต์ สมมติวา่ ซูเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งในเมืองปิ ด ระหว่างเวลา 23.00 – 07.00 น. เหมือนกัน แต่บงั เอิญมีอยูแ่ ห่งหนึง่ ทีเ่ ปิดถึง 24.00 น. และปิ ดหลังจากนัน้ จนถึง 07.00 น. ในไม่ชา้ ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้จะกลายเป็ นร้าน ทีม่ คี วามสะดวกซื้อมากทีส่ ุดทันทีในเรื่องเวลา แม ้ว่าโดยข ้อเท็จจริงแล ้ว โอกาสที่ ผู ้บริโภคจะออกมาซื้อสินค้าในช่วงเวลา 23.00 – 24.00 น. มีนอ้ ยมากก็ตาม แต่ก็ จะเลือกร้านค้านี้เป็ นร้านประจ�ำของเขาต่อไป เป็ นเพราะหากเกิดความจ�ำเป็ นทีจ่ ะ ต้องหาซื้อสินค้าจ�ำเป็ นในช่วงเวลาทีก่ ล่าวก็ยงั จะมีซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้ทเ่ี ขาพอ พึง่ พาอาศัยได้ แม ้ซูเปอร์มาร์เก็ตทีข่ ยายเวลาเปิดเพิม่ อีก 1 ชัวโมง ่ (23.00 – 24.00 น.) อาจขายสินค้าเพิม่ ได้อกี ไม่ก่บี าท แต่การขยายเวลาบริการจะเป็ นวิธเี หนี่ยวน�ำให ้ มีผู ้ซื้อสินค้าเลือกเป็ นร้านประจ�ำต่อไป แทนทีจ่ ะเห็นลูกค้าประจ�ำหนีหายไป ซูเปอร์มาร์เก็ตทีเ่ ป็ นคู่แข่งจะขยาย เวลาเปิ ดใหบ้ ริการเป็ นช่วงเวลาเดียวกัน แต่ในไม่ชา้ หลังจากนัน้ จะเห็นมีซูเปอร์ มาร์เก็ตทีข่ ยายเวลาไปปิ ดตอนตีหนึ่ง และหากต้นทุนขยายเวลาปิ ดออกไปอีก 1 ชัว่ โมงไม่มากนัก ในทีส่ ุดจะเห็นมีซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่เปิ ดตลอด 24 ชัว่ โมง และนี่คอื ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึ้นจริง บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

147

ในเมือ่ เกือบทุกซูเปอร์มาร์เก็ตตัดสินใจเปิ ดร้านขายสินค้าตลอดคืนเหมือน กัน เวลาจึงไม่ใช่อปุ สรรคทีท่ �ำให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันอีกต่อ ไป กลับเป็ นปัจจัยอืน่ ๆ ทีแ่ ต่ละซูเปอร์มาร์เก็ตต้องแข่งขันกันเพือ่ สร้างจุดเด่นหรือ จุดขายของร้านตัวเอง เช่น ชื่อเสียงในด้านความอร่อยในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ หรือ ขายแต่สนิ ค้าน�ำเข ้าจากต่างประเทศ ฯลฯ แต่จะไม่มแี ห่งไหนคิดถึงเรื่องการปิ ด ขายช่วงกลางคืนอีกต่อไป ร้านขายของช�ำบางแห่งไม่ได้เปิ ดขายสินค้าตลอดทัง้ คืนเสมอไป และใน เมืองเล็กๆ หลายแห่งพบว่าไม่มรี า้ นใดเลยทีเ่ ปิ ดตอนกลางคืน ดังนัน้ แม ้ว่าพลวัต การแข่งขันทางการค้าจากทีไ่ ด้อธิบายไปแล ้ว อาจเป็ นมูลเหตุให้ร้านค้าต้องท�ำการ เปิ ดขายตอนกลางคืนส�ำหรับบางเมือง แต่มไิ ด้หมายความว่าแนวคิดและแนวทาง ปฏิบตั นิ ้ ไี ด้แพร่กระจายไปสู่เมืองอืน่ ๆ ครบถ ้วนทุกเมืองแล ้ว

เพราะเหตุใด ร้ านค้ าต่ างๆ จึงเริ่ มตกแต่ งประดับประดาเพื่อฉลอง เทศกาลคริสต์ มาสตัง้ แต่ ในเดือนกันยายน (กรณีศกึ ษาของ เมลิสสา มัวร์ และ อีริก เซสส์ ) ฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลคริสต์มาสจะเริ่มขึ้นอย่างเป็ นทางการตัง้ แต่ วัน Advent* ซึง่ เป็ นวันอาทิตย์สุดทา้ ยของปลายเดือนพฤศจิกายนเป็ นต้นไป อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบตั ิ เราจะเริ่มเห็นร้านค้า ซูเปอร์สโตร์ และศูนย์การค้า ต่างๆ มีการประดับประดาต้นคริสต์มาสและพวงดอกไม ้เฉลิมฉลองในเทศกาล นี้มาตัง้ แต่ตน้ เดือนกันยายนแล ้ว การเริ่มทีเ่ ร็วขึ้นจะต้องมีตน้ ทุนค่าเสียโอกาส เนื่องจากชัน้ วางสินค้าปกติต่างๆ จะถูกตกแต่งประดับประดาและวางสินค้าส�ำหรับ เทศกาลคริสต์มาส ดังนัน้ ร้านค้าใดเริ่มต้นเฉลิมฉลองเทศกาลทีเ่ ร็วกว่าก�ำหนด ก็ตอ้ งแลกกับการสูญเสียรายได้จากการขายสินค้าปกติทล่ี ดลง เนื่องจากวงเงินที่ ผู ้บริโภคใช้จบั จ่ายสินค้าส�ำหรับเทศกาลคริสต์มาสจะไม่เกีย่ วอะไรกับระยะเวลาของ * Advent หรือ Advent day หมายถึงช่วงเวลาสีส่ ปั ดาห์ก่อนวันคริสต์มาส

148

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การเฉลิมฉลอง เมือ่ เป็ นเช่นนี้แล ้ว ท�ำไมร้านค้าต่างๆ จึงเริม่ ประดับประดาเครือ่ ง ตกแต่งเพือ่ กระตุน้ ยอดขายสินค้าเนือ่ งในเทศกาลคริสต์มาสเร็วกว่าก�ำหนดเช่นนี้ ข ้อมูลทางสถิตพิ บว่า ยอดขายสินค้าเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาสคิด เป็ น 40 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณของยอดขายสินค้ารวมในแต่ละปี มีอตั ราก�ำไร คิดเป็ น 65 เปอร์เซ็นต์ของก�ำไรประจ�ำปี ดังนัน้ หากร้านใดเริ่มตกแต่งช้า คอย เวลาจนกระทังวั ่ น Advent มาถึง จึงค่อยเริ่มตกแต่งร้านและวางสินค้าขายส�ำหรับ เทศกาลคริสต์มาส จะท�ำให ้เสียเปรียบร้านค้าคู่แข่งอืน่ ทีเ่ ริ่มก่อนเป็ นอย่างมาก เพือ่ เป็ นการป้ องกันตัวเอง ร้านค้าส่วนใหญ่ต่างเริ่มตกแต่งร้านเพือ่ กระตุน้ การขายสินค้าเนื่องในเทศกาลคริสต์มาสเร็วกว่าก�ำหนดเหมือนๆ กัน บางร้านอาจ ตัง้ ป้ ายโฆษณาหน้าร้านบอกวันเวลาเริ่มเทศกาลลดราคา เร็วกว่าร้านอืน่ สองสาม วันด้วยซ�ำ้ เนื่องจากการแข่งขันระหว่างร้านค้าปลีกมีสูงมากส�ำหรับช่วงไม่ก่ปี ี มา นี้ เราจะเริ่มเห็นว่ามีการขยับวันเริ่มต้นขายสินค้าในเทศกาลคริสต์มาส (ทีไ่ ม่เป็ น ทางการ) เร็วขึ้นมาอีกเป็ นหลังวันฮาโลวีนในหา้ งสรรพสินค้าหลายแห่ง ค�ำถามทีน่ ่าคิดคือ เราจะมีโอกาสเห็นห้างสรรพสินค้าจัดรายการขายสินค้า เนื่องในเทศกาลคริสต์มาสตลอดปี ดังทีเ่ ราเห็นการขายสินค้าตลอด 24 ชัว่ โมง ของซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งหรือไม่ ค�ำตอบคือ เป็ นไปได้ แต่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะซูเปอร์มาร์เก็ตมีค่าใช้จ่ายเพิม่ ขึ้นไม่มากเท่าไรก็สามารถเปิ ดตลอดคืนได้ แต่หา้ งสรรพสินค้าทีจ่ ะจัดรายการขายสินค้าเทศกาลคริสต์มาสอันยาวนานต้อง สูญเสียรายได้จากการขายสินค้าปกติไปมาก เมือ่ ถึงจุดหนึ่ง ค่าเสียโอกาสของราย ได้อาจสูงมากจนไม่สามารถรับได้ แล ้วห้างสรรพสินค้าทีไ่ ม่สามารถหาสินค้าทีท่ �ำให้ เกิดก�ำไรให้มากกว่าขายสินค้าในเทศกาลคริสต์มาสทีจ่ ดั ในช่วงเดือนมีนาคม คงไม่ สามารถอยู่รอดทางธุรกิจในระยะยาวอยู่แล ้ว

ท�ำไมผลเชอร์ ร่ ี จากต้ นที่ปลูกในสวนสาธารณะจึงถูกเก็บกินเร็วเกินไป เช่นเดียวกับผลไมท้ วั ่ ไป ผลเชอร์ร่ีท่สี ามารถกินได้ตอ้ งผ่านวงจรการสุกตาม ธรรมชาติก่อน ซึง่ ผลทีด่ บิ จะมีรสฝาด แต่ถา้ ปล่อยใหส้ ุกตามอายุจะมีรสหวาน บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

149

ชวนกิน เนื่องจากมีปริมาณน�ำ้ ตาลในผลเพิม่ ขึ้น เกษตรกรทีป่ ลูกต้นเชอร์ร่เี ป็ น อาชีพ จะรูว้ นั ทีค่ วรเก็บเกี่ยวผลผลิตเพือ่ ให ้ได้ผลเชอร์ร่ที ส่ี ุกเหมาะแก่การกินได้ พอดีกบั วันทีส่ ง่ ถึงซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างไรก็ตาม ต้นเชอร์รท่ี ป่ี ลูกตามสวนสาธารณะ ทัวไปมั ่ กถูกเก็บผลในขณะทีย่ งั ไม่มคี วามหวานเพียงพอแก่การกิน ถา้ ประชาชน รอให ้ผลบนต้นสุกไปอีกระยะหนึ่งจึงค่อยเก็บ ก็จะมีความสุขกับการกินมากกว่า เดิมมาก แต่ทำ� ไมเขาไม่รอ เกษตรกรทีป่ ลูกต้นเชอร์ร่เี ป็ นอาชีพจะปลูกต้นไม ้บนทีด่ นิ ของตัวเอง ท�ำให้ คนทีบ่ กุ รุกล่วงลำ�้ เข ้าไปแอบเก็บกินผลเชอร์รจ่ี ะมีความผิดตามกฎหมาย เกษตรกร เหล่านี้จงึ ไม่มสี ง่ิ จูงใจให้ต้องรีบเก็บเกี่ยวผลก่อนเวลา เหนือสิง่ อืน่ ใดก็คอื เจ้าของ ซูเปอร์มาร์เก็ตจะให้ราคาสูงขึ้นส�ำหรับผลเชอร์ร่ที ส่ี ุกพอเหมาะ เนื่องจากผู ้บริโภค เต็มใจจ่ายในราคาสูงส�ำหรับผลเชอร์ร่คี ุณภาพดี แต่สง่ิ จูงใจเหล่านี้ไม่มสี �ำหรับต้นเชอร์ร่ใี นสวนสาธารณะทีป่ ระชาชนทุกคน มีเสรีภาพเท่ากันในการเก็บผลมากิน แม ้ว่าการรอนานอีกสักนิดเพือ่ ให ้ผลสุกเต็ม ทีจ่ ะเป็ นประโยชน์ต่อทุกคนทีจ่ ะได้กนิ ผลเชอร์ร่ที อ่ี ร่อย แต่ปรากฏว่าใครก็ตามที่ ยอมรอก็จะไม่มโี อกาสได้เก็บลูกเชอร์ร่ี เพราะมันหมดต้นไปแล ้ว ผลเชอร์ร่ใี นสวนสาธารณะจะเริ่มถูกเก็บกินในระยะทีเ่ ริ่มสุกพอกินได้ ซึง่ ยังดีกว่าไม่มใี ห ้เก็บกินเลย แม ้จะมีรสฝาด ไม่อร่อย แต่จะไม่มผี ลเชอร์ร่สี ุกเหลือ ให ้เด็ดกินได้ เพราะเราไม่สามารถหา้ มมิให ้คนอืน่ เก็บผลดิบกินก่อนหน้านัน้

เพราะเหตุใด วิธีการหารค่ าใช้ จ่ายตามใบเสร็จมีผลเหมือนกับเป็ นการ บังคับให้ ผ้ ูบริโภคต้ องพยายามใช้ จ่ายมากขึน้ ในภัตตาคาร เพือ่ นฝูงทีม่ ารับประทานอาหารร่วมกันในภัตตาคาร โดยทัวไปจะแบ่ ่ งจ่ายเงินค่า อาหารเท่าๆ กัน วิธนี ้ จี ะเพิม่ ความสะดวกให ้แก่พนักงานเก็บเงิน โดยไม่ตอ้ งเขียน บิลแยกเป็ นรายคนซึง่ ยุ่งยากมาก เพราะต้องรูว้ า่ ใครกินหรือดืม่ อะไร และในราคา เท่าไร เพือ่ จะได้ค �ำนวณบิลใหถ้ ูกต้องเป็ นรายคน แต่วธิ ีแชร์ค่าใช้จ่ายเท่ากันนี้

150

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ก็ได้รบั การต่อต้านจากบางคนซึง่ เห็นว่าไม่ยุตธิ รรม เพราะบางคนกินหรือดืม่ น้อย หรือสัง่ อาหารราคาถูก แต่ตอ้ งรับภาระจ่ายมากกว่าส่วนที่ตวั เองควรต้องจ่าย นอกจากนี้ วิธกี ารหารค่าใช้จ่ายพบว่าท�ำใหเ้ กิดสิง่ จูงใจใหใ้ ช้จ่ายมากกว่าวิธที ใ่ี ห ้ แต่ละคนแยกจ่ายค่าบิลเอง ท�ำไมวิธีหารค่าใช้จ่ายจึงมีผลกระทบดังกล่าว ลองพิจารณากรณีทม่ี คี นกลุม่ หนึ่งจ�ำนวน 10 คน ตกลงกันล่วงหน้าว่าจะ มารับประทานอาหารร่วมกันในภัตตาคารแห่งหนึ่ง โดยหารเฉลีย่ ค่าอาหารเท่าๆ กัน และสมมติว่ามีสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มได้วางแผนไวล้ ่วงหน้าว่าจะสัง่ สเต็ก เนื้อ ซึง่ จานปกติราคา 10 ปอนด์ จานใหญ่ราคา 15 ปอนด์ สมมติต่อไปว่า ความ พึงพอใจเพิม่ ทีเ่ ขาจะได้รบั จากการรับประทานสเต็กเนื้อจานใหญ่ตมี ลู ค่ าเป็ นตัว เงินแล ้วมากกว่าทีจ่ ะได้รบั จากสเต็กเนื้อจานเล็กเป็ นเงิน 2.50 ปอนด์ ถา้ เขาไป กินอาหารทีภ่ ตั ตาคารคนเดียว เขาก็จะสังสเต็ ่ กเนื้อจานเล็กแน่นอน เนื่องจากสัง่ จานใหญ่จะมีมลู ค่าเพิม่ ทีไ่ ด้รบั เพียง 2.50 ปอนด์ ซึง่ น้อยกว่าเงินทีเ่ ขาต้องจ่าย เพิม่ จริงอีก 5 ปอนด์ แต่เนื่องจากในกลุม่ มีข ้อตกลงกันแล ้วว่างานนี้จะหารค่า ใช้จ่ายเท่าๆ กัน ซึง่ การสังจานใหญ่ ่ จะท�ำให ้เขาต้องจ่ายเพิม่ ในส่วนของเขาอีกเพียง 50 เพนนีเท่านัน้ (ทัง้ กลุม่ จ่ายเพิม่ 5 ปอนด์ หารเฉลีย่ 10 คน คนละ 50 เพนนี) และเนื่องจากการกินสเต็กเนื้อจานใหญ่ก่อให ้เกิดความพึงพอใจเพิม่ ต่อเขา 2.50 ปอนด์ ดังนัน้ เขาจึงจะสังสเต็ ่ กเนื้อจานใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์พจิ ารณาว่าการตัดสินใจข ้างต้นไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วน รวม เนื่องจากผลประโยชน์สุทธิทส่ี ่วนบุคคลได้รบั เพิม่ จากการสังสเต็ ่ กเนื้อจาน ใหญ่มมี ลู ค่าเท่ากับ 2 ปอนด์นนั้ (มาจากมูลค่าเพิม่ 2.50 ปอนด์ หักด้วยรายจ่าย เพิม่ 0.50 ปอนด์) น้อยกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิรวมทีก่ ลุม่ ต้องเสียไปเท่ากับ 4.50 ปอนด์ ซึง่ เพือ่ นทีเ่ หลือ 9 คนต้องช่วยกันหารค่าใช้จ่ายให ้จากการสังสเต็ ่ กเนื้อจานใหญ่ แมว้ ่าการหารค่ าใช้จ่ายเท่ากันอาจไม่เป็ นการยุติธรรมและไม่ก่อใหเ้ กิด ประสิทธิภาพโดยรวม แต่วธิ นี ้ คี งจะไม่สูญหายไปทางปฏิบตั ิ เนื่องจากความสะดวก และความสูญเสียทีเ่ กิดขึ้นค่อนข ้างน้อย บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

151

ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ : คุม้ หรื อไม่กบั การท�ำให้จราจรติ ดขัด

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

เพราะเหตุใด อุบตั เิ หตุบนมอเตอร์ เวย์ ขาออก กลับท�ำให้ การจราจร ติดขัดบนมอเตอร์ เวย์ ขาเข้ า (กรณีศกึ ษาของ โทมัส เชลลิ่ง) เมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุข้นึ บนถนนสายมอเตอร์เวย์ขาออกจากในเมือง สามารถเข ้าใจได้ ไม่ยากว่าเหตุใดการจราจรจึงติดขัด เพราะคุณจะเห็นทัง้ รถคู่กรณีทช่ี นกัน รถ บริษทั ประกันภัย รถพยาบาล รถเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ ฯลฯ จอดขวางเส ้นทางจราจร อยู่บนเลนถนนขาออก ท�ำให ้รถติดเป็ นชัว่ โมง เพราะเหตุใด อุบตั เิ หตุดงั กล่าวจึง ท�ำให ้รถติดยาวเหยียดเป็ นไมล์บนเลนขาเข ้าของมอเตอร์เวย์ดว้ ย เมือ่ เกิดอุบตั ิเหตุข้ นึ บนมอเตอร์เวย์ขาออก คนรถทางฝัง่ ขาเขา้ เมือ่ ขับ เข ้าใกล ้จุดทีเ่ กิดอุบตั เิ หตุ เขาอาจก�ำลังคิดถึงข ้อดี – ข ้อเสียดังนี้ อย่างข ้อเสียของ การชะลอรถใหช้ า้ ลงเพือ่ จะได้เห็นภาพอุบตั เิ หตุชดั เจนขึ้น อาจท�ำใหเ้ ขาไปถึงจุด หมายล่าช้าออกไปหลายวินาที ส่วนข ้อดีคือ เขาจะสมใจกับความอยากรูอ้ ยาก

152

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เห็นของเขา ส�ำหรับคนขับรถส่วนใหญ่เมือ่ พิจารณาจากพฤติกรรมแล ้ว ซึง่ ข ้อดี ดูน่าจะมีมากกว่าข ้อเสีย แต่สง่ิ ทีร่ ถส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้พจิ ารณาและค�ำนึงถึงคือ ความล่าช้าจากการเสียเวลาไปหลายวินาทีของเขาท�ำให ้เกิดการเสียเวลาและล่าช้า ต่อเนื่องไปหลายวินาทีของคนอื่นๆ ด้วย ซึง่ อาจมีเป็ นร้อยหรือเป็ นพันคนทีข่ บั ตามหลังมา ดังนัน้ ผลเสียต่อส่วนรวมจากความอยากรูอ้ ยากเห็นอุบตั เิ หตุอย่าง ใกล ้ชิดเพียงหนึ่งคน อาจนับรวมเวลาได้มากเป็ นหลายๆ ชัว่ โมงก็ได้ ดูเหมือนไม่น่าเป็ นไปได้วา่ รถส่วนใหญ่จะเต็มใจยอมทนกับรถติดเป็ นเวลา หลายชัวโมงเพี ่ ยงเพือ่ ได้เห็นอุบตั เิ หตุชดั เจนขึ้น หากมีการส�ำรวจโดยทดลองให ้รถ ตอบค�ำถามในประเด็นนี้ เชื่อได้อย่างค่อนข ้างแน่นอนว่า ส่วนใหญ่จะเลือกตอบ ว่าไม่ชะลอความเร็วรถเพือ่ ขอดูอบุ ตั เิ หตุทเ่ี กิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ จริง เมือ่ คนขับรถแต่ละคนเขา้ ไปใกล ้จุดเกิดอุบตั ิเหตุแล ้วต่างก็ตดั สินใจอย่าง อิสระ และเมือ่ ได้รออยู่ในแถวรถติดมานาน คนขับส่วนใหญ่แม ้แต่กบั คนทีม่ ธี ุระ เร่งด่วน เชือ่ ได้วา่ จะต้องชะลอความเร็วรถเพือ่ ดูวา่ มีอะไรเกิดขึ้น เพราะด้วยความ อยากรูอ้ ยากเห็นนัน่ เอง ตัวอย่างท้ายสุดที่จะน� ำเสนอต่อไปนี้ แสดงให้เห็นสถานการณ์ทป่ี ระโยชน์ ส่วนตนและประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ไปในทางเดียวกัน และความพยายามรอมชอม ด้วยวิธกี ารต่างๆ

เพราะเหตุใด นักกีฬาฮอกกีน้ �ำ้ แข็งชาวอเมริ กันจึงได้ โหวตอย่ างเป็ น เอกฉันท์ ให้ กับการออกกฎหมายบังคับให้ ผ้ ูเล่ นต้ องใส่ หมวกกันน็อค แม้ ว่าส่ วนใหญ่ จะไม่ ชอบใส่ ในการเล่ นจริง (กรณีศกึ ษาของ โทมัส เชลลิง่ ) การเล่นสเก็ตนำ�้ แข็งโดยไม่มหี มวกกันน็อคจะช่วยใหผ้ ูเ้ ล่นและทีมมีโอกาสชนะ เพิ่มขึ้น เนื่องจากความสามารถในการมองเห็นและการได้ยนิ เสียงดีข้ นึ รวม ทัง้ ความคล่องตัวในการแข่งขันดีข้นึ แต่ก็มผี ลเสียต่อผูเ้ ล่นคือ โอกาสเกิดการ บาดเจ็บมีสูงมาก นักกีฬาฮอกกี้นำ�้ แข็งส่วนใหญ่จะไม่ชอบใส่หมวกกันน็อค เพราะ มองประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั ด้านโอกาสการมีชยั ชนะมากกว่าประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั ด้าน บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

153

ความปลอดภัย แต่ถ ้าผู ้เล่นทัง้ สองฝ่ ายกระท�ำอย่างเดียวกันหมด การแข่งขันก็เสมอ ภาคกัน และผู ้เล่นทุกคนต้องเสีย่ งกับการบาดเจ็บมากขึ้นเหมือนๆ กัน โดยทีไ่ ม่มี ใครได้เปรียบกว่ากันในการแข่งขัน ด้วยเหตุน้ ีจงึ เป็ นทีม่ าของกฎการให ้ใส่หมวก กันน็อค เพราะช่วยเพิม่ ความปลอดภัยต่อนักกีฬา และไม่มฝี ่ ายใดได้เปรียบหรือ เสียเปรียบกว่ากันในการแข่งขัน

ท�ำไมโรงเรี ยนหลายแห่ งจึงก�ำหนดให้ นักเรี ยนต้ องใส่ ชุดนักเรี ยน คนจ�ำนวนมากเห็นด้วยกับเสรีภาพของการแต่งกายว่าเป็ นสิทธิขนั้ พื้นฐานของมนุษย์ แต่กลุม่ คนเดียวกันนี้เองเมือ่ อยู่ในสถานะเป็ นพ่อแม่ผูป้ กครองของบุตรหลานใน วัยเรียน กลับเป็ นฝ่ ายสนับสนุนโรงเรียนทีก่ �ำหนดให้เด็กนักเรียนต้องใส่ชดุ นักเรียน มาโรงเรียน เพราะเหตุใด โรงเรียนจึงออกกฎข ้อบังคับดังกล่าว และเพราะเหตุใด พ่อแม่ผู ้ปกครองส่วนใหญ่จงึ สนับสนุนนโยบายนี้ของโรงเรียน ถา้ นักเรียนมีเสรีภาพในการเลือกชุด นักเรียนเหล่านี้จะเลือกใส่ชดุ ทีส่ อ่ื รสนิยมหรือนิสยั ของตัวเองเพือ่ แสดงต่อผู ้อืน่ ส�ำหรับคนทีต่ อ้ งการบอกว่าเธอเป็ น คนใจกล ้าหรือเป็ นตัวของตัวเองอาจใส่ชดุ ไม่สุภาพ แสดงส่วนสัดตัวเองใหเ้ ป็ น เป้ าสายตา คนทีต่ อ้ งการสือ่ ใหร้ ูถ้ งึ ฐานะของตัวเองอาจเลือกสวมใส่ชดุ คุณภาพ สูงและมีราคาแพง แต่ค �ำว่า “ใจกล ้า” หรือ “คุณภาพ” ในกรณีน้ จี ะมีความหมาย ในเชิงเปรียบเทียบ ดังนัน้ ถ ้านักเรียนจ�ำนวนมากเริ่มแข่งขันกันใส่ชดุ ทีส่ ะท ้อนค่า นิยมของตัวเองดังกล่าว ตัวค่านิยมเองจะเปลีย่ นแปลงไปได้ไม่อยู่น่งิ เพราะไม่มคี ่า มาตรฐานการแข่งขันเกิดขึ้น เหมือนกรณีการแข่งขันของกวางเขาใหญ่ตวั ผู ้ทีต่ ่อสู ้ กันเพือ่ แย่งชิงกวางตัวเมีย แต่ผลสุดท้ายไม่มปี ระโยชน์ใดเกิดขึ้นกับหมูก่ วางหรือ สังคมโดยส่วนรวม ดังนัน้ การก�ำหนดกฎเกณฑ์ให้นักเรียนใส่ชดุ นักเรียนจึงก่อประโยชน์ต่อทัง้ ส่วนตัวและส่วนรวม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาชุดของนักเรียน ลดการแข่งขัน ในเรื่องการแต่งกาย และเพิม่ ความสามัคคีของหมูค่ ณะ ส่วนข ้อเสียก็อาจเป็ นการ ปิ ดกัน้ เสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนบ ้างเท่านัน้

154

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไมข้ าราชการจึงไม่ ชอบการต่ อสู้ดนิ ้ รน (กรณีศกึ ษาของ อัลเฟรด คาห์ น) อัลเฟรด คาห์น อดีตศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้รบั การทาบทามจากประธานาธิบดีจมิ มี คาร์เตอร์ ในปี 1977 ให้เข ้าด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งสหรัฐฯ ซึง่ คณะกรรมการชุดนี้ปจั จุบนั หมดหน้าทีแ่ ล ้ว แต่ขณะนัน้ ได้ท �ำหน้าทีก่ �ำกับดูแลเรื่องการก�ำหนดค่าตัวเครื ๋ ่องบิน และเส ้นทางการบินของสายการบินต่างๆ ภาคเอกชน ส�ำหรับหน้าทีข่ องอัลเฟรด คาห์น ทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้ท�ำในขณะนัน้ คือ ยกเลิกการควบคุมก�ำกับอุตสาหกรรม การบินพลเรือนของประเทศ และยกเลิกหน่วยงานส�ำนักงานควบคุมก�ำกับทีป่ ฏิบตั ิ งานภายใต้คณะกรรมการ เมือ่ ได้เข ้าไปปฏิบตั งิ านได้ระยะหนึ่ง เขาแปลกใจเกี่ยว กับการออกกฎระเบียบข ้อบังคับต่างๆ ของฝ่ ายกฎหมาย โดยพบว่าภาษาเขียนที่ ใช้สว่ นใหญ่อ่านแล ้วเข ้าใจยากมาก ดังตัวอย่างของการใช้ถ ้อยความทีพ่ บบ่อยดังนี้ “ผู ้ถือใบอนุญาตการบินยังคงสามารถให้บริการสายการบินตามปกติ ตามเส ้นทางและท่าอากาศยานเดิม ดังรายชือ่ แนบทีเ่ คยให้บริการอยู่ก่อนที ่ ใบอนุญาตนี้มผี ลบังคับใช้ และเมือ่ ปฏิบตั ติ ามวิธกี ารต่างๆ ทีก่ ำ� หนดขึ้นโดย คณะกรรมการเรียบร้อยแล ้ว ผู ้ถือใบอนุญาตอาจให้บริการนอกเหนือไปจาก ทีก่ ล่าวแล ้วข ้างต้น การบินระหว่างเมืองต่างๆ ผ่านท่าอากาศยานทีส่ ะดวก” บันทึกฉบับแรกของ อัลเฟรด คาห์น ทีม่ ไี ปถึงเจ้าหน้าทีฝ่ ่ ายกฎหมายของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า จะไม่อนุมตั ิ กฎระเบียบหรือประกาศใดทีไ่ ม่ได้เขียนขึ้นด้วยการใช้ถ ้อยค�ำภาษาอังกฤษทีอ่ ่าน แล ้วเข ้าใจง่าย เขาเน้นในบันทึกทีเ่ ขียนไปถึงเจ้าหน้าทีว่ า่ “ขอให ้ลองอ่านเอกสารที่ คุณเขียนให ้สามี ภรรยา หรือบุตรหลานฟังดู และเมือ่ ไรทีเ่ ขาหัวเราะ คุณจะต้อง เขียนใหม่” เพราะเหตุใดเอกสารเหล่านี้จงึ ยากแก่การเข ้าใจ งานของหน่วยงานทีอ่ ลั เฟรด คาห์น ได้รบั มอบหมายให ้บริหารคือ ควบคุม ก�ำกับการด�ำเนินงานของธุรกิจการบินของเอกชนให้เป็ นไปตามกฎหมาย งานหลัก บทที่ 5 รองเท้าส้นสูงและชุดนักเรียน

155

ก็คอื การบอกกล่าวให ้ธุรกิจเอกชนรูว้ า่ เขาสามารถและไม่สามารถท�ำอะไรได้บ ้าง เนื่องจากคนส่วนมากจะไม่สบายใจหากต้องท�ำในสิง่ ทีข่ ดั ต่อความปรารถนาของคน อืน่ ตรงๆ จึงเป็ นทีเ่ ข ้าใจได้วา่ ท�ำไมข ้าราชการของหน่วยงานนี้จงึ พยายามหลีกเลีย่ ง การออกค�ำสังที ่ เ่ ป็ นการปะทะกันตรงๆ ตัวอย่างเช่น แทนทีจ่ ะพูดในสิง่ ทีต่ อ้ งการ ก็ บอกตรงๆ ว่า “ผมต้องขอห ้ามสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ไม่ให ้บินระหว่างเมือง แซนดิเอโกและเมืองแซนแอนโทนีโอ” โดยใช้ถ ้อยค�ำใหฟ้ งั แล ้วสบายใจกว่า แต่ กลับใช้ค �ำพูดทีฟ่ งั แล ้วไม่รูเ้ รื่องดังนี้ “ได้มกี ารพิจารณาอย่างรอบคอบแล ้วว่า จะ ไม่บงั เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมแต่ประการใด หากสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ยงั คงให้บริการบินขนส่งผู ้โดยสารระหว่างเมืองแซนดิเอโกและเมืองแซนแอนโทนีโอ” การประกาศดังกล่าวของอัลเฟรด คาห์น ได้รบั การกล่าวขานอย่างกว ้าง ขวางจากทัวโลกในเวลานั ่ น้ และได้รบั การสรรเสริญจากผู ้สนับสนุนการให้ใช้ภาษา ง่ายๆ หลังจากนัน้ ไม่นาน เอกสารต่างๆ ทีอ่ อกจากหน่วยงานนี้กม็ กี ารใช้ถ ้อยค�ำที่ กะทัดรัดและชัดเจนในความต้องการนัน้ มากขึ้น แล ้ววิธกี ารสือ่ สารรูปแบบใหม่ทเ่ี น้นใช้ถ ้อยค�ำใหฟ้ งั เข ้าใจง่ายนี้ ได้มกี าร ใช้กนั อย่างแพร่หลายส�ำหรับข ้าราชการในหน่วยงานนี้หรือไม่ ค�ำตอบคือ ไม่มใี คร รูแ้ น่นอน แม ้เชื่อได้วา่ ยังมีข ้าราชการจ�ำนวนมากยึดถือการเขียนแนวทางเดิมอยู่

156

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

6

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ความเป็นเจ้าของ



นทีเ่ ติบโตและอาศัยอยู่ในประเทศแถบยุโรป บ่อยครัง้ จะยึดแนวคิดและ ความเข ้าใจทีว่ า่ ถ ้าได้เป็ นเจ้าของสิง่ ใดสิง่ หนึ่งแล ้ว ก็มอี สิ ระทีจ่ ะท�ำอะไรกับ สิง่ นัน้ ได้ และท�ำภายในขอบเขตทีพ่ อเหมาะพอควร ตามความเข ้าใจดังกล่าวถือว่า ดีพอสมควร ตัวอย่างเช่น การเป็ นเจ้าของรถจักรยาน ซึง่ ในหลายประเทศให ้สิทธิ์ กับเจ้าของให้สามารถใช้มนั ได้ทกุ เวลาทีต่ อ้ งการ แล ้วก็สามารถห ้ามคนอืน่ ไม่ให ้ใช้ รถจักรยานของตนได้ หรือจะขายต่อให ้ใครก็ได้ตามต้องการ ประชาชนในสหราชอาณาจักรและในหลายประเทศอุตสาหกรรมทีพ่ ฒ ั นา แล ้ว มาตรฐานค่าครองชีพมีแนวโน้มเพิม่ มากกว่าสีส่ บิ เท่านับจากปลายศตวรรษที่ 18 เป็ นผลจากการพัฒนาและการบังคับใช้กฎหมายสิทธิ์การเป็ นเจ้าของในทรัพย์สนิ อย่างเข ้มงวดเป็ นส่วนส�ำคัญ ในทางตรงกันข ้าม ประเทศทีข่ าดการพัฒนาและไม่ บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก็ยากนักทีจ่ ะพัฒนาเป็ นประเทศทีร่ ำ� ่ รวยได้ ถ ้าประชาชน ไม่ได้รบั สิทธิ์การเป็ นเจ้าของทรัพย์สนิ อย่างชัดเจน เขาก็จะมีแรงจูงใจน้อยมากใน การลงทุนพัฒนาทรัพย์สนิ หรือการลงทุนในเครื่องมืออุปกรณ์ประเภททุน ซึง่ เป็ น ปัจจัยทีก่ ่อให ้เกิดความมังคั ่ ง่

บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

157

แม ้สิทธิ์ในทรัพย์สนิ จะก่อประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ตอ้ งมีค่าใช้จ่ายใน การได้มาเช่นกัน การก�ำหนดและการบังคับใช้สทิ ธิ์ในทรัพย์สนิ กับสินค้าใดก็ตาม จะต้องมีการลงทุน ซึง่ บางครัง้ ผลประโยชน์ทไ่ี ด้กไ็ ม่คมุ ้ กับค่าใช้จ่าย เมือ่ พิจารณา อย่างรอบคอบก็จะเข ้าใจได้ชดั เจนยิง่ ขึ้นว่า แท้จริงแล ้วแนวคิดของการเป็ นเจ้าของ มีขอ้ โต้แย้งกันสู งมาก ในบทนี้จะเริ่มด้วยการส�ำรวจขอบเขตความเขา้ ใจความ หมายของการเป็ นเจ้าของ

ท�ำไมจึงเป็ นการผิดกฎหมาย ถ้ าเจ้ าของบ้ านที่มีบ้านบนเกาะห้ ามไม่ ให้ คนแปลกหน้ าใช้ ท่ จี อดเรื อของเขา เมือ่ วันที่ 13 พฤศจิกายน 1904 สมาชิกหลายคนของครอบครัวพลูฟเผชิญกับพายุ ขณะก�ำลังแล่นเรืออยู่ในทะเลสาบใหญ่แห่งหนึ่ง จึงต้องหาทีก่ �ำบัง ท�ำให้ครอบครัว พลูฟต้องผูกเรือจอดอยู่ทท่ี า่ จอดเรือของพุตนัม ซึง่ เป็ นเจ้าของบ ้านทีม่ ที า่ จอดเรือ ทีอ่ ยู่บนเกาะในทะเลสาบดังกล่าว นายพุตนัมส่งคนรับใช้ออกไปสังให ่ ้ครอบครัว พลูฟถอยเรือจากท่าจอดเรือของเขา ซึง่ ครอบครัวพลูฟก็ยอมท�ำตาม แต่หลังจาก นัน้ ได้ไม่นานเรือก็ถกู พายุพดั จมลง ท�ำให ้สมาชิกหลายคนได้รบั บาดเจ็บ แต่ไม่มี ใครเสียชีวติ ต่อมาครอบครัวพลูฟได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลรัฐเวอร์มอนต์ และศาลมีค �ำพิพากษาใหค้ รอบครัวพลูฟชนะคดีในปี 1908 ท�ำไมจึงเป็ นการผิด กฎหมายส�ำหรับพุตนัม ทีห่ ้ามครอบครัวพลูฟใช้ทจี ่ อดเรือของเขา กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สนิ ส่วนตัวได้ใหส้ ทิ ธิ์แก่เจ้าของทรัพย์สนิ ในการ พิจารณาใช้อ �ำนาจทีม่ เี หตุมผี ลอันควร แต่ไม่ใช่อ �ำนาจโดยสมบูรณ์ในการตัดสิน ใจว่าทรัพย์สนิ ของเขาควรถูกใช้อย่างไร ศาลรัฐเวอร์มอนต์เห็นว่า ต้นทุนการปฏิเสธ ไม่ให้ครอบครัวพลูฟใช้ท่าเรือเป็ นทีห่ ลบพายุมมี ากกว่าผลประโยชน์ใดๆ ทีพ่ ตุ นัม จะได้รบั จากการใช้สทิ ธิ์ตามกฎหมายกับทรัพย์สนิ ท่าจอดเรือทีเ่ ขาเป็ นเจ้าของ

158

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไมชาวอเมริกันพืน้ เมืองที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ ประเทศ ต้ องการให้ บงั คับใช้ กฎหมายว่ าด้ วยทรัพย์ สนิ ในที่ดนิ ของเอกชน ขณะที่อีกกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแถบที่ราบใหญ่ ภาคกลางของประเทศกลับ ไม่ ต้องการเช่ นนัน้ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจทีม่ คี วามส�ำคัญสูงสุดของชาวอเมริกนั พื้นเมืองทีอ่ าศัยอยู่ ในแถบทีร่ าบใหญ่ภาคกลางของสหรัฐฯ ก็คอื ฝูงควายป่ า ซึง่ เป็ นสัตว์ท ้องถิน่ ใน แถบนัน้ พวกมันรวมตัวกันเป็ นกลุม่ ใหญ่ท่องเทีย่ วหากินอยู่ในแถบนัน้ เป็ นร้อยๆ ไมล์ การบังคับใช้ทรัพย์สนิ ส่วนบุคคลกับทีด่ นิ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เท่ากับเป็ นการ กัน้ เขตทีด่ นิ ในทีร่ าบใหญ่ภาคกลาง และต้องสร้างรัว้ ยาวนับเป็ นพันๆ ไมล์ ซึง่ มีค่า ใช้จ่ายทีส่ ูง เนื่องจากฝูงควายป่ ายังมีขนาดใหญ่มากเมือ่ เปรียบเทียบกับจ�ำนวนที่ ถูกนักล่าสัตว์ฆ่าในแต่ละปี ส�ำหรับผลประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการบังคับใช้กฎหมาย การเป็ นเจ้าของทีด่ นิ จึงไม่คมุ ้ กับต้นทุนค่าใช้จ่ายทีจ่ ะเกิดขึ้น ในทางกลับกัน ชาวอเมริกนั พื้นเมืองทีอ่ าศัยอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แถบแปซิฟิก ท�ำมาหาเลี้ยงชีพหลักด้วยการดักจับสัตว์ขนาดเล็กเพือ่ หวังเนื้อและ ขน ซึง่ สัตว์ขนาดเล็กเหล่านี้ไม่ได้ออกท่องเทีย่ วหากินเป็ นระยะทางไกล แต่ด �ำรง ชีวติ จ�ำกัดอยู่ภายในพื้นทีเ่ ล็กๆ แล ้วส�ำหรับการก�ำหนดกรรมสิทธิ์ในทีด่ นิ ของแต่ละ ครอบครัวเหล่านี้ เท่ากับเป็ นการให้สิทธิ์วางกับดักสัตว์บางชนิดทีอ่ าศัยอยู่ในพื้นที่ เล็กในแถบนัน้ หลักการแห่งรายได้และต้นทุนจึงสามารถช่วยอธิบายว่า ท�ำไมชาว อเมริกนั พื้นเมืองทัง้ สองกลุม่ จึงยึดถือแนวทางปฏิบตั ทิ แ่ี ตกต่างกันเกี่ยวกับสิทธิ์ การเป็ นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทีด่ นิ

ท�ำไมกฎหมายจึงยอมให้ กรรมสิทธิ์ท่ ดี นิ แก่ ผ้ ูบุกรุ กที่ครอบครองที่ดนิ อย่ างผิดกฎหมายต่ อเนื่องนานกว่ า 12 ปี ขึน้ ไป (กรณีศกึ ษาของ พลานา ลี) ในอังกฤษและเวลล์ ถ ้าผู ้ใดครอบครองทีด่ นิ ต่อเนื่องเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 12 ปี สามารถอ้างสิทธิ์การเป็ นเจ้าของทรัพย์สนิ ดังกล่าวได้ แมอ้ าจมีผูอ้ ่นื ซื้อทีด่ นิ ดัง กล่าวตัง้ แต่ตน้ เพราะเหตุใดกฎหมายจึงให ้รางวัลแก่ผู ้ผู ้บุกรุกทีด่ ินเช่นนี้ บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

159

กฎหมายทีใ่ หส้ ทิ ธิ์ดงั กล่าวนัน้ เรียกว่า กฎหมายเหยียบย�ำ่ หรือกฎหมาย ครอบครองปรปักษ์ โดยมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์งา่ ยๆ คือ มองว่าประโยชน์ จะไม่ตกแก่ชมุ ชนส่วนรวมแต่ประการใดถา้ ปล่อยใหท้ รัพย์สนิ ทีม่ คี ่าไม่ถกู น�ำมา ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ แล ้วหากเจ้าของทรัพย์สนิ ทีม่ คี ุณค่าบางคนหายตัวไป โดยไร้ร่องรอยและไม่มที ายาทรับมรดก หรือบางคนปล่อยปละละเลยทรัพย์สนิ ทีด่ นิ ของตัวเองโดยไม่สนใจเป็ นระยะเวลานาน ดังนัน้ การให ้กรรมสิทธิ์ทด่ี นิ ตาม กฎหมายนี้จะบังคับให้เจ้าของทีด่ นิ หันมาสนใจใช้ประโยชน์ในทีด่ นิ ของตัวเองหรือ ไม่กข็ ายทีด่ นิ นัน้ ให ้แก่ผู ้อืน่ ไป ส�ำหรับการก�ำหนดระยะเวลา 12 ปี หรือมากกว่า นัน้ ของกฎหมายนี้ ถือว่าก่อให้เกิดความเสีย่ งแก่การสูญเสียทีด่ นิ น้อยมากต่อผู ้เป็ น เจ้าของ ทัง้ หลายทัง้ ปวงนี้โดยสามัญส�ำนึกแล ้ว ทรัพย์สนิ ทีถ่ กู ปล่อยปละละเลยเป็ น ระยะเวลานาน น่าจะมีคณ ุ ค่าทางเศรษฐกิจน้อยต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สนิ นัน้ ความยากล�ำบากในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สนิ ช่วยใหเ้ ข ้าใจว่า ท�ำไมการจัดการทรัพยากรบางประเภทสามารถกระท�ำได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าทรัพยากรบางประเภท

เพราะเหตุใด วาฬจึงเสี่ยงต่ อการสูญพันธุ์มากกว่ าไก่ ไม่มปี ี ใดผ่านไปโดยปราศจากการเดินประท้วงบนท้องถนนของนักอนุรกั ษ์ธรรมชาติ และสิง่ แวดล ้อม เพือ่ ต่อต้านการล่าวาฬและสัตว์นำ�้ ขนาดใหญ่ในน่านน�ำ้ นานาชาติ เพือ่ ป้ องกันการสูญพันธุ ์ แต่เท่าทีผ่ ่านมาตัง้ แต่จ �ำความได้ ก็ยงั ไม่เคยเห็นมีการ เดินขบวนประท ้วงการฆ่าไก่บ ้างเลย ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ ค�ำตอบสัน้ ๆ คือ สัตว์ปีกอย่างไก่ไม่เคยตกอยู่ภายใต้ความเสีย่ งของการ สูญพันธุ ์ ค�ำถามตามมาคือ ท�ำไมสัตว์บางประเภทจึงมีความเสีย่ งของการสูญพันธุ ์ ในขณะทีส่ ตั ว์อกี ประเภทไม่มคี วามเสีย่ งเลย จ�ำนวนวาฬลดน้อยลงทุกขณะ เพราะมันเป็ นสัตว์ทไ่ี ม่มใี ครเป็ นเจ้าของ อาศัยหากินอยู่ในทอ้ งทะเลนานาชาติ และหลายประเทศไม่ได้เคารพขอ้ ตกลง นานาชาติวา่ ด้วยการอนุรกั ษ์วาฬอย่างจริงจัง

160

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

นักล่าวาฬชาวญี่ป่ ุนและชาวนอร์เวย์ต่างเขา้ ใจดีว่า กิจกรรมการล่าวาฬ ของตนเป็ นภัยอย่างมหันต์ต่อการสูญพันธุข์ องสัตว์และการด�ำรงอยู่ของวาฬ แต่ ถ ้าพวกเขายุตกิ ารล่าก็จะต้องมีผู ้อืน่ ทีย่ งั คงล่าอยู่ ดังนัน้ จึงไม่มนี กั ล่าคนใดยอม ยุตกิ ารล่าวาฬเลย ในทางกลับกัน ไก่ทเ่ี ห็นในโลกนี้ส่วนใหญ่ล ้วนมีเจ้าของอยู่แล ้ว ถ ้าคุณฆ่า ไก่ของคุณหนึ่งตัวในวันนี้ คุณก็จะมีไก่ในความครอบครองลดลงหนึ่งตัวในวัน รุ่งขึ้น และถ ้าคุณเลี้ยงไก่เป็ นอาชีพ คุณต้องมีแรงจูงใจหาไก่มาทดแทนไก่ทค่ี ณ ุ ฆ่า ส่งขายให ้ตลาด เพือ่ รักษาความสมดุลของประชากรไก่ในฟาร์มของคุณ

วาฬและควายป่ า : บางอย่างทีเ่ หมื อนกัน

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

161

บรรดาไก่และเหล่าวาฬต่างก็มคี ุณค่าทางเศรษฐกิจ ตามข ้อเท็จจริงทีว่ า่ ประชาชนสามารถเป็ นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไก่ แต่ไม่ใช่วาฬ จะช่วยไขข ้อข ้องใจว่า ท�ำไมไก่จงึ มีสถานะทีป่ ลอดภัย เมือ่ เปรียบเทียบกับวาฬซึง่ มีโอกาสจะสูญพันธุ ์

เพราะเหตุใด มลภาวะเป็ นพิษจึงเป็ นปั ญหาร้ ายแรงในแถบทะเล เมดิเตอร์ เรเนียน มากกว่ าในแถบทะเลสาบน�ำ้ เค็มใหญ่ ในยูทาห์ หลายประเทศทีอ่ ยู่รายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนต่างทิ้งของเสีย ขยะมูลฝอย และ สิง่ ปฏิกูลต่างๆ ลงในทะเลสาบ ในทางตรงกันข ้าม ทะเลสาบน�ำ้ เค็มขนาดใหญ่ใน ยูทาห์กลับพบว่าปราศจากภาวะมลพิษทางสิง่ แวดล ้อม อะไรเป็ นสาเหตุแห่งความ แตกต่างดังกล่าว บางคนอาจให้เหตุผลว่า สาเหตุทท่ี ะเลสาบน�ำ้ เค็มขนาดใหญ่ในยูทาห์มสี ภาพ สิง่ แวดล ้อมทีด่ กี ว่า เพราะชาวอเมริกนั เมอร์มอนทีอ่ าศัยในแถบนัน้ มีวฒ ั นธรรม การใหค้ วามเคารพธรรมชาติมากกว่าผูค้ นในประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึง่ มันก็น่าจะเป็ นเหตุผลทีร่ บั ฟังได้ แต่ค �ำอธิบายทีด่ ูมนี ำ�้ หนักถูกต้องมากกว่าคือ ขณะทีท่ ะเลสาบน�ำ้ เค็มขนาดใหญ่ตงั้ อยู่ภายในขอบเขตของรัฐเดียวคือยูทาห์ แต่ มีมากกว่า 24 ประเทศทีต่ งั้ อยู่รายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง ถ ้ายูทาห์ออกกฎหมายจ�ำกัดระดับการปล่อยสารพิษลงสู่ทะเลสาบ ประชาชนทุก คนก็ตอ้ งรับภาระในการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย แล ้วทุกคนก็จะได้รบั ประโยชน์รอ้ ย เปอร์เซ็นต์เท่าเทียมกัน ในทางกลับกัน ถา้ ประเทศใดประเทศหนึ่งในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บังคับใช้กฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ ประชาชนของประเทศนัน้ ต้องรับภาระค่า ใช้จ่ายทัง้ หมด แต่ประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั เกิดขึ้นเพียงบางส่วนเท่านัน้ โดยผลประโยชน์ ส่วนใหญ่จะตกอยู่กบั ประชาชนของประเทศอื่นๆ ในแถบนัน้ ทีม่ ไิ ด้มกี ารลงทุน ใดๆ ท�ำให ้เกิดความไม่เป็ นธรรมของผลประโยชน์จากการลงทุน ส่งผลให ้แต่ละ ประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไม่มสี ง่ิ จูงใจในการลงทุน และต่างรอพึง่ พา การลงทุนเพือ่ จัดการกับระบบของเสียของประเทศอืน่ ซึง่ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ทพ่ี บ ในทะเลสาบน�ำ้ เค็มขนาดใหญ่ในยูทาห์

162

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด การล่ มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต จึงแผ่ รัศมีความ เศร้ าต่ อผู้ท่ หี ลงใหลในการบริโภคไข่ ปลาคาเวียร์ จากทะเลแคสเปี ยน (กรณีศกึ ษาของ โทมัส เกลเบิร์ต) ส�ำหรับนักกินนักดื่มทัว่ โลก ไม่มอี าหารโอชะอันใดจะอร่อยมากไปกว่าไข่ปลา คาเวียร์จากทะเลแคสเปี ยน ยิง่ ชนิดทีห่ ายากและแพงทีส่ ุดมาจากปลาสเตอร์เจียน ขาวตัวใหญ่ ความยาวถึง 9 เมตร (30 ฟุต) นำ�้ หนักถึง 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์) และมีอายุถงึ 100 ปี แม ้ไข่ปลาคาเวียร์ขาวจะมีราคาแพงมานาน แต่ก็ยงั พอหา มากินได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม ตัง้ แต่การล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตใน ปี 1989 เป็ นต้นมา ท�ำให ้อุปทานลดต�ำ่ ลงอย่างมาก และส่งผลต่อราคาขายซึง่ มี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างมาก เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจการค้าไข่ปลาคาเวียร์จากทะเลแคสเปี ยน ปัจจุบนั ทะเลแคสเปี ยนล ้อมรอบด้วยประเทศอิหร่าน และอีกสีป่ ระเทศ อิสระซึง่ ครัง้ หนึ่งเคยเป็ นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ได้แก่ รัสเซีย คาซัคสถาน เติรก์ เมนิสถาน และอาเซอร์ไบจาน ก่อนปี 1989 รัฐบาลกลางของอิหร่ านและ สหภาพโซเวียตควบคุมกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในทะเลแคสเปี ยนอย่างเข ้มงวด โดย หา้ มจับปลาสเตอร์เจียนทีม่ ขี นาดเล็ก ต่อมาเมือ่ สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ส่ง ผลใหไ้ ม่มรี ฐั บาลส่วนกลางที่คอยควบคุมการบังคับใช้กฎหมายอย่างเขม้ งวด ชาวประมงทีจ่ บั ปลาสเตอร์เจียนเริ่มตระหนักว่าการจ�ำกัดการจับปลาจะท�ำใหเ้ ขา ไม่สามารถอยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ เพราะจะมีชาวประมงจากถิน่ อืน่ มามาจับกัน อย่างไม่บนั ยะบันยัง รัสเซียและอิหร่านเริม่ ต้นร่วมมือกันอีกครัง้ ในการควบคุมภาวะสิง่ แวดล ้อม เป็ นพิษ และควบคุมการจับสัตว์นำ�้ ทะเลเกินก�ำลังในทะเลแคสเปี ยน อย่างไรก็ดี ผู ้ซื้อยังต้องซื้อไข่ปลาคาเวียร์ในราคาสูงถึงประมาณ 250 ปอนด์ต่อ 100 กรัม กฎหมายส่งผลกระทบ ไม่เพียงแต่สง่ิ ทีป่ ระชาชนได้รบั อนุญาตใหก้ ระท�ำ ได้กบั ทรัพย์สนิ ของตัวเองเท่านัน้ แต่ยงั มีอทิ ธิพลต่อวิวฒ ั นาการของระบบสถาบัน ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิง่ กฎหมายทีช่ ่วยอธิบายว่า เพราะเหตุใดบางสถาบัน บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

163

จึงต้องจัดตัง้ ขึ้นในรูปบริษทั เอกชนทีม่ งุ่ หวังผลก�ำไร บางสถาบันอยู่ในรูปองค์กรที่ ไม่หวังผลก�ำไร หรือบางองค์กรอยู่ในรูปหน่วยงานราชการ เป็ นต้น

ในเมื่อเรามีร้านเช่ าดีวีดจี ำ� นวนมาก ท�ำไมจึงไม่ ค่อยมีร้านเช่ าหนังสือ บ้ าง (กรณีศกึ ษาของ อัป ลิม) เมือ่ ไรก็ตามทีเ่ ราอยากดูภาพยนตร์จากแผ่นดีวดี ี สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำก็เพียงแค่ไปเช่ามา จากร้านเช่าแผ่นดีวดี ี เช่น Blockbuster Video หรือจะออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต เช่น LOVEFiLM เป็ นต้น ส่วนห้องสมุดเอกชนทีใ่ ห้เช่าหนังสือก็มแี ต่ค่อนข ้างน้อย มาก เพราะผู ้คนส่วนใหญ่นิยมซื้อหนังสือมาเป็ นเจ้าของจากร้านขายหนังสือ หรือ ไม่กข็ อยืมจากห ้องสมุดสาธารณะ ซึง่ ไม่ตอ้ งเสียเงิน เพราะเหตุใด ผู ้คนทัวไปจึ ่ ง ไม่นิยมเสียเงินเช่าหนังสือมาอ่าน ค�ำตอบส่วนหนึ่งมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจของรายจ่ายภาครัฐ จากเงิน ภาษีของประชาชนเพือ่ การสนับสนุนห ้องสมุดสาธารณะ หลักการและเหตุผลแห่ง รายได้–ต้นทุนมีอยู่วา่ ระดับการอ่านทีม่ ปี ระสิทธิภาพต่อสังคมหรือกิจกรรมอืน่ ใด ก็ตาม จะก่อให ้เกิดต้นทุนเพิม่ เท่ากับผลรวมของรายได้เพิม่ ส่วนบุคคลและรายได้ เพิม่ ส่วนสังคมรวมกัน เช่น ระดับการอ่าน หรือระดับกิจกรรม นักเศรษฐศาสตร์ ใหเ้ หตุผลว่า นอกเหนือจากประโยชน์ส่วนตนทีเ่ กิดขึ้นจากการอ่านแล ้ว ก็ยงั ก่อ ประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย กล่าวคือ สังคมโดยรวมจะได้ประโยชน์มากขึ้นจากหมู่ ประชากรทีม่ จี �ำนวนผู ้อ่านออกเขียนได้หรือมีระดับการศึกษาดีข้นึ อย่างไรก็ตาม โดยหลักเศรษฐศาสตร์ ผู ้บริโภคแต่ละคนจะเน้นแต่ประโยชน์ ทีต่ วั เองจะได้รบั จากการบริโภคสินค้าหรือบริการ (ซึง่ ในทีน่ ้ ีคอื การตัดสินใจอ่าน หนังสือ) โดยมิได้ค �ำนึงถึงประโยชน์ทจ่ี ะเกิดขึ้นกับผู ้อืน่ แต่อย่างใด ด้วยหลักการ และเหตุผลนี้ ประชาชนจึงน่าจะมีแนวโน้มอ่านหนังสือน้อยกว่าทีค่ วรจะเป็ น ถ ้า ประเมินผลดี–ผลเสียหรือรายได้–ต้นทุนจากแง่มมุ ของสังคมโดยรวม แนวทาง แก้ไขง่ายๆ คือ พยายามท�ำให้การอ่านหนังสือเป็ นสิง่ ทีน่ ่าสนใจมากขึ้น โดยให้การ อุดหนุนการอ่าน นัน่ คือการก่อตัง้ ห ้องสมุดสาธารณะนัน่ เอง

164

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เหตุผลในท�ำนองนี้ถกู หยิบยกขึ้นอ้างถึง กรณีทม่ี ผี ู ้อยากให ้น�ำภาพยนตร์ เรื่อง An Inconvenient Truth มาฉายเพือ่ เผยแพร่ให ้สาธารณชนได้ชมฟรี เพือ่ เป็ นการช่วยให ้ผู ้ลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ ได้มคี วามรูเ้ พิม่ ขึ้น อันจะส่งผลต่อไปถึง ผลการเลือกตัง้ และการได้นโยบายทีช่ าญฉลาดของพรรคการเมืองในการช่วยแก้ไข ปัญหาการเปลีย่ นแปลงของสภาพภูมอิ ากาศโลกต่อไป ฉันทามติของฝ่ ายต่างๆ ที่ เกี่ยวข ้องกับเรื่องนี้มคี วามเห็นร่วมกันว่า แม ้ตัวภาพยนตร์อาจช่วยส่งเสริมภารกิจ ด้านการศึกษาได้ แต่จะได้ในขอบเขตทีก่ ว ้างขวางน้อยกว่าการใช้หนังสือเป็ นสือ่ จึงเป็ นเหตุท �ำให้การฉายภาพยนตร์ไม่ได้รบั การสนับสนุนด้านงบประมาณมากนัก สาเหตุส �ำคัญทีท่ �ำใหร้ า้ นเช่าหนังสือของเอกชนมีจ �ำนวนน้อยกว่าร้านเช่า ม ้วนดีวดี ขี องเอกชนอยู่มาก เป็ นเพราะภาพยนตร์แต่ละเรือ่ งใช้เวลาดูนานประมาณ 2 ชัว่ โมง แต่หนังสือแต่ละเล่มจะใช้เวลาอ่านจนจบหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ดังนัน้ ร้านให ้เช่าหนังสือจะอยู่รอดทางธุรกิจได้จงึ ต้องก�ำหนดราคาค่าเช่าหนังสือ แต่ละเล่มสูงกว่าค่าเช่าภาพยนตร์แต่ละเรือ่ งหลายเท่า เนื่องจากระยะเวลาการครอง ไว ้นานกว่ามากนัน่ เอง ในท�ำนองเดียวกันกับร้านให ้เช่าชุดแต่งงาน เมือ่ ค่าเช่าเริ่ม ขยับสูงขึ้น การซื้อเป็ นเจ้าของเองจะคุม้ ค่ากว่าการเช่า ดังที่อธิบายไปแล้วในบทที่ผ่านมา พฤติกรรมทีส่ นองความต้องการของ แต่ละบุคคล บ่อยครัง้ ก็เป็ นอันตรายต่อความต้องการของกลุม่ ทีต่ วั เองเป็ นสมาชิก อยู่ เมือ่ ปรากฏการณ์น้ เี กิดขึ้นกับสิง่ มีชวี ติ อย่างสัตว์ซง่ึ ไม่ใช่มนุษย์แล ้ว โดยทัวไป ่ จะไม่มที างแก้ไข สมมติวา่ กวางเขาใหญ่ตวั ผู ้สามารถตกลงกันในกลุม่ ได้วา่ ทุกตัวจะ ต้องถูกตัดเขาออกครึ่งหนึ่งเพือ่ เพิม่ ความคล่องตัวในการหลบหลีกศัตรู แต่ในทาง ปฏิบตั จิ ะไม่มหี นทางใดส�ำหรับกวางเขาใหญ่ตวั ผู ้ทีส่ ามารถปฏิบตั ติ ามข ้อตกลงได้ แต่ส �ำหรับมนุษย์แล ้ว แน่นอนว่ามีความแตกต่างกัน เมือ่ มนุษย์มพี ฤติกรรม ทีเ่ ป็ นอันตรายต่อกลุม่ เราสามารถบรรเทาปัญหาความขัดแย้งนัน้ ได้ ตามตัวอย่าง ในบททีผ่ ่านมา อย่างกรณีของนักกีฬาฮอกกี้ทใ่ี ห้อ�ำนาจสมาคมบังคับใช้กฎว่าด้วย การใส่หมวกกันน็อค แม ้ว่าก่อนหน้านี้นกั กีฬาเหล่านี้กไ็ ม่ชอบสวมหมวกกันน็อค ในการแข่งขันอยู่แล ้ว บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

165

ส�ำหรับตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงวิธีการคล ้ายคลึงกันทีก่ ฎหมายและข ้อ บังคับสามารถช่วยแก้ไขปัญหาขอ้ ขัดแย้งระหว่างความสนใจส่วนตนและความ สนใจของกลุม่

เพราะเหตุใด คนงานชอบลงคะแนนเสียงให้ กบั นักการเมืองที่สนับสนุน กฎหมายว่ าด้ วยความปลอดภัยในการท�ำงาน แต่ ในเวลาปฏิบตั งิ านจริง เกือบทุกคนจะเลือกงานที่มีความปลอดภัยน้ อยแต่ ได้ ค่าแรงสูง การออกกฎระเบียบข ้อบังคับทัวไปจ�ำเป็ ่ นต้องมีไว ้เพือ่ ป้ องกันไม่ให ้คนงานถูกเอา เปรียบจากนายจ้างทีม่ อี �ำนาจการต่อรองสูงกว่า แต่กฎระเบียบความปลอดภัยใน การท�ำงานมีผลบังคับใช้แน่นหนามากในตลาดแรงงานต่างๆ ทีม่ กี ารแข่งขันกันสูง การลงทุนเรื่องความปลอดภัยในสถานทีท่ �ำงานโดยการติดตัง้ เครื่องมืออุปกรณ์ ต่างๆ เพือ่ ช่วยลดอุบตั เิ หตุและเพิม่ ความปลอดภัยใหแ้ ก่คนงาน จึงต้องมีความ คุม้ ทุนและขึ้นอยู่กบั ว่าคนงานเต็มใจทีจ่ ะมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่ายด้วยหรือ ไม่ ถ ้าผลการวิเคราะห์ช้ ใี ห้เห็นว่ามีความคุม้ ทุนแต่ไม่มกี ารลงทุน นัน่ ก็หมายความ ว่าจะมีสถานการณ์ “มีเงินฟรีวางบนโต๊ะ” เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สมมติวา่ คนงานเต็มใจทีจ่ ะจ่ายสัปดาห์ละ 50 ปอนด์เพือ่ ให ้ มีการลงทุนในเครื่องมือเพือ่ ความปลอดภัยในการท�ำงาน ซึง่ มีค่าลงทุนเพียง 25 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ในกรณีน้ ีถา้ นายจ้าง เจ้าของหรือผู ้ประกอบการรายใดไม่มขี ้อ เสนอการลงทุนเครื่องมือเพือ่ ความปลอดภัยนี้ใหแ้ ก่ลูกจ้าง โอกาสการมีเงินฟรี วางบนโต๊ะ ก็จะเกิดขึ้นกับนายจ้างหรือผู ้ประกอบการรายอืน่ ทีเ่ ป็ นคู่แข่ง ซึง่ อาจมี ข ้อเสนอและการลงทุนในเครื่องมือเพือ่ ความปลอดภัยนี้ จึงช่วยให ้เขามีค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจ้างแรงงานน้อยกว่าคู่แข่งรายแรก โดยสรุปก็คือ ถา้ คนงานต้องการความปลอดภัยมากขึ้นและเต็มใจทีจ่ ะ รับภาระค่าใช้จ่าย นายจ้างควรจะจัดหาและสร้างสภาพแวดล ้อมการท�ำงานใหม้ ี ความปลอดภัยมากขึ้น แม ้จะไม่มกี ารตรากฎหมายข ้อบังคับก็ตาม ถ ้าเป็ นเช่นนัน้ แล ้ว ยังมีความจ�ำเป็ นใดอีกทีต่ อ้ งมีกฎหมายควบคุมความปลอดภัยในการท�ำงาน

166

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ตัวอย่างของ โทมัส เชลลิง่ เกี่ยวกับหมวกกันน็อคของนักกีฬาฮอกกี้ในบท ที่ 5 อาจใช้เป็ นบทเรียนชี้น�ำในท�ำนองคล ้ายคลึงกันกับกรณีน้ ไี ด้วา่ คนงานอาจชอบ การจ�ำกัดโอกาสเสีย่ งกับความไม่ปลอดภัยในสถานทีท่ �ำงานทีบ่ งั คับตามกฎหมาย แม ้ว่าตัวเขาเองอาจไม่กลัวกับความเสีย่ ง ในท�ำนองเดียวกับการพูดว่า “โรงเรียน ดี” ค�ำว่า “ดี” ในทีน่ ้ ีเป็ นแนวคิดเปรียบเทียบของครอบครัวต่างๆ ทีพ่ ยายามหา โรงเรียนดีๆ ให ้กับบุตรหลานของตัวเอง ซึง่ จะมีหลายสิง่ หลายอย่างคล ้ายคลึงกัน กับนักกีฬาทีพ่ ยายามหาข ้อได้เปรียบในการแข่งขัน หรือครอบครัวต่างๆ พยายาม หาซื้อบา้ นในเขตทีม่ โี รงเรียนดีและมีช่อื เสียงตัง้ อยู่ เมือ่ ทุกครอบครัวมองหาสิง่ เดียวกัน ผลทีต่ ามมาก็คอื ราคาบ ้านจะแพงมากขึ้นเพราะคนแย่งกันซื้อ แต่ข ้อ เท็จจริงยังคงเหมือนเดิมคือ ครึ่งหนึ่งของจ�ำนวนนักเรียนทัง้ หมดยังคงต้องเข ้า โรงเรียนทีถ่ กู จัดอยู่ในครึ่งหลังของตารางจัดอันดับ งานทีม่ คี วามเสีย่ งสูงจะจ่ายค่าจ้างสูง เพราะนายจ้างมีค่าใช้จ่ายน้อยในเรื่อง การดูแลความปลอดภัยในการท�ำงาน ท�ำให ้คนงานทีร่ บั งานเสีย่ งดังกล่าวสามารถ หารายได้สูงมากพอทีจ่ ะซื้อบ ้านในเขตทีต่ งั้ ของโรงเรียนดีๆ ทีม่ ชี ่อื เสียงได้

เพราะเหตุใด บทบัญญัตขิ องกฎหมายมาตรฐานแรงงานที่เป็ นธรรม ของสหรั ฐฯ จึงก�ำหนดความผิดในกรณีผ้ ูใช้ แรงงานท�ำงานนอกเวลา โดยยอมรั บค่ าจ้ างในอัตราใดก็ได้ (กรณีศกึ ษาของ จอร์ จ เอเกอร์ ลอฟ) บทบัญญัติของกฎหมายมาตรฐานแรงงานที่เป็ นธรรมของสหรัฐฯ (USA Fair Labor Stadards Act – FLSA) ก�ำหนดให ้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาทีเ่ กินกว่า 40 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ให ้แก่ลูกจ้าง นักเศรษฐศาสตร์ทส่ี นับสนุนนโยบายตลาดเสรี มักออกมาต�ำหนิข ้อก�ำหนดนี้บอ่ ยครัง้ โดยให ้เหตุผลว่า คนงานหลายคนยินยอม ท�ำงานยาวกว่าจ�ำนวนชัว่ โมงการจ้างโดยไม่ตอ้ งการเงินตอบแทนพิเศษ เนื่องจาก นายจ้างไม่ตอ้ งการจ่ายเงินพิเศษ ท�ำให ้ต้องเพิม่ ชัว่ โมงการท�ำงานนอกเวลาเฉพาะ กรณีทม่ี ปี ญ ั หาการผลิตทีไ่ ม่ทนั ซึง่ เป็ นเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นไม่บอ่ ยนัก เพราะเหตุ ใด กฎหมายจึงห้ามนายจ้างและลูกจ้างท�ำสัญญาข ้อตกลงทีท่ งั้ สองฝ่ ายเห็นว่าต่าง ได้รบั ประโยชน์ร่วมกัน บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

167

ตรรกะในการก�ำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา อาจมีความคล ้ายคลึง กับตรรกะในการก�ำหนดใหน้ ายจ้างต้องจ�ำกัดความเสีย่ งจากอันตรายในสถานที่ ท�ำงาน ดังนัน้ เราจะเห็นลูกจ้างแต่ละคนต่างขยันท�ำงานเกินเวลาทีก่ �ำหนด เพือ่ หวังจะได้รบั ความดีความชอบในต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงาน และเมือ่ ทุกคนท�ำตามกัน หมด สถานะความดีความชอบในการได้เลือ่ นขัน้ เลือ่ นต�ำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือน ของทุกคนก็กลับคืนอยู่ในสถานะเดิมทีเ่ คยเป็ นอยู่ก่อนหน้า และผลทีเ่ กิดขึ้นก็ เป็ นดังหนู ตดิ จันที ่ ว่ ง่ิ แข่งกัน โดยทุกคนต่างท�ำงานกันจนถึงเวลา 20.00 น. เพียง เพือ่ หลีกเลีย่ งไม่ให ้ตัวเองล ้าหลังเพือ่ นในหน้าทีก่ ารงาน แม ้การหวังได้รบั การสนับสนุนต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานทีส่ ูงขึ้นไม่ใช่ประเด็น เรื่องขยันท�ำงานเกินเวลา สิง่ จูงใจของแต่ละบุคคลทีข่ ยันท�ำงานเกินเวลาอาจส่ง ผลกระทบไปในทางทีผ่ ดิ เมือ่ พิจารณาในแง่ของกลุม่ (หมายความว่ามีหลายคนที่ มีสง่ิ จูงใจเดียวกัน) ตัวอย่างเช่น เมือ่ เอ็มขยันท�ำงานหนักโดยท�ำงานล่วงเวลามาก ท�ำให ้เอ็มสามารถเก็บเงินซื้อบา้ นในเขตทีเ่ ป็ นทีต่ งั้ ของโรงเรียนดีมชี ่อื เสียง แต่ถา้ ทุกๆ คนขยันท�ำงานล่วงเวลามากเหมือนกัน ผลกระทบตามมาก็คอื ราคาบ ้านใน เขตนัน้ จะแพงขึ้น และจะกลับสู่สภาพเดิมตามตัวอย่างทีผ่ ่านมาคือ ครึ่งหนึ่งของ จ�ำนวนนักเรียนต้องเข ้าโรงเรียนทีถ่ กู จัดอันดับอยู่ในครึ่งหลังของอันดับโรงเรียนดี แนวคิดเรือ่ ง “มือทีม่ องไม่เห็น” ของ อดัม สมิท อยูบ่ นพื้นฐานของสมมติฐาน ว่า เงินรางวัลทีใ่ ห้กับแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กบั การได้ผลงานทีส่ มบูรณ์เท่านัน้ อย่างไร ก็ตาม ความจริงธรรมดาทีพ่ บก็คอื ชีวติ คนไม่ได้อยู่บนทางเรียบทีส่ มบูรณ์ แต่จะ มีปญ ั หาอุปสรรคทีต่ อ้ งฝ่ าฟันเหมือนกับการเดินทางลาดอยู่บนเส ้นโค้ง

168

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใดนางแบบรู ปร่ างผอมบาง ถูกห้ ามเดินแฟชั่นในเมืองมาดริด เมือ่ เดือนกันยายน ปี 2006 ผู ้จัดรายการเดินแฟชัน่ Madrid’s Annual Fashion Week ซึง่ เป็ นทีร่ ูจ้ กั ดีกนั ในนาม Pasarela Cibeles เป็ นสัปดาห์แฟชัน่ มาดริด ที่ ได้ท �ำข ้อตกลงกับสมาคมผู ้ออกแบบแฟชัน่ แห่งประเทศสเปน ห้ามนางแบบทีม่ คี ่า ดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ระดับ 18 ลงมา ปรากฏกาย บนเวทีเดินแบบ (นางแบบทีม่ คี วามสูง 5 ฟุต 9 นิ้ว จะต้องมีนำ�้ หนักประมาณ 55 กิโลกรัม จึงจะมีค่าดัชนี BMI = 18) ผู ้จัดรายการกล่าวว่า ต้องการให ้การเดิน แฟชัน่ ครัง้ นี้สอ่ื ภาพลักษณ์ของนางแบบทีม่ ี “ความสวยและสุขภาพดี” อย่างไร ก็ตาม ประชาชนทัว่ ไปยังมีความเขา้ ใจว่า นางแบบที่ดูดคี วรมีรูปร่างผอมบาง มิเช่นนัน้ ดีไซเนอร์คงไม่จา้ งใหใ้ ส่ชดุ แฟชัน่ แล ้วเป็ นเพราะเหตุใด ผูจ้ ดั รายการ เดินแฟชันโชว์ ่ ในสเปนครัง้ นี้จงึ ห ้ามนางแบบรู ปร่างผอมบางเดินแฟชันดั ่ งกล่าว ดีไซเนอร์แฟชัน่ ผู ้หญิงมีความเชือ่ ว่า (และสาธารณชนดูเหมือนจะเห็นพ ้อง ด้วย) เสื้อผ้าจะดูงามมากขึ้นเมือ่ อยูก่ บั นางแบบทีม่ รี ูปร่างสูงบาง ดังนัน้ เพือ่ ความได้ เปรียบในการแข่งขัน ดีไซเนอร์แฟชันผู ่ ้หญิงจึงต้องคัดสรรนางแบบทีม่ รี ูปร่างผอม บางมาเดินแบบให้กับชุดเสื้อผ้าของตนเพือ่ ให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดเชิงธุรกิจ และดีไซเนอร์แฟชัน่ รายอืน่ ๆ ก็ตอ้ งท�ำแบบเดียวกัน ด้วยผลจากการแข่งขันแย่ง นางแบบของดีไซเนอร์ดงั กล่าว ท�ำให ้ผู ้ทีม่ อี าชีพนางแบบทุกคนต่างต้องพยายาม รักษาหุ่นของตนโดยการคุมอาหารจนบางรายได้รบั ผลกระทบต่อสุขภาพ ส�ำหรับ ความเป็ นมาของการบังคับใช้กฎ BMI ครัง้ นี้ ก็เพือ่ ช่วยลดความรุนแรงของปัญหา การแข่งขันในวงการแฟชัน่ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนางแบบ

บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

169

นางแบบทีม่ ี รูปร่ างผอมบางมากไม่ได้รบั อนุญาตให้เดิ นแบบ ในงาน Madrid’s Pasarela Cibeles Fashion Show

SS

ภาพโดย : เบอร์ เนต อาร์ แมนกู, ส�ำนักข่าว AP

รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม เทสซา โจเวลล์ ของประเทศอังกฤษ กล่าวสดุดขี ้อตกลงของเมืองมาดริดคราวนี้ รวมทัง้ ได้ขอร้องผู ้จัดรายการ London Fashion Week ให ้ท�ำตามแบบอย่างนี้ดว้ ย โดยให ้เหตุผลสนับสนุนว่า จะส่งผล กระทบเชิงบวกในวงกว ้างไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมแฟชัน่ นี้เท่านัน้ เพราะวัยรุ่น หญิงต่างฝันอยากมีรูปร่างเหมือนนางแบบบนแคตวอล์ก เพราะนางแบบทีน่ ำ�้ หนัก น้อยและสุขภาพไม่ดเี หล่านี้อาจเป็ นแม่แบบให้หญิงวัยรุ่นท�ำตาม โดยการอดอาหาร ซึง่ จะเป็ นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเอง

เพราะเหตุใด จึงมีโรงเรี ยนที่เด็กเริ่มต้ นเรี ยนหนังสือตัง้ แต่ อายุ 5 ขวบ ในอังกฤษและเวลล์ ในอังกฤษและเวลล์มกี ฎหมายก�ำหนดใหเ้ ด็กต้องเข ้าโรงเรียนตัง้ แต่อายุ 5 ขวบ อย่างไรก็ตาม เด็กทีม่ อี ายุดงั กล่าวจะมีความแตกต่างกันค่อนขา้ งมาก ทัง้ ด้าน กายภาพ สติปญ ั ญา และอารมณ์ แล ้วท�ำไมรัฐบาลไม่ปล่อยให ้เป็ นการตัดสินใจ ของพ่อแม่หรือผู ้ปกครองว่าสมควรส่งบุตรหลานของตนเข ้าโรงเรียนตัง้ แต่อายุเท่าไร

170

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

สมมติวา่ เด็กๆ ส่วนใหญ่เริ่มต้นการศึกษาในโรงเรียนตัง้ แต่อายุ 5 ขวบตาม เกณฑ์ก �ำหนด แต่มเี ด็กอยู่รายหนึ่งทีค่ รอบครัวยังเลี้ยงดูอยู่กบั บ ้านจนอายุครบ 6 ขวบจึงพาไปเข ้าโรงเรียน เมือ่ เด็กมีอายุมากขึ้นอีก 1 ปี ร่างกายก็โตขึ้น แข็งแรง ขึ้น ฉลาดมากขึ้น และเป็ นผู ้ใหญ่มากกว่าเด็กทุกคนในชัน้ เรียน เมือ่ โรงเรียนให ้ คะแนนผลการเรียนในทุกๆ วิชา และกิจกรรมเฉลีย่ เปรียบเทียบระหว่างนักเรียน ด้วยกัน คาดได้วา่ เด็กคนนี้จะมีเกรดเฉลีย่ ทีด่ กี ว่าเพือ่ นๆ มีโอกาสเป็ นนักกีฬาของ โรงเรียน หรือได้เป็ นหัวหน้ากลุม่ กิจกรรมต่างๆ มากกว่าคนอืน่ โดยสรุป เด็กคน นี้จะถูกส่งออกไปบนเส ้นทางทีพ่ ร้อมจะก้าวเข ้าสู่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำ ได้ค่อนข ้างแน่นอน ในเชิงเปรียบเทียบ เมือ่ คนหนึ่งเดินก้าวไปข ้างหน้าย่อมจะต้องมีคนเดิน อยู่ข ้างหลัง พ่อแม่ทม่ี คี วามทะเยอทะยานอาจรูส้ กึ กดดันถา้ จะต้องเลี้ยงดูลูกต่อ ไปอีก 1 ปี แต่กค็ งไม่มพี อ่ แม่คู่ใดจะเลี้ยงลูกไปเรื่อยๆ อีกหลายปี จงึ ค่อยพาเข ้า โรงเรียน เพราะถึงอย่างไรก็ตอ้ งพาเข ้าโรงเรียนอยู่ดี ซึง่ ถ ้าจินตนาการเกณฑ์อายุ เฉลีย่ ทีเ่ ป็ นไปได้น่าจะอยู่ท่ี 7 หรือ 8 ขวบ ทัง้ หลายทัง้ ปวงของประเด็นปัญหานี้ คือ ถ ้าทุกครอบครัวให ้บุตรหลานของตนเริ่มต้นศึกษาช้าออกไป โดยภาพรวมก็ จะไม่มผี ู ้ใดได้เปรียบมากกว่ากัน และด้วยเหตุผลนี้เอง ท�ำให ้รัฐบาลมีนโยบายไม่ ปล่อยใหแ้ ต่ละครอบครัวตัดสินใจเองในเรื่องเกณฑ์อายุการเริ่มต้นเรียนหนังสือ ในระบบโรงเรียน ข้อเท็จจริงที่ว่า ความไม่สอดคล ้องหรือไม่ไปด้วยกันระหว่างมูลเหตุจูงใจ ของปัจเจกชนกับมูลเหตุจูงใจของส่วนรวม ไม่ใช่ปจั จัยเดียวทีท่ �ำให้ประเทศต่างๆ ต้องควบคุมพฤติกรรมของประชาชน ตัวอย่างเช่น เรื่องของความปลอดภัยในการ ท�ำงาน นักวิชาการหลายท่านได้ให้เหตุผลโต้แย้งไว ้ว่า ส่วนใหญ่ประชาชนทัวไปมั ่ ก จะขาดข ้อมูลความรูท้ จ่ี �ำเป็ นแก่การตัดสินใจ หรือสร้างวิสยั ทัศน์เพือ่ ปกป้ องตัวเอง จากอันตรายทีอ่ าจเกิดขึ้นจากการเสีย่ งต่างๆ กฎหมายทีม่ ลี กั ษณะเหมือนพ่อปกครองลูกดังกล่าวพบว่า บ่อยครัง้ ได้รบั การโต้เถียงกันระหว่างฝ่ ายต่างๆ ในสังคมถึงความไม่เหมาะสมในการบังคับใช้ แต่ ถ ้าเป็ นกฎหมายทีใ่ ช้กบั เด็กมักจะได้รบั การต้อนรับจากสังคม เนื่องจากผู ้ใหญ่สว่ น บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

171

มากจะเห็นชอบร่วมกันว่าวัยเด็กยังไม่อยู่ในฐานะทีจ่ ะตัดสินใจได้ดเี กี่ยวกับความ เสีย่ งด้านความปลอดภัยต่างๆ ด้วยตัวเอง ตัวอย่างทีจ่ ะน�ำเสนอต่อไปนี้ จะเห็นหลักการประเมินผลดี–ผลเสีย หรือ รายได้–ต้นทุนว่า ยังคงมีบทบาทส�ำคัญต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบเฉพาะ ของกฎหมายทีค่ วรมี

เพราะอะไร ที่น่ ังนิรภัยส�ำหรั บเด็กเล็กก�ำหนดให้ ต้องมีในรถยนต์ แต่ ไม่ ต้องมีในเครื่ องบิน (กรณีศกึ ษาของ เกร็ก บาเลต) รัฐบาลกลางในสหรัฐฯ ก�ำหนดไว ้ว่า เมือ่ ผู ้ปกครองขับรถโดยมีบตุ รหลานทีเ่ ป็ นเด็ก เล็กเดินทางไปด้วย ต้องให้เด็กเล็กนัง่ บนทีน่ งั ่ ทีม่ เี ข็มขัดนิรภัยทีอ่ อกแบบมาส�ำหรับ เด็กเล็กโดยเฉพาะและผ่านการตรวจรับรองมาแล ้ว แต่ถ ้าเดินทางโดยเครื่องบิน ก็อาจให ้ลูกนัง่ หรือนอนบนตักก็ได้ โดยไม่ผดิ กฎหมายแต่อย่างใด แล ้วปัจจัยใด ก่อให ้เกิดความแตกต่างของการบังคับใช้กฎหมายทีต่ ่างกันดังกล่าว บางคนให้เหตุผลแบบก�ำปัน้ ทุบดินถึงเหตุผลทีก่ ฎหมายไม่ได้บงั คับให้เด็ก เล็กต้องใช้เข็มขัดนิรภัยบนเครื่องบิน เพราะถา้ เครื่องบินตกไม่ว่าใครก็ตอ้ งตาย อยู่ดี ไม่วา่ จะคาดหรือไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็ตาม ซึง่ ก็เป็ นความจริงเพียงบางส่วน เพราะยังมีสถานการณ์เสีย่ งทีค่ ณ ุ จะปลอดภัยมากขึ้นถา้ คาดเข็มขัดนิรภัย เช่น เมือ่ เครื่องบินตกหลุมอากาศ ค�ำอธิบายทีม่ เี หตุผลมากกว่าคือ ในเมือ่ รถยนต์ถกู ออกแบบมาให้มีการติด ตัง้ ทีน่ งั ่ นิรภัยส�ำหรับเด็กอยู่ดา้ นหลังของรถอยู่แล ้ว ผู ้ปกครองทีเ่ ป็ นเจ้าของรถก็ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายอืน่ ใดเพิม่ อีกเมือ่ ลูกนัง่ ทีน่ งั ่ นิรภัยในรถแล ้ว เพราะต้นทุนเพิม่ เท่ากับศูนย์ และผลประโยชน์เพิม่ คือความปลอดภัยทีม่ มี ากขึ้นส�ำหรับเด็กเล็ก ท�ำใหก้ ารตัดสินใจคาดเข็มขัดบนทีน่ งั ่ นิรภัยส�ำหรับเด็กขณะเดินทางโดยรถยนต์ จึงเป็ นสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ในทางกลับกัน ถา้ คุณเดินทางโดยเครื่องบินพร้อมเด็กเล็ก เช่น จากลอนดอนไปยังนิวยอร์ก หากต้องการใช้สทิ ธิ์คาดเข็มขัดบนทีน่ งั ่ นิรภัยส�ำหรับ เด็กให ้เด็กเล็ก คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็ นค่าตัวอี ๋ กประมาณ 300 ปอนด์หรือ มากกว่านัน้ เพือ่ ซื้อตัวที ๋ น่ งั ่ เพิม่ อีกหนึ่งทีส่ �ำหรับเด็กอีกด้วย

172

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ค่าเสียโอกาสของการใช้ทีน่ งั่ ทีม่ ี เข็มขัดนิ รภัยทีม่ ี ในรถ ถูกว่าทีม่ ี ในเครื ่องบิ นโดยสารมาก

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

ผูป้ กครองหลายคนอาจไม่กล ้าพูดอย่างเต็มปากว่า เป็ นการเสียเงินมาก เกินไปเพือ่ ซื้อความปลอดภัยใหก้ บั บุตรหลานของตัวเองส�ำหรับการเดินทางโดย เครื่องบิน แต่จากข ้อเท็จจริงทีพ่ บก็ท �ำให ้สามารถสรุปได้เช่นนัน้ เพราะผู ้ปกครอง ส่วนใหญ่ยอมเอาบุตรหลานทีเ่ ป็ นเด็กเล็กนัง่ ตักแทนการเสียเงินค่าตัวสู ๋ งถึง 300 ปอนด์เพือ่ ได้ทน่ี งั ่ เพิม่ ส�ำหรับเด็ก

ท�ำไมต้ องมีเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ แต่ ไม่ ต้องมีในรถบัสของโรงเรี ยน (กรณีศกึ ษาของ คาโรล ชาร์ เซลลา, เทนวี เมห์ รา, จิม เซียฮัน และ เซชิน เดส) ทุกๆ รัฐในสหรัฐฯ ยกเว ้นนิวแฮมป์ เชียร์เท่านัน้ ทีอ่ อกกฎหมายก�ำหนดให ้ผู ้ขับขี่ และผู ้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเมือ่ ขับรถ แต่ส �ำหรับกรณีรถบัสของโรงเรียน บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

173

มีอยู่เพียง 4 รัฐคือ นิวยอร์ก นิวเจอร์ซยี ์ ฟลอริดา และแคลิฟอร์เนียเท่านัน้ ทีม่ ี กฎหมายก�ำหนดให้ต้องมีการติดตัง้ เข็มขัดนิรภัยบนรถบัส แล ้วอะไรเป็ นเหตุแห่ง ความแตกต่างดังกล่าว ตามข ้อมูลสถิตขิ ององค์การความปลอดภัยการจราจรทางถนนแห่งชาติ ของ สหรัฐฯ พบว่า การใช้เข็มขัดนิรภัยช่วยคุม้ ครองชีวติ ของผู ้ใช้รถได้ปีละกว่า 12,000 คน ขณะทีส่ ถิตกิ ารตายด้วยอุบตั เิ หตุจากการสัญจรบนท้องถนนยังคงสูงมากกว่า ปี ละ 40,000 คน การใช้เข็มขัดนิรภัยจึงมีคณ ุ ค่ามหาศาลในการช่วยรักษาชีวติ ของ ผู ้ขับรถ มีข ้อมูลพบว่าทุกๆ หนึ่งในแปดของผู ้เสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุทางรถมีอายุตำ� ่ กว่า 19 ปี (จ�ำนวนรวมมากกว่า 5,000 คนต่อปี ) แต่อตั ราการเสียชีวติ ของเด็กในรถ บัสของโรงเรียนมีตำ� ่ มากเฉลีย่ เพียง 10.2 คนต่อปี ในระหว่างช่วงปี 1990 – 2002 ผลการศึกษาของสภาวิจยั แห่งชาติของสหรัฐฯ เมือ่ ปี 2002 พบว่าการเดินทางไป โรงเรียนด้วยการเดิน ขีจ่ กั รยาน หรือรถส่วนตัว มีความเสีย่ งมากกว่าการไปกับรถ บัสของโรงเรียน นอกจากนี้ ลิซ เนบเลตต์ นักวิจยั ขององค์การความปลอดภัยการ จราจรทางถนนแห่งชาติ พบว่า รถบัสของโรงเรียนมีทน่ี งั ่ ส�ำหรับเด็กนักเรียนแบ่ง เป็ นช่องหรือตอน พร้อมทีพ่ งิ หลังเป็ นเบาะนุ่มกันกระแทกทีม่ คี วามสูงพอเหมาะ เหมือนกับใส่ไข่ไว ้ในกล่องกันกระแทกอย่างดี ซึง่ เป็ นรูปแบบการเดินทางบนท ้อง ถนนทีม่ คี วามปลอดภัยสูงสุดอยู่แล ้ว มีผู ้ประมาณการไว ้ว่า ต้นทุนการติดตัง้ ระบบความปลอดภัยในรถบัสของ โรงเรียนจะท�ำให ้เสียค่าใช้จ่ายเพิม่ อีกประมาณคันละ 1,000 ปอนด์ จากข ้อมูลนี้มี นักวิจารณ์โต้แย้งว่า ชีวติ ของคนอีกเป็ นจ�ำนวนมากจะมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่า นี้ หากเราเอาเงินจ�ำนวนเดียวกันนี้ไปลงทุนปรับปรุงทางเดินฟุตปาทหรือทางเท้าที่ อยู่บริเวณจุดทีร่ ถโรงเรียนจอดรับส่งนักเรียน

174

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ท�ำไมในเรื อส�ำราญจึงมีการติดตัง้ อุปกรณ์ ป้องกันการชน น้ อยกว่ าในรถ (กรณีศกึ ษาของ ปี เตอร์ โกย์ โซ) ในปัจจุบนั กฎหมายก�ำหนดไวว้ ่า ในปัจจุบนั รถที่ขายทอ้ งตลาดจะต้องมีการ ติดตัง้ อุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยของผูข้ บั ขี่ เช่น ถุงลมนิรภัยส�ำหรับผูข้ บั และ ผู ้โดยสาร มีเข็มขัดนิรภัยติดตัง้ ไว ้ 3 จุด และอุปกรณ์ดูดซับพลังงานทีช่ ่วยกระจาย แรงกระแทก อันเกิดจากการชนกันอย่างรุนแรงของรถ ฯลฯ เพราะเหตุใดกฎหมาย จึงไม่กำ� หนดข ้อบังคับเดียวกันไปใช้กนั เรือส�ำราญด้วย ผู ้ทีม่ เี รือส�ำราญส่วนใหญ่หรือเกือบทัง้ หมดจะต้องขับรถด้วย ไม่วา่ จะเป็ น ประชาชนทัวไปหรื ่ อนักกฎหมาย ถ ้าเป็ นคนมีเหตุมผี ลแล ้ว ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะ อธิบายพฤติกรรมว่าด้วยเกณฑ์การลงทุนทีเ่ หมาะสมสูงสุดไว ้ว่า ทุกคนจะลงทุนใน ทุกกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย จนกระทังเงิ ่ นหน่วยสุดท้ายทีล่ งทุน ก่อให ้เกิดผลประโยชน์เพิม่ ด้านโอกาสการรอดชีวติ เท่ากันในทุกกิจกรรม (ถ ้าเงิน หน่วยสุดทา้ ยทีเ่ จ้าของเรือใช้จ่ายในการลงทุนกับอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยใน การขับรถ เกิดประโยชน์เพิม่ ในด้านโอกาสการรอดชีวติ น้อยกว่าเงินหน่วยสุดทา้ ย ทีเ่ ขาใช้จ่ายไปในการลงทุนกับอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยในการขับเรือส�ำราญ แน่ นอนว่าเขาจะต้องเลือกแนวทางทีเ่ พิม่ โอกาสการรอดชีวติ โดยการตัดสินใจ ลงทุนน้อยลงกับอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยในรถ แต่เพิม่ การลงทุนกับอุปกรณ์ เพือ่ ความปลอดภัยในเรือส�ำราญ) มีเหตุผลมากมายว่า ท�ำไมอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยทีต่ ดิ ตัง้ ในรถจึงมี ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบมากกว่าการติดตัง้ ในเรือส�ำราญส่วนตัว ประโยชน์ส �ำคัญ และเห็นชัดทีส่ ุดคือ ผูข้ บั รถส่วนตัวจะใช้เวลาอยู่บนหลังพวงมาลัยรถเป็ นร้อยๆ ชัวโมงต่ ่ อปี ในขณะทีเ่ จ้าของเรือส�ำราญโดยเฉพาะรายทีอ่ ยูท่ างแถบทีม่ อี ากาศหนาว เย็น ปี หนึ่งคาดว่าแล่นเรือรวมแล ้วไม่ถงึ 40 ชัวโมงเท่ ่ านัน้ ซึง่ ค่าติดตัง้ อุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยทัง้ เรือและรถมีค่าใช้จ่ายพอๆ กัน ดังนัน้ โอกาสการช่วยรักษาชีวติ

บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

175

ต่ออุปกรณ์ทต่ี ดิ ตัง้ ในรถจึงมีสูงกว่าทีต่ ดิ ตัง้ ในเรือมากมายนัก (ขอให้เปรียบเทียบ ตรรกะความคล ้ายคลึงกันของตัวอย่างนี้ กับตัวอย่างการเลือกติดตัง้ หลอดไฟใน ช่องแช่เย็นมากกว่าในช่องแช่แข็งของตูเ้ ย็น ในบทที่ 2) เหตุผลอีกประการคือ อุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยในเรือน่าจะจ�ำเป็ นน้อย กว่าในรถ เพราะการสัญจรทางน�ำ้ จะติดขัดน้อยกว่าทางบกมาก และใช้ความเร็ว น้อยกว่ามาก โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือ คลอง และพื้นทีท่ ม่ี เี รือสัญจรมาก จะมีการ จ�ำกัดความเร็วเรือตามกฎหมายไว ้ที่ 5 ไมล์ต่อชัวโมงเท่ ่ านัน้ ซึง่ เป็ นระดับความเร็ว ทีก่ ารชนกันไม่ท �ำให ้เกิดการบาดเจ็บมากนัก การแล่นเรือไม่ใช่เป็ นกิจกรรมทีไ่ ม่มคี วามเสีย่ งใดๆ เลย องค์การทางทะเล และเฝ้ าระวังชายฝัง่ แห่งสหราชอาณาจักร รายงานไว ้ในปี 2006 ว่า มีผู ้เสียชีวติ จาก อุบตั เิ หตุเรือส�ำราญรวม 23 ราย โดยแท้จริงแล ้วเจ้าของเรือถูกบังคับโดยกฎหมาย ใหต้ อ้ งลงทุนในอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยบางชนิดทีม่ ผี ลต่อการรอดชีวติ ของ เจ้าของเรือและลูกเรือ ตัวอย่างเช่น หลายประเทศก�ำหนดให ้เรือทุกล�ำต้องมีห่วง ยางเตรียมไว ้ส�ำหรับผู ้โดยสาร อย่างไรก็ตาม สรุปสุดท ้ายคือ การเดินทางโดยรถ มีความเสีย่ งต่ออุบตั เิ หตุสูงกว่าเดินทางโดยเรือ จึงมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ท่ี สมควรลงทุนกับอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัยในรถมากกว่าในเรือ ส�ำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์แห่งหนึ่ งซึ่งทรงอิทธิพลมาก ได้กล่าวเน้นว่า กฎหมายควรมีววิ ฒั นาการในวิถที างทีส่ นับสนุนการเพิม่ ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ กฎหมายทีจ่ ะน�ำไปสู่ประโยชน์ (ความมังคั ่ ง่ ) สูงสุดแก่สมาชิกในสังคมนัน้ ๆ เหตุผลของแนวคิดนี้คอื ถ ้ามีสองทางเลือกในการเขียนกฎหมาย โดยทางเลือกแรก จะมีประสิทธิภาพมากกว่าอีกทางเลือกหนึ่ง แสดงว่าทางเลือกแรกมีความเป็ นไป ได้ทจ่ี ะท�ำให ้ทุกคนในสังคมมีฐานะความเป็ นอยู่ดขี ้นึ สมมติว่ากฎหมายทางเลือกแรกมีผลในการช่ วยเพิ่มความมัง่ คัง่ ของ ผู ้บริโภคคิดเป็ นวงเงินรวมเท่ากับ 3,000 ล ้านปอนด์ และไม่มผี ลกระทบต่อผู ้ผลิต แต่อย่างใด ในขณะทีก่ ฎหมายฉบับเดียวกันแต่เขียนขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่งเพือ่ เป็ น

176

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ทางเลือกทีส่ อง จะช่วยเพิม่ ความมังคั ่ ง่ ของผู ้ผลิตคิดเป็ นวงเงินรวมเท่ากับ 1,000 ล ้านปอนด์ และไม่มผี ลกระทบต่อผู ้บริโภค เมือ่ เป็ นเช่นนี้กฎหมายทางเลือกแรก ถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากก่อให้เกิดการเพิม่ ขึ้นของความมังคั ่ ง่ มากกว่า แต่ถา้ สมมติว่าผูผ้ ลิตมีอ �ำนาจหรือสามารถใช้อ �ำนาจทางการเมืองมาบีบ ใหม้ กี ารบังคับใช้กฎหมายทางเลือกที่สองแทน เมือ่ เป็ นเช่นนี้ฝ่ายที่สนับสนุ น การบังคับใช้กฎหมายทีม่ ปี ระสิทธิภาพควรโต้แย้งใหฝ้ ่ ายผูผ้ ลิตใช้มาตรการทาง ภาษีแทน เช่น ยกเลิกการเก็บภาษีชวั ่ คราวคิดเป็ นวงเงินเพียงพอแก่การชดเชย รวม 1,000 ล ้านปอนด์ ทีผ่ ู ้ผลิตต้องสูญเสียโอกาสไปจากการให ้ใช้กฎหมายทีม่ ี ประสิทธิภาพมากกว่าแทน ส�ำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ท่เี ป็ นคู่ แข่งยอมรับความมีเหตุมผี ลของขอ้ โต้แย้งนี้ แต่กเ็ น้นเตือนว่า การเจรจาทีจ่ ะน�ำไปสู่ผลลัพธ์ทม่ี ปี ระสิทธิภาพดังกล่าว บางครัง้ ก็ยากล�ำบากในทางปฏิบตั มิ ากกว่าทีค่ ดิ นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎหมาย หรือข ้อบังคับบ่อยครัง้ มิได้เป็ นเพราะต้องการการสนับสนุนเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ แต่ เพือ่ รับใช้หรือสนองความต้องการของกลุม่ การเมืองหรือกลุม่ ทีม่ ผี ลประโยชน์เฉพาะ ดังทีแ่ สดงในตัวอย่างต่างๆ ก่อนหน้าแล ้ว ฝ่ ายสนับสนุนการเพิม่ ประสิทธิภาพ ของกฎหมายมีประเด็นโต้แย้งมากกว่า แต่กม็ ไิ ด้หมายความว่าฝ่ ายทีม่ งุ่ ประโยชน์ เฉพาะทางจะไม่มเี หตุผลใดๆ มาสนับสนุนแนวทางของตน

เพราะเหตุใด การกินแฮมเบอร์ เกอร์ และดื่มกาแฟขณะขับรถ จึงเป็ นการ กระท�ำที่ไม่ ผิดกฎหมาย แต่ การคุยโทรศัพท์ มือถือขณะขับรถ กลับผิด กฎหมาย (กรณีศกึ ษาของ อีวาน ซาโรเพาลอส) มีหลักฐานทีช่ ้ ใี ห ้เห็นว่า การใช้โทรศัพท์มอื ถือในขณะขับรถจะเพิม่ โอกาสการเกิด อุบตั เิ หตุแก่ผู ้ขับ จึงส่งผลให ้ภาครัฐต้องออกกฎหมายหา้ มการใช้โทรศัพท์มอื ถือ ขณะขับรถ ยกเว ้นว่าใช้ควบคู่กบั เครือ่ งช่วยฟังทีท่ �ำให้ไม่ตอ้ งใช้มอื จับโทรศัพท์ (เช่น ใช้กบั อุปกรณ์หูฟงั ) จึงอนุญาตให ้ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีกจิ กรรมอืน่ ๆ มากมายที่ บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

177

ผู ้ขับกระท�ำขณะขับรถซึง่ น่าจะมีอนั ตรายเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้หา้ มไว ้โดยกฎหมาย เช่น การกินแฮมเบอร์เกอร์ ดืม่ กาแฟ เปลีย่ นแผ่นซีดี หรือแม ้กระทังการแต่ ่ งหน้า ของผู ้หญิง ฯลฯ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวมีผลท�ำให ้ผู ้ขับรถขาดสมาธิ จิตใจอาจ ไม่มงุ่ อยู่กบั การขับรถ เช่นเดียวกันกับการใช้โทรศัพท์มอื ถือ แต่เป็ นเพราะเหตุใด รัฐจึงยอมให ้กระท�ำได้โดยไม่ผดิ กฎหมาย การใช้โทรศัพท์มอื ถือขณะขับรถท�ำให ้ขาดสมาธิและจิตใจไม่จดจ่ออยู่กบั การขับรถ มักเป็ นเหตุผลทีถ่ กู หยิบยกขึ้นอ้างมากกว่ากิจกรรมอืน่ ๆ ทีเ่ ป็ นสาเหตุ ของอุบตั เิ หตุ มีผู ้อ้างว่าผู ้ขับรถทีค่ ยุ โทรศัพท์มอื ถือไปด้วยท�ำให้ใจจดใจจ่อกับการ ขับรถน้อยลงเมือ่ เปรียบเทียบกับการกินแฮมเบอร์เกอร์ ทีน่ ่าแปลกก็คอื ถ ้าเพียง การสนทนาขณะขับรถเป็ นสาเหตุของอุบตั เิ หตุจริง ท�ำไมกฎหมายจึงไม่หา้ มผู ้ขับ คุยกับผู ้โดยสารทีน่ งั ่ มาในรถด้วย ก็ยงั มีบางคนแย้งว่าการคุยทางโทรศัพท์มอื ถือ ท�ำใหค้ นขับหันเหความสนใจไปจากการขับรถได้มากกว่าสนทนากับผูโ้ ดยสารใน รถ อย่างไรก็ดี ทัง้ หลายทัง้ ปวงทีก่ ล่าวนี้ เมือ่ กฎหมายยังคงอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ มือถือร่วมกับระบบแฮนด์ฟรีและสายหูฟงั ดังนัน้ ประเด็นทีว่ า่ การสนทนาขณะ ขับรถก่อให ้เกิดการขาดสมาธิในการขับรถจึงเป็ นอันตกไป เมือ่ ความพยายามเพือ่ อธิบายหลักการและเหตุผลของกฎหมายล ้มเหลว กลยุทธ์ทด่ี กี ค็ อื การค้นหาว่าใครจะเป็ นผู ้ได้รบั ผลกระทบจากกฎหมาย และราย ได้ของเขาจะเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร ถา้ มีกฎหมายหา้ มการกินแฮมเบอร์เกอร์ และดืม่ กาแฟขณะขับรถออกมาบังคับใช้ เชื่อว่ายอดขายสินค้าทัง้ สองอย่างนี้จะ ต้องลดลงอย่างแน่ นอน ด้วยเหตุน้ ี ผูม้ อี �ำนาจประกาศใช้กฎหมายจึงไม่น�ำมา รวมบังคับใช้กบั สองสินค้าดังกล่าว อาจเป็ นเพราะกลัวจะถูกตอบโต้จากเอกชน ทีด่ �ำเนินธุรกิจด้วยการถอนเงินสนับสนุ นพรรคการเมืองทีเ่ อกชนบริจาคให ้ ใน ท�ำนองเดียวกันกับการอนุ ญาตใหใ้ ช้โทรศัพท์มอื ถือร่วมกับระบบแฮนด์ฟรีและ สายหูฟงั ขณะขับรถ ก็ถอื เป็ นเทคนิคทีฝ่ ่ ายรัฐซึง่ มีหน้าทีบ่ งั คับใช้กฎหมายสามารถ หลีกเลีย่ งความเสีย่ งในการถูกตอบโต้จากเอกชนได้เช่นกัน เพราะเอกชนผูจ้ ดั จ�ำหน่ายโทรศัพท์มอื ถือมิได้เสียผลประโยชน์โดยรวม ยังคงขายโทรศัพท์มอื ถือ

178

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนเดิม ดีไม่ดรี ายได้รวมอาจเพิม่ ขึ้นด้วยซ�ำ้ จากยอดขาย สายหูฟงั ทีใ่ ช้ร่วมกับโทรศัพท์มอื ถือในขณะขับรถ ค�ำตอบที่เ ป็ น ไปได้อีก ประการหนึ่ ง ซึ่ง ช่ ว ยอธิบ ายว่ า ท�ำไมการกิน แฮมเบอร์เกอร์และดื่มกาแฟขณะขับรถจึงไม่ผดิ กฎหมาย แต่การคุยโทรศัพท์ มือถือกลับผิดกฎหมาย อาจเป็ นผลเกี่ยวเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ กล่าวคือ การกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มขณะขับรถ เป็ นนิสยั ทีค่ นในสังคมปฏิบตั กิ นั มา ช้านานจนเคยชิน ขณะทีก่ ารใช้โทรศัพท์มอื ถือขณะขับรถเป็ นสิง่ ใหม่ จนกระทัง่ เริ่มมีการตระหนักถึงอันตรายทีอ่ าจเกิดขึ้น ถา้ หากคนท�ำจนติดเป็ นนิสยั ควบคู่ ไปกับการขับรถ และในทีส่ ุดการคุยโทรศัพท์มอื ถือจึงถูกเลือกใหเ้ ป็ นกิจกรรม เป้ าหมายทีน่ ่าถูกควบคุมโดยการบังคับใช้กฎหมาย สองตัวอย่างท้ายสุดต่อไปนี้ จะช่วยชี้ใหเ้ ห็นว่าหลักการและแนวคิดทาง เศรษฐศาสตร์ สามารถส่งผลกระทบต่อการออกกฎหมายทีช่ ่วยปกป้ องผู ้บริโภค จากการถูกเอาเปรียบจากธุรกิจเอกชนทีม่ อี �ำนาจทางการตลาด ทัง้ สองตัวอย่างจะ เน้นเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นในธุรกิจบริการอย่างแท็กซีใ่ นนิวยอร์ก ซึง่ เทศบาลเมืองได้ สร้างธุรกิจผูกขาดทีถ่ กู ต้องตามกฎหมายขึ้นมา โดยรถแท็กซีท่ ไ่ี ม่ได้ซ้อื แผ่นป้ าย อนุญาตให้วิง่ รับผู ้โดยสารจากเทศบาลจะกลายเป็ นรถแท็กซีผ่ ดิ กฎหมาย และเพือ่ ลดปัญหาการจราจรคับคัง่ อย่างยิง่ ในนิวยอร์ก เทศบาลได้ควบคุมการจ�ำหน่ายแผ่น ป้ ายอนุญาตให ้มีจ �ำนวนจ�ำกัด ซึง่ ส่งผลให ้รถแท็กซีท่ ว่ี ง่ิ บริการผู ้โดยสารมีจ �ำนวน น้อยกว่าถ ้าปล่อยให ้วิง่ อย่างเสรีโดยไม่มกี ารควบคุมดังทีเ่ ป็ นอยู่ ผลทีเ่ กิดขึ้นตามมาจากนโยบายดังกล่าวคือ เจ้าของรถแท็กซีท่ ม่ี แี ผ่นป้ าย อนุญาตทีถ่ กู ต้องตามกฎหมายจะมีอ �ำนาจทางการตลาดสูง ซึง่ หากปราศจากการ ควบคุมทีด่ พี อแล ้ว จะสามารถก�ำหนดอัตราค่าโดยสารทีแ่ พงเกินเหตุจนผู ้บริโภค เดือดร้อนได้ ด้วยเหตุดงั ทีก่ ล่าวมาจึงเป็ นเรื่องธรรมดาทีเ่ กือบทุกเมืองต่างๆ ทัว่ โลกต้องควบคุมจ�ำนวนรถแท็กซี่ แล ้วยังต้องควบคุมอัตราการเรียกเก็บค่าโดยสาร ด้วย ซึง่ จุดมุง่ หมายของกฎหมายมิใช่เพียงเพือ่ ปกป้ องผู ้บริโภคจากการถูกเอารัด เอาเปรียบ แต่เพือ่ การตัดสินใจใช้บริการแท็กซีท่ ม่ี ปี ระสิทธิภาพมากขึ้น บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

179

ท�ำไมค่ าโดยสารรถแท็กซี่จงึ ประกอบด้ วยส่ วนที่เป็ นอัตราคงที่และส่ วน ที่เป็ นอัตราผันแปร แทนที่จะเรี ยกเก็บอัตราที่สูงขึน้ ตามระยะทางที่ว่ งิ (กรณีศกึ ษาของ มาริโอ คาโปริชชี่) ภายใต้ข ้อบังคับรถแท็กซีข่ องเมืองลอนดอนปี 2007 รถแท็กซีไ่ ด้รบั อนุญาตให้เก็บ ค่าโดยสารในอัตราคงที่ 2.20 ปอนด์ และอัตราผันแปรอยู่ระหว่าง 4.20 – 7.40 ปอนด์ต่อไมล์ ขึ้นอยู่กบั ว่าเป็ นช่วงเวลาใดของวันและช่วงวันใดในสัปดาห์ ซึง่ เมือง ต่างๆ ของแต่ละประเทศทัวโลกต่ ่ างก็มโี ครงสร้างการก�ำหนดอัตราค่าโดยสารรถ แท็กซีท่ ค่ี ล ้ายคลึงกัน แล ้วเพราะเหตุใด หน่ วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วขอ้ งจึงไม่ใช้วธิ ีกำ� หนดอัตรา ค่าโดยสารทีส่ ะดวกง่ายดายกว่า โดยการเก็บค่าโดยสารอัตราคงทีห่ นึ่งทีต่ ำ� ่ และ ก�ำหนดอัตราสูงขึ้นตามระยะทางทีเ่ พิม่ ขึ้น เนื่องจากรถแท็กซีม่ เี ครือ่ งค�ำนวณอิเล็กทรอนิกส์ช่วยคิดค่าโดยสารอัตโนมัติ จึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างทีค่ ดิ ถ ้าเราจะคิดค�ำนวณค่าโดยสารโดยอิงกับระยะการ เดินทางเพียงประการเดียว ภายใต้โครงสร้างการก�ำหนดอัตราค่าโดยสารทีเ่ ป็ นอยู่ วิธกี ารค�ำนวณค่าโดยสารทีม่ เี หตุมผี ลมากกว่า ในทางปฏิบตั จิ งึ ไม่ตอ้ งคิดค�ำนวณ บนพื้นฐานเฉพาะระยะการเดินทาง เพือ่ การอยู่รอดทางธุรกิจ รายได้จากค่าโดยสารต้องครอบคลุมรายจ่าย ทัง้ หมดทุกประเภททีเ่ จ้าของรถแท็กซีล่ งทุนไป รายจ่ายบางประเภทจะเป็ นสัดส่วน ทางตรงกับจ�ำนวนระยะทางทีร่ ถวิง่ บริการผู ้โดยสาร (เช่น ค่าน�ำ้ มันเชื้อเพลิง ค่า บ�ำรุงรักษา และค่าเสือ่ มสภาพ ฯลฯ) แต่กม็ รี ายจ่ายบางประเภททีไ่ ม่ข้นึ กับระยะ ทางทีร่ ถวิง่ ตัวอย่างเช่น ค่าเสียโอกาสของเงินทุนทีเ่ จ้าของลงทุนไปกับรถยนต์จะ เป็ นรายจ่ายคงทีเ่ สมอไม่ว่ารถจะวิง่ มากน้อยเพียงใด หรือค่าประกันภัยรถยนต์ ก็ไม่ข้นึ กับระยะทางทีร่ ถวิง่ และส�ำหรับเมืองใหญ่บางเมืองทีก่ �ำหนดใหเ้ จ้าของ รถต้องซื้อป้ ายทะเบียนรถแท็กซีด่ ว้ ย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้ก็ถอื เป็ นค่าใช้จ่ายคงที่ (ปัจจุบนั ในนิวยอร์กค่าป้ ายทะเบียนรถแท็กซีข่ ายในราคามากกว่า 3 แสนดอลลาร์)

180

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

โครงสร้างอัตราค่ าโดยสารรถแท็กซี่ท่เี ชื่อกันว่ามีประสิทธิภาพที่สุดคือ โครงสร้างอัตราราคาที่สามารถชี้น�ำผู บ้ ริโภคสู่การตัดสินใจใช้บริการ ภายใต้ แนวคิดนี้ท �ำใหค้ ่าโดยสารทีผ่ ูบ้ ริโภคจ่าย จะใกล ้เคียงมากทีส่ ุดกับค่าใช้จ่ายเพิม่ ทีผ่ ู ้ขับหรือเจ้าของรถแท็กซีต่ อ้ งรับภาระ ถ ้าจะให ้เจ้าของรถแท็กซีม่ รี ายได้คุม้ กับ ค่าใช้จ่ายทัง้ หมด จะเป็ นรายได้ทค่ี �ำนวณขึ้นจากอัตราค่าโดยสารทีก่ �ำหนดขึ้นกับ จ�ำนวนระยะทางทีร่ ถวิง่ เท่านัน้ อัตราค่าโดยสารต่อไมล์ทค่ี วรจะเป็ นต้องก�ำหนด ใหส้ ูงขึ้นอีกหลายปอนด์ต่อไมล์จากระดับทีก่ �ำหนดไว ้เดิม ในกรณีน้ ีผลทีต่ ามมา คือ อัตราค่าโดยสารจะสูงมากจนไม่จูงใจให ้ผู ้คนใช้บริการรถแท็กซี่ โดยเฉพาะถ ้า เป็ นการเดินทางระยะสัน้ ๆ แม ้ว่าโดยข ้อเท็จจริงค่าใช้จ่ายเพิม่ ในส่วนของเจ้าของรถ แท็กซีท่ ใ่ี ห้บริการผู ้โดยสารกลุม่ หลังอาจตำ� ่ กว่าความเต็มใจจ่ายของผู ้บริโภคก็ตาม โครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ท่ปี ระกอบไปด้วยทัง้ อัตราคงที่และ อัตราผันแปรตามระยะทาง จัดเป็ นโครงสร้างรายได้ท่มี คี วามใกลเ้ คียงมาก กับโครงสร้างค่ าใช้จ่ายที่เจ้าของแท็กซี่ส่วนใหญ่ ประสบอยู่ โครงสร้างนี้ช่วย ใหร้ ถแท็กซี่สามารถเรียกเก็บอัตราค่ าโดยสารผันแปรต่อไมล์ตำ� ่ ลง โครงสร้าง อัตราค่ าโดยสารที่เป็ นอยู่จึงไม่บงั คับผู โ้ ดยสารใหต้ อ้ งเสียค่ าใช้จ่ายมากกว่า ค่ าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นกับการเดินทางระยะไกล โครงสร้างอัตราค่ าโดยสาร นี้ จึง ไม่เ ป็ น อุป สรรคให ค้ นหัน มาใช้บ ริก ารรถแท็ก ซี่ส �ำหรับ การเดิน ทางใน ระยะไกลๆ ซึง่ ผลประโยชน์ต่อผู ้บริโภคจะมีมากกว่าค่าใช้จ่ายจริงทีเ่ กิดขึ้น

เพราะเหตุใด ค่ าโดยสารรถมินิแค็บจากสนามบินฮีทโทรว์ ไปยัง ปลายทางใดก็ได้ ในใจกลางลอนดอนจึงก�ำหนดราคาเดียว ในขณะที่ ค่ าโดยสารของรถแท็กซี่ขนึ ้ อยู่กับระยะทางที่ขนึ ้ ตามมิเตอร์ (กรณีศกึ ษาของ ทราวิส เมอร์ ฟี เพียร์ สันส์ ) ขึ้นอยู่กบั ความคับคัง่ ของการจราจร ส�ำหรับค่าโดยสารภายใต้สูตรมาตรฐานของ มิเตอร์รถแท็กซี่จากสนามบินฮีทโทรว์ไปยังปลายทางต่ างๆ ใจกลางลอนดอน ประเมินว่าอาจสูงถึง 70 ปอนด์ต่อเทีย่ ว แล ้วเพราะเหตุใด ค่ารถโดยสารมินิแค็บที ่ บทที่ 6 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ

181

วิง่ ระหว่างสนามบินฮีทโทรว์ไปยังจุดปลายทางต่างๆ ใจกลางลอนดอน ทีก่ ำ� หนดขึ้น โดยองค์การรถโดยสารสาธารณะแห่งเมืองลอนดอน จึงมีราคาเดียว โดยควบคุม ราคาไว ้ระหว่าง 40 – 70 ปอนด์ สนามบินฮีทโทรว์คือประตูสู่ประเทศต่ างๆ ในสหราชอาณาจักร และ การท่องเทีย่ วคืออุตสาหกรรมหลักของลอนดอน จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งทีจ่ ะ ต้องรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ เพือ่ สร้างความรูส้ กึ และความประทับใจที่ดี กับนักท่องเที่ยวต่างชาติท่เี ดินทางมาลอนดอน เนื่องจากนักท่องเที่ยวจ�ำนวน มากไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี และมักประสบปัญหาถูกหลอกจากการ ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ซึง่ หนึ่งในนัน้ คือการใช้บริการรถแท็กซี่ ดังนัน้ เพือ่ ป้ องกัน นักท่องเทีย่ วและนักเดินทางทีข่ าดประสบการณ์เกิดความกังวลทีอ่ าจถูกคนขับรถ แท็กซีพ่ าวิง่ วนรอบเมือง หรือถือโอกาสเรียกเก็บค่าโดยสารราคาแพง ท�ำให้หน่วย งานทีม่ หี น้าทีค่ วบคุมก�ำกับราคาค่าโดยสารรถบริการรับจ้าง จึงเห็นควรใหม้ รี ถ มินิแค็บไว ้บริการเป็ นทางเลือก และให้ก�ำหนดค่าโดยสารอัตราเดียวจากสนามบิน ฮีทโทรว์ไปยังจุดปลายทางต่างๆ ใจกลางลอนดอน

182

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

7

สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ : การถอดรหัสสัญญาณตลาด



ดยปกติ นักเศรษฐศาสตร์มกั ชอบตัง้ สมมติฐานกับผู ้บริโภคและผู ้ผลิต เกีย่ วกับ ข ้อมูลความรูท้ ส่ี มบูรณ์ทางด้านรายได้และต้นทุนค่าใช้จ่ายเพือ่ ท�ำการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม บ่อยครัง้ ในทางปฏิบตั ทิ งั้ ผูบ้ ริโภคและผูผ้ ลิตยังขาดแคลนข ้อมูล ความรู เ้ มื่อต้องตัดสินใจในเรื่องส�ำคัญ ถึงกระนัน้ ก็ตาม หลักการประเมิน รายได้–ต้นทุนยังคงสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้ภายใต้สถานการณ์ทข่ี าดแคลน ข ้อมูลความรู ้ หมายความว่า การปฏิบตั งิ านภายใต้ข ้อมูลทีจ่ �ำกัดบ่อยครัง้ พบว่ายัง ดีกว่าการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพือ่ ให ้ได้มาซึง่ ข ้อมูลความรูท้ ด่ี ขี ้นึ

เพราะเหตุใด นักวิเคราะห์ หลักทรั พย์ มักไม่ ค่อยแนะน�ำให้ นักลงทุนขายหุ้น (กรณีศกึ ษาของ โจเซฟ ลูกาเรลลิ) แมใ้ นช่วงปี ท่ผี ่านมามูลค่ าของหุน้ โดยรวมในตลาดหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น แต่ เป้ าหมายของนักลงทุนแต่ละคนทีม่ คี วามทะเยอทะยานต่างต้องการท�ำให้มูลค่าหุน้ ของตัวเองเติบโตดีกว่าเกณฑ์เฉลีย่ ของตลาด และเพือ่ ให ้บรรลุเป้ าหมายดังกล่าว นักเล่นหุนส่ ้ วนใหญ่จงึ ต้องพึง่ ค�ำแนะน�ำจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์มอื อาชีพของ บริษทั นายหน้าค้าหลักทรัพย์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาทีเ่ กี่ยวข ้องท�ำให ้ ทราบว่าค�ำแนะน�ำของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เหล่านี้เอียงไปในทิศทางเดียวกัน อย่างน่าใจหาย ตัวอย่างเช่น ในปี 2000 มีค �ำแนะน�ำจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

183

รวมทัง้ สิ้น 28,000 คน เป็ นค�ำแนะน�ำทีเ่ กี่ยวกับหุน้ ของบริษทั อเมริกนั ทีอ่ ยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์ ผลการศึกษาพบว่า มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของค�ำแนะน�ำ ให ้ นักลงทุน “ซื้อหุนเพิ ้ ม่ ให้มากทีส่ ุด ซื้อ หรือถือไว ้” ในขณะทีค่ �ำแนะน�ำให้ขายมีนอ้ ย กว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของค�ำแนะน�ำรวมทัง้ หมดในปี นนั้ อย่างไรก็ตาม จากข ้อเท็จจริง ปรากฏว่ามีบริษทั อเมริกนั จ�ำนวนมากทีอ่ ยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในปี นนั้ ประสบกับ ปัญหาราคาหุนลดลง ้ และหลายบริษทั ราคาหุนลดลงเกิ ้ นกว่าครึ่งด้วยซ�ำ้ เพราะเหตุใด ค�ำแนะน�ำของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จึงล�ำเอียงมาไปใน ทางสนับสนุนให ้นักลงทุนซื้อหุนเพิ ้ ม่ ทัง้ ๆ ทีค่ วรแนะน�ำให ้ขายท�ำก�ำไรมากกว่า มีการกล่าวกันว่า นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ในปี 2000 ต่างตกเป็ นเหยือ่ ของ การรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์กบั ภาวะกระทิงเทียมของตลาดหุนที ้ เ่ ติบโตขึ้นอย่างไร้เหตุผล เช่นเดียวกับทีเ่ คยเกิดขึ้นเมือ่ ปลายทศวรรษที่ 1990 ราคาหุนเพิ ้ ม่ ขึ้นจากปัจจัยทีไ่ ม่ เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด ส�ำหรับผลการศึกษาหลังจากปี 2000 ชี้ใหเ้ ห็นเหมือนเดิมว่า ค�ำแนะน�ำของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ยงั คงแสดงความ บิดเบือนอยู่ คือมักเป็ น “การมองโลกในแง่ด”ี กับภาวการณ์ทเ่ี ติบโตอย่างต่อเนื่อง ของตลาดหุนในอนาคต ้ การวิเคราะห์ถงึ ผลได้–ผลเสียทีน่ กั วิเคราะห์หลักทรัพย์ตอ้ งเผชิญขณะที่ เสนอแนะข ้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักทรัพย์เป็ นรายตัว ช่วยชี้ใหเ้ ห็นถึงทีม่ าของการ ออกค�ำแนะน�ำทีล่ �ำเอียงนัน้ ขอให ้ลองพิจารณาจากสถานการณ์ทห่ี ลักทรัพย์ของ บริษทั หนึ่งก�ำลังถูกคาดการณ์ถงึ แนวโน้มการเปลีย่ นแปลงของราคา โดยนักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ของบริษทั ค้าหลักทรัพย์ต่างๆ รวมห ้าราย แน่นอนว่านักวิเคราะห์หลัก ทรัพย์แต่ละคนต่างต้องการพยากรณ์แนวโน้มราคาหุนที ้ จ่ ะเปลีย่ นแปลงขึ้นอีกไม่ กี่เดือนข ้างหน้าด้วยความแม่นย�ำ แต่กต็ อ้ งไม่ลมื ว่าแต่ละคนจะต้องพยายามรักษา สัมพันธภาพอันดีไว ้กับบริษทั ทีห่ ลักทรัพย์ทก่ี �ำลังถูกประเมินด้วย เนื่องจากบ่อย ครัง้ พบว่าบริษทั เหล่านัน้ ก็เป็ นลูกค้าของบริษทั ตัวเองด้วย หรือไม่กม็ แี นวโน้มเป็ น ลูกค้าทีต่ อ้ งให ้บริการกันต่อไปในอนาคต

184

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เมือ่ พิจารณาทุกปัจจัยประกอบกันแล ้ว ก่อนจะออกค�ำแนะน�ำซื้อหรือขาย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์แต่ละรายจะต้องดูหรือเดาก่อนด้วยว่าเพือ่ นนักวิเคราะห์ อีกสีร่ ายทีเ่ หลือจะออกค�ำแนะน�ำอย่างไร ทัง้ หลายทัง้ ปวงเขาหรือเธอต้องรูด้ ว้ ยว่า ต้นทุนของการพยากรณ์ผดิ ขึ้นอยู่กบั (บางส่วน) ค�ำแนะน�ำของเพือ่ นนักวิเคราะห์ อีกสีร่ ายด้วย และค�ำแนะน�ำของเพือ่ นนักวิเคราะห์เหล่านัน้ เชื่อได้ว่าอย่างน้อย จะต้องเอนเอียงไปในทางทีส่ นับสนุ นใหน้ กั ลงทุน “ซื้อหุน้ เพิม่ ” ทัง้ นี้เป็ นเพราะ นายจ้างของนักวิเคราะห์เหล่านี้ต่างต้องการเอาใจบริษทั เอกชนเจ้าของหลักทรัพย์ ทีถ่ กู ประเมิน ถา้ เป็ นกรณีสุดโต่งทีน่ กั วิเคราะห์ทงั้ ห้ารายออกค�ำแนะน�ำให้ซื้อ และ ต่อมาราคาหุน้ ตกลง เขาหรือเธอรู ว้ ่าการต�ำหนิจะถูกจ�ำกัดด้วยขอ้ เท็จจริงที่ว่า นักวิเคราะห์ทกุ รายท�ำนายผิดเหมือนกันหมด แต่ถา้ เขาหรือเธอเป็ นรายเดียวที่ออกค�ำแนะน�ำใหข้ ายหุน้ ของบริษทั ใด บริษทั หนึ่ง ในขณะทีเ่ พือ่ นนักวิเคราะห์อกี สีร่ ายแนะน�ำให ้ซื้อ และต่อมาราคาหุน้ ของบริษทั ได้เพิม่ ขึ้น แน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้เขาหรือเธอจะกลายเป็ นผู ้แพ ้ทันที เพราะไม่เพียงให ้ค�ำแนะน�ำทีผ่ ดิ แต่จะถูกผู ้คนพากันกล่าวถึง เนื่องจากเพือ่ นนัก วิเคราะห์ของเขาหรือเธอทีเ่ ป็ นคู่แข่งเป็ นฝ่ ายถูก ทีห่ นักหนาสาหัสมากกว่านัน้ ก็คอื ในอนาคตนายจ้างของเขาหรือเธอจะไม่ได้รบั ความเชื่อมันจากบริ ่ ษทั ทีม่ ศี กั ยภาพ มาเป็ นลูกค้าอีกต่อไป ภายใต้สถานการณ์ดงั กล่าว วิธีท่ีปลอดภัยที่สุดส�ำหรับนักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ก็คือ การออกค�ำแนะน�ำใหเ้ ป็ นไปในทิศทางเดียวกันกับเพื่อนนัก วิเคราะห์รายอื่นๆ เพราะนักวิเคราะห์แต่ ละคนรู ด้ ีว่า ความสนใจของผู เ้ ป็ น นายจ้างของเพือ่ นนักวิเคราะห์อ่นื ก็เหมือนกับความสนใจของผูเ้ ป็ นนายจ้างของ ตัวเอง คือต้องการใหค้ �ำแนะน�ำออกมาในทิศทางทีส่ นับสนุ นใหน้ กั ลงทุน “ซื้อ” มากกว่า “ขาย” ด้วยเหตุน้ ี จึงเป็ นเหตุผลว่าท�ำไมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จงึ มัก แนะน�ำใหซ้ ้ อื หุน้ ของบริษทั ใดบริษทั หนึ่ง เพราะเป็ นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด ในการออกค�ำแนะน�ำ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนทีม่ คี วามระมัดระวังจะทราบดีว่า ค�ำแนะน�ำให ้ “ซื้อ” ของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์สามารถช่วยสื่อสารขอ้ มูลที่มี บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

185

ประโยชน์ได้นอ้ ยมาก ในด้านทีเ่ กี่ยวข ้องกับการเปลีย่ นแปลงของราคาของหลัก ทรัพย์นนั้ ๆ ในอนาคต เป็ นเรื่องปกติ  ทีก่ ารแลกเปลีย่ นซื้อขายสินค้าเกิดขึ้นระหว่างฝ่ ายต่างๆ ทีม่ ี ผลประโยชน์ขดั กัน ฝ่ ายผู ้ขายต้องการให ้ฝ่ ายผู ้ซื้อเปิ ดเผยข ้อมูลความเต็มใจทีจ่ ะ ยอมจ่ายส�ำหรับซื้อสินค้าจากตน ในขณะทีฝ่ ่ ายผู ้ซื้อกลัวว่าฝ่ ายผู ้ขายจะเสนอขาย สินค้าในราคาสูงเกินไป จึงมักปิ ดบังซ่อนเร้นความต้องการซื้อ ในท�ำนองคล ้ายคลึง กัน ฝ่ ายผู ้ซื้อต้องการรูว้ า่ สินค้าทีต่ นสนใจอยากซื้อนัน้ มีคณ ุ ภาพดีเพียงไร ในขณะ ทีฝ่ ่ ายผูข้ ายซึง่ ก็รูค้ วามต้องการนัน้ อยู่แล ้ว แต่ก็ไม่ยอมเปิ ดเผยข ้อบกพร่องของ สินค้าตัวเองทัง้ หมดให ้ผู ้ซื้อทราบ ภายใต้ภาวะแวดล ้อมดังกล่าว ผู ้มีอ �ำนาจในการ ตัดสินใจจะสามารถได้รบั ข ้อมูลข่าวสารทีด่ ไี ด้อย่างไร นักชีววิทยาได้อาศัยหลักการพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ในการพยายามตอบ ค�ำถามข ้างต้นกับกรณีของสัตว์ทม่ี ผี ลประโยชน์ขดั กัน ตัวอย่างเช่น เมือ่ สุนขั สอง ตัวแย่งกระดูกชิ้นเดียวกัน สุนขั แต่ละตัวสามารถแยกแยะได้วา่ คู่ต่อสูข้ องตนมี ความน่าเกรงขามมากน้อยเพียงไรก่อนจะตัดสินใจต่อสู ้ ถา้ คู่ต่อสู ้มีลกั ษณะด้อย กว่า การต่อสู ้ก็จะไม่เกิดขึ้น ขนาดของสุนขั เป็ นสัญญาณหนึ่งที่บอกใหร้ ู ว้ ่าสุนขั แต่ละตัวมีความน่ า สะพรึงกลัวในการต่อสู ้เพียงไร ในการต่อสู ้เพือ่ แย่งกระดูกชิ้นเดียวกันเมือ่ สุนขั ตัว เล็กต้องเจอกับสุนขั ตัวใหญ่มากกว่า สุนขั ตัวเล็กจะรีรอและยอมล่าถอยไปในทีส่ ุด ในขณะทีส่ ุนขั ตัวใหญ่กว่าจะเต็มใจต่อสู ้มากขึ้น ภายใต้สถานการณ์ทก่ี ล่าวมา สุนขั แต่ละตัวพยายามท�ำตัวใหพ้ องโตมาก ที่สุด โดยแสดงอาการดุรา้ ยหรือเห่าเพือ่ ข่มขู่คู่ต่อสู ้ ซึ่งจะท�ำใหก้ ล ้ามเนื้อรอบ บริเวณรูขมุ ขนใต้ผวิ หนังของหลังสัตว์รดั ตัวและขนตัง้ ชันขึ้น เพือ่ ท�ำใหร้ ูปร่างดู ใหญ่ข้นึ แต่เนื่องจากสุนขั ทุกตัวต่างกระท�ำเหมือนๆ กันไปตามธรรมชาติ จึงไม่ บังเกิดผลใดๆ ในการเพิม่ ความเกรงขามให ้กับมัน เพราะขนาดเปรียบเทียบไม่ได้ แตกต่างกัน ท ้ายทีส่ ุด สุนขั ทีด่ ูตวั ใหญ่กค็ อื สุนขั ตัวทีใ่ หญ่จริงๆ นัน่ เอง

186

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนของการสร้างหลักการเทียม (Costly to Fake Principle) ยังใช้ อธิบายว่า ท�ำไมลูกนกในรังทีส่ ่งเสียงร้องได้ดงั ทีส่ ุดมีโอกาสถูกป้ อนตัวหนอนจาก พ่อแม่มากทีส่ ุดเมือ่ พวกมันบินกลับรังจากการหาอาหาร เนื่องจากลูกนกทุกตัวต่าง ต้องการได้กนิ อาหารเหมือนๆ กัน พวกมันก็จะร้องส่งเสียงจิบ๊ ๆ เป็ นสัญญาณ ความหิวเหมือนกันทุกตัว และเมือ่ พิจารณาในแง่มมุ นี้ สัญญาณร้องจิบ๊ ๆ อาจไม่ ได้บอกอะไรมากนัก เพราะนกทุกตัวก็รอ้ งเวลาหิวเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ผล การทดลองแสดงให ้เห็นว่า ลูกนกตัวทีม่ คี วามหิวมากกว่าสามารถส่งเสียงร้องได้ ดังมากกว่าตัวทีห่ วิ น้อย ดังนัน้ การหิวอาหารมากทีส่ ุดจึงเป็ นมูลเหตุจูงใจใหล้ ูก นกส่งเสียงร้องได้ดงั ทีส่ ุด

เพราะเหตุใด ผู้ผลิตสินค้ าจึงมักพิมพ์ ข้อความ “ดังได้ เห็นในจอโทรทัศน์ ” บนสิ่งพิมพ์ โฆษณา หรื อในกล่ องบรรจุผลิตภัณฑ์ สินค้ า (กรณีศกึ ษาของ โจน มอริอาร์ ต)ี บ่อยครัง้ ทีผ่ ู ้ผลิตโฆษณาสินค้าของตัวเองทางสือ่ โทรทัศน์ ก็ตอ้ งการให้ผู ้บริโภคได้ รับรูถ้ งึ โฆษณาดังกล่าวด้วย ดังนัน้ เขาจึงชอบทีจ่ ะให ้มีการพิมพ์ข ้อความ “ดังได้ เห็นในจอโทรทัศน์” บนสิง่ พิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ วารสารรายเดือน วารสาร รายปักษ์ หรือแม ้ในกล่องบรรจุสนิ ค้าทีเ่ ขาโฆษณาทางโทรทัศน์ ท�ำไมผู ้บริโภคจึงควรรับรู ด้ ว้ ยว่าสินค้าของผู ้ผลิตมีการโฆษณาทางโทรทัศน์ ในบางช่วงเวลาการโฆษณาทางโทรทัศน์มคี ่าใช้จ่ายสูงมาก เนื่องจากโฆษณา เพียง 32 วินาทีตอ้ งจ่ายเป็ นเงินสูงถึง 1 ล ้านปอนด์ แม ้แต่ช่วงเวลาดึกมากๆ ค่า ใช้จ่ายของโฆษณาทางโทรทัศน์ยงั คงสูงกว่าทางวิทยุหรือสิง่ พิมพ์ ดังนัน้ ค�ำถาม แทจ้ ริงทีค่ วรถามจึงน่าจะเป็ นว่า ท�ำไมผูผ้ ลิตจึงต้องการใหผ้ ูค้ นรูว้ ่าเขาได้ลงทุน อย่างมากเพือ่ ให ้ผู ้บริโภคสนใจในสินค้าของเขา กุญแจส�ำหรับการตอบค�ำถามนี้ได้จากขอ้ สังเกตที่ว่า เงินที่จ่ายในการ โฆษณาสินค้าจะก่อให้เกิดผลตอบแทนแก่สนิ ค้าทีด่ มี ากกว่าสินค้าทีไ่ ม่ดหี รือด้อย คุณภาพ สิง่ ทีก่ ารโฆษณาสามารถช่วยได้คอื การชักน�ำให้ผู ้ซื้อรายใหม่ทม่ี ศี กั ยภาพ หันมาสนใจทดลองใช้สนิ ค้า และถ ้าผู ้ซื้อรายใดลองซื้อใช้จนเกิดความชอบแล ้ว ก็ บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

187

ถือว่าการโฆษณานัน้ คุม้ ค่า เพราะผู ้บริโภคจะกลับมาซื้อสินค้าซ�ำ้ หรืออาจบอกต่อ เพือ่ นฝูง แต่ถ ้าผู ้บริโภครายใดพบกับความผิดหวังก็จะไม่กลับมาซื้ออีก และคงไม่ แนะน�ำหรือไปบอกต่อกับเพือ่ นๆ คนอืน่ ด้วย ในกรณีหลังนี้ เงินลงทุนทีใ่ ช้ในการ โฆษณาก็จะเกิดความสูญเสีย เนื่องจากผูผ้ ลิตสินค้าทัว่ ไปจะต้องมีการทดสอบสินค้ากับลูกค้าเฉพาะ กลุม่ ต่างๆ หลายๆ ครัง้ ก่อนจนแน่ใจ จึงน�ำสินค้าออกวางจ�ำหน่ายในท ้องตลาด ผู ้ผลิตเหล่านี้จงึ มีข ้อมูลอยู่แล ้วว่าผู ้บริโภคกลุม่ ใดมีแนวโน้มชอบสินค้าของเขามาก ทีส่ ุด ดังนัน้ เมือ่ ผู ้ผลิตตัดสินใจทุ่มทุนโฆษณาสินค้า ก็เพราะมันใจว่ ่ าจะต้องขาย สินค้าได้แน่ เนื่องจากมีผู ้บริโภคทีช่ น่ื ชอบสินค้าอยู่แล ้ว รวมทัง้ ผู ้บริโภครายใหม่ๆ ก็จะเกิดความมันใจเพิ ่ ม่ ขึ้น เพราะแน่ใจว่าจะต้องมีคณ ุ ภาพดี มิฉะนัน้ ผู ้ผลิตคงไม่ กล ้าทุ่มการโฆษณาขนาดนัน้ ด้วยเหตุน้ ี จึงไม่ใช่เรื่องลึกลับแต่อย่างใดว่า ท�ำไมจึง มีผู ้ผลิตเป็ นจ�ำนวนมากต้องการทีจ่ ะให้ผู ้บริโภคได้รบั รูว้ ่าเขาได้ลงทุนอย่างมากกับ โฆษณาทางโทรทัศน์ ซึง่ ก็เพือ่ ให ้ผู ้บริโภคสนใจในผลิตภัณฑ์ของเขานัน่ เอง

ท�ำไมจะต้องสนใจกับการโฆษณาสิ นค้าด้วย

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

188

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด คนที่มีอาชีพทนายความจึงใช้ จ่ายเกี่ยวกับการซือ้ รถและ เครื่ องแต่ งกายมากกว่ าคนที่มีอาชีพสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย คนเราเมือ่ หาเงินได้มากขึ้นเท่าไร ก็มแี นวโน้มจะใช้จ่ายมากขึ้นกับสินค้าและบริการ บางประเภท ซึง่ หนึ่งในสินค้าเหล่านัน้ คือ รถยนต์และเสื้อผ้าอาภรณ์ ผลการศึกษา พบว่า ผู ้ทีม่ รี ายได้สูงจะมีการใช้จ่ายไปกับสินค้าทัง้ สองทีก่ ล่าวมากกว่าผู ้มีรายได้ ต�ำ่ อย่างไรก็ตาม รายได้ก็มใิ ช่ปจั จัยเดียวทีม่ ผี ลต่อค่าใช้จ่ายของสินค้าทัง้ สอง ประเภท จากข ้อเท็จจริงพบว่า คนทีม่ อี าชีพทนายความหรือนักกฎหมาย จะมีการ ใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์และเสื้อผ้าอาภรณ์มากกว่าคนทีม่ อี าชีพสอนหนังสือ ในมหาวิทยาลัยทีม่ รี ะดับรายได้และรสนิยมใกล ้เคียงกัน ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้

การแต่งกายเป็ นเครื ่องชี ค้ วามสามารถของคน ทีป่ ระกอบอาชีพหนึ่ง มากกว่าอีกอาชี พหนึ่งได้

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

189

ดังทีก่ ล่าวไปแล ้วว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างคนทีห่ าเงินได้มากกับ การใช้จ่ายทีม่ ากขึ้นกับสินค้าหรือบริการบางประเภท เช่น รถและเสื้อผ้า นอกจากนี้ ยังพบความเชือ่ มโยงทางบวกระหว่างระดับความสามารถพิเศษของบุคคลกับระดับ เงินเดือนหรือรายได้จากการท�ำงานในตลาดแรงงานทีม่ กี ารแข่งขันสูง เมือ่ ประมวล ความสัมพันธ์โดยรวม สามารถชี้ให ้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงทางบวกระหว่างระดับ ความสามารถพิเศษของบุคคลกับระดับการใช้จ่ายทีม่ ากกับสินค้าประเภทรถและ เสื้อผ ้า จากข ้อมูลความรูน้ ้ ที �ำให ้คาดเดาได้อย่างคร่าวๆ ว่า คนทีเ่ ราพบปะพูดคุย ด้วยน่าจะมีความสามารถพิเศษมากหรือน้อยเพียงไร โดยการส�ำรวจดูเสื้อผ้าทีเ่ ขา สวมใส่หรือจากรถทีเ่ ขาใช้ การคาดเดาดังกล่าวจะถูกต้องและใกล ้เคียงกับข ้อเท็จจริงมากขึ้นส�ำหรับ ผูป้ ระกอบอาชีพเฉพาะด้านมากกว่าบางด้าน ตัวอย่างเช่น ทนายความทีม่ คี วาม สามารถสูงจะมีงานมากเสมอและมีเงินรายได้จากวิชาชีพสูงมาก ในขณะทีอ่ าจารย์ สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยทีว่ ่าเก่งทีส่ ุดแล ้วอาจมีรายได้มากกว่าเพือ่ นอาจารย์ ด้วยกันหรือด้อยกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ข ้อแตกต่างของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถ และเสื้อผ้า จึงเป็ นเครื่องชี้หนึ่งทีน่ ่าเชือ่ ถือมากในการบอกความแตกต่างของความ สามารถพิเศษของผู ้มีอาชีพทนายความได้มากกว่าอาชีพอาจารย์ ทางด้านลูกความ ทีต่ อ้ งการมองหาทนายความทีเ่ ก่งๆ จึงมีเหตุผลทีส่ มควรจะต้องระมัดระวังในการ ว่าจ้างทนายความทีใ่ ช้รถฟอร์ดรุ่นเก่าอายุมากเกินกว่าสิบปี และสนิมขึ้นตัวถังแล ้ว ในทางตรงกันข ้าม นักศึกษาไม่จ �ำเป็ นต้องมีข ้อสงสัยใดๆ ในความรูค้ วามสามารถ ของอาจารย์ทส่ี อนวิชาเคมี หากเห็นว่าอาจารย์ยงั ใช้รถเก่ารุ่นเดียวกันนัน้ ทนายความด้วยกันเองอาจทราบว่าการขับรถราคาแพงๆ ก็ใช้เป็ นเครื่อง บอกการมีความสามารถสูงส�ำหรับอาชีพทนายความได้ ซึง่ มันหมายถึงการจะได้ งานและค่าจ้างท�ำคดีความสูงตามมา และทุกคนต่างพยายามเพิม่ การใช้จ่ายมาก ขึ้นกับการซื้อรถราคาแพงมาใช้ แต่ถ ้าทุกคนท�ำตามอย่างเดียวกันหมด ทนายความ ที่เก่ งที่สุดก็คงเป็ นผู ท้ ่ขี บั รถราคาแพงมากที่สุดเหมือนเดิมอยู่ดี เพราะการมี รายได้มากทีส่ ุดนัน่ เอง ผลทีต่ ามมาคือ ทนายความทุกคนจ่ายค่าเสื้อผา้ และรถ มากเกินความจ�ำเป็ น

190

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

โดยสรุป อาชีพทนายความต้องเผชิญกับแรงกดดันเกีย่ วกับค่าใช้จ่ายในเรือ่ ง รถและการแต่งกายทีด่ มี ากกว่าอาชีพอืน่ เพราะหากเขาแต่งกายหรือใช้รถราคาถูก เท่ากับเป็ นการส่งสัญญาณความไม่เป็ นมืออาชีพให ้กับผู ้จะมาเป็ นลูกความหรือผู ้ ทีก่ �ำลังมองหาทนาย ซึง่ แน่นอนว่าย่อมส่งผลเสียต่ออาชีพของเหล่าทนายความที่ แต่งกายด้อยกว่าหรือใช้รถรุ่นเก่าราคาถูกกว่า รวมทัง้ เพือ่ นทนายก็อาจมองว่าเขา มีความสามารถน้อย ทัง้ ทีแ่ ท้จริงแล ้วอาจใช่หรือไม่ใช่กไ็ ด้ เปรียบเหมือนสุนขั ทีไ่ ม่ สามารถแสดงความดุรา้ ยโดยการเห่าเสียงดัง มันก็จะท�ำตัวเล็กลง ในทางตรงกันข ้าม ส�ำหรับผูม้ อี าชีพเป็ นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ไม่มสี ง่ิ จูงใจใหพ้ วกเขาต้องแต่ งกายด้วยเสื้อผา้ ราคาแพงหรือใช้รถราคาแพง สิ่งที่ พวกเขาต้องการคือ บทความทางวิชาการได้รบั การตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการชัน้ น�ำ ทีม่ ชี ่อื เสียง หรือโครงการวิจยั ของพวกเขาได้รบั การสนับสนุนทางการเงิน ซึง่ ผู ้ที่ ท�ำหน้าทีอ่ นุมตั เิ รื่องเหล่านี้ไม่ได้อนุมตั จิ ากการดูวา่ พวกเขาแต่งกายอย่างไร หรือ ใช้รถยนต์รุ่นใด ปี ใด

เพราะเหตุใด จึงมีการใช้ ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ มากเกินความจ�ำเป็ น แบบจ�ำลองคณิตศาสตร์ได้ถกู น�ำมาใช้อย่างเป็ นทางการในวิชาเศรษฐศาสตร์ย ้อนไป ยาวนานตัง้ แต่ในอดีต มันได้ช่วยสร้างทฤษฎีและความเข ้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งถึง การท�ำงานของกลไกการตลาดและการก�ำหนดราคาสินค้าหรือบริการ อย่างไรก็ตาม ตัง้ แต่ช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 เป็ นต้นมา ระดับการใช้ระเบียบวิธที างคณิตศาสตร์ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ได้เพิม่ สูงขึ้นมาก มากจนกระทังนั ่ กเศรษฐศาสตร์ดว้ ยกันเอง จ�ำนวนมากเริ่มรูส้ กึ ว่ามันมากเกินความจ�ำเป็ น ค�ำถามคือ นักเศรษฐศาสตร์มกี าร ใช้ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์มากเกินไปหรือไม่ การเพิม่ ขึ้นของระดับการใช้ระเบียบวิธที างคณิตศาสตร์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการแข่งขันทีม่ คี วามรุนแรงมากขึ้นในการหางานในวงการ วิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ถ ้ามีผู ้มาสัมภาษณ์งานสองคน คนทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

191

สูงและแข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์ จะได้เปรียบและได้เงินเดือนสูงขึ้นส�ำหรับงาน ในวิชาชีพนี้ เหตุผลเป็ นเพราะผูท้ ไ่ี ม่เก่งทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถสร้างแบบ จ�ำลองคณิตศาสตร์ส �ำหรับเศรษฐศาสตร์ทม่ี คี วามสลับซับซ้อนได้ และผู ้ทีส่ ามารถ ท�ำได้กเ็ ท่ากับเป็ นการส่งสัญญาณความเก่งกาจของตัวเองออกมา ด้วยเหตุน้ เี องจึง เป็ นสิง่ จูงใจใหน้ กั ศึกษาหรือผูส้ มัครงานในวงการวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ต่ าง ยอมลงทุนทัง้ เวลาและความพยามลับสมองของตัวเองให้คมกริบกับคณิตศาสตร์ เมือ่ ก�ำหนดใหฟ้ งั ก์ชนั ่ อยู่ในรูป f(p, q; α) ความหนาแน่นของการจ้างงาน ณ วันทีส่ �ำรวจ อาจเขียนในรูปสมการ โดยปรับจากสมการที่ 8 ในหัวข ้อทีผ่ ่านมา ดังนี้ p p+q k qα1–1 (1 – q)α2–1 pα3 (1 – p)α4–1 (30) g (p, q) = E(R) f(p, q) = E(R) เมือ่ ∫p ∫q g (p, g) = 1 และใช้ในการหาค่า (31) E(R) =

α1

α3

α3

+ α4

α3 + α1 + α2 α3 + α4

= R(α)

โดยการใช้สมการที่ (9) ความหนาแน่นของการว่างงาน ณ วันทีส่ �ำรวจอาจเขียนได้ ดังนี้ q p + q = k qα1 1 (1 – q)α2–1 pα3–1 (1 – p)α4–1.11 (32) h(p, q) = 1 – E(R) 1 – E(R) สมการความหนาแน่นของการจัดกลุม่ แรงงานแสดงได้ดงั นี้ (33) m(p, q) = k* qα1 (1 – q)α2–1 pα3) (1 – p)α4–1, ระเบี ยบวิ ธีทางคณิ ตศาสตร์ ในวิ ชาเศรษฐศาสตร์ : ของดี แต่มากเกิ นเหตุ

SS

192

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เช่นเดียวกันกับสรรพสิง่ อืน่ ๆ ในโลกใบนี้ เมือ่ นักเศรษฐศาสตร์หนั มาใช้ ระเบียบวิธที างคณิตศาสตร์ในงานทางเศรษฐศาสตร์มากขึ้น ยิง่ ท�ำให ้ระดับความ เขม้ ขน้ ของสาระทางคณิ ตศาสตร์ขยับสู งขึ้น และยิ่งเป็ นการส่งสัญญาณความ ต้องการบุคลากรทีเ่ ก่งทางคณิตศาสตร์มากขึ้นตามไปด้วย ผลทีต่ ามมาจากการ แข่งขันคือ การใช้คณิตศาสตร์ทม่ี มี ากเกินความจ�ำเป็ น ระดับการใช้ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ทม่ี มี ากขึ้น ทุกขณะ เป็ นปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึ้นคล ้ายกับผู ้คนจ�ำนวนมากไปงานปาร์ต้ คี อ็ กเทล และต่างก็ตะเบ็งเสียงคุยกันดังขึ้นทุกขณะ เพราะต่างคนต่างแย่งกันพูด เมือ่ ทุกคน ต้องพูดดังขึ้นเพือ่ ให ้คู่สนทนาได้ยนิ ระดับเสียงก็จะต้องเพิม่ ตาม ส่งผลให ้ต่างก็ ต้องพูดดังขึ้นไปเรื่อยๆ

เพราะเหตุใด อาจารย์ สอนวิชามานุ ษยวิทยาควรมีความเชี่ยวชาญ ในการใช้ ภาษามากกว่ าวิชาชีพอื่น แต่ กลับพบว่ าบ่ อยครั ง้ ไม่ มีความ สามารถในการเขียนให้ อ่านเข้ าใจได้ อย่ างชัดเจน ท�ำไมจึงเป็ นเช่ นนัน้ สมาชิกของกลุม่ วิชาชีพต่างๆ มีความแตกต่างกันด้านความสามารถในการสือ่ สาร ข ้อความ ไม่เว ้นแม ้กระทังในหมู ่ น่ กั การเมืองด้วยกันเอง ซึง่ ความส�ำเร็จของอาชีพ นี้จะขึ้นอยู่กบั ความสามารถในการพูดอย่างมาก อย่างนักการเมืองบางท่าน เช่น อดีตประธานาธิบดีบลิ ล์ คลินตัน เป็ นแบบอย่างของนักพูดทีม่ คี วามชัดเจน ใน ขณะทีอ่ ดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช พูดฟังเข ้าใจยากกว่า ส�ำหรับกลุม่ อาชีพอืน่ ๆ อาจมีความแตกต่างกันน้อยกว่าส�ำหรับความสามารถในการพูด แต่ อาจารย์หรือผูท้ ม่ี วี ชิ าชีพเกี่ยวกับบรรยายวิชาทางมานุ ษยวิทยา โดยทัวไปพบว่ ่ า เป็ นวิชาชีพทีน่ ่าจะท�ำงานได้ยากหากปราศจากซึง่ ความสามารถด้านการเขียนและ การพูด อย่างไรก็ตาม ข ้อเท็จจริงกลับพบว่าไม่ค่อยพบงานเขียนเชิงวิชาการของ นักมานุษยวิทยาคนใดทีอ่ ่านชัดเจนและเข ้าใจได้งา่ ย

บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

193

เป็ นไปได้ วา่ ถ้ าเป็ นผู้ที่อยูใ่ นวงวิชาการมานุษยวิทยาด้ วยกันเอง ก็อาจ สามารถถอดรหัสข้ อความหรื อเข้ าใจศัพท์แสงวิชาการต่างๆ ที่เข้ าใจยาก โดยไม่ลำ� บากมากนัก แต่สำ� หรับผู้ที่อยูใ่ นวิชาชีพอืน่ แล้ ว ผลการส�ำรวจพบ ว่ามีน้อยมากที่สามารถเข้ าใจเนื ้อหาในบทความทางมานุษยวิทยาได้ งา่ ย ค�ำถามจึงมีวา่ เพราะเหตุใด การเขียนบทความของนักมานุษยวิทยาส่วน มากจึงไม่สามารถท�ำให้มีความชัดเจนในสาระ และอ่านเข ้าใจยากมาก โดยเฉพาะกับ ผู ้อ่านทัวๆ ่ ไป สมมติฐานหนึ่งทีอ่ า้ งกันคือ วิธกี ารพูดหรือบรรยายทางมานุษยวิทยาได้ถกู หล่อหลอมโดยพลังแนวคิดในทฤษฎีของวิชานี้ ในท�ำนองเดียวกันกับทีพ่ ลังแนวคิด ทฤษฎีของวิชาเศรษฐศาสตร์ทไ่ี ด้หล่อหลอมนักเศรษฐศาสตร์ จากหัวข ้อทีอ่ ธิบาย ก่อนหน้าได้แสดงให้เห็นแล ้วว่า ผู ้สมัครงานทางวิชาชีพเศรษฐศาสตร์ต่างต้องแสดง ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของตนให้เด่นเหนือกว่าคู่แข่งขันเพือ่ ใช้เป็ นเครือ่ งชี้วา่ ตนเก่งกว่า อันเป็ นค่านิยมยุคหนึ่งของผู ้ทีอ่ ยู่ในวงการวิชาการเศรษฐศาสตร์ ฉันใด ก็ฉนั นัน้ นักมานุษยวิทยาอาจมีแนวคิดและแนวทางปฏิบตั ใิ นท�ำนองคล ้ายคลึงกัน เพือ่ แสดงใหเ้ ห็นว่าตนเป็ นผูร้ ูท้ างวิชาการหรือมีความคงแก่เรียนมากกว่าเมือ่ เริ่ม ต้นวิชาชีพใหม่ๆ ส่วนใหญ่อาจารย์ นักวิชาการ และผู ้บรรยายทางมานุษยวิทยา จะพูดและเขียนด้วยการใช้ประโยคทีช่ ดั เจนและเข ้าใจได้งา่ ย มาระยะหลังๆ เพือ่ ให้ตัวเองดูน่าเกรงขามทางวิชาการมากขึ้น จึงเริ่มสอดแทรกค�ำศัพท์หรือข ้อความที่ ไม่เป็ นทีค่ นุ ้ เคยของคนทัวไปเข ่ ้าไปในข ้อเขียน ซึง่ การปฏิบตั ดิ งั กล่าวก็เพือ่ ต้องการ สือ่ ให้ผู ้อ่านเกิดความประทับใจว่ามีความเป็ นมืออาชีพ เพราะสามารถเขียนงานใน สิง่ ทีผ่ ู ้อ่านคนอืน่ อ่านไม่รูเ้ รื่อง แน่นอนว่าข ้อเขียนหรือบทความทีเ่ ต็มไปด้วยถ ้อยค�ำหรือศัพท์แสงไม่เป็ นที่ รูจ้ กั เข ้าใจยาก และมากเกินเหตุ จะไม่เป็ นทีย่ อมรับของผู ้อ่านทัวไป ่ อย่างไรก็ตาม เมือ่ นักเขียนด้านมานุษยวิทยาหลายๆ คนต่างพากันสอดแทรกถ ้อยค�ำ ข ้อความ หรือค�ำศัพท์ทางเทคนิคทางวิชาการต่างๆ เข ้าไปจนเป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ิ เพือ่

194

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แสดงความเป็ นผู ้คงแก่เรียนบ่อยๆ จนเป็ นทีน่ ยิ มมากขึ้น ส�ำหรับถ ้อยค�ำ ข ้อความ หรือค�ำศัพท์จ �ำนวนมากเหล่านัน้ ซึง่ ครัง้ หนึ่งไม่เป็ นทีร่ ูจ้ กั คุน้ เคย ก็อาจเริ่มเป็ นที่ เข ้าใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู ้ทีอ่ ยู่วงการวิชาชีพนี้ และเมือ่ ไปถึงในจุดนัน้ นัก เขียนแต่ละคนจะยิ่งแสดงภูมริ ูใ้ นความเป็ นนักวิชาการของตนมากขึ้นอีก โดย เขียนเฉพาะสิง่ ทีผ่ ู ้อ่านเข ้าใจยากกันมากขึ้น มากจนมาตรฐานทีก่ �ำหนดระดับการ ใช้ค �ำศัพท์เทคนิคและถ ้อยค�ำของวิชาชีพนี้เริ่มเปลีย่ นแปลงไป จนกระทังรู ่ ปแบบ และสไตล์การเขียนบทความทางมานุ ษยวิทยาไม่ใกล ้เคียงกับการเขียนบทความ ทีด่ ี ดังทีพ่ วกเราคุน้ เคยและอ่านเข ้าใจอีกต่อไป บางครัง้ ก็มีการพูดกันว่า มีผูซ้ ้ อื สองประเภทในตลาด ประเภทแรกคือ ผู ้ซื้อทีร่ ูว้ า่ ตัวเองก�ำลังท�ำอะไร กับประเภททีส่ องคือ ผู ้ซื้อทีร่ ูว้ า่ ตัวเองก�ำลังท�ำอะไร ผู ้ซื้อประเภทแรกบางครัง้ สามารถจ�ำกัดความสูญเสียโดยการพิจารณาข ้อมูลความ รูท้ ข่ี าดหายไปเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างราคาและคุณภาพสินค้า ซึง่ ตัวอย่าง ทีจ่ ะน�ำเสนอต่อไปนี้ เกี่ยวเนื่องกับการใช้ข ้อมูลทีไ่ ม่สมดุลกัน อย่างผู ้ขายทัวไปจะ ่ มีข ้อมูลความรูเ้ กี่ยวกับคุณภาพสินค้าดีกว่าผู ้ซื้อ หน้าทีข่ องผู ้ซื้อในตัวอย่างต่อไปนี้ เป็ นเพียงการสรุปความเห็นว่าสินค้าของผู ้ขายมีคุณภาพดีเพียงใด โดยการสังเกต จากพฤติกรรมของผู ้ขาย

เพราะเหตุใด รถที่ใช้ แล้ วแต่ สภาพยังใหม่ จงึ มีราคาขายถูกกว่ ารถใหม่ ป้ายแดงมาก (กรณีศกึ ษาของ จอร์ จ อเคอร์ ลอฟ) เมือ่ คุณถอยรถคันใหม่ออกจากโชว์รูมเมือ่ ไร ราคาขายต่อส�ำหรับรถของคุณจะ ลดลงทันที 20 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านัน้ เมือ่ พิจารณาถึงข ้อเท็จจริงทีว่ า่ รถ แต่ละคันมีอายุการใช้งานมากกว่าสองแสนไมล์ เพราะเหตุใด การใช้รถคันใหม่ที ่ วิง่ เพียงไม่กีไ่ มล์จงึ มีผลท�ำให ้ราคารถลดลงได้มากถึงเพียงนัน้ โดยทัว่ ไป ผูซ้ ้ อื จะจ่ายราคาขายปลีกส�ำหรับรถคันใหม่ซ่งึ สู งกว่าราคาที่ ศูนย์จ �ำหน่ายรถซื้อมาประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ เมือ่ ผูบ้ ริโภคซื้อรถคันใหม่และ ใช้เพียงไม่นานต้องการขายทิ้ง แน่นอนว่าเขาคงอยากขายรถในสภาพเกือบใหม่ บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

195

ให ้ได้ราคาสูงพอๆ กับทีซ่ ้อื มา แต่การจะท�ำเช่นนัน้ ได้ เขาต้องขายแข่งกับนักขาย มืออาชีพของศู นย์ขายรถใหม่ท่มี คี วามพร้อมมากกว่า และแน่ นอนว่านักขาย มืออาชีพเหล่านัน้ จะสามารถดึงดูดผู ้ต้องการซื้อรถใหม่ได้ดกี ว่าเขา ดังนัน้ ถ ้าจะ ขายรถให ้ได้ เขาจะต้องเสนอขายในราคาทีต่ ำ� ่ กว่ารถใหม่มาก เหตุผลส�ำคัญอีกประการทีส่ ามารถอธิบายได้วา่ ท�ำไมรถใช้แล ้วในสภาพ ยังใหม่จงึ มีราคาขายถูกกว่ารถใหม่ป้ายแดงมาก เป็ นเพราะความแปรปรวนของ กรรมวิธีการผลิตและการประกอบรถส่งผลใหร้ ถใหม่ทุกคันที่ออกจากโรงงาน พร้อมๆ กันอาจมีคุณภาพต่างกันได้ และคุณอาจเป็ นผูโ้ ชคร้ายทีซ่ ้ อื รถใหม่แต่ อาจได้คนั ทีเ่ ครื่องยนต์และการขับขีม่ ปี ญ ั หา ท�ำใหค้ ุณอยากขายทิ้ง แม ้ว่ารถใช้ แล ้วสภาพยังใหม่มปี ญ ั หาเรื่องการขับขี่ แต่คงไม่มใี ครสามารถบอกได้วา่ เป็ นรถ ไม่ดี แม ้แต่ช่างเองถา้ ไม่ได้เป็ นผูส้ มั ผัสเป็ นประจ�ำ คงมีแต่เจ้าของรถทีต่ อ้ งการ ขายเท่านัน้ ทีร่ ูด้ ถี งึ สภาพและคุณภาพของรถตัวเอง ดังนัน้ หากเจ้าของรถใช้แล ้ว สภาพยังใหม่ตอ้ งการขายรถให ้ได้จงึ ต้องตัง้ ราคาต�ำ่ มาก (ซึง่ ผู ้ซื้ออาจตัง้ ข ้อสงสัย ในใจเรื่องซื้อแล ้วมีปญ ั หาการใช้งาน) ความไม่สมดุลของการรับรูข้ ้อมูลข่าวสารระหว่างผูซ้ ้ อื และผูข้ ายมีนยั ต่อ การตัง้ ราคารถใช้แล ้ว เพือ่ ง่ายต่อความเข ้าใจ สมมติวา่ นาย ก. ตัง้ ราคารถใช้แล ้ว ทีเ่ ชื่อถือได้วา่ มันยังมีสภาพดีไม่มปี ญ ั หาไว ้เท่ากับ 10,000 ปอนด์ แต่ตงั้ ราคารถ ใช้แล ้วทีไ่ ม่มนใจว่ ั ่ าดีเท่ากับ 5,000 ปอนด์ ถ ้าสมมติวา่ ครึ่งหนึ่งของจ�ำนวนรถใช้ แล ้วทัง้ หมดเป็ นรถทีเ่ ชื่อถือได้วา่ ดี ดังนัน้ ราคาเฉลีย่ รวมของรถใช้แล ้วทัง้ สอง ประเภทจะเท่ากับ 7,500 ปอนด์ ภายใต้สถานการณ์ทก่ี ล่าวมา รถใช้แล ้วจะขายได้ในราคาต�ำ่ กว่า 7,500 ปอนด์มาก เพราะเหตุใดจึงเป็ นเช่นนัน้ อธิบายได้ดงั นี้ สมมติว่ารถใช้แล ้วทุกคัน ตัง้ ขายในราคา 7,500 ปอนด์ ณ ราคานี้เจ้าของรถทีต่ งั้ ราคาขายรถใช้แล ้วสภาพดี ไว ้เท่ากับ 10,000 ปอนด์จะไม่มใี ครยอมขาย ในทางตรงกันข ้าม เจ้าของรถใช้แล ้ว ทีไ่ ม่มนใจสภาพรถก็ ั่ อยากจะรีบขายออกไปทันที เนื่องจากได้ราคาสูงกว่าราคาที่ ต้องการ 5,000 ปอนด์ ดังนัน้ รถยนต์ทม่ี กี ารเสนอซื้อขายกันจึงจะมีแต่รถใช้แล ้ว

196

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ทีไ่ ม่มนใจว่ ั ่ าเป็ นรถดีเท่านัน้ ซึง่ เป็ นรถประเภททีไ่ ม่มใี ครเต็มใจซื้อ ยกเว ้นแต่จะ มีการลดราคาลงมามากเท่านัน้ ในโลกแห่งความเป็ นจริง รถใช้แล ้วบางคันทีเ่ จ้าของขายออกไปด้วยเหตุผล ทีไ่ ม่เกี่ยวกับความไม่มนใจในการใช้ ั่ งานของรถ แต่เป็ นเพราะสาเหตุอน่ื ทีอ่ ยู่นอก เหนือการควบคุมของเจ้าของท�ำใหต้ อ้ งขายรถทิ้ง ดังเช่นทีม่ กั พบในป้ ายโฆษณา ขายรถ เช่น “ถูกย้ายไปชิคาโก ต้องการขายรถวอลโว่” หรือ “เพิง่ คลอดบุตร ต้อง ขายรถปอร์เช่ บอกซ์เตอร์” เป็ นต้น

เพราะเหตุใดภาพยนตร์ ของประเทศออสเตรเลีย จึงประสบความส�ำเร็จสูงมาก ภาพยนตร์เรื่องต่างๆ เหล่านี้มอี ะไรทีเ่ หมือนกัน – Breaker Morani, Picnic at Hanging Rock, The Last Wave, Strictly Ballroom, Priscilla, Queen of the Desert, My Brilliant Career, Mad Max, Gallipoli, Moulin Rouge, Walkabout, Lantana, Rabbit Proof Fence, The Year of Living Dangerously, Muriel’s Wedding และ Crocodile Dundee สิง่ ทีเ่ หมือนกันคือ ทุกเรื่องเป็ นภาพยนตร์จากประเทศออสเตรเลีย และ แต่ละเรื่องดึงดู ดผูช้ มได้จ �ำนวนสู งมาก มีผูช้ ่ืนชอบทัง้ ในสหรัฐฯ และสหราช อาณาจักร ทีส่ �ำคัญคือ สร้างขึ้นด้วยต้นทุนทีต่ ำ� ่ ด้วย โดยรวมก็คอื ภาพยนตร์จาก ออสเตรเลียประสบความส�ำเร็จสูงกว่าภาพยนตร์จากสหรัฐฯ ทีส่ ร้างขึ้นด้วยต้นทุน ทีส่ ูงกว่ามาก แล ้วปัจจัยใด เป็ นสาเหตุแห่งความส�ำเร็จของภาพยนตร์ออสเตรเลีย ในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร บางคนอธิบายว่าเป็ นเพราะวัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียทีบ่ ม่ เพาะความ คิดเชิงสร้างสรรค์มายาวนานกว่าวัฒนธรรมของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร แต่ เหตุผลทีน่ ่ารับฟังมากกว่าน่าจะเป็ นเพราะภาพยนตร์จากออสเตรเลียทีเ่ ข ้าฉายใน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรอาจไม่ใช่ตวั แทนเฉลีย่ ของภาพยนตร์ออสเตรเลีย ทัง้ หมดทีส่ ร้าง บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

197

การน�ำภาพยนตร์ต่างประเทศเข ้าฉายในสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าทุกประเทศ ในโลก เฉพาะค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างเดียวอาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าสิบล ้าน ดอลลาร์ การทีน่ กั ธุรกิจในด้านนี้ยอมลงทุนสูงมากขนาดนัน้ ก็ต่อเมือ่ เขามองเห็น โอกาสการท�ำรายได้คมุ ้ ค่าใช้จ่ายจากการมีคนดูจ �ำนวนมากเท่านัน้ ยังมีหลายปัจจัย ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการตัดสินใจดูภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น มีดารานักแสดงชัน้ น�ำ หรือไม่กผ็ ู ้สร้างและผู ้ก�ำกับทีม่ ชี อ่ื เสียง ก็ยง่ิ มีการระดมโฆษณายิง่ กระตุน้ ความ สนใจของผู ้ชม แต่ทน่ี ่าจะเป็ นปัจจัยส�ำคัญมากทีส่ ุดในการช่วยเพิม่ จ�ำนวนคนดูได้ อย่างดีกค็ อื การแนะน�ำกันปากต่อปากว่าเป็ นหนังทีด่ ี ภาพยนตร์ออสเตรเลียเรื่องต่างๆ ทีก่ ล่าวข ้างต้นเริ่มเข ้าฉายในสหรัฐฯ และ สหราชอาณาจักร ผู ้ชมส่วนใหญ่กไ็ ม่มใี ครเคยได้ยนิ ชื่อผู ้สร้างหรือดารานักแสดง น�ำเท่าไรนัก (ยกเว ้นไม่ก่คี น เช่น ปี เตอร์ เวียร์ และ เมล กิบสัน ซึง่ เป็ นดาราชาว ออสเตรเลียทีช่ ่อื ติดปากชาวอเมริกนั ) และก็ไม่ได้เป็ นหนังทีส่ ร้างกันต่อเนื่องจาก เรื่องอืน่ ด้วย ก็ยง่ิ ท�ำให ้ไม่เป็ นทีร่ ูจ้ กั ดังนัน้ การจะประสบความส�ำเร็จในตลาดของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ได้ มีความหวังเดียวเท่านัน้ คือ ต้องท�ำหนังทีม่ คี ณ ุ ภาพดีมากจนได้รบั การประกาศ เกียรติคณ ุ และมีการพูดชมกันปากต่อปากต่อไปให้ได้ จึงท�ำให้หนังของออสเตรเลีย ทีเ่ ข ้าฉายในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรถูกจัดอยู่ในกลุม่ ประเภทนี้ ปัญหาการขาดข้อมูลเพือ่ การตัดสินใจ ซึง่ บางครัง้ ข ้อมูลในมือก็ไม่ได้สอ่ื ใน สิง่ ทีต่ อ้ งการจะสือ่ ให้รูเ้ สมอไป หรืออาจไม่มอี งค์ความรูอ้ ยู่ในข ้อมูลมากนัก ข ้อมูล ลักษณะนี้คงไม่มใี ครจะได้อะไรมากเท่าไร นอกจากนี้ บางครัง้ ข ้อมูลทีม่ อี ยู่กส็ อ่ื ให้ คนเข ้าใจไปอย่างผิดๆ ดังทีจ่ ะแสดงในตัวอย่างทีจ่ ะกล่าวต่อไปนี้ ถ ้าเป็ นผู ้มีหน้าที่ ตัดสินใจก็ตอ้ งใช้ข ้อมูลดังกล่าว และสามารถรับรูถ้ งึ ทิศทางของการบิดเบือนข ้อมูล ทีเ่ กิดขึ้น บ่อยครัง้ ก็กลายเป็ นประโยชน์ได้เหมือนกัน

198

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด กลยุทธ์ การไล่ ผ้ ูน�ำขององค์ กรที่ไม่ มีผลงานออกไป จึงได้ รั บการสนับสนุนจากเจ้ าหน้ าที่ขององค์ กร ด้ วยความเข้ าใจอย่ างผิดๆ ว่ าเป็ นกลยุทธ์ ท่ ดี ี เมือ่ ทีมฟุตบอลใดก็ตามพ่ายแพ ้ในฤดูกาลแข่งขัน สิง่ ทีม่ กั จะเกิดขึ้นตามมาทันที หลังจากนัน้ ไม่นานก็คอื โค้ชหรือผูจ้ ดั การทีมจะถูกปลดออกโดยเจ้าของทีม ใน ท�ำนองคล ้ายคลึงกัน บริษทั ใดก็ตามทีป่ ระสบการขาดทุนมาก ปฏิกริ ยิ าแรกจาก คณะกรรมการบริษทั ก็คอื การเปลีย่ นตัวกรรมการผู ้จัดการ ค�ำถามน่าสนใจทีค่ วร ค้นหาค�ำตอบก็คอื เป็ นความจริงหรือทีก่ ารเปลีย่ นตัวผู ้น�ำทีมหรือผู ้จัดการคนใหม่ จะช่วยให ้ทีมหรือบริษทั ท�ำงานประสบความส�ำเร็จดีข้นึ การพ่ายแพข้ องทีมกีฬาในฤดูกาลแข่งขันก็เหมือนกับการขาดทุนในการ ด�ำเนินธุรกิจของบริษทั เอกชน ซึง่ ความสามารถของผู ้จัดการทีมเป็ นเพียงหนึ่งใน เหตุปจั จัยหลายประการทีเ่ กี่ยวข ้องกับการแพ ้–ชนะของทีม ซึง่ ปัจจัยเหตุอน่ื ๆ นัน้ ก็มอี ยู่จริง และต่างมีความแปรปรวนเป็ นอิสระ ไม่ข้นึ กับว่าใครจะมาเป็ นผู ้จัดการ ทีม อย่างในปี ทโ่ี ชคไม่เข ้าข ้างแม ้ผู ้จัดการทีมจะปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างเต็มความสามารถ แล ้วก็ตาม แต่ถ ้าปัจจัยเหตุอน่ื ผันแปรในทิศทางทีไ่ ม่เอื้ออ�ำนวยก็อาจส่งผลให้ทีม พ่ายแพ ้ได้ แล ้วถ ้าปี ใดก็ตามทีป่ จั จัยเหตุอน่ื เหล่านี้ผนั แปรเกินเกณฑ์ปกติจนส่ง ผลกระทบทางลบต่อการแข่งขันของทีมแล ้ว ข ้อเท็จจริงทีม่ กั สังเกตเห็นตามมาก็คอื ในปี ถดั ๆ ไปค่าของตัวแปรปัจจัยเหตุอน่ื ๆ จะกลับสู่เกณฑ์ปกติ ในทางสถิตเิ รียก ว่า “ค่าของตัวแปรจะเข ้าใกล ้จุดศูนย์กลางของช่วงค่าการกระจายความแปรปรวน แบบปกติ” คือเข ้าใกล ้ค่าเฉลีย่ ตัวกลางของข ้อมูล จากปรากฏการณ์ดงั ทีไ่ ด้อธิบายไปแล ้ว การจ้างโค้ชหรือผูจ้ ดั การทีมคน ใหม่แทนคนเก่าหลังจากทีมพ่ายแพ ้ในปี ทผ่ี ่านมา จึงมีนยั ความหมายว่าเจ้าของทีม ต้องการเห็นผลการแข่งขันของทีมชนะมากขึ้น จากความคาดหวังว่าปัจจัยเหตุอน่ื ๆ จะกลับเข ้าสู่เกณฑ์ปกติซง่ึ จะเอื้ออ�ำนวยมากขึ้น โดยทีโ่ ค้ชหรือผูจ้ ดั การคนใหม่ ไม่จ �ำเป็ นจะต้องเก่งกว่าคนเก่าเสมอไป แม ้ว่าการพ่ายแพ ้ของทีมอาจเกิดจากความ ไม่เก่งของผู ้จัดการทีมก็ได้ ซึง่ ก็สมควรต้องถูกปลดออก แต่การกลับมาได้รับชัยชนะ บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

199

ของทีม (หลังจากพ่ายแพ ้ในฤดูกาลแข่งขันทีผ่ ่านมา) หลังการตัง้ ผู ้จัดการทีมคนใหม่ ก็ไม่ได้เป็ นหลักฐานว่าการปลดโค้ชหรือผู ้จัดการทีมคนเก่าเป็ นสิง่ ทีถ่ กู ต้องแล ้ว

เพราะเหตุใด การพูดชมเชยของผู้จดั การมีแนวโน้ มไม่ ค่อยให้ ความ ส�ำคัญกับลูกน้ องที่ทำ� งานดี แต่ กลับให้ ความส�ำคัญมากเกินไปกับการ ติเตียนลูกน้ องที่ทำ� งานผิดพลาด ผู ้จัดการทีม่ นี สิ ยั แข็งกระด้างมักไม่รรี อว่ากล่าวต�ำหนิตเิ ตียนลูกน้องทันทีทไ่ี ด้เห็น ลูกน้องท�ำการงานผิดพลาด แต่กลับรีรอที่จะพูดชมเชยใหก้ �ำลังใจเมือ่ ลูกน้อง ท�ำงานได้ผลดี ในทางกลับกัน ผูจ้ ดั การทีร่ กั การถนอมนำ�้ ใจลูกน้องก็จะไม่รรี อ ทีจ่ ะพูดชมเชยทันทีทล่ี ูกน้องท�ำงานได้ผล แต่กลับรีรอในการต�ำหนิตเิ ตียนเมือ่ ลูกน้องท�ำงานผิดพลาดบ ้าง สไตล์ของผูจ้ ดั การคนใดทีค่ ุณเห็นว่าน่าจะเป็ นแบบ อย่างได้ดกี ว่ากัน เนื่องจากไม่มใี ครสามารถให้ค�ำตอบทีถ่ กู ต้องได้มากกว่า ส�ำหรับ ผู ้จัดการทีเ่ ข ้ารับงานใหม่ๆ จึงมักจะต้องเรียนรูจ้ ากประสบการณ์  โดยการทดลอง ท�ำทัง้ สองอย่างเพือ่ หาสไตล์ทเ่ี หมาะทีส่ ุดของตัวเอง ผู ้จัดการหลายคนจึงมีข ้อสรุป ตรงกันว่า การพูดชมเชยลูกน้องท�ำได้ดนี อ้ ยกว่าทีค่ วรจะเป็ น ในขณะทีก่ ารพูด ติเตียนจะท�ำได้ดเี กินกว่าทีค่ วรจะเป็ น แล ้วอะไรเป็ นสาเหตุของการล�ำเอียงดังกล่าว ค�ำตอบเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์ทางสถิติ “การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย” คล ้ายคลึงกับทีไ่ ด้อธิบายไปแล ้วในเรื่องการพ่ายแพ ้ของทีมกีฬาหลายประเภททีต่ ก รอบไปก่อนสิ้นฤดูกาลแข่งขัน ทัง้ ๆ ทีใ่ นปี ทผ่ี ่านมาได้เป็ นถึงแชมป์ หรือลูกจ้างของ บริษทั เอกชนก็เป็ นเช่นเดียวกับนักกีฬา นัน่ คือ จะไม่สามารถรักษามาตรฐานการ ท�ำงานให้ดีคงทีเ่ ท่ากันได้ตลอดเวลา อย่างในบางสัปดาห์เขาอาจท�ำงานได้ดมี ากเกิน ค่าเฉลีย่ แต่บางสัปดาห์กลับต�ำ่ กว่ามาตรฐาน และไม่วา่ เขาจะได้รบั การติหรือชม จากผู ้จัดการอย่างไร ถ ้าเขาท�ำงานต�ำ่ กว่ามาตรฐานในสัปดาห์หนึ่งแล ้ว ในสัปดาห์ ถัดไปคาดได้เลยว่าเขาจะกลับมาท�ำงานดีเหมือนปกติดงั เดิม ในทางกลับกัน ถ ้า เขาท�ำงานเกินกว่ามาตรฐานในสัปดาห์หนึ่งแล ้ว เขาจะมีผลงานลดลงเล็กน้อยใน สัปดาห์ถดั มา ไม่วา่ จะได้รบั ค�ำชมเชยจากผู ้จัดการหรือไม่กต็ าม

200

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ผลลัพธ์กค็ อื ผู ้จัดการทีม่ นี สิ ยั ชอบต�ำหนิรนุ แรงเมือ่ ลูกน้องท�ำงานผิดพลาด อาจเข ้าใจผิดคิดว่าเมือ่ ลูกน้องท�ำงานดีข้นึ ในสัปดาห์ต่อมา (ซึง่ ยังไงจะต้องดีข้นึ แน่ ในช่วงเวลาถัดไปตามหลักสถิต)ิ เป็ นผลจากการทีถ่ กู ต�ำหนิ จึงท�ำให ้ผู ้จัดการรีรอ ทีจ่ ะพูดชมเชย ในทางกลับกัน ผู ้จัดการทีม่ กั ชอบกล่าวชมเชยลูกน้องทีท่ �ำงานดีก็ อาจเข ้าใจผิดคิดว่าเมือ่ ลูกน้องท�ำงานแย่ลงในสัปดาห์ต่อมา (ซึง่ ยังไงก็จะต้องแย่ลง ตามหลักสถิต)ิ เป็ นเพราะความทีเ่ ขาเป็ นคนใจดีเกินไป จึงไม่พดู ชมเชยต่อไป ซึง่ ทัง้ หลายทัง้ ปวงคือความรูส้ กึ ล�ำเอียงทีเ่ กิดขึ้นของผู ้จัดการนัน่ เอง อย่างไรก็ดี การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช้ ใี หเ้ ห็นว่า ภายใต้เงือ่ นไขบาง ประการผู ้จัดการทีบ่ ริหารงานด้วยสไตล์นุ่มนวล จะช่วยส่งเสริมการท�ำงานทีด่ ขี ้นึ ของลูกน้องมากกว่าแบบเคร่งครัดและแข็งกระด้าง ข ้อพิสูจน์น้ ีเป็ นหลักฐานทีน่ ่า เชือ่ ถือมากกว่าความเชือ่ เกี่ยวกับความรูส้ กึ ทีถ่ กู บิดเบือนไปจากสหสัมพันธ์ถดถอย เข ้าสู่ค่าเฉลีย่ ของพฤติกรรมมนุษย์ทแ่ี ปรปรวนไม่คงที่ ตัวอย่างสุดท้ายของบทนี้ จะแสดงใหเ้ ห็นว่าหลักการประเมินผลได้–ผล เสีย บางครัง้ สามารถช่วยใหเ้ ราเข ้าใจและได้ประโยชน์จากข ้อมูลทีด่ ูเหมือนไม่มี ความหมายใดๆ ในแง่ความโปร่งใสชัดเจน

เพราะเหตุใด ร้ านค้ าจึงติดป้ายหน้ าร้ านบอกให้ ร้ ู ว่าสามารถน�ำสุนัข น�ำทางของคนตาบอดเข้ าร้ านได้ (กรณีศกึ ษาของ เมาริส เฮอร์ นันเดซ) ร้านค้าหลายแห่งติดป้ ายข ้อความหน้าร้านบอกผูบ้ ริโภคใหร้ ูถ้ งึ นโยบายของร้าน ตัวอย่างเช่น บางร้านติดป้ ายห ้ามลูกค้าทีไ่ ม่สวมเสื้อหรือรองเท ้าเข ้าร้าน และหลาย ร้านก็ห ้ามน�ำสัตว์เลี้ยงเข ้าร้าน อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับร้านค้าทีห่ า้ มน�ำสัตว์เลี้ยงเข ้า ร้านส่วนใหญ่จะติดป้ ายเพิม่ บอกให ้รูว้ า่ อนุญาตให ้สุนขั น�ำทางของคนตาบอดเข ้า ร้านได้ เนือ่ งจากสุนขั และคนตาบอดไม่สามารถอ่านป้ ายข ้อความได้ แล ้วจะขึ้น ป้ ายไว ้เพือ่ อะไร

บทที่ 7 สุนัขตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

201

ในเมือ่ ลูกค้าตาดีไม่ได้ใช้สุนขั น�ำทาง จึงไม่มคี วามจ�ำเป็ นจะต้องรูว้ า่ สุนขั น�ำทางของคนตาบอดถูกอนุญาตให ้เข ้าร้านได้ ถึงกระนัน้ ก็ตาม ผลดีกจ็ ะบังเกิด แก่เจ้าของร้านค้า ถ ้าลูกค้ารูถ้ งึ ข ้อยกเว ้นดังกล่าว ซึง่ ท�ำให ้คิดไปว่าเจ้าของร้านนัน้ ใจดี ไม่ได้รงั เกียจสัตว์เลี้ยง แต่เมือ่ ลูกค้าบางคนเห็นสุนขั ในร้านโดยไม่รูว้ า่ เป็ น สุนขั น�ำทางของคนตาบอด ก็อาจเข ้าใจผิดคิดว่าร้านนี้หย่อนยานในการบังคับใช้ นโยบายหา้ มน�ำสัตว์เลี้ยงเข ้าร้าน ขณะทีบ่ างคนอาจคิดว่านโยบายหา้ มสัตว์เลี้ยง ทุกชนิดเข ้าร้านไม่มเี หตุผล โดยคิดไปว่าเป็ นการกีดกันคนตาบอดไม่ให ้เข ้าร้าน แม ้ข ้อดีจากการอนุญาตใหส้ ุนขั น�ำทางของคนตาบอดเข ้าร้านได้จะมีเพียง เล็กน้อย แต่เป็ นการลงทุนทีต่ ำ� ่ มากๆ หรือแทบไม่มเี ลยกับการเขียนป้ ายเล็กๆ ติด ไว ้ทีห่ น้าร้าน จึงนับเป็ นการลงทุนทีค่ มุ ้ ค่ามาก

202

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

8

นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

ชี

วิตความเป็ นอยูแ่ ละสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู ้คนในแต่ละประเทศ จะมีความแตกต่างกัน เช่น บา้ นของคนญี่ป่ นุ มีขนาดเล็กกว่าบ ้านของคน สหรัฐฯ แม ้จะทราบถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมว่าเป็ นผลส่วนหนึ่ง มาจากความแตกต่างของวัฒนธรรม แล ้วท�ำไมแต่ละประเทศจึงมีวฒ ั นธรรมที่ แตกต่างกัน หรือมันเป็ นผลสืบเนื่องมาจากประเพณีของแต่ละสังคมทีห่ ลากหลาย เกิดขึ้นสะสมมาหลายร้อยหลายพันปี นักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง เจอร์โรม เคแกน อธิบายว่า ค่านิยมทางวัฒนธรรมในหลายประเทศถูกหล่อหลอมขึ้นจากการปรับ ตัวของสมาชิกของสังคมนัน้ กับปัญหาต่างๆ ทีผ่ ู ้คนเผชิญในช่วงเวลาและสถานที่ ต่างๆ ส�ำหรับสังคมทีม่ อี ตั ราการเสียชีวติ ของเด็กสูง มักเป็ นสังคมทีม่ วี ฒ ั นธรรม นิยมความอดทนและการแยกตัวเองจากสังคม ส่วนสังคมทีม่ สี งครามเกิดขึ้นบ่อย ครัง้ มักนิยมความกล ้าหาญ เป็ นต้น ภายใต้แนวคิดของ เจอร์โรม เคแกน ในบทนี้จะอธิบายความแตกต่าง พฤติกรรมของผู ้คนในแต่ละประเทศว่าเป็ นผลตามมาจากความแตกต่างของข ้อดี และข ้อเสีย หรือรายได้และต้นทุนทีเ่ กี่ยวข ้อง อีกหนึ่งในความแตกต่างระหว่าง ประเทศทีเ่ ห็นชัดเจนมากทีส่ ุดคือ รายได้เฉลีย่ ต่อคน คนทีม่ รี ายได้แตกต่างกัน จะมีโอกาสและทางเลือกแตกต่างกันเสมอ ไม่วา่ จะมาจากวัฒนธรรมใดก็ตาม

บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

203

เพราะเหตุใด การส่ งข้ อความสัน้ จึงเป็ นที่นิยมของคนแถบทวีปเอเชีย มากกว่ าประเทศแถบตะวันตก (กรณีศกึ ษาของ ไวเว็ก เซเทีย และคาลยัน โจนนาลากาดดา) ถ ้าคุณเดินทางท่องเทีย่ วไปในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย คุณอาจเห็นผู ้คนในวัย ต่างๆ ไม่วา่ เด็กหรือผู ้ใหญ่ขะมักเขม ้นอยูก่ บั การพิมพ์ข ้อความขนาดสัน้ บนโทรศัพท์ มือถือ ในทางกลับกัน คุณจะไม่ค่อยพบพฤติกรรมดังกล่าวในประเทศแถบตะวันตก ปัจจัยใดสามารถอธิบายความแตกต่างนี้ได้ เนื่องจากหลายประเทศในย่านเอเชียมีการพัฒนาระบบสือ่ สารโทรคมนาคม ทางโทรศัพท์ลา่ ช้ากว่าประเทศแถบตะวันตก โดยเฉพาะโทรศัพท์มอื ถือทีเ่ พิง่ จะ เริ่มมีใช้อย่างแพร่หลายและขยายตัวรวดเร็วมากในปัจจุบนั นอกจากนี้ ต้นทุน การส่งขอ้ ความแบบตัวหนังสือมีอตั ราค่ าใช้จ่ายต�ำ่ กว่าการส่งขอ้ ความทางเสียง มาก ยกเว ้นญีป่ ่ นุ ประเทศเดียว ในประเทศอืน่ ๆ ของเอเชียมีรายได้เฉลีย่ ต่อหัว ของประชากรตำ� ่ กว่าของประชากรในประเทศแถบตะวันตกมาก และด้วยเหตุน้ ี เอง จึงท�ำให ้มีการนิยมการส่งข ้อความสัน้ เป็ นตัวหนังสือกันมาก คนทีเ่ คยลองใช้บริการก็สามารถยืนยันได้วา่ การส่งข ้อความสัน้ โดยพิมพ์ ข ้อความบนแป้ นโทรศัพท์มอื ถือนัน้ ต้องอาศัยความช�ำนาญ ซึง่ ใช้เวลาและความ พยายามฝึ กฝนจนเคยชินระยะหนึ่ง และอาศัยประสบการณ์การใช้มาอย่างยาวนาน ผูค้ นจ�ำนวนมากในเอเชียจึงเคยชินกับการใช้วธิ กี ารส่งข ้อความตัวอักษรแบบสัน้ แมจ้ ะมีความสามารถในการจ่ายค่ าส่งขอ้ ความเสียงก็ตาม แต่ส �ำหรับผูค้ นใน ประเทศแถบตะวันตกได้ใช้วธิ กี ารส่งข ้อความทางเสียงมาตัง้ แต่ตน้ แล ้ว ท�ำให ้ไม่ ชินกับการส่งข ้อความสัน้ เป็ นตัวหนังสือ ซึง่ ต้องใช้เวลาและความพยายามมากกว่า บางคนอาจไม่ยอมรับเหตุผลที่อธิบายดังกล่าวมานี้ เนื่องจากการพิมพ์ ข ้อความแบบสัน้ เป็ นเรื่องทีท่ �ำกันปกติในบางประเทศแถบตะวันตกเช่นกัน เช่น ในฟิ นแลนด์ก็มโี ครงข่ายสือ่ สารทางโทรศัพท์มอื ถือทีไ่ ด้รบั การพัฒนามายาวนาน ท�ำใหก้ ารส่งขอ้ ความสัน้ ได้รบั ความนิยม ซึ่งกล่าวกันว่าเป็ นผลมาจากลักษณะ

204

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ประจ�ำชาติของชาวฟิ นแลนด์ คือการเป็ นคนรักสันโดษ ไม่ชอบสุงสิงพูดคุยกับ ใคร จึงไม่นิยมส่งข ้อความทางเสียง

เพราะเหตุใด กระป๋องอะลูมเิ นียมในบราซิลจึงมีการรี ไซเคิลสูงกว่ าใน สหรั ฐฯ (กรณีศกึ ษาของ ลิวซ์ ฟาร์ นันโด และ วาร์ กา บูโซลิน) ในสหรัฐฯ ผู ้บริโภคเครื่องดืม่ แบบกระป๋ องใน 11 รัฐ จะต้องวางเงินมัดจ�ำ 5 เซนต์ หรือมากกว่านัน้ ต่อทุกๆ กระป๋ องอะลูมเิ นียมบรรจุเครื่องดืม่ ทีเ่ ขาซื้อ และบ่อย ครัง้ จะมีประกาศของทางราชการขอร้องใหผ้ ูบ้ ริโภคน�ำกระป๋ องอะลูมเิ นียมเปล่า ส่งกลับคืนใหศ้ ูนย์รไี ซเคิลของทางราชการหรือร้านค้าทีเ่ ข ้าร่วมโครงการทีอ่ ยู่ใกล ้ บ ้านเพือ่ ส่งไปรีไซเคิลต่อ โดยผู ้บริโภคจะได้รบั เงินค่ามัดจ�ำคืน อย่างไรก็ตาม เมือ่ ดูจากจ�ำนวนกระป๋ องอะลูมเิ นียมทีห่ ายไป 70,000 ล ้านกระป๋ องในสหรัฐฯ พบว่า จ�ำนวนทีส่ ่งกลับไปรีไซเคิลมีมากกว่าครึ่งของจ�ำนวนกระป๋ องทีข่ ายไปแค่นิดเดียว เท่านัน้ ทีเ่ หลือทิ้งอยู่ตามกองขยะ ในทางตรงกันข ้าม ผู ้บริโภคในบราซิลไม่ตอ้ งวางเงินมัดจ�ำเมือ่ ซื้อกระป๋ อง เครื่องดืม่ อะลูมเิ นียม รวมทัง้ ไม่มศี ูนย์รไี ซเคิลแสนสะดวกกระจายอยู่ตามเมือง ต่างๆ แบบสหรัฐฯ และไม่มหี น่ วยงานของทางราชการใดประกาศเชิญชวนให ้ ผูบ้ ริโภคน�ำกระป๋ องอะลูมเิ นียมเปล่าคืนเพือ่ รีไซเคิล แต่กลับปรากฏว่าในแต่ละ ปี จ �ำนวนกระป๋ องเครื่องดืม่ อะลูมเิ นียมทัง้ หมดทีข่ ายในบราซิลมีการน�ำไปรีไซเคิล เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะเหตุใดบราซิลจึงมีการรีไซเคิลกระป๋ องอะลูมเิ นียมเป็ น สัดส่วนทีส่ ูงกว่าสหรัฐฯ แม ้ว่าผู ้บริโภคในบราซิลไม่ตอ้ งวางเงินมัดจ�ำ และไม่มศี ูนย์รไี ซเคิลกระป๋ อง อะลูมเิ นียมใช้แล ้วสะดวกเท่าในสหรัฐฯ แต่กระป๋ องเปล่าใช้แล ้วสามารถขายต่อ เป็ นเงินใหผ้ ูป้ ระกอบการทีม่ อี าชีพหลอมโลหะอะลูมเิ นียมขาย เนื่องจากรายได้ เฉลีย่ ของประชากรในบราซิลคิดเป็ น 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในสหรัฐฯ เท่านัน้ และความยากจนยังมีอยู่ทวทุ ั ่ กหนแห่งทัวประเทศ ่ ประชากรเกือบ 2 แสนคนใน บราซิลจึงหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะกระป๋ องอะลูมเิ นียมขายเป็ นหลัก ในทางตรง บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

205

กันข ้าม ชาวอเมริกนั จ�ำนวนมากเห็นว่าไม่คมุ ้ กับเวลาทีต่ อ้ งเสียไปในการเข ้าแถวยืน รอทีศ่ ูนย์รไี ซเคิลเพือ่ รอรับเงินค่ามัดจ�ำกระป๋ องคืน ท�ำให้ไม่สนใจเรื่องการรีไซเคิล เท่าทีค่ วร และส่งผลให้กระป๋ องเครื่องดืม่ อะลูมเิ นียมใช้แล ้วเป็ นขยะทีต่ อ้ งฝังกลบ ต่อไป ผลการศึกษาของ แพต แฟรงกลิน แห่งสถาบัน Container Recycling สหรัฐฯ พบว่า ช่วงสองทศวรรษทีผ่ า่ นมา กระป๋ องขยะจ�ำพวกเครื่องดืม่ อะลูมเิ นียม มีนำ�้ หนักรวมประมาณ 11 ล ้านตัน คิดเป็ นมูลค่ารวมประมาณ 12 ล ้านดอลลาร์ แม ้ว่ากฎหมายการวางมัดจ�ำไม่สามารถท�ำให้เกิดการรีไซเคิลกระป๋ องเครือ่ ง ดื่มอะลูมเิ นียมได้ในสหรัฐฯ แต่ก็มผี ลทางบวกอันพึงปรารถนาประการหนึ่งคือ กระป๋ องอะลูมเิ นียมทีถ่ กู ทิ้งในทีส่ าธารณะจะถูกเก็บเกือบทันทีทนั ใดโดยคนเก็บ ขยะ แตกต่างจากนักเก็บขยะในบราซิล นัน่ คือ นักเก็บขยะชาวอเมริกนั น้อยคน ทีจ่ ะค้นหากระป๋ องอะลูมเิ นียมในกองขยะ เพราะถือเป็ นการกระท�ำทีผ่ ดิ กฎหมาย ของหลายรัฐในสหรัฐฯ ที่น่าสนใจคือ แม ้รายได้โดยเฉลีย่ ของผู ้คนทัวไปในเอเชี ่ ยต�ำ่ กว่าผู ้คนทัวไป ่ ในสหรัฐฯ และประเทศในยุโรป แต่ราคาทีด่ นิ กลับมีแนวโน้มสูงกว่ามาก ทีเ่ ป็ นเช่น นี้เป็ นเพราะความหนาแน่นของประชากรสูงกว่านัน่ เอง อีกทัง้ ข ้อแตกต่างของราคา ทีด่ นิ ส่งผลต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมบันเทิงดังจะกล่าวต่อไป

เพราะเหตุใด โรงภาพยนตร์ ในเกาหลีและประเทศอื่นๆ ในเอเชียต้ องมี การจองที่น่ ังดูภาพยนตร์ ในขณะที่โรงภาพยนตร์ ในสหราชอาณาจักร เปิ ดให้ เลือกที่น่ ังตามสบาย (กรณีศกึ ษาของ กลอเรี ย คิม) ผู ้ทีไ่ ปดูภาพยนตร์ในกรุงโซล ประเทศเกาหลี จะซื้อตัวที ๋ ม่ กี ารระบุทน่ี งั ่ พร้อม ต่าง จากเพือ่ นของเขาในเมืองสวินดอนและเมืองวิลต์เชียร์ ในสหราชอาณาจักร สามารถ เลือกทีน่ งั ่ ทีใ่ ดก็ได้ตามใจชอบ บนหลักการมาก่อนได้ก่อน ท�ำไมจึงมีธรรมเนียม ปฏิบตั ทิ แี ่ ตกต่างกันเช่นนี้ เนื่องจากการจองทีน่ งั ่ ในโรงภาพยนตร์มตี น้ ทุนค่าใช้จา่ ยทีเ่ กีย่ วข ้องคล ้ายคลึง กัน เช่น คนขายตัวต้ ๋ องจัดทีน่ งั ่ ให ้ตามต้องการ พนักงานในโรงภาพยนตร์ตอ้ งน�ำ

206

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ผูช้ มไปยังทีน่ งั ่ ทีจ่ องไว ้ รวมทัง้ การแก้ไขปัญหากรณีทน่ี งั ่ ซำ�้ กันระหว่างคนดู ซึง่ ต้นทุนค่าใช้จ่ายเหล่านี้คล ้ายคลึงกันทัวโลก ่ แต่ทต่ี ่างกันน่าจะเป็ นประโยชน์ทค่ี าด ว่าจะได้รบั จากระบบการจองทีน่ งั ่ ในเมืองใดก็ตามทีม่ ปี ระชากรจ�ำกัดจ�ำนวนหนึ่ง ภาพยนตร์แต่ละเรื่องทีม่ ี จ�ำนวนภาพยนตร์ให ้ฉายมากกว่าจะเป็ นประโยชน์ต่อผู ้ต้องการชมมากกว่า อย่าง ในสหราชอาณาจักร ภาพยนตร์แต่ละเรือ่ งจะมีจ �ำนวนโรงให้ฉายมากกว่าในประเทศ แถบเอเชีย ซึง่ การมีจ �ำนวนโรงภาพยนตร์ทฉ่ี ายมากกว่าจะก่อประโยชน์ต่อผู ้ต้องการ ดูภาพยนตร์สองประการคือ (1) ผู ้ต้องการดูภาพยนตร์สามารถหาโรงภาพยนตร์ได้ ง่ายขึ้นในเวลาว่างทีต่ อ้ งการดู และ (2) มีโอกาสทีจ่ ะมีทน่ี งั ่ ว่างในแต่ละโรงสูง ท�ำให้ สะดวกต่อการตัดสินใจในนาทีสุดท ้าย ซึง่ แน่ใจได้วา่ ยังมีทน่ี งั ่ ว่างค่อนข ้างแน่นอน ในเอเชียจ�ำนวนโรงที่ฉายส�ำหรับภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีไม่ค่อยมากไม่ เหมือนในสหราชอาณาจักร ด้วยสาเหตุสองประการคือ รายได้เฉลีย่ เปรียบเทียบ ของประชากรยังไม่สูงมาก และทีด่ นิ ทีใ่ ช้สร้างโรงภาพยนตร์มรี าคาสูงเมือ่ เทียบกับ ระดับรายได้ ภาพยนตร์แต่ละเรือ่ งหากมีจ �ำนวนโรงฉายมากจะเป็ นการเพิม่ ต้นทุน แต่ โอกาสทีจ่ ะมีคนเข ้ามาชมเพิม่ ขึ้นนัน้ มีไม่มาก เพราะระดับรายได้เฉลีย่ ของประชากร ค่อนข ้างตำ� ่ หรือทีด่ นิ ทีม่ รี าคาสูงในประเทศแถบเอเชีย ท�ำใหค้ ่าลงทุนสร้างโรง ภาพยนตร์สูงตามไปด้วย จึงเป็ นข ้อจ�ำกัดให ้ชาวเอเชียดูภาพยนตร์บอ่ ยครัง้ ไม่ได้ ผลลัพธ์จากการทีม่ จี �ำนวนโรงฉายน้อย ท�ำให ้ภาพยนตร์แต่ละเรื่องทีฉ่ าย ในเอเชียขายตัวหมดในเวลาอั ๋ นรวดเร็ว และเมือ่ คนดูคาดว่าเรื่องใดจะขายตัว๋ หมดเร็ว วิธแี ก้ไขของเขาก็คอื รีบมาก่อนเวลาเพือ่ ให ้มันใจว่ ่ าจะสามารถซื้อตัวได้ ๋ ยดเสมอ เนื่องจากคิว ทัน และผลทีพ่ บตามมาคือ คนเข ้าแถวรอคิวซื้อตัวยาวเหยี ๋ รอซื้อตัวยาวเหยี ๋ ยดไม่มผี ลใดๆ ต่อการเพิม่ จ�ำนวนทีน่ งั ่ ในโรงภาพยนตร์ เมือ่ มี คนจ�ำนวนมากรอในแถวเพือ่ ซื้อตัว๋ เป็ นผลเสียทีจ่ ะต้องหักออกจากผลประโยชน์ โดยรวมทีจ่ ะได้จากการดูภาพยนตร์ อย่างไรก็ตาม ใครทีไ่ ม่ตอ้ งการเข ้าคิวซื้อตัว๋ ก็อาจไม่ได้ดูภาพยนตร์ (เป็ นอีกตัวอย่างหนึ่งของผลประโยชน์ขดั กันระหว่างผล ประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม) บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

207

การซื้อตัวล่ ๋ วงหน้าเป็ นวิธที ช่ี ่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ช่วยใหม้ นใจว่ ั ่ ามีทน่ี งั ่ ดู ภาพยนตร์แน่นอน สามารถหลีกเลีย่ งการเข ้าคิวรอในแถวนานหลายชัว่ โมงเพือ่ ซื้อตัวได้ ๋

เพราะเหตุใด โรงภาพยนตร์ แบบมัลติเพล็กซ์ ในสหราชอาณาจักร จึง ยอมให้ ลูกค้ าดูภาพยนตร์ ได้ มากกว่ าหนึ่งเรื่องส�ำหรับการซือ้ ตั๋วหนึ่งใบ ในขณะที่โรงภาพยนตร์ แบบมัลติเพล็กซ์ ในเอเชีย ให้ ลูกค้ าดูภาพยนตร์ ได้ เพียงเรื่ องเดียว (กรณีศกึ ษาของ แฟรงก์ ฟู) แม ้ไม่มกี ารประกาศห้ามอย่างเป็ นทางการจากฝ่ ายบริหารของโรงภาพยนตร์ แต่ใน สหราชอาณาจักรไม่มกี ารห้ามลูกค้าดูภาพยนตร์ได้มากกว่าหนึ่งเรื่องส�ำหรับการซื้อ ตัวหนึ ๋ ่งใบ เมือ่ ลูกค้าแสดงตัวที ๋ ซ่ ้อื กับพนักงานตรวจเช็กประจ�ำประตูโรงภาพยนตร์ ครัง้ แรกแล ้ว ก็จะไม่มกี ารตรวจเช็กอีกต่อไป เมือ่ ดูภาพยนตร์เรื่องทีต่ งั้ ใจมาดูจน จบ ก็สามารถดูเรื่องทีส่ องหรือสามต่อได้โดยไม่ตอ้ งจ่ายค่าดูเพิม่ อีก ในทางกลับ กัน หากคุณดูในโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์แถบเอเชีย พนักงานจะตรวจเช็ก ๋ กครัง้ ทุกเรื่อง และทุกรอบทีฉ่ าย ปัจจัยใดอธิบายความแตกต่างนี้ได้ ตัวทุ ค�ำตอบต้องเริ่มจากขอ้ สังเกตที่ใหไ้ วแ้ ลว้ ในตัวอย่างที่ผ่านมาคือ โรง ภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักรมักจะมีทน่ี งั ่ ว่าง ในขณะทีโ่ รงภาพยนตร์ในเอเชียจะ มีทน่ี งั ่ เต็มโรงเป็ นส่วนใหญ่ ดังนัน้ หากผู ้ดูภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักรต้องการ ชมเพิม่ อีกเรื่องโดยไม่ซ้อื ตัวก็ ๋ จะไม่มผี ลกระทบต่อใคร เพราะยังมีทน่ี งั ่ ว่างอยู่ ใน ทางตรงกันข ้าม เหตุการณ์น้ จี ะไม่พบในเอเชีย เพราะทุกทีน่ งั ่ มีการจอง ถ ้าไม่ซ้อื ตัวก่ ๋ อนก็เท่ากับไปแย่งทีน่ งั ่ คนอืน่ ทีซ่ ้อื ตัวและจองที ๋ น่ งั ่ ไว ้แล ้ว การชมเรื่องทีส่ อง ฟรีจงึ ท�ำไม่ได้ในโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์ในเอเชีย ข ้อดีทจ่ี ะได้รบั จากการหา้ มคนดูภาพยนตร์เกิน 1 เรื่องต่อตัว๋ 1 ใบส�ำหรับ โรงหนัง (ทีม่ กั มีทน่ี งั ่ เต็ม) ในเอเชียจะมีมากกว่าในสหราชอาณาจักร และการจ้าง พนักงานตรวจเช็กตัวในแต่ ๋ ละโรงจะต้องมีค่าใช้จ่าย นี่ก็เป็ นเหตุผลหนึ่งด้วยที่ ท�ำใหผ้ ูจ้ ดั การโรงภาพยนตร์ในเอเชียยิง่ มีแรงจูงใจใหค้ งนโยบายปฏิบตั กิ บั ลูกค้า ให ้ดูหนังได้เพียงเรื่องเดียวต่อตัวหนึ ๋ ่งใบ

208

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

มีความเป็ นไปได้เช่นกันว่า ผู ้จัดการโรงภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักรก�ำลัง พยายามหาทางเพิม่ รายได้จากการจ�ำหน่ายตัวด้ ๋ วยวิธกี ารไม่บงั คับใช้กฎ “ตัว๋ 1 ใบ ดูหนังได้ 1 เรื่อง” ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่มกี ารตรวจเช็กตัวซ� ๋ ำ้ ณ ประตูโรงภาพยนตร์ย่อยดังที่ กล่าวไปแล ้ว แต่จากข ้อเท็จจริงพบว่า ผู ้ดูส่วนใหญ่จะดูภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียว ทีต่ นตัง้ ใจมาดู ค�ำถามจึงเกิดขึ้นว่า ถ ้าเช่นนัน้ คนเพียงไม่ก่คี นทีอ่ ยากดูภาพยนตร์ มากกว่า 1 เรื่องจะยอมซื้อตัวเพิ ๋ ม่ หรือไม่ ถ ้าค�ำตอบคือ “ไม่” หมายความว่าการ ไม่บงั คับใช้กฎ “ตัว๋ 1 ใบ ดูภาพยนตร์ได้ 1 เรื่อง” มีผลในการช่วยเพิม่ รายได้จาก การจ�ำหน่ายตัวทั ๋ ง้ หมดได้ กล่าวในอีกทางหนึ่งคือ การไม่บงั คับใช้กฎก็คอื รูปแบบหนึ่งของการตัง้ ราคา สินค้าให ้แตกต่างกัน (Price Discrimination) ส�ำหรับสองตลาด ผู ้คนทีเ่ ต็มใจ ละเมิดกฎ (ทีไ่ ม่ได้บงั คับใช้) “ตัว๋ 1 ใบ ดูภาพยนตร์ได้ 1 เรื่อง” กล่าวโดยทัวไป ่ ก็คอื ผู ้ทีม่ คี วามไวในการตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงของราคามากกว่าคนอืน่ การขาดการบังคับใช้กฎในกรณีน้ ีจงึ ท�ำหน้าทีเ่ หมือนสิง่ กีดขวางส�ำหรับผูต้ อ้ งการ ดูภาพยนตร์ฟรีหลายเรื่องทีต่ อ้ งก้าวข ้ามก่อน เสมือนเป็ นการใหส้ ่วนลดเฉพาะ ผู ้ชมทีต่ อ้ งการดูภาพยนตร์มากกว่าหนึ่งเรื่องได้ตามต้องการ โดยไม่ตอ้ งลดราคา ตัวให ๋ ้กับคนอืน่ ๆ ตัวอย่างต่อไปแสดงใหเ้ ห็นถึง ความแตกต่างระหว่างประเทศทีน่ ่ าสนใจ อืน่ ๆ ในเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสทีแ่ ตกต่างกันของอาชีพต่างๆ

เพราะเหตุใด ทีมฟุตบอลชายของสหรั ฐฯ จึงไม่ ประสบความส�ำเร็จใน การแข่ งขันระดับนานาชาติ แต่ ทำ� ไมทีมฟุตบอลหญิงจึงท�ำผลงานได้ ดี มากกว่ า (กรณีศกึ ษาของ เดฟ เดกเกอร์ ) ในช่วงศตวรรษทีผ่ ่านมา สหรัฐฯ เป็ นหนึ่งในผู ้น�ำของโลกด้านการแข่งขันกีฬา โดย เฉพาะการเป็ นเจ้าเหรียญทองกีฬาหลายประเภทในโอลิมปิ กหลายครัง้ ทัง้ ประเภท ชายและหญิง และเมือ่ ไม่ก่ปี ี มานี้เอง นักฟุตบอลหญิงชาวอเมริกนั ประสบความ ส�ำเร็จอย่างน่าทึง่ ในการแข่งขันระดับโลก ในขณะทีน่ กั ฟุตบอลชายกลับไม่ประสบ ความส�ำเร็จ ปัญหาทีน่ ่าคิดคือ ปัจจัยใดท�ำให ้เกิดความแตกต่างเช่นนัน้ บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

209

ก่อนทศวรรษที่ 1960 กีฬาฟุตบอล (Soccer) มีการเล่นกันน้อยมากใน โรงเรียนมัธยมของสหรัฐฯ ยิง่ การเล่นเป็ นอาชีพด้วยแล ้วยิง่ หายากมาก แต่หลัง จากนัน้ เป็ นต้นมาก็เริ่มมีการเล่นกันมากขึ้น แต่ก็ยงั เป็ นกีฬาทีไ่ ด้รบั ความนิยม ระดับรองแม ้กระทังในปั ่ จจุบนั ไม่เหมือนกีฬาทีไ่ ด้รบั ความนิยมมากเสมอมา เช่น อเมริกนั ฟุตบอล เบสบอล บาสเกตบอล และฮอกกี้นำ�้ แข็ง ซึง่ ผู ้เล่นกีฬาเหล่านี้จะ ได้ค่าตัวค่อนข ้างสูง รายได้ต่อปี เป็ นเลขเจ็ดหลักขึ้นไป จนเป็ นทีใ่ ฝ่ ฝนั ของหนุ่ม สาวทีม่ พี รสวรรค์ทางกีฬาต่างแย่งชิงกันเพือ่ ให้มีโอกาสเล่นเป็ นอาชีพในกีฬาเหล่านี้ และผลทีต่ ามมาจากปรากฏการณ์ดงั กล่าวก็คอื มีผู ้สนใจในกีฬาประเภทฟุตบอล ค่อนข ้างน้อย จนท�ำให ้เกิดการขาดแคลนนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ เพราะผู ้มีทกั ษะ ทางกีฬาต่างหันไปสนใจเล่นกีฬาประเภทอืน่ ๆ ทีก่ ล่าวไปแล ้ว ฟุตบอลทีไ่ ด้รบั ความนิยมและมีการแข่งขันกันในระดับโลกส่วนใหญ่จะเป็ น ฟุตบอลชาย ส�ำหรับประเทศอืน่ ๆ (นอกเหนือจากสหรัฐฯ) นักกีฬาชายต่างใฝ่ ฝนั ว่าต้องการเป็ นดาราฟุตบอลมากกว่ากีฬาประเภทอืน่ ๆ ท�ำใหก้ ารแข่งขันฟุตบอล ในสหรัฐฯ เพิง่ จะเริ่มได้รบั ความนิยมมากขึ้นไม่นานนี้เอง และทีมฟุตบอลชาย ของสหรัฐฯ ก็เริ่มมองเห็นการแข่งขันระดับโลกว่าเป็ นสิง่ น่าทา้ ทายความสามารถ เนื่องจากทีมคู่ต่อสูจ้ ากประเทศต่างๆ ล ้วนมีความสามารถสูง เพราะการคัดนัก ฟุตบอลทีด่ ที ส่ี ุดมาจากสโมสรต่างๆ ส�ำหรับทีมนักฟุตบอลหญิงของสหรัฐฯ ในระดับนานาชาติกล่าวโดยทัวไป ่ ได้ว่าอยูใ่ นสถานะทีด่ กี ว่า ในแง่ทม่ี จี �ำนวนนักกีฬาหญิงให ้คัดเลือกมากกว่า เพราะ ในประเทศอืน่ ๆ มีผู ้หญิงสนใจในการเล่นกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลมีสดั ส่วนน้อยกว่า นอกจากนัน้ บทบัญญัติ Title IX ของสหรัฐฯ ยังส่งเสริมและสนับสนุนการเล่น กีฬาของผู ้หญิงอย่างมาก โดยก�ำหนดไว ้ว่าทุกโรงเรียนจะต้องจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายด้านการกีฬาอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง อีกทัง้ นักกรีฑาหญิงทีม่ คี วามสามารถสูงก็จะไม่ถกู ดึงตัวไปเล่นในกีฬาประเภทอืน่ ๆ แม ้ว่า ในสหรัฐฯ ขณะนี้ยงั ไม่มกี ารจัดตัง้ สโมสรนักกีฬาอาชีพหญิงทีม่ คี ่าตัวสูงก็ตาม ทัง้ หลายทัง้ ปวงเหล่านี้เป็ นมูลเหตุใหท้ มี นักฟุตบอลหญิงของสหรัฐฯ ประสบความ ส�ำเร็จดีกว่าทีมนักฟุตบอลชาย

210

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ความแตกต่างที่น่าสนใจ ชี้ใหเ้ ห็นว่า จากกรณี ศึกษาที่ผ่านมา ความ แตกต่างของพฤติกรรมทีน่ ่าสนใจหลายเรื่องเป็ นผลมาจากความแตกต่างในเรื่อง ของราคาและรายได้ระหว่างประเทศต่างๆ แต่ก็มบี างเรื่องทีเ่ ป็ นผลมาจากความ แตกต่างของนโยบายด้วย

เพราะเหตุใด อัตราการว่ างงานในเยอรมนีจงึ สูงกว่ าในสหรั ฐฯ (กรณีศกึ ษาของ มาร์ ตนิ เมฮัลเชน) แม ้ว่าอัตราการว่างงานในหลายประเทศจะเปลีย่ นแปลงไปทุกเดือน แต่อตั ราการ ว่างงานของประเทศต่างๆ เมือ่ เปรียบเทียบกันแล ้ว จะพบว่าไม่ได้มคี วามแปรปรวน หรือเปลีย่ นแปลงไปจากแบบกระสวนเดิมมากนัก ตัวอย่างเช่น อัตราการว่างงาน ในสหรัฐฯ จะตำ� ่ กว่าในประเทศส่วนใหญ่ทางแถบยุโรปเสมอ เช่น เมือ่ เดือนกันยายน ปี 2006 อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ และเยอรมนี เท่ากับ 4.6 และ 8.7 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ เพราะเหตุใด อัตราการว่างงานของเยอรมนีจงึ สูงกว่ามาก แนวทางหนึ่งในการค้นหาค�ำตอบ ได้แก่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบข ้อดี–ข ้อ เสียของการเป็ นผู ้ว่างงานของประเทศทัง้ สองนี้ เมือ่ น�ำพลเมืองอเมริกนั กับพลเมือง เยอรมันมาเปรียบเทียบกัน พลเมืองอเมริกนั ต้องพึง่ พาการท�ำงานเพือ่ ด�ำรงชีพ มากกว่า เช่น ต้องท�ำงานเพือ่ จะได้รบั บริการการประกันสุขภาพเมือ่ ยามเจ็บไข ้ได้ ป่ วย ซึง่ เป็ นบริการทีจ่ ดั หาให ้โดยบริษทั เอกชนผู ้เป็ นนายจ้าง ในขณะทีเ่ ยอรมนีมี บริการทีจ่ ดั หาให้โดยภาครัฐ อันท�ำให้พลเมืองเยอรมันไม่จ �ำเป็ นต้องกังวลกับการ ตกงาน และแม ้ว่าในสหรัฐฯ จะมีระบบประกันการว่างงานทีช่ ่วยเหลือผู ้ตกงาน แต่ จ�ำนวนเงินชดเชยทีจ่ ่ายใหต้ ำ� ่ กว่า และมีระยะเวลาทีส่ นั้ กว่าเยอรมนี นอกจากนี้ เงินสวัสดิการสังคมทีช่ ่วยเหลือผู ้มีรายได้ตำ� ่ ของเยอรมนียงั เป็ นวงเงินสูงกว่าและ มีเงือ่ นไขข ้อจ�ำกัดน้อยกว่าของสหรัฐฯ ด้วย ชาวเยอรมันและชาวอเมริกนั ส่วนใหญ่จะมีงานท�ำและมีความพึงพอใจกับ การท�ำงาน แต่ส �ำหรับคนตกงานจะมีสถานะทีต่ ่างกันมาก ชาวอเมริกนั ทีต่ กงานจะ

บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

211

ด�ำรงชีวติ ด้วยความยากล�ำบากกว่ามาก ในขณะทีช่ าวเยอรมันตกงานจะได้รบั การ สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานทีจ่ �ำเป็ นต่อการด�ำรงชีพจากรัฐบาลตลอดไป โดยสรุป ต้นทุนค่าเสียโอกาสส่วนตนของการเป็ นผูว้ ่างงานในเยอรมนี ต�ำ่ กว่า (เนื่องจากรัฐบาลดูแลอุปการะผู ้ตกงานดีกว่า) เมือ่ เปรียบเทียบกับการเป็ น ผู ้ว่างงานในสหรัฐฯ และข ้อแตกต่างนี้อธิบายได้วา่ ท�ำไมชาวเยอรมันทีต่ กงานจึง มีความอดทนต่อการรอคอยงาน และสามารถเลือกงานทีเ่ หมาะกับตัวเองมากกว่า

เพราะเหตุใด ผู้บริโภคชาวอเมริกันจึงซือ้ น�ำ้ ตาลทรายแพงกว่ าสองเท่ า ของราคาในตลาดโลก (กรณีศกึ ษาของ โทมัส พูเกล) เมือ่ ปี 2005 ผู ้บริโภคชาวอเมริกนั ซื้อน�ำ้ ตาลทรายดิบในราคาเฉลีย่ เท่ากับ 22 เซนต์ ต่อปอนด์ ในขณะทีร่ าคาเฉลีย่ ในตลาดโลกต�ำ่ เพียง 10 เซนต์ต่อปอนด์ ปัจจัยใด อธิบายช่องว่างความแตกต่างของราคาทีม่ ากเช่นนี้ ค�ำตอบสัน้ ๆ ก็คอื เป็ นเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ตัง้ ก�ำแพงภาษีน�ำเข ้าสูงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ส �ำหรับน�ำ้ ตาลทรายดิบทีน่ �ำเข ้าจากต่างประเทศ แต่ค �ำตอบเช่นนี้ ก่อให ้เกิดค�ำถามตามมาคือ ถ ้าเช่นนัน้ สภานิตบิ ญ ั ญัตขิ องสหรัฐฯ มีเหตุผลใดจึง ออกกฎหมายทีส่ ่งผลให้ผู ้ลงคะแนนเสียงให้ตัวเองต้องมีรายจ่ายเพิม่ ขึ้นรวมถึง 2 พันล ้านดอลลาร์ต่อปี ค�ำอธิบายทีพ่ อมีเหตุผลเริ่มจากสมมติฐานทีว่ ่า แรงจูงใจที่ ผู ้บริโภคทีเ่ ป็ นผู ้ลงคะแนนเสียงเผชิญ แตกต่างจากแรงจูงใจทีผ่ ู ้ผลิตน�ำ้ ตาลทราย ภายในประเทศเผชิญ เนื่องจากแต่ละครอบครัวมีรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อน�ำ้ ตาลทรายต�ำ่ มากไม่ ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในครัวเรือน จึงไม่มผี ู ้ลงคะแนนเสียงคนใดสนใจมาก นักกับการทีน่ ำ�้ ตาลทรายมีราคาแพง หรืออาจมีเพียงไม่ก่คี นทีเ่ คยร้องเรียนเรื่อง ราคาน�ำ้ ตาลทรายแพงแก่ผู ้แทนของตนในเขตเลือกตัง้ ผู ้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ อาจไม่รูด้ ว้ ยซ�ำ้ ว่ามีการตัง้ ก�ำแพงภาษีน�ำเข ้าน�ำ้ ตาลทราย

212

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แต่ส �ำหรับผูผ้ ลิตน�ำ้ ตาลทรายแล ้ว ประเด็นเรื่องการตัง้ ก�ำแพงภาษีน�ำเข ้า มีความส�ำคัญต่อพวกเขามาก เนื่องจากมีผลต่อก�ำไรประจ�ำปี ของโรงงาน ผลการ ศึกษาพบว่า การขึ้นภาษีน�ำเข ้าส่งผลกระทบทางลบต่อก�ำไรของผูผ้ ลิตรายใหญ่ แห่งหนึ่งในฟลอริดาประมาณ 65 ล ้านดอลลาร์ ด้วยผลประโยชน์ทม่ี วี งเงินมาก เช่นนี้ ท�ำให ้ผู ้ผลิตไม่เพียงแต่ท �ำเรื่องร้องเรียนอย่างเป็ นทางการ แต่ยงั มีการจ้าง ล็อบบี้ยสิ ต์ (กลุม่ คนทีเ่ ชี่ยวชาญในการวิง่ เต้นให ้กับบรรดานักการเมืองและกลุม่ ผลประโยชน์ทางธุรกิจและทางการเมืองในสหรัฐฯ) ทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์สูง เป็ นตัวแทนเพือ่ ผลักดันสนับสนุนให้มีการเก็บภาษีน�ำเข ้าน�ำ้ ตาลทรายทีน่ �ำเข ้าจาก ต่างประเทศ ทีส่ �ำคัญกว่านัน้ มากคือ โรงงานน�ำ้ ตาลทรายเหล่านี้ให้การสนับสนุนงบ หาเสียงเลือกตัง้ ให้แก่พรรคการเมืองทีส่ นับสนุนนโยบายการตัง้ ก�ำแพงภาษีน�ำเข ้า น�ำ้ ตาลทรายจากต่างประเทศด้วย แม ้ผู ้ผลิตจะได้รบั ประโยชน์ไม่ถงึ ครึ่งของส่วนต่างรายจ่ายทีผ่ ู ้บริโภคต้อง จ่ายเพิม่ อันเนื่องมาจากนโยบายภาษี แต่การล ้มเลิกนโยบายนี้ดูเลือนรางในทางการ เมือง เป็ นเพราะผลประโยชน์กระจุกอยู่กบั ผูผ้ ลิตไม่ก่กี ลุม่ ในขณะทีค่ ่าใช้จ่าย กระจายไปยังผู ้บริโภคจ�ำนวนมากจนอาจไม่ได้รูส้ กึ ถึงภาระทีม่ เี พิม่ ขึ้น

เพราะเหตุใด รถในยุโรปจึงมีขนาดเครื่องยนต์ เล็กกว่ ารถในสหรัฐฯ มาก รถ BMW ซีรส่ี ์ 5 เป็ นรถจากยุโรปทีม่ กี ารผลิตจ�ำหน่ายไปทัวโลก ่ ในสหภาพยุโรปผู ้ ใช้จ �ำนวนมากชอบเลือกรถเก๋งขนาดเครื่องยนต์ 4 สูบ 1.6 ลิตร แต่ทผ่ี ลิตจ�ำหน่าย ในสหรัฐฯ เป็ นรุ่นทีม่ ขี นาดเครื่องยนต์ใหญ่สุดคือ 6 สูบ 3 ลิตร โดยทัวไปรถที ่ ่ ผลิตขายในสหภาพยุโรปจะมีขนาดเครือ่ งยนต์เล็กกว่า และจ�ำนวนสูบน้อยกว่ารถที่ ผลิตขายในสหรัฐฯ เพราะเหตุใด คนยุโรปจึงนิยมใช้รถทีม่ ขี นาดเครือ่ งยนต์เล็กกว่า บางคนอาจคิดว่าถนนที่เต็มไปด้วยรถจากยุโรปแมจ้ ะดู มสี มรรถนะสู ง แต่ใช้ประโยชน์ได้นอ้ ยลงเมือ่ เทียบกับในสหรัฐฯ คนยุโรปจึงไม่นิยมใช้รถที่มี เครื่องยนต์ใหญ่ แต่กล็ มื คิดไปว่าถนนและทางด่วนหลายสายในยุโรปนัน้ ไม่มกี าร

บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

213

จ�ำกัดความเร็วรถ และไม่เป็ นการยากเลยทีเ่ ราจะเห็นรถราคาแพงทีม่ เี ครื่องขนาด ใหญ่อย่างปอร์เช่และเฟอร์รารี่ขบั ผ่านไปด้วยความเร็วสูงถึง 150 ไมล์ต่อชัว่ โมง

รถทีม่ ี ขนาดเครื ่องยนต์เล็กในสหภาพยุโรป : เป็ นผลลัพธ์ ของนโยบายการเก็บภาษี น�้ำมันเชื อ้ เพลิ งในอัตราสูง SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

แน่นอนว่าผู ้ใช้รถราคาแพงอย่างปอร์เช่และเฟอร์รารี่ คือคนประเภททีไ่ ม่มี ความกังวลในเรือ่ งการใช้เงิน อย่างไรก็ดี คนยุโรปโดยเฉลีย่ ทัวไปมี ่ แนวโน้มหลีก เลีย่ งการใช้รถทีม่ ขี นาดเครื่องยนต์ใหญ่ อันเนื่องมาจากราคาน�ำ้ มันเชื้อเพลิงทีแ่ พง ขึ้นมาก อีกทัง้ ผลของการเก็บภาษีนำ�้ มันเชื้อเพลิงในอัตราสูงในช่วงไม่ก่ปี ี ทผ่ี ่าน มา ท�ำให ้ราคานำ�้ มันเชื้อเพลิงเฉลีย่ ต่อลิตรรวมภาษีทกุ ประเภทในสหภาพยุโรปสูง มากกว่าสองเท่าของราคานำ�้ มันเชื้อเพลิงชนิดเดียวกันทีจ่ �ำหน่ายในสหรัฐฯ นอกจาก นี้ อีกสาเหตุหนึ่งทีท่ �ำให ้รถยุโรปมีขนาดเครื่องยนต์เล็กกว่า ก็เพราะบางประเทศใน สหภาพยุโรปมีการเรียกเก็บภาษีรถตามขนาดของเครื่องยนต์ดว้ ย

214

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ทีค่ นยุโรปเลือกใช้รถทีม่ ขี นาดเครื่องยนต์เล็ก ไม่ใช่วา่ เขาไม่ชอบขับรถที่ มีความเร็วสูง แต่เป็ นเพราะการใช้รถทีม่ เี ครื่องยนต์ขนาดใหญ่ตอ้ งมีค่าใช้จ่ายสูง เสมือนถูกลงโทษทางการเงินจากภาครัฐ

เพราะเหตุใด พลเมืองของสิงคโปร์ จงึ นิยมใช้ รถหรู หราราคาแพง คิด เป็ นสัดส่ วนสูงกว่ าพลเมืองของสหรัฐฯ (กรณีศกึ ษาของ แจ็กกาลีน เชน) แมส้ งิ คโปร์และสหรัฐฯ มีค่าดัชนีการกระจายรายได้ของประชากรไม่แตกต่าง กัน แต่รายได้เฉลีย่ ต่อหัวของประชากรในสิงคโปร์ตำ� ่ กว่าในสหรัฐฯ ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม รถหรูหราราคาแพง (Luxury Car) เช่น BMW, เบนซ์ และอืน่ ๆ ในสิงคโปร์ มีสดั ส่วนการตลาดสูงกว่าในสหรัฐฯ มาก ท�ำไมชาวสิงคโปร์ จึงนิยมใช้รถหรู หราราคาแพง เนื่องจากสิงคโปร์เป็ นประเทศทีม่ อี ตั ราความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นทีส่ ูง รัฐบาลจึงด�ำเนินการตามมาตรการอย่างเข ้มงวดในเรือ่ งการควบคุมภาวะมลพิษและ ความแออัดคับคัง่ ของเมือง รัฐบาลได้ลงทุนก่อสร้างระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้รถยนต์สว่ นตัวสูงมาก ลักษณะเด่น 3 ประการของนโยบายจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้ รถยนต์ส่วนตัวคือ (1) ก�ำหนดการจัดเก็บอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีส่ ูงมาก แม ้ว่าราคาซื้อขายรถจะแพงมากอยู่แล ้ว เมือ่ รวมค่าธรรมเนียมทีร่ ฐั บาลเรียกเก็บอีก ท�ำให้ราคาหลังจัดเก็บค่าธรรมเนียมยิง่ สูงมากขึ้นไปอีก (2) อัตราค่าธรรมเนียมใบ อนุญาตทีเ่ รียกเก็บ ไม่ได้ข้นึ กับราคาซื้อขายของรถยนต์ ตัวอย่างเช่น รถ BMW 745i และฮอนดา รุ่นซีวกิ เสียค่าธรรมเนียมใกล ้เคียงกัน แม ้ว่าราคาซื้อขายรถ BMW 745i แพงกว่าเกือบห ้าเท่า และ (3) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรถเก่าสูงกว่า รถใหม่มาก เพือ่ ให ้ผู ้คนตระหนักข ้อเท็จจริงทีว่ า่ เทคโนโลยีการควบคุมมลภาวะ ของรถมีการปรับปรุงให้ดีข้นึ อยู่ตลอดเวลา จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถเก่า ทีส่ ูงมากนี้ ก็เท่ากับว่ารัฐพยายามสร้างอุปสรรคไม่ให ้มีการใช้รถเก่ามาก หรือใน

บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

215

ทางกลับกัน ก็เป็ นการใหส้ ง่ิ จูงใจใหใ้ ช้รถรุ่นใหม่ทม่ี กี ารผลิตด้วยเทคโนโลยีทนั สมัยมากขึ้นเพือ่ ลดภาวะมลพิษ นโยบายการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุ ญาตการใช้รถส่วนตัวของสิงคโปร์น้ ี ท�ำให ้เจ้าของรถมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จนกระทังผู ่ ้เป็ นเจ้าของรถในสิงคโปร์มสี ดั ส่วน ทีต่ ำ� ่ กว่ามากเมือ่ เทียบกับในสหรัฐฯ ท�ำใหป้ ระชาชนทีม่ รี ายได้ระดับตำ� ่ และปาน กลางต้องพึง่ พารถโดยสารและระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเป็ นส่วนใหญ่ ส�ำหรับ การเป็ นเจ้าของรถจะจ�ำกัดอยู่กบั กลุม่ คนทีม่ ฐี านะค่อนข ้างรำ� ่ รวยเท่านัน้ ผลทีต่ าม มาจากนโยบายนี้อกี ประการคือ ในขณะทีช่ าวอเมริกนั ต้องจ่ายค่าซื้อรถหรูแพงกว่า เป็ นห ้าเท่าของราคารถขนาดเล็กแบบประหยัด (Economy Car) แต่ส �ำหรับคน สิงคโปร์จ่ายแพงกว่าไม่ถงึ สามเท่า โดยสรุป ข ้อเท็จจริงทีพ่ บเกีย่ วกับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรถเก่าทีเ่ รียกเก็บ สูงมาก เป็ นปัจจัยทีช่ ่วยอธิบายว่า ท�ำไมในสิงคโปร์จงึ มีผู ้นิยมใช้รถใหม่ทห่ี รูหรา ราคาแพงเป็ นสัดส่วนทีม่ ากกว่าในสหรัฐฯ จากข ้อเท็จจริงทีว่ า่ ค่าธรรมเนียมสูง ท�ำให ้การเป็ นเจ้าของรถจึงจ�ำกัดเฉพาะผู ้มีฐานะดี มารวมกับข ้อเท็จจริงทีว่ า่ ราคา รถหรู (รวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล ้ว) ก็ไม่ได้ต่างกันมากอย่างมีนยั ส�ำคัญเมือ่ เทียบกับรถขนาดเล็กแบบประหยัด นี่จงึ เป็ นเหตุผลว่า ท�ำไมรถใหม่แบบหรูหราจึง เห็นวิง่ บนท ้องถนนในสิงคโปร์เป็ นสัดส่วนทีส่ ูง

เพราะเหตุใด คนเดินข้ ามถนนโดยไม่ ดสู ัญญาณไฟจราจรจะถูกปรั บ ในกรุ งโรม ประเทศอิตาลี แต่ ไม่ ถูกปรั บในรั ฐนิวยอร์ ก สหรั ฐฯ (กรณีศกึ ษาของ โจเซ่ เวสส์ ) คนทีเ่ คยไปเทีย่ วเมืองแมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก คงเป็ นพยานได้ว่า คนเดินทางเทา้ ริมถนนทีน่ นั ่ ไม่ให้ความสนใจกับสัญญาณไฟจราจรมากนัก แม ้มีจงั หวะเวลาเพียง นิดเดียวเท่านัน้ แต่ผู ้คนทีน่ นั ่ ก็ยงั สามารถรีบเดินข ้ามทันทีทเ่ี ห็นสัญญาณไฟจราจร เริ่มเปลีย่ นเป็ นสีเขียว ผู ้คนทีน่ นั ่ ปฏิบตั จิ นชินแม ้อยู่ต่อหน้าต�ำรวจจราจร และแม ้

216

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

รูอ้ ยู่เต็มอกว่าผิดกฎหมาย แต่ยงั ไม่เห็นมีใครเลิกการกระท�ำดังกล่าวได้ ในทาง กลับกัน ถา้ เหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นในกรุงโรม ต�ำรวจจะสังปรั ่ บผูค้ นทีเ่ ดิน ข ้ามถนนอย่างสะเปะสะปะ (Jaywalking) ทีไ่ ม่เคารพสัญญาณไฟจราจรทันที ซึง่ ต�ำรวจทีน่ นั ่ จะปฏิบตั ภิ ารกิจดังกล่าวอย่างเข ้มงวดเป็ นประจ�ำจนเป็ นทีต่ ระหนักกัน ดี จึงไม่ค่อยมีคนกระท�ำผิดกฎหมายดังกล่าวมากนัก ปัจจัยใด เป็ นมูลเหตุแห่ง ความแตกต่างเช่นนี้ ถ ้าถามว่า ท�ำไมคนเดินข ้ามถนนอย่างสะเปะสะปะในกรุงเบอร์ลนิ ประเทศ เยอรมนี จึงถูกปรับ ค�ำตอบนัน้ จะง่ายมากกว่า เพราะชาวเยอรมันเป็ นทีเ่ ลือ่ งลือ ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทุกชนิด จึงไม่ใช่เป็ นเรื่องน่าแปลกใจมากนัก แต่ค �ำ เลือ่ งลือเดียวกันนี้มกั ใช้ไม่ได้กบั ชาวอิตาเลียน อย่างไรก็ตาม ค�ำตอบอยู่ท่ีความแตกต่ างเป็ นส�ำคัญ ระหว่างสภาพ การจราจรในรัฐนิวยอร์กกับกรุงโรม ซึง่ ปัจจัยนี้ได้อธิบายความแตกต่างในการ บังคับใช้กฎหมายจราจร ส�ำหรับนิวยอร์ก รถทีว่ ง่ิ บนท ้องถนนเกือบทัง้ หมดเป็ น รถเก๋งและรถตู ้ ถา้ มีอุบตั ิเหตุเกิดขึ้น คนขา้ มถนนจะได้รบั บาดเจ็บหรือถึงกับ เสียชีวติ อาจเป็ นเพราะเขาเดินข ้ามถนนแบบไม่ดูตาม ้าตาเรือเอง แต่คนขับรถจะไม่ บาดเจ็บหรือเป็ นอะไรมากนัก ในทางตรงกันข ้าม การจราจรบนท้องถนนในกรุงโรม ส่วนใหญ่จะมีแต่รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กแบบสกูตเตอร์ คนทีเ่ ดิน ข ้ามถนนอย่างสะเปะสะปะจึงมีโอกาสเสีย่ งต่อการเสียชีวติ น้อยกว่า แต่กอ็ าจเป็ นต้น เหตุท �ำให ้ผู ้อืน่ (คนขีจ่ กั รยานหรือสกูตเตอร์) มีโอกาสเป็ นอันตรายถึงชีวติ มากกว่า ขอ้ แตกต่างของนโยบายบังคับใช้กฎหมายจราจรที่อธิบายข ้างต้น เป็ น ผลลัพธ์ทางอ้อมทีเ่ กิดขึ้นจากมาตรการภาษีทแ่ี ตกต่างกันระหว่างอิตาลีและสหรัฐฯ ทัง้ ภาษีนำ�้ มันเชื้อเพลิงและภาษียานพาหนะมีอตั ราสูงมากในอิตาลี ตามทีไ่ ด้อธิบาย ไปแล ้วว่า ท�ำไมจึงมีการใช้รถจักรยานสองล ้อและรถจักรยานยนต์สกูตเตอร์กนั มากในกรุงโรม และมากกว่าในนิวยอร์กเสียอีก นี่จงึ เป็ นเหตุผลว่า ท�ำไมจึงมีการ บังคับใช้กฎหมายห ้ามการเดินข ้ามถนนอย่างสะเปะสะปะเข ้มข ้นกว่าในสหรัฐฯ บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

217

ตัวอย่างต่อไป เป็ นเรื่องน่าสนใจทีส่ นิ ค้าทีค่ ล ้ายกัน เมือ่ วางขายในแต่ละ ประเทศ ท�ำไมจึงมีวธิ ใี ช้ทแ่ี ตกต่างกัน

เพราะเหตุใด แผ่ นดีวีดีท่ ีใช้ ในสหรั ฐฯ จึงแตกต่ างจากแผ่ นดีวีดีท่ ีใช้ ในสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ในขณะที่แผ่ นซีดีใช้ เหมือนกันทุก ประเทศทั่วโลก (กรณีศกึ ษาของ วาลารี บูเชรู ) ถา้ นักท่องเทีย่ วจากปารีสเดินทางมาเยีย่ มญาติทน่ี ิวยอร์ก และได้น�ำแผ่นดีวดี ที ่ี ซื้อจากปารีสมาฝากเป็ นของขวัญ จะพบว่าเครื่องเล่นดีวดี ขี องสหรัฐฯ ไม่สามารถ อ่านแผ่นดีวดี ที ่ซี ้ อื จากปารีสได้ ในท�ำนองเดียวกัน ถา้ ซื้อดีวดี ที ่นี ิวยอร์กและ น�ำกลับไปใช้ในปารีส เขาก็จะผิดหวังเช่นกันเมือ่ รูว้ ่าเครื่องเล่นดีวดี ขี องฝรัง่ เศส ไม่สามารถอ่านแผ่นดีวดี ขี องสหรัฐฯ ได้ แต่ถา้ เป็ นแผ่นซีดี ปัญหาทีก่ ล่าวถึงจะ ไม่เกิดขึ้น แผ่นซีดที ซ่ี ้อื ขายในท ้องตลาดทัวโลกสามารถอ่ ่ านได้โดยเครื่องเล่นซีดี ทีข่ ายอยู่ทวโลก ั ่ เพราะเหตุใด ผู ้ผลิตแผ่นดีวดี ีจงึ ฟอร์แมตแตกต่างกันในประเทศ ต่างๆ ค�ำตอบจากการศึกษาข ้อเท็จจริงพบว่า สินค้าทีผ่ ลิตจ�ำหน่ายในเชิงธุรกิจ โดยบริษทั ผู ้ผลิตภาพยนตร์มสี องชนิด ได้แก่ ฟิ ลม์ ภาพยนตร์และแผ่นดีวดี ี ใน ขณะทีบ่ ริษทั หรือหอ้ งอัดเพลงจะผลิตจ�ำหน่ายสินค้าเดียวคือ แผ่นซีดี ซึง่ สินค้า ทัง้ สองรายการมีลกั ษณะทีค่ ลา้ ยคลึงกันประการหนึ่งคือ ต้นทุนการผลิตสินค้า เพิม่ ต่อหน่วยเพือ่ ขายหรือให ้บริการกับลูกค้าเพิม่ อีกหนึ่งรายมีค่าต�ำ่ มาก เหมือน กับกรณีภาพยนตร์หลายเรื่องทีเ่ ข ้าฉาย ซึง่ ส�ำหรับภาพยนตร์บางเรื่องในโรงจะต้อง มีทน่ี งั ่ ว่างซึง่ ต้นทุนเพิม่ เพือ่ บริการผู ้เข ้าชมเพิม่ ขึ้นอีก 1 คนนัน้ เกือบจะไม่มหี รือมี ค่าต�ำ่ มาก ในท�ำนองเดียวกัน เมือ่ มีการผลิตแผ่นดีวดี หี นังหรือแผ่นซีดเี พลง หาก ผลิตเพิม่ ขึ้นอีกแผ่นหนึ่งจะมีตน้ ทุนทีต่ ำ� ่ มาก การทีบ่ ริษทั ผลิตภาพยนตร์มสี นิ ค้า สองชนิดทีต่ อ้ งจ�ำหน่ายคือ ฟิ ลม์ ภาพยนตร์และแผ่นดีวดี ี จึงเป็ นมูลเหตุจูงใจให ้ ต้องใช้กลยุทธ์การตลาดเฉพาะ

218

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เป้ าหมายของผู ้ขายสินค้าหรือบริการทุกคนคือ ต้องการให ้ลูกค้าซื้อสินค้า หรือบริการของตนมากทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะเป็ นไปได้ และวิธกี ารทีจ่ ะบรรลุเป้ าหมายก็ตอ้ งมี ส่วนลดภายใต้เงือ่ นไขทีล่ ูกค้าเต็มใจกระโดดข ้ามสิง่ กีดขวางอันเป็ นอุปสรรคทีผ่ ู ้ขาย สร้างขึ้นก่อน ดังทีอ่ ธิบายแล ้วในบททีผ่ า่ นมา ส�ำหรับธุรกิจภาพยนตร์ สิง่ กีดขวางทีม่ ี ประสิทธิภาพคือ การก�ำหนดราคาตัวดู ๋ ภาพยนตร์ให้สูง แต่ขายแผ่นดีวดี ภี าพยนตร์ ทีป่ ล่อยออกสู่ตลาดภายหลังในราคาต�ำ่ ดังนัน้ ครอบครัวทีม่ สี มาชิก 4 คน อาจ ต้องจ่ายค่าตัวส�ำหรั ๋ บภาพยนตร์ใหม่เรื่องหนึ่งทีเ่ พิง่ เข ้าฉาย สมมติวา่ รวมเป็ นเงิน 20 ปอนด์ แต่ถ ้ายอมรออีกระยะหนึ่งก็สามารถเช่าดีวดี ใี นราคาเพียง 2 ปอนด์มา ดูทบ่ี ้าน การปล่อยแผ่นดีวดี อี อกสู่ตลาดในเวลาเดียวกันกับการน�ำภาพยนตร์เข ้า ลงโรงฉาย จึงมีผลทางลบต่อยอดการจ�ำหน่ายตัวในโรงที ๋ ก่ �ำหนดราคาเอาไว ้แพง บริษทั ผลิตภาพยนตร์จงึ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพือ่ น�ำภาพยนตร์ลงโรง ในเวลาแตกต่างกันในแต่ละประเทศทัวโลก ่ เพือ่ ให ้ดารานักแสดงมีโอกาสท�ำการ ประชาสัมพันธ์ในประเทศต่างๆ ก่อนจะเริ่มฉายจริงในประเทศนัน้ ๆ เช่น อาจ ก�ำหนดการฉายในสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ยุโรปในเดือนกุมภาพันธ์ และเอเชีย ในเดือนมิถนุ ายน ฯลฯ ดังนัน้ หากแผ่นดีวดี ใี ช้วธิ กี ารฟอร์แมตแบบเดียวกันทัว่ โลก และหากปล่อยสินค้าออกสูต่ ลาดในสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมตามแผนทีว่ างไว ้ ผูบ้ ริโภคในยุโรปหรือในญี่ป่ นุ สามารถหาเช่าแผ่นดีวดี มี าดูได้จากร้านเช่าซึง่ สังซื ่ ้อ ผ่านทาง amazon.com ท�ำให้สามารถดูภาพยนตร์ในเวลาเดียวกับผู ้ดูในโรงโดยที่ ไม่ตอ้ งจ่ายค่าตัวที ๋ แ่ พงกว่า ดังนัน้ จึงเป็ นมูลเหตุให ้ต้องมีการก�ำหนดวิธฟี อร์แมต ดีวดี ใี ห ้แตกต่างกันในประเทศต่างๆ ทัวโลก ่ เพือ่ ป้ องกันปัญหาดังทีก่ ล่าวมา เมือ่ พิจารณาอย่างผิวเผินแล ้วเหมือนว่าบริษทั ผลิตซีดเี พลงต่างๆ น่าจะมี สิง่ จูงใจเดียวกัน การก�ำหนดวันเวลาล่วงหน้าเพือ่ ปล่อยแผ่นเพลงออกสู่ตลาดใน ประเทศต่างๆ ทัวโลก ่ จะช่วยให้นักดนตรีสามารถเดินทางไปเปิ ดการแสดงพร้อมๆ กับการประชาสัมพันธ์การขายได้ อย่างไรก็ตาม ขณะทีบ่ ริษทั ผลิตภาพยนตร์มรี าย ได้สองทางทัง้ จากการขายลิขสิทธิ์ฟิลม์ ให้โรงหนัง และการขายแผ่นดีวดี ี แต่บริษทั

บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

219

บันทึกเสียงเพลงภายใต้ช่อื การค้ามีรายได้ทางเดียวจากการจ�ำหน่ายแผ่นซีดเี พลง เท่านัน้ เมือ่ วงดนตรีไปเปิ ดการแสดงคอนเสิรต์ ทีป่ ระเทศใดก็ตาม รายได้ทงั้ หมด จะตกเป็ นของวงดนตรีเท่านัน้ มิได้เป็ นรายได้ของบริษทั ผู ้บันทึกเสียงลงแผ่นซีดี ด้วยเหตุน้ ีบริษทั ผูผ้ ลิตแผ่นซีดเี พลงจะได้ผลประโยชน์นอ้ ยมากจากการป้ องกัน ไม่ให ้แผ่นซีดเี พลงของตนเล่นได้อย่างเสรีในประเทศต่างๆ ทัวโลก ่ ข้อแตกต่างส�ำหรับพฤติกรรมบางด้าน ทีส่ งั เกตเห็นมิได้เป็ นผลสืบเนื่องมา จากความแตกต่างของรายได้ ราคา หรือนโยบายเศรษฐกิจทีแ่ ตกต่างกันในแต่ละ ประเทศ แต่เป็ นผลสืบเนื่องมาจากมูลเหตุจูงใจ ซึง่ เกิดขึ้นจากความต่างในประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ดังจะอธิบายในกรณีศึกษาต่อไป

เพราะเหตุใด คู่บ่าวสาวชาวญี่ปนจึ ุ่ งมีค่าใช้ จ่ายในงานแต่ งงานมากกว่ า คู่บ่าวสาวชาวตะวันตก (กรณีศกึ ษาของ สึโตมุ อิโตะ) คู่บา่ วสาวชาวญี่ป่ นุ โดยเฉลีย่ ใช้จ่ายเงินในงานแต่งงานมากเป็ นสองเท่าของคู่บา่ ว สาวทีอ่ ยู่ในประเทศแถบตะวันตก แม ้ว่าค่าใช้จ่ายต่อหัว (แขกทีม่ าในงาน) ของ การจัดงานแต่งงานในญี่ป่ นุ จะแพงกว่าก็ตาม แต่สาเหตุหลักทีท่ �ำใหม้ คี ่าใช้จ่าย แตกต่างกันมาก เกิดจากการเชิญแขกมาร่วมงานเป็ นจ�ำนวนมาก เพราะเหตุใด งานแต่งงานของชาวญีป่ ่ ุนจึงใหญ่โตกว่ามาก เป็ นธรรมเนียมปฏิบตั กิ นั ปกติของคู่บา่ วสาวชาวญี่ป่ นุ ทัวไปที ่ จ่ ะเชิญแขก มาร่วมงานเลี้ยงฉลองพิธมี งคลสมรสของตัวเองจากหลากหลายกลุม่ อาชีพ เช่น เพือ่ นร่วมรุ่นเรียนหนังสือ เพือ่ นร่วมทีท่ �ำงานเดียวกัน ลูกน้อง นายจ้าง ญาติ พีน่ อ้ ง และเพือ่ นบ ้านทีอ่ ยู่ในชุมชนเดียวกัน นอกจากนี้ นักการเมืองท ้องถิน่ มักได้ รับเชิญให้มาร่วมงานด้วย แม ้อาจไม่เคยรูจ้ กั กับคู่บา่ วสาวเป็ นส่วนตัว จ�ำนวนแขก ทีไ่ ด้รบั เชิญมาร่วมงานอาจสูงระหว่าง 300 ถึง 500 คน แม ้คู่บา่ วสาวจะมีรายได้ ระดับปานกลางก็ตาม

220

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

งานฉลองการแต่งงานอย่างใหญ่โต : การลงทุนกับโครงข่ายทางสังคมและธุรกิ จ SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

การทีค่ ู่บา่ วสาวชาวญีป่ ่ นุ เหวีย่ งแหขนาดใหญ่โดยเชิญคนมาร่วมงานจ�ำนวน มากเช่นนัน้ ส่วนหนึ่งเป็ นผลมาจากประเพณีและวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวติ ใน สังคม จะต้องพึง่ พาอาศัยโครงข่ายทางสังคมและธุรกิจแบบไม่เป็ นทางการ การ สร้างความปรองดองกับผูอ้ ่นื เป็ นธรรมเนียมทีบ่ คุ คลจะต้องปฏิบตั แิ ละรักษาไว ้ เพือ่ ให ้ตัวเองอยู่ได้ในสังคม ในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการไม่เชิญแขกมาใน งานแต่งงาน ซึง่ อาจเป็ นความคาดหวังของแขกทีว่ ่าตัวเองจะต้องได้รบั เชิญ ก็จะ เสีย่ งกับความบาดหมางระหว่างกัน ดังนัน้ การจัดงานเลี้ยงฉลองการแต่งงานของ คู่บา่ วสาวชาวญีป่ ่ นุ โดยเชิญแขกจ�ำนวนมาก จึงมองได้วา่ เป็ นการลงทุนเพือ่ รักษา โครงข่ายทางสังคมและธุรกิจทีส่ �ำคัญไว ้ โครงข่ายดังกล่าวพบว่าเกิดขึ้นในประเทศ ซีกโลกตะวันตกเช่นกัน แต่มกี ารให ้ความส�ำคัญน้อยกว่าในญีป่ ่ นุ มาก บทที่ 8 นักธรรมชาติเศรษฐกิจบนท้องถนน

221

9

มาก่อนได้ก่อน : จิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์



ม ้ว่านักเศรษฐศาสตร์มกั มีข ้อสมมติวา่ ผู ้ผลิตและผู ้บริโภคเป็ นผู ้ทีม่ เี หตุมผี ล และเห็นแก่ตวั แต่จากพฤติกรรมทีเ่ ห็นบ่อยครัง้ ในการตัดสินใจของบุคคล เหล่านี้ เริ่มเป็ นทีค่ ลางแคลงในความเป็ นจริงจากข ้อสมมติน้ ี ตัวอย่างเช่น เรายัง คงใหค้ ่าทิปกับพนักงานเสิรฟ์ ในภัตตาคารทีเ่ ราไม่คดิ ว่าจะไปอีก และบ่อยครัง้ ที่ การตัดสินใจของเราจะได้รบั อิทธิพลจากข ้อมูลทีไ่ ม่มคี วามเกี่ยวพันกัน นักจิตวิทยาชาวอิสราเอลสองท่านคือ แดเนียล คาห์นีแมน และ เอมอส เวอร์สกีย ์ เป็ นผูร้ เิ ริ่มการศึกษาวิจยั วิชาทีว่ ่าด้วย เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมของ มนุษย์ (Behavioral Economics) ในงานทดลองหนึ่ง พวกเขาได้ให ้นักศึกษา ระดับปริญญาตรีท่เี ป็ นกลุ่มตัวอย่างท�ำการประมาณการค่ าสัดส่วนของจ�ำนวน ประเทศในทวีปแอฟริกาทีเ่ ป็ นสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ นักศึกษาจ�ำนวน มากไม่รูค้ �ำตอบ แต่ตอ้ งหาค�ำตอบส่งอาจารย์ จุดหักเหของงานทดลองนี้อยู่ตรง ทีก่ ่อนเหล่านักศึกษาจะถูกตัง้ ค�ำถามให ้ตอบ นักศึกษาทุกคนถูกสังให ่ ้ไปหมุนหา ตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 100 จากเครื่องหมุนทีจ่ ดั ไว ้ ซึง่ จะให ้ตัวเลขสุ่ม 1 หมายเลข แน่นอนว่า ทุกคนเข ้าใจดีวา่ ตัวเลขทีต่ นได้ไม่มอี ะไรเกี่ยวข ้องกับค�ำตอบทีต่ อ้ งส่ง อาจารย์ อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองพบว่า นักศึกษาทีห่ มุนได้ตวั เลขตัง้ แต่ 10 ลง มา ส่งค�ำตอบว่าค่าประมาณการสัดส่วนของประเทศในทวีปแอฟริกาทีเ่ ป็ นสมาชิก

บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

223

อยู่ในองค์การสหประชาชาติเฉลีย่ เท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะทีน่ กั ศึกษาทีห่ มุน ได้ตวั เลขตัง้ แต่ 65 ขึ้นไป ส่งค�ำตอบอาจารย์ให้ว่า ค่าประมาณการสัดส่วนดังกล่าว เฉลีย่ เท่ากับ 45 เปอร์เซ็นต์ วิชาทีว่ ่าด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ส่วนใหญ่จะเน้นเกี่ยวกับประเด็น ความผิดพลาดทางเชาวน์ปญ ั ญาประเภทนี้ ดังจะแสดงในสองสามกรณีตวั อย่าง ต่อไป ซึง่ พบว่าบางครัง้ มนุษย์ตอ้ งอาศัยข ้อมูลผิดๆ ในการตัดสินใจ แล ้วบางครัง้ ก็สรุปด้วยความเข ้าใจผิดไปจากข ้อมูลทีถ่ กู ต้อง

เพราะเหตุใด คนจึงเข้ าใจว่ ามหาวิทยาลัยคอร์ เนลล์ มนี ักศึกษาฆ่ าตัวตาย สูง ทัง้ ๆ ที่โดยข้ อเท็จจริงมีอตั ราต�่ำกว่ าอัตราเฉลี่ยของมหาวิทยาลัยทัง้ ประเทศ (กรณีศกึ ษาของ เจสัน แทกเลอร์ ) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มนี กั ศึกษาฆ่าตัวตายคิดเป็ นอัตรา 4.3 ต่อนักศึกษาทุกๆ 1 แสนคน ซึง่ ต�ำ่ กว่าอัตราเฉลีย่ ของมหาวิทยาลัยทัวประเทศ ่ แต่คนทัวไปเข ่ า้ ใจ มายาวนานว่าเป็ นมหาวิทยาลัยทีม่ นี กั ศึกษาฆ่าตัวตายสูงผิดปกติ แล ้วปัจจัยใด ก่อให ้เกิดความเข ้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นเช่นนี้ คาห์นแี มน และ เอมอส เวอร์สกีย ์ กล่าวว่า มนุษย์จะใช้ผลจากการลองผิด ลองถูกจากประสบการณ์ทผ่ี ่านมา ซึง่ ไม่ได้อาศัยข ้อมูลความรูพ้ ้นื ฐานทางวิชาการ ใดๆ มาคาดเดาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในโลก ตัวอย่างเช่น เมือ่ มนุษย์ตอ้ งการ คาดคะเนโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เขาจะคาดเดาโดยอาศัย ความรูจ้ ากประสบการณ์ทผ่ี ่านมา และเลือกเอาเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นบ่อยจนจ�ำได้ ง่าย กล่าวโดยสรุป ความรูจ้ ากประสบการณ์ทผ่ี ่านมาทีม่ อี ยู่ในตัวมนุษย์เป็ นวิธี การทีใ่ ช้ได้ดพี อควรในการคาดคะเนเหตุการณ์และปัญหา เนื่องจากเป็ นการง่าย ทีจ่ ะดึงเอาเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นบ่อยครัง้ จนจ�ำได้ข้นึ มาใช้ แต่ ความถี่ของการเกิดไม่ใช่ สาเหตุเดียวที่ท �ำใหเ้ ราจดจ�ำเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งได้ อีกหนึ่งสาเหตุส �ำคัญทีใ่ ช้เป็ นข ้ออธิบายว่าท�ำไมผูค้ นส่วนใหญ่ จึงเขา้ ใจผิด และประเมินสถานการณ์ผดิ พลาดเกินจริงเกี่ยวกับอัตราการฆ่า

224

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ตัวตายของนักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ นัน่ คือ ขอ้ มูลทีช่ ้ ใี หเ้ ห็นว่าการฆ่า ตัวตายของนักศึกษามหาวิทยาลัยอืน่ ๆ ใช้วธิ กี ารทีป่ กติ เช่น การกินยานอนหลับ เกินขนาด เป็ นต้น แต่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ตงั้ บนทีส่ ูง ขนาบข ้างด้วยช่องแคบลึก และปกคลุม ด้วยธารน�ำ้ แข็งบนเขา นักศึกษาใช้วธิ กี ารฆ่าตัวตายโดยการกระโดดจากสะพานที่ เชือ่ มช่องเขาลึกเหล่านี้ หลังการเกิดเหตุการณ์น้ ขี ้นึ การจราจรบนสะพานจะติดขัด นานนับชัว่ โมง เพือ่ คอยให ้ทีมเจ้าหน้าทีล่ งไปในช่องหุบเขาน�ำร่างนักศึกษาขึ้นมา ด้วยเหตุน้ ีเอง เมือ่ ไรก็ตามที่มกี ารสอบถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของ นักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ว่ามีอตั ราสูงหรือไม่ ทุกคนมีแนวโน้มจะตอบว่า ใช่ เนื่องจากเป็ นการง่ายทีจ่ ะเรียกคืนความจ�ำในสมองออกมาได้ทนั ที ส่วนกรณี ฆ่าตัวตายโดยกินยานอนหลับเกินขนาดนัน้ ถ ้าผู ้ตายมิใช่ญาติหรือคนทีร่ ูจ้ กั แล ้ว คนส่วนใหญ่จะไม่จดจ�ำกรณีน้ ีไว ้ในสมองมากนัก

เพราะเหตุใด เจ้ าหน้ าที่ฝ่ายขายโครงการบ้ านจัดสรร จึงชอบโชว์ บ้าน สองหลังที่เกือบจะเหมือนกันให้ ลูกค้ าชม แต่ จะมีบ้านหลังหนึ่งที่ทงั ้ ถูกกว่ าและมีสภาพที่ดกี ว่ าบ้ านอีกหลังหนึ่ง ผู ้ซื้อบ ้านรายหนึ่งก�ำลังมีปญ ั หาเกีย่ วกับการตัดสินใจเลือกซื้อบ ้านว่าจะซื้อหลังใด ดี ระหว่างบ ้านสองหลังทีม่ ใี ห ้เลือก โดยบ ้านหลังแรก แบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์ สภาพดีมากจนไม่มที ต่ี ิ เสนอขายในราคา 300,000 ปอนด์ บ ้านหลังทีส่ องเป็ น ทาวน์เฮาส์ทนั สมัยแบบวิกตอเรียน ราคาเสนอขาย 280,000 ปอนด์ ผู ้ซื้อเอนเอียง ไปในทางชอบบ ้านแบบทาวน์เฮาส์ ต่อมาเจ้าหน้าทีฝ่ ่ ายขายของโครงการนัดให ้เขา ไปดูบ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์อกี หลังหนึ่ง บ ้านหลังนี้มสี ภาพด้อยกว่าหลัง แรกเล็กน้อย แต่เสนอขายในราคาแพงกว่าคือ 320,000 ปอนด์ ระหว่างทางขับรถกลับ จากการดูบ ้านด้วยกัน ผู ้ซื้อแสดงความต้องการซื้อบ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์ หลังแรก แล ้วอะไรเป็ นมูลเหตุให้เจ้าหน้าทีฝ่ ่ ายขายของโครงการคิดว่าน่าจะเป็ นการ ดีหากได้โชว์บ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์หลังทีส่ องให ้เขาดู บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

225

ละครฉากนี้ปลุกให้หวนคิดถึงเรือ่ งราวของชายคนหนึ่ง ทีถ่ ามพนักงานเสิรฟ์ หญิงในภัตตาคารแห่งหนึ่งว่ามีแซนด์วชิ ชนิดใดบ ้างในเมนู เธอตอบว่า “เรามีสลัด ไก่และเนื้อวัวย่าง” และเมือ่ ชายผู ้นัน้ สังเนื ่ ้ อวัวย่าง เธอพูดเสริมขึ้นว่า “ดิฉนั ลืมบอก ไปว่า เรามีทูน่าด้วย” ซึง่ ชายผู ้นัน้ ตอบกลับไปว่า “ถ ้าอย่างงัน้ ผมขอสังสลั ่ ดไก่” ด้วยการเปลีย่ นรายการอาหารทีส่ งั ่ ชายผูน้ ้ ีได้ละเมิดสัจธรรมแห่งทฤษฎี ว่าด้วยทางเลือกทีม่ เี หตุผล ซึง่ กล่าวไว ้ว่า “การเพิม่ ทางเลือกทีด่ อ้ ยกว่าในบัญชี รายการทางเลือกทีม่ อี ยู่ ไม่ควรมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงทางเลือกทีไ่ ด้เลือกไว ้ แล ้ว” ในกรณีน้ ี การตัดสินใจครัง้ แรกของชายผู ้นัน้ ได้เลือกสังเนื ่ ้ อวัวย่าง ซึง่ ชี้ให ้ เห็นว่าเขาชอบเนื้อวัวย่างมากกว่าสลัดไก่ ความชอบนี้จงึ ไม่ควรเปลีย่ นแปลงจาก การเพิม่ รายการทูน่าเข ้าไปในบัญชีรายการทางเลือก อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาอย่าง อิตามาร์ ไซมอนสัน และ อะมอส เวอร์สกาย ได้แสดงให้เห็นว่า การเปลีย่ นความชอบหรือความพึงพอใจดังกล่าวเป็ นเรือ่ งธรรมดา ทีเ่ กิดขึ้นได้ สิง่ ทีด่ ูเหมือนก�ำลังเกิดขึ้นก็คอื ผู ้คนมีความยากล�ำบากในการตัดสิน ใจเลือกระหว่างสองทางเลือกซึง่ ยากทีจ่ ะเปรียบเทียบกัน เพราะแต่ละทางเลือกต่าง ก็มลี กั ษณะดีบางประการอยู่ในตัว ซึง่ ถา้ หากเลือกทางใดแล ้ว ก็กลัวว่าจะเสียใจใน ภายหลังทีไ่ ม่ได้เลือกอีกทาง ในสถานการณ์ดงั กล่าวนี้ อิตามาร์ ไซมอนสัน และ เอมอส เวอร์สกีย ์ ให ้เหตุผลว่า การแนะน�ำทางเลือกใหม่ทด่ี ูเหมือนไม่น่าเกี่ยวกัน จะสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจได้มาก ลูกค้าผูส้ นใจซื้อบ ้านไม่สามารถตัดสินใจเลือกระหว่างบ ้านหลังแรกแบบ เอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์และทาวน์เฮาส์แบบวิกตอเรียน แต่ต่อมาเขาไม่มคี วาม ยากล�ำบากในการตัดสินใจเลย เมือ่ เปรียบเทียบระหว่างบ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียน ฟาร์มเฮาส์หลังแรกกับหลังทีส่ อง เป็ นเพราะบ ้านหลังทีส่ องด้อยกว่าทัง้ ด้านคุณภาพ และราคา ชัยชนะอย่างง่ายดายของบ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์หลังแรกได้แผ่ บารมีไปถึงการเปรียบเทียบกับบ ้านทาวน์เฮาส์แบบวิกตอเรียนทีเ่ ขาชอบมากกว่า ตัง้ แต่แรกแล ้ว

226

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ถา้ ว่ากันตามทฤษฎีทางเลือกทีม่ เี หตุมผี ลทีร่ ำ� ่ เรียนกันมา การใหผ้ ูส้ นใจ ซื้อบ ้านกลับไปดูบ ้านแบบเอ็ดวาร์เดียนฟาร์มเฮาส์หลังทีส่ อง ถือว่าเป็ นเรื่องทีไ่ ร้ ประโยชน์และเสียเวลาเปล่าอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบตั ิ บ่อยครัง้ พบ ว่ากลยุทธ์ดงั กล่าวมีประสิทธิภาพมากทีเดียว

เพราะเหตุใด เจ้ าของแบรนด์ เนมดังอย่ างวิกตอเรี ยซีเคร็ต เสนอขาย เสือ้ ยกทรงผู้หญิงประดับเพชรมูลค่ าหลายล้ านดอลลาร์ ทัง้ ที่ไม่ น่าจะ มีผ้ ูใดซือ้ (กรณีศกึ ษาของ สเตฟานี เวนสตรั ป) ในช่วงทศวรรษทีผ่ ่านมา วิกตอเรียซีเคร็ตซึง่ เป็ นบริษทั ชุดชัน้ ในของผู ้หญิงชื่อดัง ของสหรัฐฯ ได้น�ำสินค้าทีเ่ ป็ นของขวัญราคาแพงเป็ นพิเศษแสดงในแค็ตตาล็อก สินค้าส�ำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาสเป็ นประจ�ำทุกปี โครงการนี้เริ่มมาตัง้ แต่ปี 1996 ซึง่ ในปี นนั้ ได้ คลอเดีย ชิฟเฟอร์ มาเป็ นนางแบบใส่เสื้อยกทรงมหัศจรรย์ ประดับเพชรเม็ดงามจ�ำนวนมากมูลค่าหนึ่งล ้านดอลลาร์ ปี ต่อมา ไทรา แบงก์ ก็ เดินทางด้วยรถหุมเกราะมายั ้ งศูนย์แสดงอัญมณีของเฮร์ร่ี วินสตัน บนฟิ ฟท์เอเวนิว กลางนิวยอร์ก เพือ่ แสดงของขวัญคริสต์มาสชิ้นพิเศษประจ�ำปี 1997 จากแบรนด์ วิกตอเรียซีเคร็ต นัน่ คือ เสื้อยกทรงประดับแซปไฟร์และเพชรมูลค่า 3 ล ้านดอลลาร์ แล ้วล่าสุดเมือ่ ปี 2006 เสื้อยกทรงประดับเพชรหรูรุ่น Heart On Fire มูลค่า 6.5 ล ้านดอลลาร์ ถูกแสดงแบบโดย คาโรลินา เคอร์โควา ทัง้ ๆ ทีท่ ผ่ี ่านมายังไม่มใี คร เคยซื้อเสื้อยกทรงราคาแพงเหล่านี้เลยสักตัว แต่ทำ� ไมวิกตอเรียซีเคร็ต จึงยังคง เสนอขายสินค้าดังกล่าวอย่างต่อเนือ่ ง บริษทั คงไม่เคยหวังจะขายเสื้อยกทรงเหล่านี้ได้อยู่แล ้ว แต่ทย่ี งั คงเสนอ ขายอยู่ก็เพือ่ เป็ นกลยุทธ์ทางการตลาดเพือ่ มุ่งหวังกระตุน้ การขายสินค้าตัวอื่นๆ ของบริษทั เพราะการโฆษณาเสื้อยกทรงประดับเพชรยังคงได้รบั ความสนใจจาก สือ่ มวลชนมากมายอย่างต่อเนื่อง โดยสือ่ ช่วยกันประโคมข่าวเพือ่ สร้างแบรนด์ของ บริษทั ให ้เป็ นทีร่ ูจ้ กั ต่อสาธารณะมากขึ้นไปอีก บริษทั คงรับรูถ้ งึ ผลดีข ้อนี้จงึ ยังคง กระท�ำเหมือนเดิมทุกปี แต่ได้เพิม่ ความวิจติ รพิสดารของตัวสินค้ามากขึ้น ดังจะ บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

227

เห็นได้จากการทีบ่ ริษทั แสดงแบบเสื้อยกทรงประดับเพชรตัวใหม่ใหอ้ ลังการกว่า เดิมเพือ่ ดึงดูดความสนใจให ้เพิม่ ขึ้น แม ้จะขายสินค้าราคาแพงเหล่านี้ไม่ได้กไ็ ม่มี อะไรเสียหายมากนัก เพราะสามารถน�ำเพชรและอัญมณีอน่ื ๆ มาหมุนเวียนใช้ได้ ในปี ต่อๆ ไปได้

เสือ้ ยกทรงแฟนตาซี ประดับเพชรรุ่น Hearts On Fire มูลค่า 6.5 ล้านดอลลาร์ เป็ นสิ นค้าประจ� ำปี 2006 ของวิ กตอเรี ยซี เคร็ ต SS

ภาพจาก : Hearts On Fire

นักเศรษฐศาสตร์อาจมองข ้ามประโยชน์อน่ื ทีเ่ ป็ นผลพลอยได้จากกลยุทธ์ การเสนอขายเสื้อยกทรงประดับเพชรราคานับล ้านของวิกตอเรียซีเคร็ต นัน่ คือ การเปลีย่ นแนวคิดเกี่ยวกับการก�ำหนดค่าใช้จ่ายทีเ่ หมาะสมส�ำหรับซื้อของขวัญ วันคริสต์มาส โดยการปลูกฝังความคิดว่า คนอืน่ ยอมจ่ายเป็ นล ้านเพือ่ ซื้อของขวัญ วันคริสต์มาสให้คนทีต่ นรัก ท�ำให ้วิกตอเรียซีเคร็ตพยายามให้คนทัวไปรู ่ ส้ กึ ว่าการ ซื้อของขวัญด้วยเงินเพียงร้อยดอลลาร์นนั้ ดูมเี หตุผลว่าน่าจะท�ำได้ ลองนึกถึงสามีท่ี

228

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ร้อนรนคนหนึ่งทีเ่ พิง่ ได้เห็นโฆษณาเสื้อยกทรงประดับเพชรราคา 6.5 ลา้ นดอลลาร์ ก็อาจรีบยืน่ เงินให ้ภรรยา 298 ดอลลาร์ทนั ทีให ้ซื้อสินค้าอืน่ ๆ ของบริษทั

เพราะเหตุใด ไอศกรี มบางแบรนด์ ขายในกล่ องบรรจุขนาดเล็ก 500 มิลลิลิตรเท่ านัน้ ในขณะที่บางแบรนด์ ขายในกล่ องบรรจุขนาด 2 ลิตร (กรณีศกึ ษาของ แพตตี คูนต์ และ โมนิกา เดไวน์ ) ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งจ�ำหน่ายไอศกรีมหลากหลายแบรนด์และหลายรสชาติ แต่ปญ ั หาของนักกินไอศกรีมที่เป็ นแฟนประจ�ำของแบรนด์หนึ่งแบรนด์ใดคือ ไม่สามารถหาซื้อในขนาดบรรจุทต่ี นต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ไอศกรีมวอลล์ท่ี มีหลากหลายรสชาติให ้เลือก แต่ขายในขนาดกล่องบรรจุ 2 ลิตร หรือไอศกรีม แบรนด์เบนแอนด์เจอร์ร่ที ม่ี หี ลากหลายรสชาติใหเ้ ลือกเช่นกัน แต่ขายในขนาด กล่องบรรจุ 500 มิลลิลติ รเท่านัน้ ท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ ไอศกรีมเบนแอนด์เจอร์ร่เี ป็ นทีร่ ูจ้ กั และยอมรับกันอย่างกว ้างขวางว่าเป็ น ไอศกรีมชัน้ ดี เพราะผลิตโดยใช้วตั ถุดบิ คุณภาพสูงเป็ นส่วนประกอบ และมีกรรมวิธี การผลิตทีด่ ี ตลอดจนชื่อเสียงด้านการจัดการสิง่ แวดล ้อมและทรัพยากรบุคคล ของโรงงาน เนื่องจากมีตน้ ทุนการผลิตทีส่ ูงกว่า ท�ำให ้ราคาจ�ำหน่ายของไอศกรีม เบนแอนด์เจอร์ร่แี พงกว่าไอศกรีมแบรนด์อน่ื ๆ ทัวไป ่ เช่น ไอศกรีมเบนแอนด์ เจอร์ร่รี สวานิลาขนาด 500 มิลลิลติ รขายในราคา 4.19 ปอนด์ หรือ 16.76 ปอนด์ ส�ำหรับขนาด 2 ลิตร ในขณะทีไ่ อศกรีมวอลล์ขนาด 2 ลิตร รสเดียวกันขายใน ราคาเพียง 1.65 ปอนด์ จากข ้อเท็จจริงพบว่า ผู ้บริโภคส่วนใหญ่มคี วามรูส้ กึ ตอบสนองไว ไม่เพียงแต่ ราคาต่อมิลลิลติ รเท่านัน้ แต่รวมถึงราคารวมของสินค้าด้วย เมือ่ เริ่มแรกทีไ่ อศกรีม คุณภาพดีเข ้าสู่ตลาดใหม่ๆ ผู ้บริโภคจะคุน้ เคยกับการซื้อไอศกรีมขนาด 2 ลิตรใน ราคาค่อนข ้างต�ำ่ และทุกคนก็ทราบดีวา่ ไอศกรีมเบนแอนด์เจอร์ร่มี รี สชาติดี อีกทัง้ แพงกว่าแบรนด์อน่ื ๆ แม ้กระนัน้ ก็ตาม เหล่าผู ้บริโภคอาจถึงกับช็อค ถ ้าเห็นป้ าย บอกราคา 15 ปอนด์ตดิ บนกล่องไอศกรีมเบนแอนด์เจอร์ร่ี ดังนัน้ การผลิตขายใน บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

229

ขนาดกล่องบรรจุ 500 มิลลิลติ รเท่านัน้ ท�ำให ้เบนแอนด์เจอร์ร่สี ามารถหลบหลีก ปัญหาโรคสะดุง้ จากราคาได้ทางหนึ่ง ใครทีต่ อ้ งการซื้อในปริมาณมากก็มที างเลือก ให ้อยู่แล ้ว โดยการซื้อหลายๆ กล่อง เพือ่ พยายามท�ำให้เรือ่ งยากกลายเป็ นเรือ่ งง่าย ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สามารถ ตัง้ ข ้อสมมติฐานว่า มนุษย์ทกุ คนมีความเห็นแก่ตวั แน่นอนว่าการเห็นแก่ตวั เอง เป็ นพลังจูงใจทีส่ �ำคัญก็จริง แต่ก็มพี ลังจูงใจอืน่ ทีผ่ ลักดันพฤติกรรมของมนุ ษย์ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การท�ำตามพลังความเห็นแก่ตวั ไม่สามารถอธิบายได้วา่ ท�ำไมคนจ�ำนวนมากจึงบริจาคเงินและทรัพย์สนิ ของตนให้องค์กรสาธารณะกุศลต่างๆ หรือการลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ ก็ตาม แนวคิด “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” บอก ให ้รูว้ า่ ถ ้าเราต้องการเข ้าใจจริงๆ เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ ของผู ้คนเหล่านัน้ เราต้องมีมมุ มองทีแ่ ตกต่างออกไปมากขึ้นเกี่ยวกับพลังกระตุน้ ของมนุษย์ ความตระหนักหรือรับผิดชอบทางจริยธรรมได้แสดงร่องรอยปรากฏให้เห็น ในการซื้อขาย จ�ำหน่ายจ่ายแจกสินค้า หรือบริการในตลาดเสมอ แม ้บ่อยครัง้ อาจ ไม่เป็ นไปในวิถที างทีค่ าดหวังเสมอไปก็ตาม

เพราะเหตุใด ห้ องพักของโรงแรมในเมืองที่เป็ นเจ้ าภาพจัดการแข่ งขัน ซูเปอร์ โบวล์ จึงเต็มตลอดช่ วงวันหยุดสุ ดสัปดาห์ ท่ ีจัดการแข่ งขัน (กรณีศกึ ษาของ ริชาร์ ด เทเลอร์ และ แฮร์ ร่ี ชาน) การแข่งขันชิงชนะเลิศอเมริกนั ฟุตบอลแมตช์ซูเปอร์โบวล์เป็ นเหตุการณ์ส �ำคัญทีไ่ ด้ รับความนิยมสูงสุดรายการหนึ่งในสหรัฐฯ ทีเ่ กิดขึ้นทุกปี ปัญหาทีเ่ กิดขึ้นทุกปี คอื ห ้องพักในโรงแรมของเมืองทีจ่ ดั การแข่งขันนัน้ เต็มทุกห ้องในคืนวันเสาร์ก่อนการ แข่งขันในวันอาทิตย์ เนื่องจากอุปสงค์ความต้องการห ้องพักมีสูง ผู ้คนจ�ำนวนมาก จึงต่างคาดการณ์วา่ ราคาค่าห้องพักของโรงแรมต้องสูงมากเป็ นพันดอลลาร์ส �ำหรับ คืนวันเสาร์ อย่างไรก็ดี ข ้อเท็จจริงพบว่าเกือบจะไม่มโี รงแรมใดเรียกเก็บค่าบริการ เกินกว่า 500 ดอลลาร์ต่อห ้อง ส่วนใหญ่จะเรียกเก็บต�ำ่ กว่าอัตราดังกล่าวด้วยซ�ำ้ ท�ำไมโรงแรมในเมืองทีเ่ ป็ นเจ้าภาพจึงไม่ข้นึ ราคาค่าห ้องพัก

230

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การไม่ข้นึ อัตราค่าห้องพักดูคล ้ายกับว่าเจ้าของโรงแรมจะสูญเสียโอกาสไป จากกรณี “การมีเงินวางคอยให้หยิบบนโต๊ะ” ทีอ่ ธิบายในบทก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม มีมลู เหตุจูงใจหลายประการทีอ่ าจใช้อธิบายค�ำตอบได้ดงั นี้ ประการแรก เป็ นไปได้ว่าความต้องการหอ้ งพักเพิม่ มากขึ้น โดยเจ้าของ โรงแรมอาจไม่ได้คาดฝันว่าจะเกิดขึ้น (คล ้ายๆ กับกรณีรถใหม่บางรุ่นทีถ่ กู จอง หมดในพริบตาทีอ่ อกโชว์) อย่างไรก็ตาม ค�ำตอบนี้ไม่น่าเป็ นไปได้ เพราะเจ้าของ โรงแรมน่าจะมีประสบการณ์คล ้ายคลึงกันเกิดขึ้นทุกปี ส�ำหรับความต้องการห ้อง พักสูงช่วงฤดูกาลแข่งขันซูเปอร์โบวล์ ยิง่ ไปกว่านัน้ การแข่งขันซูเปอร์โบวล์จะมี ขึ้นทุกปี และผู ้จัดการแข่งขันจะประกาศให ้รูล้ ว่ งหน้าเสมอ ประการที่สอง เป็ นไปได้ว่าโรงแรมอาจไม่ตอ้ งการสร้างศัตรูกบั ลูกค้า ด้วย การตัง้ ราคาสูงจนไม่เป็ นธรรม อาจมีผู ้สงสัยว่าท�ำไมโรงแรมจะต้องใส่ใจด้วย เพราะ ถ ้าลูกค้ารูส้ กึ ว่าราคาห ้องพักสูงเกินเหตุ เขาก็มที างเลือกทีจ่ ะไม่ใช้บริการก็ได้ ยิง่ เมือ่ คาดการณ์ถงึ เหตุการณ์ทม่ี แี ฟนอเมริกนั ฟุตบอลหงุดหงิดเพราะเข ้าคิวยาวเพือ่ คอยจองห ้องพัก โรงแรมมันใจได้ ่ เลยว่าสถานการณ์เช่นนี้สามารถขายห ้องพักได้ แม ้ว่าราคาห ้องพักทีล่ ูกค้าบางคนคิดว่าสูงจนไม่เป็ นธรรม อย่างไรก็ตาม การตัง้ ราคาห้องพักสูงตามภาวะอุปสงค์ทส่ี ูงในช่วงการแข่งขัน ซูเปอร์โบวล์นนั้ อาจเป็ นกลยุทธ์ทม่ี คี วามเสีย่ งเกินไป ผู ้บริโภคจ�ำนวนมากอาจยอม จ่ายโดยไม่เต็มใจเท่าใดนักกับค่าห้องราคาแพงตามภาวะตลาด แต่จะพกความรูส้ กึ ไม่พอใจทีถ่ กู เก็บค่าห้องพักแพงมาค้างคาใจตลอดไป ปฏิกริ ยิ าตอบกลับกับความ รูส้ กึ ทีไ่ ม่ดดี งั กล่าวจะมีความส�ำคัญต่อโรงแรมมาก โดยเฉพาะโรงแรมทีท่ �ำธุรกิจ แบบมีเครือข่ายลูกโซ่ ซึง่ ต้องขายหอ้ งพักไม่เฉพาะคืนวันเสาร์ก่อนซูเปอร์โบวล์ เท่านัน้ แต่ตอ้ งขายอีกเป็ นหลายร้อยวันหลายร้อยคืน และอาจเป็ นหลายร้อยเมือง ทัวโลกที ่ ม่ โี รงแรมตัวเองตัง้ อยู่ ลองจินตนาการดูว่า อะไรจะเกิดขึ้นหากมีลูกค้า คนหนึ่งรูส้ กึ ว่าตัวเองถูกโรงแรมฮิลตันต้มตุน๋ เมือ่ คราวไปใช้บริการในคืนวันเสาร์ ก่อนแข่งซูเปอร์โบวล์ทไ่ี มอามีของเดือนกุมภาพันธ์ทผ่ี ่านมา ก็มคี วามเป็ นไปได้สูง บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

231

ทีเ่ ขาจะไม่เลือกเข ้าพักในโรงแรมนี้อกี ต่อไปถ ้าต้องเดินทางมาท�ำธุรกิจบางอย่างที่ ซานฟรานซิสโก หรือเมืองใดก็ตามในเดือนมีนาคม การตัง้ ราคาสินค้าหรือบริการทีผ่ ดิ ไปจากการปฏิบตั กิ นั ปกติ ก็ใช้หลักการ และเหตุผลท�ำนองเดียวกับทีอ่ ธิบายมาแล ้ว ตัวอย่างเช่น ภัตตาคารหลายแห่งทราบ ดีวา่ จะมีลูกค้าแน่นในคืนวันเสาร์จนโต๊ะอาหารไม่พอใหบ้ ริการ แต่เขาก็จะไม่ข้นึ ราคาค่าอาหารในเมนู เป็ นเพราะเขากังวลว่าหากลูกค้ารูส้ กึ ถูกเอาเปรียบก็จะไม่ กลับมากินอีก อย่าลืมว่าภัตตาคารจะต้องขายอาหารทุกวัน

เพราะเหตุใด บริษัทเอกชนชัน้ น�ำหลายแห่ งใช้ บริการเจ้ าหน้ าที่รักษา ความปลอดภัยจากภายนอก บริษทั เอกชนทุกแห่งต้องตัดสินใจว่างานใดจะท�ำเอง และงานใดจะจ้างคนภายนอก ท�ำแทน จากบทที่ 3 ได้ยกกรณีการจ้างทีป่ รึกษาด้านการจัดการจากภายนอก ซึง่ ชี้ ให้เห็นว่า โดยทัวไปบริ ่ ษทั มีแนวโน้มใช้เจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำของบริษทั ทีม่ ลี กั ษณะเป็ น งานประจ�ำต่อเนื่อง และว่าจ้างคนท�ำงานจากภายนอกช่วยงานเป็ นครัง้ เป็ นคราว หรือเป็ นพักๆ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มทีพ่ บเกิดขึ้นตรงกันข ้ามเมือ่ ไม่ก่ปี ี ทผ่ี ่านมา คือ มีการจ้างพนักงานจากภายนอกทัง้ หมดมาท�ำงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในบริษทั ทัง้ ทีง่ านดังกล่าวมีลกั ษณะเป็ นงานประจ�ำ เพราะเหตุใด บริษทั จึงยอม เสียค่าโสหุยว่ ้ าจ้างบริษทั เอกชนภายนอกมาดูแลด้านการรักษาความปลอดภัย ซึง่ เป็ นงานประจ�ำทีต่ อ้ งท�ำทุกวัน ค�ำตอบหนึ่งทีเ่ ป็ นไปได้จากการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า พนักงานทีท่ �ำงาน ประจ�ำกับบริษทั ทีเ่ จริญรุ่งเรืองดี มักจะได้รบั เงินเดือนทีส่ ูงกว่าเกณฑ์เฉลีย่ ทัวไป ่ ดังนัน้ บริษทั ทีเ่ จริญรุ่งเรืองเหล่านี้จงึ อาจถูกต่อว่าได้วา่ ไม่ยุตธิ รรมถ ้าจ้างพนักงาน รักษาความปลอดภัยเองด้วยเงินเดือนทีต่ ำ� ่ และจัดสวัสดิการใหไ้ ม่ดพี อ ในขณะ ที่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนเดียวกันนี้ อาจเต็มใจรับงานด้วยเงือ่ นไข เงินเดือนและสวัสดิการเดียวกันกับบริษทั เอกชนอืน่ ทีม่ คี วามมันคงด้ ่ อยกว่าบริษทั

232

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

แรก ดังนัน้ อัตราค่าจ้าง 8 ปอนด์ต่อชัว่ โมง อาจดูยุตธิ รรมถ ้าผู ้ว่าจ้างคือบริษทั เอกชนจากภายนอกทีร่ บั งานด้านการรักษาความปลอดภัย แต่จะเป็ นอัตราจ้างทีด่ ู ไม่ยุตธิ รรมมาก ถ ้าผู ้ว่าจ้างคือบริษทั ธุรกิจขนาดใหญ่อย่าง IBM หรือกูเกิล เป็ นต้น

เพราะเหตุใด ผู้ซือ้ จึงคืนเงินให้ ร้านค้ าเมื่อแคชเชียร์ ทอนเงินเกินมา แต่ มักไม่ คดิ คืนสินค้ าที่แคชเชียร์ ลืมคิดเงิน (กรณีศกึ ษาของ แบรดลีย์ สแตนก์ ซัก) ในการตอบแบบสอบถามจากการส�ำรวจครัง้ หนึ่ง พบว่า ถ ้าแคชเชียร์ทอนเงินเกิน ให ้ลูกค้า 10 ปอนด์ ลูกค้าจะคืนเงินจ�ำนวนนัน้ ให ้แคชเชียร์ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่มี เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ทีต่ อบว่า จะคืนสินค้าเนื้อลูกแกะมูลค่า 10 ปอนด์ท่ี แคชเชียร์ลมื คิดเงินใหร้ า้ นค้า เพราะเหตุใด ผูค้ นจึงมีความซือ่ สัตย์ในกรณีแรก มากกว่าในกรณีหลัง ดังทีน่ กั ปราชญ์ได้กล่าวไว ้ว่า “พฤติกรรมความซือ่ สัตย์ของมนุ ษย์ได้รบั การกระตุน้ ใหต้ ระหนักถึง มิใช่เพียงเพราะกลัวการถูกลงโทษ เพราะยังมีความ รูส้ กึ รับผิดชอบทางศีลธรรม การเห็นอกเห็นใจ และความรูส้ กึ ผิด” ในกรณี น้ ี ลูกค้าสามารถเก็บทัง้ เงินทอนหรือสินค้าทีแ่ คชเชียร์ลมื คิดเงิน โดยไม่ตอ้ งกลัว การถูกลงโทษ แต่การกระท�ำทัง้ สองกรณีจะก่อให ้เกิดส่วนผสมของความรูส้ กึ ผิด ชอบชัว่ ดีแตกต่างกันไป ถา้ ลูกค้าเก็บเงินทอนไวไ้ ม่ยอมคืน เมือ่ ร้านค้าปิ ดท�ำการและแคชเชียร์ เคลียร์เงินทีข่ ายได้ในวันนัน้ เงินในบัญชีของร้านค้าจะขาดหายไป 10 ปอนด์ ซึง่ แคชเชียร์ตอ้ งรับผิดชอบควักเงินจากกระเป๋ าของตัวเองจ่ายคืนเจ้าของร้านไป เมือ่ ตระหนักได้วา่ แคชเชียร์เป็ นอาชีพทีม่ เี งินเดือนไม่มากอยู่แล ้ว กอปรกับความรูส้ กึ ผิดชอบชัวดี ่ ทต่ี นก�ำลังจะท�ำกับคนคนหนึ่งทีต่ อ้ งอุทศิ ส่วนหนึ่งของเงินค่าแรงประจ�ำ วันของตนคืนให ้เจ้าของร้านไปเพราะทอนเงินผิดพลาด เมือ่ คิดได้เช่นนี้แล ้ว คงมี ลูกค้าส่วนน้อยเท่านัน้ ทีจ่ ะเก็บเงินเอาไว ้เอง ลูกค้าส่วนใหญ่จะคืนเงินทีท่ อนผิดนัน้ คืนให ้แคชเชียร์ไป บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

233

แต่ถ ้าลูกค้าท�ำเป็ นลืมไม่คนื เนื้อลูกแกะมูลค่า 10 ปอนด์ทแ่ี คชเชียร์ลมื คิด เงิน ผลทีต่ ามมาจะกระทบเพียงผลก�ำไรตอนสิ้นปี ของร้านค้าทีจ่ ะลดลงไปเท่ากับ เงินจ�ำนวน 10 ปอนด์ ซึง่ คิดเป็ นสัดส่วนทีน่ อ้ ยมากเมือ่ เทียบกับยอดขายและเงิน ก�ำไรรวมประจ�ำปี อีกทัง้ ภาระความเสียหายนี้จะแบ่งเฉลีย่ กันไปส�ำหรับผู ้ถือหุนของ ้ ร้านค้านัน้ ซึง่ ลูกค้าก็ไม่เคยรูจ้ กั หรือเห็นหน้าค่าตามาก่อน หรืออาจจินตนาการว่า หุนส่ ้ วนเหล่านี้คงเป็ นคนร�ำ่ รวยอยู่แล ้วจึงไม่น่าจะเดือดร้อนอะไรกับเงินขาดไปแค่ 10 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม ไม่มที ฤษฎีทางศีลธรรมใดให ้นับข ้อสันนิษฐานดังกล่าว เป็ นเหตุผลสนับสนุนให้ลูกค้าเก็บเนื้อลูกแกะไว ้ในกรณีแคชเชียร์ลมื คิดเงิน อย่างไร ก็ตาม ความรูส้ กึ ผิดชอบทางศีลธรรมจะสนับสนุนพฤติกรรมให้ความซือ่ สัตย์ท �ำงาน ในกรณีทล่ี ูกค้าได้รบั เงินทอนเกิน มากกว่าในกรณีคนื สินค้าทีแ่ คชเชียร์ลมื คิดเงินไป ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เงินคือสิง่ ทีใ่ ช้ในการแลกเปลีย่ นสินค้าได้อย่าง สมบูรณ์ เนื่องจากน�ำไปใช้ได้ทกุ วัตถุประสงค์ตามทีผ่ ู ้ถือปรารถนา ฉะนัน้ รางวัล ตอบแทนเป็ นตัวเงินจึงถูกเชื่อกันว่าดีกว่ารางวัลตอบแทนในรูปอื่นๆ ทีม่ มี ลู ค่า เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม มีผู ้คนจ�ำนวนมากทีช่ อบรางวัลตอบแทนในรูปสิง่ ของ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้ช่วยใหพ้ วกเรามีความเขา้ ใจพฤติกรรมความชอบดัง กล่าวมากขึ้น โดยเน้นความสนใจไปทีป่ จั จัยต่างๆ ทีเ่ ป็ นตัวจ�ำกัดการใช้จ่ายเงิน ของผู ้บริโภค

เพราะเหตุใด บริษัทโทรคมนาคมในนิวเจอร์ ซีย์จงึ มอบรถ BMW เป็ น โบนัสแก่ พนักงาน แทนที่จะให้ เป็ นเงินสด เมือ่ ธุรกิจใดก็ตามไม่สามารถหาคนท�ำงานหรือรักษาคนท�ำงานทีม่ คี ุณภาพไว ้กับ ตนในจ�ำนวนทีเ่ หมาะสมเพียงพอ วิชาเศรษฐศาสตร์มขี ้อแนะน�ำใหธ้ ุรกิจนัน้ ตัง้ เงินเดือนพนักงานใหส้ ูงไว ้เป็ นแนวทางการแก้ปญ ั หา แต่ในทางปฏิบตั ิ นายจ้าง บางรายดูจะใช้กลยุทธ์ท่แี ตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น อาร์กเน็ตซึ่งเป็ นบริษทั โทรคมนาคมแห่งหนึ่งในนิวเจอร์ซยี ์ ได้ใช้กลยุทธ์ทค่ี าดว่าสามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการแสวงหาคนท�ำงาน และค่าใช้จ่ายในการฝึ กอบรมต่างๆ ทีเ่ กี่ยวข ้อง โดย

234

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

การเสนอมอบรถ BMW ให้ฟรีกบั พนักงานในบริษทั ทุกคนทีท่ �ำงานอย่างน้อยไม่ตำ� ่ กว่า 1 ปี มีบริษทั เอกชนอีกหลายแห่งทีใ่ ช้วธิ เี ดียวกันนี้ ก็รายงานว่าเป็ นวิธที ไ่ี ด้ผลดี แน่นอนว่ารถทีม่ อบให ้นัน้ ไม่ได้ฟรีจริงๆ โดยแต่ละคันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 9,000 ดอลลาร์ต่อปี เป็ นค่าเช่าซื้อและค่าประกันภัย อีกทัง้ พนักงานบริษทั ทีไ่ ด้รบั รถต้องแจ้งรายได้เพิม่ เติมในการยืน่ ประเมินภาษีประจ�ำปี ดว้ ย มีผู ้ตัง้ ข ้อสงสัยกับ หลักวิธกี ารด�ำเนินงานของบริษทั นี้วา่ ถ ้าบริษทั ไม่ให้เป็ นรถแต่ให้เป็ นเงิน โดยเพิม่ เงินเดือนจ�ำนวน 9,000 ดอลลาร์แทนจะไม่ดกี ว่าหรือ เพราะให้ผลไม่ต่างกัน กล่าว คือ หากพนักงานบริษทั คนใดทีต่ อ้ งการได้รถ BMW ไว ้ใช้จริงๆ ก็ยงั สามารถใช้ เงินสดทีไ่ ด้รบั เพิม่ พิเศษนัน้ ไปซื้อรถได้ไม่ยาก ส่วนผูท้ ไ่ี ม่ชอบใช้รถสามารถน�ำ เงินเพิม่ พิเศษ 9,000 ดอลลาร์ต่อปี ทไ่ี ด้ไปใช้จ่ายซื้อหาสินค้ารายการอื่นๆ ได้ ตามใจชอบ ข ้อสงสัยจึงมีอยู่วา่ บริษทั มีหลักคิดอย่างไร จึงให ้รถแทนทีจ่ ะให ้เงิน แก่พนักงานเป็ นโบนัสประจ�ำปี โดยแท้จริงแล ้ว ค�ำถามเดียวกันนี้ยงั ถูกถามในหมูเ่ พือ่ นฝูงหรือญาติพน่ี อ้ ง ทีช่ อบให ้ของขวัญระหว่างกัน เช่น ท�ำไม นาย ก. จึงมอบเนคไทเป็ นของขวัญให ้ แก่ญาติคนหนึ่งของเขาซึง่ อาจไม่มโี อกาสได้ใช้ ทัง้ ทีก่ ็รูอ้ ยู่วา่ ถ ้าใหเ้ ป็ นเงินสดเขา จะสามารถน�ำไปซื้อหาสินค้าอืน่ ทีเ่ ขาต้องการใช้จริงๆ บางคนอาจแย้งว่าการให้เงินสดมันง่ายเกินไป และมีค่าน้อยกว่าในด้านการ แสดงความรักเมือ่ เทียบกับการให้เป็ นของขวัญ ซึง่ ผู ้ให้ต้องยอมเสียเวลาและความ พยายามในการเลือกชนิดสินค้า เหตุผลนี้อาจใช้ได้กบั กรณีของขวัญชิ้นเล็กๆ แต่ ยังไม่แน่วา่ จะเหมาะสมเพือ่ อธิบายกับของขวัญชิ้นใหญ่ราคาแพง เช่น รถหรือไม่ เหตุผลทีด่ ูมนี ำ�้ หนักมากกว่าได้อธิบายไว ้โดยริชาร์ด เทเลอร์ ซึง่ เป็ นนัก เศรษฐศาสตร์ เขากล่าวว่า ของขวัญทีผ่ ู ้รับส่วนใหญ่ชอบใจมาก คือสิง่ ของทีเ่ ขา รอจะซื้อให ้ตัวเอง เขายกตัวอย่างให ้เห็นว่า ผู ้ชายทีช่ ่นื ชอบกีฬากอล์ฟ จะมีความ สุขมากเมือ่ ภรรยาของเขาให้ชุดไม ้กอล์ฟไทเทเนียมราคา 10,000 ปอนด์ทจ่ี ่ายจาก เงินในบัญชีร่วมกันของเขาทัง้ สอง แน่นอนว่าเขาอยากจะได้ชดุ ไม ้กอล์ฟนัน้ มากอยู่ บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

235

แล ้ว แต่ยงั ท�ำใจไม่ได้ทจ่ี ะซื้อเอง เพราะราคาแพงมาก การมีผู ้อืน่ ช่วยตัดสินใจแทน ท�ำให ้เขาคลายกังวล ไม่ตอ้ งหนักใจกับการตัดสินใจของตัวเอง เสน่หอ์ ย่างหนึ่งของวิธคี ดิ เกี่ยวกับการให้ของขวัญทีก่ ล่าวข ้างต้นคือ ความ มีเหตุมผี ลของค�ำแนะน�ำทีใ่ ห้แก่ผู ้ให้ของขวัญทัง้ หลาย ลองพิจารณาค้นหาค�ำตอบ ทีเ่ หมาะสมของค�ำถามข ้างล่างนี้ ด้วยค�ำถาม 4 ข ้อ ทุกข ้อประกอบด้วยสองรายการ สินค้าซึง่ เสียค่าใช้จ่ายเท่ากัน จงหาว่ารายการสินค้าใดเหมาะสมทีส่ ุดกับการให้เป็ น ของขวัญแก่เพือ่ นสนิทของคุณ ••

ถัวแมคคาเดเมี ่ ย 4 กระป๋ อง มูลค่ารวม 20 ปอนด์ หรือ ถัวลิ ่ สงคัว่ 20 ถุง มูลค่ารวม 20 ปอนด์

••

บัตรก�ำนัลมูลค่ารวม 50 ปอนด์ ส�ำหรับใช้ทภ่ี ตั ตาคารกอร์ดอนแรม ซีย ์ (รับประทานอาหารกลางวัน 1 ท่าน) หรือ บัตรก�ำนัลมูลค่ารวม 50 ปอนด์ ส�ำหรับใช้ทร่ี า้ นแมคโดนัลด์ (รับประทานอาหารกลางวัน 10 ท่าน)

••

ข ้าวเจ้า 2 ถุง มูลค่ารวม 10 ปอนด์ หรือ ข ้าวเหนียว 10 ถุง มูลค่า รวม 10 ปอนด์

••

ไวน์ Penfolds Bin 707 Cabernet Sauvignon 1 ขวด มูลค่า 45 ปอนด์ หรือ ไวน์ Snake Creek Shiraz 10 ขวด มูลค่ารวม 45 ปอนด์

จากการศึกษาพบว่า รายการทีค่ วรเป็ นทางเลือกเหมาะสมสูงสุดกับการให ้ เป็ นของขวัญส�ำหรับเพือ่ นสนิทคือ รายการแรกของทุกข ้อข ้างต้น ตรรกะเดียวกันทีอ่ ธิบายข ้างต้นใช้ได้กบั การอธิบายว่าท�ำไมบริษทั อาร์กเน็ต จึงมอบรถ BMW เป็ นโบนัสให้พนักงาน เพราะบางคนรูส้ กึ อึดอัดใจทีต่ อ้ งบอกกับ พ่อแม่วา่ ตัวเองได้ซ้อื รถคันใหม่ทร่ี าคาแพงกว่ารถโตโยต้ารุ่นคัมรี่ถงึ สองเท่า หรือ บางทีคณ ุ เองก็ตอ้ งการรถ BMW มานานแล ้ว แต่ภรรยาทีบ่ า้ นไม่ยอมให้ซื้อ เพราะ ต้องการให้คุณเอาเงินไปซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือนแทน การได้รบั มอบรถเป็ นรางวัล จากเจ้านาย ท�ำให ้คุณได้ในสิง่ ทีต่ อ้ งการ และช่วยตัดความกังวลทัง้ หลายทีก่ ล่าว

236

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

มา ประโยชน์ทไ่ี ด้รบั ในแง่ของบริษทั คือ ก่อใหเ้ กิดความไม่พอใจน้อยกว่าทาง เลือกอื่นส�ำหรับพนักงานใหม่ทไ่ี ด้รบั โบนัสเป็ นเงินสด จากการใหร้ ถเป็ นรางวัล แก่พนักงานทีท่ �ำงานมานาน ถ ้าถามว่าผู ้ประกอบการทุกคนเห็นด้วยกับการให ้สิง่ ของเป็ นโบนัสหรือไม่ ค�ำตอบก็คอื “ไม่” โดยเฉพาะผู ้ประกอบการรายทีม่ กี ารว่าจ้างแรงงานไร้ฝีมอื ส่วน ใหญ่ยงั คงยึดอยู่กบั การให้เงินส�ำหรับขึ้นเงินเดือนหรือจ่ายค่าจ้างให้สูงขึ้น ส่วนการ ใหโ้ บนัสในรูปสิง่ ของเริ่มนิยมปฏิบตั ใิ นหมูน่ ายจ้างทีม่ ลี ูกจ้างมีฝีมอื หรือมีความรู ้ ความช�ำนาญการในวิชาชีพสูง ซึง่ นายจ้างเหล่านี้คอื ผู ้ทีม่ ปี ญ ั หาขาดแคลนแรงงาน ทีม่ ที กั ษะสูง ต้องการแสวงหาบุคลากรคุณภาพมาท�ำงานกับตน และรักษาไว ้ให ้ นานทีส่ ุด เพราะบุคลากรเหล่านี้มกี ารตอบสนองทีด่ ตี ่อการใหโ้ บนัสในรูปสิง่ ของ มีราคาแพงเป็ นของขวัญ เมือ่ แนวทางปฏิบตั นิ ้ มี กี ารใช้กนั แพร่หลายมากขึ้น แน่นอนว่าประเภทของ ของขวัญจะต้องมีการเปลีย่ นแปลงไป จะเป็ นของขวัญชนิดใดก็ข้นึ อยู่กบั ความ สามารถทีก่ ่อให้เกิดความตืน่ เต้นต่อผู ้ได้รบั ของขวัญ รวมทัง้ ขึ้นอยู่กบั ลักษณะของ แต่ละสถานการณ์ดว้ ย เมือ่ ปี 1991 นักอ่านนวนิยายเรื่อง The Firm ของ จอห์น กริแชม ต่างตื่นเต้นเมือ่ พระเอกของเรื่องทีม่ อี าชีพทนายความได้รบั รถ BMW คันใหม่เป็ นโบนัสตัง้ แต่ยงั ไม่เริ่มท�ำงาน ซึง่ แท็กติกดังกล่าวได้รบั ความสนใจจาก วงการสือ่ สารมวลชนจนกระทังทุ ่ กวันนี้ อย่างไรก็ตาม เมือ่ บริษทั เอกชนใช้กลยุทธ์ นี้เพิม่ มากขึ้นเรื่อยๆ น�ำ้ หนักความตื่นเต้นจะค่อยๆ ลดลง ท�ำให้บริษทั เอกชนต้อง คิดหากลยุทธ์ใหม่ทส่ี ร้างความตืน่ เต้นและเป็ นเสน่หด์ งึ ดูดให้พนักงานอยู่ท �ำงานกับ ตนมากขึ้นไปอีก เมือ่ ถึงเวลานัน้ จะมีใครกล ้าคิดบ ้างหรือไม่วา่ ทีป่ รึกษามืออาชีพ ฝี มอื ดี หรือนักการธนาคารค่าตัวสูง อาจปฏิเสธไม่รบั งานจากนายจ้างทีเ่ สนอรถ ทีห่ รูหราน้อยกว่ารถปอร์เช่ 911 หรือสิง่ ของใดก็ตามทีม่ มี ลู ค่าน้อยกว่าการให ้หุน้ ส่วนเวลาของธุรกิจในอัลการ์เว* * อัลการ์เว (Algarve) คือพื้นทีท่ างใต้สุดในโปรตุเกส เป็ นแหล่งท่องเทีย่ วทางทะเล บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

237

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ท่รี ำ� ่ เรียนกัน มักมีข ้อสมมติวา่ ผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค ต่างก็ด �ำเนินกิจกรรมใหม้ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด เพือ่ ใหบ้ รรลุเป้ าหมายการท�ำก�ำไร สูงสุดส�ำหรับผู ้ผลิต หรือการได้รบั ความพึงพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าและ บริการ อย่างไรก็ดี งานวิจยั ล่าสุดด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้แสดงให ้เห็นว่า ทางเลือกทีม่ ใี ห ้เพือ่ การตัดสินใจของมนุษย์ บ่อยครัง้ ถูกสร้างขึ้นจากแรงผลักดัน ทางจิตวิทยาเพือ่ สร้างและด�ำรงไว ้ซึง่ เอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล และกลุม่ ความ คิดแนวนี้ช่วยอธิบายทางเลือกต่างๆ ทีอ่ าจมีหลักตรรกะไม่สอดคล ้อง หรือไม่เป็ น ไปตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดงั้ เดิมทีร่ ำ� ่ เรียนกันมา

เพราะเหตุใด ผู้คนจึงไม่ ค่อยสนใจใส่ รองเท้ าแบบเวลโคร* (กรณีศกึ ษาของ อดัม โกลด์ สเตน) วิธีผูกเชือกรองเทา้ เป็ นประสบการณ์ท่หี ลายคนเรียนรู ต้ งั้ แต่ในวัยเด็ก ก่อนที่ จอร์จ เดอ เมสตรัล นักประดิษฐ์ชาวสวิส จะได้รบั สิทธิบตั รสิง่ ประดิษฐ์วธิ ีใส่ รองเท ้าให ้แน่นแบบทีเ่ รียกว่า “เวลโคร” ในปี 1955 (เวลโครคือ แผ่นทีท่ �ำจากใย ไนลอน 2 แผ่นกดให ้ติดกัน) ตัง้ แต่นนั้ มา วิธยี ดึ รองเทา้ แบบเวลโครได้ถกู ใช้แทน ซิป ตะขอ เชือกผูก และวิธรี ดั สิง่ ของต่างๆ ซึง่ วิธใี ส่รองเท ้าให ้แน่นแบบเวลโครมี ข ้อดีมากกว่าการใส่รองเท้าแบบผูกเชือก (Lace) ตรงทีร่ องเทา้ ไม่หลุดง่าย (การใช้ เชือกผูกจะหลุดได้งา่ ยกว่าท�ำใหผ้ ูใ้ ส่รองเทา้ อาจหกล ้ม) และแบบเวลโครท�ำก็ได้ ง่ายและรวดเร็วกว่ามาก เพียงแค่กดแผ่นใยไนลอนใหต้ ดิ กัน แม ้ว่าผูค้ นทัวไป ่ เคยคิดกันว่าวิธใี ส่รองเทา้ แบบเวลโครอาจท�ำใหร้ องเทา้ แบบผูกเชือกหมดไปจาก ตลาดในไม่ชา้ เพราะคาดว่าจะไม่มคี นนิยมใช้ต่อไป แต่เอาเข ้าจริง ข ้อเท็จจริงที่ พบคือ สัดส่วนของผูใ้ หญ่ทช่ี อบใส่รองเทา้ แบบเวลโครยังคงมีนอ้ ยมาก เพราะ เหตุใด การใส่รองเท้าแบบผูกเชือกยังยังคงมีผู ้นิยมใช้กนั อยู่มากกระทังปั ่ จจุบนั * รองเท้าแบบเวลโคร (Velcro Shoes) คือรองเท้าทีม่ กี ารติดแบบเมจิกเทป หรือตีนตุก๊ แก คล ้ายๆ รองเท ้าแบรนด์สกรอล ทีส่ ามารถลอกแล ้วติดให ้กระชับคล ้ายๆ เทปกาวนัน่ เอง

238

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ตัง้ แต่ เ ริ่ม ต้น การใส่ ร องเท า้ แบบเวลโครเป็ น ที่นิ ย มมากในหมู่เ ด็ก ๆ ผู ้สูงอายุ และคนทีไ่ ม่แข็งแรง ความนิยมในหมูเ่ ด็กๆ เกิดจากข ้อเท็จจริงทีว่ ่า เด็ก ส่วนใหญ่ยงั ผูกเชือกรองเทา้ ไม่เป็ น ซึง่ รองเทา้ ทีม่ ตี วั ช่วยยึดกันใหแ้ น่ นจึงช่วย เด็กๆ ได้ รวมทัง้ ช่วยคลายกังวลให้กับผู ้ปกครองเด็กด้วย ส�ำหรับผู ้สูงอายุ รองเท้า แบบเวลโครเป็ นทีน่ ิยมด้วยเหตุผลทางการแพทย์ เพราะผูส้ ูงอายุจ �ำนวนมากไม่ สามารถก้มลงผูกเชือกรองเท ้า รวมทัง้ บางคนเป็ นโรคปวดข ้อนิ้ว ท�ำใหใ้ ช้น้ ิวผูก เชือกรองเท ้าด้วยความยากล�ำบาก สาเหตุหลักทีท่ �ำใหร้ องเทา้ แบบเวลโครไม่ได้รบั ความนิยมเท่าทีค่ วร เป็ น เพราะการสือ่ ความหมายไปในทางการไร้ความสามารถหรือแทนสัญลักษณ์ความ อ่อนแอของผู ้สวมใส่ แม ้ว่าจะมีดา้ นดีหลายด้านมากกว่ารองเท ้าแบบผูกเชือก แต่ ก็ไม่มผี ลท�ำให ้รองเทา้ แบบผูกเชือกหมดไปจากท ้องตลาดได้ในอนาคตอันใกล ้

เพราะเหตุใด นักบินกามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นจึงใส่ หมวกกันน็อค (กรณีศกึ ษาของ ชานัน กลัมโบส์ กีย์) บนเสน้ ทางก่อนใกล ้จุดที่น�ำไปสู่ความพ่ายแพใ้ นสงครามโลกที่ 2 ญี่ป่ ุนได้ใช้ กลศึกทีเ่ รียกกันว่า “การโจมตีแบบกามิกาเซ่” ซึง่ ก็คอื การน�ำเครื่องบินขับไล่เข ้า พุง่ ชนเรือรบของสหรัฐฯ ในเครื่องบินรบได้บรรทุกระเบิดไว ้เต็มล�ำ ดังนัน้ การพุง่ เข ้าชนอย่างแรงจึงหมายถึงการเสียชีวติ อย่างแน่นอนของนักบิน ถ ้าเช่นนัน้ ท�ำไม นักบินกามิกาเซ่เหล่านี้จงึ ต้องใส่หมวกกันน็อคด้วย

บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

239

หมวกกันน็อคของนักบิ นกามิ กาเซ่ : สัญลักษณ์ แสดงเอกลักษณ์

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

เหตุผลข ้อแรก อาจเป็ นไปได้ในบางกรณีวา่ แม ้จะมีโอกาสเพียงน้อยนิด ก็ตาม แต่ก็เพือ่ ช่วยใหร้ อดชีวติ จากภารกิจทีส่ �ำคัญต่อเกียรติยศนี้ได้ ด้วยการ ใส่หมวกกันน็อค ข ้อทีส่ องคือ ในสถานการณ์ทเ่ี ครื่องบินร่อนลงต�ำ่ ด้วยความเร็ว สูง ตัวเครื่องบินจะสันสะเทื ่ อนผิดปกติมาก ผู ้บัญชาการของนักบินกามิกาเซ่อาจ ต้องการให ้การใส่หมวกกันน็อคช่วยป้ องกันชีวติ ในช่วงเวลาทีส่ �ำคัญนี้ก่อนเครื่อง บินจะพุง่ เข ้าชน ข ้อทีส่ ามคือ หมวกกันน็อคได้กลายเป็ นสัญลักษณ์ของการเป็ น นักบิน ซึง่ นักบินรบกามิกาเซ่คอื นักบินประเภทหนึ่ง และเป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ิ ของนักบินทุกคนต้องใส่หมวกกันน็อค ข ้อทีส่ ี ่ ส�ำคัญทีส่ ุดคือ นักบินรบกามิกาเซ่ใส่หมวกกันน็อคมิได้เป็ นการแสดง ความตัง้ ใจฆ่าตัวตาย หน้าทีข่ องเขาทีไ่ ด้รบั มาคือ การท�ำลายเรือรบของศัตรูทเ่ี ป็ น เป้ าหมายให้ได้ ด้วยวิธกี ารใดก็ได้ทจ่ี �ำเป็ น ซึง่ บ่อยครัง้ ก็คอื การบินพุง่ เข ้าชนเรือรบ ทีย่ งิ สวนออกมาอย่างหนัก ซึง่ ยากนักทีน่ กั บินจะมีโอกาสรอดชีวติ ได้ นอกจากการ พุง่ เข ้าชนแล ้ว วิธกี ารต่อสู ้เพือ่ ท�ำลายเป้ าหมายด้วยการทิ้งลูกระเบิดจากเครื่องบิน กระท�ำได้ส �ำเร็จน้อยมาก อย่างไรก็ดี ความหวังของพวกเขาจากใส่หมวกกันน็อค คือ การได้เห็นตัวเองบินกลับมาอย่างปลอดภัย แม ้มีโอกาสน้อยมากก็ตาม

240

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด เสือ้ ผ้ าของผู้หญิงบอกขนาดเป็ นเบอร์ ตวั เลข (6 ถึง 20+) แทนที่จะบอกเป็ นขนาดสัดส่ วนที่วัดจากรู ปร่ าง ซึ่งใช้ กับเสือ้ ผ้ าผู้ชาย (กรณีศกึ ษาของ ซัลลิ ชวอร์ ตซ์ และ ซาราห์ เคตต์ ) ในปี 1960 หากชายคนหนึ่งทีม่ ขี นาดเอว 34 นิ้ว ขนาดความยาวขา 33 นิ้ว สามารถ เดินหาซื้อกางเกงขายาวในร้านขายเสื้อผ ้าได้ โดยมองหากางเกงทีต่ ดิ ป้ ายบอกขนาด ทีเ่ ขียนว่า “W : 34, L : 33” แม ้แต่ในปัจจุบนั ผู ้ชายทีม่ รี ูปร่างสัดส่วนเดียวกันถ ้า ต้องการหาซื้อกางเกงขนาดเดียวกันยังคงสามารถใช้วิธกี ารนี้ได้ ในทางตรงกันข ้าม ป้ ายบอกขนาดสัดส่วนเสื้อผ ้าผู ้หญิงจะแสดงไว ้เป็ นเลขคู่ตงั้ แต่ขนาด 6 ถึง 20+ ซึง่ ไม่ได้สือ่ ให ้รูถ้ งึ ขนาดสัดส่วนจริงของผู ้หญิง นอกจากนี้ ขนาดเสื้อผา้ ทีพ่ อดีกบั ผู ้หญิงทีม่ สี ดั ส่วนเมือ่ ปี 1960 พบว่ามีขนาดใหญ่เกินไปกับผู ้หญิงทีม่ สี ดั ส่วนขนาด เดียวกันในปี ปจั จุบนั เพราะเหตุใด ขนาดของเสื้อผ ้าผู ้หญิงจึงไม่บอกข ้อมูลอะไรให ้ รู เ้ ลย เมือ่ ปี 1958 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้จดั ท�ำและพิมพ์เผยแพร่ขนาด มาตรฐานของเสื้อผ้าผู ้หญิงขึ้น แต่หลังจากนัน้ ไม่นาน พ่อค้าขายปลีกเสื้อผ้าผู ้หญิงได้ ค้นพบว่าเขาสามารถเพิม่ ยอดขายเสื้อผา้ ได้ โดยการติดป้ ายบอกขนาดใหเ้ ล็กลง กว่าขนาดจริงของผู ้ใส่ ซึง่ วิธกี ารปรับลดเบอร์บอกขนาดนี้เรียกกันต่อมาว่า “Vanity Sizing” วิธกี ารบอกขนาดทีเ่ บีย่ งเบนไปจากมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ นัน้ ได้มกี ารระบาดแพร่หลายมากขึ้น จนท�ำให้ต้องยกเลิกมาตรฐานของทางราชการ ไปในปี 1983 ทุกวันนี้ไม่มผี ู ้ผลิตเสื้อผา้ ผู ้หญิงรายใดทีป่ ฏิเสธวิธกี ารติดป้ ายบอก ขนาดใหเ้ ล็กลงกว่าขนาดจริงของผูใ้ ส่ใหอ้ ยู่รอดทางธุรกิจได้ แต่ดูเหมือนผูห้ ญิง จ�ำนวนมากจะชอบเสื้อผ้าทีต่ ดิ ป้ ายบอกขนาดเล็กลง พอลองใส่แล ้วก็พอดีตวั (ทัง้ ทีข่ นาดจริงของเสื้อผา้ ชุดนัน้ ไม่ได้เล็ก) เพราะเกิดความเข ้าใจผิดว่าตัวเองผอมลง แม ้ว่าเบอร์บอกขนาดลดลงแต่ขนาดตัวของผูห้ ญิงนัน้ ใหญ่ข้นึ ผูห้ ญิงใน สหราชอาณาจักรสองคนทีม่ ขี นาดตัวเท่ากันในปี น้ เี ทียบกับปี 1960 ทีผ่ ่านมา พบ ว่าปี ปจั จุบนั ผูห้ ญิงมีนำ�้ หนักมากกว่าประมาณ 3 กิโลกรัม ดังนัน้ การประมาณ เบอร์บอกขนาดเสื้อผ้าผู ้หญิงทีเ่ ล็กลงในสัดส่วนพอดีกบั ขนาดตัวจริงๆ ของผู ้หญิง ทีเ่ พิม่ ขึ้น ซึง่ เรื่องนี้บรรดาผูห้ ญิงทีช่ อบหาซื้อเสื้อผา้ ตามศูนย์การค้าต่างๆ รูด้ วี า่ บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

241

เสื้อผ ้าเบอร์ 12 ในปี 1960 มีขนาดเล็กกว่าเบอร์ 12 ในปี ปจั จุบนั มาก แต่วา่ เสื้อผ ้า เบอร์ 12 ในปี ปจั จุบนั ใส่พอดีกบั ผู ้หญิงทีม่ ขี นาดเฉลีย่ ในปัจจุบนั เช่นเดียวกันกับ เสื้อผ ้าเบอร์ 12 ในปี 1960 ก็ใส่พอดีกบั ผู ้หญิงทีม่ ขี นาดเฉลีย่ ในปี 1960 เช่นกัน ผูช้ ายก็มขี นาดตัวที่ใหญ่ข้ นึ เรื่อยๆ ตัง้ แต่ในอดีตที่ผ่านมาเช่นกัน แต่ ผู ้ผลิตเสื้อผ้าผู ้ชายก็ไม่มกี ารปรับเบอร์บอกขนาดเสื้อผ้าแนวทางเดียวกับวิธี “Vanity Sizing” ของเสื้อผ้าผู ้หญิง ไม่ใช่วา่ ผู ้ชายไม่อยากให้ตัวเองมีความรูส้ กึ ดีข้นึ เพราะ มิเช่นนัน้ คงไม่มผี ู ้ชายจ�ำนวนมากท�ำศัลยกรรมเสริมความงามและปลูกถ่ายผมกัน มากขึ้นในยุคนี้ แต่ค �ำตอบทีน่ ่าจะใกล ้เคียงข ้อเท็จจริงมากทีส่ ุดก็คอื ระบบการวัด ตัวทีใ่ ช้ในการก�ำหนดขนาดเบอร์เสื้อผ้าผู ้ชายนัน้ ยากทีจ่ ะถูกตกแต่งใหม่โดยผู ้ผลิต

เพราะเหตุใด ศูนย์ การค้ าส่ วนใหญ่ นิยมจัดเสือ้ ผ้ าผู้ชายไว้ ในชัน้ ที่ต่ำ� กว่ า ในขณะที่จดั เสือ้ ผ้ าสตรี ไว้ ในชัน้ ที่สูงกว่ าของห้ าง (กรณีศกึ ษาของ ริมา ซาวายา) ในห ้างดัง เช่น แฮร์รอด และเซลฟ์ รดิ ก์ เสื้อผา้ ผู ้ชายส่วนใหญ่จะถูกจัดวางขายไว ้ ทีช่ นั้ 1 ในขณะทีเ่ สื้อผา้ ผู ้หญิงส่วนใหญ่จะถูกจัดวางขายไว ้ทีช่ นั้ บน และยกเว ้น ่ ระบบการจัดวางสินค้าเสื้อผ ้า เพียงไม่ก่แี ห่งเท่านัน้ เกือบทุกศูนย์การค้าทัวโลกใช้ หญิง–ชายเพือ่ จ�ำหน่ายดังทีก่ ล่าวเหมือนกัน เพราะอะไรศูนย์การค้าต่างๆ จึงอ�ำนวย ความสะดวกเรือ่ งการเข ้าถึงสินค้าเสื้อผ ้าผู ้ชายง่ายกว่าเสื้อผ ้าผู ้หญิง แมว้ ่าทัง้ ผูห้ ญิงและผูช้ ายต่างต้องการใหต้ วั เองดู ดใี นด้านการแต่งกาย แต่การแต่งกายของผูห้ ญิงมักได้รบั ความส�ำคัญมากกว่าในแง่การช่วยเสริมสร้าง บุคลิกภาพ ผูห้ ญิงจึงใช้เวลาในการเลือกหาชุดนานกว่าผูช้ าย ซึง่ จากการศึกษา พบว่าใช้เวลามากกว่าประมาณสองเท่า แสดงให้เห็นว่าผู ้หญิงเอาจริงเอาจังกับเรื่อง การช็อปปิ้ งเสื้อผ้ามากกว่าผู ้ชาย ด้วยเหตุน้ จี งึ มีผู ้หญิงจ�ำนวนน้อยมากทีจ่ ะไม่และ ไปแผนกเสื้อผ ้าผู ้หญิงแม ้จะต้องขึ้นลิฟต์ไปก็ตาม ในทางตรงกันข ้าม แม ้อุปสรรคเพียงเล็กน้อยก็สามารถยับยัง้ ให้ผู ้ชายเปลีย่ น ใจไม่ไปซื้อหาเสื้อผ ้าทีต่ อ้ งการก็ได้ เพราะโดยนิสยั แล ้ว ผู ้ชายส่วนใหญ่จะคิดว่า

242

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ยังไม่ถงึ เวลาต้องหาซื้อเสื้อผา้ ตัวใหม่ โดยเฉพาะถา้ การไปหาซื้อมีความยุ่งยาก หรือไม่มคี วามสะดวกเพียงพอแล ้ว ก็จะเลือ่ นภารกิจซื้อหาเสื้อผา้ นี้ออกไปก่อน ข ้อดีอกี ประการทีไ่ ด้จากการจัดวางเสื้อผ้าผู ้ชายไว ้ทีช่ นั้ 1 เป็ นเพราะผู ้หญิง ทีเ่ ป็ นแม่บ ้านมักเป็ นฝ่ ายหาซื้อเสื้อผา้ ใหส้ ามี ดังนัน้ การเดินผ่านชัน้ 1 จึงเป็ น โอกาสให ้แม่บ ้านมองเห็นสินค้า และถือโอกาสหยิบฉวยถุงเท ้าหรือเสื้อเชิ้ตติดมือ ไปให ้สามีทบ่ี ้าน ส่วนผู ้ชายยากนักทีจ่ ะซื้อหาเสื้อผา้ ให ้ภรรยาของตัวเอง หากปรับ เปลีย่ นการวางสินค้าเช่นนี้แล ้ว ศูนย์การค้าจะท�ำให ้ได้ประโยชน์นอ้ ย ตัวอย่างในบทที่ 6 แสดงใหเ้ ห็นแล ้วว่ากฎหมายและระเบียบข ้อบังคับ สามารถรอมชอมข ้อขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของ กลุม่ ได้อย่างไร กลยุทธ์อกี ทางหนึ่ง ได้แก่ การให้กลุม่ ยอมรับค่านิยมหรือบรรทัดฐาน ของสังคมทีม่ งุ่ สร้างความสมดุลระหว่างแรงจูงใจส่วนบุคคลและแรงจูงใจของกลุม่ อย่างกรณีเมือ่ มีผูค้ นจ�ำนวนมากคอยรถบัสคันถัดไปทีก่ �ำลังจะเข ้าป้ าย ซึง่ มีทน่ี งั ่ ว่างในรถเหลือน้อยกว่าจ�ำนวนผู ้โดยสารทีค่ อยอยู่ การต่อสู ้เพือ่ แย่งชิงทีน่ งั ่ ว่างจะ เกิดขึ้นบ่อยครัง้ และไม่วา่ การแก่งแย่งจะดุเดือดอย่างไร จ�ำนวนทีน่ งั ่ ว่างยังคงเท่า เดิม สหราชอาณาจักรได้แก้ไขปัญหานี้ได้ดว้ ยการก�ำหนดค่านิยมเป็ นบรรทัดฐาน ร่วมกันของสังคม โดยใหท้ กุ คนยอมรับสิทธิ์ของผูท้ ค่ี อยอยู่ในคิวแรกใหไ้ ด้ทน่ี งั ่ ว่างบนรถบัสก่อนคนทีม่ าทีหลัง ค่านิยมดังกล่าวนี้ช่วยสนับสนุนการเพิม่ ประสิทธิภาพและความรอมชอม ของผู ้คนในสังคมได้ แต่ในตัวอย่างทีจ่ ะน�ำเสนอต่อไปนี้ จะชี้ให ้เห็นว่า บางครัง้ ค่านิยมการมาก่อนได้ก่อนก็ก่อให ้เกิดผลทีไ่ ม่พงึ ปรารถนาตามมาได้เช่นกัน

เพราะเหตุใด มารยาททางสังคมบางครัง้ น�ำไปสู่ผลลัพธ์ ท่ไี ม่ มปี ระสิทธิภาพ กรณีของการใช้ สะพานที่รถสามารถวิ่งได้ ทางเดียว (กรณีศกึ ษาของ มาริโอ คาโปริชชี่ และ สกอตต์ มาเกรท) สะพานข ้ามแม่นำ�้ หลายแห่งของเมืองอิทากา รัฐนิวยอร์ก มีช่องทางให้รถเดินได้ทาง เดียว หลายปี ทผ่ี ่านมา ค่านิยมการมาก่อนได้ก่อนของสังคมได้พฒ ั นาขึ้นจนกลาย บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

243

เป็ นมารยาททีค่ วบคุมความมีระเบียบของผู ้คนทีข่ บั รถข ้ามสะพานนี้ ภายใต้ค่านิยม ทีเ่ ป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ทิ ก่ี ล่าวว่า “ไม่มรี ถคันใดจะขับผ่านเข ้าไปบนสะพานได้ ถ ้า หากเห็นรถจอดคอยอยู่ฝงั ่ ตรงกันข ้าม” วัตถุประสงค์ทต่ี อ้ งการสือ่ ให ้ผู ้ใช้รถเข ้าใจ ก็คอื เพือ่ ป้ องกันมิให้มีกระแสการจราจรทีต่ ่อเนื่องจากรถทีว่ ง่ิ ในทิศทางเดียวเป็ น ระยะเวลายาวนานเกินไป ดังทีเ่ คยกล่าวมาแล ้ว ยังมีอกี หลายกรณีทบ่ี รรทัดฐาน ของสังคมก�ำหนดใหผ้ ูค้ นลดความเห็นแก่ตวั ได้ก่อใหเ้ กิดหรือน�ำมาซึง่ ผลลัพธ์ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากกว่าทีค่ วรจะเป็ นหลายเรื่อง แต่ในกรณีน้ ีเป็ นผลจากความ พยายามมีมารยาท แต่พบว่ากลับท�ำให ้เกิดผลลัพธ์ทป่ี ระสิทธิภาพลดลง ถา้ เป็ น เช่นนัน้ ท�ำไมผู ้ใช้รถจึงยังยอมปฏิบตั ติ ามค่านิยมดังกล่าว

การมาก่อนได้ก่อน : ไม่ได้เป็ นค่านิ ยมทีม่ ี ประสิ ทธิ ภาพเสมอไป

SS

วาดโดย : มิค สตีเวนส์

ขอใหล้ องนึกถึงสภาพการจราจรบนสะพานข ้ามแม่นำ�้ นี้วา่ จะวุน่ วายเพียง ใด หากปราศจากซึง่ กฎเกณฑ์ทเ่ี ป็ นทีย่ อมรับร่วมกันมาบังคับใช้ สมมติวา่ มีรถคัน หนึ่งขับมาจากทางทิศเหนือ และเห็นถนนบนสะพานว่าง เขาจึงเป็ นคนแรกทีข่ บั รถ ขึ้นสะพาน ต่อมาอีกไม่ถงึ อึดใจ มีรถคันทีส่ องขับมาจากทิศใต้ มองเห็นมีรถวิง่ อยู่

244

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

บนสะพานมาจากทางทิศฝัง่ ตรงกันข ้าม จึงตัดสินใจหยุดรถคอยให้รถคันแรกวิง่ ลง สะพานไปก่อน แน่นอนว่าคงเป็ นการโง่ไม่นอ้ ยถ ้าผู ้ขับรถคันทีส่ องไม่หยุด แต่ขบั รถ ขึ้นสะพานทันที เพราะในทีส่ ุดจะต้องมีคนหนึ่งคนใดถอยหลังเพือ่ หลีกเลีย่ งการชน แต่ในขณะทีค่ นขับรถคนแรกขับขึ้นสะพานผ่านไปได้เพียง 10 วินาที (จาก เวลารวม 30 วินาทีทต่ี อ้ งใช้ในการวิง่ ข ้ามพ ้นสะพาน) สมมติวา่ มีรถคันที่ 3 ขับ มาจากทางด้านเหนือเช่นเดียวกันวิง่ ขึ้นสะพานมา สิง่ ทีด่ ที ส่ี ุดทีค่ นขับรถคันที่ 2 ควรท�ำคือ คอยต่อไป ถ ้ามีรถขับมาจากทางด้านเหนืออีกเรื่อยๆ ทุกๆ ระยะเวลา น้อยกว่า 30 วินาที แต่ละคันก็สามารถขับตามคันหน้าขึ้นสะพานต่อกันเรื่อยๆ สถานการณ์เช่นนี้ท �ำใหค้ นขับรถคันที่ 2 ต้องคอยนานขึ้นอีก ในช่วงเวลาทีก่ าร จราจรคับคัง่ คนขับรถทีม่ าจากด้านทิศใต้อาจต้องใช้เวลาคอยนานเป็ นชัว่ โมงกว่า จะได้ขบั ข ้ามสะพานไป บรรทัดฐานทางสังคม “การมาก่อนได้ก่อน” มีวตั ถุประสงค์เพือ่ แก้ปญ ั หา ดังทีก่ ล่าวมา ด้วยการก�ำหนดใหผ้ ูข้ บั ขับรถข ้ามสะพานตามล�ำดับก่อน–หลังการ มาถึงคอสะพานด้านเหนือหรือด้านใต้ ในสถานการณ์ทอ่ี ธิบายข ้างต้น บรรทัดฐาน นี้ช้ นี �ำให ้คนขับรถคันที่ 3 ไม่สามารถขับรถขึ้นสะพานได้จนกว่าคนขับรถคันที่ 2 จะข ้ามสะพานไปแล ้ว การจะปฏิบตั เิ ช่นนี้ได้ตอ้ งอาศัยความอดทน เนื่องจากหาก คนขับรถคันที่ 3 จะขับรถขึ้นสะพานตามหลังรถคันที่ 1 ไป คนขับรถคันที่ 2 ก็ คงไม่สามารถท�ำอะไรได้ ก็คงจะต้องคอยจนกว่าคนขับรถคันที่ 3 และคนอืน่ ๆ ทีข่ บั กระชัน้ ชิดตามมาได้ข ้ามสะพานจนเสร็จหมดก่อน เขาจึงสามารถขับข ้ามได้ ค�ำถามมีวา่ บรรทัดฐานทางสังคมลักษณะนี้ใช้งานได้ดีหรือไม่ ในสถานการณ์ ทีม่ รี ถจ�ำนวนมากมาจากทัง้ สองทาง พบว่าเวลารวมทีผ่ ู ้ขับรถใช้ในการคอยนานกว่า กรณีทไ่ี ม่มกี ารใช้บรรทัดฐานนี้ สมมติวา่ มีรถจ�ำนวน 10 คันเท่ากันมาจากทิศด้านทิศเหนือและทิศใต้ โดย รถแต่ละคันวิง่ ตามกันมา ทิ้งช่วงห่างคันละ 10 วินาที และสมมติให ้รถคันแรกที่ วิง่ ขึ้นสะพานมาจากด้านทิศเหนือวิง่ ขึ้นก่อนรถคันแรกทีว่ ง่ิ มาจากด้านทิศใต้เพียง บทที่ 9 มาก่อนได้ก่อน

245

เสี้ยวของวินาที ถ ้าไม่มใี ครปฏิบตั ติ ามกฎมาก่อนไปก่อน รถทุกคันทีว่ ง่ิ มาจากด้าน เหนือจะวิง่ ข ้ามสะพานไปได้หมด จากนัน้ รถ 10 คันทีม่ าจากด้านใต้จงึ ค่อยวิง่ ข ้าม สะพานไปได้ ในกรณีทไ่ี ม่ท �ำตามกฎมาก่อนได้ก่อน รถทุกคันจากด้านเหนือจะไม่มี คันใดต้องคอย แต่รถทีม่ าจากทางด้านใต้ตอ้ งเสียเวลาคอยนับรวมกันจนกว่าทุก คันจะวิง่ ข ้ามพ ้นเท่ากับ 12 นาที 30 วินาที ในทางตรงกันข ้าม ถ ้าทุกคนปฏิบตั ติ ามกฎมาก่อนได้ก่อน รถคันแรกทีข่ บั ข ้ามสะพานคือรถทีม่ าจากทางทิศเหนือ และตามมาด้วยรถคันแรกทีม่ าจากทางด้าน ทิศใต้ จากนัน้ รถคันทีส่ องทีม่ าจากทางทิศเหนือ และตามด้วยรถคันทีส่ องทีม่ าจาก ทางด้านทิศใต้ สลับคู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบทุกคัน ถ ้าคุณมีความอดทนเพียงพอ ในการบวกตัวเลขเวลาคอยรวมกันของรถแต่ละคัน คุณจะพบว่าเวลาคอยรวมกัน ทัง้ หมดเท่ากับ 80 นาที 37.5 วินาที ส�ำหรับรถทุกคันทีม่ าจากทางทิศเหนือ และ 42.5 นาที ส�ำหรับรถทุกคันทีม่ าจากทางทิศใต้ ซึง่ มากกว่าเป็ นหกเท่าของเวลาคอย รวมในกรณีทไ่ี ม่ท �ำตามกฎมาก่อนได้ก่อน กฎทางสังคม “มาก่อนได้ก่อน” ไม่เพียงแต่ท �ำให ้เวลาทีต่ อ้ งใช้ในการคอย เพิม่ ขึ้นเท่านัน้ แต่ยงั เป็ นผลให ้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายเวลาการ คอย อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่านี้มนี ยั ส�ำคัญจริงๆ เฉพาะในช่วงทีก่ ารจราจรติดขัด มีรถวิง่ ขึ้นสะพานเป็ นจ�ำนวนมากเท่านัน้ ซึ่งเป็ นเหตุการณ์ท่ไี ม่พบบ่อยนักใน เมืองอิทากา รัฐนิวยอร์ก ทัง้ ๆ ทีม่ จี ดุ อ่อนต่างๆ อยู่ แต่ธรรมเนียมการปฏิบตั ิ “มาก่อนได้ก่อน” ก็ ยังถูกยึดถือเป็ นค่านิยมของคนในสังคมมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ ภายหลังทีข่ บั รถ ข ้ามไปถึงฝัง่ ตรงข ้ามแล ้ว ก็เป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ทิ วไปของผู ั่ ้ขับรถจะต้องก้มหัว ทักทายรถคันแรกทีค่ อยอยู่ฝงั ่ ตรงข ้ามเพือ่ แสดงความขอบคุณ หรือรับรูว้ า่ เขา สามารถขับรถตามคันก่อนหน้าไปได้ แต่ก็ไม่ได้ท �ำเพราะต้องการรักษามารยาท อันดีงามเอาไว ้

246

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

10

การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา : ตลาดไม่เป็นทางการส�ำหรับความสัมพันธ์ส่วนตัว



มว้ ่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลส่วนใหญ่จะได้รบั อิทธิพลจากปัจจัยด้าน ความรูส้ กึ เกีย่ วกับคุณธรรม ความดี และศีลธรรมของบุคคล แต่พลังอีกอย่าง หนึ่งที่มผี ลต่อพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ยงั หนีไม่พน้ ปัจจัยทาง เศรษฐศาสตร์ เป็ นธรรมชาติของมนุษย์ทกุ คนทีต่ อ้ งการมีบ ้านหรือทีอ่ ยู่อาศัยตัง้ อยู่ ในท�ำเลทีม่ คี วามปลอดภัย รวมทัง้ มีโรงเรียนดีๆ ส�ำหรับให้บุตรหลานได้เข ้าศึกษา ทีไ่ ม่ห่างไกลจากบ ้านมากนัก ด้วยเหตุน้ ี นักเศรษฐศาสตร์จงึ ไม่แปลกใจเท่าไรนัก เมือ่ พบว่าผู ้หญิงส่วนใหญ่ทต่ี อบแบบสอบถาม ตอบว่าลักษณะของผู ้ชายทีม่ เี สน่ห ์ ดึงดูดผู ้หญิงสูงสุดคือ ระดับรายได้หรือความร�ำ่ รวยของเขา นิยายของ เอฟ. สก็อตต์ ฟิ ตซ์เจอรัลด์ เรื่อง The Great Gatsby พระเอก ของเรื่องคือ เจมส์ เกตซ์ เขาเกิดน้อยใจในฐานะอันต�ำ่ ต้อยของตัวเอง และรูต้ วั ว่า ไม่คู่ควรกับหญิงทีเ่ ขาหลงรักคือ เดซี่ ต่อมาเขาได้เปลีย่ นชื่อเป็ น เจย์ เกตสบี้ และ ได้ตงั้ ปณิธานอันมุง่ มันและเด็ ่ ดเดีย่ วทีจ่ ะต้องเป็ นผู ้ประสบความส�ำเร็จและรำ� ่ รวย ให ้มากทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะท�ำได้ บทที่ 3 ได้กล่าวถึงทฤษฎีของ อดัม สมิท ทีว่ า่ ด้วยการชดเชยส่วนต่าง ของค่ าจ้าง ซึ่งใช้อธิบายการเรียกร้องหาในสิ่งที่เกตสบี้ปรารถนาได้ ทฤษฎีน้ ี กล่าวไว ้ว่า “งานทีม่ คี วามเสีย่ งสูงและยากล�ำบากมากเท่าไร จะยิง่ มีค่าตอบแทน บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

247

สูงตามมากขึ้นเท่านัน้ ” ในทางปฏิบตั จิ ริงพบว่า งานบางลักษณะเงินค่าตอบแทน สูงสุดจะตกเป็ นของคนทีม่ คี ุณภาพและความสามารถสูง โดยเป็ นงานทีอ่ าจขัดต่อ ศีลธรรมจรรยาที่ดี ซึ่งเกตสบี้ตระหนักดีว่าถา้ ต้องการบรรลุเป้ าหมายที่ตวั เอง ต้องการแล ้ว จะต้องไม่คดิ มากหรือตัง้ แง่รงั เกียจงานลักษณะนี้ ฟิ ตซ์เจอรัลด์ไม่ได้เปิ ดเผยถึงรายละเอียดว่า เกตสบี้มวี ธิ สี ะสมความมังคั ่ ง่ มาได้อย่างไร เขาเพียงแต่บอกใหร้ ูว้ ่า งานทีเ่ กตสบี้ท �ำไม่เพียงแต่เป็ นงานทีผ่ ดิ ศีลธรรมเท่านัน้ แต่ยงั ผิดกฎหมายด้วย ซึง่ เกตสบี้เองก็รูต้ วั ว่าถ ้าถูกจับได้จะถูก ลงโทษ แล ้วความฝันของเขาทีจ่ ะเป็ นมหาเศรษฐีอาจมลายหายไปได้ ตัวอย่างต่างๆ ทีจ่ ะน�ำเสนอต่อไปในบทนี้ พยายามใช้ประโยชน์จากแนวคิด ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เพือ่ แสดงใหเ้ ห็นว่า “ตลาด” (ในความหมายทีไ่ ม่เป็ น ทางการ) ส�ำหรับสินค้าหรือบริการประเภทมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิง สังคม ซึง่ จะมีกลไกการท�ำงานทีค่ ล ้ายคลึงกันกับตลาดสินค้าทัวไป ่ กล่าวคือ จะ ถูกชี้น�ำโดยพลังอุปสงค์และอุปทานทีเ่ ป็ นตัวก�ำหนดพฤติกรรมของผู ้ผลิต ผู ้บริโภค หรือผู ้เกี่ยวข ้องในตลาด ส�ำหรับการขยายแนวความคิดนี้ นักเศรษฐศาสตร์มไิ ด้ ยืนยันว่าความรักไม่มบี ทบาทใดๆ ในการเลือกคู่ครองเพือ่ แต่งงาน แทจ้ ริงแล ้ว แม ้แต่ตวั ฟิ ตซ์เจอรัลด์เองก็ยอมรับอย่างชัดเจนกับความคิดทีว่ ่า ความพร้อมใน เรือ่ งโภคทรัพย์เป็ นประเด็นส�ำคัญอย่างหนึ่งทีต่ อ้ งพิจารณาในการมองหาคู่ครอง เขายังเคยพูดแนะน�ำเพือ่ นๆ ว่า “อย่าแต่งงานเพือ่ เงิน” เขาแนะน�ำไว ้ดังนี้ “ไปในทีท่ ี ่ มีเงิน แต่แต่งงานด้วยความรัก (Go where money is, then marry for love)” แม ้ว่าพลเมืองโลกทัง้ หมดจะมีกว่า 6 พันล ้านคน แต่ละคนก็แตกต่างกันใน ด้านต่างๆ มากมาย แต่กม็ ลี กั ษณะบางประการทีใ่ ช้ได้เหมือนกันส�ำหรับประเมินคู่ท่ี จะแต่งงานด้วย แน่นอนว่าลักษณะเหล่านี้กย็ งั แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ อีก แต่กม็ หี ลายลักษณะทีท่ กุ คนชอบเหมือนๆ กัน ตัวอย่างเช่น คนจ�ำนวนมาก ชอบคู่ทม่ี นี ิสยั ดี ซือ่ สัตย์ ซือ่ ตรง เชื่อถือได้ เฉลียวฉลาด สุขภาพดี รูปร่างหน้าตา

248

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ดี ฯลฯ ผู ้หญิงส่วนมากสารภาพว่าชอบผู ้ชายทีร่ ำ� ่ รวย แม ้ว่าผู ้ชายสมัยก่อนไม่ค่อย อ้างเรื่องความรวยของผู ้หญิงทีต่ อ้ งการแต่งงานด้วย แต่จากการศึกษาส�ำรวจของ หน่วยงานทีเ่ กี่ยวข ้อง ในตอนนี้กเ็ ริ่มมีการอ้างถึงกันแล ้ว อ�ำนาจซื้อทีแ่ ต่ละคนน�ำเข ้าไปในตลาดแบบไม่เป็ นทางการส�ำหรับการหาคู่ แต่งงาน คือสิง่ ทีต่ ดิ ตัวมากับลักษณะส่วนบุคคลของแต่ละคน วิธกี ารวัดอ�ำนาจ ซื้อของผูท้ ต่ี อ้ งการหาคู่จะวัดโดยใช้ค่าเฉลีย่ ถ่วงน�ำ้ หนักของลักษณะส่วนบุคคล ต่างๆ ทีเ่ ขาหรือเธอมีอยู่หรือเป็ นเจ้าของอยู่ ซึง่ ค่าตัวเลขแสดงน�ำ้ หนักของแต่ละ ตัวแปรจะแสดงความส�ำคัญของลักษณะส่วนบุคคลนัน้ ๆ เมือ่ เทียบกับลักษณะส่วน บุคคลทัง้ หมด ด้วยวิธกี ารวัดนี้ แต่ละบุคคลจะมีค่าตัวเลขดัชนีประจ�ำตัวระหว่าง 1 ถึง 10 ยิง่ ค่าดัชนีสูง ก็หมายถึงบุคคลนัน้ ยิง่ มีส่วนผสมของลักษณะส่วนบุคคล ทีด่ เี ป็ นทีต่ อ้ งการมากขึ้น ผู ้ทีต่ อ้ งการหาคู่แต่ละคนจะถูกสมมติให้ด�ำเนินการตาม กฎคือ “แต่งงานกับคนทีด่ ที ส่ี ุดทีต่ อ้ งการคุณ” และเมือ่ น�ำผลการวิเคราะห์ทไ่ี ด้มา จับคู่กนั ก็จะได้แบบกระสวนการจับคู่แบบคละ ซึง่ ผู ้ทีไ่ ด้คะแนนเต็ม 10 จะคู่กบั อีกคนทีไ่ ด้ 10 เช่นกัน และคนทีไ่ ด้ 9 จะคู่กบั อีกคนทีไ่ ด้ 9 แบบนี้ และต่อไป เรื่อยๆ ซึง่ วิธวี เิ คราะห์อย่างหยาบๆ ข ้างต้น ใช้ในการจับคู่โดยทีไ่ ม่ตอ้ งใช้ความรูส้ กึ

เพราะเหตุใด อายุเฉลี่ยของการแต่ งงานครั ง้ แรกจึงมีแนวโน้ มเพิ่มขึน้ (กรณีศกึ ษาของ จัสติน กริมม์ ) ในสหราชอาณาจักรเมือ่ ปี 1960 พบว่าอายุเฉลีย่ ของการแต่งงานครัง้ แรกของผู ้ชาย คือ 26 ปี และ 23 ปี ส �ำหรับผู ้หญิง ต่อมาในปี 2005 อายุเฉลีย่ เพิม่ ขึ้นเป็ น 31 ปี และ 29 ปี ตามล�ำดับ ในประเทศอืน่ ๆ ทัวโลกก็ ่ มแี นวโน้มการเปลีย่ นแปลงใน ทางคล ้ายคลึงกัน เช่น ในออสเตรเลียเมือ่ ปี 2005 อายุเฉลีย่ เมือ่ แต่งงานครัง้ แรก คือ 28.70 ปี ส �ำหรับผู ้ชาย และ 26.90 ปี ส �ำหรับผู ้หญิง ซึง่ เพิม่ ขึ้นจากปี 1970 คือ 23.40 ปี ส �ำหรับผู ้ชาย และ 21.19 ปี ส�ำหรับผู ้หญิง เพราะเหตุใด ผู ้คนจึงรอให ้ มีอายุมากขึ้นจึงแต่งงาน

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

249

เหตุผลประการแรกคือ ระดับรายได้ทส่ี ูงขึ้นช่วยให้สามารถเข ้าถึงการศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากขึ้น ทัง้ ระดับและระยะเวลาการศึกษาที่คนคน หนึ่งจ�ำเป็ นต้องใช้เพือ่ ใหไ้ ด้งานหรือต�ำแหน่งทีด่ ขี ้นึ ก็มแี นวโน้มเพิม่ ขึ้น ตัวอย่าง เช่น เมือ่ 40 – 50 ปี ทแ่ี ล ้ว คนทีจ่ บสายอาชีพในระดับ ปวช. หรือ ปวส. สามารถ ท�ำงานธนาคารเป็ นพนักงานรับฝาก–เบิก–ถอนเงินหน้าเคาน์เตอร์ได้ แต่ทกุ วันนี้จะ ต้องจบระดับปริญญาตรีเท่านัน้ เนื่องจากตลาดแรงงานในปัจจุบนั มีการแข่งขันสูง มาก ผลการสอบและตัวชี้วดั อืน่ ๆ ของระดับการเรียนทีด่ กี ม็ ผี ลกระทบเพิม่ ขึ้นต่อ ความก้าวหน้าในอาชีพด้วย สาเหตุทก่ี ล่าวมาส่งผลให้ค่าเสียโอกาสของการแต่งงานเร็วเพิม่ สูงขึ้น แปล ว่าการแต่งงานเร็วเกินไปจะท�ำให้ล�ำบากมากขึ้นในการศึกษาต่อระดับทีส่ ูงขึ้น อาจ มีบตุ รต้องดูแล หรือค่าเสียโอกาสในแง่ทท่ี กุ คนต่างหวังจะได้แต่งงานกับคนทีม่ ี อนาคตดี รุ่งเรือง และเจริญก้าวหน้าอีกด้วย ซึง่ ข ้อมูลทีต่ อ้ งใช้ในการประเมิน ความส�ำเร็จยังไม่มใี หเ้ ห็นเพราะอายุยงั น้อยเกินไป หรือยังเร็วเกินไปเมือ่ เปรียบ เทียบกับในอดีตทีผ่ ่านมา ในอดีต ข ้อดีประการหนึ่งทีไ่ ด้จากการแต่งงานเร็วคือ มีโอกาสพบคู่และ ได้แต่งงานกับคนทีด่ กี ่อนคนอื่นๆ เพราะถา้ แต่งงานล่าช้าก็อาจมีผูอ้ ่นื แย่งชิงไป ท�ำใหห้ มดโอกาสเจอคนทีด่ ไี ด้อกี หรืออาจไม่ได้แต่งงานอีกต่อไป แต่ปจั จุบนั นี้ ความกังวลดังกล่าวมีนอ้ ยลง ด้วยระดับรายได้ การศึกษา และโอกาสทางสังคม ทีม่ มี ากขึ้น ช่วยให ้มีโอกาสเข ้าถึงและรูจ้ กั ผู ้คนทีม่ ศี กั ยภาพเป็ นคู่แต่งงานมากขึ้น นัน่ เอง ด้วยเหตุน้ ี ความจ�ำเป็ นต้องแต่งงานเร็วในปัจจุบนั จึงลดลง เพราะไม่มคี ่า เสียโอกาส หรือมีค่าเสียโอกาสน้อยกว่าเมือ่ เปรียบเทียบกับในอดีตทีผ่ ่านมา ประโยชน์อกี ด้านหนึ่งของการแต่งงานเร็วทีม่ กี ารอ้างถึงก็คอื โอกาสมีบตุ ร และได้เลี้ยงดูในขณะทีต่ วั เองยังหนุ่มยังสาว สุขภาพดี และแข็งแรงเพียงพอ อย่างไร ก็ดี ประโยชน์ทอ่ี า้ งนี้มคี วามส�ำคัญลดลงในปัจจุบนั เนื่องจากพัฒนาการของระบบ สุขภาพหรือการรักษาพยาบาลท�ำให ้คนเรามีชวี ติ ยืนยาวขึ้น

250

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

โดยสรุป ค่าเสียโอกาสของการแต่งงานเร็วมีแนวโน้มเพิม่ ขึ้น ในขณะที่ ประโยชน์เพิม่ ทีไ่ ด้กลับมีแนวโน้มลดลง และเป็ นเหตุผลอธิบายว่า ท�ำไมอายุเฉลีย่ ของการแต่งงานครัง้ แรกจึงมีแนวโน้มเพิม่ ขึ้นในปัจจุบนั

เพราะเหตุใด คนสมัยนีจ้ งึ หาคู่ใหม่ ได้ ง่าย ทัง้ ๆ ที่มีค่ ูอยู่แล้ ว (กรณีศกึ ษาของ ฮีเทล พีเทล) ชายหนุ่มคนหนึ่งมีเพือ่ นสนิทเป็ นสาวสวย ความสัมพันธ์ของทัง้ คู่เป็ นความรักแบบ เพือ่ น คืนหนึ่ง ฝ่ ายหญิงชวนชายหนุ่มไปเทีย่ วผับ เธอพูดว่า “ฉันก�ำลังช่วยคุณให ้ พบกับใครบางคนในคืนนี้” และทัง้ สองก็ไปเทีย่ วผับด้วยกัน ซึง่ โดยนิสยั ของฝ่ าย หญิงแล ้วไม่ค่อยชอบไปสถานทีแ่ บบนี้เท่าไร เมือ่ ทัง้ สองคนนัง่ ลงทีเ่ ก้าอี้เรียบร้อย ฝ่ ายหญิงเริ่มจับมือฝ่ ายชายมากอดและจ้องมองเขาด้วยสายตาทีเ่ ปี่ ยมด้วยความ รักท่ามกลางสายตาของคนอืน่ ในผับ และเธอก็พดู กระซิบบ่อยครัง้ ทีข่ ้างหูเขา หลัง จากนัน้ ไม่นาน เธอก็ขอลากลับ พร้อมกับขอให้เขามาดืม่ กาแฟกับเธอในตอนเช้าวัน รุ่งขึ้น หลังจากทีเ่ ธอออกจากผับไปแล ้ว มีหญิงสาววัยรุ่นหลายคนเข ้ามาพูดคุยกับ เขา ซึง่ สร้างความประหลาดใจให ้เขามาก ค�ำถามคือ เพราะเหตุใดหญิงสาวเหล่านี้ จึงแสดงความสนใจในตัวชายหนุ่มผู ้นี้ในทันทีทนั ใด ตามทีน่ ดั หมายกันไว ้ว่าจะมาดืม่ กาแฟในเช้าวันรุ่งขึ้น เพือ่ นหญิงของเขา ไม่ได้แสดงความประหลาดใจใดๆ เมือ่ ได้ยนิ เรื่องทีเ่ ขาเล่าว่า ได้รบั ความสนใจ มากมายจากหญิงสาวสวยหลายคนในผับ เธอบอกเขาว่า “ฉันรูอ้ ยู่เต็มอกแล ้วว่า อะไรจะเกิดขึ้น” เธอบอกเพือ่ นชายของเธอต่อว่า “มันยากทีจ่ ะรูว้ า่ ผู ้หญิงทีค่ ุณสนใจจะเป็ น คนดีหรือไม่โดยดูจากเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ผูห้ ญิงในผับเหล่านัน้ เข ้าใจดีว่า ผู ้หญิงสวยโดยทัวไปจะเป็ ่ นทีห่ มายปองของผู ้ชาย และเมือ่ หลายคนได้สงั เกตเห็น ว่าฉันซึง่ เป็ นคนสวยเอาอกเอาใจคุณเป็ นอย่างดี เธอเหล่านัน้ จึงรูท้ นั ทีวา่ คุณคงเป็ น ผู ้ชายดีทน่ี ่าคบหา ซึง่ บอกได้จากการกระท�ำของฉันทีม่ ตี ่อคุณนัน่ เอง”

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

251

เพราะเหตุใด ความกระดากอายจึงเป็ นคุณสมบัตทิ ่ มี ีเสน่ ห์ ชายโสดหรือหญิงโสดทีอ่ ยู่ในวัยพร้อมทีจ่ ะแต่งงาน บางคนใช้เวลาคบหาและตัดสิน ใจเลือกหาคู่ครองค่อนข ้างนาน อาจไปเทีย่ วผับด้วยกัน เป็ นสมาชิกแฟนคลับ ไป ออกก�ำลังกายในยิมเดียวกัน ไปท�ำบุญวัดเดียวกัน หรือแม ้กระทังใช้ ่ บริการจาก ธุรกิจหาคู่เช่นเดียวกัน แต่บอ่ ยครัง้ ทีเ่ ราพบว่าทัง้ คู่ตดั สินใจเลิกคบกัน เพียงแค่ เขาหรือเธอแสดงออกมากเกินไปถึงความต้องการทีอ่ ยากแต่งงานเร็ว เพราะเหตุ ใด ผู ้ทีม่ องหาคู่แต่งงานจึงชอบลักษณะความกระดากอายทีค่ วรมีอยู่ในตัวของผู ้ ทีจ่ ะมาเป็ นคู่ครอง ครัง้ หนึ่ง โกรโช มาร์กซ์ ได้กล่าวว่า “จะไม่ยอมเข ้าเป็ นสมาชิกชมรมหรือ สมาคมใดทัง้ สิ้น ถ ้าเข ้าร่วมเพียงเพือ่ ใช้เป็ นวิธกี ารในการแสวงหาคู่ครองหรือสร้าง ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเพศตรงข ้าม” ซึง่ เขามองว่าเป็ นทัศนคติการหาคู่ทน่ี �ำไปสู่ ความล ้มเหลว ดังทีอ่ ธิบายไว ้แล ้วว่า คนทัวไปจะมองหาคู ่ ่ทเ่ี ป็ นคนใจดี มีความเมตตากรุณา ฉลาด สุขภาพแข็งแรง ซือ่ สัตย์ อารมณ์เย็น ไม่ใจร้อน และรูปร่างหน้าตาดี ซึง่ บาง ลักษณะสามารถดูได้งา่ ยจากภายนอก แต่บางลักษณะก็ดูยาก คนทีม่ คี ุณสมบัติ พร้อมดังกล่าว แน่นอนว่าย่อมเป็ นทีห่ มายปองและต้องการของเพศตรงข ้ามมาก และ ไม่น่าจะสิ้นไร้ไม ้ตอกถึงกับหาคู่ครองไม่ได้ แต่ข ้อเท็จจริงดังกล่าวจะไม่เป็ นจริงกับ ผู ้ทีร่ ูต้ วั เองว่าขาดคุณสมบัตดิ งั กล่าว โดยเฉพาะทีส่ งั เกตเห็นได้ยากจากรูปลักษณ์ ภายนอก คนกลุม่ หลังนี้มแี นวโน้มเคยถูกปฏิเสธจากแฟนหรือคนรักทีห่ มายปอง บ่อยครัง้ ดังนัน้ เมือ่ เขาพบกับคนทีช่ อบพอคนใหม่จงึ ไม่สามารถปิ ดบังซ่อนเร้น ความต้องการทีจ่ ะได้แต่งงานเร็วขึ้น โดยสรุป ความกระดากอายในขอบเขตทีพ่ อเหมาะพอควร จะเป็ นคุณสมบัติ ทีด่ ใี นการสร้างเสน่หด์ งึ ดูดให้กับคนทัวไปได้ ่ และคนทีร่ ูต้ วั เองว่าเป็ นคนมีเสน่หจ์ ะ ไม่ค่อยสิ้นหวังในเรื่องการหาคู่

252

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เพราะเหตุใด คนในชนบทจึงแต่ งงานเร็วกว่ าคนในเมือง (กรณีศกึ ษาของ แมตต์ เฮเกน) ในช่วงระหว่างปี 2000 – 2003 อายุเฉลีย่ ของผู ้ทีแ่ ต่งงานครัง้ แรกในสหรัฐฯ ทีอ่ าศัย อยูใ่ นพื้นทีช่ นบทของเวสต์เวอร์จเิ นีย ส�ำหรับผู ้ชายคือ 25.9 ปี และ 23.9 ปี ส�ำหรับ ผู ้หญิง ในทางตรงข ้าม อายุเฉลีย่ ของผู ้ทีแ่ ต่งงานครัง้ แรกทีอ่ าศัยอยู่ในเขตเมือง ของนิวเจอร์ซยี ์ ส�ำหรับผู ้ชายคือ 28.6 ปี และ 26.4 ปี ส �ำหรับผู ้หญิง เพราะเหตุ ใด คนในชนบทจึงแต่งงานเร็วกว่าคนในเมือง ความเสีย่ งข ้อหนึ่งของการแต่งงานเร็วคือ มีโอกาสหย่าร้างเร็วขึ้นด้วย คู่ไหน ก็ตามไม่วา่ จะอยู่ในเมืองหรือชนบทถา้ สามารถยืดเวลาออกไปได้อกี สักนิด แต่งงาน ให้ช้าลงหน่อย ก็หมายถึงมีโอกาสมีความสุขกับการแต่งงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีตวั อย่างมากมายทีแ่ สดงให้เห็นว่า ทางเลือกทีด่ ใี นแง่ของส่วนรวมไม่จ �ำเป็ นจะต้อง ดีส �ำหรับแต่ละบุคคลเสมอไป ตัวอย่างเช่น เมือ่ คนคนหนึ่งพบรักกับคนอีกคนทีม่ ี คุณสมบัตพิ ร้อมทุกด้าน ก็อาจมองเห็นไม่เพียงแต่ข ้อดีของการรอเวลาให ้นานขึ้น อีกสักหน่อยก่อนแต่งงาน แต่ยงั มีข ้อเสียด้านความเสีย่ งกับการมีโอกาสเสียคนรัก ไป เพราะอาจถูกคนอืน่ แย่งไปได้ แม ้ว่าคนในชนบทและคนในเมืองอาจมีลกั ษณะนิสยั ไม่เหมือนกัน แต่ถ ้า คนในเมืองใหญ่พลาดโอกาสแต่งงานกับคนทีต่ วั เองหมายปองก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต อะไร เพราะในทีส่ ุดก็ยงั คงมีชายหรือหญิงวัยรุ่นจ�ำนวนมากทีท่ ดแทนกันได้รอให ้ เลือกอยู่ แต่ถ ้าเป็ นคนในชนบท การพลาดโอกาสแต่งงานกับคนแรกทีห่ มายปอง โอกาสจะพบคนดีเท่าคนแรกนัน้ มีนอ้ ยกว่ามาก การแต่ งงานเร็วของคนในชนบทอาจใช้เป็ นอีกตัวอย่างหนึ่งของความ ขัดแย้งระหว่างสิง่ จูงใจส่วนตนกับสิง่ จูงใจส่วนรวม แม ้ว่าทุกคนเห็นเหมือนกัน ว่าการยืดเวลาแต่งงานออกไปอีกนิดจะเป็ นประโยชน์ แต่ในมุมประโยชน์ส่วนตน แล ้ว กลยุทธ์ของแต่ละคนคือการรีบแย่งชิงผู ้ทีเ่ ราถูกใจมาเป็ นคู่ให้ได้เป็ นคนแรก ให ้เร็วกว่าคนอืน่ ก่อนทีจ่ ะถูกแย่งไป บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

253

ข ้อแตกต่างทีเ่ กี่ยวข ้องอีกประการหนึ่งคือ ระดับการศึกษาของคนในชนบท มีแนวโน้มต�ำ่ กว่า อีกทัง้ สัดส่วนของผู ้ประสบความส�ำเร็จสูงในอาชีพก็มนี อ้ ยกว่า เพราะต้องใช้เวลาในการสร้างผลงาน ดังนัน้ แรงจูงใจทีจ่ ะให ้รอเวลาแต่งงานจึงมี ไม่มากพอส�ำหรับผู ้คนในชนบท แบบจ�ำลองทางเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในด้าน การตลาด ให ้ข ้อมูลความรูไ้ ม่เพียงแต่ดา้ นการเป็ นแฟนกันของหญิงและชาย แต่ ยังมีในด้านกฎหมายทีใ่ ช้บงั คับการแต่งงาน และการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษา ชีวติ สมรส ดังทีจ่ ะอธิบายในกรณีศึกษาต่อไป

ถ้ าการมีภรรยาหลายคน (Polygamy) เป็ นประโยชน์ ต่อผู้ชาย แต่ ทำ� ร้ าย ผู้หญิง ท�ำไมสภานิติบัญญัติซ่ ึงมีสมาชิกส่ วนใหญ่ เป็ นผู้ชาย จึงออก กฎหมายห้ ามผู้ชายมีภรรยาหลายคน คนจ�ำนวนมากเชื่อว่าบุคคลทีเ่ ป็ นผูใ้ หญ่เพียงพอควรมีอสิ ระเสรีในการประกอบ กิจกรรมใดที่ตนต้องการก็ได้ ตราบเท่าที่การกระท�ำนัน้ ไม่เป็ นการท�ำร้ายผูอ้ ่นื แน่นอนว่าความยากล�ำบากของเรื่องนี้อยู่ทว่ี า่ จะก�ำหนดนิยาม “การท�ำร้ายผู ้อืน่ ” ในระดับรุนแรงมากน้อยแค่ไหน จึงจะถือว่าถึงขัน้ เป็ นการท�ำร้ายผู ้อืน่ จากละคร โทรทัศน์ซรี ่สี ด์ งั เรื่อง Big Love ซึง่ เป็ นเรื่องราวของครอบครัวชาวอเมริกนั นิกาย มอร์มอน ในซอลต์เลคซิต้ ที ส่ี ามีสามารถมีภรรยาได้หลายคน เรื่องราวนี้เป็ นทีม่ า ของขอ้ โต้แย้งสาธารณะถึงความเหมาะสมของธรรมเนียมปฏิบตั ิในเรื่องการมี ภรรยาได้หลายคน เรื่องราวใน Big Love คือ มีสตรีสามคน ประกอบด้วย บาร์บ, นิกกี้ และ มาร์เกเน เลือกทีจ่ ะแต่งงานกับ บิลล์ เฮนริคสัน ซึง่ เป็ นนักธุรกิจทีป่ ระสบความ ส�ำเร็จสามารถเลี้ยงดูภรรยาทัง้ สามคนได้โดยไม่มปี ญ ั หา ส�ำหรับค�ำถามทีต่ ามมา คือ สังคมควรประณามการกระท�ำเหล่านี้หรือไม่ เนื่องจากท�ำให้เกิดการท�ำร้ายผู ้อืน่ ทีย่ อมรับไม่ได้ “ถ ้าควร” ใครเป็ นผู ้ทีค่ วรถูกประณาม ใครเป็ นผู ้ทีถ่ กู ท�ำร้าย และ ถูกท�ำร้ายอย่างไร ซึง่ แบบจ�ำลองตลาดหาคู่แต่งงานของนักเศรษฐศาสตร์ สามารถ หาค�ำตอบจากค�ำถามนี้ได้

254

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เหตุผลทีม่ กั ถูกหยิบยกมาเป็ นข ้อโต้แย้งแนวคิดการมีภรรยาหลายคนคือ เป็ นการกระท�ำทีท่ �ำร้ายจิตใจผูห้ ญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถา้ ผูห้ ญิงคนนัน้ ยังเป็ น เยาวชนและถูกบังคับให้แต่งงาน แน่นอนว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วยกับการต่อต้าน การแต่งงานแบบถูกบังคับของผู ้หญิง ไม่วา่ จะเป็ นผู ้หญิงในวัยใด หรือไม่วา่ จะเป็ น ผู ้หญิงทีถ่ กู บังคับให้แต่งงานแบบระบบสามีเดียวภรรยาเดียว (Monogamy) หรือ แบบสามีมภี รรยาได้หลายคนก็ตาม อย่างไรก็ดี ผู ้หญิงหลายคนเมือ่ เติบโตเป็ นผู ้ใหญ่ เพียงพอแล ้ว ได้เปิ ดเผยอย่างน่าชื่นว่ายินยอมพร้อมใจให ้สามีมภี รรยาหลายคน ได้ ดังนัน้ ถ ้าการกล่าวอ้างว่าการมีภรรยาหลายคนของผู ้ชายเป็ นการท�ำร้ายจิตใจ ผู ้หญิง จึงแปลความได้ประการเดียวว่า ผู ้หญิงทีร่ ูส้ กึ ว่าถูกท�ำร้ายจิตใจจะต้องเป็ น ผู ้ทีช่ อบการแต่งงานครัง้ เดียว หรือการมีภรรยาคนเดียวของผู ้ชาย เป็ นเรื่องง่ายทีจ่ ะแสดงให้เห็นว่า ผู ้หญิงบางคนได้รบั ผลกระทบอย่างไรเมือ่ ผู ้ชายมีภรรยาหลายคน ในโลกแห่งการมีคู่ครองได้คนเดียว บาร์บเป็ นคนแรกทีไ่ ด้ แต่งงานกับบิลล์ ซึง่ บิลล์กต็ อ้ งเลือกแต่งงานกับเธอเช่นกัน แต่ภายใต้ธรรมเนียม ประเพณีทอ่ี นุญาตให้ผู ้ชายมีภรรยาได้หลายคน บิลล์จงึ ไม่ได้แค่ตอ้ งการแต่งงาน กับบาร์บเท่านัน้ เขายังต้องการแต่งกับนิกกี้และมาร์เกเนด้วย เขาจึงมีทางเลือกสอง ทางคือ หาคู่ทต่ี อ้ งการอยู่แบบสามีเดียวภรรยาเดียว หรือไม่กเ็ ขาสามารถมีภรรยา ได้หลายคน แม ้จะไม่ชอบใจก็ตาม การยอมใหผ้ ูช้ ายมีภรรยาได้หลายคนแมอ้ าจตัดรอนทางเลือกที่ดีของ ผู ้หญิงบางคน แต่มไิ ด้หมายความว่าเป็ นการสร้างความเสียหายทีย่ อมรับไม่ได้ให้ กับผู ้หญิงทัวไป ่ สมมติวา่ การมีคู่หลายคนเป็ นสิง่ ทีถ่ กู กฎหมาย และ 10 เปอร์เซ็นต์ ของผูช้ ายในวัยแต่งงานเลือกทีจ่ ะมีภรรยาหลายคน โดยผูช้ ายแต่ละคนสามารถ มีภรรยาได้ 3 คน ทีเ่ หลือนอกจากนี้คอื ผูช้ าย 90 เปอร์เซ็นต์และผูห้ ญิง 70 เปอร์เซ็นต์จะมีชวี ติ คู่อยู่ในระบบสามีเดียวภรรยาเดียว หรือกล่าวอย่างง่ายๆ คือ ผูช้ ายทีเ่ หลือ 9 คนจะมีผูห้ ญิงให ้เลือกแต่งงานแบบระบบสามีเดียวภรรยาเดียว เท่ากับผูห้ ญิงทุกๆ 7 คนทีเ่ หลือ จากสภาวะการมีอปุ ทานส่วนเกินของผูช้ ายใน

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

255

ตลาดหาคู่แต่งงานแบบสามีเดียวภรรยาเดียวดังกล่าว ท�ำใหเ้ งือ่ นไขการเจรจา แลกเปลีย่ นกลับมาเอื้ออ�ำนวยต่อฝ่ ายหญิงมากกว่าภายใต้สภาวะการมีผูช้ ายให ้ เลือกมากกว่าผู ้หญิง มีคนพูดกันเล่นๆ ว่าต่อไปผู ้หญิงในฐานะภรรยาอาจท�ำหน้าที่ ซักผา้ อ้อมเด็กลดลง หรือแม ้กระทังพ่ ่ อแม่ฝ่ายเจ้าสาวอาจไม่ตอ้ งเสียเงินจัดงาน แต่งงานให ้ลูกสาวอีกต่อไป ส�ำหรับฝ่ ายชายนัน้ แน่นอนว่าส�ำหรับบางคนการได้แต่งงานกับผู ้หญิงหลาย คนก็ยง่ิ เป็ นประโยชน์ต่อเขา ยิง่ ถ ้าเป็ นผู ้ชายทีม่ คี ุณสมบัตแิ บบเดียวกับบิลล์ดว้ ย แล ้ว นอกจากจะชอบการมีภรรยาหลายคน ตัวเขาเองยังมีเสน่ หด์ งึ ดูดผูห้ ญิง หลายคนด้วย แต่ส �ำหรับผูช้ ายทีน่ ิยมมีภรรยาคนเดียว แต่สงั คมยอมใหผ้ ูช้ ายมีภรรยา ได้หลายคน จะส่งผลกระทบทางลบต่อเขา เนื่องจากการเกิดสภาวะการมีอปุ ทาน ส่วนเกินของผู ้ชายทีถ่ กู เหนี่ยวน�ำให้มีข้นึ โดยระบบ ด้วยจ�ำนวนผู ้หญิงทีม่ ใี ห้เลือก แต่งงานลดลงกว่าเดิม ฝ่ ายชายจึงจะตกเป็ นฝ่ ายเสียเปรียบในการเจรจาหาคู่ดงั ที่ กล่าวไปแล ้ว (คล ้ายเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นในจีน ซึง่ ขาดแคลนผู ้หญิงอันเนื่องมาจาก การฆ่าทารกเพศหญิง) ผู ้ชายจ�ำนวนมากต้องอยู่เป็ นโสดตลอดชีวติ โดยสรุป หลักตรรกะอุปสงค์และอุปทานทางเศรษฐศาสตร์ช่วยเปิ ดโลกทัศน์ เกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมาย หรือประเพณีการมีภรรยาได้หลายคนของผู ้ชาย ต่อสังคมส่วนรวม ถ ้าจะมีใครถูกท�ำร้ายหรือได้รบั ผลกระทบทางลบ ผู ้เคราะห์รา้ ย เหล่านัน้ คือ “ผู ้ชาย” ไม่ใช่ผู ้หญิงดังทีค่ ดิ ขอ้ สรุปขา้ งต้นจะมีนำ�้ หนักมากขึ้น หากพิจารณาปัจจัยด้านเวลาและค่า ใช้จ่ายต่างๆ ทีผ่ ู ้ชายต้องทุม่ เทเพิม่ ขึ้นเพือ่ ให้ชนะใจหญิงสาวทีต่ อ้ งการหาเป็ นคู่ครอง ซึง่ มีจ �ำนวนให ้เลือกลดลง ผู ้ชายบางคนยอมเสียเงินจ�ำนวนมากเพือ่ ท�ำศัลยกรรม ความงามให้ตัวเองดูหล่อเหลา ยอมจ่ายค่าแหวนหมัน้ ในราคาสูงขึ้น หรือซื้อกุหลาบ วันวาเลนไทน์แสนแพง และไม่วา่ ผู ้ชายจะมีความพยายามและกลยุทธ์เยีย่ มยอด เพียงใด จ�ำนวนผู ้ชายทีจ่ ะต้องอยู่เป็ นโสดจะคงเดิมไม่เปลีย่ นแปลง

256

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ไม่วา่ วัตถุประสงค์อน่ื ๆ ของกฎหมายห้ามผู ้ชายมีภรรยาหลายคนจะเป็ น เช่นใด ทีแ่ น่นอนคือ การท�ำหน้าทีเ่ ป็ นกลไกควบคุมข ้อตกลงทีช่ ่วยให ้ผู ้ชายมีชวี ติ เครียดน้อยลง และอาจเป็ นมูลเหตุใหส้ ภานิตบิ ญ ั ญัตอิ อกกฎหมายห ้ามผูช้ ายมี ภรรยาหลายคน ซึง่ สมาชิกส่วนใหญ่ในสภาก็เป็ นผู ้ชาย

เพราะเหตุใด การแต่ งงานของทหารจ�ำนวนมากในกองทัพสหรั ฐฯ จึง จบด้ วยการหย่ าร้ าง หลังจากปี ที่ 10 ของการแต่ งงาน (กรณีศกึ ษาของ แอนดรู ว์ บลานโก) งานศึกษาวิจยั หนึ่งชี้ให ้เห็นว่า โอกาสการหย่าร้างของคู่สามีภรรยาจะเกิดสูงสุดใน ปี ท่ี 3 แล ้วลดลงอย่างมากในปี ท่ี 7 และค่อยๆ ลดลงอีกหลังจากนัน้ แต่มเี รื่อง เล่าขานกันในวงการทหารว่า คู่สามีภรรยาทีค่ นใดคนหนึ่งเป็ นทหาร จะมีอตั รา การหย่าร้างกันสูงสุดในปี ท่ี 11 ของการแต่งงาน ปัจจัยใด มีผลกระทบต่อความ แตกต่างของระยะเวลาการหย่าร้างดังกล่าว สมมติฐานทีเ่ ป็ นค�ำตอบส�ำหรับค�ำถามนี้มาจากมาตราหนึ่งทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว ้ใน บทบัญญัติ US Uniformed Services Former Spouses Protection Act (USFSPA) ซึง่ อธิบายถึงเงือ่ นไขทีค่ ู่หย่าร้างจะได้รบั เงินพิเศษว่าด้วยการออกจาก ราชการทหารของคู่หย่าร้างทีเ่ ป็ นทหาร ระบุวา่ ภายหลังการอยู่กนิ ฉันสามีภรรยา กับคู่หย่าร้างทีเ่ ป็ นทหาร ซึง่ รับราชการทหารมาต่อเนื่องหลังจากแต่งงานแล ้ว 10 ปี ข้นึ ไป คู่หย่าร้างมีสทิ ธิ์ภายใต้บทบัญญัตนิ ้ ี โดยได้รบั ส่วนแบ่งจากเงินเบี้ยหวัด เบี้ยบ�ำนาญเลี้ยงชีพของคู่หย่าร้างทีเ่ ป็ นทหาร ซึง่ เป็ นเงินจ่ายตรงจากฝ่ ายบัญชี และการเงินของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ดังนัน้ การรอเวลาหย่าหลังจากปี ท่ี 10 ขึ้นไป จึงสามารถหลีกเลีย่ งการพึง่ พาทางการเงินจากอดีตสามีหรือภรรยา โดยจะ ได้รบั เงินส่วนแบ่งโดยตรงจากค่าเบี้ยหวัดเบี้ยบ�ำนาญเลี้ยงชีพ ตลาดนอกระบบ คู่สมรสจ�ำนวนมากมักจะมีอทิ ธิพลกับคนทัวไปในการ ่ เลือกคู่ทม่ี รี ูปร่างหน้าตาดีและมีรูปลักษณ์ทโ่ี ดดเด่น

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

257

เพราะเหตุใด โดยเฉลี่ยผู้มีรูปร่ างหน้ าตาดีมักจะฉลาดกว่ าคนอื่นๆ ด้ วย (กรณีศกึ ษาของ ซาโตชิ คานาซาวา และ โจดี โควาร์ ) จากผลงานวิจยั พบว่า คนทีม่ รี ูปร่างหน้าตาดีมกั มีแนวโน้มทีจ่ ะฉลาดตามไปด้วย บ่อยครัง้ พบว่าเด็กทีน่ ่ารักมักมีแนวโน้มมีผลการเรียนดีตามไปด้วยเช่นกัน แม ้ว่า ผลการค้นพบประการหลังจะถูกอ้างว่าอาจเกิดจากความล�ำเอียงของครูทม่ี กั ชอบ เด็กฉลาดน่ารัก แต่ผลการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ทางตลาดหาคู่แต่งงาน ชี้ให้เห็น ว่า เด็กทีม่ หี น้าตาดีกว่าจะมีความฉลาดปราดเปรื่องมากกว่า นักจิตวิทยาชื่อ ซาโตชิ คานาซาวา และโจดี โดวาร์ เสนอหลักฐานทีช่ วน ให ้เชื่อ 4 ประการดังนี้ (1) คนทีฉ่ ลาดมากกว่ามีแนวโน้มประสบความส�ำเร็จด้าน สถานะทางสังคม และมีรายได้สูงกว่าคนทีฉ่ ลาดน้อยกว่า (2) ผู ้ชายโดยทัวไปอยาก ่ แต่งงานกับผู ้หญิงสวยทีม่ รี ูปลักษณ์ภายนอกดูดี (3) ผู ้หญิงโดยทัวไปอยากแต่ ่ งงาน กับผู ้ชายทีม่ รี ายได้ดแี ละสถานะทางสังคมสูง (4) ทัง้ ความฉลาดและรูปลักษณ์ทาง กายภาพคือลักษณะทีส่ บื ทอดได้ทางพันธุกรรม ถ ้าข ้อความสามข ้อแรกเป็ นจริง เหตุผลตามมาทางตรรกะวิทยาคือ ผูห้ ญิงสวยจะจับคู่แต่งงานกับชายทีฉ่ ลาดใน สัดส่วนทีไ่ ม่ได้สว่ นกัน และถ ้าความฉลาดและความสวยสืบทอดได้ทางพันธุกรรม แนวโน้มลูกทีเ่ กิดขึ้นจะมีลกั ษณะทัง้ สองอยู่ในตัวเกินค่าเฉลีย่ ของพ่อแม่ กล่าวโดยสรุป เท่าที่เรามีความรู เ้ กี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ชายและหญิง สมมติฐานทีว่ า่ ความงาม (Beauty) กับมันสมอง (Brain) มีความ สัมพันธ์กนั ทางตรงนัน้ ไม่ได้ไกลเกินจากความเป็ นจริง

เพราะเหตุใด ชายหนุ่มที่ชอบผู้หญิงผมสีน�ำ้ ตาล (Brunette) มีแนวโน้ ม ที่ได้ แต่ งงานกับหญิงสาวที่ใจดีกว่ า สุขภาพดีกว่ า สวยกว่ า และฉลาด กว่ าชายหนุ่มที่ชอบหญิงสาวผมสีบลอนด์ (Blonde) มีการพูดกันว่า ผูช้ ายส่วนใหญ่ชอบผูห้ ญิงทีม่ ผี มสีบลอนด์ ซึง่ เป็ นข ้อเท็จจริงที่ ยืนยันได้จากผลการศึกษาส�ำรวจในประเทศกลุม่ ตะวันตกหลายประเทศ แต่ถ ้า

258

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ใหผ้ ูช้ ายเลือกว่าสีผมของผูห้ ญิงแบบใดทีม่ เี สน่หด์ งึ ดูดมากทีส่ ุด คุณอาจแปลก ใจเมือ่ ได้ยนิ ค�ำตอบตอบว่าเลือกผู ้หญิงผมสีนำ�้ ตาล สมมติวา่ ให ้อ�ำนาจซื้อของผู ้ชายแต่ละคนในตลาดหาคู่แต่งงาน วัดโดยใช้ ค่าดัชนีทก่ี �ำหนดขึ้นโดยกลไกของตลาด เมือ่ ค�ำนวณจากส่วนผสมลักษณะส่วน บุคคลของเขา ในระยะสัน้ ค่าดัชนีน้ จี ะคงที่ ตามทฤษฎีกล่าวว่า ผู ้ชายและผู ้หญิง ทีม่ คี ่าดัชนีเท่ากันหรือใกล ้เคียงกันจะเหมาะสมเป็ นคู่แต่งงานกัน ผู ้ชายทีม่ คี ่าดัชนี เท่ากับ 9 อาจหวังแต่งงานกับผู ้หญิงทีม่ คี ่าดัชนีเท่ากับ 10 ได้ แต่โดยทัวไปผู ่ ้หญิง ทีม่ คี ่าดัชนีเท่ากับ 10 จะมีทางเลือกหาคู่ครองทีด่ กี ว่า โดยแท ้จริงแล ้ว ผู ้ชายทีม่ ี ค่าดัชนีเท่ากับ 9 สามารถคาดหวังได้วา่ จะได้แต่งงานกับผู ้หญิงทีม่ คี ่าดัชนีเท่ากับ 9 ได้เช่นกัน ไม่วา่ จะเป็ นเพศหญิงหรือชาย ลักษณะส่วนบุคคลมากมายสามารถผสม กันและวัดค่าดัชนีได้เท่ากับ 9 เช่นกัน หมายความว่าในหมูค่ นทีม่ คี ่าดัชนีเท่ากับ 9 เท่ากัน ถ ้าใครมีค่าลักษณะส่วนบุคคลใดๆ จ�ำนวนหนึ่งทีส่ ูงมาก หมายความ ว่าจะต้องมีค่าลักษณะส่วนบุคคลอืน่ ๆ ทีเ่ หลือต�ำ่ ลงกว่าค่าเฉลีย่ ดังนัน้ ถ ้าผมสี บลอนด์เป็ นลักษณะส่วนบุคคลทีม่ คี วามส�ำคัญ (ค่าถ่วงนำ�้ หนักมาก) ก็จะส่งผลทาง บวกต่อค่าดัชนีความสวยของผู ้หญิงมาก ผู ้หญิงผมสีบลอนด์ทม่ี คี ่าดัชนีเฉลีย่ ถ่วง น�ำ้ หนักรวมเท่ากับ 9 แนวโน้มจะมีค่าลักษณะส่วนบุคคลทีส่ �ำคัญด้านอืน่ ๆ เหลือ ต�ำ่ กว่าผู ้หญิงผมสีนำ�้ ตาลทีม่ คี ่าดัชนีเฉลีย่ ถ่วงน�ำ้ หนักรวมเท่ากับ 9 เท่ากัน กล่าว โดยเฉลีย่ เธอจะเป็ นคนทีม่ สี ุขภาพอ่อนแอกว่า ฉลาดน้อยกว่า ใจดีนอ้ ยกว่า และ สวยน้อยกว่าในมิตอิ น่ื ๆ ทีไ่ ม่ใช่สผี ม ดังนัน้ ถา้ ผู ้ชายเลือกชอบผู ้หญิงผมสีนำ�้ ตาล ก็นบั ว่าเขามีเหตุผลดีทท่ี �ำเช่นนัน้

ถ้ าคนมีเสน่ ห์คือคนที่ฉลาดกว่ าผู้อ่ ืน และถ้ าคนผมสีบลอนด์ คือคนที่ มีเสน่ ห์มากกว่ าคนผมสีอ่ ืน ถ้ าเช่ นนัน้ ท�ำไมจึงมีเรื่ องเล่ าตลกมากมาย เกี่ยวกับความไม่ ฉลาดของคนผมสีบลอนด์ ถ ้าคุณค้นหาในเว็บ จะพบเรื่องตลกนับพันเกี่ยวกับการแสดงความไม่ฉลาดของ คนผมสีบลอนด์ มีเรื่องหนึ่งเล่าไว ้ดังนี้ “ขณะทีส่ ามีภรรยาคู่หนึ่งก�ำลังนอนหลับ บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

259

ก็มเี สียงโทรศัพท์ดงั ขึ้นเมือ่ เวลาประมาณตีสอง ฝ่ ายภรรยาผูม้ ผี มสีบลอนด์ได้ ลุกขึ้นรับโทรศัพท์ หลังจากฟังเสียงปลายสายสักครู่ จึงพูดขึ้นว่า “แล ้วฉันจะรู ้ ได้อย่างไร เพราะทีน่ นั ่ ไกลจากนี่ร่วม 200 ไมล์” จากนัน้ ก็วางหู สามีถามว่า “ใคร โทร. มาล่ะ” ภรรยาตอบว่า “ไม่รูว้ า่ ใคร แต่เป็ นผู ้หญิงโทร. มาถามว่าต้องการรูว้ า่ ชายฝัง่ ทะเลสงบหรือไม่” เรื่องตลกนี้มปี ริศนาทางเศรษฐศาสตร์ทต่ี อ้ งหาค�ำตอบ ดังทีไ่ ด้อธิบายไป แล ้ว ผูช้ ายจ�ำนวนมากเห็นว่าผูห้ ญิงผมสีบลอนด์มเี สน่หม์ ากกว่าผูห้ ญิงผมสีด �ำ หรือน�ำ้ ตาล ผลการศึกษายังพบด้วยว่าคนส่วนใหญ่เห็นว่าคนมีเสน่หม์ กั มีแนวโน้ม ฉลาดมากกว่าค่าเฉลีย่ ความฉลาดของคนทัวไป ่ เมือ่ เป็ นเช่นนี้ ท�ำไมจึงมีเรื่องเล่า ตลกมากมายเกี่ยวกับความไม่ฉลาดของคนผมสีบลอนด์ การทีผ่ ู ้อืน่ จะมองคุณว่ามีความฉลาดมากน้อยเพียงไร ไม่ได้ข้นึ อยู่เพียงแค่ พื้นฐานเดิมของความสามารถทางปัญญา แต่ยงั ขึ้นอยู่กบั ว่าคุณได้รบั การบ่มเพาะ พัฒนาขึ้นด้วยการลงทุนทางการศึกษาและฝึ กอบรมมามากน้อยเพียงไรด้วย ในทาง กลับกัน แต่ละคนจะลงทุนทางการศึกษามากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กบั ผลตอบแทนการ ลงทุนทีจ่ ะได้รบั เมือ่ เทียบกับทางเลือกการลงทุนอืน่ ๆ ถา้ ผู ้หญิงผมสีบลอนด์ได้รบั การยอมรับจริงๆ ว่าสวยมีเสน่หม์ ากกว่าผู ้หญิงผมสีอน่ื หมายความว่าการมีผม สีบลอนด์เป็ นการช่วยสร้างเสน่หแ์ ละความสวย โดยไม่ตอ้ งลงทุนในด้านการศึกษา

นี่คารอล ความร้อนแรง คือทักษะที่มีความส�ำคัญ มันเหมือนกับพลังมหาศาล

คุณจ้างเอลเลนเพียง เพราะเธอเป็นผู้หญิง ร้อนแรงเท่านั้นน่ะหรือ

นับแต่นี้ต่อไป คุณจะขาย ปริ้นเตอร์คาร์ตริดจ์ ให้เราในราคาเท่าไร ฟู่ ู่ ฟ รี! ฟ

สกอตต์ อดัม, Dist. By UFS, Inc.

SS

260

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ดังนัน้ ความรูส้ กึ ทีว่ า่ ผู ้หญิงผมสีบลอนด์มคี วามฉลาดน้อยกว่าผู ้หญิงผม สีอน่ื อาจเกิดจากเหตุผลเชิงตรรกะทีค่ ดิ กันว่าพวกเธอเลือกทีจ่ ะลงทุนน้อยในด้าน การศึกษามากกว่าทีจ่ ะเกิดจากข ้อแตกต่างใดๆ ในเชาวน์ปญ ั ญาระหว่างเธอกับ ผู ้หญิงผมสีอน่ื หรือบางทีอาจเกิดจากผู ้หญิงผมด�ำขี้อจิ ฉาทีม่ เี วลาว่างมากเกินไป ช่วยกันสร้างเรื่องตลกขบขันขึ้นมาเพือ่ กลันแกล ่ ้งพวกเธอ นักวิจารณ์คดั ค้านได้อย่างถูกต้องว่า แบบจ�ำลองตลาดความสัมพันธ์ส่วน บุคคล (หรือตลาดหาคู่แต่งงาน) ของนักเศรษฐศาสตร์ยงั พลาดอีกหลายประเด็น ทีส่ �ำคัญ แม ้ว่าแบบจ�ำลองอาจเป็ นประโยชน์ช่วยอธิบายรูปแบบเฉพาะของปัจจัย กระทบต่อความส�ำเร็จของการหาคู่แต่งงาน แต่ละเลยปัจจัยทีเ่ ป็ นสาระส�ำคัญของข ้อ ผูกพันในความส�ำเร็จของการแต่งงาน ซึง่ โดยธรรมชาติจะเป็ นอิสระจากการพิจารณา เรื่องความร�ำ่ รวยหรือความมังคั ่ ง่ เชิงทรัพย์สนิ ของผู ้ทีต่ อ้ งการได้มาเป็ นคู่ครอง ความส�ำคัญของข ้อผูกมัดในความสัมพันธ์ของทัง้ สองฝ่ ายเป็ นทีค่ ุน้ เคย และเข ้าใจดีกบั ผู ้ทีเ่ คยมีประสบการณ์กบั เจ้าของอะพาร์ตเมนต์ให้เช่า ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณเพิง่ จะย้ายเข ้าไปอาศัยในเมืองใหญ่ เช่น แมนเชสเตอร์ และก�ำลัง มองหาหอ้ งพัก คุณมีบญ ั ชีรายชื่ออะพาร์ตเมนต์นบั พันแห่งอยู่ในมือ แต่คงเป็ น ไปไม่ได้ทจ่ี ะไปดูทกุ แห่งเพือ่ เลือกแห่งทีถ่ กู ใจทีส่ ุด คุณอาจเลือกไปดูสามสีแ่ ห่ง และเปรียบเทียบกัน ทัง้ เรื่องอัตราค่าเช่า สภาพแวดล ้อม ท�ำเล และคุณลักษณะ อืน่ ๆ ทีค่ ุณต้องการ แน่นอนว่าระหว่างการตระเวนดู คุณอาจพบอะพาร์ตเมนต์ท่ี คุณพอใจมากทีส่ ุด แต่คณ ุ ต้องการยุตกิ ารหาแม ้จะรูว้ า่ ยังมีทพ่ี กั บางแห่งทีด่ มี ากๆ อยู่อกี เพราะคุณไม่มเี วลาพอแล ้ว คุณมีหลายสิง่ หลายอย่างทีจ่ ะต้องท�ำต่อไป เมือ่ ตัดสินใจเลือกอะพาร์ตเมนต์แล ้ว ขัน้ ตอนส�ำคัญต่อไปคือ การท�ำข ้อ สัญญากับเจ้าของอะพาร์ตเมนต์ เพราะคุณคงไม่ตอ้ งการย้ายเข ้า และถูกขอให ้ ย้ายออกหลังอาศัยอยู่เพียงเดือนเดียว เมือ่ ถึงตอนนัน้ คุณคงซื้อผา้ ม่าน ติดภาพ บนฝาผนัง ติดตัง้ โทรศัพท์ จัดห ้อง หรืออืน่ ๆ หลายอย่างไปเรียบร้อยแล ้ว แล ้วถ ้า คุณถูกบังคับให ้เอาออก ไม่เพียงแต่การลงทุนทีท่ �ำไปแล ้วจะสูญเปล่าเท่านัน้ คุณ ยังต้องเสียเวลาหาทีอ่ ยู่ใหม่อกี ด้วย บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

261

ในท�ำนองเดียวกัน เจ้าของอะพาร์ตเมนต์กต็ อ้ งการให้คุณเช่าในระยะเวลา นาน เพราะเจ้าของก็ได้เสียเวลาและประสบความยุ่งยากพอสมควรกว่าจะหาผู ้เช่า ได้สกั ราย เช่น เขาต้องลงทุนโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ และต้องคอยพาผู ้สนใจเช่า ชมห ้องพักนับเป็ นสิบๆ ราย แต่กไ็ ม่มรี ายใดทีด่ ูน่าเชื่อถือเท่ากับคุณ ผลลัพธ์คอื แม ้คุณจะรู ้ว่ายังมีอะพาร์ตเมนต์ทด่ี กี ว่า ส่วนเจ้าของอะพาร์ตเมนต์ ก็รูว้ า่ ยังมีผู ้เช่าทีด่ มี ากกว่าคุณ แต่ทงั้ สองฝ่ ายต่างก็ตอ้ งท�ำเป็ นไม่รูไ้ ม่ช้ ยี อมละทิ้ง โอกาสนัน้ ไป ทางออกมาตรฐานของเรื่องนี้คอื การท�ำสัญญาเช่าขึ้น เพือ่ ป้ องกัน ไม่ใหแ้ ต่ละฝ่ ายไปรับขอ้ เสนอของผูอ้ ่นื ซึ่งอาจมีเงือ่ นไขดีกว่า ถา้ คุณย้ายออก ก่อนก�ำหนด คุณยังต้องจ่ายค่าเช่าจนกว่าจะหมดสัญญา แต่ถ ้าเจ้าของอะพาร์ต– เมนต์ตอ้ งการให ้คุณย้ายออกก่อนก�ำหนด สัญญาจะให ้อ�ำนาจคุณปฏิเสธได้ การท�ำสัญญาขอ้ ตกลงท�ำใหผ้ ูเ้ ช่าเต็มใจจ่ายค่าเช่าเพิม่ ขึ้น และผูใ้ หเ้ ช่า ยอมรับค่าเช่าในอัตราทีล่ ดลง หากปราศจากซึง่ ข ้อผูกมัดตามสัญญา การซื้อขาย แลกเปลีย่ นทีม่ มี ลู ค่าจะไม่เกิดขึ้น ในการมองหาคู่สมรส คุณอาจประสบกับปัญหาข ้อผูกมัดคล ้ายคลึงกัน ซึง่ คุณต้องการคู่สมรส แต่กไ็ ม่ใช่วา่ ใครก็ได้ ภายหลังการออกเดตกันระยะหนึ่ง คุณ อาจเริ่มรูส้ กึ ว่าแฟนของคุณเป็ นคนอย่างไร เป็ นคนใจร้อนหรือใจเย็น ใจบุญหรือ ไม่ ชอบการพักผ่อนประเภทไหน มีทกั ษะความช�ำนาญเรื่องใด และเรื่องอืน่ ๆ ใน บรรดาคนทีค่ ุณพบจะมีอยู่หนึ่งคนทีค่ ุณอาจสนใจเป็ นพิเศษ และหากเขาผูน้ นั้ ก็ สนใจคุณด้วย คุณทัง้ สองคนก็เริ่มคบกันและลงทุนสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง กันขึ้น โดยการแต่งงาน ซื้อบ ้าน และมีลูก แต่ถ ้าต่างคนต่างไม่หวังว่าจะไปด้วย กันได้นาน ขัน้ ตอนทีก่ ล่าวก็ไม่มคี วามหมายอะไร สมมติวา่ คุณทัง้ สองคนแต่งงานกันแล ้ว และภายหลังพบว่ามีบางสิง่ บางอย่าง ไม่ถกู ต้องเกิดขึ้น คุณจะท�ำอย่างไร ไม่วา่ คุณสมบัตขิ องคนในฝันทีค่ ุณต้องการ แต่งงานด้วยจะเป็ นเช่นไรก็ตาม เมือ่ คุณรูว้ ่ามีบางคนทีม่ คี ุณสมบัตใิ กล ้เคียงกับ คนทีค่ ุณฝันไว ้ และถ ้าบุคคลนัน้ เกิดปรากฏตัวขึ้นมาจริงๆ ในทันทีทนั ใดโดยไม่

262

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

คาดฝัน อาจท�ำให ้เกิดปัญหาระหว่างคุณกับคู่สมรส หรือหากคุณหรือคู่สมรสเกิด ป่ วยหนักขึ้นมาอีกล่ะ ฯลฯ ในสถานการณ์เช่นนี้คุณจะท�ำอย่างไร ในท�ำนองเดียว กับเจ้าของอะพาร์ตเมนต์และผู ้เช่าทีต่ ่างจะได้ประโยชน์จากการท�ำสัญญาผูกพันกัน ซึง่ ผูเ้ ป็ นหุนส่ ้ วนในชีวติ การแต่งงานก็เช่นกัน ต่างจะได้ประโยชน์กบั หลักประกัน ชีวติ การแต่งงานในอนาคตด้วยเหมือนกัน การจดทะเบียนสมรสเป็ นวิธกี ารหนึ่งเพือ่ พยายามให้คู่สมรสมีข ้อผูกพันกัน ทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม พันธะทางกฎหมายมิได้เป็ นวิธเี หมาะสมเสมอไป ใน การช่วยสร้างความผูกพันประเภททีค่ ู่สมรสต่างต้องการความเข ้าใจซึง่ กันและกัน แม ้ว่ากฎหมายจะมีบทลงโทษจนอาจบีบให้คู่สมรสอยู่ดว้ ยกันต่อไป แต่การแต่งงาน ภายใต้เงือ่ นไขดังกล่าวไม่ใช่เป้ าหมายทีแ่ ต่ละคนหวังจะบรรลุตงั้ แต่ก่อนแต่งงาน ขอ้ ผูกมัดที่มงคงแข็ ั่ งแรงมากกว่าจะเป็ นผลตามมา หากพันธะการเป็ น สามีภรรยากันตามกฎหมายถูกเสริมด้วยสายใยแห่งความรัก ความสัมพันธ์ของ คู่แต่งงานหลายคู่กไ็ ม่ได้มปี ญ ั หาแต่อย่างไร เมือ่ ฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งพบกับคนใหม่ท่ี ถูกใจมากกว่าในภายหลัง ทัง้ ด้านฐานะการเงิน ความร�ำ่ รวย หรือรูปร่างหน้าตาทีด่ ี กว่าก็ตาม แต่เพราะคู่แต่งงานทีม่ คี วามรักความเข ้าใจกันอย่างแท้จริง ก็ไม่ตอ้ งการ แสวงหาโอกาสการมีคู่ใหม่

บทที่ 10 การเรียกร้องหาความรักและเงินตรา

263

11

สองเรื่องเดิม



วามยากล�ำบากเรื่องหนึ่งทีผ่ มเผชิญเมือ่ เริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ การ ต้องปรับปรุง ดัดแปลง และเสริมแต่งเนื้อหา ในรายงานของนักศึกษาจ�ำนวน มากทีน่ �ำมาใช้เป็ นตัวอย่างวิเคราะห์เรื่องราวเพือ่ น�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ แม ้จะมี หลายเรื่องทีต่ งั้ ค�ำถามได้อย่างน่าสนใจมาก แต่บอ่ ยครัง้ ค�ำตอบทีอ่ ธิบายก็ยงั ไม่ ชัดเจน หรือไม่น่าสนใจในทางเศรษฐศาสตร์มากนัก ถา้ จะให้น�ำเรือ่ งเหล่านี้มารวมไว ้ ก็ไม่มหี นทางใดทีผ่ มจะท�ำได้ดกี ว่าการต้องปรับปรุงและดัดแปลงค�ำอธิบายใหม่บ ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มบี ทความของนักศึกษาหลายเรื่องทีต่ งั้ ค�ำถามไว ้ดีมาก และอธิบายเหตุผลเป็ นค�ำตอบไว ้ชัดเจน ไม่เพียงเท่านัน้ ยังเขียนขึ้นด้วยการใช้ ถ ้อยค�ำทีส่ ละสลวยกินใจ บทความทีด่ จี �ำนวนมากเหล่านี้เองทีท่ �ำใหผ้ มต้องปวด เศียรเวียนเกล ้ากับการตัดสินใจ ก่อนทีจ่ ะท�ำใจได้ในทีส่ ุดว่า ถ ้าจะใหห้ นังสือน่า อ่าน จะต้องเขียนขึ้นในลีลาทีใ่ ช้ส �ำนวนเดียวกันตลอดทัง้ เล่ม และด้วยเหตุน้ เี อง ผมจึงเริ่มลงมือเขียนใหม่ทงั้ หมดจากบทความของนักศึกษาทีท่ �ำส่ง มีบางเรื่องที่ ผมต้องขอโทษนักศึกษาผู ้เขียนต้นฉบับไว ้ ณ ทีน่ ้ ดี ว้ ย ทีก่ ารเขียนขึ้นใหม่ของผม อาจไม่ตรงกับเรื่องราวใดๆ ของต้นฉบับเดิมเลย เพือ่ แสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเดิมหลายเรือ่ งทีน่ กั ศึกษาเขียนขึ้นมีความไพเราะ น่าอ่านเพียงใด ผมจึงได้คดั ลอกมาสองเรือ่ งแบบค�ำต่อค�ำให้เห็นเป็ นตัวอย่างต่อไปนี้ บทที่ 11 สองเรื่องเดิม

265

เพราะเหตุใด นักต่ อต้ านการทารุ ณสัตว์ จึงมุ่งเป้าไปที่ผ้ ูหญิงที่ใส่ เสือ้ ขนสัตว์ แต่ ไม่ ย่ ุงกับนักปั่ นจักรยานที่ใส่ เสือ้ หนังสัตว์ (กรณีศกึ ษาของ เควิน ไฮเซย์ ) เหตุผลทีส่ ามารถใช้อธิบายค�ำตอบของค�ำถามนี้มหี ลายข ้อ แต่ผมขอน�ำเสนอใน ชัน้ ต้นนี้เพียง 3 ข ้อ ดังนี้ ข ้อที ่ 1 อาจมีความชัดเจนมากทีส่ ุด คือการมองประโยชน์ เชิงรูปธรรมทีจ่ ะได้จากการก่อกวนใจเมือ่ ถูกต่อต้านจากนักรณรงค์ต่อต้านการทารุณ สัตว์ หญิงสูงวัยทีใ่ ส่เสื้อขนสัตว์ดูเหมือนมีความล�ำบากใจมากกว่านักปัน่ จักรยาน ร่างกายก�ำย�ำทีใ่ ส่เสื้อหนังสัตว์ ข ้อที ่ 2 พิจารณาจากจ�ำนวนตัวสัตว์ทต่ี อ้ งฆ่าเพือ่ ใช้ท �ำเสื้อขนสัตว์ของผูห้ ญิงเปรียบเทียบกับท�ำเสื้อหนังสัตว์ของนักปัน่ จักรยาน และข ้อที ่ 3 พิจารณาจากพฤติกรรมของนักต่อต้านการทารุณสัตว์จากแง่มมุ การ วิเคราะห์รายได้–ต้นทุน เมือ่ รายได้ถกู แปลงกลับไปเปรียบเทียบกับต้นทุน ท�ำให ้ ผู ้อืน่ มองว่าเป็ นคนแปลกประหลาดไป เหตุผลอธิบายค�ำตอบข ้อที ่ 1 คือ เมือ่ พิจารณาปัญหาดังกล่าวในแง่ปฏิกริ ยิ า ทีจ่ ะมีตามมาจากผู ้ทีถ่ กู ต่อต้าน คาดว่าประโยชน์ทน่ี กั ต่อต้านการทารุณสัตว์จะได้ จากการมุง่ เป้ าไปทีผ่ ู ้หญิงทีใ่ ส่ชดุ ขนสัตว์จะมีความชัดเจนมากกว่า กล่าวคือ ความ เสีย่ งทีจ่ ะถูกตอบโต้กลับโดยการท�ำร้ายร่างกายจะมีนอ้ ยกว่า ถ ้าต้องสาดสีแดงเข ้า ใส่ชดุ ขนสัตว์ทผ่ี ู ้หญิงใส่อยู่ อย่างมากก็อาจโดนแค่ถกู ฟาดด้วยกระเป๋ าถือ ซึง่ นัก กิจกรรมเหล่านี้กค็ งหลบได้ทนั ในทางตรงกันข ้าม ลองจินตนาการว่าอะไรจะเกิด ขึ้นถ ้านักกิจกรรมต่อต้านการทารุณสัตว์สาดสีแดงเหมือนกันเข ้าไปทีเ่ สื้อแจ็กเก็ต หนังของนักปัน่ จักรยาน โชคดีทส่ี ุดก็คงแค่วง่ิ หนีการกวดไล่ได้ทนั แต่ถ ้าโชคร้าย คงโดนเตะต่อยหรือถูกท�ำร้ายด้วยอาวุธ ดังนัน้ จึงเข ้าใจได้ไม่ยากว่าท�ำไมนักต่อ ต้านการทารุณสัตว์จงึ ชอบมุง่ เป้ าไปทีผ่ ู ้หญิงทีใ่ ส่เสื้อขนสัตว์มากกว่านักปัน่ จักรยาน ทีใ่ ส่เสื้อหนังสัตว์ จากปรากฏการณ์น้ ี เราจะสรุปได้หรือไม่ว่า นักต่อต้านการทารุณ สัตว์เป็ นนักข่มขูท่ ข่ี ้ขี ลาด หรือไม่กก็ �ำลังพัฒนาลักษณะดังกล่าวขึ้นในตัวเอง ถ ้า คิดอย่างผิวเผินก็น่าจะตอบว่า “ใช่” แต่ผมคิดว่ามีเหตุผลทีล่ กึ ซึ้งมากกว่านัน้ อยู่ เบื้องหลัง ดังจะอธิบายต่อไป

266

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

เหตุผลอธิบายค�ำตอบขอ้ ที ่ 2 ส�ำหรับโลกใบนี้ถูกจ�ำกัดทัง้ เวลาและ ทรัพยากรธรรมชาติ นักกิจกรรมต่อต้านการทารุณสัตว์เหล่านี้อาจรูส้ กึ ว่าควรวาง กลยุทธ์ต่อต้านไปทีก่ จิ กรรมทีท่ �ำร้ายจ�ำนวนชนิดของสัตว์มากทีส่ ุด ภายใต้แนวคิด นี้ การผลิตเสื้อโค้ทขนสัตว์ก็ตอ้ งใช้สตั ว์เหล่านี้ เช่น ตัวมิ้งก์ (Mink) เออร์มนี (Ermine) สุนขั จิ้งจอก (Foxes) ในขณะทีเ่ สื้อแจ็กเก็ตหนังอาจผลิตขึ้นโดยใช้ววั เพียงหนึ่งตัวเท่านัน้ ฉะนัน้ การมุ่งเป้ าไปทีผ่ ูห้ ญิงทีใ่ ส่ชดุ ขนสัตว์จงึ เป็ นการยืน ขึ้นอย่างผงาด เพือ่ ประกาศตัวต่อต้านการท�ำลายชีวติ สัตว์หลายชนิดและหลาย ตัว และเป็ นการใช้กลยุทธ์การท�ำงานทีใ่ ช้ทรัพยากรทีม่ อี ยู่จ �ำกัดไปในการด�ำเนิน กิจกรรมส�ำคัญทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม แนวคิดของนักต่อ ต้านเหล่านี้ยงั มีจดุ อ่อนเช่นกัน แน่นอนว่าผูห้ ญิงแต่ละคนทีใ่ ส่ชดุ ขนสัตว์อาจมี ส่วนรับผิดชอบกับการตายของสัตว์หลายตัว แต่ถา้ พิจารณาผลกระทบโดยส่วน รวม ปศุสตั ว์ (วัว ควาย แพะ และแกะ) จ�ำนวนมากถูกฆ่าตายเพือ่ ให ้มนุษย์ใช้ ประโยชน์มากกว่าจ�ำนวนตัวมิ้งก์หรือสุนขั จิ้งจอกทีถ่ กู ฆ่าไม่ก่ตี วั หรือเหตุผลทีว่ า่ นี้ เพือ่ ใช้ทรัพยากรจ�ำกัดอย่างประสิทธิภาพมากกว่าในการต่อต้านการท�ำลายชีวติ สัตว์จ �ำนวนมากนัน้ ในประเด็นนี้มผี ู ้โต้แย้งว่านักกิจกรรมควรมุง่ เป้ าไปทีผ่ ู ้ใส่เสื้อ หนังสัตว์มากกว่า เพราะพบว่ามีจ �ำนวนมากกว่าในสังคมส่วนรวม เหตุผลอธิบายค�ำตอบข ้อที ่ 3 ข ้อสุดทา้ ยนี้ สิง่ แรกก็จะต้องตัง้ ข ้อสมมติ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของนักกิจกรรมต่อต้านการท�ำลายชีวติ สัตว์ก่อน สมมติวา่ วัตถุประสงค์คือ การเพิม่ จ�ำนวนคนใหเ้ ปลีย่ นมารักและสงสารสัตว์ใหม้ ากทีส่ ุด เท่าทีจ่ ะท�ำได้ดว้ ยต้นทุนต�ำ่ ทีส่ ุด โดยขัน้ แรก ให้พิจารณากลุม่ เป้ าหมายผู ้หญิงทีใ่ ส่ ชุดขนสัตว์ ส่วนใหญ่จะเป็ นหญิงสูงอายุทม่ี ฐี านะดี การใส่ชดุ ขนสัตว์มกั ถูกมองว่า ฟุ่มเฟื อย และขนของสัตว์ทใ่ี ช้ท �ำชุดส่วนมากก็เป็ นสัตว์น่ารักทีท่ �ำให ้คนเกิดความ สงสารได้ การมุง่ เป้ าไปทีผ่ ู ้ใส่ชดุ ขนสัตว์ไม่ได้มผี ลท�ำให้มีคนแปลกประหลาดเป็ น จ�ำนวนมากมายเท่าไรนัก และโดยทัวไปเหยื ่ อ่ ของการถูกต่อต้าน (หญิงทีใ่ ส่ชดุ ขนสัตว์) ก็ไม่ได้เป็ นคนทีน่ ่าสงสารเท่าใดนัก ในขณะทีส่ ตั ว์ทต่ี กเป็ นเหยือ่ จะได้รบั ความสงสารมากกว่าเสียอีก บทที่ 11 สองเรื่องเดิม

267

เมือ่ เปรียบเทียบกับนักปัน่ จักรยานทีใ่ ส่เสื้อหนัง เมือ่ พิจารณาอย่างผิวเผิน แล ้ว คนเหล่านี้กไ็ ม่ได้รบั ความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจจากสาธารณชนเช่นกัน แต่ ถา้ เมือ่ ไรถูกต่อต้านโดยนักกิจกรรมต่อต้านการทารุณสัตว์ คนเหล่านี้อาจได้รบั ความเห็นอกเห็นใจขึ้นมาทันที อาจสงสัยว่าท�ำไมจึงเป็ นเช่นนัน้ นัน่ ก็เพราะการปัน่ จักรยานเป็ นวิถชี วี ติ ของคนปกติอย่างหนึ่งของการใช้เวลาในวันว่างให้เป็ นประโยชน์ เพือ่ สันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ และออกก�ำลังกาย คนทีช่ ่นื ชอบการขีจ่ กั รยาน ก็มกั ขีร่ วมกันไปเป็ นกลุม่ กับเพือ่ นๆ ในวันหยุด ไปพักผ่อนทีส่ วนสาธารณะ ร่วม กันย่างเนื้อสเต็ก ดืม่ เบียร์ และก่อกองไฟเมือ่ พระอาทิตย์ตกดิน การพักผ่อนรูป แบบดังกล่าวเป็ นเรื่องปกติของผูค้ นทัวไป ่ ไม่เฉพาะแต่นกั ปัน่ จักรยานเท่านัน้ ที่ ชอบท�ำในวันหยุดสุดสัปดาห์ ดังนัน้ การมุง่ เป้ าการต่อต้านไปทีน่ กั ปัน่ จักรยานทีใ่ ส่เสื้อหนังจะสร้างแนว ร่วมประชาชนของผู ้รักและสงสารสัตว์ได้นอ้ ยกว่า ในขณะทีผ่ ู ้หญิงทีใ่ ส่เสื้อขนสัตว์ อาจสร้างความรูส้ กึ ไม่เห็นด้วยบังเกิดขึ้นกับคนจ�ำนวนมาก ทีเ่ ป็ นเช่นนี้เป็ นเพราะมี คนจ�ำนวนไม่มากทีม่ เี สื้อโค้ชขนสัตว์ในตูเ้ สื้อผ้า เพราะคนส่วนมากก็มเี พียงรองเท้า หรือไม่กเ็ ข็มขัดหนังสัตว์ อีกประการหนึ่งคือ ส่วนมากหรือเกือบทุกคนบริโภคเนื้อ วัว ด้วยเหตุผลทัง้ หมดทีก่ ล่าวนี้ จึงมีความเป็ นไปได้วา่ เหตุผลทีอ่ ยู่เบื้องหลังการ มุง่ เป้ าไปทีผ่ ู ้หญิงทีใ่ ส่เสื้อขนสัตว์ในการรณรงค์ต่อต้านการทารุณสัตว์ ไม่ใช่เพราะ ความขี้ขลาดหวาดกลัวการถูกท�ำร้าย แต่เพราะเป็ นวิธที ช่ี ่วยสร้างแนวร่วมสนับสนุน วัตถุประสงค์ของการปกป้ องชีวติ สัตว์ทม่ี ปี ระสิทธิภาพทีส่ ุด

ท�ำไมนักออกแบบท่ าเต้ นการต่ อสู้ (Choreographer) ที่มีความ สามารถสูงสุดของโลกถูกขับไล่ เพราะสเปเชียลเอฟเฟกต์ (กรณีศกึ ษาของ จาคอบ เลห์ แมน) ก่อนปี 1999 ไม่มใี ครเคยได้ยนิ ชือ่ หยวนหวูปิง นักออกแบบท่าเต้นการต่อสู ้ป้ องกัน ตัว แต่หลังจากผลงานการออกแบบท่าการต่อสู ้แบบลอยตัวได้ในหนังเรื่อง The Matrix และ Crouching Tiger and Hidden Dragon ท�ำให ้ชื่อเสียงของเขาดัง

268

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

กระฉ่ อนไปทัววงการ ่ และส่งผลให ้มีคนมาขอใช้บริการเพิม่ มากขึ้นอย่างทีไ่ ม่เคย ปรากฏ ขณะเดียวกันนักออกแบบท่าเต้นการต่อสู ้ทีม่ ชี อ่ื เสียงมากทีส่ ุดของโลกอีก ผู ้หนึ่งคือ วิลเลียม ฮอบบ์ ซึง่ ผลงานทีม่ ชี ่อื เสียงหนึ่งในหลายๆ ชิ้นของเขาปรากฏ ในหนังเรื่อง Rob Roy, Dangerous Liaisons, The Count of Monte Cristo และ The Three Musketeers (1974) นัน้ เขายังคงเก็บอยู่อย่างเงียบๆ โดยไม่ ท�ำอะไร ลีลาการต่อสูท้ ค่ี ิดโดยฮอบบ์มกี ิตติศพั ท์เลือ่ งลือในหมู่นกั ออกแบบท่า เต้นและลูกศิษย์ในแง่ศิลปะ เพราะเขาจะไม่คดิ ท่าต่อสู ้ทีไ่ ม่มใี นต�ำราการต่อสู ้ของ ยุคนัน้ ในทางตรงกันข ้าม หวูปิงจะออกแบบท่าเต้นการต่อสู ้ทีใ่ ช้ความรวดเร็วเป็ น พื้นฐาน โดยสะท ้อนให ้เห็นเทคนิคการต่อสู ้จริงๆ น้อยมาก ท่าเต้นการต่อสู ้ทีร่ วดเร็วเลียนแบบวิดโี อเกมของหวูปิง แม ้ยังเป็ นทีถ่ กเถียง กันมากว่าเป็ นท่าเต้นการต่อสู ้ทีไ่ ม่ค่อยมีคุณค่าเมือ่ เปรียบเทียบกับท่าทีค่ ดิ ค้นขึ้น โดยฮอบบ์ ซึง่ มีความสมจริงสมจังและแสดงออกถึงอารมณ์ของความขัดแย้งทีเ่ ป็ น มูลเหตุของการต่อสู ้มากกว่า แต่เวลาน�ำมาท�ำเป็ นคลิปหนังสัน้ เพือ่ ดูก่อนฉายหรือ โฆษณา ผลทีต่ ามมาคือท�ำให ้หวูปิงกลายเป็ นนักออกแบบท่าเต้นการต่อสู ้ทีค่ รอง ตลาดด้านนี้ไว ้คนเดียวเกือบทัง้ หมด ต้นทุนท่าเต้นการต่อสู ้อันพิสดารของเขาส่งผลกระทบทางลบทีม่ นี ยั ส�ำคัญ ดังนี้ (1) ลดคุณค่าทีค่ วรรักษาไวส้ �ำหรับท่าเต้นที่ตอ้ งอาศัยความเชี่ยวชาญใน ศิลปะการต่อสู ้ของการออกแบบทีม่ อี ยู่ในงานของฮอบบ์ และ (2) ผลักดันให ้นัก ออกแบบท่าเต้นคนอืน่ ต้องท�ำตามกระแสทีต่ อ้ งการเห็นการต่อสูแ้ บบรวดเร็วขึ้น ซึง่ ท�ำใหม้ กี ารใช้เสน้ ลวดผูกโยงตัวกันมากขึ้นในเวลาถ่ายท�ำในโรงถ่าย ประเด็น นี้แม ้แต่ดารานักแสดงหนังบูช๊ ่อื ก้องโลกอย่างเฉินหลง ซึง่ ปกติจะแสดงบทบูเ๊ อง แบบสมจริงโดยไม่ตอ้ งใช้ตวั แสดงแทน ก็ยงั ต้องใช้ลวดผูกตัวในการถ่ายท�ำหนัง เรื่องล่าสุดของเขาเลย ซึง่ การเห็นมนุษย์ทส่ี ามารถกระท�ำในสิง่ ทีเ่ ป็ นความสามารถ พิเศษได้จริงๆ เช่น การใช้ความเร็ว การใช้ท่าต่อสู ้บอกเล่าเรื่องราว และการแสดง บทบู ๊ ฯลฯ นับว่ามีคุณค่าทางการศึกษาและเป็ นแรงบันดาลใจให ้ผู ้อืน่ ท�ำตาม แต่ การหันมาใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ดจิ ติ อลในการออกแบบท่าเต้น และอุปกรณ์ช่วย บทที่ 11 สองเรื่องเดิม

269

ต่างๆ แทนการใช้ความสามารถพิเศษจริงๆ ของคนให ้แสดงบทต่อสู ้ จึงเป็ นการ ขยายช่องว่างระหว่างของแทแ้ ละของเทียมใหก้ วา้ งยิง่ ขึ้นซึง่ เราจะเห็นบนจอภาพ ยนตร์มากขึ้น ส�ำหรับรางวัลตอบแทนแก่ผูช้ นะในยุคนี้ทเ่ี ป็ นโลกในยุคผูช้ นะได้ ทัง้ หมด (Winner–take–all Market) ก็มมี ลู ค่ามหาศาล มากเกินกว่าต้นทุนการ ท�ำของปลอม หรือการหลีกหนีจากความจริง ซึง่ มีค่าใช้จ่ายตำ� ่ มากส�ำหรับแต่ละคน อย่างไรก็ตาม สังคมโดยรวมก็ไม่ได้ประโยชน์อนั ใดกับการทีใ่ นหนังจะมี ฉากทีค่ นสามารถปี นไต่ก �ำแพงได้มากถึง 30 – 40 ก้าว เมือ่ เทียบกับหนังทีม่ ฉี าก เดียวกันแต่คนปี นไต่ก �ำแพงได้แค่ 3 ก้าว และไม่ใช่เรื่องของหวูปิงทีจ่ ะต้องกังวล กับต้นทุนทางสังคมดังกล่าว หรือไม่ใช่เรื่องการหมดความนิยมในตัวฮอบบ์ หรือ เฉินหลง อันเป็ นผลมาจากการเข ้าสู่วงการของหวูปิง แต่ส่งิ ที่เป็ นประเด็นคือ รางวัลตอบแทนที่มมี ูลค่ามหาศาลจะท�ำใหเ้ กิด การมี “ผู ้เข ้าแข่งขันจ�ำนวนมากเกินไป” ในตลาดทีผ่ ู ้ชนะได้ทงั้ หมดนี้ ด้านสังคม ส่วนรวมนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรแล ้ว ยังอาจมีตน้ ทุนสุทธิดว้ ย เนื่องจาก ภายใต้สถานการณ์ดงั กล่าว เทคนิคแสงสีเสียงและการตัดต่อในโรงถ่ายจะมีความ ส�ำคัญมากกว่า เมือ่ เปรียบเทียบกับการฝึ กฝนอบรมและทักษะความสามารถพิเศษ ของมนุษย์จริงๆ

270

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

ความคิดสุดท้ายก่อนอ�ำลา



าถึง ณ จุดนี้ คุณคงมีความพร้อมทีจ่ ะเป็ นนักธรรมชาติเศรษฐกิจได้บ ้าง แล ้ว บางคนอาจได้เล่าตัวอย่างบางเรื่องทีน่ �ำเสนอในหนังสือให้เพือ่ นฝูงหรือ คนในครอบครัวฟัง ยิง่ ถ ้ามีการสนทนาแลกเปลีย่ นความคิดเห็นกันด้วย จะยิง่ ช่วย เพิม่ พูนความรูค้ วามเข ้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ท่ี น�ำมาประยุกต์ใช้ได้ลกึ ซึ้งมากยิง่ ขึ้น ในอาณาจักรของคนตาบอด คนทีม่ ตี าดีข ้างเดียวก็สามารถเป็ นผู ้น�ำได้ ฉันใด ฉันนัน้ ดังทีเ่ คยกล่าวไว ้แล ้วตัง้ แต่ในบทน�ำ แม ้แต่ผู ้ทีเ่ คยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัย คนทีม่ คี วามรูค้ วามเข ้าใจในหลักการแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีในขัน้ ทีส่ ามารถน�ำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงๆ พบว่ามีนอ้ ยมาก ดังนัน้ โดยเปรียบเทียบ แล ้ว ผู ้ทีไ่ ด้อ่านและศึกษาหนังสือเล่มนี้จนจบ และมีความรูค้ วามเข ้าใจในสารัตถะ ดีพอควร ก็น่าจะน�ำมาประยุกต์ใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ดกี ว่าไม่มากก็นอ้ ย เมือ่ ถึงตอนนี้ คุณอาจเริม่ จับเรือ่ งราวและเข ้าใจข ้อเท็จจริง หรือจ�ำประสบการณ์ บางเรื่องทีเ่ คยสังเกตเห็นในชีวติ ประจ�ำวันทีผ่ ่านมา อย่างน้อยก็อาจนึกขึ้นได้ว่า เคยผ่านประสบการณ์การใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้าแบบต้องใหผ้ ูซ้ ้ อื ก้าวข ้าม เงือ่ นไขทีเ่ ป็ นอุปสรรคบางอย่างในการช็อปปิ้ ง อย่างในกรณีศึกษาทีผ่ ่านมา ขอให ้ ลองพยายามนึกว่ามีสนิ ค้าใดบ ้างทีไ่ ม่เคยลดราคาขายให ้กับลูกค้าทีเ่ ต็มใจยอมท�ำ ความคิดสุดท้ายก่อนอ�ำลา

271

ตามเงือ่ นไขการซื้อขายทีก่ �ำหนด ซึง่ ก็อาจมีสนิ ค้าดังกล่าวอยู่ แต่รบั รองได้วา่ หายาก มาก ถ ้าคุณลองพยายามนึกให้ได้และเมือ่ จ�ำได้ข้นึ มา อาจพบว่ามีหลายเงือ่ นไขใน การลดราคาสินค้าทีอ่ าจนึกไม่ถงึ มาก่อนเลยก็ได้ ถ ้ามีเพือ่ นมาถามว่า เพราะเหตุใด ศูนย์การค้าหลายแห่งจึงแห่กนั ลดราคา ขายผา้ ปูทนี ่ อนและผา้ ขนหนู ตอนช่วงต้นปี อย่างเดือนมกราคมเป็ นประจ�ำทุกปี คุณและเพือ่ นอาจช่วยกันปะติดปะต่อหาค�ำอธิบายทีม่ เี หตุผลทางเศรษฐศาสตร์ โดยอ้างว่าการขายในราคาลดจะช่วยให้ผู ้ขายขายสินค้าทัง้ สองได้ก �ำไรเพิม่ ขึ้น โดย เฉพาะกับลูกค้าทีจ่ ะไม่มวี นั ซื้อถ ้าไม่ลดราคา แต่สง่ิ ทีเ่ ป็ นความท้าทายผู ้ขายในกรณี นี้คอื ท�ำอย่างไรจึงจะป้ องกันผู ้ซื้อทีเ่ ต็มใจยอมจ่ายค่าสินค้าในราคาเต็มไม่ให้มาซื้อ ในราคาลด คุณอาจอธิบายให ้เพือ่ นได้รูว้ า่ การลดราคาขายในเดือนมกราคมของ ทุกปี นนั้ ผู ้ซื้อต้องพบกับเงือ่ นไขทีเ่ ป็ นอุปสรรคสองประการคือ (1) ผู ้ซื้อมีภาระจะ ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า จะมีการลดราคาขายผ ้าปูทน่ี อนและผา้ ขนหนู ใน เดือนมกราคม และ (2) ผู ้ซื้อจะต้องยอมอดทนเลือ่ นการซื้อออกไปจนกว่าจะถึง เดือนมกราคม เมือ่ บอกกับเพือ่ นว่าเงือ่ นไขทัง้ สองสามารถปฏิบตั ไิ ด้ เนื่องจากผู ้ ซื้อทีย่ อมท�ำตามคือผูซ้ ้อื ทีจ่ ะไม่ยอมซื้อสินค้าในช่วงระหว่างปี หรือถึงจะซื้อก็ซ้อื น้อยชิ้นมากถ ้าหากไม่มกี ารลดราคาลงมามากๆ เพือ่ นอาจถามว่า แล ้วท�ำไมคนอื่นจึงไม่ยอมรอเพือ่ ซื้อในราคาถูกบา้ งล่ะ กรณีน้ ีคุณอาจตอบว่า ใครก็ตามทีม่ คี ่าเสียโอกาสของเวลาสูง โดยทัวไปจะรู ่ ส้ กึ ว่าเป็ นเรื่องน่ าเบือ่ ถา้ ต้องคอยเวลา จึงไม่ยอมท�ำตามเงือ่ นไข (กระโดดข ้ามสิง่ กีดขวาง) ตัวอย่างเช่น ถ ้ามหาเศรษฐีอย่าง บิลล์ และ เมลินดา เกตส์ ต้องการ ซื้อผา้ ขนหนู เพิม่ สักผืนสองผืนในเดือนมิถนุ ายน ทัง้ สองคนคงไม่รอจนถึงเดือน มกราคมเพือ่ จะซื้ออย่างแน่นอน ทัง้ สองคนจะเต็มใจลงเอยด้วยการจ่ายราคาเต็ม ในการซื้อผ ้าขนหนู นนั้ คุณคงใหเ้ หตุผลในท�ำนองคล ้ายคลึงกัน ถา้ มีคนถามว่า ท�ำไมผูข้ าย สินค้าจึงให ้ส่วนลดราคาสินค้า ต่อเมือ่ ผู ้ซื้อส่งคูปองส่วนลดหรือหลักฐานการจ่าย (Voucher) กลับไปยังบริษทั ผู ้ขาย ค�ำตอบคือ ดังทีก่ ล่าวมาแล ้วว่าคนทีม่ คี ่าเสีย

272

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

โอกาสของเวลาค่อนข ้างต�ำ่ ส่วนมากจะเป็ นกลุม่ คนทีจ่ ะไม่ซ้อื หรือไม่สามารถซื้อ สินค้านัน้ หากไม่มกี ารลดราคา หรือกล่าวอีกทางหนึ่ง ได้แก่ กลุม่ คนทีย่ นิ ดีเสีย เวลาส่งคูปอง และอดทนรอเวลาทีบ่ ริษทั จะส่งเช็คคืนเงินกลับมาให ้ ซึง่ โดยทัวไป ่ กินเวลาเป็ นเดือน มารดาของผมชอบกระท�ำเช่นนี้เป็ นประจ�ำ และถ ้าคุณเองก็ชอบ ด้วย หมายความว่าคุณก็เป็ นผู ้หนึ่งทีม่ พี ฤติกรรมของนักช็อปปิ้ งทีต่ อบสนองสูงต่อ การเปลีย่ นแปลงของราคาสินค้า แต่ถ ้าคุณไม่เคยล�ำบากในการส่งคูปองขอคืนเงิน ส่วนลดเลย ก็ดูท่าว่าจะไม่มพี ฤติกรรมตอบสนองสูงต่อการลดราคาทีก่ ล่าว และ ผู ้จ�ำหน่ายก็จะไม่ยอมลดราคาขายสินค้าให้คุณด้วย เพราะรูว้ า่ แม ้ไม่มสี ว่ นลด คุณ ก็ซ้อื สินค้าในราคาปกติอยู่ดี หลังจากทีแ่ สดงใหเ้ ห็นจากตัวอย่างในบททีผ่ ่านมาถึงการขัดกันระหว่าง ประโยชน์สว่ นตนและประโยชน์สว่ นรวม ในขัน้ นี้คณ ุ คงสามารถรับรูถ้ งึ ปรากฏการณ์ ในท�ำนองเดียวกันทีส่ ามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ ้าคุณยังมี ลูกเรียนอยู่ในชัน้ มัธยม อาจรับรูไ้ ด้วา่ มีพอ่ แม่ผู ้ปกครองจ�ำนวนมากทีต่ อ้ งจ่ายเงิน เพิม่ เป็ นค่าสอนพิเศษใหแ้ ก่บตุ รหลาน เพือ่ เพิม่ โอกาสในการได้รบั การคัดเลือก เข ้าเรียนในมหาวิทยาลัยทีม่ ชี ่อื เสียง แต่การกระท�ำดังกล่าวก็ตอ้ งเสียทัง้ เวลาและ เงินจ�ำนวนมากซึง่ ก่อประโยชน์นอ้ ยมากต่อนักเรียนโดยรวม ทัง้ นี้เพราะการรับ นักศึกษาเข ้าเรียนในมหาวิทยาลัยทีม่ ชี อ่ื เสียงในแต่ละปี นนั้ ยังคงมีจ �ำนวนจ�ำกัด ถึง พ่อแม่ผู ้ปกครองและนักเรียนจ�ำนวนมากจะยอมทุ่มเวลาและเงินจ�ำนวนมากมาย เพียงไร ก็มเี พียงบางคนเท่านัน้ ทีไ่ ด้เขา้ เรียน เพราะจ�ำนวนนักศึกษาทีร่ บั เขา้ ก็ ไม่ได้เพิม่ ขึ้นดังทีก่ ล่าวไปแล ้ว คุณจะแปลกใจเป็ นอย่างมากเมือ่ รูว้ ่ามีกจิ กรรมหลายอย่างทีต่ อ้ งแข่งขัน สูง แต่มไิ ด้ก่อประโยชน์หรือน�ำมาซึง่ ความสูญเปล่าต่อส่วนรวม ตัวอย่างเช่น การ แข่งขันฟุตบอลระดับพรีเมียร์ลกี ในอังกฤษ หลายสโมสรพยายามอย่างมากทีจ่ ะ ต้องเป็ นทีมชนะ และก้าวขึ้นเป็ นทีมระดับชัน้ น�ำของกลุม่ วิธกี ารทีท่ กุ สโมสรปฏิบตั ิ เหมือนกันคือ ต่างคนต่างแย่งกันซื้อตัวนักฟุตบอลด้วยค่าตัวสูงลิว่ แย่งกันสรรหา และจัดจ้างผู ้ฝึ กสอนทีม่ ผี ลงานและชื่อเสียง ด้วยการเสนอค่าจ้างทีส่ ูงมาก รวมทัง้ ความคิดสุดท้ายก่อนอ�ำลา

273

ลงทุนในสิง่ อ�ำนวยความสะดวกด้านสนามฝึ กซ้อม การฝึ กสอน และค่าใช้จ่ายอืน่ ๆ เป็ นวงเงินสูงมาก แต่ไม่วา่ แต่ละสโมสรจะทุม่ เทความพยายามและค่าใช้จ่ายอย่างไร ก็จะมีจ �ำนวนทีมไม่เกินครึ่งหนึ่งทีเ่ ข ้าแข่งขันในแต่ละสัปดาห์ทจ่ี ะเป็ นผู ้ชนะเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม ความสูญเปล่าต่อส่วนรวมของเงินทีล่ งทุนไป กับความพยายาม ทีจ่ ะเพิม่ ผลงาน หรือประสิทธิภาพการท�ำงานให้ดีข้นึ ของแต่ละหน่วยองค์กรธุรกิจ ในระบบเศรษฐกิจ มิได้รอดพ ้นไปจากการรับรูข้ องประชาชน ในเกือบทุกกรณีจงึ พบว่าองค์กรบริหารจัดการของหน่วยงานหลายแห่งได้ด �ำเนินมาตรการต่างๆ เพือ่ จ�ำกัดเพดานของการลงทุนสูญเปล่าดังกล่าว อย่างเช่น ในการแข่งขันรถสูตร 1 ได้ จ�ำกัดขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 2.4 ลิตร เพือ่ ลดการลงทุนของผู ้เข ้าแข่งขันไม่ให ้เสีย เงินมากไปกับการลงทุนในเรื่องการใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ถ ้าคุณก�ำลังคิดจะเปลีย่ นงาน หรือมีบตุ รหลานทีก่ �ำลังคิดใคร่ครวญว่าควร จะให ้ประกอบอาชีพอะไรต่อไปในภายภาคหน้า ทฤษฎีวา่ ด้วยการชดเชยส่วนต่าง ของค่าจ้างแรงงาน อาจน�ำมาใช้พจิ ารณาประกอบกัน ซึง่ จะช่วยใหค้ ดิ อย่างชาญ ฉลาดมากขึ้นเกี่ยวกับทางเลือกในอาชีพ หลายคนคิดแต่เพียงว่าจะต้องหางานที่ ให ้เงินเดือนสูงทีส่ ุด แต่กรณีศึกษาทีผ่ ่านมาชี้ให ้เห็นแล ้วว่า งานทีใ่ ห ้เงินเดือนสูง มากนัน้ บ่อยครัง้ ต้องแลกกับเงือ่ นไขการท�ำงานอืน่ ๆ ทีไ่ ม่เป็ นทีพ่ งึ พอใจเสมอกัน เพราะลูกจ้างจะสามารถได้รบั เงินเดือนสูงได้นนั้ อาจต้องถูกชดเชยด้วยเงือ่ นไข การท�ำงานอืน่ ๆ ทีด่ นี อ้ ยลง เช่น ยอมท�ำงานทีข่ ดั ต่อความรูส้ กึ หรือเป็ นงานทีไ่ ม่มี ตารางการท�ำงานแน่นอน มีความก้าวหน้าในอาชีพน้อย หรือไม่มสี วัสดิการทีด่ พี อ ภายหลังการเลิกจ้าง ฯลฯ หลายคนเต็มใจยอมรับงานทีม่ ขี ้อด้อยดังกล่าวเพือ่ แลกกับการได้รบั เงิน เดือนสูง แต่กม็ หี ลายคนทีไ่ ม่รูเ้ รื่องข ้อดี–ข ้อด้อยทีก่ ล่าวถึงนี้ ดังนัน้ มาถึง ณ จุด นี้ เมือ่ คุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้คงอยู่ในสถานะทีพ่ อมีความรูแ้ ล ้วว่างานใดทีใ่ ห้เงิน เดือนสูง จะต้องพิจารณาเงือ่ นไขการท�ำงานอืน่ ๆ ประกอบในการตัดสินใจเลือกงาน ด้วย ถ ้าตัวเองยังแปลกใจอยู่วา่ ท�ำไมจึงได้รบั เงินเดือนสูงมากเช่นนัน้ ก็ให ้รูเ้ ลยว่า จะยิง่ ต้องพินิจพิเคราะห์ให ้ถีถ่ ้วนกับเงือ่ นไขการจ้างงานอืน่ ๆ

274

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์

คุณอยู่ในสถานะทีส่ ามารถรูไ้ ด้วา่ ข ้อมูลใดน่าเชื่อถือ และข ้อมูลใดชวนให ้ น่าสงสัยในความถูกต้องมากกว่ากัน ถา้ ความสนใจของคู่คา้ หรือคู่ของฝ่ ายใดๆ ตรงกัน หรือสมใจกันแล ้ว ก็จะไม่มมี ลู เหตุจูงใจใดๆ ทีจ่ ะต้องไม่จริงใจต่อกันอีก ดังเช่นในการเล่นไพ่บริดจ์ เมือ่ ผู ้เล่นฝ่ ายหนึ่งเรียกราคาเพือ่ แสดงสัญญาณว่าไพ่ ทีต่ วั เองถืออยู่นนั้ เป็ นไพ่ดี เขาหรือเธอเพียงแต่รูจ้ กั พูดให ้ฉลาดเท่านัน้ ผู ้เล่นฝ่ าย ตรงข ้ามก็ไม่มเี หตุผลใดทีจ่ ะสงสัยในความไม่จริงใจของเขาหรือเธอ ในขณะทีถ่ า้ คนขายสินค้าคนใดมีพฤติกรรมจ้างหน้ามา้ เพือ่ พยายามชักชวนคนใหซ้ ้ อื สินค้า โดยอ้างว่าเป็ นสินค้าคุณภาพดี ถา้ เป็ นเช่นนี้ผูซ้ ้ อื ก็มเี หตุผลทีจ่ ะต้องระมัดระวัง การถูกหลอกลวง นักธรรมชาติเศรษฐกิจรูว้ า่ ข ้อความใดเชื่อถือได้ เพราะถ ้าไม่ เป็ นจริงจะมีค่าใช้จ่ายทีส่ ูงมากตามมา ตัวอย่างเช่น การมีข ้อเสนอรับประกันสินค้า จะเป็ นตัวอย่างของสัญญาณทีด่ วี า่ สินค้าทีจ่ �ำหน่ายนัน้ มีคุณภาพดี เพราะหากเป็ น สินค้าทีด่ อ้ ยคุณภาพ ผู ้จ�ำหน่ายจะไม่กล ้ารับประกัน เพราะหากเกิดความเสียหาย ผู ้ผลิตจะต้องรับผิดชอบมากจนท�ำให ้ไม่มกี �ำไรจากการประกอบธุรกิจนัน้ หลักคิดเกี่ยวกับ “ไม่มเี งินฟรีวางรอบนโต๊ะ” เป็ นเครื่องยำ�้ เตือนใหน้ กั ธรรมชาติเศรษฐกิจต้องใช้สญ ั ชาตญาณธรรมชาติในการพินิจพิจารณาข ้อแนะน�ำ ของผู ้เชี่ยวชาญหรือทีป่ รึกษาการลงทุนต่างๆ ตัวอย่างเช่น ถ ้าทีป่ รึกษาการลงทุน บอกกับคุณว่าราคาหุนของบริ ้ ษทั หนึ่งตำ� ่ เกินไป อีกนัยหนึ่งก็หมายถึง สถานการณ์ ที่ “มีเงินวางรอใหค้ ณ ุ หยิบฉวยอยู่บนโต๊ะ” กรณี เช่นนี้นกั ธรรมชาติเศรษฐกิจ ควรรูว้ า่ ถ ้าเป็ นความจริงก็จะคงอยู่ได้ไม่นาน เพราะจะมีคนรีบแย่งซื้อไปแล ้วเพือ่ ตักตวงโอกาส ในเมือ่ ทุกคนก็รูว้ า่ มีก �ำไร และราคาหุนตั ้ วนัน้ จะขยับเพิม่ สูงขึ้นใน ไม่ชา้ จึงต้องระมัดระวังเป็ นอย่างมากในการรีบเข ้าซื้อ เพราะอาจตกเป็ นเหยื่อ ของการท�ำนายทีไ่ ม่เป็ นจริง ส�ำหรับในกรณีทป่ี รึกษาการลงทุนอ้างว่าเขามีข ้อมูล วงใน แต่นกั ธรรมชาติเศรษฐกิจทีม่ คี วามเขา้ ใจ จะนึกถึงกลุม่ คนทีช่ อบบอกกับ คนอืน่ ว่า สามารถเป็ นคนรวยได้ในเวลาข ้ามคืนด้วยการช้อนซื้อหุนที ้ ม่ รี าคาต�ำ่ คือ พวกปลิ้นปล ้อนหลอกลวง

ความคิดสุดท้ายก่อนอ�ำลา

275

การเป็ นนักธรรมชาติเศรษฐกิจจะช่วยให้สามารถตัดสินใจเรือ่ งราวต่างๆ ได้ ดีข้นึ ในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน รางวัลหรือผลตอบแทนทีไ่ ด้รบั จะคุม้ ค่ากับเวลา และความพยายามทีฝ่ ึ กหัดจะเพิม่ พูนประสบการณ์ให้มากขึ้น กล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิง่ ทีส่ ร้างขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และทุกพฤติกรรมการกระท�ำของคนและสัตว์ทพ่ี บก็ คือ ผลทีเ่ กิดจากความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กนั ระหว่างผลดี–ผลเสีย หรือรายได้และ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันมีประสบการณ์มากมายทีผ่ า่ น สายตาและความรูส้ กึ ของนักธรรมชาติเศรษฐกิจ ดังนัน้ หากประมวลค้นหาความ สัมพันธ์ของสรรพสิง่ ดังกล่าว แล ้วประยุกต์ใช้ในเวลาและสถานการณ์ทเ่ี หมาะสม จะเป็ นการใช้ปญ ั ญาทีช่ ่วยเพิม่ พูนประสิทธิภาพในการด�ำเนินชีวติ ทีด่ ยี ง่ิ ขึ้นต่อไป

276

สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์